ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563

15:00 น.
5 พฤศจิกายน 2563
ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 ชั้น 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ : 5 พฤศจิกายน 2563
เวลา : 15:00 น.
ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 ชั้น 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 3/2563
  • สไลด์สภานโยบาย 3/2563
  • รายงานการประชุม 3/2564

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1 การแต่งตั้งกรรมการสภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2563
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
3.1 ข้อสั่งการของสภานโยบาย เรื่อง การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชน ควบคู่กับการจัดการศึกษาปกติ

3.2 การจัดตั้งวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts : TASSHA)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 กรอบวงเงิน งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่ง ผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงิน และการแต่งตั้งประธานกรรมการพิจารณา งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

4.2 แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อทราบ
5.1 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5.2 กรอบสถาปัตยกรรมข้อมูลการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) และความคืบหน้าการดำเนินการบูรณาการระบบข้อมูล อววน.

5.3 ผลประกาศรางวัลโนเบล ประจำปี 2020
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่น ๆ
6.1 แผนการดำเนินการประชุมสภานโยบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563

เรื่องเดิม
ตามที่มาตรา 6 (5) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนดให้มีกรรมการสภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ดังนี้
(1) กรรมการสภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 9 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
จากบุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและความสามารถเป็นที่ประจักษ์ด้านการอุดมศึกษาไม่เกิน 3 คน
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ไม่เกิน 3 คน และด้านสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ ไม่เกิน 3 คน โดยแต่ละด้าน
ต้องแต่งตั้งจากผู้ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคล ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ร่วมกันเสนอ
ด้านละ 1 คน
(2) กรรมการสภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 1 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคล
ซึ่งหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิใช่สถาบันอุดมศึกษาร่วมกันเสนอ

การดำเนินงาน
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 มีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการ
สภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ จำนวน 10 คน
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ดังนี้

1. ผู้ซึ่งคณะกรรมการสรรหากรรมการสภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พิจารณาคัดเลือก จำนวน 6 คน ดังนี้
1.1 รองศาสตราจารย์กำจร ตติยกวี ด้านการอุดมศึกษา
1.2 ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ด้านการอุดมศึกษา
1.3 รองศาสตราจารย์เอมอร อุดมเกษมาลี ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
1.4 นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
1.5 นายบัณฑูร ล่ำซำ ด้านสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์
1.6 นายพณชิต กิตติปัญญางาม ด้านสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์

2. ผู้ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคล ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนร่วมกันเสนอ
จำนวน 3 คน ดังนี้
2.1 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ด้านการอุดมศึกษา
2.2 นายกานต์ ตระกูลฮุน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
2.3 นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ด้านสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์

3. ผู้ซึ่งหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิใช่สถาบันอุดมศึกษาร่วมกันเสนอ จำนวน
1 คน ได้แก่ นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการประชุม ครั้งที่
2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 13.00 – 15.00 น. ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำรายงาน
การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้
ประธานสภานโยบายขอปรับแก้ไขรายงานการประชุมหน้า 14 ระเบียบวาระที่ 5.1 ข้อสั่งการของสภานโยบาย
ย่อหน้าที่ 4 ดังนี้
“รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ประธานสภานโยบาย มอบนโยบายให้
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สอวช. ดำเนินการ ดังนี้

1. ให้จัดการประชุมระดมสมองเพื่อหารือเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่สามารถค้นหา “โอกาส
ทอง” ของประเทศไทย ในวิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 โดยขอให้คณะกรรมการ
ขับเคลื่อนฯ ช่วยดูแลในเรื่องนี้ และนำผลการประชุมมาเสนอที่ประชุมสภานโยบายร่วมกันพิจารณาต่อไป

2. ขอให้ สอวช. พิจารณาสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางที่จะพัฒนาและปลูกจิตสำนึกของ
คน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกต่อตนเองและสังคม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ ทั้งนี้เพื่อพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี”

เรื่องเดิม
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการประชุม
ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีมติ ดังนี้
1. โอกาสทองของประเทศไทย ในวิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา
หรือ COVID-19 มอบนโยบายให้ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
แห่งชาติ (สอวช.) ดำเนินการจัดการประชุมระดมสมองเพื่อหารือเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่สามารถค้นหา
“โอกาสทอง” ของประเทศไทย ในวิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 โดยขอให้
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ช่วยดูแลในเรื่องนี้
และนำผลการประชุมมาเสนอที่ประชุมสภานโยบายร่วมกันพิจารณาต่อไป
2. กรอบการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมและ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาปกติ มอบนโยบายให้ สอวช.
พิจารณาสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางที่จะพัฒนาและปลูกจิตสำนึกของคน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม
จิตสำนึกต่อตนเองและสังคม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้
เป็นทั้งคนเก่งและคนดี และมีมติมอบหมาย สอวช. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแนวคิดและแนวทาง
ดำเนินการและนำมาเสนอให้สภานโยบายพิจารณาจัดกลไกส่งเสริมและขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป

การดำเนินงาน
1. โอกาสทองของประเทศไทย ในวิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา
หรือ COVID-19 สอวช. ได้ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเรื่อง ค้นหา “โอกาสทอง” ของประเทศไทย ใน
วิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 และกำลังอยู่ในระหว่างการจัดระดมความเห็นกับผู้ที่
มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. กรอบการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมและ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาปกติ สอวช. ได้ดำเนินการศึกษา
และวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องและได้จัดประชุมระดมสมอง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงาน
ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 แล้ว โดยได้รวบรวมข้อคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางดำเนินการดังกล่าวเสนอให้สภานโยบายพิจารณาจัดกลไกส่งเสริมและ
ขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป

เรื่องเดิม
ด้วย ระบบและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ
การบูรณาการ องค์ความรู้แบบสหวิทยาการมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
เนื่องด้วยการบูรณาการศาสตร์ด้วยวิธีการแก้ปัญหาแบบองค์รวม การสร้างเทคนิค องค์ความรู้ การพัฒนา
งานวิจัยใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต กอปรกับการสร้าง
ความเข้าใจบริบททางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ อันเกี่ยวเนื่องกับมิติทางประวัติศาสตร์
โบราณคดี และวัฒนธรรม บริบทโลก การเปลี่ยนแปลงของเมือง ปัญหาความเลื่อมล้ำ ความยากจน สังคมสูงวัย/
ต่างวัย หนี้สิน ธรรมาภิบาลองค์กร กระบวนการยุติธรรม การตระหนักรู้เกี่ยวกับภูมิภาคและโลก และการพัฒนา
อย่างยั่งยืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (ศาสตราจารย์พิเศษ
อเนก เหล่าธรรมทัศน์) จึงให้นโยบายการจัดตั้งวิทยสถานด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรม
ศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts : TASSHA) ขึ้น
เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของ
ประเทศ และนำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงประเทศ
ไทยเข้ากับภูมิภาคและโลกต่อไป

