ความเป็นมา
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 18 กำหนดให้ในการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจของสภานโยบาย ในเรื่องใดที่สภานโยบายเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ หรือมีเหตุอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจของสภานโยบาย ให้สภานโยบายมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องเพื่อดำเนินการแทนสภานโยบายได้
คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการสภานโยบาย และให้ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ แต่งตั้งพนักงานสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติทำหน้าที่เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ในกรณีจำเป็นสภานโยบายอาจมีมติให้เชิญบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณา ให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะกรรมการด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการสำหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น
เมื่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องได้มีมติในเรื่องใดแล้ว ให้ถือว่าเป็นมติของสภานโยบายและให้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ดำเนินการตามมตินั้น เว้นแต่สภานโยบายจะกำหนดเป็นอย่างอื่นเฉพาะกรณี
การดำเนินงาน
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนสภานโยบาย ตามรายชื่อคณะกรรมการและบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เพื่อเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องในฐานะกรรมการ ที่ฝ่ายเลขานุการนำเสนอ และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการสภานโยบาย ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งและได้เสนอประธานสภานโยบายลงนามคำสั่งเรียบร้อย เมื่อวันที่
๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ ได้เสนอรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ที่จะเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ ในฐานะกรรมการ โดยมีรายชื่อดังนี้
- ศาสตราจารย์กิตติชัย วัฒนานิกร
- ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล
- ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์
- รองศาสตราจารย์เจษฎา วรรณสินธุ์
- รองศาสตราจารย์ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
- รองศาสตราจารย์ปัทมาวดี โพชนุกูล
ความเป็นมา
เพื่อให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม และนวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ และประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในระบบการอุดมศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของประเทศ มีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต และสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยและทุกกลุ่มฐานะเศรษฐกิจสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ นำไปสู่การพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาและการสร้างมาตรฐานอุดมศึกษาในกระบวนทัศน์แบบใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ และข้อ ๕ ของระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกอบกับมติที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงแต่งตั้งกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเป็นคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อปฏิบัติงานตามที่มอบหมายหรือมอบให้ทำการแทน
ความเป็นมา
ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เปิดรับข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ตามประกาศของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถยื่นข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการ ได้จนถึงภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ พบว่ามีสถาบันอุดมศึกษายื่นข้อเสนอการจัดการศึกษาเชิงหลักการมายังสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำนวน ๑๖๙ ข้อเสนอ
คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้เริ่มพิจารณาข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการ ในการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นมา โดยความก้าวหน้าการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาเชิงหลักการที่อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรอง จำนวน ๑๓๙ ข้อเสนอ
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาเชิงหลักการที่คณะทำงานฯ มีมติให้ทบทวนและปรับปรุงข้อเสนอ จำนวน ๗ ข้อเสนอ
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาเชิงหลักการที่คณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบ และอยู่ระหว่างการพัฒนาข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ จำนวน ๔ ข้อเสนอ ได้แก่
- ข้อเสนอแพลตฟอร์มส่งเสริมการผลิตกำลังคนในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาฯ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมบูรณาการระบบการผลิต (SI)
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาฯ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม (หลักสูตรสองภาษา)
