ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุม สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2564

13:30 น.
29 พฤศจิกายน 2564
ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
วันที่ : 29 พฤศจิกายน 2564
เวลา : 13:30 น.
ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 4/2564
  • สไลด์สภานโยบาย 4/2564
  • รายงานการประชุมสภานโยบาย 4/2564

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3.1.1 กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบ การจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3.1.2 กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของ ประเทศ และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3.2 การแต่งตั้งประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา และ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3.2.1 การแต่งตั้งประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3.2.2 การแต่งตั้งประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3.3 ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนําผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....

3.4 การกําหนดวาระการดํารงตําแหน่งของคณะกรรมการติดตามและประเมินผล การสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

3.5 แผนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของ ประเทศระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนพัฒนากําลังคนภาค การเกษตรของประเทศ (พ.ศ. 2566-2575)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
4.1 ความก้าวหน้าในการจัดตั้งสํานักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่ม ความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ

การประชุม สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2564

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำรายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม

ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการเสนอปรับมติที่ประชุม ดังนี้

ระเบียบวาระที่ 4.4 ข้อเสนอการจัดระบบการบริหารและจัดการทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และ (ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. โดยขอแก้ไขเป็น

“1. เห็นชอบข้อเสนอการจัดระบบการบริหารและจัดการทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และ (ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจากสำนักงานสภานโยบาย
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ”

มติที่ประชุม

รับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องเดิม
1. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 โดยให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำรายละเอียดคำขอเบื้องต้น แผนงานบุคลากรภาครัฐ เสนอสำนักงบประมาณภายในวันที่ 14 มกราคม 2564 เพื่อให้สำนักงบประมาณพิจารณารายละเอียดคำของบประมาณก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ

2. พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 11 (2) กำหนดให้สภานโยบายพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี ด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ก่อนที่สำนักงบประมาณจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

2.1 สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 มีมติเห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566–2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 ต่อมา

2.2 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าวประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อการทำคำขอและการจัดสรรงบประมาณสำหรับการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564–2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566–2570 ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 45 (1) (2) และ (3)
ดังนี้

45(1) งบบุคลากรซึ่งเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวง ให้สถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวทำคำขอเสนอต่อสำนักงบประมาณโดยตรง

45(2) งบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่นซึ่งเป็นงบประจำ รวมทั้งงบลงทุนอื่นที่ไม่ใช่งบลงทุนตาม (3) ให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวงทำคำขอเสนอต่อสำนักงบประมาณโดยตรง

45(3) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ และเงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยส ภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

โดยที่ สป.อว. เสนอกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้ความเห็นชอบตามมาตรา17 (2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2562 และมาตรา 22(3) กำหนดให้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เสนอความเห็นในเรื่องดังกล่าวต่อสภานโยบาย

2.3 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศและระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าวที่สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เพื่อให้ กสว. นำเสนอต่อสภานโยบายตามลำดับ ตามมาตรา 41(2) และ 44(4) และมาตรา 22(3) กำหนดให้ สอวช. เสนอความเห็นในเรื่องดังกล่าวต่อสภานโยบาย

3. กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่จะเสนอขอความเห็นชอบจากสภานโยบาย มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 143,734.7682 ล้านบาท

3.1 กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา จำนวน 114,634.7682 ล้านบาท

1) งบบุคลากรซึ่งเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวง ให้สถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวทำคำขอเสนอต่อสำนักงบประมาณโดยตรง จำนวน 70,409.6395 ล้านบาท

2) งบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่นซึ่งเป็นงบประจำ รวมทั้งงบลงทุนอื่นที่ไม่ใช่งบลงทุนตาม (3) ให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวงทำคำขอเสนอต่อสำนักงบประมาณโดยตรง จำนวน 36,755.5287 ล้านบาท

3) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 7,469.6000 ล้านบาท

3.2 กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 29,100 ล้านบาท

การดำเนินงาน
กกอ. ในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ให้ความเห็นชอบ

เป้าหมายผลผลิตและกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และ 2. ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

เป้าหมายผลผลิตและกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1) การประมาณการเป้าหมายจำนวนนักศึกษารวม หลักสูตรระดับปริญญา (Degree) ประจำปีการศึกษา 2565 มีนักศึกษารวมทุกระดับการศึกษาจำนวน 1,367,865 คน จำแนกเป็น ระดับอนุปริญญา 19,109 คน ระดับปริญญาตรี 1,240,889 คน และระดับบัณฑิตศึกษา 107,867 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษารวม ปีการศึกษา 2564

กลุ่มสาขาวิชา (ISCED) ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักศึกษารวมมากที่สุด คือ Business, administration and law และ Services เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 และ 3.35 ตามลำดับ กลุ่มสาขาวิชา Health and welfare และ Social sciences, journalism and information ลดลงร้อยละ 3.17 และ 1.64 ตามลำดับกลุ่มสาขาวิชา Agriculture, forestry, fisheries and veterinary และ Arts and humanities มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักศึกษารวมในระดับที่น้อยที่สุด

ตารางที่ 1 นักศึกษารวมทุกระดับการศึกษา จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา (ISCED) ปีการศึกษา 2563 – 2565

2) การประมาณการเป้าหมายการผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศตามหมุดหมายที่ 1 – 6 ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 ในกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ได้แก่ การเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีดิจิทัล อิเล็กทรอนิกอัจฉริยะ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกลุ่มระบบโลจิสติกส์และระบบราง และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 30 ของนักศึกษารวมปีการศึกษา 2565 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 410,360 คน จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังภาพ

ภาพที่ 1 จำนวนนักศึกษาตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีการศึกษา 2565

3) เป้าหมายการพัฒนากำลังคน หลักสูตร Non – Degree (Re Skills, Up Skills, New Skills)ประจำปีการศึกษา 2565 โดยใช้ฐานข้อมูลจากแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา ระดับสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนไม่น้อยกว่า 130,000 คน

4) เป้าหมายการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการขับเคลื่อนพันธกิจตอบโจทย์การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตรองรับบริบทของศตวรรษที่ 21 โดยพัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่าย ในทุกสถานที่และทุกเวลาทั้งผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา รวมถึงประชาชนทุกช่วงวัย

5) บุคลากรสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวนรวม 195,989 คน จำแนกเป็นบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 70,914 คน คิดเป็นร้อยละ 36.18 และบุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 125,075 คน คิดเป็นร้อยละ 63.82 หรือคิดเป็นสัดส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อสายสนับสนุน เป็น 1 : 1.76

ตารางที่ 2 บุคลากรรวมของสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2563 – 2565

6) เป้าหมายผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่เสนอขอจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 80 แห่ง แยกตามกลไกการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing Platform) 5 แพลตฟอร์ม ดังนี้

ตารางที่ 3 ผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม
จำแนกตามกลไกการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ตารางที่ 4 ค่าเป้าหมายผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของสถาบันอุดมศึกษา 80 แห่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

7) กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนวงเงินรวมทั้งสิ้น 114,634.7682 ล้านบาท จำแนกตามประเภทงบประมาณที่สอดคล้องตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ได้ดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

2.ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์

1.สอวช. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมกันศึกษาระบบงบประมาณการผลิตและพัฒนากำลังคนในลักษณะ Demand-side Financing ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนของรัฐบาล ดังนี้

• สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา โดยเป็นหนึ่งในแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปที่มีนัยสำคัญที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา มอบหมายให้ อว. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อน และต่อมาได้มอบหมายให้ สอวช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการศึกษาระบบงบประมาณการผลิตและพัฒนากำลังคนในลักษณะ Demand-side Financing

• สอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 (ฉบับ พ.ศ. 2563) โดยเป็นกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 เรื่องการจัดระบบอุดมศึกษาใหม่

• สอดคล้องกับความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 โดยมีความเห็นว่า “ควรให้ความสำคัญกับกลไกที่จำเป็นต่อการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณให้สนองต่ออุปสงค์ (Demand-side Financing) ควรกำหนดแนวทางให้เกิดการไปนำสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับระบบงบประมาณตามกฎหมายอุดมศึกษาให้ชัดเจน”

ต่อมา สอวช. และ มจธ. ได้นำผลการศึกษาดังกล่าวมาพัฒนาเป็นข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษาแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้หลักการ Demand – directed Budgeting เสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ตามลำดับ

2.กกอ. ในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการพัฒนา (Roadmap) ของระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับการอุดมศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการส่งมอบผลลัพธ์ (Outcome) สำคัญ ได้แก่ การผลิตกำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการ (Real Demand) ได้อย่างแท้จริง ซึ่งสะท้อนได้จากอัตราการได้งานทำ(Employability) ที่เพิ่มสูงขึ้น ความคุ้มค่าจากการลงทุน /ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment) ที่ชัดเจน และความเชื่อมโยงในการร่วมลงทุนในการพัฒนากำลังคนกับภาคเอกชน (Cocreation) ซึ่งเป็นผู้ถืออุปสงค์อย่างแท้จริง

3.สอวช. และ มจธ. ได้ปรับปรุงแนวทางการพัฒนา (Roadmap) ของระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามความเห็นของ กกอ. โดยสาระสำคัญของแนวทางดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) พัฒนาแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำลังคน การกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และการกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณด้านอุดมศึกษา (Plan-based Budgeting)

กลไก/แนวทางจัดสรรงบประมาณ:

-งบประมาณประจำตามมาตรา 45(1) และ 45(2) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาพ.ศ. 2562 วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณตามแผนพัฒนากำลังคนที่กำหนดตามแผนด้านการอุดมศึกษา (Plan-based) ได้แก่ แผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา และแผนปฏิบัติการการพัฒนากำลังคนของประเทศและการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

-งบประมาณเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ตามมาตรา 45(3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ได้แก่ การตั้งแผนงานบูรณาการเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และแนวทางโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย

เครื่องมือสนับสนุน: ระบบข้อมูลด้านการอุดมศึกษา

บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.): วิเคราะห์วางแผนและขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้กลไกแผนปฏิบัติการและแผนงานบูรณาการ

-สำนักงบประมาณ: วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณ

-กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.): ให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียน

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ภาคเอกชน เป็นต้น: ร่วมวิเคราะห์ วางแผนและขับเคลื่อน

ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2570) พัฒนาการจัดสรรงบประมาณด้านการอุดมศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result – based Budgeting)

กลไก/แนวทางจัดสรรงบประมาณ:

-งบประมาณประจำตามมาตรา 45(1) และ 45(2) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาพ.ศ. 2562 วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result-based) ด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ โดยต้องมีสัญญาณความต้องการกำลังคน (Demand Signal) ที่ชัดเจนขึ้น ประกอบกับมีแผนการพัฒนากำลังคนจากนโยบายพัฒนาประเทศ (แผนปฏิบัติการทั้ง 2 แผน) กล่าวคือ ต้องมีทั้งความต้องการอย่างน้อยใน 3 ส่วน ประกอบด้วย ความต้องการจากตลาดแรงงาน (Market Demand)
ความต้องการจากนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ (Plan Demand) และความต้องการเชิงสังคม (Social Demand) โดยดำเนินการร่วมกับสำนักงบประมาณ

-งบประมาณเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ตามมาตรา 45(3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ใช้กองทุนพัฒนาการอุดมศึกษาเป็นกลไกสนับสนุน และใช้งบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อความคล่องตัวในการสนับสนุนงบประมาณตามมาตรา 45(3)

เครื่องมือสนับสนุน: ระบบแพลตฟอร์มด้านอุปสงค์และอุปทาน (Demand-Supply Platform) เพื่อการพัฒนากำลังคนที่สามารถวิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคน กลไกในการติดตามและรายงานผลจากสถาบันอุดมศึกษา และการปรับกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษา

บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.): วิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคนเสนอหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณแบบ Result-based และบริหารกองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษา

-สำนักงบประมาณ: กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณแบบ Result-based ดำเนินการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณ

-กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.): ให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียนโดยพิจารณาสัญญาณความต้องการกำลังคน

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ภาคเอกชน เป็นต้น: ร่วมวิเคราะห์ วางแผน ขับเคลื่อนและร่วมลงทุนภาคการผลิตและพัฒนากำลังคนระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2571 เป็นต้นไป) พัฒนาการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการผ่านด้านอุปสงค์เป็นหลัก (Demand – Directed Budgeting)

กลไก/แนวทางจัดสรรงบประมาณ:

-งบประมาณประจำตามมาตรา 45(1) 45(2) และ 45(3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณแบบ Demand directed Financing โดยใช้สูตรการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนรายหัว (Formula-based Unit Cost Subsidy) ตามต้นทุนต่อหน่วย(Standard Unit Cost) สำหรับแต่ละสาขาวิชา โดยพิจารณาผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา(Performance-based) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนมาตรฐานการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยมีกองทุนเพื่อการ
พัฒนาการอุดมศึกษาเป็นกลไกในการสร้างเอกภาพของนโยบายและงบประมาณ

เครื่องมือสนับสนุน: ระบบแพลตฟอร์มด้านอุปสงค์และอุปทาน (Demand-Supply Platform) เพื่อการพัฒนากำลังคนที่สามารถวิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคน โดยอาศัยระบบการวิเคราะห์ในลักษณะของ Intelligent system และบุคลากรที่มีศักยภาพการวิเคราะห์และขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ โดยในระยะยาวจำเป็นต้องมีกลไกประเมินความต้องการทักษะและความสามารถของบุคลากรในภาพรวมของประเทศ กลไกในการติดตามและรายงานผลจากสถาบันอุดมศึกษา และการปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณอุดมศึกษา

บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.): วิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคน เสนอกรอบวงเงินการอุดมศึกษา และบริหารกองทุนเพื่อจัดสรรงบประมาณสู่สถาบันอุดมศึกษา

-สำนักงบประมาณ: วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณสู่กองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษา ตามกรอบวงเงินงบประมาณ

-กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.): ให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียนแบบบูรณาการและสอดรับกับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ภาคเอกชน เป็นต้น: ร่วมวิเคราะห์ วางแผน ขับเคลื่อนและร่วมลงทุนภาคการผลิตและพัฒนากำลังคน

(รายละเอียดตามเอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 3.1.1)

ลิ้งก์ดาวน์โหลดเอกสารประกอบวาระ 3.1.1 : https://www.nxpo.or.th/311-312

ความเห็นของฝ่ายเลขานุการฯ
กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีเป้าหมายเพื่อนำมาใช้ในการผลิตบัณฑิต และการพัฒนากำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ทั้งในลักษณะ Degree และ Non – Degree รวมถึงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา

โดยที่เสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา โดยใช้หลักการ Demand – directed Budgeting ที่ให้ความสำคัญกับการส่งมอบผลลัพธ์ (Outcome) สำคัญ ได้แก่ การผลิตกำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการ (Real Demand) ได้อย่างแท้จริง ซึ่งสะท้อนได้จากอัตราการได้งานทำ (Employability) ที่เพิ่มสูงขึ้น ความคุ้มค่าจากการลงทุน /ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment) ที่ชัดเจน และความเชื่อมโยงในการร่วมลงทุนในการพัฒนากำลังคนกับภาคเอกชน (Cocreation) ซึ่งเป็นผู้ถืออุปสงค์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ในระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) จะพัฒนาแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำลังคน การกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และการกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณด้านอุดมศึกษา (Plan-based Budgeting) และจะพัฒนาต่อเนื่องถึงระยะที่ 3 เพื่อมุ่งไปสู่การจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการผ่านด้านอุปสงค์เป็นหลัก(Demand – Directed Budgeting)

ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาการอุดมศึกษาให้ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ นโยบายรัฐบาล และสอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564–2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566–2570 ซึ่งสภานโยบายมีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 หากกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา ศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่านความเห็นชอบจากสภานโยบายแล้ว จะนำเสนอสำนัก
งบประมาณภายในวันที่ 14 มกราคม 2565 เพื่อให้สำนักงบประมาณพิจารณารายละเอียดคำของบประมาณก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ประเด็นเสนอที่ประชุม

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงินรวมทั้งสิ้น 114,634.7682 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

เอกสารประกอบการประชุม

กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กรอบวงเงินงบประมาณประจำปี ด้านการอุดมศึกษา

และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ส่วนที่ 1 กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

บทนำและข้อกฎหมาย

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 17 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการอุดมศึกษาในการเสนอแนะต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลเสนอแนะกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาต่อสภานโยบายฯ เสนอระบบการจัดสรรและการบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าวให้สอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์และแผนด้านการอุดมศึกษา พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะและให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาต่อรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภานโยบายฯ พิจารณาอนุมัติและดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ตลอดจนระบบการจัดสรรและการบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยตรงที่ต้องรับผิดชอบดำเนินการเพื่อพัฒนากลไกทางการเงินและงบประมาณให้เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบอุดมศึกษาให้สนองตอบต่อนโยบายการพัฒนาประเทศ แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 อย่างมีประสิทธิภาพ

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 มาตรา 45 ได้กำหนดให้การทำคำขอและการจัดสรรงบประมาณสำหรับการอุดมศึกษา ให้ดำเนินการ ดังนี้

(1) งบบุคลากรซึ่งเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ฯ ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำคำขอเสนอต่อสำนักงบประมาณโดยตรง
(2) งบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่นซึ่งเป็นงบประจำ ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำคำขอเสนอต่อสำนักงบประมาณโดยตรง และให้สำนักงบประมาณจัดสรรในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป
(3) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ

การกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาเป็นการเสนอกรอบการจัดสรรและการบริหารงบประมาณภาคอุดมศึกษาของประเทศตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 เป็นหลักในการกำหนดกลไกการดำเนินงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังคงมุ่งส่งเสริมความอิสระในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและส่งผลกระทบที่ดีต่อการพัฒนาประเทศภายใต้ระบบธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง

ยุทธศาสตร์และแผนที่เกี่ยวข้อง
บทบาทของอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 มีรายละเอียดดังนี้

1.ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในทุกมิติที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาและเสริมจุดอ่อนอันเป็นปัจจัยฉุดรั้งการพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องโดยตรงกับยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา ดังนี้

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้แก่ อุตสาหกรรมและการบริการแห่งอนาคต ซึ่งให้ความสำคัญกับ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ และอุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์ โดยมีเป้าหมายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาคนทุกช่วงวัยส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ ปลูกฝังความเป็นคนดี มีวินัย ยกระดับศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะแรงงานและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ
2) ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท พัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ และการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย 3) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เช่น การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน มีเป้าหมายให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพพร้อมสำหรับวิถีในศตวรรษที่ 21 สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ โดยการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส มีเป้าหมายสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเองเพื่อสร้างสังคมคุณภาพ

2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักนำทางในการขับเคลื่อนและวางแผนการพัฒนาประเทศ ให้เกิดประสิทธิผลในการขับเคลื่อนพลวัตการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวคิดในการวางกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อพลิกโฉมประเทศไทยหรือ เปลี่ยนแปลงประเทศขนานใหญ่ (Thailand’s Transformation) ภายใต้แนวคิด “Resilience” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการลดความเปราะบาง สร้างความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาวะวิกฤติ สร้างภูมิคุ้มกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้ประเทศสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและมุ่งเน้นคัดเลือกประเด็นการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูงในการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ Hi-Value and Sustainable Thailand และเพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในลักษณะของวาระการพัฒนา (Agenda) ที่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้กำหนดหมุดหมายการพัฒนา จำนวน 13 ประการ เพื่อสะท้อนประเด็นการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูงต่อการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้าเศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” โดยมีหมุดหมายที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา ดังนี้

หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง โดย
การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ สนับสนุนให้กำลังคนมีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตเป้าหมาย การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม โดยให้เกิดการลดลงของความเหลื่อมล้ำทั้งในเชิงรายได้และความมั่นคง และการเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่ โดยประเทศไทยมีความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามที่สำคัญในอนาคต โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาดร้ายแรงและโรคอุบัติใหม่ และภัยคุกคามทางไซเบอร์

หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน สอดคล้องกับการอุดมศึกษาในเรื่องของการพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ และการมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรมโดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

หมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษาในด้านการพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ให้มีทักษะที่จำเป็น มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การยกระดับศักยภาพ ทักษะและสมรรถนะแรงงานอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง คือการพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ที่มีสมรรถนะสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีอุตสาหกรรมการแพทย์แบบครบวงจรเป็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต การใช้เทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ๆ ยกระดับการให้บริการการแพทย์อย่างมีคุณภาพในระดับสากล และมุ่งเน้นการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข

หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไปสู่อุตสาหกรรมอนาคตที่เติบโตเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทยและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมและบริการ

หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน
ซึ่งเกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม และการเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่

หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา ได้แก่ การพัฒนาคนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงสอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตเป้าหมาย สามารถสร้างงานอนาคตและสร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีความสามารถในการสร้างและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม ด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเรียนในระบบการศึกษาปกติ

3.แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570
แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดแนวทางการดำเนินพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการแก่สังคม การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ผ่านงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning for All) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้เรื่องผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Ecological Footprint) การยกระดับคุณภาพการศึกษาและสมรรถนะของกำลังคน (Quality & Manpower Competencies Enhancement) มุ่งเน้นระบบการศึกษารองรับผู้เรียนนอกวัยเรียน รวมถึงสร้างความเชี่ยวชาญเข้มแข็งทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และศาสตร์โลกตะวันออก ตลอดจนการสร้างเสริมบุคลากรคุณภาพสูง (Enhancement of Brainpower & Concentration of Talents)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem Building)
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์องค์ความรู้ การวิจัย นวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Research Innovation and Technology Transfer) ตามอัตลักษณ์และศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา การยกระดับหน่วยวิจัย การสร้างความร่วมมือการวิจัยกับภาคส่วนต่าง ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือปัจจัยเอื้อภายในสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม รวมทั้งการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการวิจัย การจัดสรรผลประโยชน์จากงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา (Benefits Sharing) เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดและอุปสรรคอันมีผลต่อการวิจัย

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education Transformation) มุ่งหวังให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหน่วยจัดการศึกษาขั้นสูงที่เป็นกลไกหลักสำคัญในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ผ่านการบริหารจัดการที่ยึดมั่นตามหลักธรรมาภิบาล (Management and Good Governances) รวมถึงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาตามอัตลักษณ์ที่หลากหลาย (Reinventing University) การสร้างความมั่นคงทางการเงินในระบบอุดมศึกษา (Financial Security) เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธผลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และระบบฐานข้อมูล (Big Data) เพื่อการอุดมศึกษาและวิจัย สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและขยายบริการทางการศึกษาได้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างอิสระ

แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ยังได้กำหนด 7 นโยบายหลัก (Flagship Policies) และ 3 กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) เพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนที่สำคัญเร่งด่วนให้บรรลุผลเป็นรูปธรรม ภายในระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) บนพื้นฐานของความตรงประเด็น (Relevance) ประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ดังนี้
Flagship Policies 7 นโยบายหลัก ประกอบด้วย