เรื่องเดิม
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดว่า

  • มาตรา 11 ให้สภานโยบายมีหน้าที่และอำนาจ
    ในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน
    ของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ และพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ในความรับผิดชอบของกระทรวง และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ก่อนที่สำนักงบประมาณจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนตาม (1) ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  • มาตรา 12 เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินตามมาตรา 11 (2) แล้ว ในการ
    เสนอขอจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้นายกรัฐมนตรี โดยข้อเสนอของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย บุคคลซึ่งสภานโยบายมีมติแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวนไม่เกินสองคน ผู้แทนสำนักงบประมาณจำนวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ และจะแต่งตั้งผู้แทนสำนักงบประมาณตามจำนวนที่เห็นสมควรเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ ทำหน้าที่พิจารณาคำของบประมาณของกองทุนก่อนเสนอไปยังสำนักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

การดำเนินงาน

  1. แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมประจำปี พ.ศ. 2563 – 2565 ฉบับปรับปรุง
    สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงาน
    สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดทำ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 –2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565 เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เพื่อเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบาย) และคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมหารือ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 มีมติเห็นชอบในหลักการอนุมัติ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 –2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2563 – 2565 ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
    เนื่องด้วยสถานการณ์ของโลกและประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง สกสว. จึงดำเนินการปรับปรุงแผน
    ด้าน ววน. พ.ศ. 2563 – 2565 ให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับบริบทของโลกและประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยนำแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563 – 2565 ฉบับปรับปรุง สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขอรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและคณะกรรมการต่างๆ ดังนี้
    (1) การประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit
    หรือ PMU) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563
    (2) เสนอขอความคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการจัดทำแผนด้าน ววน. และการจัดกรอบงบประมาณ
    เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยมีข้อคิดเห็นว่า 1) ให้คงโครงสร้างเดิม 4 แพลตฟอร์ม 17 โปรแกรม
    2) ปรับปรุง Objective and Key Result (OKR) ให้มีความชัดเจน วัดผลได้ และ 3) ให้นำนโยบายการพัฒนาประเทศและนโยบายของรัฐบาลมาบูรณาการในแผนด้าน ววน. ให้มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
    (3) เสนอขอความเห็นชอบจาก กสว. ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 โดย กสว.
    มีมติ 1) เห็นชอบการปรับปรุงแผนด้าน ววน. ดังกล่าว และ 2) เห็นชอบให้นำไปใช้ในการประกาศและชี้แจงหน่วยงานเพื่อยื่นคำของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 ต่อ สกสว. ต่อไป
  2. กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบบริหารจัดการงบประมาณแบบบูรณาการเพื่อมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินสำหรับ
    ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
    2.1 กรอบวงเงินงบประมาณ ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สกสว. ได้เสนอกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อคณะอนุกรรมการจัดทำแผนด้าน ววน. และการจัดกรอบวงเงินงบประมาณ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่อกรอบวงเงินจำนวน 24,134.83 ล้านบาท โดยกำหนดให้สนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ร้อยละ 65 และทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) ร้อยละ 35 จากนั้น สกสว. ได้ทบทวนกรอบวงเงินตามหลักการที่ได้รับข้อแนะนำจากอนุกรรมการฯ และเสนอต่อ กสว. ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 โดย กสว. มีมติเห็นชอบ ดังนี้
    (1) กำหนดกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 24,400.00 ล้านบาท
    โดยเน้นในเรื่องของวิจัยและนวัตกรรม
    (2) กำหนดสัดส่วนงบประมาณระหว่างทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ต่อ ทุน
    สนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) เป็น 60:40 และให้เสนอต่อ สอวช. เพื่อเสนอสภานโยบาย
    สำนักงบประมาณ และคณะรัฐมนตรีต่อไป
    2.2 ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ประจำปี พ.ศ. 2565
    ประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 มีมติเห็นชอบระบบการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่ง
    ผลสัมฤทธิ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    (1) แนวทางการจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ประจำปี พ.ศ. 2565 แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
    ได้แก่
    1) ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) สัดส่วนการจัดสรร ไม่น้อยกว่า
    ร้อยละ 50 โดยกำหนดกรอบและจัดสรรงบประมาณตามแผนงาน โปรแกรม และแผนงานสำคัญ ซึ่งบริหารจัดการโดย PMU เพื่อนำไปสนับสนุนทุนแก่หน่วยงานระดับปฏิบัติโดยต้องเป็นการทำวิจัยที่เน้นตอบยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน. ของประเทศ
    2) ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) สัดส่วนการจัดสรร ไม่เกินร้อยละ
    50 ประกอบดัวย Basic Research Fund ซึ่งกำหนดกรอบและจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานที่เป็นการพัฒนานักวิจัย และสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยของสถาบันความรู้ และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน เพื่อตอบโจทย์ประเทศ และ Functional-based Research Fund กำหนดกรอบและจัดสรรงบประมาณตรงไปที่หน่วยงานตามภารกิจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงาน และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
    (2) การจัดสรรงบประมาณแบบวงเงินรวม (Block grant) และการจัดสรรงบประมาณ
    ต่อเนื่องแบบหลายปี (Multi-year budgeting) มีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานในระบบ ววน. และ PMU เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง PMU
    (3) หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ประจำปี พ.ศ. 2565 ตามแนวทางการ
    จัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ประจำปี พ.ศ. 2565 แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) ไม่เกินร้อยละ 40 โดยการจัดสรรงบประมาณทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ในแต่ละแพลตฟอร์ม จะพิจารณาตามฉากทัศน์ (Scenario) เพื่อตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยพิจารณาผลของการดำเนินงานในการบริหารจัดการของแต่ละโปรแกรม-แพลตฟอร์มในปีที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของกองทุน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
    (4) ระบบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พิจารณาความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์
    ระดับชาติ โดยต้องสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมีการจัดลำดับความสำคัญ และให้ความสำคัญกับผลผลิตมากกว่าทรัพยากรที่ใช้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ ตลอดจนช่วยให้งบประมาณด้าน ววน. ที่มีอยู่อย่างจำกัดสามารถสร้างผลงาน หรือแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศได้ในเวลาที่เหมาะสม โดยกระจายอำนาจให้ PMU
  3. แต่งตั้งประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
    พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
    พ.ศ. 2562 มาตรา 12 กำหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี
    ด้าน ววน. ของประเทศแล้ว ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ให้นายกรัฐมนตรีโดยข้อเสนอของกสว. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. โดยมีองค์ประกอบหนึ่งคือ
    บุคคลซึ่งสภานโยบายมีมติแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคำของบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ตามที่สภานโยบายกำหนดก่อนเสนอไปยังสำนักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
    เพื่อให้การเสนอคำของบประมาณด้าน ววน. ของประเทศ ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย
    และนวัตกรรม เป็นไปโดยเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับปฏิทินของสำนักงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กสว. ในการประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ได้มีมติให้เสนอชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยให้เสนอสภานโยบายพิจารณาแต่งตั้ง

เรื่องเดิม
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีหน้าที่และอำนาจทั้งในส่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดังนี้

  • มาตรา 11 กำหนดให้ สป.อว. มีหน้าที่และอำนาจจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ
  • มาตรา 17 (1) กำหนดให้รัฐมนตรีมีหน้าที่และอำนาจเสนอแนะต่อสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว รัฐมนตรีต้องดำเนินการโดยข้อเสนอแนะและความเห็นชอบของ กกอ.

2. มาตรา 11 (1) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดให้สภานโยบายมีหน้าที่และอำนาจเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน
การอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น
รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

3. สป.อว. ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
แห่งชาติ (สอวช.) จัดทำ (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 –
2570 โดยการจัดทำแผนดังกล่าวได้เชื่อมโยงกับโจทย์สำคัญจากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง แผนปฏิรูปประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. 2563 – 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ

4. สป.อว. เสนอ (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.
2564 – 2570 (ร่าง) กรอบวงเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564 ด้านการอุดมศึกษา และระบบการจัดสรร
และบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ต่อ กกอ. ในการประชุม ครั้งที่ 14/2562 เมื่อวันที่ 23
ธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนฯ (ร่าง) กรอบวงเงินงบประมาณ และ
ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ดังกล่าว

5. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบ
ในหลักการ (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570
เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563 และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนดังกล่าว
เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563 ตามลำดับ และให้ส่ง (ร่าง) แผนดังกล่าวให้สำนักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาดำเนินการตามนัยมติ ครม. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.) ต่อไป

การดำเนินงาน
1. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่
4 มิถุนายน พ.ศ. 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนา
กำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนระดับอุดมศึกษาและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยเพื่อให้การวิจัยและการพัฒนา
นวัตกรรมเกิดความคล่องตัว ทั้งนี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเห็นว่า (ร่าง) แผนดังกล่าว
และให้มุ่งเน้นประเด็นสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
การกำหนดขอบเขตและทิศทางการพัฒนาภายใต้บทบาทใหม่ของการอุดมศึกษา
1.1) ควรกำหนดบทบาทของการอุดมศึกษาให้ครอบคลุมกับบทบาทหน้าที่ที่ระบุ
ไว้ในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะบทบาทการอุดมศึกษาที่เชื่อมโยงกับการประกอบ
อาชีพและการยกระดับผลิตภาพของพื้นที่นั้นๆ รวมถึงบทบาทในด้านการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ ให้
เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้ง สถาบันอุดมศึกษาควรกำหนดเป้าหมายให้มีความเฉพาะเจาะจงที่สอดคล้องกับ
ทิศทางการพัฒนาประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ และนอกจากมุ่งเน้นการพัฒนา
ไปที่ตัวสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ยังควรให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) อื่นๆ
ทั้งภาคเอกชนและคนพื้นที่ รวมทั้ง ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนเป้าหมายที่เป็นการตอบโจทย์ภารกิจ
ด้านอื่นๆ ดังกล่าวร่วมด้วย
1.2) การจัดทำแผนควรคำนึงถึงขนาดและความหลากหลายของสถาบันอุดมศึกษา
ให้ชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องขนาดที่จะส่งผลต่อความสามารถในการสร้างผลลัพธ์ในทิศทางที่ต้องการได้ไม่ว่าจะ
เป็นการตอบโจทย์ชุมชน สังคม ผู้ประกอบการ การ Upskill/Reskill ซึ่งมีบริบทที่เปลี่ยนไปจากอดีตมาก
แนวทางการดำเนินงาน ควรเพิ่มเติมในส่วนของการพัฒนานวัตกรรมการจัดการ
เรียนการสอนที่เป็นทางเลือกใหม่ๆ มีการพัฒนาการอุดมศึกษาสำหรับคนนอกระบบอุดมศึกษา (Non – Aged
Group) ให้เป็นกระแสหลัก โดยเป็นระบบที่เปิดกว้างสำหรับการพัฒนาสมรรถนะให้กับคนทุกช่วงวัย และ
เชื่อมโยงกับภาคเอกชนที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และเป็นแหล่งงานที่สำคัญ เพื่อให้การจัดการเรียนการ
สอนมีความทันสมัยและสามารถผลิตผู้เรียนที่ตรงกับความต้องการของตลาดงานยิ่งขึ้น รวมถึงกำหนดแนวทาง
สำหรับการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมให้ชัดเจนและครบวงจร ซึ่งมีขั้นตอน ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก
เพื่อให้สามารถนำความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้ อาทิ จดลิขสิทธิ์
การทดสอบผลิตภัณฑ์ การสร้างมาตรฐาน การตลาด และกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
3.1) ควรให้ความสำคัญกับกลไกที่จำเป็นต่อการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติให้
เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ ทั้งในส่วนของกลไกด้านงบประมาณ โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณให้สนอง
ด้านอุปสงค์ (Demand side financing) ควรกำหนดแนวทางให้เกิดการนำสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และ
ปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับระบบงบประมาณตามกฎหมายอุดมศึกษาให้ชัดเจน
3.2) กลไกส่วนขององค์กรขับเคลื่อน ควรพิจารณาปรับปรุง/ปฏิรูปการดำเนินงาน
ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการ
ขับเคลื่อนการอุดมศึกษา ให้เป็นหน่วยงานสมัยใหม่ที่จะสนับสนุนการพัฒนาการอุดมศึกษาให้เกิดประสิทธิผล
สูงสุด และกลไกการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาที่ควรมีการปรับแก้กฎระเบียบโดยเฉพาะ
สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น รวมถึงมีกลไกกำกับเรื่องธรรมาภิบาลที่ให้คุณกับ
สถาบันอุดมศึกษาที่ดีและให้โทษแก่สถาบันอุดมศึกษาที่ไม่ดำเนินการตามหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

2. สป.อว. ได้ปรับปรุงแผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ
พ.ศ. 2564 – 2570 ตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
ทราบต่อไป

