ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564

14:00 น.
4 กุมภาพันธ์ 2564
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล และระบบประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
วันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2564
เวลา : 14:00 น.
ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล และระบบประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 1/2564
  • สไลด์สภานโยบาย 1/2564
  • รายงานการประชุมสภานโยบาย 1/2564

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
3.1 ความก้าวหน้าการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ ปี 2563

3.2 ความก้าวหน้าวาระแห่งชาติการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-GreenEconomy(BCG)

3.3 บทบาทของ อววน. ในการบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

3.4 ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในประเทศไทย
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 กรอบวงเงินงบประมาณประจําปีด้านการอุดมศึกษาประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2565

4.2 การแต่งตั้งประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา และประธาน กรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

4.3 การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเภท ผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา

4.4 การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนด้าน การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

4.5 การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา

4.6 ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษา
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อทราบ
5.1 ความก้าวหน้าในการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5.2 ความก้าวหน้าในการดําเนินงานของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการ ส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมและการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและ ระเบียบ
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่น ๆ

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ประธานที่ประชุม ได้เปิดการประชุมและ กล่าวต้อนรับกรรมการสภานโยบาย กรรมการสภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาสภานโยบาย และผู้เข้าร่วม ประชุมกรรมการและเลขานุการสภานโยบาย (ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) นําเสนอ ที่ประชุมทราบว่า คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 มีมติแต่งตั้งกรรมการ สภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ จํานวน 10 ท่าน ดังนี้

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุดมศึกษา

  1. นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร
  2. รองศาสตราจารย์กําจร ตติยกวี
  3. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
  4. รองศาสตราจารย์เอมอร อุดมเกษมาลี
  5. นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล
  6. นายกานต์ ตระกูลฮุน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์
  7. นายบัณฑูร ล่ำซํา
  8. นายพณชิต กิตติปัญญางาม
  9. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม

  1. นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

สภานโยบายได้มีคําสั่งที่ 1/2563 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2563 แต่งตั้งที่ปรึกษาสภานโยบาย จํานวน 5 ท่าน ดังนี้

  1. ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์
  2. ศาสตราจารย์สมบูรณ์ สุขสําราญ
  3. รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
  5. นายพุฒ วีระประเสริฐ

บทบาทหน้าที่ของสภานโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) มีเป้าประสงค์ที่สําคัญ ดังต่อไปนี้

1) การพัฒนาเศรษฐกิจนวัตกรรม

เพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาร้อยละ2ต่อGrossDomesticProduct(GDP) (370,000 ล้านบาท) เพิ่มจํานวนบริษัทธุรกิจเทคโนโลยี(มียอดขาย1,000ล้านบาทจํานวน1,000ราย) เกิด 3 บริษัท ใน Fortune Global 500 Biggest Company

2) การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

ลดจํานวนคนใต้เส้นความยากจนจาก 4.3 ล้านคน ให้เหลือน้อยกว่า 1 ล้านคน เพิ่มรายได้ครัวเรือนเกษตร5ล้านครัวเรือนให้มีรายได้ไม่ต่ํากว่า150,000บาท/ปี ดัชนีการพัฒนาอย่างทั่วถึง(InclusiveDevelopmentIndex:IDI)เพิ่มขึ้นจาก 4.3 เป็น 4.5 คะแนน การยกระดับสังคมไทยและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและลดความเหลื่อมล้ํา ในระยะ 5 ปี

3) การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

ชุมชนนวัตกรรมที่มีระบบจัดการตนเองเพื่อลดความเหลื่อมล้ําและสร้างสังคม คุณภาพในทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ เพิ่ม Eco-efficiency จากการลดการใช้ทรัพยากร (Green) และการเกิดของเสีย (Circular) ร้อยละ 5 ต่อปี

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2563

สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย ได้จัดทํารายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563 และแจ้งเวียนให้ กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้วมกีรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุมดังนี้

ประธานสภานโยบายขอปรับแก้ไขรายงานการประชุมหน้า 14 ระเบียบวาระที่ 5.1 ข้อสั่งการ ของสภานโยบาย ย่อหน้าที่ 4 ดังนี้

“รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ประธานสภานโยบาย มอบนโยบายให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สอวช. ดําเนินการ ดังนี้
1. ให้จัดการประชุมระดมสมองเพื่อหารือเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่สามารถค้นหา “โอกาสทอง” ของประเทศไทย ในวิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 โดยขอให้

คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ช่วยดูแลในเรื่องนี้ และนําผลการประชุมมาเสนอที่ประชุมสภานโยบายร่วมกัน พิจารณาต่อไป
2. ขอให้ สอวช. พิจารณาสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางที่จะพัฒนาและปลูกจิตสํานึก ของคน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสํานึกต่อตนเองและสังคม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี”

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2563

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (นายกิติพงค์ พร้อมวงค์) รายงานที่ประชุมว่า สภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีข้อสั่งการ 2 เรื่อง ดังนี้

  1. โอกาสทองของประเทศไทย ในวิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 มอบนโยบายให้ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ (สอวช.) ดําเนินการจัดการประชุมระดมสมองเพื่อหารือเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่สามารถค้นหา “โอกาสทอง” ของประเทศไทย ในวิกฤตสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 โดยขอให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ช่วยดูแลในเรื่องนี้ และนําผลการประชุมมาเสนอที่ประชุมสภานโยบายร่วมกันพิจารณาต่อไป สอวช. กําลังอยู่ในระหว่าง การออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มรับประเด็นข้อเสนอใหม่ๆ (Policy Pitching)
  2. กรอบการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาปกติ มอบนโยบายให้ สอวช. พิจารณาสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางที่จะพัฒนาและปลูกจิตสํานึกของคน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสํานึกต่อตนเองและสังคม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี และมีมติมอบหมาย สอวช. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทําแนวคิดและแนวทาง ดําเนินการและนํามาเสนอให้สภานโยบายพิจารณาจัดกลไกส่งเสริมและขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป

สอวช. ได้ดําเนินการตามข้อสั่งการโดยศึกษาจากเอกสาร สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบประเด็นที่สําคัญ สรุปสาระสําคัญดังนี้

  1. แนวคิดในการพัฒนานักเรียนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลในปัจจุบัน คือ ทักษะ ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคนตั้งแต่วัยเรียนไว้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความรู้และทักษะพื้นฐาน (Foundational literacies) เช่น วิทยาศาสตร์ การคํานวณ ดิจิทัล การเงิน เป็นต้น 2) สมรรถนะ (Competencies) ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ การร่วมมือในการทํางาน เป็นต้น 3) คุณลักษณะ (Character qualities) เช่น ความกระตือรือร้น ความสามารถในการปรับตัว เป็นต้น อย่างไร ก็ตาม ในบริบทของประเทศไทย ควรให้ความสําคัญกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์บางประการมากยิ่งขึ้น เช่น คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ การมีจิตสาธารณะ การมีระเบียบวินัย ความมีสมาธิ การมีภูมิคุ้มกันทางใจ เป็นต้น ตัวอย่างของคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์สําหรับคนไทย เช่น ความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา
  2. การพัฒนาคนตามทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาพบว่า มีความแตกต่างตามช่วงอายุ เช่น ในช่วง อายุ 0-6 ปี ครอบครัวมีบทบาทสําคัญ ช่วงอายุ 6-20 ปี ระบบการศึกษาจะมีความสําคัญต่อการพัฒนา
  3. ความท้าทายที่สําคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของโรงเรียน คือการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชนหลายประการ เนื่องจากการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็กจะไม่ สามารถทําได้ด้วยการอบรมหรือการจัดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ต้องทําให้ซึมซับเป็นวิถีชีวิต ในปัจจุบันมี โรงเรียนหลายแห่งที่สามารถเป็นต้นแบบด้านการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับเด็ก ซึ่งรวมถึงโรงเรียน ทางเลือก
  4. ข้อเสนอแนะเบื้องต้นจากการศึกษาและการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นในการสนับสนุน โจทย์การวิจัย การพัฒนาต้นแบบ และการทดลองขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชน ใน 7 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบนิเวศให้เรื่องคุณธรรม จริยธรรมเป็นวิถีแห่งชีวิต 2) การพัฒนากระบวนการหรือโมเดลการปลูกฝังคุณลักษณะดังกล่าวทั้งในและนอก ระบบการศึกษา โดยต้องให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมคิดเอง เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ 3) การสร้างความเข้มแข็งให้ ผู้เล่นหลักในระบบและส่งเสริมการทํางานเชื่อมโยงกันของภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ เด็ก ครู ชุมชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เอกชน เป็นต้น 4) การส่งเสริมการขยายผลแนวปฏิบัติที่ดี 5) การปรับระบบบริหารจัดการของ ระบบการศึกษาให้คล่องตัว และกระจายอํานาจระบบการศึกษามากขึ้น 6) การพัฒนาและใช้ประโยชน์ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีและสื่อเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และ 7) การพัฒนานโยบายระดับมหภาคที่มุ่งเน้นการ ลดความเหลื่อมล้ํา

ข้อคิดเห็นของที่ประชุม

1. ควรรวมการสนับสนุนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน สถาบันอุดมศึกษาด้วย โดยอาจต่อยอดจากโครงการมหาวิทยาลัยคุณธรรม

2. ควรศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสื่อในมิติต่างๆ เช่น อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) และสื่อประเภทอื่นๆ เช่น การ์ตูน ละคร เพลง ที่มีต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน พฤติกรรมการใช้และการป้อนข้อมูลเข้าสู่สื่อสังคมออนไลน์ กลยุทธ์การบริหารจัดการเนื้อหาที่อยู่ในสื่อสังคม ออนไลน์ เครื่องมือที่สามารถย่อยเนื้อหาที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ เป้าประสงค์ของการบริโภคเนื้อหาจากสื่อ สังคมออนไลน์ของเด็กและเยาวชน พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกันในสังคมเมืองและสังคม ชนบท การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากสื่อ และการใช้ประโยชน์จากสื่อต่างๆ เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมให้กับเด็ก โดย สถาบันอุดมศึกษาสามารถเข้ามามีบทบาทในการศึกษาประเด็นนี้ได้

3. ควรสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคม

4. ควรดําเนินการในลักษณะการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิด ไปจนตลอดช่วงชีวิต เชื่อมโยง ทั้งระบบตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ไปจนถึงระดับสถาบันอุดมศึกษาโดยต้องเน้นการมีส่วนร่วมของภาค สังคม ซึ่งล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและเยาวชน และกระทรวง อว. ต้องทํางานประสานเชื่อมโยงกับ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น

5. ควรมีกลไกที่เริ่มแก้ปัญหาดังกล่าวทันที เนื่องจากการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมใน เด็กและเยาวชนเป็นประเด็นที่สําคัญและเป็นปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน หากเริ่มจากการทําวิจัยก่อนจะ แก้ปัญหาได้ล่าช้าเกินไป

6. ควรให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมเข้ามามีส่วนร่วมเสนอแนะแนวคิดและร่วม ขับเคลื่อนการดําเนินงาน เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาเป็นปลายทางของการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่สามารถ กําหนดความต้องการ (Demand) ด้านคุณลักษณะของเด็กที่ควรได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ก่อนเข้าศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา

7. ควรสนับสนุนการศึกษาวิจัยในประเด็นสังคมต่างวัยซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนแต่ละช่วงวัย ที่มีประสบการณ์และวิธีคิดที่แตกต่างกัน อันเป็นผลมาจากภาวะสังคมสูงวัย

8. ควรพิจารณาหาแนวทางขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีในการปลูกฝังพฤติกรรมของเยาวชน ในระบบการศึกษาในวงกว้าง

มติที่ประชุม

1. รับทราบความก้าวหน้าการดําเนินงาน เรื่อง การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนควบคู่ กับการจัดการศึกษาปกติ

2. มอบหมายสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการวิจัย การพัฒนาต้นแบบ และ การทดลองขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์

3. มอบหมายสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

กรรมการและเลขานุการ (ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) รายงานที่ประชุมทราบ ถึงการดําเนินการสนับสนุนการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อสนับสนุนให้ ประเทศมรี ะบบและโครงสร้างพื้นฐานสําหรับการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และเกิดการบูรณาการองค์ ความรู้แบบสหวิทยาการเพื่อแก้ปัญหาแบบองค์รวม การสร้างเทคนิค องค์ความรู้ การพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ ที่ เชื่อมโยงสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจบริบททาง สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ทเี่ กี่ยวเนื่องกับมิติทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงของเมือง ปัญหาความเหลื่อมล้ํา ความยากจน สังคมสูงวัย/ต่างวัย หนี้สิน ธรรมาภิบาลองค์กร กระบวนการยุติธรรม การตระหนักรู้เกี่ยวกับภูมิภาคและโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (ศาสตราจารย์พิเศษอเนก เหล่าธรรมทัศน์) จึงมอบ นโยบายการจัดตั้งวิทยสถานด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts ; TASSHA) ขึ้น เพื่อทําหน้าที่ขับเคลื่อนการวิจัยและ พัฒนาบุคลากรด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ และนําไปสู่การสร้างคุณค่า และผลประโยชน์ของชาติ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงประเทศไทยเข้ากับภูมิภาคและโลกต่อไป รวมทั้งช่วยสร้างความเข้าใจและความท้าทายของบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

การจัดตั้งหน่วยงานและกลไกในการสนับสนุนการวิจัยและบุคลากรด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ควบคู่กับหน่วยงานและกลไกในด้านวิทยาศาสตร์เป็นการดําเนินการที่ แพร่หลายในต่างประเทศ แต่สําหรับประเทศไทยหน่วยงานและกลไกที่สนับสนุนการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศไทยยังมีเพียงในระดับย่อยหรือในคณะที่ศึกษาในสาขาวิชาเหล่านี้ ในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น การจัดตั้ง TASSHA จึงเป็นการบูรณาการและสร้างความยั่งยืนให้กับการพัฒนาองค์ ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนา องค์ความรู้ใน 5 ประเด็นในช่วงเริ่มต้น ประกอบด้วย สุวรรณภูมิศึกษา เศรษฐกิจพอเพียง วิเทศศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ และช่างศิลป์ท้องถิ่น

การดําเนินการของ TASSHA ให้ความสําคัญกับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเป็น ผู้ดําเนินการหลัก โดยคํานึงถึงความคุ้มค่าหรือความประหยัดของการใช้งบประมาณและการสนองนโยบายของ รัฐบาลในการบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการในประเด็นสําคัญ ดังนี้

(1) สุวรรณภูมิศึกษา เป็นประเด็นการศึกษาวิจัยที่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการใน ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏตามหลักฐานการให้นิยามคําว่า “เมืองทอง” ทั้งในอินเดีย จีน และชาติ ตะวันตก รวมถึงการค้นพบโบราณวัตถุในสุสานของราชวงศ์จีนและโรม แต่การศึกษาที่ผ่านมาในด้านนี้ยังเป็นไป อย่างไม่รวดเร็วเท่าที่ควร การสนับสนุนและขับเคลื่อนการวิจัยของ TASSHA จะกระตุ้นให้เกิดความตระหนักจาก คณะโบราณคดีระดับโลกว่า ประเทศไทยเป็นขุมทรัพย์ทางโบราณคดี อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งค้นพบ ทางโบราณคดีของไทยให้มีชื่อเสียงไปในระดับโลก และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแผ่นดิน ทําให้เกิดความรัก และความภาคภูมิใจในความเป็นไทยผ่านการศึกษาอารยธรรมสุวรรณภูมิ-ทวารวดี-ศรีวิชัย-ละโว้