FP 1 กำลังคนสมรรถนะและศักยภาพสูงตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดล BCG และอุตสาหกรรมเป้าหมายตาม
กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570
FP 2 กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น
FP 3 วิสาหกิจชุมชน ระบบเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม รวมถึง SMEs, IDEs และ Deep Tech: Start Up มีความเข้มแข็ง และสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
FP 4 การรองรับสังคมสูงวัย และการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยสมบูรณ์
FP 5 การสร้างความเป็นเลิศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์
FP 6 ศูนย์กลางความเชี่ยวชาญระดับนานาชาติ (Hub of Talent & Knowledge)
FP 7 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาที่เข้มแข็ง

Flagship Mechanisms 3 กลไกหลัก ประกอบด้วย
FM 1 การปฏิรูประบบการเงินและงบประมาณที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
FM 2 การส่งเสริมธรรมาภิบาล ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
FM 3 การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ มีเสถียรภาพ

ภาพที่ 1 : แสดงความเชื่อมโยงของแผนระดับต่างๆ กับการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2566

บริบทอุดมศึกษาไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 155 แห่ง แบ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 57 แห่ง (สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด 9 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฎ 38 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งสถาบันวิทยาลัยชุมชน 1 แห่ง) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ 24 แห่ง มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 72 แห่ง โดยงบประมาณที่จัดสรรให้แก่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในช่วงปีงบประมาณพ.ศ. 2562 – 2564 มีแนวโน้มลดลงจาก 113,777.8820 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปเป็น 107,864.7781 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นงบประมาณด้านบุคลากรในสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 53.29, ร้อยละ 66.02 และร้อยละ 66.55 ตามลำดับ ส่วนงบประมาณที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับการจัดสรรน้อยที่สุดคืองบลงทุน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.63, ร้อยละ 7.51 และร้อยละ 8.41 ตามลำดับ

แต่หากพิจารณาจากสัดส่วนของเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในส่วนของงบบุคลากรแล้ว พบว่า มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในทุกปีงบประมาณ แต่สำหรับงบเงินอุดหนุนพบว่า สัดส่วนเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลงในทุกปีงบประมาณส่วนงบเงินลงทุนพบว่า มีสัดส่วนที่ผกผันขึ้น-ลง ในทุกปีงบประมาณ ดังนั้น การจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณจึงเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานขององค์กร รวมทั้งการวางแผนที่ดี การกำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติงานการวิเคราะห์ ประเมินผลอย่างรอบคอบและเป็นระบบ ถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี

หากพิจารณาถึงศักยภาพในการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2561 – 2563 แล้วพบว่าจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีแนวโน้มลดลง โดยในปีการศึกษา 2561 นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีจำนวน 1,346,494 คน ลดลงเป็น 1,269,394 คน ในปีการศึกษา 2562 และลดลงเป็น 1,253,899 คน ในปีการศึกษา 2563 หรือลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.30

สำหรับจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงที่ผกผันในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมากล่าวคือ ในปีการศึกษา 2561 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีจำนวน 114,836 คน และลดลงในปีการศึกษา 2562 เป็น 99,734 คน คิดเป็นร้อยละ 13.15 แต่ในปีการศึกษา 2563 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 เป็น 107,572 คน คิดเป็นร้อยละ 7.86 และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2563 พบว่า ปีการศึกษา 2563 มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาลดลงจากปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 6.33

จากแนวโน้มของจำนวนนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาต้องแข่งขันกันดึงดูดผู้เรียนมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษา เช่น เกิดจำนวนที่ว่างในสถาบันอุดมศึกษาเป็นจำนวนมาก รายได้ของสถาบันอุดมศึกษาลดลง ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อสถาบันอุดมศึกษาต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 (COVID -19) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ปี 2564 ได้มีการคาดการณ์ว่ามีนักเรียน/นักศึกษาที่ครอบครัว “ยากจนเป็นพิเศษ” ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID -19 เพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ราวร้อยละ 10 คิดเป็นจำนวนประมาณ 150,000 – 300,000 คน ซึ่งเสี่ยงต่อการหลุดออกจากระบบการศึกษา นอกจากนั้น นักเรียน/นักศึกษาในระบบการศึกษากำลังเผชิญสภาวะเรียนรู้ถดถอย (Learning loss) จากข้อจำกัดเรื่องการเรียนออนไลน์ และอาจนำไปสู่ภาวะทักษะของผู้จบการศึกษาลดลง สะท้อนถึงการขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็น ซึ่งอาจส่งผลต่อการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านทักษะที่จำเป็นของผู้จบการศึกษา (Skillset of Graduates) โดย World Economic Forum (WEF) ของประเทศไทยในอนาคตด้วยเมื่อพิจารณานักศึกษารวมทุกระดับในปีการศึกษา 2563 จำแนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ(S – Curve) 10 กลุ่ม พบว่า มีนักศึกษารวม 10 กลุ่ม S – Curve จำนวน 459,235 คน คิดเป็นร้อยละ 29 ของนักศึกษารวมทุกระดับปีการศึกษา 2563 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,608,099 คน โดยกลุ่มอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุดคือ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล จำนวน 107,829 คน รองลงมาคือ กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร จำนวน 106,577 คน และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ จำนวน 49,857 คน คิดเป็นร้อยละ 23.48 ร้อยละ 23.21 และร้อยละ 10.85 ตามลำดับ

ภาพที่ 2 : จำนวนนักศึกษารวมทุกระดับ ปีการศึกษา 2563 ที่กำลังศึกษาใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

หากพิจารณาตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 จำนวน 4 กลุ่มหลักคือ 1) กลุ่มแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ที่มุ่งเน้น 4 สาขาได้แก่ การเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) กลุ่มปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีดิจิทัล อิเล็กทรอนิกอัจฉริยะ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 3) กลุ่มระบบโลจิสติกส์และระบบรางและ 4) กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พบว่า กลุ่มแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) มีนักศึกษากำลังศึกษาอยู่ในกลุ่มนี้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.14 รองลงมาคือกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีดิจิทัล อิเล็กทรอนิกอัจฉริยะ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ร้อยละ 34.46 และปีการศึกษา 2561 – 2563 บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีการศึกษา 2561 มีบุคลากรรวม 194,225 คน ปีการศึกษา 2562 มีบุคลากรรวม 194,742 คน และปีการศึกษา 2563 มีบุคลากรรวม 196,205 คน คิดสัดส่วนบุคลากรสายวิชาการ : สายสนับสนุน เป็น 33 : 67, 36 : 64 และ 36 : 64 ตามลำดับกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า ร้อยละ 10.68 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบจำนวนบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กับจำนวนนักศึกษารวมปีการศึกษา 2561 – 2563 แล้วพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สวนทางกัน กล่าวคือ ในขณะที่จำนวนนักศึกษารวม มีแนวโน้มลดลงทุกปี แต่จำนวนบุคลากรกลับมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้สถาบันอุดมศึกษาต้องกลับมาพิจารณาทบทวนการบริหารจัดการอัตรากำลัง (สายวิชาการและสายสนับสนุน) ให้สอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาที่กำลังศึกษาในปัจจุบันและจำนวนนักศึกษาใหม่ที่สถาบันอุดมศึกษาจะเปิดรับ โดยอาจใช้กลไกด้านงบประมาณเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการอัตรากำลังให้เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษาที่จะเปิดรับใหม่เป็นต้น

ในด้านงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา เมื่อพิจารณาจาก Citation Index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่บ่งชี้ถึงคุณภาพของผลงานทางวิชาการ พบว่า สถาบันอุดมศึกษาในกำกับเป็นกลุ่มสถาบันที่มีจำนวน Citation อันดับต้น โดยที่ 5 อันดับแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย Citation index และ International Patent เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลถึงการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ Intentional Institute for Management (IMD) และ World Economic Forum (WEF) อีกด้วย

ภาพที่ 3 : ข้อมูลผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติในประเทศไทย จาก SciVal ปี พ.ศ. 2559 – 2564

Thailand Publications in SciVal 2016-2020

ที่มา : แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 -2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570

จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2022 โดย QS World University Rankings พิจารณาจากตัวชี้วัด 6 ด้าน ประกอบด้วยความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (40%) การเป็นที่ยอมรับจากนายจ้าง (10%) สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา (20%) ผลงานวิชาการต่ออาจารย์ (20%) สัดส่วนของอาจารย์ชาวต่างชาติ (5%) และสัดส่วนของนักศึกษาชาวต่างชาติ (5%) พบว่า มีสถาบันอุดมศึกษาของไทยจำนวน 8 แห่ง ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 1,000 อันดับแรก โดยในช่วงอันดับที่ 200 – 300 พบ 2 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อันดับที่ 215) และมหาวิทยาลัยมหิดล (อันดับที่ 255) ส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ในช่วงอันดับที่ 601 – 650 และในช่วงอันดับที่ 801 – 1,000 พบสถาบันอุดมศึกษาไทย 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ภาพที่ 4 : อันดับของมหาวิทยาลัยไทยในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ปี 2022 โดย QS World University Rankings

ทั้งนี้ ยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาแห่งใดของไทยที่บรรลุเป้าหมายอยู่ในกลุ่ม 200 อันดับแรกของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ตามตัวชี้วัดของแผนด้านการอุดมศึกษาฯ ที่มีเป้าหมายให้สถาบันอุดมศึกษาติดอันดับ 200 อันดับแรกของ World Class University Ranking ภายในปี พ.ศ. 2570 เหล่านี้ ล้วนเป็นสัญญาณเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องเร่งปฏิรูประบบการบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบงบประมาณที่ต้องมีความคล่องตัวและมีอิสระในการบริหารจัดการ รวมถึงปฏิรูปการจัดการศึกษาที่ต้องมุ่งเน้นในแง่คุณภาพของผลสัมฤทธ์และผลลัพธ์ด้วย

The Times Higher Education (THE) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีการวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทั่วโลกในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ผ่านการประเมินตัวชี้วัด โดยแบ่งเป็น 4 ขอบเขตหลัก ได้แก่ 1) งานวิจัย 2) นโยบายและแนวทางปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย 3) การเชื่อมโยงกับสังคมไทยและสังคมโลก และ 4) การเรียนการสอนทั้งนี้ THE Impact Rankings ประจำปี 2021 มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จากมหาวิทยาลัยจำนวน 1,115 แห่ง ใน 94 ประเทศทั่วโลก พบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับที่ 23 ขณะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีอยู่ในอันดับที่ 54

อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีสถาบันอุดมศึกษาของไทยอีกจำนวน 20 แห่ง ที่มีชื่อติดอยู่ในการจัดอันดับของ THE Impact Rankings 2021 โดยในช่วงอันดับที่ 101 –200 มีจำนวน 3 แห่ง ช่วงอันดับที่ 201 – 400 จำนวน 5 แห่ง ช่วงอันดับที่ 402 – 600 จำนวน 4 แห่ง ช่วงอันดับที่ 601 – 800 จำนวน 6 แห่ง และช่วงอันดับที่ 801 -1,000 จำนวน 2 แห่ง

ส่วนในระดับเป้าหมาย (Goal) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้อันดับที่ 1 ของโลก ในเป้าหมายที่ 7 (SDG 7) : พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อันดับที่ 10 ของโลก ในเป้าหมายที่ 15 (SDG 15) : ระบบนิเวศบนบก (Life on Land) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้คะแนนติดอันดับที่ 15 ของโลก ในเป้าหมายที่ 1 (SDG 1) ขจัดความยากจน (No Poverty) อันดับเหล่านี้ ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีความตื่นตัวในเรื่องของ SDGs เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (SDG MOVE, 2564) เห็นได้จากประเทศไทยส่งข้อมูลเพื่อการจัดอันดับ Impact Rankings เพิ่มขึ้นจาก 19 แห่ง ในปี 2020 เป็น 26 แห่ง ในปี 2021

ภาพที่ 5 : การจัดอันดับของ THE Impact Rankings 2021 ในระดับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยไทย

เมื่อพิจารณาจากบริบทของอุดมศึกษาแล้ว พบว่าอุดมศึกษาต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต การจัดระบบอุดมศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับกระแสโลก จึงเป็นช่องทางสำคัญที่จะทำให้อุดมศึกษาสามารถตอบโจทย์ประเทศได้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้านการอุดมศึกษา ถือเป็นการบริหารจัดการด้านงบประมาณที่จะสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่ระบบอุดมศึกษา (Financial Security) และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายรัฐบาล และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 อันจะนำไปสู่ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

แผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา

คณะกรรมการการอุดมศึกษามีหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยมีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 เห็นชอบการจัดทำแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา ระดับสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 เพื่อใช้ประกอบการกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้านการอุดมศึกษา ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการการอุดมศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา โดยอนุโลมตามมาตรา 51 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้จัดทำแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา ระดับสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการนำมากำหนดกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี ได้แก่แผนการผลิตและพัฒนากำลังคน และแผนงบประมาณของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขับเคลื่อนแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 สู่การปฏิบัติบนหลักเสรีภาพทางวิชาการ
ความอิสระในการบริหารจัดการที่พึงดำเนินการ เพื่อส่งมอบผลผลิตตามเป้าหมาย

จากการประมวลข้อมูลแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา ระดับสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสถาบันอุดมศึกษา 70 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564) พบว่า สถาบันอุดมศึกษามีแผนการผลิตบัณฑิต หลักสูตรระดับปริญญา (Degree) จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,405,016 คน และแผนการพัฒนากำลังคน หลักสูตร Non – Degree (Re skills, Up skills, New skills) จำนวนรวม 133,544 คน

ตารางที่ 1 เป้าหมายการผลิตบัณฑิตรูปแบบ Degree ของสถาบันอุดมศึกษา (นักศึกษารวม) ประจำปีการศึกษา 2565

สถาบันอุดมศึกษาเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน ตามแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมจำนวน 207,057.0395 ล้านบาท สูงกว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ถึง 120,825.6228 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 240 ของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ตารางที่ 2 งบประมาณที่สถาบันอุดมศึกษาเสนอขอรับการสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วงเงินงบประมาณที่สถาบันอุดมศึกษาเสนอขอรับการสนับสนุน อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเกินกว่าจะนำมากำหนดกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาที่เหมาะสมได้ ดังนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะดำเนินการประมวลข้อมูลงบประมาณย้อนหลังที่สนับสนุนให้กับสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 83 แห่ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2565 มาพิจารณาประกอบการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่เหมาะสมต่อไป

กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
การกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาเป็นการพัฒนากลไกทางการเงินและงบประมาณให้เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาระบบการอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจที่กฎหมายกำหนด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนด้านการอุดมศึกษา พร้อมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายของผลผลิตที่พึงประสงค์ที่จะส่งมอบเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วย บัณฑิตและกำลังคนที่ได้รับการศึกษาและพัฒนา อัตรากำลังบุคลากรสถาบันอุดมศึกษา และผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University)

1.เป้าหมายการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคน
สถาบันอุดมศึกษาสามารถดำเนินการตามพันธกิจด้านการจัดการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนตอบโจทย์การพัฒนาประเทศได้ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการศึกษารูปแบบปริญญา (Degree) ส่งมอบผลผลิตสำคัญที่พึงประสงค์ คือ การผลิตบัณฑิตหลักสูตรระดับปริญญา (Degree) การจัดการศึกษารูปแบบ Non – Degree ส่งมอบผลผลิตสำคัญที่พึงประสงค์ คือ การพัฒนากำลังคน หลักสูตร Non – Degree (Re Skills, Up Skills, New Skills) และการจัดการศึกษาตลอดช่วงชีวิต (Life Long Learning)

1.1 การผลิตบัณฑิต หลักสูตรระดับปริญญา (Degree)
จากข้อมูลการผลิตบัณฑิต หลักสูตรระดับปริญญา ในอดีตที่ผ่านมา สามารถประมาณการจำนวนนักศึกษารวม ที่เป็นเป้าหมายการจัดการศึกษารูปแบบปริญญา (Degree) ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2564 เป็นปีฐาน เพื่อกำหนดทิศทางของแนวโน้มการจัดการศึกษาจำแนกตามระดับการศึกษาและกลุ่มสาขาวิชา (ISCED) พบว่า ปีการศึกษา 2565 มีนักศึกษารวมทุกระดับการศึกษา จำนวน 1,367,865 คน จำแนกเป็น นักศึกษารวมระดับอนุปริญญา 19,109 คน ระดับปริญญาตรี 1,240,889 คน และระดับบัณฑิตศึกษา 107,867 คน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษารวมปีการศึกษา 2564 และกลุ่มสาขาวิชา (ISCED) ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักศึกษารวมมากที่สุด คือ Business, administration and law และ Services เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 และ 3.35 ตามลำดับ กลุ่มสาขาวิชา Health and welfare และ Social sciences, journalism and information ลดลงร้อยละ 3.17 และ 1.64 ตามลำดับ กลุ่มสาขาวิชา Agriculture, forestry, fisheries and veterinary และ Arts and humanities มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักศึกษารวมในระดับที่น้อยที่สุด

ตารางที่ 3 นักศึกษารวม ระดับอนุปริญญา ปีการศึกษา 2563 – 2565

ตารางที่ 4 นักศึกษารวม ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2563 – 2565

ตารางที่ 5 นักศึกษารวม ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563 – 2565

ตารางที่ 6 นักศึกษารวมทุกระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2563 – 2565

การประมาณการเป้าหมายการผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศตามหมุดหมายที่ 1 – 6 ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 ในกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ได้แก่ การเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีดิจิทัล อิเล็กทรอนิกอัจฉริยะ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กลุ่มระบบโลจิสติกส์และระบบราง และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 30 ของนักศึกษารวมปีการศึกษา 2565 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 410,360 คน จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังภาพ

ภาพที่ 6 : ประมาณการการผลิตบัณฑิตตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประจำปีการศึกษา 2565

1.2 การพัฒนากำลังคน หลักสูตร Non – Degree
การพัฒนากำลังคนในหลักสูตร Non – Degree ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่เห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ เพื่อเพิ่มพูนทักษะกำลังแรงงานให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน (Re Skills, Up Skills, New Skills) รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve, Eastern Economic Corridor (EEC) และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงอุตสาหกรรม BCG เพื่อให้กำลังคนมีศักยภาพรองรับหลังการระบาดของไวรัสโควิด – 19 โดยกำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนากำลังคนในหลักสูตร Non – Degree (Re Skills, Up Skills, New Skills) ประจำปีการศึกษา 2565 จากฐานข้อมูลแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนไม่น้อยกว่า 130,000 คน

1.3 เป้าหมายการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งดำเนินการขับเคลื่อนพันธกิจเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต รองรับบริบทของศตวรรษที่ 21 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายในทุกสถานที่และทุกเวลา ทั้งผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา รวมถึงประชาชนทุกช่วงวัย นำไปสู่การพัฒนาตนเองและสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงองค์ความรู้ที่หลากหลายและตรงกับความต้องการทั้งนี้ เพื่อบรรลุหมุดหมาย (Milestone) ในปี พ.ศ. 2566 ของแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 -2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 ที่กำหนดให้ กำลังคนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาตามปรัชญาการอุดมศึกษาไทยในทุกมิติ เพื่อผลักดันประเทศให้เป็นสังคมแห่งการความรู้

2.อัตรากำลังบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา
บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะเป้าหมายด้านการจัดการศึกษา คือ การผลิตและพัฒนากำลังคนที่พึงประสงค์ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ อัตรากำลังบุคลากรรวมของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประมาณการโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 – 2564 พบว่า บุคลากรสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2565 จำนวนรวม 195,989 คน จำแนกเป็น บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 70,914 คน คิดเป็นร้อยละ 36.18 และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 125,075 คน คิดเป็นร้อยละ 63.82 หรือคิดเป็นสัดส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อสายสนับสนุน เป็น 1 : 1.76

ตารางที่ 7 บุคลากรรวมของสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2563 – 2565

3.เป้าหมายผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University)
โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) เป็นโครงการเพื่อการปฏิรูประบบการศึกษา เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ โดยการกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีจุดยืนตามกลุ่มทางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการพัฒนาตนเอง มีความพร้อม สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในด้านที่สอดคล้องกับกลุ่มสถาบัน โดยสถาบันอุดมศึกษาประเมินตนเองและเสนอขอสังกัดกลุ่ม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษาประกาศจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบัน อุดมศึกษา พ.ศ. 2564 โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และผลการดำเนินการที่ผ่านมาของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้

-กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก จำนวน 16 แห่ง

-กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม จำนวน 18 แห่ง

-กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น จำนวน 40 แห่ง

-กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ จำนวน 6 แห่ง

เป้าหมายผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ที่จะส่งมอบภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการประกาศจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 80 แห่ง แยกตามกลไกการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย 5 แพลตฟอร์ม มีรายละเอียดดังตารางที่ 8 และ 9

ตารางที่ 8 ผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม จำแนกตามกลไกการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ตารางที่ 9 ค่าเป้าหมายผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของสถาบันอุดมศึกษา 80 แห่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

4.กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ที่ขอรับการสนับสนุนเพื่อผลิตบัณฑิตและกำลังคน และขับเคลื่อนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การประมาณการกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามนัยยะแห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 45(1) งบบุคลากรซึ่งเป็นเงินเดือน ค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ของบุคลากร และ 45(2) งบดำเนินงานและงบรายจา่ ยอื่นซึ่งเป็นงบประจำ รวมทั้งงบลงทุน ซึ่งได้รับการจัดสรรในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปหรืองบลงทุน โดยประมาณการจากงบประมาณรายจ่ายตามมาตรา 45(1) และ 45(2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2565 ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับการจัดสรร

จากการประมาณการ พบว่า งบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ตามมาตรา 45(1) และ 45(2) รวมจำนวน 107,165.1682 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1,441.8855 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.36 โดยจำแนกเป็นงบประมาณตามมาตรา 45(1) จำนวน 70,409.6395 ล้านบาท ลดลงจำนวน 82.6568 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 และงบประมาณตามมาตรา (2) จำนวน 36,755.5287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,524.5424 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.33

เมื่อนำกรอบวงเงินตามนัยยะแห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 45(3) งบประมาณเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ จำนวน 7,469.6000 ล้านบาท ซึ่งเป็นกรอบวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมจากการพิจารณาเห็นชอบของคณะอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Re – Inventing University) เพื่อดำเนินโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) มารวมกับประมาณการ
กรอบวงเงินงบประมาณตามมาตรา 45(1) และ (2) ข้างต้น จะสามารถประมาณการกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี ด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้รวม 114,634.7682 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 8,911.4855 ล้านบาท คิดร้อยละ 8.43 ดังตารางที่ 10

ตารางที่ 10 ประมาณการกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภาพที่ 7 : สัดส่วนกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำแนกตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562

กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งไม่รวมงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีจำนวนวงเงินทั้งสิ้น 114,634.7682 ล้านบาท จำแนกตามประเภทงบประมาณที่สอดคล้องตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ได้ดังนี้

1.งบบุคลากร สอดคล้องตามมาตรา 45(1) จำนวน 70,409.6395 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.42

2.งบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่นซึ่งเป็นงบประจำ หรืองบลงทุน สอดคล้องตามมาตรา 45(2) จำนวน 36,755.5287 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.06

3.งบประมาณเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ สอดคล้องตามมาตรา 45(3) จำนวน 7,469.6000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.52

ผลผลิตที่จะส่งมอบภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ขอรับการจัดสรร มีดังนี้