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาฯ หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินนานาชาติ
- ข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่คณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบและเห็นควรให้เสนอต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อขออนุมัติจัดการศึกษา จำนวน ๔ ข้อเสนอ ได้แก่
- ข้อเสนอการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์
- ข้อเสนอการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล
- ข้อเสนอการผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur (Harbour.Space)
- ข้อเสนอการผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม
ความเป็นมา
ตามที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้นำส่งข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการมาที่กระทรวง อว. โดยข้อเสนอดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันของ ๑๐ หน่วยงาน ได้แก่ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สถาบันพระบรมราชชนก และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อร่วมกันจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์ และคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการดังกล่าว พร้อมมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาฉบับสมบูรณ์
การดำเนินงาน
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และหน่วยงานร่วมดำเนินการได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์การผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์แล้วเสร็จ และผ่านการเห็นชอบจากสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ จากนั้นได้นำส่งให้คณะทำงานฯ พิจารณากลั่นกรองในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๘/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งคณะทำงานฯ เห็นสมควรให้นำเสนอข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวแล้วพบว่ามีความครบถ้วนตามข้อกำหนดสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- หลักสูตร: หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ ระดับปริญญาตรี
- ผู้รับผิดชอบ:
- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- สถาบันพระบรมราชชนก
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- ประเภทกำลังคน: กำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ในระดับผู้ประกอบโรคศิลปะ
- จุดเด่นของหลักสูตร:
- ผู้รับผิดชอบ:
๑) เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาซึ่งครอบคลุมทั้งสถาบันที่มีการผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์อยู่แล้วในปัจจุบัน และสถาบันที่ยังไม่เคยผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์มาก่อน องค์กรรับรองทางวิชาชีพ และสถาบันที่เกี่ยวข้องจัดทำหลักสูตรร่วมกัน เพื่อแบ่งปันทรัพยากรในการจัดการศึกษา และเพื่อขยายกำลังการผลิต
๒) จัดการเรียนการสอนในระบบหน่วยกิจกรรม (Modular system) โดยกำหนดให้หน่วยกิจกรรม (Module) เป็นการประเมินผลความสามารถในกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อถือไว้ใจได้ (Entrustable Professional Activity; EPA) มุ่งเน้นการประเมินความสามารถในวิชาชีพแบบการกำหนดมาตรฐานชัดเจนโดยยืดหยุ่นระยะเวลา (Fixed standard and flexible time) และให้มีการเทียบประเมินความสามารถเพื่อลดหรือยกเว้นการศึกษาในบางหน่วยกิจกรรมได้ โดยในแต่ละหน่วยกิจกรรมครอบคลุมทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ไม่แยกเป็นรายวิชาเฉพาะทฤษฎีหรือรายวิชาปฏิบัติ รวมถึงมีการผสานวิชาศึกษาทั่วไปเข้าไปในหน่วยกิจกรรมต่างๆ
๓) สถานที่ฝึกปฏิบัติทั่วประเทศ และมีการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและลดข้อจำกัดด้านการเข้าถึง
- ข้อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ต้องการขอยกเว้น: เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
พ.ศ. 2565 โดยขอยกเว้นในประเด็นต่างๆ ดังนี้- ข้อ ๖ ระบบการจัดการศึกษา และ ข้อ ๗ การคิดหน่วยกิต โดยขอใช้ระบบหน่วยกิจกรรม ซึ่งเป็นการประเมินผลจากความสามารถในกิจกรรมวิชาชีพ โดยไม่ประเมินว่ามีความสามารถด้วยระยะเวลาการเรียน (Time-based)
- ข้อ ๙ โครงสร้างหลักสูตร โดยขอปรับโครงสร้างหลักสูตรให้เป็นหน่วยกิจกรรมที่สัมพันธ์กับ EPAs และหน่วยกิจกรรมบังคับเลือกและเลือกเสรี จากเดิมที่ประกอบด้วย ๓ หมวด ได้แก่ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี และขอผสมผสานเนื้อหาของวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาเฉพาะเข้าไปในหน่วยกิจกรรมต่าง ๆ
- ข้อ ๑๓. เกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา โดยขอยกเว้นการใช้ระดับคะแนนเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษา แต่ต้องผ่านการประเมินความสามารถในวิชาชีพระดับที่ยอมรับได้ทุกรายหน่วยกิจกรรม ในการวัดผลการศึกษาในเบื้องต้น แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ดีเลิศ ผ่าน และไม่ผ่าน