(2) เศรษฐกิจพอเพียง เป็นมรดกของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ทรงคุณค่า อันควรส่งต่อให้ชาวโลกได้รับรู้ การดําเนินการของ TASSHA จะเป็นการรวบรวมและผลักดันองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะเศรษฐศาสตร์แบบไทยให้มีความเป็น ทฤษฎีมากยิ่งขึ้น และเป็นการยกระดับองค์ความรู้ในด้านนี้ให้มีความเป็นทรรศนะสากล (Global perspective)

(3) พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นการส่งเสริมการเข้าถึงของประชาชนทั่วไปต่อศิลปวัตถุ และศิลปกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดําเนินการจัดเก็บไว้เป็นจํานวนมาก ประกอบกับความพร้อมด้าน ที่ดินที่กระทรวง อว. มีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ฯ จะมีความ เป็นสหวิทยาการในรูปแบบเดียวกับพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ของประเทศฝรั่งเศส

(4) ช่างศิลป์ท้องถิ่น เป็นการสนับสนุนศิลปะในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยให้มีความเด่นชัดมากขึ้น เพราะศิลปะของไทยมีความหลากหลายไปตามภูมิภาค เช่น ศิลปะในภาคใต้ และศิลปะล้านนา ที่มี เอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เป็นต้น ซึ่งแผนการดําเนินการของ TASSHA ในส่วนนี้จะอาศัยวิทยาลัยชุมชนที่มี ช่างศิลป์ในพื้นที่เป็นกลไกสําคัญ

โดยในการขับเคลื่อนการวิจัยและการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ จะอาศัยบริบทของที่ตั้งของ สถาบันอุดมศึกษาที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในการจัดการโจทย์ความท้าทายของสังคม เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ําโดยอาศัยกลไกในเชิงเครือข่าย ซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาความร่วมมือกันในการทํางาน ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยใน ต่างประเทศ

ข้อคิดเห็นของที่ประชุม

1. แนวคิดการจัดตั้ง TASSHA
1.1 การจัดตั้ง และขับเคลื่อน TASSHA มีความสําคัญมาก เนื่องจากการดําเนินการตาม

เป้าหมายของ อววน. ให้ประสบผลสําเร็จไม่สามารถเป็นไปได้โดยอาศัยแต่เพียงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ข้อเสนอของ สป.อว. จึงควรมีความชัดเจนทั้งพันธกิจและบทบาทของ TASSHA ในฐานะหน่วยงานวิจัยและ หน่วยงานขับเคลื่อนหลัก ไม่ให้ทับซ้อนกับบทบาทภารกิจของของคณะต่าง ๆ ในสถาบันอุดมศึกษาที่มีใน ปัจจุบัน TASSHA ควรมีลักษณะเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยในการผลักดันและขับเคลื่อนงานของ คณะและสาขาวิชาทสี่ถาบันอุดมศึกษาดําเนินการอยู่

1.2 การจัดตั้ง TASSHA อาจส่งผลให้ต้องดึงบุคลากรวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษา มาร่วมงาน เนื่องจากปัจจุบันมีข้อจํากัดเรื่องบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะด้าน ซึ่งการดึงบุคลากรอาจเป็นการลดทอนศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ที่มีอย่างจํากัดอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่ควรจัดตั้ง TASSHA เป็นหน่วยงานแยก ออกมา แต่อาจจัดตั้งในรูปแบบของคณะกรรมการที่มีพันธกิจในระดับเดียวกับหน่วยงาน โดยกําหนดให้ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ร่วมกันพิจารณาออกแบบโครงสร้างและกลไกของ TASSHA ต่อไป

1.3 การจัดตั้ง TASSHA ควรพิจารณาถึงข้อจํากัดด้านการจัดสรรงบประมาณให้ หน่วยงานที่ดําเนินการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ที่ยังไม่เพียงพอ และข้อจํากัด ด้านปริมาณบุคลากรใน 3 สาขาวิชาที่ยังมีจํานวนน้อย หากดึงตัวออกมาจากสถาบันอุดมศึกษาหรือ สถาบันวิจัยเดิมก็อาจส่งผลให้ศักยภาพในการดําเนินการและผลผลิตของสถาบันเหล่านั้นลดลง ดังนั้น การจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่จึงไม่น่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ ความล่าช้าของระบบ ราชการในการตอบสนองต่อบริบทของสังคมสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาจากข้อจํากัดด้าน งบประมาณภายหลังวิกฤต COVID-19 และการขาดความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก ระบบราชการ ซึ่งหากพิจารณาจากข้อจํากัดด้านงบประมาณและบุคลากรดังกล่าว การจัดตั้ง TASSHA ควร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนตามลําดับ ประกอบด้วย

1) ขั้นที่หนึ่ง : จัดตั้งในรูปแบบของเครือข่ายทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และ ศิลปกรรมศาสตร์ จากนั้นจึงจัดสรรงบประมาณแบบผูกพันให้จํานวนหนึ่ง และหาก TASSHA สามารถ ดําเนินการจนบรรลุผลที่สําคัญในการตอบโจทย์ของประเทศได้ จึงจัดสรรงบประมาณงวดถัดไปให้

2) ขั้นที่สอง : จัดตั้งในรูปแบบของหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (Program Management Unit – PMU) ทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์

3) ขั้นที่สาม : จัดตั้งเป็นวิทยสถานตามข้อเสนอของ สป.อว.

1.4 การจัดตั้ง TASSHA เป็นตัวเชื่อมสําคัญในการบูรณาการศาสตร์แบบสหวิทยาการ 1) ช่วยให้ประชาชนมองเห็นสุนทรียภาพของชีวิตมากขึ้น และ 2) ทําให้บุคลากรทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์รู้สึกว่าได้รับความสําคัญ รวมถึงยังเป็นการสร้างฐานการวิจัยทางสังคมศาสตร์ในการ อธิบายผลกระทบทางเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์ และการสร้างฐานแนวคิดของประเทศที่สามารถนําไปใช้อภิปราย กับแนวคิดของต่างประเทศได้ การนําเสนอ 5 ประเด็นสําคัญของ TASSHA จึงเป็นนวัตกรรมสําคัญที่ควร พิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้งต่อไป

1.5 การจัดตั้ง TASSHA ควรเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะปัญหาสังคมในปัจจุบันมีลักษณะ ผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Hybrid) ช่องว่างระหว่างศาสตร์ทั้งสองด้านจึงลดลงอย่าง มาก แต่ประเทศไทยกลับยังไม่มีฐานการวิจัยที่บูรณาการศาสตร์ทั้งสองด้านอย่างเพียงพอที่จะช่วยกําหนด ทิศทางว่า สังคมไทยควรจะให้ความสําคัญกับศาสตร์ในด้านใด และโครงสร้างของ TASSHA ควรเป็นหน่วยที่มี การดําเนินการเป็นรูปธรรมชัดเจน หากเป็นเพียงเครือข่ายจะทําให้การติดต่อกับหน่วยงานหรือสถาบันวิจัย ในต่างประเทศเป็นไปได้ยาก การใช้งบประมาณก็ควรยึดหลักของความประหยัดแต่มีคุณค่า และมีเกียรติภูมิ (Prestige) การคัดเลือกผู้ประสานงานที่มีความสามารถสูงก็เป็นสิ่งที่จําเป็น โดยการดําเนินการทั้งหมดควรมุ่ง ไปที่การสร้างประโยชน์ต่อแผ่นดินเป็นสําคัญ เช่น การผลิตช่างศิลป์ของแผ่นดิน พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมของ แผ่นดิน เป็นต้น

1.6 เป้าหมายสําคัญของการขับเคลื่อนการวิจัยของ TASSHA คือ การสร้างระบบ เชื่อมโยงฐานข้อมูล การจัดให้มีระบบการกลั่นกรองข้อมูลจากผู้มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญ และการรวบรวม แหล่งที่มาของความรู้ เช่น การระบุแหล่งเรียนรู้ของช่างท้องถิ่นในการศึกษาด้านช่างศิลป์ เป็นต้น ซึ่งแม้เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์นั้นจะมีการดําเนินการอยู่ แล้วในลักษณะที่แยกส่วนกัน แต่การดําเนินการในลักษณะเช่นนี้กลับพบกับปัญหาทั้งในด้านงบประมาณและ ขอบเขตการนําไปใช้ประโยชน์กับสังคมในวงกว้าง

1.7 การกําหนดโจทย์การพัฒนาบุคลากรที่สําคัญในด้านต่าง ๆ ของประเทศควร ผสมผสานองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน ความขัดแย้งในสังคมที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นถึงผลของการพัฒนาบุคลากรโดยแยกองค์ความรู้ทั้ง สองส่วนออกจากกัน เช่น หากแพทย์ขาดความเข้าใจด้านศาสนา สิ่งแวดล้อม และสังคม จะเป็นแพทย์ที่มี ศักยภาพได้ยาก เป็นต้น ดังนั้น การผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้กับสังคมในอนาคตซึ่งถือเป็นบทบาทสําคัญของ อววน. จึงควรเป็นการผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเข้าใจสังคม (Soft) และผลิตนักสังคมศาสตร์ที่มีตรรกะหรือ หลักเหตุผล (Logic) เพื่อทําให้บุคลากรทั้งสองด้านมีความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้นและมีความขัดแย้งลดลง กล่าวคือ TASSHA สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนที่ทําให้ผู้เรียนรู้จักรากเหง้าของตนเองด้วยสุวรรณภูมิ ศึกษา ทําให้เยาวชนมีความรักในบ้านเกิด เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ รู้จักประเทศของตนเองและลดทอนอิทธิพล ของโซเชียลมีเดีย (Social media) ลง เช่นเดียวกับการสนับสนุนการวิจัยด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนในการปรับตัวเพื่อสร้างความอยู่รอดในยามวิกฤตได้

1.8 เป้าหมายสําคัญของการขับเคลื่อนการวิจัยของ TASSHA คือ การสร้างระบบ เชื่อมโยงฐานข้อมูล การจัดให้มีระบบการกลั่นกรองข้อมูลจากผู้มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญ และการรวบรวม แหล่งที่มาของความรู้ เช่น การระบุแหล่งเรียนรู้ของช่างท้องถิ่นในการศึกษาด้านช่างศิลป์ เป็นต้น ซึ่งแม้ เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์นั้นจะมีการดําเนินการอยู่ แล้วในลักษณะที่แยกส่วนกัน แต่การดําเนินการในลักษณะเช่นนี้กลับพบกับปัญหาทั้งในด้านงบประมาณและ ขอบเขตการนําไปใช้ประโยชน์กับสังคมในวงกว้าง

1.9 การกําหนดโจทย์การพัฒนาบุคลากรที่สําคัญในด้านต่าง ๆ ของประเทศควร ผสมผสานองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน ความขัดแย้งในสังคมที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นถึงผลของการพัฒนาบุคลากรโดยแยกองค์ความรู้ทั้ง สองส่วนออกจากกัน เช่น หากแพทย์ขาดความเข้าใจด้านศาสนา สิ่งแวดล้อม และสังคม จะเป็นแพทย์ที่มี ศักยภาพได้ยาก เป็นต้น ดังนั้น การผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้กับสังคมในอนาคตซึ่งถือเป็นบทบาทสําคัญของ อววน. จึงควรเป็นการผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเข้าใจสังคม (Soft) และผลิตนักสังคมศาสตร์ที่มีตรรกะหรือ หลักเหตุผล (Logic) เพื่อทําให้บุคลากรทั้งสองด้านมีความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้นและมีความขัดแย้งลดลง กล่าวคือ TASSHA สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนที่ทําให้ผู้เรียนรู้จักรากเหง้าของตนเองด้วยสุวรรณภูมิ ศึกษา ทําให้เยาวชนมีความรักในบ้านเกิด เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ รู้จักประเทศของตนเองและลดทอนอิทธิพล ของโซเชียลมีเดีย (Social media) ลง เช่นเดียวกับการสนับสนุนการวิจัยด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนในการปรับตัวเพื่อสร้างความอยู่รอดในยามวิกฤตได้

มติที่ประชุม

เห็นชอบแนวคิดการจัดตั้ง บทบาท ของวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities, and Arts; TASSHA) โดยให้มีหน่วยรับผิดชอบ และให้นําความเห็นและ ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมไปพิจารณาดําเนินการต่อไป

เรื่องเดิม
มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ พ.ศ. 2562 ได้กําหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมขึ้น เพื่อจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม นําไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและ แก้ไขปัญหาของประเทศ บนฐานของความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกองทุนได้รับจัดสรร งบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และมีผลสําเร็จที่ผ่านมาในปี 2563
งบประมาณด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้นําไปใช้ตอบโจทย์ของการพัฒนากําลังคน เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างตรงตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศเผชิญกับวิกฤติ โควิด-19 อาทิ ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานการพัฒนาหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ ในอุตสาหกรรมการผลิตและตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัย การผลิตชุดตรวจเชื้อโควิด-19 โดยวิธี Real- TimeRT-PCRจากน้ําลายซึ่งลดขั้นตอนการตรวจและทําให้ตรวจได้ในจํานวนที่มากขึ้น การวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือต่อการระบาดของโรคโควิด-19 ในด้านวัสดุและเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) เครื่องช่วยหายใจ
โรงพยาบาลสนาม ห้องตรวจแยกแรงดันลบ ฯลฯ การพัฒนาศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติจนได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้าน การดูแล การเลี้ยง และใช้สัตว์ทดลอง ทําให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานสําหรับการวิจัยและทดสอบยา และวัคซีนอย่างครบถ้วนและเป็นที่น่าเชื่อถือ

การดําเนินงาน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และปีงบประมาณ 2564 กองทุนกําหนดแผนงานและ เป้าหมายซึ่งผ่านการพิจารณาของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มุ่งเน้น การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง และเพิ่มขีดความสามารถของภาค การผลิตและบริการบนรากฐานของการพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน สามารถใช้แก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อ การพัฒนาสังคมอย่างมีนัยสําคัญและสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีรองรับการดํารงชีวิตในวิถีใหม่ (New Normal) ทั้งนี้ การดําเนินงานจะให้ความสําคัญกับการบรรลุผลลัพธ์ที่มีคุณค่าตามเป้าหมาย ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน และเน้นแนวการพัฒนาที่มี “คน” เป็นศูนย์กลาง เพราะคน เป็นหัวใจสําคัญของทุกเรื่อง

โดยกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ 2563 และ 2564 ที่ได้รับการพิจารณาให้สอดรับกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ฯ จะมีบทบาทสําคัญ อย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในเรื่องที่มีความสําคัญ ดังนี้

(1) การแก้ปัญหาโควิด-19
(2) การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน
(3) การแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
(4) การสร้างเศรษฐกิจฐานราก

เรื่องเดิม

ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่มอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว) เป็นหน่วยงานหลักในการเร่งรัดให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โดยกลไกเชิงบริหาร จัดการมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 325/2563 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่กํากับการบริหารราชการกระทรวง อว. เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 8 ท่าน หน่วยงาน ภาครัฐ 3 ท่าน ตัวแทนเอกชนและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา 9 ท่าน โดยมีผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นกรรมการและเลขานุการ และคณะกรรมการขับเคลื่อนการ พัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 8 ท่าน หน่วยงานภาครัฐ 9 ท่าน ตัวแทน เอกชนและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา 10 ท่าน และผู้อํานวยการ สวทช. เป็นกรรมการและเลขานุการ

