ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ ครั้งที่ 1/2564

14:00 น.
2 มิถุนายน 2564
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษม วัฒนชัย ชั้น 18 อาคารอุดมศึกษา 2 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom
วันที่ : 2 มิถุนายน 2564
เวลา : 14:00 น.
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษม วัฒนชัย ชั้น 18 อาคารอุดมศึกษา 2 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • รายงานการประชุมกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง 1/2564
  • สไลด์กรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง 1/2564
  • วาระกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง 1/2564

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2563
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
3.1 ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 ร่างแนวการปฏิบัติเพื่อการจัดตั้งและดำเนินการนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) ของสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐ

4.2 การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ

การประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ ครั้งที่ 1/2564

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบ

เรื่องเดิม

ตามคําสั่งสภานโยบายที่ 2/2563 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศ นวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ กําหนดว่าในกรณีที่จําเป็น คณะกรรมการอาจเชิญบุคคล ในบัญชีรายชื่อที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้เข้าร่วมเป็นครั้ง คราวก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการสําหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น

ทั้งนี้ สภานโยบายฯ มีมติเห็นชอบบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ เพื่อเชิญ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องในฐานะกรรมการ ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 จํานวน 11 ท่าน

การดําเนินงาน

คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ มอบหมายให้ ฝ่ายเลขานุการฯ หารือกับประธานกรรมการเพื่อเชิญบุคคลตามบัญชีรายชื่อเข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการเป็นครั้งคราว

การประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุง กฎหมาย กฎและระเบียบ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ จึงเห็นควรให้เชิญบุคคลซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญที่ เกี่ยวข้องกับระเบียบวาระการประชุม จํานวน ๔ ท่าน ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเข้าร่วมประชุม ดังนี้

๑. นายเข็มชัยชุติวงศ์
๒. นายณรงค์ศิริเลิศวรกุล
๓. นายบัณฑิตเอื้ออาภรณ์
๔. นายพณชิตกิตติปัญญางาม

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2563

คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ ได้มีการประชุมฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการ ขอแก้ไขเพิ่มเติม

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ

เรื่องเดิม

สอวช. มีหน้าที่รับผิดชอบงานวิชาการของสภานโยบายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและการบูรณา การด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน อววน. ที่ผ่านมา สอวช. ได้จัดทําข้อเสนอนโยบายการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนา พร้อมทั้งเสนอมาตรการและ กลไกเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจนวัตกรรม โดยตั้งเป้าหมายหลักไว้ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) การลงทุนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ ๒ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศ หรือ GDP ๒) การสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (IDE : Innovation Driven Enterprise) ที่มีรายได้มากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท จํานวน ๑,๐๐๐ ราย และ ๓) การส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมที่มีสินค้านวัตกรรมมูลค่า สูงในตลาดโลก จํานวน ๕ ราย จากการจัดอันดับ Fortune Global ๕๐๐ Biggest Company

การดําเนินงาน

สอวช. ได้จัดทํากรอบการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้าง IDE เสนอต่อคณะกรรมการพิเศษ เฉพาะเรื่องฯ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการ สร้าง IDE ซึ่งประกอบด้วย ๔ กลไกหลัก ได้แก่ ๑) IDE Accelerator ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการจัดตั้งและการดําเนินงาน ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในรูปแบบ Holding Company และมาตรการส่งเสริมอุทยาวิทยาศาสตร์ให้เป็นหน่วยงาน ที่มีบทบาทสําคัญในการเร่งสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ๒) การพัฒนาเขตเศรษฐกิจนวัตกรรม ได้แก่ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมหมายเลข ๑ (Route #1 Innovation Economic Corridor) การส่งเสริมการ ดําเนินงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านนวัตกรรม ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi) ๓) การผลักดันเชิงยุทธศาสตร์ในสาขา อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ การพัฒนาและส่งเสริมยานยนต์สมัยใหม่ ๔) มาตรการส่งเสริมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ นิเวศนวัตกรรม ได้แก่ มาตรการด้านการตลาด การปลดล็อคกฎหมายและระเบียบ และการสร้างแรงจูงใจด้านการเงินและ ภาษี รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิจัยและนวัตกรรมที่จําเป็นของประเทศ

ขณะนี้ สอวช. ได้เร่งผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายโดยดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่มีบทบาทรับผิดชอบโดยตรง โดยมีความคืบหน้าของมาตรการที่สําคัญ ดังนี้