การดำเนินการ
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมี
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงาน
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม ได้มีการ
ประชุมตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 แล้วจำนวน 13 ครั้ง มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้

1. แก้ไขข้อจำกัดการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับงานวิจัยและนวัตกรรม
สาระสำคัญ

  • การดำเนินการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วจำเป็นต้องมีกลไกการ
    บริหารจัดการที่มีความคล่องตัว โดยเฉพาะกระบวนการจัดหาพัสดุเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา
    การบริการวิชาการ และการสร้างนวัตกรรมซึ่งโดยธรรมชาติมีความเสี่ยงสูงในเรื่องของ
    ความสำเร็จของงานวิจัย และมีความยุ่งยาก และซับซ้อนในการจัดหามากกว่าการจัดหาพัสดุ
    ปกติ อันเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าและส่งผลต่อการส่งมอบผลงานวิจัย
  • พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 19
    กำหนดว่า สภานโยบายอาจขอให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
    ภาครัฐดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หรือขอให้
    ตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ
    การบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม
    วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
  • สถานภาพปัจจุบัน
  • คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้เสนอให้สภานโยบายแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและ
    ออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนา
    วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยมีศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธาน
  • คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างฯ ได้มีการประชุมจำนวน 6 ครั้ง
    โดยได้จัดทำร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง
    หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของ
    สถาบันอุดมศึกษา เสนอต่อสภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 2/2563 (วันที่ 17 กันยายน
    2563) เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย
    การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณาต่อไป
  • สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/
    2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ
    คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อ
    จัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา และ
    มอบหมายสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
    (สอวช.) ส่งร่างประกาศดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
    ภาครัฐพิจารณา และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    การดำเนินงานขั้นต่อไป
    สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
    จะประสานกรมบัญชีกลางเพื่อพิจารณาร่างประกาศดังกล่าว และดำเนินงานตามมติของสภา
    นโยบายต่อไป

2. การส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรม โดยกลไก Holding Company
สาระสำคัญ

การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมและกฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม (อว.) ให้อำนาจสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนผู้ประกอบการนำความรู้ ผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ และให้อำนาจหน่วยงานรัฐในการร่วมลงทุนกับเอกชน
เพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการร่วมลงทุนระหว่างมหาวิทยาลัย/
สถาบันวิจัยและภาคเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company เป็นรูปแบบหนึ่ง
ที่สามารถผลักดันให้งานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผลสูง
สถานภาพปัจจุบัน

  • สอวช. ได้หารือผู้เชี่ยวชาญทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายเพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่และ
    อำนาจในการดำเนินการกิจกรรมการร่วมลงทุน รวมถึงขั้นตอนการร่วมลงทุนในรูปแบบ Holding
    Company ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เพื่อให้เกิดความ
    เข้าใจร่วมกันและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว ช่วยในการตัดสินใจของ
    ผู้บริหารหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส และได้จัดทำหลักการของชุด
    มาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนโดยกลไก Holding Company
  • สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบ
    หลักการส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company
    ตามที่ สอวช. เสนอ และให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศ
    นวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ เพื่อดำเนินการกำหนดแนวทาง
    กลไก มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้สามารถดำเนินงานส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม ได้
    อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมถึงกำหนดแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ
    ที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมต่อไป
    การดำเนินงานขั้นต่อไป
    สอวช. จะดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศ
    นวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบต่อไป

3. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….
สาระสำคัญ

แนวคิดของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ผู้รับทุนวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมที่เกิดจากการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนของรัฐได้ ทำให้เกิดความ
คล่องตัวในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้รับทุนไปยังภาคเอกชนซึ่งจะเป็นผู้นำผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมนั้นไปผลิตเป็นสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้โดยไม่ติดกับระเบียบหรือกฎหมายของหน่วยบริหารและจัดการทุนของรัฐ (ผู้ให้ทุน) นอกจากนี้ ยังได้กำหนดกลไกในการสร้างแรงจูงใจให้แก่
นักวิจัยในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยนักวิจัยจะ
ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมนั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผล
ต่อการเพิ่มปริมาณและคุณภาพทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ
สถานภาพปัจจุบัน
กระทรวง อว. โดย สอวช. ได้เสนอร่างต่อคณะรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 4 กันยายน
2561 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จ อว. อยู่ระหว่างส่ง
หนังสือยืนยันร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และเสนอให้
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. …. และเสนอให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้รับการพิจารณาตามแผนและขั้นตอนการ
ดำเนินการปฏิรูปประเทศ ตามนัยของการจัดทำกฎหมายปฏิรูปประเทศในหมวด 16 การปฏิรูป
ประเทศ มาตรา 258 ฉ. ด้านเศรษฐกิจ
การดำเนินงานขั้นต่อไป
กระทรวง อว. โดย สอวช. เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(สลค.) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีขอยืนยันร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และขอให้พระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณา
กฎหมายตามแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ตามนัยของการจัดทำกฎหมายปฏิรูป
ประเทศในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ฉ. ด้านเศรษฐกิจ และจัดทำกฎหมายลำดับ
รองภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

4. การขับเคลื่อน Regulatory Sandbox เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านเกษตร อาหารและ Circular
Economy
สาระสำคัญ

หลักการการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ (Sandbox) ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตราที่ 14 และ 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ประโยชน์ในการดำเนินการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนา
ประเทศหรือเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ในการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง
ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยให้สภานโยบายมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ
วิจัยนั้น และให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายได้รับสิทธิประโยชน์และการยกเว้นมิให้นำกฎหมายมาบังคับใช้
สถานภาพปัจจุบัน
สอวช. ได้จัดทำรายงานการศึกษาหลักการการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการสร้าง
นวัตกรรมด้านเกษตร อาหารและ Circular Economy โดยรวบรวมปัญหาและอุปสรรค วิเคราะห์
ประเด็นกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความต้องการในการแก้ไขประเด็นกฎหมายและ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว การจัดลำดับความสำคัญหัวข้อที่ควรได้รับการผ่อนปรนกฎหมายและ
มาตรการ และจัดกลุ่มประเด็นกฎหมายและระเบียบที่ต้องการแก้ไข เพื่อจัดทำแผนดำเนินการสำหรับ
มาตรการและแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อน Regulatory Sandbox เพื่อสร้างนวัตกรรมด้าน
เกษตร อาหารและ Circular Economy
การดำเนินงานขั้นต่อไป
สอวช. เสนอต่อสภานโยบายให้พิจารณามอบหมายคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องที่ฝ่าย
เลขานุการเสนอให้มีการแต่งตั้งในการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2563 ขับเคลื่อน Regulatory Sandbox เพื่อสร้างนวัตกรรมด้าน
เกษตร อาหารและ Circular Economy โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการดำเนินงานร่วมกับ
หน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ ที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายและระเบียบในเรื่อง
นั้น ๆ

5. การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
สาระสำคัญ

การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความ
เป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
สนับสนุนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนา (Transformation) เชิงระบบและธรรมาภิบาลของ
การอุดมศึกษา เพื่อตอบสนองตามความต้องการและครอบคลุมคนทุกกลุ่มให้สามารถเข้าถึง
การอุดมศึกษาที่มีคุณภาพในต้นทุนที่สามารถเข้าถึงได้ รวมถึง สนับสนุนเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้แก่
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
สถานภาพปัจจุบัน
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และ สอวช.
ได้จัดทำข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษา เสนอต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(กกอ.) โดยที่ประชุม กกอ. มีมติเห็นชอบหลักการการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม
2563 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
การดำเนินงานขั้นต่อไป
สป.อว. เสนอการจัดตั้งกองทุนต่อคณะกรรมการนโยบายทุนหมุนเวียนเพื่อขออนุมัติจัดตั้งกองทุน และ
ยุบรวมกองทุนอุดมศึกษาเอกชน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม (รมว. อว.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (รมว. กค.) ร่วมกันเสนอข้อเสนอจัดตั้ง
กองทุนต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ และ
ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติต่อไป

6. ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สาระสำคัญ

  • มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
    และนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดเมื่อครบสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้
    คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ตามมาตรา 41 ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติ
    ราชการตามหน้าที่และอำนาจของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการตามมาตรา 8 (4)
    และในกรณีที่เห็นว่า ผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างและ
    กลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
    นวัตกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งสำนักงานการวิจัย
    แห่งชาติเป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน โดยเสนอพร้อมร่างพระราชกฤษฎีกาด้วย และเมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับให้มาตรา 8 (4) และมาตรา 13
    เป็นอันยกเลิก โดยหลักเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามที่
    คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ กำหนด
  • คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ อว. แต่งตั้ง
    คณะกรรมการกำกับประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัย
    แห่งชาติ (วช.) โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ทำหน้าที่
    เสนอแนะการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติ
    ราชการ เสนอแนะการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ รวมถึงการพัฒนาหรือ
    ปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารของ วช. ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ
    สถานภาพปัจจุบัน
    คณะกรรมการกำกับประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ได้มีการประชุมแล้ว
    3 ครั้ง โดยพิจารณากรอบการประเมิน ประเด็นการประเมิน และกลไกและขั้นตอนการประเมิน
    โดยใช้หลักการประเมินเพื่อการพัฒนา (Development Evaluation) และให้มีการประเมินโดย
    เทียบเคียงผลการปฏิบัติงาน (Benchmarking) กับหน่วยงานบริหารและจัดการทุน (Program
    Management Unit: PMU) อื่น ๆ และเห็นชอบต่อ (ร่าง) หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมิน
    ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรียบร้อยแล้ว
    การดำเนินงานขั้นต่อไป
    คณะกรรมการกำกับประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. จะจัดทำรายละเอียด
    หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดตามประเด็นการประเมิน (ร่วมกับ วช. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) ต่อไป ทั้งนี้
    ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับการประเมินฯ จะนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานต่อ
    คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน. เพื่อทราบความก้าวหน้าและให้ความเห็นและ
    ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการประเมินฯ ต่อไป

7. ข้อเสนอการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม
สาระสำคัญ

คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้าน ววน. ได้เสนอ
ผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ โดยได้รับข้อเสนอแนะ ดังนี้
การคำนวณกรอบวงเงินงบประมาณใหม่ควรพิจารณาบริบทภาพรวม และกรอบวงเงินงบประมาณ
ของทั้งประเทศสำหรับการเสนอกรอบวงเงินต่อสำนักงบประมาณควรมีรายละเอียดเพียงพอที่จะ
ชี้แจงได้ว่าผลที่จะได้รับจากการลงทุนคืออะไร เพื่อให้สามารถจัดลำดับความสำคัญร่วมกับกรอบ
วงเงินงบประมาณของประเทศได้ โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ
ประสานงานกับสำนักงบประมาณเพื่อให้กรอบวงเงินงบประมาณที่กำหนดมีความเหมาะสม และ
เป็นส่วนหนึ่งของกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สถานภาพปัจจุบัน

  • คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 20 เมษายน
    2563 พิจารณาแนวทางการจัดทำกรอบวงเงินด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
    นวัตกรรม และมีมติให้มอบหมายฝ่ายเลขานุการรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
    ของที่ประชุมเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา
    และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • สอวช. ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดทำการศึกษาแนว
    ทางการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    และนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน. ในการประชุม
    ครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 โดยที่ประชุมให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดสรรและ
    บริหารงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้าน ววน. อย่าง
    มีประสิทธิภาพต่อไป อาทิ
    − ควรพิจารณากลไกอื่นๆ ควบคู่ไปกับกลไกการจัดสรรงบประมาณในการกระตุ้น
    ภาคเอกชนลงทุนทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม เช่น กลไกตลาดภาครัฐ มาตรการภาษี
    − ควรให้มีการกำหนดโจทย์และ OKRs ร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    − ควรพิจารณาการสนับสนุนภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการสนับสนุนเกษตรกร ด้วย
    เทคโนโลยีที่เหมาะสมและระบบบริหารจัดการ
    การดำเนินงานขั้นต่อไป
    สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางและ
    ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ต่อไป

8. การวางระบบเชื่อมโยงข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สาระสำคัญ

  • การจัดทำฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา
    มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 กำหนดว่า กระทรวงมีหน้าที่จัดทำ
    ฐานข้อมูลการอุดมศึกษาของประเทศ โดยรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลที่
    เกี่ยวกับการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการ
    ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 42 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
    เงื่อนไขที่สภานโยบายกำหนดการเปิดเผยข้อมูลตามความในส่วนนี้ย่อมได้รับความคุ้มครองและ
    จะนำไปเป็นเหตุในการฟ้องร้องดำเนินคดีใด ๆ มิได้
  • การจัดทำฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
    กำหนดว่า ให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจัดทำฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    ของประเทศเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจัดให้มี
    ระบบข้อมูลสารสนเทศกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัย และนวัตกรรมระดับชาติ
    และนานาชาติกับระบบสารสนเทศของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม และให้มีอำนาจ
    เข้าถึงฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงานดังกล่าวทุกหน่วยงาน ให้
    หน่วยงานของรัฐในระบบวิจัยและนวัตกรรมทุกหน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรม
    ตามมาตรา 22 และมาตรา 23 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนกับระบบข้อมูลสารสนเทศกลาง
    ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจัดทำขึ้นตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติเชื่อมโยงข้อมูล
    การวิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรานี้ กับระบบข้อมูลสารสนเทศของ
    สอวช. และ สกสว. โดยให้ สอวช. และ สกสว. มีอำนาจนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติ
    หน้าที่ได้
    สถานภาพปัจจุบัน
    คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563
    พิจารณาการจัดทำฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา และการจัดทำฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
    นวัตกรรม มีข้อเสนอแนะดังนี้
  • การจัดทำฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา : ควรมีการออกแบบโครงสร้างระบบข้อมูล
    (Architecture) โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เป็นระบบสารสนเทศกลางด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
    วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ของประเทศ โดยออกแบบระบบให้มีกลไกการดำเนินการที่สอดคล้อง
    กับระบบข้อมูล National Data Catalogue กลางของประเทศ และใช้ประโยชน์ในการติดตามและ
    ประเมินผลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ควรต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจนในการได้มาซึ่ง
    ข้อมูลต่าง ๆ ที่ครบถ้วนและครอบคลุม รวมถึงต้องใช้งานได้ง่าย (User Friendly) และมีการจัด
    หมวดหมู่อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของ
    สาธารณชน นอกจากนี้ โครงสร้างระบบข้อมูลควรมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลของภาคเอกชนด้วย
    รวมถึงการบริหารจัดการฐานข้อมูลควรจ้างหน่วยงานภายนอก (Outsource) เพื่อให้มีการปรับปรุง
    ข้อมูล (Update) ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลได้อย่างทันการณ์ รวมถึงต้อง
    กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อให้มีข้อมูลที่มีคุณภาพ
  • การจัดทำฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม : ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
    นวัตกรรม ในส่วนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    มีค่อนข้างครบถ้วน ส่วนข้อมูล ววน. ในส่วนอื่น ๆ ควรมีกลไกในการจัดเก็บข้อมูลโดยการสร้าง
    แรงจูงใจในลักษณะ Positive Enforcement เช่น การให้สิทธิประโยชน์การจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ
    (Government Procurement) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมส่วนใหญ่อยู่ที่
    ภาคเอกชนจึงต้องมีกลไกหรือวิธีการเพื่อจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้ให้ถูกต้องและครบถ้วน สำหรับระบบ
    สารสนเทศกลางต้องเป็นระบบที่สนับสนุนการติดตามและประเมินผลในลักษณะ PDCA ได้แก่ Plan
    Do Check และ Act และระบบข้อมูลสารสนเทศกลางควรจัดทำให้เห็นภาพรวมด้านการอุดมศึกษา
    วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการอุดมศึกษา และข้อมูล
    ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งข้อมูลควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ ระบบ NRIIS ควรมี
    การเชื่อมโยงและนำเข้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้มีการไหลข้อมูลเข้าระบบโดยอัตโนมัติ และมี
    การกรองข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลได้อย่างรวดเร็ว และควรกำหนดบทบาท หน้าที่
    ของผู้รับผิดชอบข้อมูลในแต่ละส่วนให้ชัดเจน
    การดำเนินงานขั้นต่อไป
    สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลด้าน
    การอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามแนวทางและข้อเสนอแนะ
    ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ต่อไป

9. ข้อเสนอเชิงนโยบายการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SBIR: Small
Business Innovation Research และ STTR: Small Business Technology Transfer Research)
สาระสำคัญ

โปรแกรมการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SBIR/STTR) มีหลักการสำคัญ
ในการสนับสนุนเงินทุนให้เปล่าแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยตรงเพื่อทำโครงการวิจัย
และนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของภาครัฐและสังคม โดยมีกระบวนการและขั้นตอนการสนับสนุนงบประมาณที่มีมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการ เช่น การกำหนดโจทย์วิจัยและนวัตกรรมที่มา
จากความต้องการของหน่วยงาน การมีผู้เชี่ยวชาญประเมินการให้ทุน 3 ระยะ และมีกลไกการรับซื้อ
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเมื่อสำเร็จ นอกจากนี้ ในกรณีของ STTR ได้กำหนดให้มีการดำเนินการ
ร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย โดยโปรแกรม SBIR และ STTR มุ่งหวังให้เกิดผลในการกระตุ้น
เศรษฐกิจ โดยมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และออกสู่ตลาดได้จริง
ก่อให้เกิดการจ้างงานระบบวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้น
สถานภาพปัจจุบัน
สอวช. ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เสนอ
ต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ สอวช. โดยที่ประชุมมีมติ
เห็นชอบในหลักการ และเสนอต่ออนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรม ภายใต้สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบใน
หลักการและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการร่วมกับ สอวช. จัดทำรายละเอียดมาตรการเพื่อ
ผลักดันการให้ทุนตามหลักการต่อไป
การดำเนินงานขั้นต่อไป
สอวช. ร่วมกับ สกสว. และหน่วยบริหารและจัดการทุน ผลักดันการให้ทุนตามหลักการ SBIR/STTR
เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเกิดการ
ขับเคลื่อนการดำเนินงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

10. การตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ
สาระสำคัญ

มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรม กำหนดให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตาม
กฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และ
เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ให้มาตรา 8 (3) และมาตรา 12 เป็นอันยกเลิก
สถานภาพปัจจุบัน

  • คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2562 วันที่ 9 ธันวาคม
    2562 มีมติรับทราบกลไกการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสำหรับ
    นวัตกรรม (NQI for Innovation) ของกรมวิทยาศาสตร์บริการโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการได้
    จัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ พ.ศ. …. เพื่อการบริหารจัดการองค์การ
    ให้มีประสิทธิภาพ พ.ศ. …. และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบัน
    วิทยาศาสตร์บริการ พ.ศ. … . จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนผ่านทางเว็บไซต์ ตั้งแต่
    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2563 เพื่อประมวลความเห็นประกอบการ
    เสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ พ.ศ. …. เพื่อตราเป็นกฎหมายต่อไป
  • คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563
    พิจารณาเรื่อง การปรับบทบาทของกรมวิทยาศาสตร์บริการเพื่อรองรับการเป็นองค์การมหาชน
    ในอนาคต และมีมติให้กรมวิทยาศาสตร์บริการหารือกับสำนักงาน ก.พ.ร. ถึงแนวทางและความ
    เป็นไปได้ที่เหมาะสมในการใช้พระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์
    บริการ ต่อไป
    การดำเนินงานขั้นต่อไป
    กรมวิทยาศาสตร์บริการดำเนินการปรับแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ
    พ.ศ. …. เพื่อเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ พิจารณาต่อไป

