
รายงานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมครั้งที่ 3/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมแจ้งระเบียบวาระการประชุมให้ที่ประชุมทราบ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เม่ือวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงาน การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 การจัดทำฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา
คณะกรรมการฐานข้อมูลด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นําเสนอ แนวทางการจัดทําฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา ดังนี้
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดทําระบบสารสนเทศด้านการอุดมศึกษาที่รวบรวมข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลฝั่งอุปทาน (Supply Side) ที่ต้องเชื่อมโยงกับข้อมูลฝั่งอุปสงค์ (Demand Side) เพื่อให้ประโยชน์ในการใช้ข้อมูล โดยคํานึงถึงการคุ้มครองข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ด้วย สําหรับสถานภาพการจัดเก็บข้อมูลด้านการอุดมศึกษา สรุปประเด็นได้ ดังนี้
๑) ฐานข้อมูลในความรับผิดชอบของศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา ประกอบด้วย
๒.๑) ฐานข้อมูลรายบุคคลนักศึกษา
๒.๒) ฐานข้อมูลรายบุคคลบุคลากรอุดมศึกษา
๒.๓) ฐานข้อมูลผู้สําเร็จการศึกษา
๒.๔) ฐานข้อมูลภาวะการมีงานทําของบัณฑิต
๒.๕) ฐานข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา
๒) กลุ่มข้อมูลอุดมศึกษา ประกอบด้วย นักศึกษา บุคลากร สถาบันอุดมศึกษาทุนการศึกษาและทุนวิจัย หลักสูตร และงบประมาณ
๓) ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษาจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้มีมาตรฐานฐานข้อมูลกลาง และเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สาธารณชน ดังนี้
๓.๑) ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล
๓.๒) ระบบสารสนเทศการรับทราบหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
๓.๓) ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
๓.๔) ข้อมูลทุนการศึกษา/ทุนวิจัย
๓.๕) ข้อมูลนักกีฬา
๓.๖) ระบบงบประมาณ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ควรมีการออกแบบโครงสร้างระบบข้อมูล (Architecture) โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน การจัดการระบบข้อมูล เพื่อให้เป็นระบบสารสนเทศกลางด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อววน.) ของประเทศ และใช้ประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบเพื่อนําไปสู่การตัดสินใจ เชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ กําหนดให้กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีหน้าที่จัดทําฐานข้อมูลการอุดมศึกษาของประเทศ ทั้งนี้ ต้องมีการบูรณาการและเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศกลางด้าน อววน.
๓. ควรออกแบบระบบข้อมูลด้าน อววน. ให้มีกลไกการดําเนินการที่สอดคล้องกับ ระบบข้อมูล National Data Catalog กลางของประเทศ ซึ่งดําเนินการโดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และ บริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) ร่วมกับสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) โดยดําเนินการใน ๓ แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ ๑) Government Data Exchange ๒) Data Catalog และ ๓) Open Data platform ทั้งนี้ควรนําเสนอสภานโยบายให้เห็นภาพรวมระบบข้อมูลของประเทศ
๔. ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา ต้องกําหนดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจนในการได้มาซึ่ง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ครบถ้วนและครอบคลุม รวมถึงต้องใช้งานได้ง่าย (User Friendly) และมีการจัดหมวดหมู่อย่าง เป็นระบบ เพื่อนําไปสู่การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของสาธารณชน (Consumer Protection)
๕. การดําเนินการ Re-inventing University ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่สําคัญทั้งใน และต่างประเทศเพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ในลักษณะ Data Lake เช่น University Ranking Employability แล้ว