) มาตรการส่งเสริมการจัดตั้งและการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในรูปแบบ Holding Company: สอวช. ได้หารือร่วมกับ ๕ มหาวิทยาลัย และสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้จัดทําร่างแนวทางปฏิบัติเพื่อการจัดตั้งและดําเนินการนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) ของ สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความตระหนักถึงข้อควรระวัง และให้แนวทางที่มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยควรใช้ในการพิจารณาอย่างรอบคอบ

๒) การจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม (Innovation Fund) : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) สอวช. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้ร่วมกันจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบาย สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมใน ลักษณะ Matching Fund และการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสําหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่บริจาคเงินเข้ากองทุน โดยขณะนี้หลักการของข้อเสนอฯ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ สอท. อยู่ ระหว่างจัดตั้งกองทุนนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

) มาตรการบัญชีนวัตกรรมไทย:สอวช.อยู่ระหว่างจัดทําข้อเสนอในการปรับปรุงบัญชีนวัตกรรมผ่าน การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ โดยกลไกการสร้างตลาดภาครัฐเป็นเครื่องมือทางนโยบายในการส่งเสริมการวิจัยและ นวัตกรรมของประเทศ สร้างความสามารถในการแข่งขัน ลดการนําเข้าและสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ

๔) ระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมหมายเลข ๑ (Route #1 Innovation Economic Corridor): เป็น พื้นที่ที่มีศักยภาพจากข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ โอกาสจากกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ อาทิ กรอบความร่วมมือ แม่โขง-ล้านช้าง และ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) และศักยภาพของ Innovation Hub ระดับพื้นที่ที่จะกระจาย โอกาส และหนุนนําการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยมีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นการนํา อววน. ไปเป็นกลไกสําคัญ เพื่อปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานเพื่อการผลิตสินค้าและบริการมูลค่าสูง ทั้งนี้ สอวช. ได้จัดทํากรอบแนวคิดในการพัฒนา และ จะจัดทําข้อเสนอนโยบายเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมหมายเลข ๑ ต่อไป

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องเดิม

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ ได้เห็นชอบในหลักการของการส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนโดยกลไกนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) และได้มอบหมายคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการ พัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบให้ดําเนินการผลักดันในเชิงนโยบาย

ต่อมา คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ได้มีมติ เห็นชอบต่อนโยบายการส่งเสริม University Holding Company ตามที่ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ เสนอ และมอบหมายให้ สอวช. ดําเนินการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑) จัดทํา Guideline เพื่อเป็นแนวทางการดําเนินการจัดตั้ง University Holding Company ๒) จัดทํารายละเอียดข้อเสนอให้มหาวิทยาลัยสามารถนําเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยไปร่วมลงทุนใน ธุรกิจนวัตกรรมได้ และ๓) ประสานมหาวิทยาลัยในการปรับปรุงกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย ให้เอื้อต่อการลงทุนในธุรกิจ นวัตกรรม

การดําเนินงาน

เพื่อดําเนินการตามมติของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ สอวช. จึงได้จัดทําแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐ นําไปใช้ในการจัดตั้งและดําเนินงานนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส อันนําไปสู่การเพิ่มจํานวนธุรกิจนวัตกรรม ก่อให้เกิดการสร้างรายได้และการจ้างงานเพิ่ม มากขึ้นในประเทศ

(ร่าง) แนวทางปฏิบัติ เพื่อการจัดตั้งและดําเนินการ นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) ของสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐ

. นโยบายสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เกี่ยวกับการส่งเสริมนิติ บุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐ

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนา ระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศให้มีความพร้อมในทุกมิติ เพื่อเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ เศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovation Economy) โดยมุ่งเน้นการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (Innovation- driven Enterprise) ให้เป็นเสมือนเครื่องจักรใหม่ในระบบเศรษฐกิจ (New Growth Engine) ทั้งนี้ได้วางเป้าหมาย ระดับนโยบายเพื่อให้การขับเคลื่อนการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีทิศทางที่ชัดเจน ได้แก่ การเพิ่มการลงทุน ด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศถึงร้อยละ ๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การสร้างผู้ประกอบการ ธุรกิจนวัตกรรมที่มีรายได้มากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท จํานวน ๑,๐๐๐ ราย และผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมไทยมีขีด ความสามารถในการแข่งขันระดับโลก จํานวน ๕ บริษัท (จากการจัดอันดับ Fortune ๕๐๐ Biggest Company) เพื่อ บรรลุเป้าหมายดังกล่าว การเร่งสร้างขีดความสามารถและอํานวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานในระบบนิเวศนวัตกรรม ทุกภาคส่วนจึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง โดยหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนด้วยนโยบาย มาตรการและกลไกต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนทางการเงิน การลงทุน บุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน และการขจัดอุปสรรค ทางกฎหมาย ระเบียบ เป็นต้น

