ตามนัยการพลิกโฉมอุดมศึกษา ของสป.อว. ที่มีเป้าหมายสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่
- การส่งเสริมให้เกิดระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- การสร้างความเท่าเทียมของโอกาสทางการศึกษา
- Science Enculturation
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้ออกแบบแนวทางเชิงมาตรการในการกำกับทิศทางการพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษารองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ขณะเดียวกันเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
เริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนิเวศวิทยาของพื้นที่ให้รองรับการใช้งานตามแผนพัฒนาความเป็นเลิศของวิทยาลัย นอกจากนี้หากพิจารณาจากอัตราส่วนงบประมาณที่จัดสรรจากเงินรายได้ของวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 5 เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญในเชิงบริหารเท่ากัน ทั้งในมิติงบประมาณ จำนวนกลยุทธ์และจำนวนโครงการหลัก ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 2-3-4 เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในระดับรอง ทั้งนี้อัตราส่วนงบประมาณในแต่ละยุทธศาสตร์จะเป็นสัดส่วนผกผันกับรายได้ของวิทยาลัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของวิทยาลัย เนื่องจากวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชน ที่ไม่เคยได้รับงบประมาณหรือรับการช่วยเหลือทางการเงินเฉกเช่นมหาวิททยาลัยในสังกัดรัฐ แต่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในรูปแบบโครงการ/กิจกรรมตามเป้าประสงค์เฉพาะของ สป.อว.
ดังนั้นการดำเนินงานธุริจการศึกษาของวิทยาลัยจึงถูกกำหนด Fixed Cost ไว้ในช่วงระหว่าง 10-22 ล้านบาทต่อปีการศึกษา โดยกระจายตามสัดส่วนที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแท้จริงเป็นสำคัญ ดังนั้นยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 5 ที่มีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักประกอบด้วย นักศึกษาและอาจารย์ ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 2-3-4 กิจกรรมภายใต้โครงการหลักต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ทั้ง 3 นี้วิทยาลัยต้องจ่ายออกโดยไม่มีรายรับ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยแก่บุคลากร การบริการวิชาการแบบให้เปล่าแก่สังคม และการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย อย่างไรก็ตามนโยบายการบริหารจัดการภายใน เซาธ์อีสท์บางกอกเน้นการบริหารจัดการแบบรวมการควบคุมกระจายการปฏิบัติ และกำหนดให้คณะดำเนินงานแบบ Business Unit ดังนั้นจึงมอบหมายให้มีคณะสำคัญในการรับผิดชอบ สร้างกลไกการขับเคลื่อนตามแผนกลยุทธ์ของสถาบัน
โครงการสร้างความเป็นเลิศแบบเน้นปัญหาเป็นฐาน (Problem-based) ส่วนความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์และเทคโนโลยี มีคณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบินและคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเป็นแกนหลักในการสร้างกลไกการขับเคลื่อน เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มบุคคลวัยทำงาน วัยสูงอายุ หรืออื่นๆ เซาธ์อีสท์บางกอก ได้ออกแบบผลิตสร้างหลักสูตร Non-degree ในหลากหลายหลักสูตร แต่เพื่อคุณภาพจึงมีการกำหนดสัดส่วนการผลิตไว้รายปีตามอัตรา/สัดส่วนและกลไกตลาดที่เกี่ยวข้อง ปีการศึกษา 2565 กำหนดฐานการผลิตตั้งต้นไว้ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการผลิตในอนาคตได้ ในปีการศึกษา 2565 เซาธ์อีสท์บางกอก มุ่งผลิตสร้างบุคลากรมืออาชีพสู่ตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้การบริหารจัดการของ 5 คณะวิชา 17 หลักสูตร ซึ่งจะมีทั้งที่ได้รับปริญญาและที่เป็นกลุ่ม Non-degree ทั้งนี้จากฐานการผลิตพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้เรียน ให้ความสนใจหลักสูตรกลุ่ม Non-degree ของคณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบินสูงที่สุด ในส่วนการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและการทดสอบคุณวุฒิวิชาชีพ รองลงมาคือ ในการอบรมเกี่ยวกับธุรกิจและการประกอบการยุคดิจิทัล โดยคณะบัญชีและวิทยาการจัดการ
ผลผลิตของโครงการหลักสูตร Non degree เพื่อ up-skill re-skill และการบริการวิชาการของสถาบัน เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มบุคคลวัยทำงาน วัยสูงอายุ หรืออื่นๆ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ได้ออกแบบผลิตสร้างหลักสูตร Non-degree ในหลากหลายหลักสูตร โดยมีการเพิ่มการสอนแบบ Active learning ได้ตามแผนคือร้อยละ 80 และเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือที่เป็นส่วนงานภาครัฐเพิ่มขึ้น รวมถึงสร้างแบรนด์ของสถาบันในส่วนมาตรฐานวิชาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับทางโลจิสติกส์และเทคโนโลยี ตามเป้าหมายการผลิตของสถาบัน