๖. การดําเนินการด้านการอุดมศึกษาต้องกําหนดเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะ ยาวที่เชื่อมโยงกับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ โดยการกําหนดข้อมูลควรระบุความต้องการ (Define Need) ข้อมูลและการนําไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Best Outcome)
๗. ข้อสังเกตในการจัดทําฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา คือ ควรพิจารณาข้อ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ และโครงสร้างระบบข้อมูลควรมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลของภาคเอกชนด้วย และควรพิจารณาจ้างหน่วยงานภายนอก (Outsource) บริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อให้มีการปรับปรุงข้อมูล (Update) ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลได้อย่างทันการณ์
๘. การพัฒนาระบบข้อมูลต้องทราบความต้องการข้อมูล (Data Requirement) และมี เครือข่ายข้อมูล (Data Network) รวมถึงต้องกําหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อให้มีข้อมูลที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ ควรดําเนินการพัฒนาระบบข้อมูลโดยคํานึงถึงต้นทุนในการลงทุนที่ไม่ควรสูงมาก ซึ่งอาจพิจารณาแนวทางอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ระบบ Application ของข้อมูล (Facebook Instagram) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
๙. การพัฒนาเครื่องมือในการค้นหาข้อมูล (Search Engine) ควรให้ผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมาร่วมกําหนดดัชนี (Index) หรือคําสําคัญ (Key Word) เพื่อให้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย
มติที่ประชุม มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมนําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา (สืบเนื่อง)
ระเบียบวาระที่ 4.1 การแต่งตั้งคณะคณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอที่ประชุมเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับประเมิน ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยกําหนดเมื่อครบสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามมาตรา ๔๑ ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ และอํานาจของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นส่วนราชการตามมาตรา ๘ (๔) และในกรณีที่เห็นว่า ผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจําเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีอํานาจเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งสํานักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การม หาชน โดยเสนอพร้อมร่างพระราชกฤษฎีกาด้วย และเมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ให้มาตรา ๘ (๔) และมาตรา ๑๓ เป็นอันยกเลิก โดยหลักเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไป ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกําหนด
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัย แห่งชาติ (วช.) โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอํานาจ ดังนี้
๑. ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ๒. ศาสตราจารย์พิเศษ ทศพร ศิริสัมพันธ์
๓. ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
๔. รองศาสตราจารย์ พีรเดช ทองอําไพ
๕. นายประสัณห์ เชื้อพานิช
๖. ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
๗. ผู้แทนสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
หน้าที่และอํานาจ
๑. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.
๒. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.
๓. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงสร้างและกลไกในการบริหารของ วช.
๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. องค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ของ วช. ควรมีผู้แทนจากภาคประชาสังคมและภาคเอกชนร่วมด้วย ทั้งนี้อาจเชิญผู้แทนจากภาคประชาสังคม และภาคเอกชนร่วมประชุมเป็นครั้งคราวเพื่อให้ความเห็น
๒. การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ควรดําเนินการให้ เร็วขึ้นก่อนครบ ๓ ปี เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปบรรลุผลได้อย่างรวดเร็ว