- ข้อ ๑๐.๒ คุณวุฒิ คุณสมบัติ และจำนวนอาจารย์ของหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ และหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) โดยขอยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโทและผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน ขอให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรซึ่งต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาด้านฉุกเฉินการแพทย์ ด้านการแพทย์ ด้านการพยาบาล หรือด้าน
ทันตกรรม มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านฉุกเฉินการแพทย์มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี และต้องผ่านการฝึกอบรมการสอนและการประเมินผลความสามารถทางฉุกเฉินการแพทย์ของผู้เข้าศึกษาแต่ละระดับ
- ข้อ ๔ ชื่อปริญญา และ ข้อ ๑๔ ปริญญาบัตรและใบแสดงผลการศึกษา โดยขอกำหนดชื่อปริญญา ฉุกเฉินการแพทย์บัณฑิต และออกใบปริญญาบัตรร่วม ๑๐ สถาบัน รวมถึงใบแสดงผลการศึกษาขอระบุเป็นชื่อหน่วยกิจกรรม
- ระยะเวลาดำเนินการ:
- ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น ๑๐ ปี (ระยะแรก ปี ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ และระยะที่ ๒ ปี ๒๕๗๑ – ๒๕๗๕)
- ระยะเวลาของการประเมินผลหลังสำเร็จการศึกษา ๖ เดือน – ๑ ปี
- จำนวนกำลังคนที่จะผลิต: ๑๕,๐๐๐ คน โดยในระยะ ๕ ปีแรกผลิต ๗,๕๐๐ คน ดังนี้
- ผู้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาที่จบ ม.๖ หรือเทียบเท่า จำนวน ๕ รุ่น รวม ๔,๕๐๐ คน
- ผู้เข้าศึกษาเป็นพนักงานฉุกเฉินการแพทย์พิเศษ จำนวน ๕ รุ่น รวม ๒,๐๐๐ คน
ผู้เข้าศึกษาเป็นเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน ๕ รุ่น รวม ๑,๐๐๐ คน
ความเป็นมา
ตามที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้นำส่งข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการซึ่งดำเนินการร่วมกับ Harbour.Space University บริษัทสตาร์ทอัพด้านการศึกษา จากประเทศสเปน ประกอบด้วยหลักสูตรด้านบริหารธุรกิจ และหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑๖ หลักสูตร แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี ๗ หลักสูตร และระดับปริญญาโท ๙ หลักสูตร โดยในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ คณะทำงานฯ ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการดังกล่าว พร้อมมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาฉบับสมบูรณ์
การดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้จัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์การผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur และได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ จากนั้นได้นำส่งให้คณะทำงานฯ พิจารณากลั่นกรองในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๘/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งคณะทำงานฯ เห็นสมควรให้นำเสนอข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์การผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแล้ว พบว่ามีความครบถ้วนตามข้อกำหนดสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- หลักสูตร: หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ และบริหารธุรกิจ จำนวน ๑๖ หลักสูตร ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
- ผู้รับผิดชอบ: International School of Management มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ประเภทกำลังคน: กำลังคนที่มีความรู้ Frontier Knowledge ด้านเทคโนโลยี
- จุดเด่นของหลักสูตร:
๑) อาจารย์ผู้สอน คือ ผู้ปฏิบัติและมีประสบการณ์จริงในภาคธุรกิจ และแวดวงวิชาชีพที่ทันสมัยจาก
บริษัทชั้นนำซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับในระดับโลก
๒) จัดการเรียนการสอนแบบโมดูล เน้นความรู้ด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้า เช่น Data Science, Digital
Marketing, Startup
๓) รูปแบบการเรียนการสอน มุ่งเน้น Project-based เกิดผลงานจริงในทุกวิชา และผู้เรียนสามารถเลือก
ทำงานจับคู่กับภาคธุรกิจจริงกับบริษัทที่มีความร่วมมือเป็นเป็นธุรกิจ Startup ได้
๔) เนื้อหาวิชาได้รับการทบทวน (revisit) จากนักธุรกิจชั้นนำตลอดทุกปี เพื่อให้หลักสูตรทันสมัยและ
เหมาะสมกับความต้องการของภาคธุรกิจอยู่เสมอ
- ข้อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ต้องการขอยกเว้น:มาตรฐานหลักสูตร ป.ตรี พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๙.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยขอยกเว้นหมวดศึกษาทั่วไป แต่จัดรายวิชาโดยใช้วิธีผสมผสานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนด มาตรฐานหลักสูตร ป.ตรี พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๑๐.๑.๑-๑๐.๑.๓ คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน หลักสูตรปริญญาตรีวิชาการ โดยขอยกเว้นคุณวุฒิ กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม คือเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติและมีประสบการณ์จริงในภาคธุรกิจ และภาควิชาชีพที่ทันสมัยจากบริษัทชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกมาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๙.