ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งที่ 1/2562

17:30 น.
2 กันยายน 2562
ณ ห้องประชุม The Lawn อาคารเกษรทาวเวอร์ ชั้น 19 กรุงเทพฯ
วันที่ : 2 กันยายน 2562
เวลา : 17:30 น.
ณ ห้องประชุม The Lawn อาคารเกษรทาวเวอร์ ชั้น 19 กรุงเทพฯ
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งที่ 1/2562

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ที่เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งแจ้งให้ที่ประชุมทราบคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 208/2562 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติม คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ โดยคณะกรรมการฯ มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้

1. จัดทําแนวทางการพัฒนาระบบ กลไก การบูรณาการการทํางานและวิธีการ ปฏิบัติราชการ การจัดโครงสร้างและอัตรากําลังของหน่วยงานในบังคับบัญชาและในกํากับดูแลของรัฐมนตรีให้ แล้วเสร็จภายในสามปี เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

2. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ อว. พ.ศ. 2562

3. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความเห็นหรือส่งเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา

4. ดําเนินการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมาย

การประชุมในวันนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (รมว.อว.) ได้เข้าร่วมประชุม โดย รมว.อว. ได้มอบแนวนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) และร่วมเสวนาเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน.

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อเสวนา

กรรมการและเลขานุการ (นายกิติพงค์ พร้อมวงค์) รายงานให้ที่ประชุมทราบว่าการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. นับเป็น
ภารกิจสําคัญของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นการเตรียมคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และการนําองค์ความรู้และนวัตกรรมไปพัฒนาประเทศ ซึ่งนําไปสู่การปฏิรูป
3 ด้าน

1) การปฏิรูปการบริหารภาครัฐ (Administrative Reform) เพื่อจัดให้มีองค์กรในรูปแบบที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. มีการบริหารงานที่คล่องตัว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีการบูรณาการการทํางานในด้านวิจัยร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

2) การปฏิรูประบบงบประมาณ (Budgeting Reform) เพื่อให้การจัดสรร งบประมาณสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน อววน. ของประเทศ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนา งานวิจัยและนวัตกรรมให้ดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านกองทุนที่มีการจัดสรรงบประมาณ ในลักษณะเป็นก้อนใหญ่ (Block Grant) และต่อเนื่อง (Multi-year)

3) การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบ (Regulatory Reform) เพื่ออํานวยความสะดวกลดปัญหาและอุปสรรค และสามารถขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อการนําไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ ชุมชนได้อย่างคล่องตัว และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ
ในภาพรวม

การดําเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. ในระยะที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการฯ ชุดเดิมซง่ึ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็นประธานกรรมการ ได้มีการจัดตั้งคณะทํางานย่อย 3 คณะ ดังนี้

คณะทํางานที่ 1: คณะทํางานกํากับการจัดโครงสร้างและอัตรากําลังของ หน่วยงานในสังกัด อว. มีความก้าวหน้าการดําเนินงาน ดังนี้

– จัดทําโครงสร้างและอัตรากําลังของหน่วยงานภายใต้ อว.ประกอบด้วย สํานักงานปลัดกระทรวงฯ (รวมสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ.) สํานักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และ สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)

คณะทํางานที่ 2: คณะทํางานกํากับการเตรียมการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความก้าวหน้าการดําเนินงาน ดังนี้

– ให้มีการออกแบบตราสัญลักษณ์

– ชื่อกระทรวง ชื่อย่อ อว. และ ชื่อภาษาอังกฤษ Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (MHESI)

– สถานที่ตั้งกระทรวง ในระยะแรกให้ใช้สถานที่เดิมที่มีอยู่ ได้แก่ อาคารพระจอมเกล้าและอาคารอุดมศึกษา

คณะทํางานที่ 3: คณะทํางานพัฒนาระบบและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความก้าวหน้าการดําเนินงาน ดังนี้

–  จัดทํากรอบแนวคิดในการจัดทํากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน.

1) การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม แบ่งหน่วยงานออกเป็น 5 ประเภท ประกอบด้วย (1) หน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (2) หน่วยงานด้านการให้ทุน (3) หน่วยงานที่ทําวิจัยและสร้างนวัตกรรม (4) หน่วยงาน ด้านมาตรวิทยา มาตรฐาน การทดสอบและบริการคุณภาพวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (5) หน่วยงาน ด้านการจัดการความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากงานดังกล่าว ทั้งนี้ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้ร่วมดําเนินการจัดทําร่างประกาศ สภานโยบาย เรื่องการจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….