๓. คณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. จะทําหน้าที่กํากับดูแลการประเมิน โดยจัดให้มีการจ้างผู้ประเมินจากหน่วยงานภายนอก (Outsource) มาดําเนินการประเมินได้
มติที่ประชุม เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ และมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.2 การปรับบทบาทของกรมวิทยาศาสตร์บริการเพื่อรองรับการเป็นองค์การมหาชน ในอนาคต
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (อวศ.) นําเสนอต่อที่ประชุมเรื่อง การปรับบทบาทของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เพื่อรองรับการเป็นองค์การมหาชนในอนาคต ตามมาตรา ๓๘ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้ดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน ให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ให้มาตรา ๘ (๓) และมาตรา ๑๒ เป็นอันยกเลิก โดย วศ. ดําเนินการดังนี้
๑. การปรับบทบาทหน่วยงาน
๑.๑ ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติให้กรมวิทยาศาสตร์บริการทบทวนแนวคิดและภารกิจ เพื่อนําไปสู่การกําหนดบทบาทของ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ในการเป็นหน่วยงานกํากับดูแล (Regulator) และหน่วยงานในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure หรือ NQI)
๑.๒ ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ มีรองศาสตราจารย์ ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้ วศ. ไปดําเนินการเพื่อปรับโครงสร้างและบทบาทในการทําหน้าที่บูรณาการระบบ (System Integrator) โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศสําหรับงานนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานด้านต่างๆ โดยจะต้องมีการออกแบบกลไกการทํางานที่มีประสิทธิภาพ ตามความ เชี่ยวชาญ บทบาท หน้าที่และอํานาจ
๑.๓ รมว.อว. มีข้อสั่งการในการประชุมหารือข้อราชการของผู้บริหารหน่วยงาน ในสังกัด อว. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๓ มอบ วศ. เป็นเจ้าภาพหลักด้าน NQI ในการหารือ โจทย์การดําเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภายในและภายนอก อว. เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการให้อํานาจ (Empower) ภาคเอกชน เพื่อกําหนดแนวทางการดําเนินงาน NQI ในภาพรวม
๒. ระบบ NQI ของประเทศ มีสาระสําคัญ ดังนี้
๒.๑ NQI มีองค์ประกอบ ๕ ด้าน ประกอบด้วย มาตรวิทยา (Metrology) การกําหนดมาตรฐาน (Standardization) การกํากับดูแล (Market surveillance) การตรวจสอบและรับรอง (Conformity assessment) และการรับรองระบบงาน (Accreditation) ซึ่งปัจจุบันดําเนินการกระจัดกระจาย อยู่ในหลายหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน
๒.๒ หน่วยงานที่รับผิดชอบและดําเนินงานในระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไทยมีกระจัดกระจายอยู่ในหลายกระทรวง โดยหน่วยงานที่เป็นเสาหลักในด้านการมาตรฐาน คือ สํานักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ด้านการรับรองระบบงาน คือ สมอ., วศ. และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) ด้านมาตรวิทยา คือ มว. ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในเสาหลักจะเป็นตัวแทน ประเทศไทยในการทํางานและประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของน้ําหนักและ การวัดเพื่อนํามาใช้อ้างอิงในประเทศ มีหน่วยตรวจสอบและรับรองในประเทศที่ได้รับการรับรอง ตามมาตรฐานสากล อยู่ประมาณ ๘๐๐ กว่าหน่วยงาน และส่วนของการกํากับดูแลตลาดที่จะเป็นสนับสนุนให้เป็นไปตามกลไกของมาตรฐาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ ๔๑ หน่วยงาน
๒.๓ โมเดลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ (Quality Infrastructure)ที่ศึกษาโดยสถาบันมาตรวิทยา (มว.) โดยอ้างอิง UNIDO Quality Infrastructure of the Americas Strategic Roadmap พบว่า ประเทศไทยมีการดําเนินงานในทุกระดับ แต่ยังไม่มีความสมบูรณ์และครอบคลุม โดยจําเป็นต้องมีการกําหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้ง ๕ องค์ประกอบในทุกระดับ การพัฒนา และจําเป็นต้องเชื่อมโยงบูรณาการหน่วยงานในระบบ NQI เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรของชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม NQI เพื่อให้มีบริการอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