๓.๑-๙.๓.๓ คุณวุฒิ คุณสมบัติ และจำนวนอาจารย์ ระดับปริญญาโท โดยขอยกเว้นคุณวุฒิและผลงานวิชาการ กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมคือเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติและมีประสบการณ์จริงในภาคธุรกิจที่ได้รับการยอมรับระดับโลก และอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระเป็นผู้เชี่ยวชาญจากภาคธุรกิจตามประเด็นของการค้นคว้า (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการเรียนในระดับอุดมศึกษา ข้อ ๕.๒ โดยขอให้สามารถเทียบโอนมาเป็นคะแนนหรือเกรดจาก Harbour.Space University ประเทศสเปน และประเทศอื่นๆ ที่ใช้หลักสูตรเดียวกันในการจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๑๓.๒.๒ เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา โดยขอเพิ่มเติมรูปแบบของการค้นคว้าอิสระให้เหมาะสมกับบริบทของหลักสูตร เช่น startup projects, pitching (demo day), design portfolio, case study, company project, consultant project ฯลฯมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๑๕ การประกันคุณภาพหลักสูตร โดยขอใช้ระบบประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร กำหนดองค์ประกอบ ๖ องค์ประกอบและกำหนดตัวบ่งชี้ที่เน้นในการผลสัมฤทธิ์ที่ตอบสนองผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และการประเมินให้เห็นเป็นรูปธรรม
- ระยะเวลาดำเนินการ:
- ระยะเวลา ๗ ปี ระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ – ๓๐ กันยายน ๒๕๗๑
- การประเมินผลหลังสำเร็จการศึกษาไม่เกิน ๖ เดือน หลังบัณฑิตจบการศึกษา
- จำนวนกำลังคนที่จะผลิต: ๔๐๐ คน
- บัณฑิต ระดับปริญญาตรี จำนวน ๒ รุ่น รุ่นละ ๕๐ คน รวม ๑๐๐ คน
- ระยะเวลาดำเนินการ:
บัณฑิต ระดับปริญญาโท จำนวน ๖ รุ่น รุ่นละ ๕๐ คน รวม ๓๐๐ คน
ความเป็นมา
ตามที่มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยปัญญาประดิษฐ์ไทย) ได้นำส่งข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการเพื่อผลิตกำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล ร่วมกับมหาวิทยาลัยอีก 5 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรด้านวิศกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 หลักสูตร แบ่งเป็นปริญญาตรี 7 หลักสูตร ปริญญาโท 9 หลักสูตร และปริญญาเอก 3 หลักสูตร โดยในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565
คณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบข้อเสนอเชิงการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการดังกล่าว พร้อมมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาฉบับสมบูรณ์
การดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่ง ได้จัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์การผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล และนำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อขอความเห็นชอบ โดยข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการประชุมสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 และเห็นสมควรให้เสนอข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์การผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัลต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบข้อเสนอฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวแล้ว พบว่ามีความครบถ้วนตามข้อกำหนดสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- หลักสูตร: หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑5 หลักสูตร ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
- ผู้รับผิดชอบ:
- มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล โดยมีสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์บริหารงาน
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ประเภทกำลังคน: กำลังคนด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล
- จุดเด่นของหลักสูตร:
- ผู้รับผิดชอบ:
๑) การจัดการศึกษาร่วมภายในเครือข่ายมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ร่วมดำเนินการและแบ่งปันทรัพยากร
๒) หลักสูตรเฉพาะทางเน้นสมรรถนะผู้เรียน (Competency-based education) ด้าน AI Core
Technologies และทักษะที่จำเป็น (Soft skills)
๓) รูปแบบการเรียนรู้หลากหลายเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน นักเรียนสามารถสร้าง
แผนการศึกษาที่เหมาะกับรูปแบบการทำงานและการเรียนรู้ของตนเอง
๔) สามารถเทียบโอนสมรรถนะและหน่วยกิตระหว่างมหาวิทยาลัย ผู้เรียนสามารถได้รับทั้งปริญญาจาก
มหาวิทยาลัยต้นสังกัด และประกาศนียบัตรมหาวิทยาลัยร่วม (Host University) ได้
- ข้อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ต้องการขอยกเว้น:
มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๕