การดําเนินงาน

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะเลขานุการฯ ได้จัดทํา ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 นําเสนอต่อคณะกรรม การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และคณะกรรมการ บริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564 มีสาระสําคัญโดยสังเขป ดังนี้

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นรูปแบบการ พัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อยอดจุดแข็งของประเทศด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทาง วัฒนธรรม เชื่อมโยงกับหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy : SEP) และพลังของจตุภาคีทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนประเทศใน 4 สาขายุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1. เกษตรและอาหาร 2. สุขภาพและการแพทย์
3. พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และ 4. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ใน 4 สาขายุทธศาสตร์เป็น 4.4 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของ GDP ในอีก 6 ปีข้างหน้า และ รักษาฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพให้สมดุลเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564- 2569 มีวีสัยทัศน์คือ “เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษา และฟื้นฟูฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพให้มีคุณภาพที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม

การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วย การจัดสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขัน ได้อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ภารกิจการสนับสนุนและกํากับดูแลในเรื่องที่เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นหน้าที่ของหลายกระทรวง การ ประสานงานข้ามกระทรวง และเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ให้ทํางานอย่างมีเอกภาพจึงเป็นเรื่องสําคัญ ดังนั้น ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569 จึงกําหนดแนวทางการบริหารและการขับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบายในรูปของ
คณะกรรมการบริหารการ พัฒนาเศรษฐกิจ BCG ทําหน้าที่กําหนดนโยบาย ผลักดันและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย กลไกการขับเคลื่อนสู่การ ปฏิบัติใช้กลไกของคณะทํางาน 2 ชุด ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ทําหน้าที่จัดทําแผนงานการขับเคลื่อนตามนโยบายสู่การปฏิบัติ และ 2. คณะอนุกรรมกรรมการเพื่อ การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รายสาขา ทําหน้าที่ดําเนินการขับเคลื่อน รวมถึงติดตามผลการ ดําเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของจตุภาคี ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ประชาคมวิจัย และภาคประชาสังคม รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบวาระ 3.2

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การขับเคลื่อนการ พัฒนาเศรษฐกิจ BCG เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป และให้ทุกหน่วยงานพิจารณากําหนด และดําเนินแผนงาน/ โครงการต่าง ๆ ให้สอคคล้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564- 2569

โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG” หรือ Bio-Circular-Green Economy เศรษฐกิจ ชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว) เป็นรูปแบบการพัฒนาที่จะนําพาประเทศไทย ให้เติบโตอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ด้วยเหตุผลสําคัญคือ เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อยอด จากจุดแข็งของประเทศไทยคือ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นการเชื่อมโยงหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และ เป็นการสานพลังของจตุภาคีทั้งภาคประชาชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายต่างประเทศ

การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG .. 2564 – 2569 อยู่ บนพื้นฐานของ 4 + 1 ประกอบด้วย 4 สาขายุทธศาสตร์ คือ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศรวมกัน 3.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีการจ้างแรงงานรวมกัน 16.5 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการจ้างงานรวมของประเทศ และ 1 ฐานความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทุนพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาประเทศและการเพิ่ม คุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

โมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งไปที่การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรที่มีความ หลากหลายด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ร่วมกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ใน 4 สาขายุทธศาสตร์ เป็น 4.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของ GDP ในอีก 6 ปีข้างหน้า และการรักษาฐานทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพให้สมดุลระหว่างการมีอยู่และใช้ไปเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569 มีวิสัยทัศน์ คือ “เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพให้มีคุณภาพที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”

การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์

เน้นนําความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลระหว่างการ อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์เพื่อความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทุนพื้นฐานต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตเพื่อส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ จากการมองว่า “Nature as Resource” เป็น “Nature as Source” ดังนั้น ธรรมชาติจึงไม่ใช่แค่เพียง ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตเท่านั้น แต่ธรรมชาติคือแหล่งกําเนิดของชีวิตและทุกสรรพสิ่งบนโลกซึ่งรวมไปถึง ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ จึงจําเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างการมีอยู่และใช้ไปของทรัพยากร การขับเคลื่อน ประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่

แผนงานที่ 1.1 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม
แผนงานที่ 1.2 สร้างความสามารถในการบริหารทรัพยากรและการบริโภคที่ยั่งยืนของชุมชน
แผนงานที่ 1.3 พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข็มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ใช้ศักยภาพของพื้นที่โดยการระเบิดจากภายใน เน้นตอบสนองความต้องการในแต่ละพื้นที่เป็น อันดับแรก ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ การดํารงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ รวมถึงการใช้ประโยชน์ จากความเข้มแข็งจากภายในอันประกอบด้วย “ความหลากหลายทางชีวภาพ” และ “ความหลากหลายทาง วัฒนธรรม” มาต่อยอดและยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่นําไปสู่การเดินหน้าไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นการเติบโตของทุกภาคส่วนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและ พัฒนาได้อย่างทัดเทียมกันมากยิ่งขึ้น การขับเคลื่อนประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่

แผนงานที่ 2.1 เพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และพลังงานของชุมชน
แผนงานที่ 2.2 การพัฒนาเชิงพื้นท่ี
แผนงานที่ 2.3 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้ อย่างย่ังยืน

ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการเดิมให้สามารถเติบโตได้อย่าง ต่อเนื่องด้วยการนําความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสียใน กระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ การหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ หรือการนําไปสร้างมูลค่าเพิ่มตามหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน ยกระดับมาตรฐานสู่การเป็นแหล่งผลิตและให้บริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย มี สุขอนามัยที่ดี ให้ความสําคัญกับระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการผลิต ที่ยั่งยืนเทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมถึงการพัฒนาสู่การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใช้นวัตกรรมเข้มข้น เช่น การผลิตพืชด้วย Plant Factory การให้บริการด้านสุขภาพที่มีความแม่นยําสูง หรือการแพทย์เฉพาะ บุคคล เป็นต้น โดยมีเป้าหมายคงการเป็นผู้นําในการผลิตและการให้บริการทั้งในระดับประเทศและเวทีโลก การขับเคลื่อนประกอบด้วย 5 แผนงาน ได้แก่

แผนงานที่ 3.1 การพัฒนาสาขายุทธศาสตร์
แผนงานที่ 3.2 การเตรียมกําลังคน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการ
แผนงานที่ 3.3 การสร้างและพัฒนาตลาด
แผนงานที่ 3.4 การพัฒนา ปรับแก้ กฎหมาย กฎระเบียบ
แผนงานที่ 3.5 การจัดเตรียมโครงสสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวก

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

เน้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่าง เท่าทันเพื่อบรรเทา
ผลกระทบ รวมถึงเข้าถึงโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นการปูทางสู่อนาคตด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ เพื่อการสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคตด้วยการนําวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปเพิ่มศักยภาพของชุมชนและผู้ประกอบการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ผลิต/บริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด รวมถึงสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนําไปสู่สังคมคาร์บอนต่ําการขับเคลื่อนประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่

แผนงานที่ 4.1 การพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ข้ันแนวหน้า
แผนงานที่ 4.2 การยกระดับความสามารถของกําลังคน
แผนงานที่ 4.3 การยกระดับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ

การดําเนินงานตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG มีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน/สังคม มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย และเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ ภารกิจการสนับสนุนและกํากับ ดูแลในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ BCG เป็นหน้าที่ของหลายกระทรวงการประสานงานข้ามกระทรวง และเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ให้ทํางานอย่างมีเอกภาพจึงเป็นเรื่องสําคัญ ดังนั้นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการ พัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569 จึงกําหนดแนวทางการบริหารและการ ขับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบายในรูปของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ทําหน้าที่กําหนดนโยบาย ผลักดันและขับเคลื่อนเชิงนโยบายในลักษณะเดียวกับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก กลไกการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติใช้กลไกของคณะทํางาน 2 ชุด ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ทําหน้าที่จัดทําแผนงานการขับเคลื่อนตามนโยบายสู่การปฏิบัติ และ 2. คณะอนุกรรมกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รายสาขา ทําหน้าที่ดําเนินการขับเคลื่อน รวมถึงติดตามผลการดําเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของจตุภาคี ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ประชาคม วิจัย และภาคประชาสังคม

เรื่องเดิม

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่ ผ่านมา จนถึงการระบาดระลอกใหม่ของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) โดย สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้รับมอบหมายในฐานะศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรม ทางการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ศปก.ศบค. (ตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 76/2563 เรื่องจัดตั้ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) ได้มีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มาถึงปัจจุบัน ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวง อว. เพื่อรวบรวมสรรพกําลังทางด้าน วิชาการ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ และสถาบันวิจัยทั่วประเทศ รวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่จะเข้ามาร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

การดําเนินงาน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีบทบาทในการบริหาร สถานการณ์การระบาดของโรคโควิค-19 ดังนี้

1. สนับสนุนการทํางานของบุคลากรทางการแพทย์และจังหวัด โดยเป็นการดําเนินการ ร่วมกันของหน่วยงาน อววน. ในสังกัด อว., กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.)

  • จัดเตรียมเวชภัณฑ์และสถานที่ของโรงพยาบาทและสถานศึกษาเพื่อรองรับการเป็น โรงพยาบาลสนามสําหรับการดูแลผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ โดยโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์กว่า 20 แห่ง และ สถาบันการอุดมศึกษาทั่วประเทศ
  • เข้าตรวจคัดกรองในเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อเพื่อควบคุมการระบาด เช่น ในจังหวัด สมุทรสาคร เข้าร่วมการตรวจคัดกรองเป้าหมาย 70,000 รายในหนึ่งสัปดาห์ ดําเนินการโดย เครือข่าย โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ หรือ UHosNet ร่วมกับทางจังหวัดสมุทรสาคร กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ส่งมอบนวัตกรรมทางการแพทย์ซึ่งดําเนินการวิจัยและพัฒนาโดยหน่วยงานใน อว. ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ อาทิ “ชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศ ประสิทธิภาพสูง (PAPR) และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อรับมือกับสถานการณ์ COVID – 19”, หน้ากาก อนามัยทางการแพทย์ที่ทําจากซิลิโคลน ชนิด N 99 และหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลม พร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง, ชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศ ประสิทธิภาพสูง (PAPR) ฯลฯ

2. ติดตาม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 และสนับสนุนข้อมูล ศบค. ด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์อย่างมากสําหรับใช้ในการติดตามสถานการณ์ และเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในการบริหารสถานการณ์โรค
โควิด-19 อาทิ รายงานผลการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหาและการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแต่ละประเทศทั่วโลก, การประเมินการใส่หน้ากากอนามัยจากเทคโนโลยีเอไอเพื่อ วิเคราะห์การใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผลการวิจัยและพัฒนาของ อว. ร่วมดําเนินการโดยสถาบัน เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยความร่วมมือของ ศบค. กรุงเทพมหานคร CAT Telecom

3. การนํางานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุน ป้องกัน และลดผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 มาร่วมบริหารสถานการณ์ และมาตรการต่างๆ ของ ศบค. เพื่อช่วย ส่งเสริมมาตรการภาครัฐและมาตรการสาธารณสุขในด้านต่างๆ และมีผลสําเร็จของงานวิจัยส่งมอบให้แก่หน่วยงานใช้ประโยชน์แล้วอย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด, วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือทาง การแพทย์และอุปกรณ์ป้องกัน, การดูแลและรักษาผู้ป่วย, การถอดรหัสพันธุกรรมและระบาดวิทยา ฯลฯ

4. การตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ การตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ทาง การแพทย์ อาทิ หน้ากากผ้า ชุด PPE อย่างชุด surgical gown และ ชุด cover-all โดย กรมวิทยาศาสตร์ บริการ และความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่างข้อกําหนดคุณลักษณะ ของ PAPR สําหรับใช้ทางการแพทย์

เรื่องเดิม

ด้วยบทบาทของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในด้าน ต่างๆ โดยเฉพาะการเกษตร ด้านอาหาร ด้านการแพทย์ ด้านพลังงาน ด้านอุตสาหกรรม และด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมนั้น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) (สทน.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้จัดทําแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางนิวเคลียร์ของประเทศ ปี 2561-2580 ขึ้น เพื่อให้การวิจัยและพัฒนาด้านนิวเคลียร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาประเทศ โดยมีโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัยและเทคโนโลยีสําคัญ ดังนี้

1. การพัฒนาเครื่องโทคาแมคเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน ซึ่งมีระยะเวลา ดําเนินการตั้งแต่ปี 2562-2566 โดยเครื่องโทคาแมคเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาและเตรียม ความพร้อมเพื่อรองรับเทคโนโลยีฟิวชัน
ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาดังนี้

1.1 สร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชันภายในประเทศ
1.2 ยกระดับความสามารถบุคลากรภายในประเทศ
1.3 การสร้างร่วมมือกับนานาชาติ
1.4 การพัฒนาห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีฟิวชัน
1.5 การมีส่วนร่วมในโครงการนานาชาติ ITER และ CFETR
1.6 การยกระดับการวิจัยและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฟิวชันและพลาสมา

2. การพัฒนาเครื่องไซโครตรอนเพื่อการแพทย์และการวิจัย ระยะดําเนินการตั้งแต่ปี 2560- 2565 โดยมีเป้าหมายคือ การผลิตสารเภสัชรังสีเพื่อการแพทย์ การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม และการสนับสนุนการเกษตร

3. การติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องที่ 2 โดยประเทศไทยมีการใช้งานเทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2505 และใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ในหลายด้าน รวมทั้งการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องที่ 2 ซึ่งปัจจุบันพบว่าปัญหาในการพัฒนาคือ

3.1 การขาดเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องปฏิกรณ์
3.2 เครื่องปฏิกรณ์มีขนาดเล็กและมีพื้นที่จํากัดไม่สามารถรองรับความต้องการได้
3.3 ความล่าช้าในการจัดการคดี GA

การดําเนินงาน

1. การพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน กําหนดก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จในปี 2564 และติดตั้งเครื่องโทคาแมคพร้อมเดินเครื่องครั้งแรกในปี 2565 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระ กนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเป็น ประธานวางศิลาฤกษ์อาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมค และเป็นความร่วมมือกับประเทศจีน

2.การพัฒนาเครื่องไซโครตรอนฯ อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารรองรับเครื่องไซโคลตรอน และติดตั้งเครื่องไซโคลตรอนพร้อมเดินแครื่องในปี 2564 และเป็นความร่วมมือกับประเทศรัสเซีย

3.การพัฒนาโครงการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องที่ 2 อยู่ระหว่างดําเนินการศึกษา เรื่อง EHIA และเตรียมข้อมูลเพื่อการพิจารณาของ ครม.