การพัฒนา NQI ตามโมเดลของ UNIDO นอกจากการพัฒนาหน่วยงานหลักแล้ว ยังต้องสร้างความตระหนักรู้เรื่องคุณภาพให้เป็นค่านิยมของสังคมไทยมากกว่าการแข่งขันทางราคา ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรม โดยต้องพัฒนา NQI ให้รองรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมไปสู่ตลาด ให้ทันกับสถานการณ์ ทั้งหมดนี้จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคลังข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ในระบบ NQI เพื่อให้สามารถนําไปใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน และวางแผนการพัฒนา NQI ของประเทศได้อย่างมีทิศทางและเกิดประโยชน์สูงสุด
๒.๔ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมสู่พาณิชย์ของไทย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่หลายหน่วยงาน โดยส่วนที่เป็นรอยต่อระหว่างงานวิจัยไปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ เวลานานในการสร้างมาตรฐานเพื่อให้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเป็นที่ยอมรับในตลาด โดยการพัฒนาข้อกําหนด (Specification) ให้ทันกับการวิจัยพัฒนา เพ่ือผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดได้ในระยะเวลาเร็วที่สุดเป็นหนึ่ง ในปัจจัยที่ทําให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสําเร็จในตลาด หากมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับรองข้อกําหนด ของผลิตภัณฑ์ และผลักดันจนกลายเป็นมาตรฐาน จะช่วยให้เกิดการนํานวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่าง แท้จริง ท้ังนี้ มีตัวอย่างการดําเนินงานในต่างประเทศ เช่น
๒.๔.๑ กรณีศึกษาของประเทศเยอรมนีใช้ DIN Spec เป็นส่วนหนึ่งของหน่วย กําหนดมาตรฐาน ทําให้มีข้อกําหนด (Specification) สําหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรม โดยเน้นการทํางานแบบ กลุ่มเล็กที่สามารถพัฒนาข้อกําหนด ให้เป็นที่ยอมรับและนําไปใช้ได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน แตกต่างจาก กระบวนการกําหนดมาตรฐานตามปกติที่อาจจะต้องใช้เวลานาน ทั้งนี้ต้องอาศัยความเข้มแข็งของ DIN Brand ที่เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค และสามารถต่อยอดจาก DIN Spec ไปเป็นมาตรฐานฉบับเต็มได้
๒.๔.๒ กรณีศึกษาประเทศออสเตรเลีย ได้จัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนา SMEsด้วย NQI โดยนําเสนอในเอกสาร APEC Sub-Committee on Standards and Conformance, March ๒๐๑๗ โดยมีประเด็นท่ีสําคัญดังน้ี
๑) ทํางานใกล้ชิดกับสมาคมผู้ประกอบและสร้างความตระหนักด้าน คุณภาพให้กับ SMEs
๒) จัดทําแผนพัฒนา NQI รายกลุ่มอุตสาหกรรม
๓) ส่งเสริม SMEs ให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย NQI โดยเน้นความต้องการของตลาด
๔) พัฒนาบริการเพิ่มเติมท่ีจะช่วยให้SMEsมีคุณภาพเข้าสู่ตลาดโลกได้
๕) ปรับจุดเน้นของการพัฒนา NQI ให้ตอบสนองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ SMEs มากกว่าการทดสอบให้ผ่านเกณฑ์ ๖) การพัฒนากําลังคนให้มีทักษะรอบด้าน
๓. กรอบภารกิจของสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ แบ่งออกเป็น ๔ ภารกิจ ดังนี้
๓.๑ ด้านนโยบาย มี ๑ ภารกิจ คือ เสนอแนะนโยบาย NQI
๓.๒ ด้านการพัฒนา มี ๒ ภารกิจ คือ (๑) พัฒนาศักยภาพบุคลากร NQI และ (๒)ขับเคล่ือนนวัตกรรมสู่พาณิชย์ด้วย NQI
๓.๓ ด้านการส่งเสริม มี ๒ ภารกิจ คือ (๑) ขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่พาณิชย์ด้วย NQIและ (๒) รับรองระบบงาน
๓.๔ ด้านสนับสนุนและบริการ มี ๒ ภารกิจ คือ (๑) ศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ NQIและ (๒) สนับสนุน/พัฒนาองค์กร
นอกจากนี้ วศ. ได้นําเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ โดยมี รายละเอียดบทบาท หน้าที่และอํานาจของสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ ต่อที่ประชุมเพื่อให้ความเห็นและ ข้อเสนอแนะในสาระสําคัญและแนวทางการดําเนินงานต่อไป
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของท่ีประชุม