1.การผลิตบัณฑิต หลักสูตร Degree จำนวน 1,367,865 คน

2.การพัฒนากำลังคน หลักสูตร Non – Degree (Re Skills, Up Skills, New Skills) จำนวนไม่น้อยกว่า 130,000 คน

3.ผลผลิตโครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) ดังตารางที่ 8 และ 9

ส่วนที่ 2 ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์

ที่มาเชิงนโยบายและกฎหมาย

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 17 ได้บัญญัติให้รัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะและความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอแนะกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาต่อสภานโยบาย รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษา

แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570 ให้ความสำคัญกับกลไกที่จำเป็นต่อการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเฉพาะกลไกการจัดสรรงบประมาณให้สนองอุปสงค์ (Demand-side financing) ได้กำหนดให้ การปฏิรูปการเงินและงบประมาณ เป็นกลไกหลักที่ 1 (Flagship Mechanism) ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนด้านการอุดมศึกษา โดยกำหนดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการจัดสรรงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ผ่านด้านอุปสงค์ (Demand-side financing)

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้มอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม จัดทำแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปที่มีนัยสำคัญภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้แก่ การศึกษาระบบงบประมาณการผลิตและพัฒนากำลังคนในลักษณะ Demand-side financing ภายใต้กิจกรรมปฏิรูปประเทศ BR1205 ซึ่งต่อมาได้มอบหมายสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการศึกษาดังกล่าว

หลักการของ Demand-side financing สำหรับระบบอุดมศึกษา
Demand-side financing คือ การจัดสรรงบประมาณหรือทรัพยากรด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นไปยังนักเรียน นักศึกษา (enrolments or attendance) แทนที่การจัดสรรงบประมาณโดยมุ่งเน้นการสนับสนุนบุคลากรเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามอุปสงค์ โดยหลักการสำคัญ 3 ประการของ Demand-side financing ได้แก่ Education Quality, Efficiency in Resource Allocation & Utilization และ Equity/Accessibility

Demand-side financing ในบริบทของอุดมศึกษาไทย หมายถึง การจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและ
สนับสนุนทรัพยากรไปสู่สถาบันอุดมศึกษา โดยผูกโยงการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและทรัพยากรเหล่านั้น
ให้สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและโจทย์การพัฒนาประเทศ
ดังนั้นจึงต้องมีความชัดเจนในส่วนของ (1) สัญญาณความต้องการ (Demand Signal) ซึ่งประกอบด้วย ความต้องการ
ตลาดแรงงาน (Market Demand) มุ่งเน้นความต้องการของภาคการผลิตและภาคเอกชนเป็นหลัก และ
โจทย์การพัฒนาประเทศ (Demand from National Plan) มุ่งเน้นการมองอนาคตของประเทศในระยะยาว
และ (2) งบประมาณแผ่นดิน/ทรัพยากร ประกอบด้วย งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และ
เงินลงทุนและสนับสนุนภาคเอกชน การปรับจาก Supply-side ไปสู่ Demand-side จะทำให้ความเกี่ยวข้อง
หรือความสำคัญของงบประมาณในส่วนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น โดยจำแนกเป็น 3 ระยะ
ได้แก่

(1) Supply-side เป็นการมุ่งเน้นในส่วนของงบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก จัดสรรตามความต้องการทรัพยากรของสถาบันอุดมศึกษา
(2) Semi Demand-side ในส่วนของงบประมาณแผ่นดินยังคงเป็นการจัดสรรงบประมาณตามความต้องการทรัพยากรของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีหลักเกณฑ์ที่ยึดโยงกับสัญญาณความต้องการ (Demand Signal) กำลังคนของประเทศ โดยยังคงมีการจัดสรรงบบุคลากรแต่ต้องมีการวิเคราะห์ว่างบประมาณที่จัดสรรไปยังบุคลากรเป็นไปตามอุปสงค์หรือไม่ โดยในส่วนของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษามีนโยบายในการให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียนเพื่อเข้าสู่การศึกษาและพัฒนากำลังคนของสถาบันอุดมศึกษาในสาขาวิชาที่ผู้เรียนประสงค์หรือเป็นไปตามตลาดแรงงาน
(3) Demand-side เป็นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินตามปริมาณและคุณภาพของการผลิตและพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับสัญญาณความต้องการกำลังคนของประเทศ ที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา โดยในส่วนของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นการให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียนเพื่อเข้าสู่การศึกษาและการพัฒนากำลังคนของสถาบันอุดมศึกษาในสาขาที่สอดคล้องกับสัญญาณความต้องการกำลังคนของประเทศ และในส่วนของเงินลงทุนและสนับสนุนจากภาคเอกชน เป็นการดำเนินงานระหว่างภาคเอกชนกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนป้อนเข้าสู่การทำงานตามความต้องการในลักษณะ Co-invest/Co-create

องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการทำ Demand-side financing ได้แก่

-ข้อมูลสัญญาณความต้องการ : สร้างระบบสัญญาณความต้องการที่ชัดเจนมากขึ้น

-ต้นทุนมาตรฐานการผลิต : ทราบต้นทุนทั้งที่เป็น Standard cost/Standard Unit Cost ของการผลิต ซึ่งในอนาคตจะประกอบด้วย ผู้เรียนในวัยเรียน และผู้เรียนนอกวัยเรียน ซึ่งเป็นไปตามปรัชญาอุดมศึกษาใหม่ที่มุ่งเน้น Life-Long Learning มากขึ้น

-แผนการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคน

-ระบบข้อมูล/ Demand – Supply Platform อุดมศึกษา

-การกำหนดบทบาทการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ

-ระบบติดตามประเมินและรายงานผล

-ความสามารถในการวิเคราะห์และขับเคลื่อน : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ข้อเสนอแนวทางการพัฒนา (Roadmap) ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ สำหรับการอุดมศึกษา
แนวทางการพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับการอุดมศึกษา ใช้หลักการ Demand-directed Budgeting เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ และทำให้กลไกงบประมาณเป็นเครื่องมือในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) พัฒนาแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำลังคน การกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และการกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณด้านอุดมศึกษา (Plan-based Budgeting)

กลไก/แนวทางจัดสรรงบประมาณ:

-งบประมาณประจำตามมาตรา 45(1) และ 45(2) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณตามแผนพัฒนากำลังคนที่กำหนดตามแผนด้านการอุดมศึกษา (Plan-based) ได้แก่ แผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา และแผนปฏิบัติการการพัฒนากำลังคนของประเทศและการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

-งบประมาณเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ ตามมาตรา 45(3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ได้แก่ การตั้งแผนงานบูรณาการเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และแนวทางโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย

เครื่องมือสนับสนุน: ระบบข้อมูลด้านการอุดมศึกษา

บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.): วิเคราะห์ วางแผนและขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้กลไกแผนปฏิบัติการและแผนงานบูรณาการ

-สำนักงบประมาณ: วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณ

-กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.): ให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียน

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ภาคเอกชน เป็นต้น: ร่วมวิเคราะห์วางแผนและขับเคลื่อน

ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2570) พัฒนาการจัดสรรงบประมาณด้านการอุดมศึกษาแบบบูรณาการโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result – based Budgeting)

กลไก/แนวทางจัดสรรงบประมาณ:

-งบประมาณประจำตามมาตรา 45(1) และ 45(2) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result-based) ด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ โดยต้องมีสัญญาณความต้องการกำลังคน (Demand Signal) ที่ชัดเจนขึ้น ประกอบกับมีแผนการพัฒนากำลังคนจากนโยบายพัฒนาประเทศ (แผนปฏิบัติการทั้ง 2 แผน) กล่าวคือ ต้องมีทั้งความต้องการอย่างน้อยใน 3 ส่วน ประกอบด้วย ความต้องการจากตลาดแรงงาน (Market Demand) ความต้องการจากนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ (Plan Demand) และความต้องการเชิงสังคม (Social Demand) โดยดำเนินการร่วมกับสำนักงบประมาณ

-งบประมาณเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ตามมาตรา 45(3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ใช้กองทุนพัฒนาการอุดมศึกษาเป็นกลไกสนับสนุนและใช้งบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อความคล่องตัวในการสนับสนุนงบประมาณตามมาตรา 45(3)

เครื่องมือสนับสนุน: ระบบแพลตฟอร์มด้านอุปสงค์และอุปทาน (Demand-Supply Platform)
เพื่อการพัฒนากำลังคนที่สามารถวิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคน กลไกในการติดตามและรายงานผลจากสถาบันอุดมศึกษา และการปรับกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษา

บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.): วิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคนเสนอหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณแบบ Result-based และบริหารกองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษา

-สำนักงบประมาณ: กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณแบบ Result-based ดำเนินการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณ

-กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.): ให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียนโดยพิจารณาสัญญาณความต้องการกำลังคน

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ภาคเอกชน เป็นต้น: ร่วมวิเคราะห์วางแผน ขับเคลื่อนและร่วมลงทุนภาคการผลิตและพัฒนากำลังคน

ระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2571 เป็นต้นไป) พัฒนาการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการผ่านด้านอุปสงค์เป็นหลัก (Demand – Directed Budgeting)

กลไก/แนวทางจัดสรรงบประมาณ:

-งบประมาณประจำตามมาตรา 45(1) 45(2) และ 45(3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณแบบ Demand directed Financing โดยใช้สูตรการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนรายหัว (Formula-based Unit Cost Subsidy) ตามต้นทุนต่อหน่วย (Standard Unit Cost) สำหรับแต่ละสาขาวิชา โดยพิจารณาผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา (Performance-based) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนมาตรฐานการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยมีกองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษาเป็นกลไกในการสร้างเอกภาพของนโยบายและงบประมาณ

เครื่องมือสนับสนุน: ระบบแพลตฟอร์มด้านอุปสงค์และอุปทาน (Demand-Supply Platform) เพื่อการพัฒนากำลังคนที่สามารถวิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคน โดยอาศัยระบบการวิเคราะห์ในลักษณะของ Intelligent system และบุคลากรที่มีศักยภาพการวิเคราะห์และขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบโดยในระยะยาวจำเป็นต้องมีกลไกประเมินความต้องการทักษะและความสามารถของบุคลากรในภาพรวมของประเทศ กลไกในการติดตามและรายงานผลจากสถาบันอุดมศึกษา และการปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณอุดมศึกษา

บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.): วิเคราะห์สัญญาณความต้องการกำลังคน เสนอกรอบวงเงินการอุดมศึกษา และบริหารกองทุนเพื่อจัดสรรงบประมาณสู่สถาบันอุดมศึกษา

-สำนักงบประมาณ: วิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณสู่กองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษาตามกรอบวงเงินงบประมาณ

-กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.): ให้เงินกู้ยืมแก่ผู้เรียนแบบบูรณาการและสอดรับกับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ภาคเอกชน เป็นต้น: ร่วมวิเคราะห์วางแผน ขับเคลื่อนและร่วมลงทุนภาคการผลิตและพัฒนากำลังคน

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
75/47 อาคารพระจอมเกล้า ถ.พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2 333 3860 โทรสาร. 0 2 333 3884

การดำเนินงาน

สกสว. จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ปี พ.ศ.2566 – 2570 โดยเป็นงบประมาณที่จัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) จำนวน 29,100 ล้านบาท ซึ่ง กสว. ได้มีมติเห็นชอบในการประชุม (วาระพิเศษ) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ใช้หลักการ Impact-based Budgeting

1) กำหนดเป้าหมายของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อการหลุดพ้น จากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง โดยมีเป้าหมายการก้าวไปสู่ประเทศรายได้สูง

2) คาดการณ์จำนวนเงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ ที่จำเป็นสำหรับการส่งผลกระทบช่วยให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเพื่อการหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง

3) จำแนกโครงสร้างของเงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย ออกเป็นเงินลงทุนที่สนับสนุนโดย ภาครัฐ เงินลงทุนจากภาคเอกชน และเงินทุนจากแหล่งอื่น

4) กำหนดกรอบงบประมาณของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาที่จำเป็นสำหรับการจัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

จากหลักการดังกล่าวข้างต้น รัฐต้องลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 92,765 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณที่ผ่านกองทุนส่งเสริม ววน. จำนวน 29,100 ล้านบาท

2. ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับปีงบประมาณพ.ศ. 2566 เป็นการจัดสรรงบประมาณผ่านกองทุนส่งเสริม ววน. เพื่อโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและโครงการวิจัยและนวัตกรรม ตามมาตรา 17 (2) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการวิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

ระบบการจัดสรรงบประมาณ

  1. ใช้แนวทางการจัดสรรงบประมาณแบบ Block grant & Multi-year budgeting ที่สอดคล้องกับแผนด้าน ววน.
  2. สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณด้าน ววน.
  3. กำหนดรูปแบบการจัดสรรงบประมาณตามประเภทของทุนสนับสนุนและยุทธศาสตร์ตามแผนด้าน ววน. 2566-2570

1) รูปแบบการจัดสรรงบประมาณตามประเภทของงบประมาณที่สนับสนุน
1.1) งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีธรรมาภิบาล โดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐานของสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบ ววน. เพื่อสร้างความเข้มแข็งตามพันธกิจหน่วยงาน โดยจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ ประมาณร้อยละ 40
1.2) งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) เพื่อจัดสรรงบประมาณตามแผนงานสำคัญและแผนงานย่อย ซึ่งบริหารจัดการโดยหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) เพื่อนำไปสนับสนุนทุนแก่หน่วยงานระดับปฏิบัติ โดยต้องเป็นการทำวิจัยที่เน้นตอบยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน. ของประเทศ รวมถึงการบริหารจัดการนโยบายและขับเคลื่อน ววน. โดยหน่วยงานตามประกาศ กสว. โดยจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ ประมาณร้อยละ 60

2) ยุทธศาสตร์ตามแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566-2570
2.1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ได้รับการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ ร้อยละ 35
2.2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ได้รับการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ ร้อยละ 30
2.3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต ได้รับการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ ร้อยละ 15
2.4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ได้รับการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณ ร้อยละ 20

ในส่วนทุน Strategic Fund มีแผนงานทั้งหมด 25 แผนงาน โดยแผนงานที่ได้รับการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณสูงสุดในอันดับต้น ๆ คือ 1) BCG ในด้านการแพทย์และสุขภาพ 2) ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา 3) อุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต 4) เศรษฐกิจฐานราก ขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ 5) BCG ในด้านเกษตรและอาหาร และ 6) ความร่วมมือด้านการวิจัย เป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงของอาเซียน

ระบบการบริหารงบประมาณ
1) มีกลไกของระบบบริหารงบประมาณ โดยมีระเบียบกองทุนส่งเสริม ววน. เพื่อใช้ในการบริหารงบประมาณที่ยึดหลักความคล่องตัวและยืดหยุ่น
3) มีระบบการติดตามและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรม และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนและหน่วยงานในระบบ ววน.
๓) มีระบบการบริหารจัดการงานวิจัย ผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System: NRIIS)
4) มีระบบผลักดันการนำผลงานจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

ประเด็นเสนอที่ประชุม

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ จำนวน 29,100 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีระบบการจัดสรรแบบ Block grant & Multi-year budgeting เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

เอกสารประกอบการประชุม

กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

เรื่องเดิม
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 12 กำหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแล้ว ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

1. มาตรา 12 (1) ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ให้นายกรัฐมนตรีโดยข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษาขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีบุคคลซึ่งสภานโยบายมีมติแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ มีผู้แทน กกอ. จำนวนไม่เกินสองคน ผู้แทนสำนักงบประมาณจำนวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ และปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ และจะแต่งตั้งผู้แทนสำนักงบประมาณตามจำนวนที่เห็นสมควรเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประเภทงบลงทุนและงบเงินอุดหนุนในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในความรับผิดชอบของกระทรวง ก่อนเสนอไปยังสำนักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

2. มาตรา 12 (2) ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ให้นายกรัฐมนตรีโดยข้อเสนอของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว). แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน.ขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีบุคคลซึ่งสภานโยบายมีมติแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ มีผู้แทน กสว. จำนวนไม่เกินสองคน ผู้แทนสำนักงบประมาณจำนวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ และจะแต่งตั้งผู้แทนสำนักงบประมาณตามจำนวนที่เห็นสมควรเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคำของบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ก่อนเสนอไปยังสำนักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

การดำเนินงาน

ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอสภานโยบายพิจารณาแต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ เป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนามตามขั้นตอนต่อไป (รายละเอียดประวัติโดยสังเขปของรองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ ปรากฏตามเอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 3.2.1)

ประเด็นเสนอที่ประชุม

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ เป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และมอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไปให้คณะกรรมการพิจารณางบประมาณมีหน้าที่ในการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรร รวมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและประเมินการเสนอขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณของงบประมาณปีต่อไป

เอกสารประกอบการประชุม

ประวัติโดยสังเขปของรองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์

ชื่อ – สกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์

วัน เดือน ปีเกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2501

ประวัติการศึกษา

• ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ปริญญาโท สาขาการจัดการวิศวกรรมและการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเอแวนส์วิล ประเทศสหรัฐอเมริกา
• ปริญญาเอก สาขาวิทยาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งสำคัญอื่นๆ

• สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
• อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
• รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
• คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
• รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
• อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การดำเนินงาน

ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอสภานโยบายพิจารณาแต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ เป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนามตามขั้นตอนต่อไป (รายละเอียดประวัติโดยสังเขปของรองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปรากฏตามเอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 3.2.2)

ประเด็นเสนอที่ประชุม

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ เป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณางบประมาณมีหน้าที่ในการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรร รวมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและประเมินการเสนอขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้ข้อเสนอแนะ ต่อการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณของงบประมาณปีต่อไป

เอกสารประกอบการประชุม

ประวัติโดยสังเขปของรองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ

ชื่อ – สกุล รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ

วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 5 ธันวาคม 2498

ประวัติการศึกษา

• วิทยาศาสตรบัณฑิต (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์) Kent State University
• วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ฟิสิกส์นิวเคลียร์) Kent State University
• ปริญญาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสตูร วปอ. รุ่น 47
• ประกาศนียบัตร Director Certification Program สถาบัน Thai Institute of Directors รุ่น 129/2010
• ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำแหน่งสำคัญอื่นๆ

• อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
• ประธานที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
• กรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
• ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
• ที่ปรึกษาคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
• ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
• รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
• รักษาการผู้อำานวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
• ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เรื่องเดิม
1. การร่วมลงทุนระหว่างสถาบันอุดมศึกษา/สถาบันวิจัยและภาคเอกชนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เกิดเป็นธุรกิจนวัตกรรม เป็นรูปแบบที่หน่วยงานชั้นนำในต่างประเทศนำมาใช้เพื่อผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และสถาบันอุดมศึกษา/ สถาบันวิจัยหลายแห่งในประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการดำเนินการในรูปแบบดังกล่าว แต่ยังไม่สามารถปรับทัศนคติให้ยอมรับรูปแบบการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงได้ ส่งผลให้ไม่กล้าตัดสินใจร่วมลงทุนกับภาคเอกชน จึงทำให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยของรัฐไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ควรดังนั้น การมีระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ …. ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษา/สถาบันวิจัยกล้าตัดสินใจร่วมลงทุน และใช้เป็นหลักเกณฑ์กลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษา/สถาบันวิจัยของรัฐเพื่ออ้างอิงในการร่วมลงทุนกับเอกชนอย่างมีมาตรฐานเดียวกัน

2. พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 31 กำหนดว่า
“เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการดำเนินการตามส่วนนี้ หน่วยงานของรัฐอาจร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบของสภานโยบาย มิให้นำกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาใช้บังคับแก่การร่วมลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดระเบียบว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้”

3. การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อช่วยเกษตรกรและชุมชน เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรก็ตามการนำผลงานไปลงทุนยังมีความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจทุกประเภท จึงทำให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยต้องแบกรับความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจ เนื่องจากไม่มีกลไกหรือมาตรการในการแบกรับความเสี่ยงจากการขาดทุน รวมถึงระบบการตรวจสอบที่ยังมุ่งเน้นการกำหนดความรับผิดของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงจำเป็นต้องออกระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. …. เพื่อเป็นฐานสำหรับหน่วยงานของรัฐในการพิจารณาการร่วมลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม รวมถึงส่งผลให้ระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

การดำเนินงาน
1. สอวช. ได้ศึกษาสถานภาพ ปัญหา และข้อจำกัดในการลงทุนหรือร่วมลงทุนของหน่วยงานของรัฐในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เพื่อนำมาออกแบบมาตรการส่งเสริมและกำหนดระเบียบในการร่วมลงทุน

2. สอวช. ได้จัดตั้งคณะทำงานพัฒนามาตรการและระเบียบการร่วมลงทุนของรัฐเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ขึ้น (ศาสตราจารย์พิเศษเข็มชัย ชุติวงศ์ เป็นคณะทำงาน) เพื่อให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะรวมทั้งยกร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. …. โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยคณะทำงานฯ ได้มีการประชุม จำนวน 3 ครั้ง

3. คณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิพิจารณาร่างกฎหมายลูกบทภายใต้กฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศาสตราจารย์กิตติคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ) ได้พิจารณาตรวจร่างและมีมติเห็นชอบระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์พ.ศ. …. เพื่อนำเสนอสภานโยบายต่อไป

รายละเอียดปรากฎตามเอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 3.3

ประเด็นเสนอที่ประชุม

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. …. เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

เอกสารประกอบการประชุม

ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ….

-ร่าง-
ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ….

ร่างระเบียบฉบับผ่าน คกก.กฎหมายลูกบท นำเสนอสภานโยบายครั้งที่ 4/2564 วันที่ 29 พ.ย. 64

โดยที่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทำขึ้นโดยสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งหลายจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิผล ก็ต่อเมื่อมีการนำผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงโดยภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ แต่การนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ก็มีความเสี่ยงในการลงทุน เช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจทุกประเภท จึงทำให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งหลายที่ไม่ประสงค์จะรับความเสี่ยงดังกล่าวแม้แต่น้อย เพราะความเป็นหน่วยงานของรัฐอาจทำให้ถูกตรวจสอบและต้องรับผิดชอบต่อการขาดทุนในการลงทุนใช้ประโยชน์ในผลงาน จึงทำให้ผลงานส่วนใหญ่ “ขึ้นหิ้ง” ไม่มีโอกาส “ขึ้นห้าง” ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยนำผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อช่วยเกษตรกรและชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมสมควรส่งเสริมให้มีการลงทุนหรือร่วมลงทุนในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทำขึ้นไปใช้ประโยชน์ สภานโยบายจึงออกระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ….

