
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมครั้งที่ 5/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าระเบียบ วาระเพื่อพิจารณาเรื่องการจัดทําฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จําเป็นจะต้องมีการพิจารณาในเชิงระบบ ความถูกต้องและทันสมัยของข้อมูล และการนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดําเนินการให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงตนก่อนการประชุมเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่า ได้เข้าประชุมจริง
มติที่ประชุม กรรมการที่เข้าร่วมประชุมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และรับทราบระเบียบวาระ การประชุม
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 4/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการ ประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไมม่ ีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 3.1 การจัดทำข้อมูลด้านอุดมศึกษา
ผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) นําเสนอความก้าวหน้าในการดําเนินงาน ดังนี้
๑) การแต่งตั้งคณะกรรมการ/ อนุกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําฐานข้อมูล
1.1 คณะกรรมการฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม แต่งตั้งโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
1.2 คณะกรรมการนโยบายด้านผังโครงสร้างข้อมูลและแนวทางการเชื่อมโยง ข้อมูลด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพ่ือการดําเนินการแบบบูรณาการ แต่งตั้งโดยสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
1.3 คณะอนุกรรมการด้านระบบการบริหารจัดการข้อมูลและฐานข้อมูลด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) แต่งตั้งโดย สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) การอุดมศึกษา (กกอ.)
1.4 คณะอนุกรรมการด้านฐานข้อมูลอุดมศึกษาแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ
วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
๒) การดําเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
๒.๑ การพัฒนา Data Platform ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ กําหนดให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและให้ หน่วยงานของรัฐจัดทําข้อมูลและบริหารข้อมูลแบบดิจิทัล รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (Open Government Data) เพื่อการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ซึ่ง สป.อว. ได้รับความร่วมมือจาก
สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Government Big Data Institute: GBDi) เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนา Data Platform ของ อว. เพื่อการเปิดเผยและเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ ซึ่ง สามารถเข้าถึงได้ที่ http://data.mhesi.go.th:5000
๒.๒ (ร่าง) แผนการดําเนินการจัดทําฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูล มาตรฐานการอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕)
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กําหนดให้ความสําเร็จ ในการจัดทําฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษาและฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดร่วมระหว่าง สป.อว. และสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อใช้ประเมินส่วน ราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมี
เงื่อนไขดังนี้
– ส่วนราชการจัดส่งแผนการดําเนินการจัดทําฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ระยะ ๓ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕) ที่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐมนตรีแล้ว
– การบูรณาการและการเชื่อมโยงข้อมูลต้องบูรณาการและเชื่อมโยงกับทั้งหน่วนงานภายในกระทรวงและหน่วยงานภายนอกกระทรวง ตามที่กฎหมายกําหนด เช่น หน่วยบริหารและ จัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (Program Management Unit: PMU) สถาบันอุดมศึกษา กระทรวงแรงงาน เป็นต้น
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. โครงสร้าง (Architecture) ของระบบฐานข้อมูล
๑.๑ โครงสร้างของระบบฐานข้อมูลทั้งด้านการอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ควรต้องมีความเชื่อมโยงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หากแยกออกเป็น ๒ ด้านและนํารวมกัน ภายหลังอาจทําให้เชื่อมโยงได้ยาก
๑.๒ ควรมีการรวบรวมฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Database) ที่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จัดทํา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านนักวิจัย ผลงานวิจัย และระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยและพัฒนา ให้เป็น “ศูนย์สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ เชิงกลยุทธ์ (Intelligent Unit)” และควรทําความเข้าใจกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมกันออกแบบการนําเข้าข้อมูลและกําหนดโครงสร้างฐานข้อมูล (Database Architecture)
๒. เรื่องอื่นๆ
