ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การพัฒนาด้านวิจัยทางการแพทย์

สถาบันพระบรมราชชนก
1 กรกฎาคม 2567

การพัฒนาด้านวิจัยทางการแพทย์

          สถาบันพระบรมราชชนกได้ดำเนินการพัฒนาโครงการเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้ดำเนินการกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น
  1. การถอดบทเรียนการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินโรคโควิด-19 ในจังหวัดต่างๆของประเทศไทย
          การจัดการความรู้เรื่องการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินรายประเด็น จากการถอดบทเรียน best practice ของหน่วยงานระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาชุดความรู้การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขฯ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติการของหน่วยงานในระดับจังหวัด

2. ประกาศนียบัตรนักบริบาลผู้สูงอายุชุมชน

          วิทยาลัยดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรนักบริบาลผู้สูงอายุชุมชนเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในสังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้ขออนุมัติการเทียบโอนกับหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชม.กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพื่อให้ผู้อบรมสามารถเป็นผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้พึงพิงได้ตาม พรบ. กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่ม non-degree ประกอบด้วยผู้ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ม. 3 ขึ้นไป และผู้สูงอายุที่ต้องการประกอบอาชีพ จำนวน 40 คน อบรมภาคทฤษฎี 150 ชม. และภาคปฏิบัติ 450 ชม. โดยได้งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยผลลัพธ์ของโครงนี้ ได้แก่ การผลิตผู้สำเร็จการอบรมที่ผ่านการประเมินความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ จำนวน 43 คน ทำให้ผู้ผ่านการอบรมมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการยกระดับรายได้และฐานะของครอบครัว นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนภาครัฐได้บุคลากรที่มีสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพิ่มขึ้น

3. การจัดการและการถ่ายทอดความรู้การเพิ่มมูลค่าไข่และผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อรองรับภาวะขาดแคลนไอโอดีนและภาวะปัญญาอ่อน จากการขาดสารไอโอดีนในเด็ก

         การถ่ายทอดความรู้ด้านการเพิ่มมูลค่าไข่และผลิตภัณฑออาหารเพื่อรองรับภาวะขาดแคลไอโอดีนและภาวะปัญญาอ่อนจากการขาดสารไอโอดีนในเด็กและพัฒนาศูนย์วิจัยชุมชนด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การเกษตรในการเพิ่มมูลค่าไข่และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อรองรับภาวะขาดแคลนไอโอดีนและภาวะปัญญาอ่อนจากการขาดสารไอโอดีนในเด็กวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่าการถ่ายทอดองค์ความรู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เกษตรเสริมไอโอดีนผู้ประกอบการในพื้นที่มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑได้รับการเพิ่มมูลค่าทางโภชนาการ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม มีคุณภาพชีวิตที่ดี และผลลัพธ์ของการวิจัยส่งผลให้ชุมชนเกิดการพึ่งพาตนเองทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เกษตรเสริมไอโอดีนผู้ประกอบการในพื้นที่มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ได้รับการเพิ่มมูลค่าทางโภชนาการ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม มีคุณภาพชีวิตที่ดี และผลลัพธ์ของการวิจัยส่งผลให้ชุมชนเกิดการพึ่งพาตนเองทางสังคมและเศรษฐกิจ