สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในการยกระดับพื้นที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ (Maejo Agriculture Innovation District)
เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมภาคการเกษตรที่ส่งผลกระทบสูงระดับประเทศ ทำให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องและการเพิ่มขีดความสามารถ ใช้การตลาดนำและเชื่อมโยงเกษตรและอาหาร ที่จะช่วยกระจายองค์ความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนากลไกให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ พร้อมทั้งยกระดับกิจกรรมทางนวัตกรรมการเกษตรและอาหารของไทยให้สามารถเติบโตได้เทียบเท่าระดับสากล ซึ่งมีกิจกรรมการดำเนินงานมีดังนี้
- การศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ศักยภาพและปัญหาของสินทรัพย์ทางนวัตกรรม อันประกอบไปด้วย สินทรัพย์เชิงกายภาพ สินทรัพย์เชิงเศรษฐกิจ และสินทรัพย์เชิงเครือข่าย
- การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาย่านฯ
- การส่งเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายด้านนวัตกรรมการเกษตร ผ่านการจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอด และตอยอดผลงานวิจัยทดลองใช้ร่วมกับนักวิจัย เกษตรกร หรือผู้ประกอบการในพื้นที่ย่านนวัตกรรมฯ (Connect the dots)
- การเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการเกษตรและอาหารระหว่างหน่วยงานในพื้นที่เพื่อการถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย
- การพัฒนาแนวทางการยกระดับกระบวนการผลิตด้านการเกษตรและอาหารในพื้นที่ย่านนวัตกรรมฯ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนา Business Model Canvas และ Business Model ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อนำไปเป็นแผนในการพัฒนาระบบการเข้าใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานภายในย่านนวัตกรรมฯ ต่อไปในอนาคต
- การศึกษาศักยภาพและออกแบบพื้นที่นำร่องภายในพื้นที่ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้
ผลลัพธ์ของโครงการนี้ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงความร่วมมือของเครือข่ายภาคธุรกิจการเกษตรและอาหารที่มีการแมชชิ่งระหว่างผู้ประกอบการ นวัตกร และวิสาหกิจชุมชนทั้ง 19 แห่งในพื้นที่ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ ซึ่งมีการร่วมสรรค์สร้างพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากวัตถุดิบท้องถิ่น วางขายใน Market place การสร้างแพลตฟอร์มพัฒนาธุรกิจ และสร้างนวัตกรรมตลาดสินค้าเพื่อชุมชน
นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการภายในย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สามารถแก้ปัญหาภาคเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาด รวมทั้งได้รับการส่งเสริมปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐาน เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แหล่งน้ำ และเงินทุน และมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับกลุ่มเกษตรกรสูงวัย นำไปสู่การผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (Superior MJU: Sandbox and Spin-off) เกิดการก่อตั้ง Club MJU Spinoff เพื่อเป็นกลไกเพื่อสร้างนิเวศนวัตกรรมขับเคลื่อนและหนุนเสริมย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ พร้อมกันนี้ยังช่วยขยายแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่รองรับการเติบโตของกลุ่มคลัสเตอร์ (Cluster) หลักภายในย่านฯ ได้แก่
- กลุ่มการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ ภายในพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริและเกษตรล้านนา พื้นที่ BCG Agri-Circular Economy พื้นที่ความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) และพื้นที่สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้
- กลุ่มต้นแบบธุรกิจด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากการสกัดสารสำคัญจากหม่อนและไหม
- กลุ่ม wellness community พื้นที่สวนสาธารณะที่เน้นการผลิตอาหารและเสริมสร้างสุขภาพระดับย่าน