ผู้แทน ก.พ.ร. แจ้งว่าได้อนุมัติโครงสร้างกระทรวง อว. แล้ว เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓ โดย วช. และ สป.อว. มีโครงสร้างหน่วยงานที่ดําเนินการด้านข้อมูลและจะต้องเชื่อมโยงกับ ตัวชี้วัด (KPI) ในปี 2563-2565 โดยในระยะเริ่มต้นควรต้องมีการทบทวนภาพเป้าหมายที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและปรับให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานได้จริง
๓. การจัดทําข้อมูลฐานข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมลู
๓.๑ ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษายังมีลักษณะ Supply push ซึ่งหากพิจารณา เป้าหมายของการปฏิรูปและเพื่อสร้าง Accountability ควรมีข้อมูลลักษณะ Demand pull ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลการมีงานทําของบัณฑิต อัตราค่าจ้างบัณฑิตของแต่ละคณะ ต่อคน และต่อปี ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนโดย เฉลี่ย และความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต โดยประสานไปยังสํานักงานประกันสังคม กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ อาจตั้งคณะทํางาน (working group) ร่วมกับสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การ มหาชน) (Digital Government Development Agency : DGA) หรือ สํารวจข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ไดข้้อมูลที่มีรายละเอียดในเชิงลึก
๓.๒ การจัดทําข้อมูลที่ดีควรคํานึงถึง Feedback Loop เพื่อให้เกิดการพัฒนาโดยกลไกในการสร้าง Feedback Loop เช่น สมัชชา (Assembly) ตัวอย่างสมัชชาที่ประสบความสําเร็จใน การจัดเก็บและจัดทําฐานข้อมูล เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น และควรใช้ระบบ Data Analytic (AI และ IoT) ในการวิเคราะห์ข้อมูลและมีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๓.๓ เมื่อสามารถพัฒนาฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว จะเกิดประโยชน์ต่อ การนําไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบนโยบาย เช่น การออกแบบหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงาน และการจัดทําหลักสูตร Re-skill, Up-skill เป็นต้น
๓.๔ ตัวอย่างการนําฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ในต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกามีการพัฒนานําข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัยมาประมวลและพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยใน การตัดสินใจให้แก่นักเรียนในการเลือกเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา เช่น เครื่องมือผ่านรูปแบบ Website (User-Interface) ที่มีรายชื่อของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ตรงตามความต้องการและความพร้อมของนักเรียนแต่ ละคน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพด้านการอุดมศึกษาได้อีกด้วย
๓.๕ ควรให้ข้อมูลสามารถไหลเข้ามาได้เองโดยอัตโนมัติ (Automatic Flow) โดย ไม่จําเป็นต้องให้คนส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยและถูกต้อง
๓.๖ ควรนําระบบเชื่อมโยงข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์และทําให้การดําเนินงาน ไม่ล่าช้า เช่น Application Programming Interface (API) หรือ Gateway เป็นต้น
๓.๗ ควรพิจารณากําหนดหลักเกณฑ์ในการเชื่อมโยงข้อมูลให้ชัดเจน โดยคํานึงถึง Platform ที่จะใช้และแผนการดําเนินงาน
๔. การจัดทํา (ร่าง) แผนการดําเนินงานจัดทําฐานข้อมูลฯ
๔.๑ ควรมีการเชื่อมโยงและทําความเข้าใจระหว่างผู้เชื่อมโยงข้อมูลและผู้ใช้งานจริง (Real users) โดยกําหนดเป้าหมายให้ช้ดเจนและระบุลงในแผนการดําเนินงาน รวมถึงการกําหนดเกณฑ์ ต่างๆ ให้มีความสอดคล้องด้วย
๔.๒ ควรจัดให้มีคู่มือ (Guideline) สําหรับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อ เป็นแนวทางในการจัดเก็บข้อมูล และควรชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของข้อมูลด้านการอุดมศึกษา และการ เชื่อมโยงกับตัวชี้วัด (KPI) เช่น การมีงานทําของบัณฑิตหรือนักศึกษา ซึ่งสะท้อนต่อคุณภาพการศึกษาและมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณของแต่ละแห่งด้วย
๔.๓ การพัฒนาฐานข้อมูลทั้งด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้มีการเริ่มดําเนินการไปแล้วโดยคณะกรรมการหลายชุด ทั้งนี้ หากมีการตัดสินใจให้รวม ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษาและ ววน. เป็นฐานเดียวกันจะส่งผลต่อคณะกรรมการชุดต่างๆ และโครงสร้าง หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มต้นให้กําหนดการทํางานให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ผ่านคณะกรรมการ ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)
๔.๔ ควรปรับแผนให้ตอบโจทย์การประเมิน การวางแผน การจัดสรรงบประมาณ
มติที่ประชุม มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อ การดําเนินงานในการจัดทําฐานข้อมูลด้าน อววน. ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3.2 การจัดทำข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้นําเสนอภาพรวมระบบสารสนเทศการ วิจัยและนวัตกรรมกลางของประเทศ และผู้แทนสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นําเสนอรายละเอียด การดําเนินงานดังกล่าว ดังนี้