ในปี 2564 สทน. มีการดําเนินงานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญแล้ว ดังนี้

โครงการพัฒนาเครื่องโทคาแมคของประเทศไทยเพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน

การวิจัยและพัฒนาด้านฟิวชันเป็นประเด็นวิจัยระดับแนวหน้า (Frontier Research) ของโลก โดย อาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ มากมาย ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายหลักคือการพัฒนาหาแหล่งพลังงาน สะอาดเพื่อมนุษยชาติ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาไปสู่โรงไฟฟ้าฟิวชันในอีก 30-50 ปีข้างหน้า อีกทั้ง เทคโนโลยีพลาสมาสามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรม ประเทศไทยจึงต้องเร่ง เตรียมการเรียนรู้และสร้างบุคลากรเพื่อรองรับเทคโนโลยีดังกล่าว ตลอดจนการเร่งสร้างนวัตกรรมจาก เทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีฟิวชันได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วนของหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และ ภาคเอกชน สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งใน เช่น มหาวิทยาลัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย เป็นต้น และนอกประเทศ ได้แก่ สถาบันพลาสมาฟิสิกส์ InstituteofPlasmaPhysics,Chinese AcademyofScience (ASIPP) สาธารณรัฐประชาชนจีน FrenchAlternativeEnergiesandAtomicEnergyCommission (CEA) สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ Nation Institute of Fusion Sciences (NIFS) ประเทศญี่ปุ่น โดยร่วมกันวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชันไว้อย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมการไว้สําหรับอนาคตของประเทศ

ทั้งนี้ สทน. ได้ประสานงานกับสถาบัน ASIPP ประเทศจีน โดยสถาบัน ASIPP ได้บริจาคเครื่องโทคา แมค HT-6M โดยในวันที่ 15 กรกฎาคม 2561 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสร็จไป เป็นองค์ประธานการรับมอบเครื่องโทคาแมคเพื่อให้นักวิจัยไทยได้ใช้ในการศึกษาและพัฒนาต่อไป และในวันที่ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 ได้เสร็จไปเป็นองค์ประธานการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สทน. และ สถาบัน ITER เพื่อพัฒนากําลังคนทางด้านเทคโนโลยีฟิวชัน

สทน. และมหาวิทยาลัยได้รับกันจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาทางด้านฟิวชัน คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสมาและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชัน (Center for Plasma and Nuclear Fusion Technology : CPaF) ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชันของประเทศ มีหน้าที่ประสานงานความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและใน ต่างประเทศ โดยมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นระหว่าง สทน. และมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของไทย เป็นกลไกการ ดําเนินงาน โดยกิจกรรมหลักจะประกอบด้วย

  1. การพัฒนาระบบโทคาแมคให้สามารถใช้งานได้ในระดับพื้นฐาน พร้อมติดตั้งในประเทศไทย
  2. การประชุมเครือข่ายหารือแนวทางการวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและฟิวชันร่วมกัน อย่างมีทิศทาง
  3. จัดฝึกอบรมบุคลากรในด้านดังกล่าวผ่านหน่วยงานเครือข่ายต่างประเทศ และกิจกรรม อบรมในประเทศ
  4. ผลักดันในเกิดโครงการวิจัยบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกประเทศ ศูนย์ CPaF จะช่วยให้ประเทศพัฒนาไปอย่างมีทิศทาง ทั้งด้านองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากร และโครงสร้าง พื้นฐาน อันนําไปสู่ผลงานวิชาการระดับแนวหน้าของโลก และส่งเสริมให้มีการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทางพลาสมาและฟิวชัน เช่น แหล่งจ่ายไฟ ระบบท่อสุญญากาศ ระบบหัววัดรังสี วัสดุทนความร้อนสูง เป็นต้น อันจะเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูงที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในศูนย์ CPaF จะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
    • กลุ่มวิจัยด้าน Modeling and Theory
    • กลุ่มวิจัยด้าน Fusion Facility Development
    • กลุ่มวิจัยด้าน Applications and Innovation
    • กลุ่มวิจัยด้าน Future Generation Engagement

โดยมีคณะกรรมการบริหารเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสมาและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชัน (CPaF Executive Committee) และคณะทํางานกําหนดทิศทางดําเนินการขับเคลื่อนเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนา พลาสมาและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชัน (CPaF Steering Committee) โดยในปัจจุบัน ประธานและกรรมการ จะมาจากสมาชิกซึ่งประกอบด้วย สทน. และ มหาวิทยาลัย ร่วมกันดําเนินงานตามแนวทางดังนี้

อีกทั้ง CPaF ได้วางแผนงานไว้ทั้งสิ้น 3 ด้านประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา และ การพัฒนา
กําลังคน โดยแบ่งงานเป็น 4 เฟส ในระยะเวลา 20 ปีดังนี้

โครงการพัฒนาเครื่องไซโคลตรอนเพื่อการแพทย์และการวิจัยขั้นสูง
1. ความเป็นมา

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) มีพันธกิจในการให้บริการ เทคโนโลยีนิวเคลียร์และ
ผลิตเภสัชภัณฑ์รังสี และวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์และการ ประยุกต์ใช้ จึงมีความจําเป็นต้องขยายงานโครงการต่างๆ เพื่อให้ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ที่องครักษ์มีเครื่องมือและ อุปกรณ์วิจัยหลักที่สําคัญรองรับความต้องการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ ดังนั้นนอกเหนือจาก โครงสร้างพื้นฐานด้านเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยแล้ว ยังจําเป็นที่จะต้องจัดหาเครื่องเร่งอนุภาคที่เหมาะสมใน การใช้ประโยชน์ ทางการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม การวิจัยพัฒนา และการพัฒนาด้านกําลังคนและ การศึกษาในระดับสูงด้วย

ด้วยพันธกิจดังกล่าว สทน. จึงมีโครงการที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี นิวเคลียร์ในส่วนเครื่องไซโคลตรอน (Cyclotron) เพื่อการขยายงานโครงการต่าง ๆ ด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม การเกษตร และการศึกษาวิจัย ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการ พัฒนาประเทศและทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการชั้นสูงของนานาอารยประเทศในอนาคต อีกทั้งเพื่อเป็น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนเป็นการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนการปรับ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอุปกรณ์หลักเป็นเครื่องไซโคลตรอน ตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันฯ

ปัจจุบันเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอนเป็นเครื่องมือที่สถาบันวิจัยชั้นนําทั่วโลกจัดหาไว้ สําหรับผลิตไอโซโทปรังสีที่ไม่สามารถผลิตด้วยเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยได้ ซึ่งไอโซโทปรังสีที่ผลิตได้รวมถึง เภสัชภัณฑ์รังสีซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญในการสนับสนุนวิทยาการด้านการแพทย์ทั้งการวินิจฉัยและบําบัดรักษา การ ใช้สารรังสีสําหรับติดฉลากเพื่อประยุกต์ในเทคนิคนิวเคลียร์ทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยัง เป็นเครื่องมือวิจัยขั้นสูงสําหรับรองรับงานด้านวิจัยพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านวัสดุศาสตร์ การวิเคราะห์ด้วย เทคนิคทางนิวเคลียร์ การพัฒนาสารกึ่งตัวนํา เป็นต้น ดังนั้นโครงการศูนย์ไซโคลตรอน สถาบันเทคโนโลยี นิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงเป็นโครงการเพิ่มศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มี ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต

2. การดําเนินการที่ผ่านมา

การดําเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนนั้น สทน. ได้แบ่งการดําเนินโครงการเป็น 2 ส่วน คือ การว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้จัดทําแผนธุรกิจ “โครงการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในส่วนโครงการศูนย์ไซโคลตรอน สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)” จากนั้นจึงได้มีการจัดซื้อเครื่องไซโคลตรอนฯ ตามแผนงานที่ได้วางแผนไว้

2.1 รายงาน “โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในส่วน โครงการศูนย์ไซโคลตรอน สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)”

รายงานฉบับนี้จัดทําขึ้นโดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยมีการศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านเศรษฐกิจ การเงินและสังคม พร้อมทั้งจัดทําแผนธุรกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในส่วนโครงการศูนย์ไซโคลต รอน ซึ่งจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโครงการศูนย์ไซโคลตรอนมีคุณค่าและประโยชน์ใน 4 ด้าน คือ ด้าน การแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านวิจัยพัฒนาและด้านบริการวิชาการ ซึ่งได้กําหนดกลุ่มเป้าหมายและกลยุทธ์ การตลาดในแต่ละด้าน ดังนี้

1. ด้านการแพทย์ กลุ่มเป้าหมายหลักด้านการแพทย์ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาล หลัก ๆ ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลของรัฐบาลที่ให้บริการด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์และกลุ่มโรงพยาบาล เอกชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายรอง โดยมีผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านการแพทย์ที่ สทน. ให้ความสนใจ คือ ไอโซโทปรังสี Ga-67, Tl-201, In-111, I-123, I-124 , Cu-64, Y-86 และ Re-186 รวมทั้งไอโซโทปรังสีอีกหลายตัวที่จะผลิตในอนาคต
2. ด้านอุตสาหกรรม ให้บริการงานด้านอุตสาหกรรมที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็น ผู้ประกอบการด้าน Particle beam processing เพื่อการปรับปรุงคุณสมบัติชิ้นส่วนกึ่งตัวนํากําลังใน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กําลัง (Power electronic devices) ที่ใช้ในระบบไฟฟ้ากําลังของ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการใช้บริการในช่วงระยะ เริ่มแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ประเภทรถยนต์ไฮบริด (Hybrid car) อุตสาหกรรมอุปกรณ์แปลงผันกําลังไฟฟ้า (Power inverter) สําหรับงานด้านพลังงานทดแทน
3. ด้านวิจัยพัฒนาเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและการเกษตรพร้อมทั้งการค้นคว้าวิจัยด้านองค์ความรู้ใหม่
4. ด้านบริการวิชาการเพื่อประโยชน์ด้านวิชาการ การเรียนการสอน โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ รวมทั้ง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตลอดจนสถาบันวิจัยที่ประยุกต์ใช้เทคนิคนิวเคลียร์ทั้งภาครัฐและเอกชน

การศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิคเพื่อการเตรียมความพร้อมในการจัดหาเครื่องมือและ อุปกรณ์ การวางแผนการผลิต แผนกําลังคนและแผนการบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ มีข้อสรุปดังนี้

1. เครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอนสําหรับการผลิตเภสัชภัณฑ์รังสีควรให้ลําอนุภาค โปรตอนพลังงาน 30 MeV และเครื่องเร่งอนุภาคสําหรับฉายลําอนุภาคและบริการวิจัยควรมีความยืดหยุ่นใน การเลือกชนิดของอนุภาคในช่วงพลังงาน 16 – 18 MeV เพื่อครอบคลุมแผนการผลิตของโครงการ โดยการ จัดหาต้องวางแผนด้านงบประมาณให้สามารถดําเนินการซื้อพร้อมส่วนสนับสนุนการปฏิบัติงาน กําบังรังสี ระบบร่วมสําหรับงานวิจัยและระบบผลิตไอโซโทปรังสี

2. ต้องเตรียมการจัดองค์กร พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ในเชิงรุกที่มีระเบียบแบบแผน เพื่อ บรรลุผลความเป็นไปได้ด้านการตลาด ด้านเทคนิคและด้านเศรษฐศาสตร์ตามแผนธุรกิจ ในการรองรับการ ให้บริการให้เกิดคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคมและวิชาการทั้งทางตรงและทางอ้อม

3. วางแผนความเหมาะสมด้านการพัฒนากําลังคนที่ดําเนินงานทางเทคนิค เพื่อจัดแบ่ง อัตรากําลังในส่วนวิจัยพัฒนาเดิมและรับเพิ่มให้เหมาะสม สําหรับรองรับงานในโครงการใหม่ ควบคู่กับการ จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เพื่อรักษาประสบการณ์และความรู้ในองค์กรด้วยการ จัดระบบถ่ายทอดความรู้จากผู้ชํานาญการอาวุโส

4.วางแผนการบริหารจัดการด้านผลผลิตให้เกิดความคุ้มทุนซึ่งการลงทุนในโครงการนี้เป็น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อผลิตเภสัชภัณฑ์รังสีในด้านการแพทย์และการบริการวิจัยเป็นหลัก ตัวชี้วัดใน ความคุ้มค่าในการลงทุน ไม่ได้มุ่งเน้นที่ตัวเงินได้เป็นหลัก เนื่องจากสถาบันเป็นองค์กรไม่มุ่งหวังกําไร การทํา รายได้เป็นส่วนหนึ่งแต่สิ่งสําคัญคือ การส่งเสริมด้านการสาธารณสุขของประเทศ ให้ประชาชนได้รับการ บําบัดรักษาอย่างทั่วถึง และสนับสนุนผู้ประกอบการภาคเอกชนในการก่อรายได้ อันจะส่งผลประโยชน์ต่อ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศทางอ้อม

5. จัดแบ่งเวลาให้บริการและการค้นคว้าวิจัยด้านการฉายลําอนุภาค เพื่อสร้างองค์ความรู้ และส่งเสริมการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอย่างเหมาะสม อันส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมที่ยั่งยืน

6. การใช้จุดเด่นและโอกาสขององค์กรในการเป็นศูนย์ผลิตเภสัชภัณฑ์รังสีและบริการฉายลํา อนุภาคให้ก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นําด้านการผลิตเภสัชภัณฑ์รังสีและบริการวิจัยในระดับภูมิภาคอาเซียน

2.2 กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

โครงการจัดซื้อเครื่องไซโคลตรอนฯ ได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 โดยมี บริษัท ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด เป็นผู้ขาย มูลค่าโครงการ 880,000,000 บาท (แปด ร้อยแปดสิบล้านบาท) ระยะเวลาการดําเนินโครงการ 1,260 วัน ซึ่งครบกําหนดส่งมอบวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 โดยโครงการตั้งอยู่ที่ สทน. องครักษ์ และมีคุณลักษณะเฉพาะที่สําคัญของเครื่องไซโคลตรอนและ ระบบสนับสนุนหลัก ดังนี้

เครื่องไซโคลตรอนยี่ห้อ Rusatom รุ่น MCC 30/15 ผลิตจากประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย เป็น เครื่องไซโคลตรอนชนิด negative ion cyclotron สามารถเร่งอนุภาคลบของโปรตอนและดิวเทอรอนเพื่อใช้ ในการผลิตเภสัชภัณฑ์รังสีสําหรับเครื่อง SPECT และ PET และผลิตลําอนุภาคโปรตอนและดิวเทอรอนเพื่อ งานวิจัยทั่วไป เครื่องไซโคลตรอนสามารถปรับค่าพลังงานของโปรตอนในช่วง 15 MeV ถึง 30 MeV โดย สามารถปรับค่ากระแสของการเร่งโปรตอนได้ในช่วง 0 μA ถึง 200 μA และสามารถปรับค่าพลังงานของดิวเทอรอนได้ในช่วง 9 ถึง 15 MeV โดยสามารถปรับค่ากระแสของการเร่งดิวเทอรอนได้ในช่วง 0 μA ถึง 50 μA

มีระบบผลิตเภสัชภัณฑ์รังสีที่รองรับการผลิต Tl-201, Ga-67, Cu-64 และ Zr-89 ซึ่ง กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (Good manufacturing practice, GMP) ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อีกทั้งยังมีการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อสนับสนุน งานวิจัยด้านลําอนุภาคที่ได้จากเครื่องไซโคลตรอน เช่น

  • การวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุด้วยเทคนิคionbeamanalysis(IBA)
  • การวิเคราะห์การสึกกร่อนของวัสดุ ด้วยเทคนิค thin layer activation analysis (TLA)
  • การศึกษาผลของลําอนุภาคในทางชีววิทยา(radiationbiology)
  • การปรับปรุงพันธุ์พืช โดยใช้ลําอนุภาค (mutation breeding)
  • การศึกษาผลของลําอนุภาคต่อวัสดุ (radiation damage study)

    นอกจากประโยชน์ทางด้านการแพทย์และงานวิจัยต่าง ๆ แล้ววัตถุประสงค์หลักที่สําคัญอีก ประการหนึ่งของโครงการ คือ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้งบุคลากรทางด้านเทคนิคที่ต้องปฏิบัติงานกับ ตัวเครื่องไซโคลตรอนและระบบสนับสนุนที่สําคัญต่าง ๆ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาด้านนิวเคลียร์ ฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อการศึกษาวิจัย สารเภสัชภัณฑ์รังสีชนิดใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