การร่วมลงทุนของสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยของรัฐกับภาคเอกชนในรูปแบบของนิติบุคคลเพื่อร่วม ลงทุน (Holding Company) เพื่อนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นรูปแบบหนึ่งที่ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยดําเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อสร้างธุรกิจนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม พบว่ามหาวิทยาลัยและ สถาบันวิจัยยังต้องการแนวทางการปฎิบัติเพื่อการพิจารณาและตัดสินใจดําเนินการได้อย่างรอบคอบและเหมาะสมมาก ยิ่งขึ้น สภานโยบายในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยและ สถาบันวิจัย จึงได้ออกแนวทางปฏิบัติ เพื่อการจัดตั้งและดําเนินการนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) ของ สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐฉบับนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยสามารถใช้ประโยชน์เพื่อ การร่วมลงทุนเพื่อนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลต่อการ สร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้แก่ประเทศในภาพรวมต่อไป

สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ ได้เห็นชอบในหลักการของการ ส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนโดยกลไก Holding Company และได้มอบหมายคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบให้ดําเนินการผลักดันในเชิง นโยบาย ต่อมาคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ได้มีมติ เห็นชอบต่อนโยบายการส่งเสริม University Holding Company ตามที่ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ เสนอ และ มอบหมายให้ สอวช. ดําเนินการ ดังนี้ ๑) จัดทํา Guideline เพื่อเป็นแนวทางการดําเนินการจัดตั้ง University Holding Company ๒) จัดทํารายละเอียดข้อเสนอให้มหาวิทยาลัยสามารถนําเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยไปร่วมลงทุน ในธุรกิจนวัตกรรมได้ และ ๓) ประสานมหาวิทยาลัยในการปรับปรุงกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อการลงทุนใน ธุรกิจนวัตกรรม

. ความสําคัญ

ปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมีนโยบายส่งเสริมการดําเนินธุรกิจนวัตกรรมโดยการร่วมลงทุนกับ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการ สร้างรายได้และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในประเทศ

การร่วมลงทุนระหว่างสถาบันอุดมศึกษา/สถาบันวิจัยและภาคเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company เป็นรูปแบบที่หน่วยงานของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาชั้นนําในต่างประเทศนํามาใช้เพื่อผลักดันงานวิจัยและ นวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง เนื่องจากการจัดตั้งและ การดําเนินงานของ Holding Company มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากหน่วยงานวิจัยของรัฐหรือ สถาบันอุดมศึกษาโดยมีการบริหารงานแบบมืออาชีพ ลดความเสี่ยงในการลงทุนของหน่วยงานของรัฐและ สถาบันอุดมศึกษา และมีความคล่องตัวสูงเหมาะกับการดําเนินธุรกิจนวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างให้เกิดแรงจูงใจแก่นักวิจัยให้เห็นถึงช่องทางในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมจากผลงานวิจัยที่คิดค้นทํา ให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัยที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจทั้งในระดับหน่วยงานและใน ระดับประเทศได้

กฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ไดใ้ห้อํานาจสถาบันอุดมศึกษา สนับสนุนผู้ประกอบการให้นําความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ และให้อํานาจ หน่วยงานรัฐในการร่วมลงทุนกับเอกชนเพื่อส่งเสริมการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

๑. พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๒๘ กําหนดว่าสถาบันอุดมศึกษาพึงส่งเสริมและ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน นําความรู้ ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรมของ สถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

๒. พระราชบัญญัติการอุดมศึกษาพ.ศ.๒๕๖๒มาตรา๓๙กําหนดว่าเพื่อส่งเสริมให้มีการนําผลการวิจัยและ นวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดตั้งนิติบุคคลหรือร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ รัฐหรือเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําผลการวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ได้

๓. พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมพ.ศ.๒๕๖๒มาตรา๓๑กําหนดว่าเพื่อ ประโยชน์ในการส่งเสริมการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ หน่วยงานของรัฐอาจร่วมลงทุนในโครงการซึ่ง นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในระเบียบของสภา นโยบาย โดยมิให้นํากฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาใช้บังคับแก่การร่วมลงทุน และให้ คณะรัฐมนตรีกําหนดระเบียบว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไป ใช้ประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้