- ข้อที่ 7 การคิดหน่วยกิตตามระบบทวิภาค ข้อที่ 8 จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา และข้อที่ 9 โครงสร้างหลักสูตร โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นสมรรถนะของผู้เรียน ยกเลิกโครงสร้างหมวดวิชาแบบเดิม นับ 1 หน่วยกิตต่อ 15 ชั่วโมงการเรียนรู้ ซึ่งอาจประกอบด้วยการฟังการบรรยาย อภิปราย การฝึกทดลอง การศึกษาด้วยตนเอง การฝึกงานหรือเป็นผู้ช่วยวิจัย และผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาได้หากสามารถแสดงหรือผ่านกระบวนการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นและสอดคล้องกับสมรรถนะที่กำหนดของหลักสูตร
- ข้อที่ 9.3 วรรคสอง การเทียบโอนหน่วยกิต โดยให้สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์เป็นหน่วยงานกลางในการพิจารณาเทียบโอนหน่วยกิต โดยใช้ผลการประเมินสมรรถนะแทนการเทียบรายละเอียดหรือคำอธิบายรายวิชา
- ข้อที่ 10.1.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร โดยให้อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นอาจารย์ที่มาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นหรือผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน ขอยกเลิกข้อจำกัดเรื่องบุคคลที่มาจากองค์กรภายนอก ต้องมีประสบการณ์การทำงานในองค์กรแห่งนั้นหรือการทำงานประเภทเดียวกันอย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี
- ข้อที่ 10.1.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยใช้คณะกรรมการร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่ประกอบด้วยผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
- ข้อที่ 12 การลงทะเบียนเรียน โดยยกเลิกการกำหนดเกณฑ์หน่วยกิตขั้นสูงสุดของการลงทะเบียนของผู้เรียนสำหรับแต่ละหลักสูตร
มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕
- ข้อที่ 7 การคิดหน่วยกิตตามระบบทวิภาค ข้อที่ 8 โครงสร้างหลักสูตร โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นสมรรถนะของผู้เรียน นับ 1 หน่วยกิตต่อ 15 ชั่วโมงการเรียนรู้ ซึ่งอาจประกอบด้วย การฟังการบรรยาย อภิปราย การฝึกทดลอง การศึกษาด้วยตนเอง การฝึกงานหรือเป็นผู้ช่วยวิจัย และให้หลักสูตรสามารถกำหนดแผนการศึกษาหรือสมรรถนะที่เหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในหมวดหมู่และข้อจำกัดของจำนวนหน่วยกิต โดยปริญญาโท แผน 2 ขอยกเลิกข้อจำกัดในเรื่องของการค้นคว้าอิสระทดแทนด้วยโครงการพัฒนาหรือผลงานที่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม (Capstone Project)
- ข้อที่ 9.1.1, 9.2.1, 9.3.1, 9.4.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร โดยขอให้อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นมาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น หรือผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน รวมทั้งให้คณาจารย์จากเครือข่ายเป็นผู้สอน/สอบวิทยานิพนธ์ตามความต้องการของแต่ละหลักสูตรได้
- ข้อที่ 9.1.1, 9.1.2, 9.3.2, 9.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยใช้คณะกรรมการร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่ประกอบด้วยผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
- ข้อที่ 15 การประกันคุณภาพ ข้อที่ 16 การพัฒนาหลักสูตร โดยให้สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์สามารถกำหนดกระบวนการแทนกระบวนการเดิมได้
กฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
- ข้อ 7 มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และข้อ 8 มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา ว่าด้วยระยะเวลาการเรียนและจำนวนหน่วยกิตรวมระบบทวิภาคี ยกเลิกการกำหนดระยะเวลาที่จำเป็นต่อการสำเร็จการศึกษาหรือระยะเวลาสูงสุด
- ข้อ 9 การคิดหน่วยกิตในระบบทวิภาคี โดยจะนับจำนวน 1 หน่วยกิต ต่อ 15 ชั่วโมงการเรียนรู้ที่หลักสูตรคาดว่าผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เพื่อให้ได้สมรรถนะ
- ข้อ 10 มาตรฐานหลักสูตรควบ ระดับปริญญาตรีสองปริญญา หรือหลักสูตรควบระดับปริญญาโทสองปริญญา ในสาขาวิชาที่ต่างกัน และข้อ 11 มาตรฐานหลักสูตรควบ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท หรือหลักสูตรควบระดับปริญญาโทและปริญญาเอกไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชา เดียวกันหรือต่างสาขาวิชา ให้คณะกรรมการสถาบันปัญญาประดิษฐ์เป็นผู้กำหนดระยะเวลาการเรียนรู้และจำนวนหน่วยกิตรวม
- ข้อ 14 การเทียบโอนหน่วยกิต และผลการศึกษา ข้อ 17 การเทียบหลักสูตร การศึกษาที่จัดโดยองค์กรวิชาชีพ หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชนกับหลักสูตรการศึกษาของ สถาบันอุดมศึกษาเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษา ให้สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวกลางในการพิจารณาเทียบโอนหน่วยกิต
- ระยะเวลาดำเนินการ:
- ระยะเวลา 8 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2565 – 2572
- การประเมินผลหลังสำเร็จการศึกษาไม่เกิน 1 ปี หลังบัณฑิตจบการศึกษา
- จำนวนกำลังคนที่จะผลิต: 1,880 คน จำนวน 7 รุ่น
ความเป็นมา