รูปที่ 1 ผังการจัดวางเครื่องไซโคลตรอนและห้องสนับสนุนต่าง ๆ

การเตรียมการโครงการจัดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่

1. ความเป็นมา

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย ปปว-1 เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และเดินเครื่องเป็น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแกนเครื่องปฏิกรณ์ ปปว-1 ปรับปรุงครั้งที่ 1 (ปปว-1/1) ในปี พ.ศ. 2520 โดยมีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ให้สํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ในขณะนั้น) ย้ายเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว-1/1 ไปติดตั้งยังสถานที่แห่งใหม่ซึ่งมีความเหมาะสมด้าน พื้นที่มากกว่า ณ บริเวณทุ่งบางเขน พปส. (ชื่อในขณะนั้น ปัจจุบันคือสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)) จึงได้ ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ดําเนินการประเมินความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง โดย สํารวจหาข้อมูลพื้นที่ต่างๆทั้งจากที่ราชพัสดุและที่ในมหาวิทยาลัยตลอดจนที่ดินสาธารณะต่างๆ จํานวนทั้งสิ้น 31 แปลง และมีข้อสรุปว่าพื้นที่ตําบลทรายมูล อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เนื้อที่ประมาณ 316 ไร่ มีความเหมาะสมมากที่สุด

ในปี พ.ศ. 2535 พปส. ได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดทําข้อมูลทางเทคนิคของพื้นที่เพื่อประกอบการจัดตั้งศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ และ พ.ศ. 2538 ได้ดําเนินการลงนามสัญญาว่าจ้างบริษัท Electrowatt Engineering (EWE) เป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคของ โครงการเพื่อจัดหาผู้ออกแบบและก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยเครื่องใหม่ และได้ทําสัญญาว่าจ้างบริษัท เจนเนอรัล อะตอมมิกส์ (General Atomics: GA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ วิจัยและระบบต่าง ๆ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2540

เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543 สํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ยื่นขออนุญาต ก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยเครื่องใหม่ต่อคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบอนุญาตก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2546 แต่เนื่องจากโครงการมีความล่าช้าด้านการ ก่อสร้างและปัญหาด้านการออกแบบ จึงทําให้ไม่สามารถดําเนินการได้แล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ปปว-1/1 เพิ่มมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง และมีการใช้งานที่หลากหลายมากกว่าเดิม เช่น การฉายรังสีอัญมณีเพื่อเพิ่มมูลค่า การผลิตไอโซโทป รังสีเพื่อวินิจฉัยและรักษาทางการแพทย์ เป็นต้น ในขณะที่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย ปปว-1/1 มีข้อจํากัด ทางเทคโนโลยีและการจัดหาเชื้อเพลิง จึงไม่สามารถรองรับความต้องการในปัจจุบันและความต้องการที่จะ เพิ่มขึ้นในอนาคตได้อย่างครบถ้วน

ต่อมาในปี 2559 รัฐบาลนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กําหนด “ยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)” และมีแนวนโยบายการบริหารประเทศตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)” ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ที่ มุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการสร้างและพัฒนาศักยภาพคน เพื่อ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชื่อใน ขณะนั้น) จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการบริหารประเทศตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย 4.0” ของรัฐบาล หนึ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าวคือ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโครงการวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ (Mega Science Projects) และแผนงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็น ส่วนสําคัญของแผนงานดังกล่าว นอกจากนั้น คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ได้กําหนดแผน ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ พ.ศ. 2560 – 2569 โดยโครงการเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่ได้รับบรรจุเป็นโครงการระยะเร่งด่วนภายใต้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้พลังงาน นิวเคลียร์เพื่อการพัฒนาประเทศ

นอกจากนั้น นายยูกิยะ อะมาโนะ ผู้อํานวยการใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่าง ประเทศ ในการเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 3-6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อแสดงปาฐกถาในการประชุม วิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ พ.ศ. 2559 ได้เข้าพบหารือกับนายกรัฐมนตรี (พล เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์) โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขอรับการสนับสนุนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่ อย่างไรก็ตามทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้ทาบทามรัฐสมาชิกบางประเทศเพื่อขอรับบริจาค เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยดังกล่าวให้แก่ประเทศไทยเพื่อทดแทนเครื่องเดิมที่ใช้งานมานานแล้ว แต่ปรากฏว่า แนวทางดังกล่าวมีความเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีข้อจํากัดในการเคลื่อนย้ายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยที่ผ่าน การใช้งานแล้ว รวมทั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยแต่ละเครื่องถูกออกแบบเพื่อการใช้งานเป็นการเฉพาะ แตกต่างกันไปตามการใช้งานของแต่ละประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ดร. พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์) ในการเยือน สํานักงานใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 3-7 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จึงได้หารือเพิ่มเติมกับผู้อํานวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ เกี่ยวกับ การขอรับการสนับสนุนการพัฒนาโครงการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่ ในรูปแบบของโครงการ ความร่วมมือทางเทคนิค (technical cooperation project) และได้สั่งการให้ สทน. เตรียมการสําหรับเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่

2. การดําเนินการที่ผ่านมา

สทน. จึงได้เร่งดําเนินการใน 2 ส่วน ได้แก่ การว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทําการศึกษา ความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจของการจัดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่ และการประสานความร่วมมือ ทางเทคนิคกับผู้เชี่ยวชาญของทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ โดยได้ข้อสรุปทั้งสองส่วน ดังนี้

2.1 รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ นวัตกรรมที่เชื่อมโยงความรู้และภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศ รวมทั้ง สนับสนุนการพัฒนากําลังคนด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ และเป็นองค์ประกอบที่สําคัญใน การเตรียมความพร้อมสําหรับรองรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศ

ผลลัพธ์ที่จะได้รับจากโครงการ เป็นประโยชน์ทั้งในด้านการแพทย์ การเกษตร การ อุตสาหกรรม และการศึกษาวิจัย กล่าวคือ

ด้านการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชรังสีซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยผู้ป่วยไทรอยด์ โรคหัวใจและหลอดเลือดและรักษาผู้ป่วยมะเร็งและโรคไทรอยด์ได้แก่ I-131, Sm-153, Lu-177, Tc-99m และ ผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตในอนาคต เช่น Ho-166, Sr-90/Y-90 generator โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่สามารถผลิตไอโซโทปรังสีดังกล่าวให้แก่โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ให้บริการด้าน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการนําเข้าไอโซโทปรังสี และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจากการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

ด้านอุตสาหกรรม เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่จะช่วยเพิ่มศักยภาพและขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และสร้างโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด เช่น

  • การเปลี่ยนสีอัญมณี โดยการอาบด้วยนิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยซึ่งสามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอัญมณีที่เป็นที่ต้องการสูงในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเซีย
  • การโดปสารกึ่งตัวนําเพื่อผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • การผลิตไอโซโทปรังสีด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ Ir-192 และ Se-72 เพื่อการถ่ายภาพด้วย รังสีในอุตสาหกรรม
  • การทดสอบและวิเคราะห์วัสดุ เช่น งานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
  • งานด้านตรวจสอบแร่ธาตุโดยเฉพาะธาตุหายาก (Rare Earth)
  • การถ่ายภาพด้วยนิวตรอน เป็นต้น โดยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรม อัญมณี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการบิน

ด้านการเกษตร เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจด้วย นิวตรอน ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง
ถั่วเขียว และไม้ดอกไม้ประดับ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มเกษตรกร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสําอาง อุตสาหกรรมอาหารเสริม นักวิจัย และสถาบันวิจัยด้าน การเกษตรต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณสมบัติใหม่ให้พืช และจุลินทรีย์เช่น

  • การปรับปรุงพันธุ์เพื่อช่วยให้ได้พันธุ์พืชที่มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อรายได้ของ เกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ
  • สร้างพันธุ์พืชใหม่ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและสามารสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดยประเทศไทย เคยมีตัวอย่างของความสําเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ ข้าวเจ้านาปี กข 1 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว นาปรัง กข 10 นอกจากนี้
  • การปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ใน อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสําอางและอาหารเสริม

ด้านวิจัยและนวัตกรรม เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่สามารถใช้ประโยชน์ด้านการ วิจัยและวิชาการที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สนับสนุนการนําผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นิวเคลียร์จากห้องปฏิบัติการไปสู่การผลิตจริงในเชิงพาณิชย์ ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และ ส่งเสริมการพัฒนากําลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน โดยผลการศึกษา ได้ระบุถึงผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม ที่จะได้รับจากเครื่อง ปฏิกรณ์ฯ เครื่องใหม่ ดังนี้

  • ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ จากการนําเข้าสารเภสัชรังสีชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีความต้องการที่สูงขึ้นทุกป
  • ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่นๆ ในค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม ไม่ต่ํากว่าปีละ 12,750 ราย นอกจากนี้ ในอนาคตคาดการณ์ว่า แนวโน้มของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หากได้รับวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็ง ได้อย่างทันท่วงทีจะสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยได้มากขึ้น
  • ความสามารถในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออก คิดเป็นมูลค่า 813 ล้านบาท/ปี
  • การลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มมูลค่าจากการพัฒนาพันธุ์พืชในกลุ่ม ไม้ดอกไม้ประดับ คิดเป็น 202 ล้านบาท/ปี
  • การศึกษาวิจัยและพัฒนากําลังคนเพื่อสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ผลผลิตงานวิจัยและลด ค่าใช้จ่ายในการส่งนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญา เอก คิดเป็น 126 ล้านบาท/ปี
  • เป็นศูนย์กลางการวิจัย การเรียนรู้ การวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งของประเทศ เพื่อเป็น ต้นแบบในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (นางปัทมาวดี โพชนุกูล) นําเสนอแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2563-2565 ฉบับ ปรับปรุง สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมระบบบริหารจัดการงบประมาณแบบบูรณาการเพื่อมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ และการแต่งตั้งประธาน กรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้ที่ประชุมพิจารณา ดังนี้

1. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสํานักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดทํา (ร่าง) นโยบายและ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เพื่อเสนอต่อสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบาย) และคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมหารือ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 มีมติเห็นชอบในหลักการอนุมัติ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 ให้ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปพิจารณาดําเนินการต่อไป

เนื่องด้วยสถานการณ์ของโลกและประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง สกสว. จึงดําเนินการ ปรับปรุงแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 ให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับบริบทของโลกและประเทศไทย ที่เปลี่ยนแปลงไปและจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยนําแผน ด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 ฉบับปรับปรุง สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขอรับฟังความคิดเห็นจาก หน่วยงานและคณะกรรมการต่าง ๆ ดังนี้

1) การประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563

2) เสนอขอความคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการจัดทําแผนด้านววน.และการจัด กรอบงบประมาณ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 โดยมีข้อคิดเห็นว่า ให้คงโครงสร้างเดิม 4 แพลตฟอร์ม 17 โปรแกรม ปรับปรุง Objective and Key Result (OKR) ให้มีความชัดเจน วัดผลได้ และให้นํานโยบายการ พัฒนาประเทศและนโยบายของรัฐมาบูรณาการในแผนด้าน ววน. ให้มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ การ เพิ่มเติมแผนงานย่อย การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ Re-skill/ Up-skill กําลังคนในการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างบัณฑิต เช่น บัณฑิตพันธุ์ใหม่ เป็นต้น

3) เสนอขอความเห็นชอบจากกสว.ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 โดย กสว. มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแผนด้าน ววน. ดังกล่าวและเห็นชอบให้นําไปใช้ในการประกาศและชี้แจง หน่วยงาน เพื่อยื่นคําของบประมาณประจําปี พ.ศ. 2565 ต่อ สกสว. ต่อไป

2. สกสว. ได้เสนอกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อคณะอนุกรรมการจัดทําแผนด้าน ววน. และการจัดกรอบวงเงินงบประมาณ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ต่อกรอบวงเงินจํานวน 24,134.83 ล้านบาท โดยกําหนดให้สนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic fund) ร้อยละ 65 และทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental fund) ร้อยละ 35 จากนั้น สกสว. ได้ทบทวน กรอบวงเงินตามหลักการที่ได้รับแนะนําจากอนุกรรมการฯ และเสนอต่อ กสว. ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 โดย กสว. มีมติเห็นชอบ ดังนี้

1) กรอบวงเงินงบประมาณ
1.1) กําหนดกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณพ.ศ. 2565 จํานวน 24,400 ล้านบาท โดยเน้นในเรื่องของวิจัยและนวัตกรรม
1.2) กําหนดสัดส่วนงบประมาณระหว่างทุนสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic fund) ต่อทุนสนับสนุนพื้นฐาน (Fundamental fund) เป็น 60:40 และให้เสนอต่อ สอวช. เพื่อเสนอสภานโยบาย สํานักงบประมาณและคณะรัฐมนตรีต่อไป

2) ระบบการจัดสรรและบริหาร
2.1) แนวทางการจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2565 แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

  • ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic fund) จัดสรรตามแผนงานโปรแกรม และแผนงานสําคัญ ซึ่งบริหารจัดการโดย PMU เพื่อนําไปสนับสนุนทุนแก่หน่วยงานระดับปฏิบัติ โดยต้องเป็นการทําวิจัยที่เน้นตอบโจทย์ยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน. ของประเทศ
  • ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน(Fundamentalfund)ประกอบด้วย Basic research fund เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานที่เป็นการพัฒนานักวิจัย และสร้างความเข้มแข็งของ งานวิจัยและการบริหารงานวิจัยและสถาบันความรู้ และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน เพื่อตอบโจทย์ประเทศ และ Functional-based research fund เพื่อสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงาน และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

2.2) การจัดสรรงบประมาณแบบวงเงินรวม (Block grant) และการจัดสรร งบประมาณต่อเนื่องแบบหลายปี (Multi-year budgeting) มีการกระจายอํานาจให้หน่วยงานในระบบ ววน.และ PMU เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง PMU

2.3) หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณพ.ศ. 2565 ตามแนวทางการจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic fund) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และทุนสนับสนุนงาน พื้นฐาน (Fundamental fund) ไม่เกินร้อยละ 40 โดยการจัดสรรงบประมาณทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic fund) ในแต่ละแพลตฟอร์ม จะพิจารณาตามฉากทัศน์ (Scenario) เพื่อตอบโจทย์ในการแก้ไข ปัญหาของประเทศ โดยพิจารณาผลของการดําเนินงานในการบริหารจัดการของแต่ละโปรแกรม-แพลตฟอร์ม ในปีที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของกองทุน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

2.4) ระบบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พิจารณาความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยต้องสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมีการจัดลําดับความสําคัญ และให้ความสําคัญกับผลผลิตมากกว่าทรัพยากรที่ใช้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ ตลอดจนช่วยให้งบประมาณด้าน ววน. ที่มีอยู่อย่างจํากัดสามารถสร้างผลงาน หรือแก้ไขปัญหาวิกฤต ของประเทศได้ในเวลาที่เหมาะสม โดยกระจายอํานาจให้ PMU

3. กสว. ในการประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ได้มีมติให้เสนอชื่อ ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยให้เสนอสภานโยบายพิจารณาแต่งตั้งต่อไป

อุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จัดทําเพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยที่ผ่านมา กกอ. ได้เห็นชอบในหลักการ ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2562 สภานโยบายเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบใน หลักการเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการ เมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน 2563 และ กกอ. ในการประชุม ครั้งที่ 8/2563 รับทราบแผนฉบับสมบูรณ์ และมีมติให้ ประกาศใช้ต่อประชาคมอุดมศึกษาต่อไป

แผนดังกล่าวมีวิสัยทัศน์ คือ “อุดมศึกษาสร้างคน สร้างปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่าง ยั่งยืน” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริม ระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา และยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ โดยมีเป้าหมาย 3 ข้อ ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 กําลังคนมีคุณภาพและปริมาณรองรับการพัฒนาประเทศ และการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก เป้าหมายที่ 2 งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป้าหมายที่ 3 สถาบันอุดมศึกษามีสมรรถนะตรงตามอัตลักษณ์/จุดแข็ง เพื่อให้เกิดคุณภาพในระบบอุดมศึกษา ทั้งนี้ เมื่อ ที่ประชุมสภานโยบายให้ความเห็นชอบแผนดังกล่าว กระทรวง อว. จะนําเสนอแผนดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อรับทราบต่อไป หลังจากนั้น กกอ. จะประกาศใช้แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับสมบูรณ์ และถ่ายทอดไปสู่ การปฏิบัติโดยสถาบันอุดมศึกษาต่อไป โดย กกอ. และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) จะทํา หน้าที่ติดตามประเมินผลเพื่อควบคุมเป้าหมายและทิศทางการดําเนินงาน และรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง อว. ต่อไป

เรื่องเดิม

1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 17 (2) กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยข้อเสนอแนะและความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เสนอแนะกรอบ วงเงินงบประมาณประจําปีด้านการอุดมศึกษาต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงิน ดังกล่าวให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านการอุดมศึกษา

2. คณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 และให้ส่ง (ร่าง) แผนดังกล่าวให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของ ประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570

4. คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน ภายใต้คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ได้ นําเสนอระบบการจัดสรรและการบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เสนอต่อ กกอ. ในการ ประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 โดยประกอบด้วย (ร่าง) ขั้นตอนและกระบวนการ งบประมาณด้านการอุดมศึกษา (ร่าง) ขั้นตอนและกระบวนการงบประมาณด้านการอุดมศึกษา (ร่าง) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทําคําของบประมาณของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวง และข้อเสนอ การผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการ และ มอบหมายให้ประธานอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน ประธานอนุกรรมการด้านการสร้างและพัฒนาบัณฑิต และรองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล) ดําเนินการให้บรรลุผลสําเร็จ

5. สํานักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดทํา (ร่าง) กรอบวงเงินงบประมาณประจําปีด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และระบบการจัดสรรและบริหาร งบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อการทําคําขอและการจัดสรรงบประมาณสําหรับการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา มาตรา 45 (1) (2) และ (3) และเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านนโยบาย และแผน ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 โดยมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบวงเงิน งบประมาณประจําปีด้านการอุดมศึกษา ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยให้นํางบประมาณสําหรับ โครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) เพิ่มเป็นรายละเอียด ของงบประมาณปรากฎตามมาตรา 45 (3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งนํามาใช้เพื่อ การพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการ ของประเทศ

6. คณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันที่ 2 กมุ ภาพันธ์ 2564 ได้มีมติเห็นชอบในแผนด้านการ อุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570

การดําเนินงาน

1. สป.อว. จัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ในความรับผิดชอบของกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปี พ.ศ. 2565 และระบบการจัดสรรและบริหาร งบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อการทําคําขอและการจัดสรรงบประมาณสําหรับการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 45 (1) (2) และ (3) ที่สอดคล้องกับแผนด้าน การอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570

2. สป.อว. เสนอกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ในความรับผิดชอบของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปี พ.ศ. 2565 และระบบการจัดสรรและ บริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบวงเงินงบประมาณ จํานวนวงเงินทั้งสิ้น 117,880.9139 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณดังกล่าว โดยจําแนกตามประเภทงบประมาณที่สอดคล้องกับมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ดังนี้

  • งบบุคลากร ตามมาตรา 45(1) จํานวน 70,427.4530 ล้านบาท (ร้อยละ 60)
  • งบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นตามมาตรา 45(2) จํานวน38,653.4609ล้านบาท (ร้อยละ 33)
  • งบประมาณเพื่อนํามาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิต กําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ตามมาตรา 45(3) จํานวน 8,800 ล้านบาท (ร้อยละ 7)

3. กกอ. เสนอแนะและให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อให้เสนอแนะกรอบวงเงินงบประมาณประจําปีด้านการอุดมศึกษา ในความ รับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ต่อสภานโยบายเพื่อพิจารณาและ ให้ความเห็นชอบต่อไป

เรื่องเดิม

พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 12 กําหนดว่า

1. เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจําปีด้านการอุดมศึกษา แล้ว ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ให้นายกรัฐมนตรีโดยข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมการการอุดมศึกษา แต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา โดยมีบุคคลซึ่งสภานโยบายมีมติแต่งตั้งเป็นประธาน กรรมการ เพื่อทําหน้าที่พิจารณาคําของบประมาณรายจ่ายประเภทงบลงทุนและงบเงินอุดหนุนในการพัฒนา ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในความรับผิดชอบของกระทรวง ก่อนเสนอไปยังสํานักงบประมาณเพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรี

2. เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจําปีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศแล้ว ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ให้นายกรัฐมนตรีโดย ข้อเสนอของ กสว. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. โดยมีบุคคลซึ่งสภานโยบายมีมติ แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ เพื่อทําหน้าที่พิจารณาคําของบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ตามที่สภานโยบายกําหนด ก่อนเสนอไปยังสํานักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 มีมติเห็นชอบ

1) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปี พ.ศ. 2563 – 2565 ฉบับปรับปรุง สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

2) เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น 24,400 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณ แบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว

3) เห็นชอบการแต่งตั้ง ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธานกรรมการพิจารณา งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 มีมติอนุมัติแต่งตั้ง ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2563 และได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564

การดําเนินงาน

1. แต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ เป็นประธานกรรมการพิจารณา งบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม ตามขั้นตอนต่อไป (รายละเอียดประวัติโดยสังเขปของรองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ ปรากฏตาม เอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 4.2)

2. แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลง นามตามขั้นตอนต่อไป (รายละเอียดประวัติโดยสังเขปของศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ ปรากฏตาม เอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 4.2)

ชื่อ – สกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์
วัน เดือน ปีเกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2501

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปริญญาโท สาขาการจัดการวิศวกรรมและการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัย เอแวนส์วิล ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาเอกสาขาวิทยาการจัดการจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัสประเทศสหรัฐอเมริกา

ตําแหน่งสําคัญอื่นๆ

  • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • คณบดีคณะบริหารธุรกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • อาจารย์ประจําคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ชื่อ – สกุล ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์
วัน เดือน ปีเกิด 19 กันยายน 2503

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย Soka ประเทศญี่ปุ่น
  • ปริญญาเอก Doctoratendroit (mentiontrèshonorable) มหาวิทยาลัย RobertSchuman de Strasbourg ฝรั่งเศส
  • ปริญญาโท Diplôme d’ètudes approfondies (D.E.A.) de droit Public มหาวิทยาลัย Strasbourg III ฝรั่งเศส
  • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ ๓๕ สํานักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ตําแหน่งปัจจุบัน

  • ศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชน
  • ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ตําแหน่งสําคัญอื่นๆ

  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2547–2553
  • คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544-2547
  • ประธานคณะกรรมการ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) พ.ศ. 2551 – 2554
  • ประธานคณะกรรมการกํากับดูแลกิจการและกรรมการอิสระบริษัท ปตท จํากัด (มหาชน) พ.ศ. 2552 – 2555
  • ประธานคณะกรรมการบริษัทกรุงเทพธนาคม จํากัด (วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร) พ.ศ. 2557 – 2559
  • ผู้อํานวยการ/ผู้ก่อตั้งโครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน(หลักสูตร3เดือน) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2538

เรื่องเดิม

1. มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กําหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรียกโดย ย่อว่า “กสว.” ประกอบด้วย

(1) ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์อย่าง สูงในด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยหรือนวัตกรรมตามข้อเสนอของสภานโยบาย

(2) กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวนสี่คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ และ อธิบดีกรมบัญชีกลาง

(3) กรรมการซึ่งผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิได้สังกัดกระทรวง เลือกกันเอง จํานวนหนึ่งคน

(4) กรรมการซึ่งผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวง ซึ่งมิใช่ สถาบันอุดมศึกษาเลือกกันเอง จํานวนหนึ่งคน และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับงบประมาณวิจัยและ นวัตกรรมเลือกกันเอง จํานวนหนึ่งคน

(5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนไม่เกินสี่คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลผู้มีความรู้ความ เชี่ยวชาญและความสามารถเป็นที่ประจักษ์ด้านวิทยาศาสตร์ ไม่เกินสองคน ด้านสังคมศาสตร์ จํานวนหนึ่งคน และด้านมนุษยศาสตร์ จํานวนหนึ่งคน

ให้ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการ และเลขานุการ ประธานกรรมการ กรรมการตาม (3) และ (4) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (5) มีวาระ การดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการพ้นจากตําแหน่งของ ประธานกรรมการ กรรมการตาม (3) และ (4) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (5) ให้เป็นไปตามระเบียบ สภานโยบาย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการพ้นจากตําแหน่ง ของประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน กสว. พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน 2562

2. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบาย) ได้มีคําสั่งที่ 10/2562 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้แทนหน่วยงานที่มิได้สังกัด กระทรวง กรรมการผู้แทนหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงซึ่งไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา และกรรมการผู้แทน สถาบันอุดมศึกษา เพื่อดํารงตําแหน่งในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) โดย แต่งตั้ง ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ซึ่งดํารงตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติอยู่ในเวลานั้น เป็นกรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัย และนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งมิใช่สถาบันอุดมศึกษา และให้มีวาระการดํารงตําแหน่ง 4 ปี เท่ากับประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามประกาศสํานัก นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 มกราคม 2563 นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563

3. โดยต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ข้าราชการพลเรือนสามัญ พ้นจากตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ปลัดกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 รายละเอียดตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ลงวันที่ 23 กันยายน 2563 จึงมีผลให้ ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล พ้นจากตําแหน่งกรรมการประเภทผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวงซึ่ง ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา ใน กสว. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563

การดําเนินงาน

1. ข้อ 17 ของระเบียบสภานโยบาย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะ ต้องห้าม การแต่งตั้งและการพ้นจากตําแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน กสว. พ.ศ. 2562 กําหนดว่า ในกรณีที่กรรมการผู้แทนหน่วยงานพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้ สกสว. เสนอ รัฐมนตรีพิจารณาเสนอรายชื่อผู้สมควรดํารงตําแหน่งกรรมการผู้แทนหน่วยงานฯ จากบัญชีรายชื่อสํารอง เพื่อ เสนอสภานโยบายแต่งตั้ง และให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนมีวาระการดํารงตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ ของผู้ที่ตนแทน

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้พิจารณาบัญชี รายชื่อสํารองเรียบร้อยแล้ว เห็นชอบให้เสนอชื่อ นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการประเภทผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัย และนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวงซึ่งไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา ใน กสว. แทนกรรมการผู้แทนหน่วยงาน ซึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระให้สภานโยบายแต่งตั้ง ทั้งนี้ให้มีวาระการดํารงตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน

เรื่องเดิม

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562 มีมติเห็นชอบหลักการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนตามที่ ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ และให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จํานวน 3 หน่วย ในลักษณะ Sandbox ภายใต้สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และมอบหมายคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดําเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้แล้วเสร็จ และรายงาน ความก้าวหน้าต่อสภานโยบาย

สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 มีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้ มีผลตั้งแต่วันที่สภานโยบายมีมติให้ความเห็นชอบ (วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562) ตามคําสั่งสภานโยบายที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ประกอบด้วย

(1) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานกรรมการ
(2) นายรุจเวทย์ ทหารแกล้ว กรรมการ
(3) นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการ

ต่อมากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล มีหนังสือขอลาออกจากการเป็น กรรมการในคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ (บพข.) ส่งผลให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามข้อ 11 ของข้อบังคับคณะกรรมการ อํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหน่วย บริหารและจัดการทุน พ.ศ. 2562 และข้อ 6 ของประกาศคณะกรรมการอํานวยการสํานักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระ การดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ บริหารหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. 2562

การดําเนินงาน

สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการอํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นสมควรเสนอชื่อนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร บพข. แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตําแหน่ง และให้ผู้ที่ได้รับ แต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตามนัยข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ของประกาศคณะกรรมการอํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจาก ตําแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. 2562

เรื่องเดิม

1. การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นับเป็นการปฎิรูปเชิง โครงสร้างที่สําคัญ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้กระทรวงฯ ทําหน้าที่ขับเคลื่อนพันธกิจที่สําคัญของประเทศที่ มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้ว โดยหนึ่งในภารกิจหลักของกระทรวงฯ คือ พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อผลิตกําลังคนที่มีคุณภาพ รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruptive change) และความจําเป็นในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองความต้องการของคนทุกช่วงวัยให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาตามความต้องการของผู้เรียนได้ เพื่อ พัฒนาความสามารถ ความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการดํารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคม รวมถึงมีสมรรถนะในการทํางานเพื่อการประกอบอาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงาน และการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งสถาบันการศึกษาต้องมีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการจัดการ เรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตที่มีความหลากหลาย อาทิ ด้านเศรษฐกิจ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการเมืองการปกครอง และยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีความเป็นเลิศ ทัดเทียมกับประเทศที่มีความก้าวหน้า การบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์นั้นต้องอาศัยการสนับสนุน งบประมาณจากภาครัฐอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ อย่างไรก็ตามการจัดสรรงบประมาณในระบบปกติยังเป็น แบบรายปียังไม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาด้านการอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการผลิต กําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตอบสนองความต้องการของประเทศ จําเป็นต้องมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและ ระยะยาวอย่างต่อเนื่อง จึงจําเป็นต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นก้อนและสามารถบริหารจัดการการใช้ จ่ายอย่างต่อเนื่องได้โดยไม่ติดข้อจํากัดด้านปฏิทินงบประมาณประจําปี (Block grant and multi-year) เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณคล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้ตามความเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะที่มีการการเปลี่ยนอย่างพลิกโฉมฉับพลันและการเกิดเหตุวิกฤติเชิงซ้อนอื่นที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ เพื่อให้มีการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา

นอกจากนี้ การจัดสรรงบประมาณด้านการอุดมศึกษายังตั้งอยู่บนพื้นฐานด้านอุปทาน เป็นหลัก (Supply-side financing) ทําให้สถาบันอุดมศึกษามักจัดการศึกษาตามความพร้อมและความ ต้องการของตนเป็นหลัก ไม่เกิดการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนา ประเทศ ดังนั้นการจัดสรรเงินอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาควรมุ่งเน้นหลักการจัดสรรทุนโดยอิงจากอุปสงค์ (Demand-side financing) เพื่อกํากับให้การผลิตบัณฑิต กระบวนการเรียนการสอน และการวิจัย ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษามีทิศทางสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาของ ประเทศ เชื่อมต่ออุดมศึกษาไทยกับโลกสากล และเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม กับภาคการผลิตและบริการ ชุมชน และสังคม (Quadruple helix)

ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงมีความจําเป็นต้องจัดตั้ง “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” ขึ้น เพื่อสนับสนุนภารกิจเฉพาะด้านในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกําลังคน ระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา ดําเนินพันธกิจไปในทิศทางที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้ กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา จะเป็นแหล่งงบประมาณสําหรับ การให้เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ําแก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น สอดคล้องกับประเด็นการจัดสรรทรัพยากรในการจัดการอุดมศึกษาตามมาตรา 45 (3) และมาตรา 45 (4) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 โดยมีระบบติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลที่มี ประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานให้เป็นไปตามทิศทางที่กําหนด

2. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 มาตรา 70 (2) กําหนดให้รัฐอุดหนุนและส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้ การกํากับดูแลสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณผ่านงบกลาง ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตั้งแต่ปี 2532 ในวงเงิน 500 ล้านบาท และต่อมาในปี 2540 ได้จัดตั้ง กองทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพิ่มขึ้นอีก ในวงเงิน 2,000 ล้านบาท และในปี 2548 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ หลักการให้ยุบเหลือ 1 กองทุน คือ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในวงเงิน 1,120 ล้านบาท โดยกองทุนมวี ัตถุประสงค์เพื่อ

(1) เพื่อให้สถาบันกู้ยืมเงินเป็นส่วนสมทบ ในการจัดหา/จัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาและ การก่อสร้างอาคารเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถขยายการเปิดการ สอนในสาขาวิชาที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

(2) เพื่อให้สถาบันกู้ยืมเพื่อพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์โดยให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และ/หรือปริญญาเอก ในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง

3. กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาจะใช้แหล่งงบประมาณตามมาตรา 45 (3) งบพัฒนา ความเป็นเลิศและการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และงบประมาณตามมาตรา 45 (4) งบเข้ากองทุน ให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ําให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนเพื่อพัฒนา การอุดมศึกษาจะจัดสรรตรงไปที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการผลิตกําลังคนระดับสูง เฉพาะทางตามความต้องการของประเทศและการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแตกต่างจาก งบประมาณที่จัดสรรจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่มุ่งเน้นการพัฒนากําลังคน ด้าน ววน. ในสาขาที่ขาดแคลนหรือในพื้นที่เป้าหมาย

4. แนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาสามารถทําได้โดยการยุบรวมทุน หมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อลดความซ้ําซ้อนของกองทุนและไม่เพิ่มกองทุนขึ้นโดยได้ แก้ไขพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ด้วยการเพิ่มเติมหมวดกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา โดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งกําหนดว่า ในกรณีที่ เห็นสมควร คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอร่วมกันของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงการคลังอาจมีมติให้จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาขึ้น เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของ สถาบันอุดมศึกษาและส่งเสริมการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ประกอบกับ มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งระบุว่าการจัดตั้งทุนหมุนเวียนให้ กระทําได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเท่านั้น รวมถึงมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ที่ได้ระบุขั้นตอนการเสนอจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนโดยให้หน่วยงานของ รัฐที่ประสงค์จะขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนที่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการนโยบายการ บริหารทุนหมุนเวียนเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีรวมถึงให้เสนอลักษณะของกองทุนที่สามารถ จัดตั้งได้ตามบทบญัญัติในพระราชบัญญัติ
ดังกล่าวด้วย

การดําเนินงาน

1. สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกันศึกษาแนว ทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และจัดทํารายละเอียดการขอจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนา การอุดมศึกษาโดยวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและแนวทางจากพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดตั้งกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศ ของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ พัฒนา การเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการและองค์กรชั้นนําของโลก และเชื่อมโยงการเรียน การสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมกับสถานประกอบการทั้งภาคเอกชน ภาครัฐและภาคประชาสังคม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของชุมชนและสังคม และมี วัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ด้วย

(1) สนับสนุนการปฏิรูปการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการและแนวทางตาม พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

(2) ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานการอุดมศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ

(3) พัฒนาระบบการเรียนรู้ไปสู่การเรียนรู้ที่ตอบสนองการพัฒนาศักยภาพคนตลอด ช่วงชีวิต ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ให้เข้าถึงการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ทุกที่ทุกเวลา ในต้นทุนที่เข้าถึงได้

(4) ส่งเสริมสนับสนุนระบบการพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะ รวมถึงทักษะในการ ถ่ายทอดความรู้ของคณาจารย์ให้ทันความเปลี่ยนแปลง

(5) ส่งเสริมการจัดการศึกษาร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงสถาบันวิชาการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่ เชื่อมต่อกับโลกการทํางาน รวมทั้งพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการให้กับผู้เรียน

(6) สนับสนุนเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ําให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

(7) สนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

2. สป.อว. ได้เสนอข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาต่อคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และ

มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการประสาน สป.อว. ให้พิจารณานําเสนอต่อ กกอ. ต่อไป

3. สป.อว. ได้เสนอข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาต่อคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา (กกอ.) ในการประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 โดยที่ประชุมมีมติ เห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และขอให้คณะอนุกรรมการด้านนโยบาย และแผนนําข้อเสนอจากที่ประชุมไปประกอบการศึกษารายละเอียดให้ครอบคลุมเรื่องการบริหารกองทุนฯ

4. คณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการ โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้

(1) ในมาตรา 50/1 ควรเพิ่มเรื่องการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการ อุดมศึกษา ตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562

(2) ในมาตรา 50/2 (6/1) ที่กําหนดให้เงินสมทบกองทุนที่สถาบันอุดมศึกษานําส่ง กองทุนมีจํานวนไม่เกินร้อยละห้าของเงินรายได้สถาบันอุดมศึกษาที่ไม่ต้องนําส่งคลัง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา นั้น ซึ่งที่ประชุมเห็นควรยึดหลักการและวัตถุประสงค์ของ กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งหมายรวมถึง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ดังนั้น จึงไม่ควรมีหลักเกณฑ์บังคับการสมทบเงินจากสถาบันอุดมศึกษา เข้ากองทุนเพื่อประกอบการพิจารณาการใช้สิทธิของสถาบันอุดมศึกษาจากกองทุนดังกล่าว

(3) เพื่อให้การพัฒนาการอุดมศึกษามีเอกภาพ และสามารถขับเคลื่อนการอุดมศึกษา ให้บรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุนดังกล่าว ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้ปรับองค์ประกอบของคณะ กรรมการบริหารกองทุน โดยเสนอให้ประธานกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานกรรมการบริหารกองทุน

5. สป.อว. ร่วมกับ สอวช. ได้จัดทําร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และเสนอให้คณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิพิจารณากฎหมายลูกบทภายใต้กฎหมายจัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ พิจารณาเรียบร้อยแล้ว (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 4.3)

เรื่องเดิม

โดยที่ พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 19 กําหนดว่า เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ การจัดซื้อจัด จ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐประกาศกําหนด โดยสภานโยบายอาจขอให้คณะกรรมการนโยบายการ จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจั ดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ หรือขอให้ตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

เพื่อแก้ไขข้อจํากัด สร้างระบบที่คล่องตัวและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้างกับการ จัดหาพัสดุของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จึงมีมติเห็นชอบให้ แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีขึ้นเพื่อทําหน้าที่พัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัย พัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งมี ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็น ประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และด้านวิจัยพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษา และ สถาบันวิจัยของรัฐ รวมถึงกรมบัญชีกลาง เป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการด้วย โดยประธานสภานโยบายการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ลงนามในคําสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การดําเนินการ

1. คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้าง นวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ได้มีการประชุม 7 ครั้ง เพื่อพิจารณาหลักการ แนวทางการ พัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา และเพื่อการให้บริการวิชาการของ สถาบันอุดมศึกษา และหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษา โดยสภานโยบายมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อ จัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 แล้วและฝ่ายเลขานุการฯ ได้นําส่งร่างประกาศให้ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ของกรมบัญชีกลาง

2. คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้าง นวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีได้มีการประชุม 3 ครั้ง เพื่อจัดทําหลักการ แนวทางและ หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษา (รายละเอียดการประชุมปรากฏตามเอกสารประกอบระเบียบวาระที่ 4.4)

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อทราบ

การดําเนินการ

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งมี รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นฝ่าย เลขานุการร่วม ได้มีการประชุมตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 แล้ว จํานวน 14 ครั้ง มีความก้าวหน้าในการดําเนินงานสรุปได้ดังนี้

1. แก้ไขข้อจํากัดการจัดซื้อจัดจ้างสําหรับงานวิจัยและนวัตกรรม

สาระสําคัญ

การดําเนินการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วจําเป็นต้องมีกลไก การบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว โดยเฉพาะกระบวนการจัดหาพัสดุเกี่ยวกับการวิจัยและ พัฒนา การบริการวิชาการ และการสร้างนวัตกรรมซึ่งโดยธรรมชาติมีความเสี่ยงสูงในเรื่อง ของความสําเร็จของงานวิจัย และมีความยุ่งยาก และซับซ้อนในการจัดหามากกว่าการจัดหา พัสดุปกติ อันเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดความล่าช้าและส่งผลต่อการส่งมอบผลงานวิจัย

พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา19 กําหนดว่า สภานโยบายอาจขอให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หรือ ขอให้ตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

สถานภาพปัจจุบัน

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้เสนอให้สภานโยบายแต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนา และออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยมีศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธาน

คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างฯได้มีการประชุมจํานวน6ครั้ง โดยได้จัดทําร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการ ของสถาบันอุดมศึกษา เสนอต่อสภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 2/2563 (วันที่ 17 กันยายน 2563) เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณาต่อไป

สภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การ จัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา และมอบหมายสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ส่งร่างประกาศดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการ บริหารพัสดุภาครัฐพิจารณา และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างฯได้มีการประชุมเพื่อจัดทําร่าง ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์ การจ้างที่ปรึกษา เพื่อเสนอต่อสภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564

การดําเนินงานขั้นต่อไป

เรื่องอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของกรมบัญชีกลาง ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการของ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

2. การส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรม โดยกลไก Holding Company

สาระสําคัญ

การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมและกฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ให้อํานาจสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนผู้ประกอบการนําความรู้ ผลงานวิจัยและ นวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ และให้อํานาจหน่วยงานรัฐในการร่วมลงทุนกับ เอกชนเพื่อส่งเสริมการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการร่วมลงทุนระหว่าง มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยและภาคเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company เป็น รูปแบบหนึ่งที่สามารถผลักดันให้งานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง

สถานภาพปัจจุบัน

สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบ หลักการส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company ตามที่ สอวช. เสนอ และให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริม ระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ เพื่อดําเนินการกําหนด แนวทาง กลไก มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้สามารถดําเนินงานส่งเสริมระบบนิเวศ นวัตกรรม ได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมถึง
กําหนดแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมต่อไป

คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมและการพัฒนาปรับปรุง กฎหมาย กฎและระเบียบ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีมติเห็นชอบนโยบายส่งเสริม University Holding Company และมอบหมายให้ฝ่าย เลขานุการฯ พิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปปรับปรุงและ ดําเนินการจัดทํา Guideline เพื่อเป็นแนวทางการดําเนินการจัดตั้ง University Holding Company จัดทํารายละเอียดข้อเสนอให้มหาวิทยาลัยสามารถนําเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยไปร่วมลงทุนใน ธุรกิจนวัตกรรมได้ และประสานมหาวิทยาลัยในการปรับปรุงกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อ การลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม

การดําเนินงานขั้นต่อไป

สอวช. ดําเนินการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการตามนโยบายส่งเสริม University Holding Company

3. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….

สาระสําคัญ

แนวคิดของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กําหนดให้ผู้รับทุนวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและ นวัตกรรมที่เกิดจากการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนของรัฐได้ ทําให้เกิดความ คล่องตัวในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้รับทุนไปยังภาคเอกชนซึ่งจะเป็นผู้นําผลงานวิจัยและ นวัตกรรมนั้นไปผลิตเป็นสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้โดยไม่ติดกับระเบียบหรือกฎหมายของ หน่วยบริหารและจัดการทุนของรัฐ (ผู้ให้ทุน) นอกจากนี้ ยังได้กําหนดกลไกในการสร้างแรงจูงใจ ให้แก่นักวิจัยในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดย นักวิจัยจะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมนั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิง พาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณและคุณภาพทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ

สถานภาพปัจจุบัน

กระทรวง อว. โดย สอวช. ได้เสนอร่างต่อคณะรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยคณะรัฐมนตรีมีมติ ส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้ง ประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

การดําเนินงานขั้นต่อไป

คณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ในคณะกรรมาธิการ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทําและดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา ได้เชิญ สอวช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อตอบประเด็นซักถามและนําเสนอรายละเอียด เพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลอนุมัติเห็นชอบในหลักการ ก่อนนําเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาต่อไป

4. การขับเคลื่อน Regulatory Sandbox เพื่อสร้างนวัตกรรม

สาระสําคัญ

หลักการการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ (Sandbox) ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตราที่ 14 และ 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประโยชน์ในการดําเนินการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ที่มีความสําคัญยิ่งต่อการพัฒนา ประเทศหรือเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ในการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทาง ที่มีความสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยให้สภานโยบายมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดําเนิน การวิจัยนั้น และให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายได้รับสิทธิประโยชน์และการยกเว้นมิให้นํากฎหมายมาบังคับใช้

สถานภาพปัจจุบัน

สอวช. ได้จัดทํารายงานการศึกษาหลักการการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการสร้าง นวัตกรรม โดยรวบรวมปัญหาและอุปสรรค วิเคราะห์ประเด็นกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความต้องการในการแก้ไขประเด็นกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว การจัดลําดับ ความสําคัญหัวข้อที่ควรได้รับการผ่อนปรนกฎหมายและมาตรการ และจัดกลุ่มประเด็นกฎหมายและระเบียบที่ต้องการแก้ไข เพื่อจัดทําแผนดําเนินการสําหรับมาตรการและแนวทางการดําเนินการ ขับเคลื่อน Regulatory Sandbox

การดําเนินงานขั้นต่อไป
สอวช. จะเสนอต่อสภานโยบายให้พิจารณามอบหมายคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ขับเคลื่อนการดําเนินงาน Regulatory Sandbox เพื่อสร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน ของการดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ ที่มีหน้าที่และอํานาจเกี่ยวข้องกับ กฎหมายและระเบียบในเรื่องนั้น ๆ

5. การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา

สาระสําคัญ

การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความ เป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของ ประเทศ สนับสนุนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนา (Transformation) เชิงระบบและ ธรรมาภิบาลของการอุดมศึกษา เพื่อตอบสนองตามความต้องการและครอบคลุมคนทุกกลุ่มให้ สามารถเข้าถึงการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพในต้นทุนที่สามารถเข้าถึงได้ รวมถึง สนับสนุนเงินกู้ยืม ดอกเบี้ยต่ําให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

สถานภาพปัจจุบัน

สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และ สอวช. ได้จัดทําข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เสนอต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) โดยที่ประชุม กกอ. มีมติเห็นชอบหลักการการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 โดยขณะนี้ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสร็จสมบูรณ์แล้ว

การดําเนินงานขั้นต่อไป

เสนอข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนฯและร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ต่อสภานโยบายเพื่อพิจารณาให้ ความเห็นชอบในหลักการ และเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป

สป.อว.เสนอการจัดตั้งกองทุนต่อคณะกรรมการนโยบายทุนหมุนเวียนเพื่อขออนุมัติจัดตั้ง กองทุน และยุบรวมกองทุนอุดมศึกษาเอกชน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว. อว.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (รมว. กค.) ร่วมกันเสนอข้อเสนอจัดตั้งกองทุนต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบใน หลักการของร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ และส่งให้สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติต่อไป

6. ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สาระสําคัญ

มาตรา37แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กําหนดเมื่อครบสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ตามมาตรา 41 ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่และอํานาจของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการตามมาตรา 8 (4) และในกรณีที่เห็นว่า ผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจําเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีอํานาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งสํานักงานการวิจัย แห่งชาติเป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน โดยเสนอพร้อมร่างพระราช กฤษฎีกาด้วย และเมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับให้มาตรา 8 (4) และมาตรา 13 เป็นอันยกเลิก โดยหลักเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ กําหนด

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ อว. แต่งตั้ง คณะกรรมการกํากับประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัย แห่งชาติ (วช.) โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ทําหน้าที่ เสนอแนะการกําหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติ ราชการ เสนอแนะการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ รวมถึงการพัฒนาหรือ ปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารของ วช. ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ

สถานภาพปัจจุบัน

คณะกรรมการกํากับประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ได้มีการประชุมแล้ว 3 ครั้ง โดยพิจารณากรอบการประเมิน ประเด็นการประเมิน และกลไกและขั้นตอนการประเมิน โดยใช้หลักการประเมินเพื่อการพัฒนา (Development Evaluation) และให้มีการประเมินโดย เทียบเคียงผลการปฏิบัติงาน (Benchmarking) กับหน่วยงานบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) อื่น ๆ และเห็นชอบต่อ (ร่าง) หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมิน ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรียบร้อยแล้ว

การดําเนินงานขั้นต่อไป

คณะกรรมการกํากับประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ดําเนินการ ประเมินการปฏิบัติราชการของ วช. ตามหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดที่พัฒนาและได้รับความเห็นชอบ (ร่วมกับ วช. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) ต่อไป และเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้าง และกลไกการบริหารของ วช. เพื่อสนับสนุนระบบ อววน. ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ กํากับการประเมินฯ จะนําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อน การปฏิรูประบบ อววน. เพื่อทราบความก้าวหน้าและให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ต่อการประเมินฯ ต่อไป

7. ข้อเสนอการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สาระสําคัญ

คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้าน ววน. ได้เสนอ ผลการดําเนินงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ โดยได้รับข้อเสนอแนะ ดังนี้ การคํานวณกรอบวงเงินงบประมาณใหม่ควรพิจารณาบริบทภาพรวม และกรอบวงเงิน งบประมาณของทั้งประเทศสําหรับการเสนอกรอบวงเงินต่อสํานักงบประมาณควรมีรายละเอียด เพียงพอที่จะชี้แจงได้ว่าผลที่จะได้รับจากการลงทุนคืออะไร เพื่อให้สามารถจัดลําดับความสําคัญ ร่วมกับกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศได้ โดยมุ่งเน้นการทํางานร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และประสานงานกับสํานักงบประมาณเพื่อให้กรอบวงเงินงบประมาณที่กําหนดมีความ เหมาะสม และเป็นส่วนหนึ่งของกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี

สถานภาพปัจจุบัน

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯในการประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 พิจารณาแนวทางการจัดทํากรอบวงเงินด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม และมีมติให้มอบหมายฝ่ายเลขานุการรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ ประชุมเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา
และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สอวช.ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) จัดทําการศึกษาแนว ทางการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนําเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน.

การดําเนินงานขั้นต่อไป

สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามแนวทางและ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ต่อไป

8. การวางระบบเชื่อมโยงข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สาระสําคัญ

การจัดทําฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 กําหนดว่า กระทรวงมีหน้าที่จัดทํา ฐานข้อมูลการอุดมศึกษาของประเทศ โดยรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลที่ เกี่ยวกับการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการ ดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 42 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่สภานโยบายกําหนดการเปิดเผยข้อมูลตามความในส่วนนี้ย่อมได้รับความคุ้มครองและ จะนําไปเป็นเหตุในการฟ้องร้องดําเนินคดีใด ๆ มิได้

การจัดทําฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กําหนดว่า ให้สํานักงานการวิจัยแห่งชาติจัดทําฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของประเทศเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานการวิจัยแห่งชาติจัดให้ มีระบบข้อมูลสารสนเทศกลางเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติ และนานาชาติกับระบบสารสนเทศของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม และให้มีอํานาจ เข้าถึงฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงานดังกล่าวทุกหน่วยงาน ให้ หน่วยงานของรัฐในระบบวิจัยและนวัตกรรมทุกหน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและ นวัตกรรมตามมาตรา 22 และมาตรา 23 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนกับระบบข้อมูลสารสนเทศกลางที่สํานักงานการวิจัยแห่งชาติจัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานการวิจัย แห่งชาติเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรานี้ กับ ระบบข้อมูลสารสนเทศของ สอวช. และ สกสว. โดยให้ สอวช. และ สกสว. มีอํานาจนําข้อมูล ดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้

สถานภาพปัจจุบัน

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 พิจารณาและเห็นชอบกรอบสถาปัตยกรรมข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)

การดําเนินงานขั้นต่อไป

สอวช. ไปประสาน สป.อว. ให้จัดทําระบบข้อมูลการอุดมศึกษา และ กสว. ให้จัดทําระบบข้อมูล ววน. ตามกรอบสถาปัตยกรรมดังกล่าว เพื่อให้เกิดการบูรณาการและการเชื่อมโยงระหว่างระบบ ข้อมูลดังกล่าว และรายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานต่อสภานโยบาย

9. ข้อเสนอเชิงนโยบายการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SBIR: Small Business Innovation Research และ STTR: Small Business Technology Transfer Research

สาระสําคัญ

โปรแกรมการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SBIR/STTR) มีหลักการ สําคัญในการสนับสนุนเงินทุนให้เปล่าแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยตรงเพื่อ ทํา โครงการวิจัยและนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของภาครัฐและสังคม โดยมีกระบวนการและ ขั้นตอนการสนับสนุนงบประมาณที่มีมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการ เช่น การกําหนดโจทย์วิจัยและ นวัตกรรมที่มาจากความต้องการของหน่วยงาน การมีผู้เชี่ยวชาญประเมินการให้ทุน 3 ระยะ และ มีกลไกการรับซื้อผลงานวิจัยและนวัตกรรมเมื่อสําเร็จ นอกจากนี้ ในกรณีของ STTR ได้กําหนดให้ มีการดําเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย โดยโปรแกรม SBIR และ STTR มุ่งหวังให้ เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ และออกสู่ตลาดได้จริง ก่อให้เกิดการจ้างงานระบบวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้น

สถานภาพปัจจุบัน

สอวช. ได้จัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เสนอ ต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ สอวช. โดยที่ประชุมมีมติ เห็นชอบในหลักการ และเสนอต่ออนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรม ภายใต้สํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบใน หลักการและได้จัดทําร่าง (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการสนับสนุนทุนสําหรับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม ตามความต้องการ ของภาครัฐหรือตามอุปสงค์ของตลาด พ.ศ. …. แล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเสนอลงนาม การดําเนินงานขั้นต่อไป

สอวช. ร่วมกับ สกสว. และหน่วยบริหารและจัดการทุน ผลักดันการให้ทุนตามหลักการเพื่อพัฒนา เป็นโปรแกรมการให้ทุนสนับสนุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเกิดการขับเคลื่อนการ ดําเนินงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

10. การตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ

สาระสําคัญ

มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กําหนดให้ดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตาม กฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ให้มาตรา 8 (3) และมาตรา 12 เป็นอันยกเลิก

สถานภาพปัจจุบัน

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2562 วันที่ 9 ธันวาคม 2562 มีมติรับทราบกลไกการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสําหรับ นวัตกรรม (NQI for Innovation) ของกรมวิทยาศาสตร์บริการโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ จัดทํา (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ พ.ศ. …. เพื่อการบริหารจัดการ องค์การให้มีประสิทธิภาพ พ.ศ. …. และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ พ.ศ. … . จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน ผ่านทางเว็บไซต์ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2563 เพื่อประมวล ความเห็นประกอบการเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ พ.ศ. …. เพื่อ ตราเป็นกฎหมายต่อไป

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 พิจารณาเรื่อง การปรับบทบาทของกรมวิทยาศาสตร์บริการเพื่อรองรับการเป็น องค์การมหาชนในอนาคต และมีมติให้กรมวิทยาศาสตร์บริการหารือกับ
สํานักงาน ก.พ.ร. ถึง แนวทางและความเป็นไปได้ที่เหมาะสมในการใช้พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
สถาบันวิทยาศาสตร์บริการ ต่อไป

การดําเนินงานขั้นต่อไป

กรมวิทยาศาสตร์บริการดําเนินการปรับแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันวิทยาศาสตร์ บริการ พ.ศ. …. เพื่อเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ พิจารณาต่อไป

11. การจัดตั้งสํานักงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม

สาระสําคัญ

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้มีมติเห็นชอบหลักการจัดตั้งหน่วยบริหารและ จัดการทุน และให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จํานวน 3 หน่วย ในลักษณะ Sandbox ภายใต้สํานักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ทั้งนี้ ได้มอบหมาย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดําเนินการ จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้แล้วเสร็จ และรายงานความก้าวหน้าต่อสภานโยบาย และตาม ข้อบังคับ กอวช. ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. 2562 กําหนดให้การดําเนินการของ หน่วยบริหารและจัดการทุนเป็นลักษณะชั่วคราว โดยจะต้องศึกษาหาแนวทางในการปรับระบบ การให้ทุนให้เหมาะสมต่อไปในอนาคต ซึ่ง สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของสภานโยบาย และ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดําเนินการศึกษารูปแบบของหน่วยบริหารและจัดการทุนที่เหมาะสม และนําเสนอข้อเสนอการ จัดตั้งสํานักงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม พร้อมกรอบการประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนภายใต้ สอวช. โดยให้ใช้กรอบการประเมินเดียวกับที่ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม เสนอต่อ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการ ประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 25 มกราคม 2564

สถานภาพปัจจุบัน

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 25 มกราคม 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน ออกจาก สอวช. โดยยึดหลักการความรับผิดชอบ (Accountability) และความเป็นอิสระในการบริหาร จัดการ (Autonomy) ทั้งนี้ มอบฝ่ายเลขานุการรับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของที่ประชุมไป ดําเนินการศึกษาและปรับปรุงข้อเสนอฯ ต่อไป

การดําเนินงานขั้นต่อไป

สอวช. ดําเนินการปรับปรุงข้อเสนอการจัดตั้งสํานักงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสนอ กอวช. และสภานโยบายต่อไป

เรื่องเดิม

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการประชุม เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบ นิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ เสนอชื่อกรรมการสภานโยบาย ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 2 ท่าน ให้ประธานสภานโยบายพิจารณาแต่งตั้ง และให้ความเห็นชอบบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เพื่อเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องในฐานะกรรมการ จํานวน 11 ท่าน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ ได้ เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ได้แก่ นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ และนายกานต์ ตระกูลฮุน

ต่อมา สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ใน ฐานะเลขานุการสภานโยบาย ได้จัดทําคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศ นวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ และได้เสนอประธานสภานโยบายลงนามคําสั่ง เรียบร้อยแล้ว

การดําเนินงาน

คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้

1. การดําเนินงานของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ มีหลักการและกลไกการดําเนินงาน ดังนี้

  • ดําเนินการตามภารกิจพิเศษเฉพาะเรื่องที่สภานโยบายมอบหมาย
  • เสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมฯต่อสภานโยบาย
  • มอบหมายนโยบายแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการขับเคลื่อน
  • แต่งตั้งคณะทํางานและที่ปรึกษาเพื่อเสนอและศึกษาประเด็นตามที่คณะกรรมการฯมอบหมาย

2. กรอบการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม(InnovationEcosystem) ของประเทศปี 2570

สาระสําคัญ
การขับเคลื่อนประเทศด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในมิติ เศรษฐกิจนวัตกรรมให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ในการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการทําวิจัยและพัฒนา (Gross expenditures on R&D: GERD) เป็น ร้อยละ 2 ต่อ GDP มีบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น จํานวน 1,000 ราย (ที่มียอดขาย 1,000 ล้านบาท) และมีบริษัทสัญชาติไทยอย่างน้อย 5 บริษัท ติดอันดับใน Fortune Global 500 Biggest Company ได้นั้น จําเป็นต้องมีการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ให้เข้มแข็ง

สอวช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ จึงได้จัดทํากรอบการพัฒนาระบบ นิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ของประเทศปี 2570 ขึ้น โดยกําหนดเป้าหมายในการเพิ่มจํานวน ธุรกิจฐานนวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศที่มียอดขาย 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 1,000 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) และได้เสนอมาตรการส่งเสริมการสร้าง IDE 4 ด้าน ดังนี้

1) IDE Accelerators โดยการส่งเสริม University Holding Companies และอุทยาน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อให้เป็น
กลไกสําคัญในการเพิ่มจํานวนผู้ประกอบการนวัตกรรม

2) Regional Innovation Economic Corridors เป็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและส่งเสริมสินค้าและบริการนวัตกรรมตามแนวระเบียบเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ EEC (EECi, EECA, EECd, EECmd, EEC genomic) และ Route No. 1 Innovation Economic Corridor รวมถึงเขตเศรษฐกิจนวัตกรรมสุขภาพ

3) ผลักดัน Strategic Sectors อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

4) Enabling Environment อาทิ การสร้างตลาดสินค้านวัตกรรม การสนับสนุนทางการเงิน เช่น มาตรการสนับสนุนทุนสําหรับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการ ของภาครัฐหรือความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดขนาดใหญ่ (Thailand Business Innovation Research, TBIR /Thailand Tech-Transfer Research, TTTR) กฎหมาย เช่น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ และโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant)

การดําเนินงานต่อไป
สอวช. ดําเนินการศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นสําคัญ เพื่อออกแบบรายละเอียดของมาตรการ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มจํานวนและกระบวนการสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม

3. นโยบายส่งเสริม University Holding Company

สาระสําคัญ

การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมและกฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ให้อํานาจสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนผู้ประกอบการนําความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ สถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ และให้อํานาจหน่วยงานรัฐในการร่วมลงทุนกับเอกชนเพื่อส่งเสริมการนํา ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการร่วมลงทุนระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยและภาคเอกชนใน ธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถผลักดันให้งานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่ การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง

สถานภาพปัจจุบัน

สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบ หลักการส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company ตามที่ สอวช. เสนอ และให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุง กฎหมาย กฎและระเบียบ เพื่อดําเนินการกําหนดแนวทาง กลไก มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้สามารถ ดําเนินงานส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม ได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมถึงกําหนดแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมต่อไป

คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุง กฎหมาย กฎและระเบียบ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีมติเห็นชอบ นโยบายส่งเสริม University Holding Company และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณานําข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปปรับปรุงและดําเนินการจัดทํา Guideline เพื่อเป็นแนวทางการดําเนินการจัดตั้ง UniversityHoldingCompany จัดทํารายละเอียดข้อเสนอให้มหาวิทยาลัยสามารถนําเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยไป ร่วมลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมได้ และประสานมหาวิทยาลัยในการปรับปรุงกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อการ ลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม

การดําเนินงานต่อไป

สอวช. ดําเนินการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการตามนโยบายส่งเสริม University Holding Company