อย่างไรก็ตาม สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งยังมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจในการดําเนินการ กิจกรรมการร่วมลงทุน รวมถึงขั้นตอนการร่วมลงทุนในรูปแบบ Holding Company ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการตีความ กฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับที่จําเป็นต้องทําให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงอํานาจหน้าที่ และการบังคับใช้กฎหมายใน กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการร่วมลงทุน เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาขับเคลื่อนการดําเนินงานได้อย่างคล่องตัว ผู้บริหาร หน่วยงานสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส ซึ่งจะส่งผลให้การร่วมลงทุนกับภาคเอกชนเกิด ประสิทธิผล

. คําจํากัดความ

๑) หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจด้านการวิจัยและ นวัตกรรม และหน่วยงานอื่นตามที่สภานโยบายประกาศกําหนด
๒) เอกชน หมายความว่า นิติบุคคลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ บุคคลธรรมดา รวมถึงนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายต่างประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ
๓) นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน หมายความว่า บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัท อื่นเป็นหลัก และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญเป็นของตนเอง ซึ่งอาจเป็นการลงทุนในบริษัทใน ประเทศหรือบริษัทในต่างประเทศ
๔) แผนการลงทุน หมายความว่า แผนการลงทุนที่หน่วยงานของรัฐจะจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคล อื่นในการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน
๕) บริษัทร่วมทุน หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นจากการร่วมลงทุนระหว่าง นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนกับเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ

. วัตถุประสงค์

เพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีแนวปฏิบัติ (Guiding Principle) นําไปใช้ในการจัดตั้งและดําเนินงานนิติบุคคลเพื่อ ร่วมลงทุน ได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส อันนําไปสู่การเพิ่มจํานวนธุรกิจนวัตกรรม ก่อให้เกิดการสร้าง รายได้และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในประเทศ

. แนวทางปฏิบัติ
๕.๑ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

๔.๑.๑ การจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนของหน่วยงานของรัฐกรณีสถาบันอุดมศึกษาสามารถดําเนินการได้ โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๙ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ กําหนดว่าสถาบันอุดมศึกษาอาจจัดตั้งนิติบุคคลหรือร่วมลงทุนกับ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําผลการวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ได้กรณสีถาบันวิจัยของรัฐสามารถดําเนินการได้เมื่อมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน

๔.๑.๒ การพิจารณาสถานภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้ง ให้พิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานแต่ละเรื่องรายละเอียดหลักการในการพิจารณาสถานภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน แสดงเป็นตัวอย่างในภาคผนวก

๔.๑.๓ นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน อาจพิจารณาเข้าร่วมลงทุนกับเอกชนเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในสัดส่วน การถือหุ้นไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของทุนจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทร่วมทุนไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ

๕.๒ การจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company)

๔.๒.๑ หน่วยงานของรัฐอาจจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ซึ่งจะจัดตั้งโดยลําพังหรือร่วมกับเอกชน หรือ หน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการนําผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ หรือดําเนินกิจการที่เกี่ยวกับหรือ ต่อเนื่องกับกิจการของมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของผู้มีอํานาจอนุมัติการร่วมลงทุนของหน่วยงานของรัฐเมื่อหน่วยงานของรัฐมีแผนการลงทุนที่เกี่ยวกับการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และเป็นกรณีที่สมควรจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ให้หน่วยงานของรัฐจัดทํารายงานการศึกษาเกี่ยวกับแผนการลงทุน และนําเสนอต่อมีอํานาจอนุมัติการร่วมลงทุนของหน่วยงานของรัฐเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ผู้มีอํานาจอนุมัติการร่วมลงทุนของหน่วยงานของรัฐอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา กลั่นกรองหรือให้ความเห็นใด ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการในการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการลงทุนข้างต้นได้ ตามความจําเป็น

๔.๒.๒ ในการจัดทํารายงานการศึกษาเกี่ยวกับแผนการลงทุนและการพิจารณาให้ความเห็นชอบการ จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ให้หน่วยงานของรัฐและคณะกรรมการคํานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้

(๑) ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ในการดําเนินกิจการของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนกับ วัตถุประสงค์ หน้าที่และอํานาจของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ
(๒) แผนการลงทุนหรือแผนธุรกิจซึ่งเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไป ใช้ประโยชน์ที่จะดําเนินการ
(๓) เป้าหมายและขอบเขตในการดําเนินการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน
(๔) ความเป็นไปได้ ความเสี่ยงและความคุ้มค่า
(๕) ที่มาของแหล่งเงินทุนหรือทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ และกรอบวงเงินในการลงทุนที่จะใช้ในการจัดตั้งหรือร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุน และ
(๖) สิทธิและหน้าที่ของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่จะเข้าร่วมจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน

๕.๒.๓ บุคคลหรือนิติบุคคลที่หน่วยงานของรัฐจะเข้าร่วมจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนจะต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(๑) ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
(๒) ไม่เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคล ล้มละลายทุจริต หรือเป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ
(๓) ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ และ
(๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิด ในความผิดเกี่ยวกับความ มั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย หรือความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา

๕.๒.๔ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ หน่วยงานของรัฐอาจร่วมลงทุนโดยใช้กลไกการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน โดยไม่ต้องนำกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาใช้บังคับแก่การร่วมลงทุน โดยอาศัยอำนาจตามความแห่ง มาตรา ๓๑ พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ 

๕.๒.๕ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติการร่วมลงทุนของหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัท นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ ดังนี้ 

(๑) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน 
(๒) จัดทำร่างข้อบังคับของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน เสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติการร่วมลงทุนของ หน่วยงานของรัฐ 

๔.๒.๖ ในการจัดทำข้อบังคับของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนให้หน่วยงานของรัฐคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ 

(๑) กำหนดให้คณะกรรมการของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน มีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ ที่เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางและนโยบายของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน และมีความสามารถในการร่วมกำหนดกลยุทธ์ให้นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ได้ และควรมีกรรมการอิสระซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์การลงทุน กรรมการอิสระนี้จะเป็นกรรมการที่ไม่ได้ทำหน้าที่บริหารจัดการนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน และเป็นผู้ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ในลักษณะที่จะทำให้มีข้อจำกัดในการแสดงความเห็นที่เป็นอิสระร่วมอยู่ด้วย 
(๒) ให้นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนจัดทำผลการดำเนินงานและงบการเงินเสนอต่อหน่วยงานของรัฐรายไตรมาส หรือรายปี ตามที่หน่วยงานของรัฐเห็นสมควร 

๕.๓ การกำกับดูแล 

๕.๓.๑ หน่วยงานของรัฐกำกับดูแลนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนผ่านข้อบังคับของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนและกรรมการผู้แทน 

๕.๓.๒ หน่วยงานของรัฐควรกำหนดในข้อบังคับนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ดังนี้ 

(๑) ให้กรรมการของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนใช้ความรู้ความสามารถและความระมัดระวังตามสมควร (Due Care) เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ในการพิจารณาการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม 
(๒) การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนควรคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ โดยอาจอาศัยความเห็นจากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ประกอบ 

  • ควรทำการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับพันธมิตรร่วมทุน เช่น ประสบการณ์และประวัติการทำงานโดยละเอียด คุณสมบัติต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารตามที่กฎหมายกำหนด และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) 
  • ควรมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่กำลังจะลงทุน เช่น สภาพการแข่งขัน และ Value Chain ในอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมาย/กฎระเบียบสภาพเศรษฐกิจหรือการเมืองที่มีต่ออุตสาหกรรม เป็นต้น 
  • ควรมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในบริษัทที่กำลังจะลงทุน (หรือจัดตั้ง) เช่น แผนการใช้เงินลงทุน ความสามารถในการทำกำไรและความยั่งยืน การกู้ยืม การค้ำประกัน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น 
  • ควรตรวจสอบความเห็นหรือรายงานของที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านว่าครบถ้วนในสาระสำคัญ สมเหตุสมผล และไม่ใช่ข้อมูลที่อาจทำให้หลงผิดก่อนนำไปใช้พิจารณาในการลงทุน 

๕.๓.๓ นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ควรมีเกณฑ์ หรือระเบียบชัดเจนในการถอนการลงทุนก่อนการตัดสินใจร่วมลงทุน โดยระเบียบหรือเกณฑ์ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุนของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน 

๕.๔ การส่งเสริมและสนับสนุนการนำความรู้ ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาและของหน่วยงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 

๕.๔.๑ สถาบันอุดมศึกษาควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรนำความรู้ ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยกำหนดมาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อการประกอบธุรกิจใหม่ในรูปแบบนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนได้ และกำหนดให้รายได้ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ได้รับมาจากการประกอบธุรกิจใหม่ในรูปแบบนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยอาศัยอำนาจตามความแห่ง มาตรา ๒๘ พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ 