ตามที่วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ได้นำส่งข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการเพื่อผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม โดยดำเนินการร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ๔ แห่ง ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แหงชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียรแหงชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหงชาติ และสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วม จัดการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) และคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเชิงหลักการดังกล่าว พร้อมมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาฉบับสมบูรณ์
การดำเนินงาน
- วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวง อว. และหน่วยงานร่วมดำเนินการได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์การผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรมแล้วเสร็จ และผ่านการเห็นชอบจากกระทรวง อว. จากนั้นได้นำส่งให้คณะทำงานฯ พิจารณากลั่นกรองในการประชุมคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๘/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งคณะทำงานฯ เห็นสมควรให้นำเสนอข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานในลำดับต่อไป
ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้ตรวจสอบข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าวแล้วพบว่ามีความครบถ้วนตามข้อกำหนดสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- หลักสูตร: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
- ผู้รับผิดชอบ:
- วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แหงชาติ
- สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
- สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียรแหงชาติ
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหงชาติ
- สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมจัดการศึกษา
- ประเภทกำลังคน: กําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม
- จุดเด่นของหลักสูตร:
- ผู้รับผิดชอบ:
๑) เป็นหลักสูตรร่วมจัดการศึกษาโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมในการสนับสนุนการศึกษาวิจัยในเชิงลึก บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้จากสถาบันวิจัยมาร่วมจัดการเรียนการสอน
๒) จัดการศึกษาโดยการเสนอและประกาศโครงการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องลงเรียนใน 5 กลุ่มรายวิชาได้แก่ ๑) Science and technology cluster ๒) IT cluster ๓) Entrepreneur cluster ๔) ASEAN cluster ๕) Language cluster และรายวิชา Internship เพื่อไปทดลองปฏิบัติงานจริงในภาคเอกชน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพสูงทั้งความรู้ความสามารถในทางวิทยาศาสตร์เชิงลึก มีแนวคิดเชิงนวัตกรรม และมีทักษะที่สำคัญของศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก (Future graduates platform) ที่ตรงกับความต้องการของภาคผู้ใช้บัณฑิต
๓) กำหนดให้การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและเอกชนสามารถเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ได้ นอกเหนือจากการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เพื่อรองรับการทำโครงการวิจัยที่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep technology) สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ
- ข้อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ต้องการขอยกเว้น: เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. 2565 โดยขอยกเว้นในประเด็นต่างๆ ดังนี้- ข้อ ๔.๓ ชื่อปริญญา โดยขอกำหนดเป็น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่ไม่มีสาขาวิชา
- ข้อ ๙.๔.๓ คุณสมบัติอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และข้อ ๙.๔.๔ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ โดยขอยกเว้นคุณวุฒิตามที่กำหนด และขอให้องค์ประกอบของคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการอย่างน้อย ๑ คนที่มาจากภาคส่วนผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิตซึ่งอาจมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนดได้
- ข้อ ๑๓.๓ เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก โดยขอเพิ่มเติมเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาคือ ความสามารถในการนำผลงานวิทยานิพนธ์นั้นไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและภาคเอกชนที่นำผลงานนั้นไปใช้
- ระยะเวลาดำเนินการ:
- ระยะเวลาดำเนินการรวม ๙ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๖๕ – ๒๕๗๓)
- จำนวนกำลังคนที่จะผลิต: ๑๗๕ คน ดังนี้
- ผู้เข้าศึกษาเป็นผู้จบปริญญาโท แบบ ๑.๑ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว จำนวน ๕ รุ่น รุ่นละ ๒ คนใช้ระยะเวลาศึกษารุ่นละ ๔ ปี รวม ๑๐ คน
- ผู้เข้าศึกษาเป็นผู้จบปริญญาโท แบบ ๒.๑ ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ จำนวน ๕ รุ่น รุ่นละ ๓๐ คนใช้ระยะเวลาศึกษารุ่นละ ๔ ปี รวม ๑๕๐ คน
- ผู้เข้าศึกษาเป็นผู้จบปริญญาตรี แบบ ๒.๒ ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ จำนวน ๕ รุ่น รุ่นละ ๓ คนใช้ระยะเวลาศึกษารุ่นละ ๕ ปี รวม ๑๕ คน
- คณะทำงานฯ มีข้อเสนอแนะว่าควรให้มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน
การอุดมศึกษาด้วย