สภานโยบายฯ มีมติเห็นชอบร่างประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. โดยขอให้ คํานึงถึงความยืดหยุ่น เพื่อสามารถบริหารจัดการได้ ทั้งนี้ หากมีการปรับปรุงรายชื่อหน่วยงานในระบบวิจัย และนวัตกรรม มอบหมายให้ สอวช. ดําเนินการเสนอรองประธานสภานโยบายคนที่สอง (รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) เพื่อเสนอประธานสภานโยบายพิจารณาลงนาม ต่อไป และรายงานให้สภานโยบายฯ ทราบในการประชุมครั้งต่อไป

2) โครงการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุน 3 ด้าน ได้แก่

  1. โครงการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนพัฒนากําลังคนตามความต้องการของ ประเทศ
  2. โครงการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  3. โครงการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนพัฒนา Innovation Collaboration Platform ระดับพื้นที่

ทั้งนี้ ในการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนจะมีแนวทางที่สําคัญ คือ (1) เป็นโครงการจัดตั้ง ไม่เป็นนิติบุคคล (2) มีคณะกรรมการบริหารที่เป็น Autonomous (3) มีผู้อํานวยการ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหาร (4) สอวช. ทําหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคล ไม่เข้าไปแทรกแซงการทํางาน และ (5) บุคลากรอาศัยการยืมตัวมาปฏิบัติงาน และการโอนย้าย

สภานโยบายฯ มีมติเห็นชอบหลักการและให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุน เฉพาะด้าน จํานวน 3 หน่วย ในลักษณะ Sandbox โดยมี สอวช. เป็นร่มนิติบุคคล และมอบหมาย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. ดําเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้แล้วเสร็จ และ รายงานความก้าวหน้าต่อสภานโยบายฯ

3) การจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบ Platform โดย สอวช. ร่วมกับ สกสว. ยกร่างนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2563 – 2570 ประกอบด้วย 4 แพลตฟอร์ม และ 16 โปรแกรมสําคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ อววน.

แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากําลังคนและสถาบันความรู้
แพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม แพลตฟอร์มที่ 3 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน แพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ

ทั้งนี้ โปรแกรมที่ 16 การปฏิรูประบบ อววน. (Reinventing Universities System & Research System) เป็นประเด็นคาบเกี่ยว (Cross Cutting) ของทั้งสี่แพลตฟอร์ม

สอวช. และ สกสว. ได้ร่วมกันจัดทําข้อเสนอกรอบวงเงินงบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่สอดคล้องกับนโยบาย และยุทธศาสตร์ อววน. ซึ่งมีระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามกรอบวงเงิน รวมทั้งสิ้น 37,000 ล้านบาท และในระยะเปลี่ยนผ่าน ได้กําหนดสัดส่วนงบประมาณสําหรับ โครงการ Flagship และโครงการที่เป็นคําของบประมาณเดิมไว้ที่ร้อยละ 30:70

สภานโยบายฯ มีมติเห็นชอบร่างนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2563 – 2570 และร่างกรอบแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565 รวมถึงเห็นชอบกรอบวงเงิน งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวมทั้งสิ้น 37,000 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตาม กรอบวงเงินดังกล่าว

ข้อคิดเห็นของที่ประชุม

– ไม่ควรใช้เวลาในการวางแผนมากเกินไปควรเร่งดําเนินการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

– ระยะที่ผ่านมา อว. ได้ดําเนินการทั้งการวางแผนเชิงระบบและดําเนินการ เชิงปฏิบัติควบคู่กัน และที่เร่งดําเนินการมากที่สุดคือเรื่องการจัดทํางบประมาณ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และวางแผนดําเนินการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แล้ว

– ควรให้คณะกรรมการฯทราบหน้าที่และสิ่งที่ต้องการปฏิรูปเพื่อที่จะสามารถ ให้แนวทางได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ประธานให้ความเห็นว่า สิ่งที่คณะกรรมการชุดนี้ต้องดําเนินการ คือ การขับเคลื่อนสิ่งที่ได้วางแผนไว้ให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของที่ประชุม ไปดําเนินการต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) กล่าวถึงภารกิจสําคัญของ อว. คือ สร้างคน สร้างความรู้ และสร้างนวัตกรรม ซึ่งต้องมี การขับเคลื่อนการปฏิรูป (Transform) และออกแบบระบบ (System) ใหม่ เพื่อที่จะดําเนินภารกิจให้สําเร็จ โดยนําปัญหาที่สําคัญในอดีตมาแก้ไข และต้องดําเนินการอย่างบูรณาการ อาทิ การทําวิจัยในอดีตที่เป็นแบบ ต่างคนต่างทํา ไม่เกิดผลกระทบในวงกว้าง จะต้องปรับเปลี่ยนมาดําเนินการแบบบูรณาการ และตอบโจทย์ เรื่องสําคัญ