๕.๔.๒ สถาบันอุดมศึกษาควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรในสังกัดดำเนินการประกอบธุรกิจใหม่ เช่น การร่วมทำวิจัยและนวัตกรรมกับภาคเอกชน การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการผลิต การถ่ายทอดวิทยาการหรือเทคโนโลยี รวมถึง การดึงดูดบุคลากรความสามารถสูงจากต่างประเทศเข้ามาร่วมดำเนินงาน เป็นต้น 

๕.๔.๓ สถาบันอุดมศึกษาควรจัดให้มีกฎและระเบียบภายในหน่วยงาน ที่อำนวยความสะดวกและขจัดปัญหาอุปสรรคของการประกอบธุรกิจใหม่ในรูปแบบนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ตามข้อ ๕.๔.๑ และ ๕.๔.๒ รวมถึง จัดให้มีมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เช่น การพัฒนาบุคลากร การให้รางวัล การประเมินผลงาน และการเลื่อนตำแหน่งในหน่วยงานที่ตนสังกัดได้ 

๕.๔.๔ สถาบันวิจัยของรัฐ สามารถสนับสนุนทางการเงินและบุคลากรในการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนได้เมื่อมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

๕.๕ บุคลากร 

๕.๕.๑ หน่วยงานของรัฐควรสรรหาบุคลากรมืออาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนมาปฏิบัติงาน 

ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังไม่สามารถสรรหาบุคลากรมืออาชีพได้ อาจคัดเลือกบุคลากรในหน่วยงานของรัฐที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อปฏิบัติงานในนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนได้ แต่ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานของรัฐ และมีการจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง โดยต้องมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงานของรัฐและบุคลากรที่ไปปฏิบัติงานให้ชัดเจน 

๕.๕.๒ เพื่อให้การจัดตั้งและดำเนินงานของธุรกิจนวัตกรรมที่ลงทุนโดยนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ หน่วยงานของรัฐอาจพิจารณาแรงจูงใจและให้การสนับสนุนแก่พนักงานและลูกจ้างไปปฏิบัติงานในบริษัทธุรกิจนวัตกรรมได้ตามความเหมาะสม โดยที่ต้องไม่ขัดแย้งต่อการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หรือไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายอื่น ทั้งนี้ อาจให้ไปปฏิบัติงานในนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ได้เป็นการชั่วคราว โดยจะต้องมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงานของรัฐและบุคลากรที่ไปปฏิบัติงานให้ชัดเจน โดยยังถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่หน่วยงานของรัฐ และยึดประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐเป็นหลัก 

๕.๕.๓ หน่วยงานของรัฐควรสนับสนุนการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารธุรกิจนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ในการบริหารบริษัทธุรกิจนวัตกรรม 

ภาคผนวก 

หลักการในการพิจารณาสถานภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน 

นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนจะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ ให้พิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานแต่ละเรื่อง โดยกฎหมายที่อาจนำมาพิจารณา อาทิเช่น 

  • พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 
  • พ.ร.บ. วินัยการเงินและการคลัง พ.ศ. 2561 
  • พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 
  • พ.ร.บ. วาดวยความผิดของพนักงานในองคการหรือหนวยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 
  • พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 
  • พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 
  • พ.ร.บ. ร่วมทุนรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 

สำหรับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ใช้บังคับ และนิยามคำว่ารัฐวิสาหกิจตามความหมายของกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เช่น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กรณีนี้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา ๕๓ บัญญัติให้รัฐวิสาหกิจในกฎหมายเหล่านี้จะมีนิยามตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ต่อไปอีก 5 ปี ดังนั้น นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) จะเป็นรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายเหล่านี้

ตัวอย่าง การพิจารณา พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 

นิยาม “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า 

๑. องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ 
๒. บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตาม (๑) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ 
๓. บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตาม (๑) หรือ (๒) หรือที่รัฐวิสาหกิจตาม (๑) และ (๒) หรือที่รัฐวิสาหกิจตาม (๒) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ 

นิยาม “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม และให้หมายความรวมถึงจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินด้วย 

เมื่อพิจารณาจากนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตามพ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 สรุปได้ว่า 

– กรณีนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยราชการ โดยมหาวิทยาลัยราชการมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบจะถือว่านิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนเป็นรัฐวิสาหกิจ 

– กรณีนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยมหาวิทยาลัยมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบจะถือว่านิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่ถือเป็นส่วนราชการ 

– กรณีนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ให้พิจารณาตามแนวทางเดียวกัน 

ตัวอย่างการพิจารณา การจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน โดยมหาวิทยาลัยราชการ มหาวิทยาลัยในกํากับของ รัฐ และหน่วยงานวิจัยของรัฐ อาทิ องค์การมหาชน หากมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละ ๕๐ นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน จะมี สถานะดังนี้