เรื่องเดิม
การปฏิรูปด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีเป้าหมายให้เกิดการบูรณาการ
ทางการผลิตและพัฒนากำลังคนในระดับสูง การพัฒนาหรือสร้างความรู้จากการศึกษาวิจัย ซึ่งส่วนหนึ่งนำไปใช้
ในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนางานแต่ละด้าน กับการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ
เศรษฐกิจ และการจัดระบบการพัฒนาพื้นฐานของงานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจน กระบวนการการ
ทดสอบ สอบเทียบ วัด คุณสมบัติต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
บูรณาการที่มุ่งหวัง มีทั้งด้านนโยบาย ได้แก่ การมีสภานโยบาย อววน. ด้านโครงสร้างองค์กร
ได้แก่ การควบรวมเกิดกระทรวง อว. ด้านงบประมาณ ได้แก่การจัดตั้งกองทุน ววน. และการจัดสรรงบประมาณ
ประจำปี ด้านวิจัยและนวัตกรรมทั้งหมดเข้าไว้ในกองทุนด้านข้อมูล ได้แก่ การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศกลาง
เพื่อการบริหารจัดการและนำไปสู่ฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ กับการเชื่อมโยงระบบข้อมูลอื่น ๆ

การดำเนินการ
การบูรณาการข้อมูล ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ในอดีตได้มีการดำเนินการมาบ้างแล้วเฉพาะการบริหารจัดการโครงการวิจัยคือ National Research
Management System (NRMS) ซึ่งตั้งแต่ปรับโครงสร้างใหม่ สอวช. สกสว. และ วช. ก็ได้ร่วมมือกันพัฒนาให้
เกิดระบบข้อมูลที่ครอบคลุมงานด้านวิจัยและนวัตกรรมทั้งหมด ได้แก่

  1. โครงการวิจัย
  2. การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม
  3. การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม
  4. เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อการวิจัย
  5. การพัฒนาระบบสนับสนุนและระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม
    ระบบข้อมูลใช้ในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้น คือ
    – การนำเสนอโครงการต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือก
    – การบริหารจัดการโครงการที่ได้รับการสนับสนุน รวมทั้งกำกับติดตามความก้าวหน้าและ
    ข้อมูลทางการเงิน
    – การนำส่งผลผลิตในรูปแบบต่าง ๆ
    ผลผลิตจากการสนับสนุนได้ถูกออกแบบให้นำส่งหรือเชื่อมโยงเข้าสู่ฐานข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ซึ่ง
    จะติดตามต่อเนื่องอีก 1-3 ปี ได้แก่
    – ฐานข้อมูลผลงานวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อบันทึกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปของบทความใน
    วารสารอันจะเชื่อมต่อและโยงไปยังฐานข้อมูลบทความตีพิมพ์ในฐานข้อมูลวารสารภายในประเทศ (Thailand
    Citation Index-TCI) และกำลังพยายามเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล Scopus บทความตีพิมพ์ในวารสารระดับ
    นานาชาติที่ได้รับความเชื่อถือสูง
    – ฐานข้อมูลสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมหรืองานวิจัยที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ ในกลุ่มที่มีความ
    พร้อมทางเทคโนโลยี (Technology Readiness Level-TRL) ตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป ซึ่งจะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล
    การยื่นขอขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ
    – ฐานข้อมูลผลงานวิจัยที่มีศักยภาพในการพัฒนาชุมชน สังคมและพื้นที่
    – ฐานข้อมูลผลงานวิจัยในรูปแบบของนโยบายและการวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาองค์กรหรือกำหนดนโยบาย

เรื่องเดิม

ในปี ค.ศ. 1895 อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ดิน
ระเบิดไดนาไมท์ได้เขียนพินัยกรรมมอบทรัพย์สินส่วนใหญ่มาเป็นทุนในการจัดตั้งรางวัลให้กับผู้ที่ได้สร้าง
คุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ (Greatest Benefit on Mankind) โดยพิจารณาจากผลงานวิจัยหรือความ
เชี่ยวชาญที่โดดเด่นทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม โดยมูลนิธิโนเบลได้จัดให้มีการให้รางวัลครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1901 ใน สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณกรรม และสันติภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 1968 คณะกรรมการ
ธนาคารกลางแห่งสวีเดน ได้จัดให้มีการมอบรางวัลสาขาเศรษฐศาสตร์ เพิ่มเ ติมอีก 1 สาขา เพื่อเป็น
การระลึกถึง อัลเฟรด โนเบล ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในแต่ละสาขาถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดในสาขาวิชาชีพนั้นๆ โดยจะได้รับ
เหรียญรางวัลโนเบล ใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัลประมาณ 9 ล้านโครนาสวีเดนหรือประมาณ 32 ล้าน
บาท ระหว่างปี ค.ศ. 1901 ถึง ค.ศ. 2019 มีผู้ได้รับรางวัลโนเบล รวมทั้งสิ้น 597 คน แบ่งเป็นสาขาฟิสิกส์
113 คน เคมี 111 คน การแพทย์ 110 คน วรรณกรรม 112 คน สันติภาพ 100 คน และเศรษฐศาสตร์ 51 คน
คนไทยที่ได้รับเกียรติให้เป็นคณะกรรมการเสนอชื่อผู้ได้รับรางวัลที่ผ่านมามี 2 ท่าน ได้แก่
1) พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ (หม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์) กรรมการสาขาสันติภาพ ปี ค.ศ. 1928
และ 2) พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร) กรรมการสาขาสันติภาพ
ปี ค.ศ. 1963

ผลการประกาศรางวัลโนเบล ประจำปี 2020

สำหรับปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) มูลนิธิโนเบลได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลในสาขา
ต่างๆ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2563 ดังนี้