หลักการสําคัญของการ Transform คือ 1) การบริหารจัดการแบบ Platform Management 2) ระบบงบประมาณแบบ Block Grant และ Multi-year 3) Stock and Flow ของ Talent และ 4) คิดให้อยู่บน Global Context

การพัฒนากําลังคน (Manpower) และการสร้างพลังของความรู้ (Brain Power) เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสําคัญมาก โดยการพัฒนากําลังคน (Manpower) ต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับ การพัฒนาความรู้และทักษะสําหรับบุคลากรวัยทํางาน (Re-skill/Up-skill) ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ การสร้างพลังของความรู้ (Brain Power) เป็นสิ่งที่จะทําให้ประเทศเปลี่ยนแปลง โดยเปลี่ยนจากความรู้ไปสู่ การสร้างนวัตกรรม ซึ่งมี 4 องค์ประกอบที่ต้องดําเนินการ คือ 1) ดึงดูดคนเก่ง (Pull Talent) เพื่อตอบโจทย์ 4 Platform 2) สร้าง Post- graduate และ Post-doc 3) ดึงดูดคนไทยระดับโลกให้กลับมาช่วยพัฒนา ประเทศ และ 4) ดึงดูดคนเก่งระดับโลกมาทํางานในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงระบบ อววน. (Reinventing) ต้องให้ความสําคัญต่อการดําเนินงานใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1) ปลดล็อกระบบมหาวิทยาลัยและพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัย
2) การแบ่งมหาวิทยาลัยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่ม Global Research University (2) กลุ่มที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม และ (3) กลุ่มที่ตอบโจทย์ การพัฒนาเชิงพื้นที่และชุมชน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องสร้างคนที่ต่างกัน เช่น มหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่อาจเน้นการสร้างกําลังคนระดับปริญญาตรีไม่ไดเ้น้นที่ระดับปริญญาโทและเอก
3) สัดส่วนงบประมาณ Flagship ในปีต่อ ๆ ไปจะต้องเพิ่มขึ้น โดยต้องมีระบบการบริหารจัดการโปรแกรม (Platform’s Program Management) ที่มี ประสิทธิภาพ มีการจัดลําดับความสําคัญ (Prioritize) และมุ่งเป้า (Focus) สิ่งที่ จะต้องดําเนินการ ซึ่งต้องไปออกแบบเชิงระบบ (System Design)

ข้อคิดเห็นของที่ประชุม

– การจัดสรรงบประมาณผ่านหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม ควรจัดสรร ตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สําคัญ (Objectives and Key Results: OKR)

– จากการแบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 3 กลุ่มนั้นควรให้มหาวิทยาลัยดําเนิน ภารกิจได้มากกว่า 1 ภารกิจ ไม่จําเป็นต้องทําได้แค่ภารกิจเดียว แต่ควรมีการระบุให้ชัดเจนว่าจะให้น้ําหนักกับแต่ละภารกิจมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การจัดสรรงบประมาณในแต่ละภารกิจที่มีสัดส่วน แตกต่างกันด้วย

– ควรพิจารณาเรื่องการบริหารจัดการภาพรวมของงานแบบ Portfolio Management ทั้งในเรื่องงานวิจัยและนวัตกรรม และในเรื่องการผลิตกําลังคน ในภาพรวมของงานจะมีงาน ในแต่ละส่วน เช่น ระหว่าง Frontier/ Technological Innovation/ Area-based & Inclusiveness หรือ ระหว่าง Top-down และ Bottom-up หรือ ระหว่าง Demand-driven และ Supply push จะวางน้ําหนัก ของงานแต่ละมิติอย่างไรให้เหมาะสมต่อไป

– เมื่อพิจารณาจัดPortfolio ของงานได้อย่างชัดเจนแล้วก็จะสามารถกําหนดวิธีการจัดสรรทรัพยากรไปยังหน่วยงานผู้ดําเนินการ เช่น หากเป็นส่วนที่เป็น Demand-driven จากภาคอุตสาหกรรมอาจควรใช้กลไก Fund Matching ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้มั่นใจว่าเป็น Demand ที่แท้จริง เช่น การจัดสรรงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมไปให้มหาวิทยาลัยกลุ่มที่ตอบโจทย์ ภาคอุตสาหกรรม โดยต้องมีงบประมาณจากภาคอุตสาหกรรมมาร่วมสนับสนุนด้วย ซึ่งจะทําให้ได้งานวิจัย ที่เป็น Demand Side มากขึ้น

– การผลิตและพัฒนาบุคลากรควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างความร่วมมือ (Collaborative) ระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น โดยภาคอุตสาหกรรมต้องสามารถ เข้าถึงมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะแจ้งความต้องการและร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนได้ ซึ่งควรจัดให้มีศูนย์กลาง ในการติดต่อประสานงานแบบครบวงจร (Single Point Contact) เพื่อให้เกิดการผลิตและพัฒนากําลังคน ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม (Demand-driven)

– ในขณะเดียวกันควรพิจารณาถึงการพัฒนากําลังคนเพื่ออนาคตใหม่ ๆ ของประเทศ ที่อาจเปลี่ยนไปจากปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นคนละส่วนกับความต้องการกําลังคนแบบ Demand-driven ที่อาจ สะท้อนเฉพาะความต้องการจากอุตสาหกรรมในปัจจุบันเท่านั้น การคิดถึงการพัฒนากําลังคนแบบ Supply เพื่อสร้าง Demand ใหม่ (Revisioning Supply) เพื่อการตอบสนองต่อการสร้างอนาคตใหม่ อุตสาหกรรมใหม่ จึงอาจเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและพัฒนากําลังคน

-ควรจัดทําแผนที่นําทาง(ExecutionRoadmap)เพื่อให้มทีิศทางการดําเนินงาน ที่ชัดเจนและเร่งให้มีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล
อย่างเป็นรูปธรรม

– การจัดทําระบบงบประมาณจะต้องคงหลักการสําคัญที่เป็นจุดเริ่มต้น ของการปฏิรูป (Reform Spirit) ซึ่งหมายถึง การจัดทํางบประมาณแบบต่อเนื่อง (Block Grant/Multi-year) ได้สําเร็จ จะต้องมีระเบียบการใช้เงินของกองทุนที่มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล

– ควรมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของหน่วยงานให้ทุน โดยจัดทําเป็นระบบเดียวของประเทศ เพื่อให้สามารถบริหาร งานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการติดตามประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– ควรมีช่องทางการสื่อสารเกี่ยวกับระบบการขอทุนวิจัยและนวัตกรรมที่ให้ข้อมูลถูกต้อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเข้าใจตรงกันในวงกว้าง ไม่ให้เกิดความสับสนแก่หน่วยงานในระบบวิจัย และนวัตกรรม

– ควรระบุอุตสาหกรรมเป้าหมาย(KeySectors)ให้ชัดเจนว่าอุตสาหกรรม เป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศคืออะไร ซึ่งอาจจะเลือกอุตสาหกรรมหรือภาคส่วนที่สําคัญจริง ๆ ซึ่งอาจ เริ่มจากเพียงไม่กี่อุตสาหกรรม เช่น การมุ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ BCG Model (Bio-Circular-Green)และนํากลไกการสนับสนุนระบบ อววน. เดิมมาพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่จําเป็นต้องสร้างกลไกใหม่ ทั้งหมด

– ควรมีการศึกษาในเชิงลึกของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เลือกแล้ว (System Research) เพื่อให้เข้าใจอุตสาหกรรมนั้น จนสามารถจัดลําดับความสําคัญของเรื่องย่อย (Priority Area) ภายใน Sector ที่เลือกมาแล้วให้ชัดเจน ว่าเรื่องใดสําคัญมาก เรื่องใดสําคัญน้อยกว่า ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทุ่มเท งบประมาณสนับสนุนการวิจัย สร้างนวัตกรรมและสร้างความเข้มแข็งของประเทศในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างมี ทิศทาง เกิดประสิทธิผล

– ควรออกแบบระบบนิเวศ(Ecosystem)ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและ นวัตกรรมอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่ (Value Chain) เพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายของประเทศ

– กลไกที่จะใช้ในการบริหารงบประมาณ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ต้องเริ่มมีความชัดเจน เพื่อให้มีทิศทางในการวางระบบไปสู่การของบประมาณที่ตอบโจทย์ 4 platform อย่างเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2565 โดยงบประมาณจะต้องนําไปใช้ในเรื่องสําคัญที่สามารถตอบโจทย์ใหญ่ของประเทศได้ และเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ภายใน 3 – 5 ปี อาทิ แก้ปัญหาเรื่องที่เป็นปัญหาคอขวด (Bottleneck) ซึ่งจะทําให้ง่ายต่อการของบประมาณ

– ควรให้มหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการกําหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ ที่สําคัญ (Objectives and Key Results: OKR) เพื่อที่จะรับรู้และมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของที่ประชุม ไปดําเนินการต่อไป

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)

ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการฯ เดือนละ 1 ครั้ง โดยกําหนด เป็นวันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน จัดประชุมที่ สอวช. ชั้น 14 อาคารจัตุรัสจามจุรี และแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า อาจมีการแต่งตั้งคณะทํางานหรือคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการฯ เพื่อให้มีการขับเคลื่อน การดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