หมายเหตุ: หากเป็นหน่วยงานนอกเหนือจากสามรูปแบบนี้ ให้ใช้หลักพิจารณาในแนวทางเดียวกัน

เรื่องเดิม

สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทํา สมุดปกขาว “การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่” (Next-Generation Automotive : Promotion and Development) โดยศึกษาข้อมูลในประเทศไทยและกรณีศึกษาจากต่างประเทศ และประชุมหารือ กับผู้มีส่วนไดส้่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้องถึงประเด็นปัญหาอุปสรรคความท้าทายและข้อจํากัดทิศทางการพัฒนาและการ กําหนดแผนยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ จัดสัมมนาเพื่อนําเสนอและวิพากษ์ (ร่าง) สมุดปกขาว ต่อมาคณะอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบใน หลักการของสมุดปกขาว “การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่” และให้นําข้อมูลผนวกเป็นเนื้อหาสําคัญใน รายงานผลการศึกษานโยบายยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ในเดือนกันยายน ๒๕๖๓ โดยเนื้อหาหลายส่วนมีความ สอดคล้องกับรายงานการศึกษา เรื่อง ยานยนต์ไฟฟ้า ซ่ึงจัดทําโดยคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สอดคล้องกับทิศทางนโยบายของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติในการก้าวสู่การ เป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก โดยมีกําลังการผลิตยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle : ZEV) อย่างน้อย ๓๐% ของการผลิตในปี ๒๕๗๓ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนําพา ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ํา (Low-carbon Society) ในอนาคต

การดําเนินงาน

สอวช. ได้ศึกษาวิจัยและขับเคลื่อนเชิงนโยบายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการส่งเสริมและ พัฒนายานยนต์สมัยใหม่ ดังนี้

๑. สมุดปกขาว“การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่”ที่มีการเสนอให้มีการกําหนดเป้าหมายระยะสั้น กลาง และยาว รวมถึงข้อเสนอแนะนโยบายและกลไกการดําเนินงานในด้านต่างๆ ซึ่ง สอวช. ดําเนินการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบประกอบระเบียบวาระที่ ๔.๒)

๒. ข้อเสนอมาตรการส่งเสริมและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (Autonomous, Connected, Electric and Shared Vehicles : ACES) ด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)
๒.๑ การสร้างตลาดในช่วงแรกเริ่ม ด้วยการสนับสนุน ด้านการสร้างตลาดภาครัฐ และ การทําวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ (Research & Development & Innovation: RDI, for Government Demand) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อเป็น Pilot Innovation Procurement ในการส่งเสริมนวัตกรรมของ ยานยนต์สมัยใหม่

๑) โครงการนําร่องของ กระทรวง อว.

  • เสนอให้หน่วยงานในสังกัดอว.สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่ไทยประเภท ZEV ไม่น้อยกว่า ๓๐% ของงบประมาณ โดยจะต้องซื้อจากนิติบุคคล ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่า ๕๑% ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงบุคคลธรรมดา โดยกําหนดให้ผลิตภัณฑ์ต้องมีสัดส่วนการใช้ Local Content ๔๐% ในปัจจุบัน และเพิ่มขึ้นเพื่อให้ไปสู่ ๘๐% ในปี ๒๕๗๓ เพื่อส่งเสริมให้เกิด การผลิตและทดลองใช้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมยานยนต์สมัยใหม่ไทย ซึ่งในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีกลไกที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานในด้านดังกล่าวตามรายการด้านล่าง แต่ก็ยังจําเป็นที่ จะต้องมีการกําหนดสัดส่วน Local Content ให้มีความชัดเจนมากขึ้น

−กฎกระทรวง พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ กําหนดให้มีการจัดซื้อจาก SME สัญชาติไทย (SME ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อไว้กับสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ สสว.) ไม่น้อยกว่า 30% ของวงเงินจัดซื้อฯ ในหมวดที่กําหนด และ จัดซื้อฯ จาก SME ในจังหวัดเดียวกันก่อน

−กฎกระทรวง พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ กําหนดให้หน่วยงานรัฐ จัดซื้อจัดจ้าง พัสดุที่ผลิตในไทย (สินค้ามีคุณสมบัติตามเกณฑ์ Made in Thailand ที่รับรองโดยสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.) ไม่น้อยกว่า 60% ของพัสดุที่จะใช้

−กฎกระทรวง พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างสินค้าในบัญชี นวัตกรรมไทยด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (สินค้า/บริการ ในบัญชีนวัตกรรมไทย ผ่าน คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติผลงานนวัตกรรม) โดยสํานักนายกรัฐมนตรี ไม่น้อย กว่า ๓๐% ของงบประมาณเป็นภาคบังคับ และสําแดงเหตุผลของการไม่ซื้อมาให้สํานัก งบประมาณทราบ

−การสนับสนุนทุนสําหรับผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ ความต้องการของภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดใหญ่ (Thailand Business Innovation Research: TBIR) โดยสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว.