  1. สาขาการแพทย์ มีผู้ได้รับรางวัลร่วม 3 ท่าน คือ Harvey J. Alter นักวิทยาศาสตร์ชาว
    อเมริกัน ร่วมกับ Michael Houghton นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และ Charles M. Rice นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จากผลงานการค้นพบไวรัสตับอักเสบชนิด ซี (Hapatitis C Virus: HCV) ซึ่งในขณะนั้นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับในผู้ป่วยทั่วโลก การค้นพบนี้ ช่วยให้ลดจำนวนผู้ป่วยอาการตับอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส HCV และช่วยพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วย รวมถึงระบบการบริจาคเลือดที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  2. สาขาเคมี มีผู้ได้รับรางวัลร่วม 2 ท่าน คือ Emmanuelle Charpentier นักวิทยาศาสตร์
    ชาวฝรั่งเศส ร่วมกับ Jennifer Doudna นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน จากการค้นพบการทำงานของระบบ
    CRISPR/Cas9 หรือที่รู้จักกันในชื่อกรรไกรตัดต่อดีเอ็นเอ (Genetic scissors) ซึ่งระบบ CRISPR/Cas9
    ประกอบด้วย RNA สองชนิดทำงานประสานกันในการตัดต่อ DNA ได้อย่างแม่นยำ จากเดิมการตัดต่อ DNA นักวิจัยจะต้องแสวงหาโปรตีนหรือทำการวิศวกรรมเอนไซม์ให้มีความจำเพาะกับ DNA ที่ต้องการตัดต่อ ซึ่งเป็นเรื่องยากและใช้เวลานานหลายเดือนถึงปี จึงจะสามารถตัดต่อ DNA ลำดับที่ต้องการได้ หรือ ไม่อาจจะทำได้โดยสิ้นเชิง แต่ระบบ CRISPR/Cas9 สามารถทำได้และย่อเวลาได้เหลือเพียง 2 วัน นับเป็นการค้นพบที่พลิกโฉมและปฏิวัติงานวิจัยพื้นฐานที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนาพันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาอาหารขาดแคลน ในด้านการแพทย์เทคนิคนี้ช่วยให้การตัดแต่งลำดับพันธุ์ในมนุษย์เพื่อรักษาโรคมะเร็ง หรือโรคทางพันธุกรรมให้หายขาด เข้าใกล้ความจริงมากขึ้น
  3. สาขาฟิสิกส์ มีผู้ได้รับรางวัลร่วม 3 ท่าน คือ Sir Roger Penrose นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวอังกฤษ ร่วมกับ Reinhard Genzel นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน และ Andrea Ghez นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ชาวอเมริกัน สำหรับการพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์ถึงการมีอยู่ของหลุมดำ (Black hole) โดยในปี ค.ศ. 1960 Sir Roger Penrose ได้อธิบายพฤติกรรมและการเกิดขึ้นของหลุมดำ ด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ในขณะที่ Reinhard Genzel และ Andrea Ghez ได้ศึกษาพฤติกรรมของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้
    บริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก และเฝ้าติดตามวงโคจรของดาวฤกษ์เหล่านี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ถึงปัจจุบัน ได้พบว่าดาวฤกษ์กลุ่มนี้มีการโคจรด้วยความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าใกล้ศูนย์กลางทางช้างเผือก วัตถุเดียวที่จะสามารถทำการเร่งให้ดาวฤกษ์หลายดวงเปลี่ยนแปลงความเร็วได้นั้นคือ การมีอยู่ของวัตถุซึ่งจะต้องมีมวลมหาศาลถึงสี่ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์อัดแน่นอยู่ในพื้นที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งในทางดาราศาสตร์วัตถุจะมีมวลสูงยิ่งยวดเช่นนั้น คือ หลุมดำ
  4. สาขาวรรณกรรม มอบให้กับ Louise Glück นักกวีหญิงชาวอเมริกัน ซึ่ง สถาบัน Swedish Academy กล่าวยกย่องผลงาน ของ Glück ว่า “สวยงามอย่างสมถะและมีความเป็นสากล” Glück ตีพิมพ์บทกวีออกมาแล้ว 12 เล่ม และงานที่เป็นความเรียง 2 เล่ม เนื้อหาส่วนใหญ่ว่าด้วยความทุกข์ทรมาน ความตาย และการเยียวยา ผลงานทั้งหมดของเธอล้วนแต่สะท้อนให้เห็นการแสวงหาความชัดเจน ชีวิตวัยเด็ก
    และครอบครัว ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครอบครัวและพี่น้องเป็นแก่นหลักที่อยู่ในงานของเธอ
  5. สาขาสันติภาพ มอบให้กับโครงการอาหารโลก (World Food Programme: WFP) สำหรับความพยายามต่อสู้กับความหิวโหยและสนับสนุนสันติภาพในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง รวมถึงความพยายามเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ผู้อดอยากหิวโหยเป็นเครื่องมือในการทำสงครามและสร้างความ
    ขัดแย้ง โครงการอาหารโลกเป็นองค์กรการกุศลที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีภารกิจหลักในเรื่องการสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารและขจัดความหิวโหย ในปี ค.ศ. 2019 โครงการอาหารโลกได้ให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยขาดแคลนอาหารอย่างฉับพลันประมาณ 100 ล้านคน ใน 88 ประเทศ โดยวาระการขจัดความหิวโหยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals)
  6. สาขาเศรษฐศาสตร์ มอบให้กับ 2 นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน Paul R. Milgrom และ
    Robert B. Wilson สำหรับการปรับปรุงทฤษฎีการประมูลและออกแบบวิธีการประมูลให้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงกับการประมูลสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้หรือตีราคากลางได้ยาก เช่น ความถี่คลื่นวิทยุ กระแสไฟฟ้า เวลาการบิน (ขึ้นบิน-ลงจอด) จำนวนคาร์บอนเครดิต เป็นต้น โดยในปี ค.ศ. 1994 Paul R. Milgrom และ Robert B. Wilson ได้ออกแบบและเสนอวิธีการประมูลคลื่นความถี่วิทยุที่จะมีขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เนื่องจากคลื่นความถี่วิทยุเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจะล่วงรู้มูลค่าได้ในขณะที่ทำการประมูล และผู้ชนะการประมูลอาจจะกลายเป็นผู้แพ้การประมูลได้ในภายหลัง (winner’s curse) หากสินค้านั้นไม่ได้สร้างกำไร หรือมีมูลค่าดังที่ผู้ประมูลคาดการณ์ไว้ ผลงานของ Paul R. Milgrom และ Robert B. Wilson นำไปสู่การออกแบบวิธีการประมูลแบบใหม่ของการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความโปร่งใสเป็นธรรม และสร้างมูลค่าในทรัพย์สินภายหลังให้กับรัฐและผู้ชนะการประมูล

เรื่องเดิม
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
มาตรา 6 กำหนดให้มีสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
(สภานโยบาย) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน
ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พิจารณาเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณ
และเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณ ตลอดจนกำกับคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม คณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา รวมถึงหน่วยงานในระบบ
วิจัยและนวัตกรรมให้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้
สภานโยบายมีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกสามเดือน

การดำเนินการ
สอวช. ได้จัดทำแผนการดำเนินการประชุมสภานโยบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็น
แนวทางการจัดประชุมสภานโยบาย รายละเอียดตามเอกสารประกอบวาระ