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่

(1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและนวัตกรรม

(2) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายกำหนดข้อ 4 ในระเบียบนี้

“สภานโยบาย” หมายความว่า สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

“เอกชน” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคลที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ และนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ

“หน่วยงานเจ้าของโครงการ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์หรือหน้าที่และอำนาจร่วมลงทุนกับเอกชน และเข้าร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

“โครงการร่วมลงทุน” หมายความว่า โครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ระหว่างหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือหลายหน่วยงานรวมกันร่วมลงทุนกับเอกชน

“บริษัทร่วมทุน” หมายความว่า บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นจากการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการและเอกชน และให้หมายความรวมถึงมูลนิธิหรือนิติบุคคลประเภทอื่นที่จัดตั้งขึ้นจากการร่วมทุนดังกล่าวด้วย

“นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (holding company)” หมายความว่า นิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการไปลงทุนในนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นเอกชนและมีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

ข้อ 5 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์ หรือกฎที่เรียกชื่ออย่างอื่นเกี่ยวกับการร่วมลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ใช้บังคับอยู่แล้ว ให้ใช้บังคับกฎดังกล่าวต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อระเบียบนี้

ข้อ 6 ให้ประธานสภานโยบายรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจออกประกาศ แนวทางหรือคู่มือ เพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจในการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้ คำวินิจฉัยให้เป็นที่สุด

ประธานสภานโยบายอาจมอบหมายให้คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศ และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ ตามคำสั่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ 2/2563 และที่อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม ทำการแทนในการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้ แล้วรายงานให้ประธานสภานโยบายทราบ

หมวด 1 บททั่วไป

ข้อ 7 การร่วมลงทุนซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ตามระเบียบนี้ต้องมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

(1) เพื่อสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม หรือเชิงสาธารณประโยชน์

(2) เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน

(3) เพื่อสร้างให้เกิดธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่

ข้อ 8 การร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนต้องคำนึงถึงความสำเร็จของโครงการร่วมลงทุนและความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการดังกล่าว และมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการจัดทำและดำเนินโครงการ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 9 โครงการร่วมลงทุนตามระเบียบนี้ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) เป็นโครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพหรือมีความพร้อมในการใช้ประโยชน์ไปดำเนินการทางธุรกิจ ทางสังคม หรือ

(2) เป็นโครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วไปศึกษาต่อยอดเพื่อให้มีความพร้อมในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สังคม หรือสาธารณประโยชน์ หรือ

(3) เป็นโครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีการใช้ประโยชน์อยู่แล้วไปขยายผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่กว้างขวางขึ้น

ข้อ 10 การร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนมีรูปแบบ ดังนี้

(1) หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อการดำเนินกิจการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

(2) หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน

(3) รูปแบบอื่น นอกเหนือจาก (1) และ (2) การจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนตาม (2) หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจเป็นเจ้าของทุนทั้งหมดหรือร่วมลงทุนกับเอกชนก็ได้

การร่วมลงทุนตาม (3) ให้ดำเนินการตามระเบียบของหน่วยงานเจ้าของโครงการ

หมวด 2 การร่วมลงทุนตามข้อ 10 (1)

ส่วนที่ 1 การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

ข้อ 11 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการและกำกับดูแลการร่วมลงทุน ดังนี้

(1) กำหนดนโยบายการร่วมลงทุน ให้มีความสอดคล้องกับภารกิจ วัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน

(2) กำหนดส่วนงานที่มีหน้าที่ดูแลและติดตามการร่วมลงทุนให้ชัดเจน

(3) จัดให้มีคณะกรรมการทำหน้าที่ให้ความเห็นในการพิจารณาการร่วมลงทุนและให้ความเห็นในการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุน ประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่จะใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมนั้นหรือมีความรู้หรือประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ การวิเคราะห์โครงการ การบัญชี และไม่แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีส่วนได้เสียหรือประโยชน์ขัดกันในโครงการที่จะพิจารณาเป็นกรรมการ โดยกรรมการต้องประกอบด้วยบุคคลภายนอกอย่างน้อยสองคน

เพื่อความสะดวกในการร่วมลงทุน หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจกำหนดวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับนโยบายการร่วมลงทุนตาม (1) ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ขั้นตอนการร่วมลงทุน การกำกับดูแล และเงื่อนไขการถอนการลงทุน โดยให้คำนึงถึงความคล่องตัวและหลักธรรมาภิบาล

ข้อ 12 ในการร่วมลงทุนแต่ละโครงการ ให้มีการจัดทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (feasibility study) และการวิเคราะห์โครงการด้านอื่นตามที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนดการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (feasibility study) และการวิเคราะห์โครงการด้านอื่นซึ่งมีวงเงินลงทุนสูงตามจำนวนที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนด ต้องจัดทำโดยบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว

ข้อ 13 การพิจารณาอนุมัติโครงการร่วมลงทุนของหน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการดังนี้

(1) พิจารณาความสอดคล้องของนโยบายการร่วมลงทุน

(2) พิจารณาข้อเสนอและเงื่อนไขการร่วมลงทุน และความเป็นไปได้ทางธุรกิจของโครงการ

(3) พิจารณาแผนธุรกิจ และแผนการจัดการความเสี่ยงของโครงการที่เหมาะสม

(4) พิจารณาความพร้อมของผู้ร่วมทุนและประสบการณ์ของผู้บริหาร

ในการพิจารณาอนุมัติโครงการร่วมลงทุนให้พิจารณาความเห็นของคณะกรรมการตามข้อ 11 (3) ประกอบด้วย

ข้อ 14 การคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุนให้ดำเนินการโดยวิธีการดังต่อไปนี้

(1) ใช้วิธีการคัดเลือกจากเอกชนอย่างน้อยสามรายเข้ายื่นข้อเสนอร่วมลงทุน โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกที่อย่างน้อยสามารถแสดงได้ว่า

(ก) มีความโปร่งใสและเป็นธรรมกับเอกชนทุกรายที่เข้ายื่นข้อเสนอ

(ข) เอกชนที่ได้รับการคัดเลือก มีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความพร้อม และความสามารถในการเข้าร่วมลงทุนเหมาะสมตามเกณฑ์ที่หน่วยงานเจ้าของโครงการตั้งไว้ เมื่อเทียบกับเอกชนรายอื่น หรือ

(2) ใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเชิญชวนเฉพาะเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ ในกรณีดังต่อไปนี้

(ก) มีการดำเนินการคัดเลือกตาม (1) แล้วแต่ไม่มีเอกชนเข้ายื่นข้อเสนอ หรือมีเอกชนรายเดียวเข้ายื่นข้อเสนอ
(ข) เอกชนในธุรกิจนั้นมีจำนวนจำกัด
(ค) เอกชนรายนั้นประกอบกิจการที่มีคุณลักษณะเฉพาะ หรือมีความชำนาญเป็นพิเศษหรือมีทักษะสูงมาแล้วในระยะเวลาที่เหมาะสม
(ง) เคยร่วมวิจัยหรือเคยได้รับทุนวิจัยจากกับหน่วยงานเจ้าของโครงการ
(จ) เป็นหรือเคยเป็นบุคลากรหรือนักศึกษาซึ่งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้
(ฉ) กรณีอื่นตามที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนด

ทั้งนี้ การคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุนจะใช้วิธีการตาม (1) หรือ (2) ให้นำความเห็นของคณะกรรมการตามข้อ 11 (3) มาพิจารณาประกอบด้วย

ข้อ 15 หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจออกระเบียบเพิ่มเติมในรายละเอียดการปฏิบัติขั้นตอนการดำเนินงานพิจารณาอนุมัติโครงการร่วมลงทุนและการคัดเลือกเอกชนตามข้อ 13 และ 14

ข้อ 16 หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจร่วมลงทุนได้โดยใช้เงินสด การตีราคาทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินอื่น หรือสิ่งอื่นอันอาจตีราคาเป็นเงินได้

ข้อ 17 เพื่อให้การจัดตั้งและดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีโอกาสประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจในอนาคต หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจดำเนินการดังนี้

(1) ส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเจ้าของโครงการไปทำการวิจัยหรือนวัตกรรมในบริษัทร่วมทุน

(2) ส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเจ้าของโครงการไปบริหารหรือปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุนได้ตามความเหมาะสม

(3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนในหน่วยงานเจ้าของโครงการซึ่งเป็นสถานศึกษาไปศึกษา ทำการวิจัยสร้างนวัตกรรม หรือปฏิบัติงานอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในหลักสูตรโดยตรง

(4) ให้ใช้สถานที่ โครงสร้างพื้นฐาน ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นในทำนองเดียวกันของหน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยไม่มีค่าบริการหรือมีค่าบริการอัตราพิเศษก็ได้

(5) ให้ใช้บริการของหน่วยงานเจ้าของโครงการโดยไม่มีค่าบริการหรือมีค่าบริการอัตราพิเศษก็ได้

(6) จัดซื้อหรือจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากบริษัทร่วมทุนในกรณีที่สินค้าหรือบริการนั้นมีคุณภาพ มาตรฐานที่แข่งขันได้ในท้องตลาด และมีราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ตามบัญชีนวัตกรรมไทย

(7) การส่งเสริมอื่นที่สภานโยบายประกาศกำหนด

การส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเจ้าของโครงการไปทำการวิจัยหรือนวัตกรรม ไปบริหารหรือปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุนตาม (1) และ (2) ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเจ้าของโครงการ และให้ได้รับค่าตอบแทน ตลอดจนนำผลงานมาใช้ในการประเมินผลงานและการเลื่อนตำแหน่งได้

ข้อ 18 เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาการปฏิบัติงานในหน่วยงานเจ้าของโครงการ บุคลากรซึ่งได้รับอนุมัติให้ลาออกไปปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุนและจะกลับมาปฏิบัติงานในหน่วยงานเจ้าของโครงการ เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติ ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากหน่วยงานเจ้าของโครงการไปปฏิบัติงานใดๆ และให้นับเวลาในระหว่างที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุนสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญ หรือประโยชน์ตอบแทนอื่นทำนองเดียวกัน เสมือนอยู่ปฏิบัติงานเต็มเวลา ทั้งนี้ ตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติดังกล่าว

ข้อ 19 ในการดำเนินการตามข้อ 17 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติดังนี้

(1) เพื่อประโยชน์ในการป้องกันความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์หรือความขัดแย้งแห่งบทบาท ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการออกระเบียบกำหนดภาระงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น การรายงานการปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การทำข้อตกลงระหว่างบุคลากรตามข้อ 17 (1) และ (2) กับหน่วยงานเจ้าของโครงการ

(2) เพื่อประโยชน์แห่งการจัดการศึกษาของหน่วยงานเจ้าของโครงการที่เป็นสถานศึกษา ให้หน่วยงานนั้นกำหนดให้ผู้เรียนตามข้อ 17 (3) รายงานการศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม หรือปฏิบัติงานอื่นต่อหน่วยงานเจ้าของโครงการตามแบบที่หน่วยงานกำหนด

(3) การส่งเสริมตามข้อ 17 (4) และ (5) ให้ดำเนินการได้จนกว่าบริษัทร่วมทุนจะมีผลประกอบการไม่ขาดทุน โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของหน่วยงานเจ้าของโครงการประกอบด้วย เมื่อผลประกอบการของบริษัทร่วมทุนไม่ขาดทุน ให้คิดราคาสิ่งนั้นตามราคาปกติที่หน่วยงานนั้นคิดกับผู้อื่น

(4) การส่งเสริมตามข้อ 17 (6) ให้มีระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีนวัตกรรมไทย หรือตามระยะเวลาที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนดและแจ้งให้บริษัทร่วมทุนทราบ

ข้อ 20 ในกรณีที่บริษัทร่วมทุนได้รับการส่งเสริมตามข้อ 17 ให้บริษัทร่วมทุนเสนอรายงานการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองแล้วต่อหน่วยงานเจ้าของโครงการทุกปี

หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจขอให้บริษัทร่วมทุนที่ได้รับการส่งเสริมตามข้อ 17 ดำเนินการอื่นเพิ่มเติมจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้

ส่วนที่ 2 การจัดทำสัญญาและบริหารโครงการ

ข้อ 21 ในการเข้าร่วมลงทุน หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน โดยร่างสัญญาร่วมลงทุนจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเป็นร่างสัญญาที่เคยผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้ว หรือผ่านการตรวจพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย

สัญญาร่วมลงทุนอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

(1) วัตถุประสงค์ของการร่วมลงทุน
(2) สัดส่วนการร่วมลงทุนของคู่สัญญา
(3) สัดส่วนของกรรมการบริษัท
(4) สิทธิ หน้าที่ และข้อตกลงของคู่สัญญา
(5) การถอนการลงทุน
(6) การเลิกสัญญา

การทำสัญญาตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายร่วมลงทุนของหน่วยงานเจ้าของโครงการ และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมของคู่สัญญาทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายเอกชน ผลที่อาจเกิดขึ้นต่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ นักวิจัยหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ในหน่วยงานเจ้าของโครงการข้อ 22 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการพิจารณาคัดเลือกผู้แทนของหน่วยงานซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์เหมาะสมกับบริษัทร่วมทุนเพื่อทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการใน
บริษัทร่วมทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น หรือตามสัญญาร่วมลงทุนข้อ 23 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการกำกับดูแลบริษัทร่วมทุนในฐานะผู้ถือหุ้นและผ่านผู้แทนที่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการบริษัท เพื่อให้บริษัทร่วมทุนมีกระบวนการทำงานที่ดีและมีธรรมาภิบาล

ผู้แทนของหน่วยงานเจ้าของโครงการซึ่งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการตามข้อ 22 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่เสมือนตนเองเป็นผู้ลงทุนในบริษัทร่วมทุน และต้องรายงานผลการดำเนินการของบริษัทร่วมทุนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการทราบตามระยะเวลาที่หน่วยงานกำหนด

ข้อ 24 ในกรณีที่คู่สัญญาการร่วมลงทุนหรือบริษัทร่วมทุนทำผิดสัญญาร่วมลงทุน หรือผิดกฎหมาย หรือบริษัทร่วมทุนดำเนินกิจการผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง หรือมีผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกันอย่างต่อเนื่องและไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถทำกำไรได้ในอนาคต ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือถอนการลงทุน ด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้

ส่วนที่ 3 การติดตามและประเมินผลโครงการ

ข้อ 25 หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนและประเมินผลโครงการร่วมลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่หน่วยงานกำหนด

ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนดตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการลงทุนและประสิทธิภาพในการบริหารการลงทุน และประเมินผลโครงการร่วมลงทุนตามตัวชี้วัดดังกล่าวโดยให้จัดทำเป็นรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติการร่วมลงทุนของหน่วยงานเจ้าของโครงการทุกปี

หมวด 3 การร่วมลงทุนโดยจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ตามข้อ 10 (2)

ข้อ 26 หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนให้ดำเนินการร่วมลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (startup) หรือบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้

การลงทุนในกิจการอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งจะกระทำได้เพียงเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์หรือเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอต่อการร่วมลงทุนตามวรรคหนึ่ง

การลงทุนเพื่อเก็งกำไรจะกระทำมิได้ สภานโยบายหรือหน่วยงานที่สภานโยบายมอบหมาย อาจประกาศกำหนดกิจการที่ห้ามลงทุนตามวรรคนี้ได้

ข้อ 27 ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องนำหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนดังกล่าวด้วย

ในกรณีที่สภานโยบายกำหนดนโยบายหรือหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการร่วมลงทุนโดยนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการตามวรรคหนึ่งนำนโยบายหรือหลักเกณฑ์ที่สภานโยบายกำหนดไปใช้บังคับแก่นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนที่หน่วยงานจัดตั้งขึ้นด้วย

ข้อ 28 ในการแต่งตั้งคณะกรรมการของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องดำเนินการให้ผู้บริหารของหน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการของนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนดังกล่าว และดำเนินการให้ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์การลงทุนเป็นกรรมการด้วย

หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องดำเนินการให้มีการประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนทุกไตรมาสเพื่อรายงานผลการดำเนินการและงบการเงิน

ข้อ 29 หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องวางข้อกำหนดให้นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนต้องรายงานผลการปฏิบัติงานและเสนอรายงานการเงินแก่หน่วยงานเจ้าของโครงการอย่างน้อยปีละครั้ง

ข้อ 30 ให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ส่วนที่ 1 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 และข้อ 20 ส่วนที่ 2

ข้อ 23 และส่วนที่ 3 ข้อ 25 มาใช้บังคับแก่นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน โดยอนุโลม

ข้อ 31 ให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ส่วนที่ 1 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 และข้อ 20 มาใช้บังคับแก่บริษัทที่นิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนไปลงทุนด้วย โดยอนุโลม

หมวด 4 บทเฉพาะกาล

ข้อ 32 การร่วมลงทุนซึ่งดำเนินการไปก่อนที่ระเบียบนี้จะมีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการดังนี้

(1) การร่วมลงทุนตามข้อ 10 (1) ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนซึ่งดำเนินการสำเร็จไปแล้วหรือเริ่มดำเนินการแล้วแต่ยังคัดเลือกไม่เสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปจนเสร็จการคัดเลือก โดยมิให้นำระเบียบนี้ไปใช้บังคับ แต่การทำสัญญาและการกำกับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบนี้

(2) การร่วมลงทุนตามข้อ 10 (1) ในขั้นตอนการทำสัญญาซึ่งดำเนินการเสร็จไปแล้วหรือเริ่มดำเนินการไปแล้ว ให้ดำเนินการต่อไปจนมีการลงนามในสัญญา โดยมิให้นำระเบียบนี้ไปใช้บังคับ แต่การกำกับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบนี้

(3) การร่วมลงทุนตามข้อ 10 (2) ในขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคล ซึ่งดำเนินการสำเร็จไปแล้วหรือเริ่มดำเนินการไปแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ โดยมิให้นำระเบียบนี้ไปใช้บังคับแต่การกำกับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบนี้

(4) การดำเนินการในการกำกับดูแลบริษัทร่วมทุน หรือนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน ที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การกำกับดูแลต่อไปเมื่อระเบียบนี้ใช้บังคับแล้ว ให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่…….เดือน…………………พ.ศ. 2564

(นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
รองนายกรัฐมนตรี ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

เรื่องเดิม
1. มาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งสภานโยบายแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ด้านสังคมศาสตร์ และด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งสภานโยบายแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินเก้าคน เป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมแต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการได้

2. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 มีมติเห็นชอบองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม และมอบหมายฝ่ายเลขานุการดำเนินการตามความเห็นของที่ประชุม โดยสภานโยบายได้มีคำสั่งที่ 8/2562 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2562 แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย

(1) นายกานต์ ตระกูลฮุน เป็นประธานกรรมการ
(2) นายยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินฯ
(3) ศาสตราจารย์ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินฯ
(4) ศาสตราจารย์กิตติคุณ จรัส สุวรรณเวลา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(5) ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(6) ศาสตราจารย์กิตติคุณคุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์
(7) นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์
(8) ศาสตราจารย์กิตติคุณ ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์

การดำเนินงาน
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 และการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 มีข้อเสนอแนะและมีมติ ดังนี้

1. เสนอให้มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการติดตามประเมินผลฯ บางส่วน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถได้เข้ามาช่วยการทำงานของคณะกรรมการฯ

2. เห็นชอบต่อการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม คราวละสี่ปี และสามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้ไม่เกินสองวาระ

โดยมอบหมายให้ สกสว. ในฐานะฝ่ายเลขานุการนำเสนอสภานโยบายพิจารณาต่อไป

ความเห็นของฝ่ายเลขานุการฯ

การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งไว้ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสามารถกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งได้ โดยพิจารณาจากหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการในการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายเป็นสำคัญ โดยการกำหนดระยะเวลาหรือวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการสามารถดำเนินการโดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 หรือกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ในคำสั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ หากสภานโยบายเห็นชอบการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งดังกล่าว

ประเด็นเสนอที่ประชุม

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
1. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม คราวละสองปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

2. กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ตามคำสั่งสภานโยบายที่ 8/2562 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ปฏิบัติหน้าที่ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2564

เอกสารประกอบการประชุม

คำสั่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติที่ ที่ 8/2562 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2562

เรื่องเดิม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ประกอบกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศนั้น ยังมิได้กำหนดเป้าหมายที่เฉพาะในด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบการจัดทำแผนงานวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ และการ จัดทำแผนพัฒนากำลังคนภาคการเกษตร โดยมีหน่วยงานและผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าวด้วยและได้เสนอคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการตาม
พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 เพื่อให้ข้อเสนอและและปรับปรุงแผนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนพัฒนากำลังคนภาคการเกษตรของประเทศ (พ.ศ. 2566-2575) เรียบร้อยแล้ว

การดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงขอนำส่งแผนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนพัฒนากำลังคนภาคการเกษตรของประเทศ (พ.ศ. 2566-2575) ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สำหรับเป็นข้อมูลในการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้านการเกษตรและการพัฒนากำลังคนด้านการเกษตรตลอดจนการจัดสรรงบประมาณที่สอดคล้องกัน โดยมุ่งหวังให้งานวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศเกิดการบูรณาการงานวิจัยและการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยการเกษตรมีทิศทางและเป้าหมายร่วมกัน ตามหน้าที่และอำนาจของสภานโยบายในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ แผนแม่บทและแผนอื่นๆ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

ความเห็นของฝ่ายเลขานุการฯ
มาตรา 11(1) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดให้สภานโยบายมีหน้าที่และอำนาจในการเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ แผนแม่บทและแผนอื่นๆ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งในการประชุมสภานโยบายครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 สภานโยบายได้มีมติเห็นชอบร่างแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และร่างแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยแผนดังกล่าวกำหนดเรื่องการเกษตรไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม แผนงานที่ 2) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านเกษตรและอาหารให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ แผนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าวจึงสอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยจะเป็นข้อมูลที่กำหนดรายละเอียดของงานวิจัยด้านเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์ในการพิจารณากำหนดนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นเสนอที่ประชุม

1. เพื่อทราบแผนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนพัฒนากำลังคนภาคการเกษตรของประเทศ (พ.ศ. 2566-2575)

2. มอบหมายคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพิจารณาใช้ประกอบการขับเคลื่อนนโยบายและการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

3. มอบหมายคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพิจารณาใช้ประกอบการขับเคลื่อนนโยบายและการจัดสรรงบประมาณด้านการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษา

เอกสารประกอบการประชุม

1. แผนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

2. แผนพัฒนากำลังคนภาคการเกษตรของประเทศ (พ.ศ. 2566-2575)

ลิ้งก์ดาวน์โหลดแผน https://www.nxpo.or.th/strategic_plan

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ

เรื่องเดิม
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ได้พิจารณาข้อเสนอการจัดระบบการบริหารและจัดการทุนด้านวิจัย และนวัตกรรมของประเทศ และ (ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. โดยมีมติ ดังนี้

1. เห็นชอบข้อเสนอการจัดระบบการบริหารและจัดการทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศและ (ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน ออกจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ

2. มอบหมายให้ สอวช. จัดทำพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) และข้อเสนอตามแบบการขอจัดตั้งองค์การมหาชน เสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

3. รายงานผลการดำเนินงานตามมติให้สภานโยบายทราบในการประชุมครั้งต่อไป

การดำเนินงาน
สอวช. ได้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอการจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งฯ เรียบร้อยแล้ว โดยมีความก้าวหน้าดังนี้

1. จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. …. และนำเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิพิจารณาร่างกฎหมายลูกบทภายใต้กฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศาสตราจารย์กิตติคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ) เพื่อพิจารณาร่างเรียบร้อยแล้ว

2. รับฟังความคิดเห็นร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) พ.ศ. …. จำนวน 2 ครั้ง

2.1 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

2.2 รับฟังความเห็นผ่านระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) ระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

3. จัดทำข้อเสนอการจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการ แข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เรียบร้อยแล้ว โดยข้อเสนอดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อเสนอต่อ กพม. ต่อไป

ประเด็นเสนอที่ประชุม

เพื่อทราบความก้าวหน้าการจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน)

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