  • เสนอให้มีการกําหนดและปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยจัดทําหลักการเพื่อกําหนดหรือ แก้ไขกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น การกําหนดราคากลางยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตใหม่และยาน ยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง การซื้อขายไฟฟ้า การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ร่วมกับ Solar Rooftop ในพื้นที่หน่วยงานราชการ และเปิดขายไฟฟ้าให้ผู้ใช้งานทั่วไป เป็นต้น

๒.๒ การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม (Research & Development & Innovation: RDI) ของยานยนต์สมัยใหม่

1) การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (EV Conversion and EV New Design)
ก. การร่วมศึกษาวิจัยเพื่อจัดทํานโยบายการส่งเสริมการใช้งานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการกําหนดจํานวนหรือเป้าหมายสัดส่วนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (เช่น จํานวน EV Conversion ในพื้นที่ EEC, การวิ่งไม่ติดเวลาเข้า กทม. ของรถบรรทุกไร้มลพิษ, การ กําหนดให้ค่าใช้จ่ายด้านการเสียภาษีจะแปรผันตามปริมาณการปล่อย CO2 เช่น ยานยนต์ไร้ มลพิษเสียภาษีน้อยหรือไม่เสียภาษี, และการเตรียมการในการกําหนดโซนสะอาด Clean AirZone ในอนาคต เป็นต้น)
ข. การสนับสนุนทางการเงินและไม่ใช่การเงิน
2) การสนับสนุนทางการเงิน โดยให้หน่วยบริหารและจัดการทุนภายใต้กระทรวง อว. จัดทํา Research & Development & Innovation Roadmap เพื่อใช้เป็นแนวทางการให้ทุน สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพของประเทศ (เช่น การให้ทุน วิจัยเพื่อการทํา Prototype การหา Best Practice และการจัดทําคู่มือและมาตรฐาน ด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง)
3) การสนับสนุนที่ไม่ใช่การเงิน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีในสถาบันวิจัย และ สถาบันการศึกษา ให้คําปรึกษาด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ค. การถ่ายทอดความรู้ด้านSystemIntegrationการปรับปรุงหลักสูตรและการสนับสนุน Talent Mobility เช่น การพัฒนากําลังคนจากสถาบันวิจัย/สถาบันการศึกษาไปยังบริษัท

2) ระบบกักเก็บพลังงาน และชิ้นส่วนอุปกรณ์ (Battery, Part/Components)
ก. การร่วมศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเพื่อจัดทําข้อเสนอมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีการ นําเข้าชิ้นส่วน (๑-๓ ปี Grace Period) และการแยกการสนับสนุนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ แพ็ค (Battery Pack/Assembly Industry) และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่เซลล์ (Battery Cells Industry)
ข. การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม(Research&Development & Innovation: RDI) เพื่อสร้างให้เกิดอุตสาหกรรม เช่น ด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D), ด้านการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยี (Technology Acquisition), ด้านการพัฒนาต่อยอด เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (Technology Localization), ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer), การทําให้เป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) และการขยายขนาด (Scale Up)

3) การสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์สมัยใหม่ Autonomous, Connected, and Shared Vehicles โดยมีหน่วยงานร่วมดำเนินการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้ (ก) หน่วยงานรัฐ ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.). สอวช. (ข) สถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ (ค) หน่วยงานเอกชน ได้แก่ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด และ AV consortium ของ สวทช. และ บริษัทเอกชน ใน CAV Alliance ของสถาบันยานยนต์อย่างน้อย ๒๐ บริษัท โดยกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมด้านการทดสอบที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น 
ก. การสนับสนุนการสร้างสนามทดสอบ CAV Proving Ground (PPP) เพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆ รองรับการใช้งานในอนาคต เช่น Testing of Products, Tech. Development, Tech. Localization, Law and Regulations 
ข. Connected and Autonomous, Shared Vehicles เช่น Demonstration Project (PPP), Show case of BKK, EEC. 

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)