๑) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ กําหนดให้ วช. มีหน้าที่และอํานาจจัดทําฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อมาเป็นการทํางานร่วมกันระหว่าง วช. สอวช. และ สกสว. คณะกรรมการนโยบายด้าน ผังโครงสร้างข้อมูลและแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีมติเห็นชอบให้จัดทําระบบNational Research and Innovation Information System (NRIIS) ขึ้น เพื่อบริหารภาพรวมของการวิจัย และนวัตกรรม โครงการวิจัย นักวิจัย แผนงานวิจัย และโครงสร้างพื้นฐานของระบบวิจัย เพื่อเป็นระบบกลาง ของประเทศ โดย วช. เป็นผู้ดูแลระบบ
๒) ระบบ NRIIS พัฒนาขึ้นโดยปรับโครงสร้างและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ บริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System หรือ NRMS) ที่พัฒนาร่วมกับ เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) และระบบ TIRAs (Thailand Intelligent Research Administration System) ที่พัฒนาโดย สกสว. ให้เป็นระบบหลักที่มีเอกภาพ มีความปลอดภัย และให้สิทธิ การเข้าถึงระบบอย่างเหมาะสม ไม่สร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้งาน โดยระบบ NRIIS จะช่วยสนับสนุนการ วางแผนและตัดสินใจเชิงนโยบาย การจัดสรรงบประมาณ การบริหารจัดการโครงการ และการติดตาม ประเมินผล
๓) ระบบ NRIIS ประกอบด้วยระบบย่อย ๆ ดังนี้
- ระบบการจัดสรรงบประมาณ(BudgetAllocation)
- ระบบการรับข้อเสนอโครงการและการประเมินโครงการเบื้องต้น(Proposal Assessment)
- ระบบการบริหารจัดการและติดตามโครงการ (Ongoing and Monitoring)
- การประเมินโครงการที่ดําเนินการเสร็จสิ้น(ResearchEvaluation)
- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร(DecisionSupportSystem)
๔) แนวคิดในการพัฒนาระบบ NRIIS เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกระดับ และตอบวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องเป็นระบบที่ใช้งานง่าย โดยมีการไหลเข้าข้อมูลอัตโนมัติ อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลต้องเป็นข้อมูลชุดเดียวกันที่มีมาตรฐานและสามารถใช้ติดตามและตรวจสอบได้
๕) ระบบข้อมูล NRIIS มีคลังข้อมูล (Data Warehouse) ที่จัดเก็บข้อมูล โดยจะมี การเชื่อมโยงข้อมูลหรือการถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากภายในกระทรวงฯ และภายนอก กระทรวงฯ เพื่อนําไปสู่การวิเคราะห์ผล (Data Analytic) และคาดการณ์ (Predict) เรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) ข้อมูลการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคเอกชนต้องมีกลไกหรือ วิธีการเพื่อจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้ให้ถูกต้องและครบถ้วน
๒) ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในส่วนที่ได้รับการจัดสรร งบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีข้อมูลค่อนข้างครบถ้วน ทั้งนี้ข้อมูล ววน. ใน ส่วนอื่น ๆ ควรมีกลไกในการจัดเก็บข้อมูล โดยการสร้างแรงจูงใจในลักษณะ Positive Enforcement เช่น การใหส้ิทธิประโยชน์การจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ(GovernmentProcurement)
๓) ระบบสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ต้อง เป็นระบบที่สนับสนุนการติดตามและประเมินผลในลักษณะ PDCA ได้แก่ Plan Do Check และ Act โดยต้อง มีข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Double Loop Learning) ทั้งนี้อาจใช้ตัวอย่างโจทย์ อววน. ๑ – ๒ เรื่อง เป็นตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นข้อมูลที่ต้องใช้ รวมถึงการวิเคราะห์และการรายงานผล เพื่อให้ตอบโจทย์ อววน. ดังกล่าว
๔) ระบบข้อมูลสารสนเทศกลางควรให้เห็นภาพรวมด้าน อววน. ของประเทศ โดย การเชื่อมโยงข้อมูลด้านการอุดมศึกษา และข้อมูลด้าน ววน. ซึ่งข้อมูลและระบบข้อมูลควรเป็นมาตรฐาน เดียวกัน และต้องสร้างให้เกิดความไว้เน้ือเชื่อใจ (Trust) และสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพ่ือใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลร่วมกัน โดยมี Interface ระหว่างกัน ท้ังนี้ ในการจัดทํา user interface ต้อง ปรึกษา users ให้มากและจึงดําเนินการ
๕) ระบบNRIISควรมีการเชื่อมโยงและนําเข้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อให้มีการ ไหลข้อมูลเข้าระบบโดยอัตโนมัติ และมีการกรองข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลได้อย่างทันการณ์ (Real Time) ซึ่งในขณะนี้ วช. ได้ทดลองกลไกการวิเคราะห์ข้อมูล ๓ ส่วน คือ ๑) สรุปข้อมูลผลการวิจัยสั้นๆ ๒) ใช้ AI ในการกรองเพื่อระบุว่างานวิจัยน้ีมีระดับ TRL เท่าไร ๓) ทํางานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ โดยให้กรอบ แบบฟอร์มความต้องการใช้ข้อมูล
๖) ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ควรกําหนดให้มีการรายงานผล ที่เข้าใจง่าย เพ่ือเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ
๗) ควรวางโครงสร้างระบบข้อมูล อววน. ของประเทศ และพิจารณาว่ามีข้อมูล ครบถ้วนหรือไม่ รวมถึงควรกําหนดบทบาท หน้าที่ ของผู้รับผิดชอบข้อมูลในแต่ละส่วนให้ชัดเจน
มติที่ประชุม มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพ่ือ การดําเนินงานในการจัดทําฐานข้อมูลด้าน อววน. ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันท่ี ๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ห้องหว้ากอ ๑ และ ๒ และระบบออนไลน์