ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากทางวัฒนธรรมผู้ไทเรณูนคร

มหาวิทยาลัยนครพนม
24 มิถุนายน 2567

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากทางวัฒนธรรมผู้ไทเรณูนคร

การศึกษานี้ มุ่งยกระดับทุนวัฒนธรรมเรณูไทสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัย ดังนี้

  1. ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครพนม รับฟังความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สร้างความร่วมมือ พัฒนาระบบกลไกล ประชุมวางแผนการทำงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานท้องถิ่นในพ่ื้นที่เทศบาลตำบลเรณูนคร สภาวัฒนธรรมอำเภอเรณูนคร พัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม  และค้นหาคัดเลือกนวัตกรทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นใหม่ คนคืนถิ่น คนในชุมชน จากความร่วมมือของเทศบาลตำบลเรณูนคร ในการประสานกับคนในพื้นที่เพื่อหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. จัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเรณูนคร ควบคู่กับการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรมที่หลากหลายรูปแบบและหลากหลายช่องทางเข้าถึงข้อมูล
  3. สร้างตัวแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกร ผ่านการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ทางวัฒนธรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • สร้างพื้นที่เรียนรู้ (learning space) ร่วมกันของแต่ละผลิตภัณฑ์
    • สร้างเป้าหมายการเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกัน
    • สร้างวิทยากรกระบวนการที่สามารถถ่ายทอดความรู้วัฒนธรรมเรณูผู้ไทจากปราชญ์ท้องถิ่น โดยจัดการอบรมให้ความรู้แก่คนคืนถิ่น/คนรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม
    • จัดเวทีการจัดการความรู้ร่วมกัน และร่วมวิเคราะห์แนวทาง การเพิ่มโอกาส ช่องทางการจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อมโยงออกไปสู่ภายนอกชุมชน
    • ค้นหาอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วม นำไปสู่แนวทางการสื่อสารและสืบสานวัฒนธรรมผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยพิจารณาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ของวัฒนธรรม วัตถุดิบ กำลังการผลิต ความเชี่ยวชาญ การตลาด การผลิต สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการทางวัฒนธรรม          
    • ประเมินผล/จัดลำดับความสำคัญการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  4.  พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทางวัฒนธรรม ร่วมกับผู้ประกอบการวัฒนธรรม/ชุมชนผู้ไทเรณูนคร/ภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม/หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงการทดสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้ากับผลิตภัณฑ์ในระดับห้องทดลอง/พัฒนามาตรฐานสินค้าวัฒนธรรม
  5. สร้างเวทีเสวนาเรียนรู้และถ่ายทอดรากเหง้าทางวัฒนธรรมผู้ไทเรณูนครโดยปราชญ์ท้องถิ่นสู่คนรุ่นใหม่       
  6. พัฒนาช่องทางการตลาดดิจิทัล/ การจัดกิจกรรมทดสอบการขายผลิตภัณฑ์ใหม่ทางวัฒนธรรมเรณูผู้ไท
  7. การกำกับติดตาม และการประเมินผลกระทบการวิเคราะห์ SROI ระหว่างการดำเนินกิจกรรมในโครงการ
  8. กระบวนการติดตามโครงการ
          โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือของประชาคมวัฒนธรรมผู้ไทเรณูนคร พัฒนาผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมผู้ไทเรณูนคร สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม รวมถึงวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าทางวัฒนธรรม รายได้ และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมผู้ไทเรณูนคร เพื่อเสริมพลังการเกาะเกี่ยวทางสังคมระหว่างคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่และสำนึกท้องถิ่นบนฐานทุนทางวัฒนธรรมผู้ไทเรณูนครต่อไป