ความเป็นมา
ตามคำสั่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติที่ 3/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา กำหนดว่าในกรณีที่จำเป็น คณะกรรมการอาจเชิญบุคคลในบัญชีรายชื่อที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ ให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการสำหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น และได้กำหนดบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ เพื่อเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องในฐานะกรรมการ จำนวน 24 ท่าน
การดำเนินงาน
คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 เห็นชอบให้ประธานกรรมการพิจารณารายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ เพื่อเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษ
เฉพาะเรื่องฯ ในฐานะกรรมการเป็นรายครั้ง
การประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ -3/2566 จึงเห็นควรให้เชิญบุคคลซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวาระการประชุม จำนวน 6 ท่าน ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเข้าร่วมประชุม ดังนี้
1. ศาสตราจารย์กิตติชัย วัฒนานิกร
2. ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล
3. รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ
4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม
5. นายคณิศ แสงสุพรรณ
6. นายพรชัย มงคลวนิช
คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ได้มีการประชุมฯ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น. ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำรายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขเพิ่มเติม
ความเป็นมา
ตามที่มหาวิทยาลัยศิลปากรได้นำส่งข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการระบบการผลิต (ต่อเนื่อง) มาที่กระทรวง อว. และคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการดังกล่าว พร้อมมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาฉบับสมบูรณ์
การดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการระบบการผลิต (ต่อเนื่อง) แล้วเสร็จ และผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 จากนั้นได้นำส่งให้คณะทำงานฯ พิจารณากลั่นกรองในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ซึ่งคณะทำงานฯ เห็นสมควรให้นำเสนอข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวแล้ว พบว่ามีความครบถ้วนตามข้อกำหนดสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- หลักสูตร: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการระบบการผลิต (ต่อเนื่อง)
- สถาบันอุดมศึกษา และคณะผู้รับผิดชอบ: มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- ประเภทกำลังคน: วิศวกรบูรณาการระบบ (System integrator)
- จุดเด่นของหลักสูตร:
1) รูปแบบการเรียนที่ยืดหยุ่น: เรียนทฤษฎีเป็นโมดูลผ่าน E-learning และสามารถลงทะเบียน
โดยไม่ยึดตามภาคการศึกษา ผู้เรียนสามารถออกแบบเองได้ เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา และเรียนซ้ำได้
2) การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-based education): สมรรถนะอ้างอิงตามมาตรฐาน TPQI ฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการโดยใช้โจทย์จริงตั้งแต่ชั้นปีแรก และประเมินผลสมรรถนะ
โดยสถานประกอบการ
3) เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา (University consortium): ใช้ความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของต่างมหาวิทยาลัยมาร่วมจัดการศึกษา เช่น ห้องปฏิบัติการ อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายความร่วมมือ 4) เปิดรับผู้เรียนที่หลากหลาย: กลุ่มคนทำงานวุฒิ ปวส. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 – 4 ในหลักสูตรที่ใกล้เคียง เพื่อให้สามารถผลิตกำลังคนที่ขาดแคลนได้ทันกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ความเป็นมา
ตามที่มหาวิทยาลัยบูรพาได้นำส่งข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม (หลักสูตรสองภาษา) มาที่กระทรวง อว. และคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่
26 กรกฎาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการดังกล่าว พร้อมมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน การอุดมศึกษาฉบับสมบูรณ์
การดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยบูรพาได้จัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม (หลักสูตรสองภาษา) แล้วเสร็จ และผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุม สภามหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 11/2565 วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 จากนั้นได้นำส่งให้คณะทำงานฯ พิจารณากลั่นกรองในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน การอุดมศึกษา ครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ซึ่งคณะทำงานฯ เห็นสมควรให้นำเสนอข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวแล้ว พบว่ามีความครบถ้วนตามข้อกำหนดสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- หลักสูตร: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม (หลักสูตรสองภาษา)
- สถาบันอุดมศึกษา และคณะผู้รับผิดชอบ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ประเภทกำลังคน: ผู้บริหารระดับต้นและระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม
- จุดเด่นของหลักสูตร:
1) หลักสูตรปริญญาตรี ระยะเวลา 2 ปี จัดการศึกษาแบบ Co-creation โดยสถานประกอบการมีส่วนร่วม
2) เน้นการเรียนในรูปแบบ Outcome-based education (OBE) และเรียนแบบ Module 1 ภาคเรียนในมหาวิทยาลัย และ 3 ภาคเรียนในสถานประกอบการ
3) บูรณาการศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและธุรกิจ โดยความร่วมมือ 4 คณะ ได้แก่ วิทยาลัยนานาชาติ คณะสหเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา - 4) สถานประกอบการร่วมสนับสนุนนักศึกษาทั้งในรูปแบบ In-kind และ In cash และรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังเรียนจบ
- แผนการจัดการเรียนการสอน: ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น (First Semester) ณ วิทยาลัยนานาชาติ
ความเป็นมา
ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เปิดรับข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ตามประกาศของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การเปิดรับข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่ามีสถาบันอุดมศึกษายื่นข้อเสนอการจัดการศึกษาเชิงหลักการมายังสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวนทั้งสิ้น 172 ข้อเสนอ คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้เริ่มพิจารณาข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการ ในการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 21 มีนาคม 2565 เป็นต้นมา โดยความก้าวหน้าการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาเชิงหลักการที่คณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบ และอยู่ระหว่างการพัฒนาข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ จำนวน 15 ข้อเสนอ
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษา และคณะทำงานฯ เห็นควรให้เสนอต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อขออนุมัติจัดการศึกษา จำนวน 2 ข้อเสนอ ได้แก่
▪ ข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม บูรณาการระบบการผลิต (ต่อเนื่อง) มหาวิทยาลัยศิลปากร
▪ ข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม (หลักสูตรสองภาษา) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา - ข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษาอนุมัติให้จัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเรียบร้อยแล้ว จำนวน 9 ข้อเสนอ ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงมากกว่า 19,000 คน