๑. การปรับบทบาทของ วศ. ไปเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ สอดคล้องกับแนวทาง การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซ่ึงถือว่าเป็น Flagship ที่ต้องดําเนินการให้สําเร็จ
๒. การปรับบทบาท NQI เพื่อกระตุ้นนวัตกรรมต้องทําให้เกิดความสมดุลระหว่าง การพัฒนานวัตกรรมและความปลอดภัยของผู้บริโภคและสังคม
๓. การกระตุ้นนวัตกรรมจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด (Shift mindset) โดยเรียนรู้ จากความล้มเหลว (Fail fast- learn fast) และแก้ไขกฎระเบียบท่ีเกี่ยวข้องเพ่ือให้เอ้ือต่อการนําผลิตภัณฑ์ไปสู่ ตลาดในช่วงทดลองตลาด (Pilot) ซ่ึงยังไม่มีมาตรฐานรองรับ โดยอาจจะต้องมีการกําหนดเกณฑ์การยอมรับได้ (Specification) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการทดลองตลาด และเมื่อผลิตภัณฑ์พิสูจน์ได้ว่าสามารถเข้าสู่ตลาดได้ จึงค่อยพัฒนาไปสู่มาตรฐาน (Standardization) ของผลิตภัณฑ์ในระดับที่มีมาตรฐานระยะยาว (Mature state) ซึ่งในช่วงทดลองต้องมีการจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง
๔. การที่ วศ. จะเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ เพื่อปรับบทบาทเป็นองค์การมหาชน จําเป็นต้องกําหนดบทบาทขององค์กรให้ชัดเจนว่างานใดต้องการใช้อํานาจของรัฐเพื่อบังคับใช้กับหน่วยงานอื่น นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติฯ ที่เกี่ยวข้องอยู่ ๓ ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ โดยที่อํานาจหน้าที่จะต้องไม่ซ้อนทับกับคณะกรรมการระดับชาติท่ีมีการจัดตั้งไว้แล้วอีก ๒ คณะ
๕. หากจะจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติ เฉพาะ ต้องแก้บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๘ ของ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่บัญญัติให้ดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบัน วิทยาศาสตร์บริการตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน โดยหน่วยงานที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนตาม พระราชบัญญัติเฉพาะจะต้องมีภารกิจที่จําเป็นต้องใช้อํานาจรัฐซึ่งกระทบกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ในการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจของหน่วยงาน หรืองดเว้นการบังคับกฎหมายอ่ืน ซึ่งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการต้องระบุอํานาจรัฐที่ต้องใช้ให้ชัดเจน โดยขยายความในหมวด ๑ และต้องแยก อํานาจหน้าท่ีระหว่างคณะกรรมการฯ และสถาบันวิทยาศาสตร์บริการให้ชัดเจน
๖. กรมวิทยาศาสตร์บริการสามารถดําเนินการตาม มาตรา ๓๘ ของ พ.ร.บ. ระเบียบ บริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยการยกร่างพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการเป็นองค์การมหาชน และเมื่อดําเนินการไปแล้ว หากจําเป็นต้องอาศัยอํานาจทางกฎหมายเพื่อดําเนินการตามภารกิจของหน่วยงานก็สามารถเสนอให้มีการ ออกร่างพระราชบัญญัติได้ ตัวอย่างเช่น สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จัดตั้งขึ้นโดย พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงาน และมีพระราชบัญญัติอีกหนึ่งฉบับที่ให้อํานาจทางกฎหมายเพื่อดําเนินการ ตามภารกิจของหน่วยงานได้ หรือกรณีของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ท่ีกฎหมาย มิได้ให้อํานาจหน่วยงานจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนพ.ศ.๒๕๔๒แต่ไดเ้สนอ คณะรัฐมนตรีให้มีมติให้หน่วยงานอ่ืนของรัฐสนับสนุนการดําเนินงานหรือร่วมดําเนินการกับ สพร. ได้ เป็นต้น
๗. ในระหว่างการดําเนินการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์ บริการ อาจเริ่มดําเนินงานในการเป็น NQI System Integration เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบ NQI และการกําหนดเกณฑ์การยอมรับ (Specification) ของผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม ตามแนวทางที่นําเสนอได้ทันที โดยอาจอาศัยอํานาจของสภานโยบายแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษ เฉพาะเร่ือง และให้กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นฝ่ายเลขานุการ
มติที่ประชุม ให้กรมวิทยาศาสตร์บริการหารือกับสํานักงาน ก.พ.ร. ถึงแนวทางและความเป็นไปได้ ที่เหมาะสมในการใช้พระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ห้องหว้ากอ ๑ และ ๒