มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ดำเนินการพัฒนาโครงการเพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้ดำเนินการกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ มากมาย
- การสร้าง Quantum Bit (Qubit) ในเพชร
Qubit ถือเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ควอนตัม ในการเก็บและประมวลข้อมูลให้ทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน Nitrogen-Vacancy (NV) Centers เป็นจุดกำเนิดแสงระดับอะตอมในเพชรที่นำมาใช้เป็นหน่วยประมวลผลทางควอนตัม (คิวบิต) ได้ ซึ่งระบบควอนตัมนี้นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และใช้งานได้ที่อุณหภูมิห้องประสิทธิภาพของ NV Centers ที่อยู่ใกล้พื้นผิวของเพชรปรับปรุงเพิ่มได้โดยกระบวนการ Surface Processing ซึ่ง NV Centers เหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเซนเซอร์ทางควอนตัมเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิและสนามแม่เหล็กในระดับนาโนเมตรได้
2. สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กแบบโซล่าร์ออฟกริด
เป็นสถานีต้นแบบที่ออกแบบและติดตั้งไว้ให้บริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก รถกอล์ฟไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า เป็นต้น จุดเด่นของสถานีชาร์จนี้ คือ เป็นสถานีชาร์จแบบโซล่าร์ออฟกริด ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด และการออกแบบรูปลักษณ์ สถานีขนาดเล็กเหมาะกับพื้นที่จำกัด จึงสามารถติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในสถานที่ทุรกันดารหรือมีระยะทางห่างไกลที่ระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง โดยมีหลักการทำงาน คือ การใช้พลังไฟฟ้ามาจากเซลล์แสงอาทิตย์ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานขั้นสูงออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานกำลังการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ที่ 4 กิโลวัตต์ ผลิตพลังงานได้ประมาณ 16 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อวัน หรือสามารถนำไปชาร์จรถกอล์ฟ หรือรถจักรยานยนต์ ไฟฟ้ารวมกันได้ 8-10 คันต่อวัน สำหรับระบบกักเก็บพลังงานมีขนาดความจุ 5 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง สามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประมาณ 25% ไปใช้ในเวลากลางคืนหรือช่วงที่มีแสงแดดน้อยยังสร้างความเสถียรในการชาร์จไฟฟ้าได้
3. วิศวกรรมถนนอย่างยั่งยืน
การพัฒนาถนนที่มีความคงทนแข็งแรง มีสมรรถนะและอายุการใช้งานสูง ด้วยต้นทุนบำรุงรักษาที่ต่ำ การพัฒนาผิวทางให้มีความคงทนแข็งแรงและอายุการใช้งานที่นาน และการประยุกต์ใช้วัสดุเหลือทิ้งและกากอุตสาหกรรม เช่น เศษแอสฟัลต์คอนกรีต เศษคอนกรีต และเศษแก้ว เป็นต้น เป็นวัสดุโครงสร้างทางแบบ โดยผลงานดังกล่าวช่วยลดการใช้ทรัพยากรโดยการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้งานและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้ง และช่วยลดงบประมาณของด้านคมนาคม
4. หอกลั่นเอทานอลประสิทธิภาพสูง
หอกลั่นเอทานอลขนาดเล็กที่ทำการกลั่นเอทานอลแบบต่อเนื่องให้มีความเข้มข้นสูงสุดที่พึงจะกลั่นแยกได้ มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับหอกลั่นเอทานอลซึ่งมีอยู่แล้วในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีจำนวนของชั้นกลั่นมากกว่า 75 ชั้น โดยใช้หลักการในการปั่นผสมไอของเอทานอลให้เกิดการควบแน่นที่เหมาะสม อีกทั้งยังควบคุมอุณหภูมิไอของเอทานอล ณ จุดที่ออกจากหอกลั่น ซึ่งหอกลั่นนี้นำไปพัฒนาต่อให้เป็นการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ โดยมีจุดเด่นคือ ค่าก่อสร้างที่ต่ำแต่มีประสิทธิภาพการแยกที่สูง และใช้พลังงานในการกลั่นต่ำ นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาหอกลั่นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อในงานวิจัยที่เกี่ยวกับสารบิวทิลแล็คเตตเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพสำหรับการทำปฏิกิรินาเอสเทอธิฟิเคชัน โดยใช้กลั่นเพื่อให้ได้บิวทิลแล็คเตต และกลั่นแยกบิวทานอลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการได้ รวมถึงได้ติดตั้งหอกลั่นประสิทธิภาพสูงนี้ สำหรับระบบสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรไทยด้วยสารละลายเอทานอล ซึ่งหอกลั่นดังกล่าวยังผลิตเอทานอลที่นำไปประยุกต์ใช้ในการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรไทยตลอดจนทำบริสุทธิ์สารให้อยู่ในระบบ Active Pharmaceutical
5. โคเนื้อพันธุ์โคราชวากิว
การปรับปรุงสายพันธุ์ โดยเริ่มจากการผลิตโควากิวลูกผสม และปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อของไทย ให้มีเนื้อนุ่มและไขมันแทรกสูง โดยการนำน้ำเชื้อโคพันธุ์วากิวมาผสมเทียมให้กับแม่โคในเมืองไทย ทำให้ได้ลูกโคที่มีไขมันแทรกในเนื้อโคเกรด 6-4 ซึ่งสูงกว่าเนื้อโคพันธุ์อื่น ๆ ที่ผลิตได้ในประเทศไทย โดยผลงานดังกล่าวช่วยลดการนำเข้าเนื้อโคที่มีความนุ่มและไขมันแทรกสูงเพิ่มการส่งออกไปขายต่างประเทศ และมีโอกาสขยายตลาดไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน