
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2565
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 6/2564
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มี การประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๖๔ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํา รายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงาน การประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๔
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 การออกแบบกลไก กระบวนการทำงานและการจัดสรรทรัพยากรในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นางสาวเสาวรัจ รัตนคําฟู สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นําเสนอ ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่ได้จากโครงการออกแบบกลไก กระบวนการทํางานและการจัดสรรทรัพยากร ในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สรุปสาระสําคัญ ได้ดังนี้
๑) วัตถุประสงค์ของการศึกษากลไก กระบวนการทํางานและการจัดสรรทรัพยากรใน ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มีเพื่อทบทวนการดําเนินงานในภาพรวมของระบบ ววน. ของ ประเทศ ในช่วงหลังการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้นโยบาย และยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕ เพื่อให้ทราบถึง ช่องว่าง (Gap) ที่เป็นความเสี่ยงและข้อจํากัดที่อาจทําให้การดําเนินงานของระบบ ววน. ไม่บรรลุเป้าหมายและ สัมฤทธิ์ผลตามนโยบายของประเทศ โดยเฉพาะในระดับบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม รวมถึง ออกแบบกลไก กระบวนการทํางานและการจัดสรรทรัพยากรในระบบเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของ การพัฒนาประเทศ
๒) กรอบแนวคิดของการศึกษา คือ กลไก กระบวนการทํางานและการจัดสรรทรัพยากร ในระบบ ววน. ที่มุ่งให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบ เพื่อให้ภาคการเมืองและภาคประชาสังคมเห็นความสําคัญ ด้าน ววน. ให้มีการลงทุนด้าน ววน. มากขึ้น รวมถึงกลไกการสร้างวงจรนโยบายนวัตกรรมตั้งแต่ขั้นตอน การกําหนดนโยบายการบริหารและจัดการทุนการดําเนินการวิจัยและนวัตกรรมและการติดตามประเมนิผล ให้เกิดความรับผิดรับชอบ (Accountability) และเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในระบบ ววน.
๓) ช่องว่างที่เป็นความเสี่ยงและข้อจํากัดที่อาจทําให้ไม่บรรลุเป้าหมายและสัมฤทธิ์ผล ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ (พ.ศ.๒๕๖๓ – ๒๕๖๕) ดังนี้
๓.๑) ความทับซ้อนในการจัดสรรงบประมาณของหน่วยบริหารและจัดการทุน
๓.๒) ธุรกรรมหลักเน้นที่เงินหรืองบประมาณ (Input-oriented) มากกว่าผลลัพธ์ และผลกระทบ (Outcome and Impact-oriented)
๓.๓) ปัญหาของเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สําคัญ (OKRs: Objective and Key Results) ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุน
๓.๔) การไม่ทํางานเชื่อมโยงกันในห่วงโซ่ ววน.
๔) การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ จากการศึกษาระบบ ววน. โดยมุ่งเน้นประเด็นความเชื่อมโยงในการสร้างความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม และ กรอบแนวคิดความรับผิดรับชอบ (Accountability) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทํางานและบริหารจัดการของ ระบบ ววน. สรุปข้อเสนอแนะด้านกลไกกระบวนการทํางานและการจัดสรรทรัพยากรในระบบ ววน. ดังนี้
๔.๑) สอวช. และ สกสว. ควรแบ่งบทบาท หน้าที่ ด้านการจัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน ววน. ให้ชัดเจน โดย สอวช. ควรทําหน้าที่ในการจัดทํานโยบายที่สะท้อนเป้าหมาย ระดับประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับโลก รวมถึงนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและฝ่าย การเมือง เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสําคัญของ ววน. ที่มีต่อประเทศ และ สกสว. ควรทําหน้าที่จัดทํา แผนและยุทธศาสตร์ จากการแปลงนโยบายที่ผ่านความเห็นชอบของสภานโยบายสู่การปฏิบัติ โดยเน้น การจัดลําดับความสําคัญในการจัดสรรทรัพยากร เพื่อมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome Driven) และผลกระทบ ทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้จริง
๔.๒) กสว. และคณะกรรมการอํานวยการของ สกสว. ควรมีองค์ประกอบของ กรรมการที่มาจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานได้อย่างมีพลวัตร มี การเชื่อมโยงภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการบูรณาการและการนําผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และ สาธารณประโยชน์ได้จริง
๔.๓) สกสว. ควรส่งเสริมให้หน่วยบริหารและจัดการทุนสามารถทํางานร่วมกันได้ อย่างบูรณาการตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยควรมีการวิเคราะห์ประเด็นสําคัญที่เป็นจุดวิกฤติที่ส่งผลต่อความสําเร็จ และกําหนดให้มีหน่วยบริหารและจัดการทุนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวนั้นให้เป็นเจ้าภาพหลักในการสนับสนุนทุนดําเนินการและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยบริหารจัดการทุนอื่นที่เกี่ยวข้องอย่าง ต่อเนื่องตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้จริง รวมถึงให้มีการรายงานผล อย่างสม่ําเสมอ
๔.๔) การกําหนด OKRs ควรมีเป้าหมายชัดเจน มุ่งเน้นผลลัพธ์ ผลกระทบและสามารถวัดผลได้ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยบริหารและจัดการทุนควรสอดคล้องกับ OKRs ที่ ได้รับมอบหมาย ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ ววน. ปี ๒๕๖๗-๒๕๗๐ ได้มีการปรับปรุง OKRs ให้สามารถวัดผลได้จริง มากขึ้นแต่ยังคงมีประเด็นที่ควรคํานึงถึงการพัฒนา OKRs ต่อไปอีก เช่น การกําหนดเส้นแบ่งความรับผิดรับชอบ ระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุน และการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยบริหารและจัดการทุนที่สอดคล้อง กับ OKRs เป็นต้น
๔.๕) สกสว. ในฐานะหน่วยงานระดับนโยบายและการจัดสรรงบประมาณ ควรจัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลด้าน ววน. เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ประกอบการพิจารณา ตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณ และการจัดทําแผน ยุทธศาสตร์ด้าน ววน. โดยข้อมูลที่ควรจัดเก็บและให้ความสําคัญคือข้อมูลผลลัพธ์ ผลกระทบที่เกิดจากการสนับสนุนทุน
๔.๖) สกสว. ควรมีการหารือร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนทุกหน่วยทั้งในและ นอกกระทรวง อว. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทํางานร่วมกันมากขึ้น และควรให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินงาน เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนนั้น ๆ และให้ผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนผูกติดกับงบประมาณที่จะได้รับด้วย
๔.๗) ควรมีการแบ่งงานระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุน อาจทําได้ ๒ ลักษณะได้แก่ ก) โปรแกรมในปัจจุบันที่ต้องมีการกําหนด OKRs ให้ชัดเจนและไม่ทับซ้อน ข) โปรแกรมการแก้โจทย์ วิกฤติของประเทศ สกสว. ควรกําหนดประเด็นหลักที่ต้องการแก้ไข ๔-๕ โปรแกรมต่อปี และให้มี การดําเนินงานต่อเนื่อง ๓-๕ ปี โดยเปิดให้หน่วยบริหารและจัดการทุนยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และคัดเลือกจากความเป็นไปได้ในการส่งมอบ
๔.๘)เสนอให้มีการจัดตั้ง InnovationFundingSandbox โดยมุ่งเน้นการให้ทุนที่ ตอบโจทย์สําคัญของประเทศและสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมได้จริง และมีลักษณะ Agenda- based ที่ขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนเป็นหลัก โดยอาจแบ่งได้เป็น ๒ ส่วนคือโจทย์วิจัยที่นําไปสู่ผลลัพธ์ที่สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ได้จริงในภาคผลิตและบริการ และโจทย์ที่ส่งกระทบสูงต่อสังคมได้จริง โดยการดําเนินการ ของ Innovation Funding Sandbox ควรมีองค์ประกอบ ๓ ส่วนสําคัญ คือ ก) การจัดสรรทุนที่เน้นการมี โจทย์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อการติดตามประเมินผลได้จริง โดยกําหนดเป้าหมายและการส่งมอบผลลัพธ์ภายใน ๓- ๕ ปี และเป็นโจทย์การพัฒนาเทคโนโลยีและมีผลกระทบสูง ข) การดําเนินงานของ Program Director ที่มี ความเข้าใจทั้งเทคโนโลยีและตลาดและสามารถประสานและเชื่อมโยงการทํางานได้ตลอดห่วงโซ่ และ ค) รูปแบบองค์กรที่มีความคล่องตัวสูง สามารถติดตามและประเมินผลการดําเนินงานได้อย่างเข้มข้น มีมุมมองจากผู้ใช้ประโยชน์จริงเป็นส่วนสําคัญและมีการประเมินองค์กรโดยหน่วยงานภายนอก
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การศึกษาการออกแบบกลไก กระบวนการและการจัดสรรงบประมาณของระบบ ววน. ควรพิจารณาพัฒนาการของระบบที่มีการแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงในแต่ละช่วงเวลาเป็นสําคัญ กรณี การดําเนินงานภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. ในปี ๒๕๖๓ เป็นช่วงของการรับโครงการเดิมจากระบบ เก่าจึงยังมีกระบวนการที่กระจัดกระจาย ซึ่งต่อมาในปี ๒๕๖๔- ๒๕๖๕ จึงเริ่มมีการพัฒนาออกแบบระบบใหม่ ดังนั้น การศึกษาจึงควรพิจารณาเพิ่มเติมประเด็นพัฒนาการในการปรับปรุงระบบว่า ทําให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างไร
๒. การบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตาม OKRs ในระดับที่สามารถไปถึงผลลัพธ์ ผลกระทบ (Outcome/Impact) ได้จริง อาจไม่สามารถเกิดขึ้นจากการดําเนินงานของหน่วยงานในระบบ ววน. เพียงอย่างเดียวต้องอาศัยการทํางานร่วมกับหน่วยงานในระบบอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะหน่วยดําเนินการที่ ทําหน้าที่ขยายผล และเพื่อแก้ไขข้อจํากัดนี้ สกสว. ได้พยายามออกแบบการทํางานร่วมกับหน่วยดําเนินการ แบบบูรณาการตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และจัดตั้งหน่วย OSB: Outcome Stakeholder based ขึ้นมาเพื่อ ทํางานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ ผลกระทบได้มากที่สุด
๓. การจัดเก็บข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจาก OKRs ในระบบ NRIIS ตามที่กฎหมายกําหนดให้ เป็นหน้าที่ของ วช. ได้มีการออกแบบและบริหารจัดการเพื่อให้ได้ข้อมูลในระดับผลผลิต และรวบรวมเป็นข้อมูล สําหรับผู้ใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงหน่วยงานระดับนโยบาย เช่น สกสว. และ สอวช. เพื่อได้เห็น ภาพรวมของผลผลิตที่เกิดขึ้นจากหลายส่วนและนําไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการตั้งเป้าหมายและ การจัดสรรงบประมาณต่อไป
๔. การจัดเก็บข้อมูลด้าน ววน. ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานกลาง เช่น สกสว. หรือ สอวช. เนื่องจากหัวใจสําคัญของระบบ NRIIS คือ การขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ (Propel learning) และ ข้อมูลเป็นส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ของระบบ รวมถึงระบบควรมีการดําเนินงานที่คล่องตัวสูง ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ระบบ NRIIS จึงไม่ควรดําเนินการภายใต้ หน่วยบริหารและจัดการทุนเพียงหน่วยงานเดียว
๕. ระบบ ววน. มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับผู้เล่นจํานวนมาก ซง่ึ หากต้องการให้เกิด วิวัฒนาการในระบบจะต้องใช้เวลานาน การดําเนินงานในลักษณะ Innovation Funding Sandbox จะทําให้ เห็นสามารถระบุขอบเขตการทํางานและเห็นภาพการดําเนินงานที่ชัดเจนได้มากขึ้น โดยควรมีการทํางานใน ลักษณะพันธมิตร (Alliance) ที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนร่วมกันครบทุกองค์ประกอบ เช่น ทุน นักวิจัย การผลิต และมาตรฐาน เป็นต้น ทั้งนี้ ในการดําเนินงานให้เอาวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Objective) เป็นตัว ตั้งและหากพบข้อจํากัดก็ให้สามารถยกเว้นหรือขจัดออกไปได้ ซึ่งการดําเนินงานในลักษณะนี้จะนําไปสู่ การตัดสินใจขยายผลการดําเนินการต่อไปได้
๖. ระบบ ววน. มีพลวัตรการเปลี่ยนแปลงสูง จึงไม่ควรออกแบบระบบให้มีลําดับชั้น (Hierarchical) มากเกินไป แตค่ วรเป็นระบบที่ปรับตัวได้เร็ว ลดการสั่งการ และทํางานร่วมกัน (Synergy) มาก ขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับนโยบายที่ต้องประสานเชื่อมโยง (Synchronize) และถ่ายทอดนโยบายสู่ หน่วยงานปฏิบัติให้เกิดความรับผิดรับชอบ (Accountability) ที่ชัดเจน ซึ่งภาคเอกชนควรมีบทบาทเป็นหลัก ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Learning Loop)
๗. การส่งต่อ OKRs ในระดับนโยบายมายังหน่วยบริหารและจัดการทุน ควรมีการศึกษา วิเคราะห์กลไกการทํางานของแต่ละหน่วยบริหารและจัดการทุน และหน่วยบริหารและจัดการทุนควรมีการวิเคราะห์ OKRs โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นความรับผิดชอบร่วมของหลายหน่วยงานที่มีหลายโปรแกรม/ โครงการเชื่อมต่อกัน และควรวิเคราะห์ไปถึงนโยบายการที่นําไปสู่การใช้ประโยชน์ซึ่งในทุกๆ โครงการควรระบุ ผลกระทบ (Outcome) ได้
๘. สอวช. และสกสว. ควรนําข้อมูลจากการศึกษามาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาทั้งประเด็น การทับซ้อนในภารกิจของหน่วยงานและการส่งมอบงาน (Deliver Result) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ายังมีช่องทางที่สามารถปรับปรุงให้ระบบดีขึ้นอย่างไร เช่น การทับซ้อนเป็นการเสริมแรงกันของหน่วยงาน หรือกรณีศึกษาของ ต่างประเทศที่สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการบริหารและจัดการทุนของหน่วยงานที่จะนํามาพัฒนาปรับปรุง ระบบ ววน. ของไทยให้ดีขึ้นได้อย่างไร
๙. ระบบการติดตามและประเมินมีความสําคัญที่จะทําให้สามารถตอบคําถามวิธีการ งบประมาณในประเด็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารและความรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งในส่วนของ งบประมาณที่ได้รับจากกองทุน ววน. และงบประมาณบูรณาการ
มติที่ประชุม รับทราบการออกแบบกลไก กระบวนการทํางานและการจัดสรรทรัพยากรในระบบ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการประสานนําข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 4.1 ผลการดำเนินงานของสำนักงานผ่าน และเป้าหมายในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
นางสาววิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการ วช. นําเสนอผลการดําเนินงานของ วช. ช่วง เปลี่ยนผ่านและเป้าหมายในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สรุปสาระสําคัญ ได้ดังนี้
๑) ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ วช. ได้ดําเนินการขับเคลื่อนงานตามหน้าที่และอํานาจที่กฎหมายกําหนดไว้ ๗ ภารกิจ ได้แก่ ๑.๑) การให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม
๑.๒) การจัดทําฐานข้อมูล และดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ
๑.๓) การริเริ่มขับเคลื่อนและ ประสานการดําเนินงานโครงการวิจัยแลนวัตกรรมของประเทศ
๑.๔) การจัดทํามาตรฐานและจริยธรรม การวิจัย
๑.๕) การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์
๑.๖) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา บุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม และ
๑.๗) การให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือ หน่วยงาน
ทั้งนี้ ภารกิจหลักของ วช. ได้แก่ ภารกิจการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ซึ่ง วช. ได้รับมอบหมายให้ รับผิดชอบการบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมในส่วนของกิจกรรมต้นน้ํา ได้แก่ การสร้างความสามารถและกิจกรรมด้านวิจัยและพัฒนา (Capacity Building and R&D Activity) ครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ วช. ยังรับผิดชอบการพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมในช่วงกลางน้ําและ ปลายน้ําในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
๒) หลักเกณฑ์หรือประเด็นการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ประกอบด้วย
๒.๑) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness)
๒.๒) การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation)
๒.๓) การเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning)
๒.๔) การประสานงานและความร่วมมือ (Coordination & Collaboration)
๒.๕) การสื่อสารต่อสังคมและ สาธารณะ (Social and Public Communication)
๒.๖) แพลตฟอร์มข้อมูลและการเชื่อมโยงระบบข้อมูล (Data Platform & Connecting)
๓) แนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. เป็น การประเมินผลการดําเนินงานขององค์กรเพื่อนําไปสู่การยกระดับการดําเนินงาน ( Evaluation for Transformation) แบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ การประเมินประสิทธิภาพและผลการดําเนินงานใน ปัจจุบัน (Performance) ครอบคลุมตามภารกิจที่กฎหมายกําหนด ส่วนที่ ๒ การประเมินเชิงลึก โดยประเมิน จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นแวดล้อมของ วช. ในการดําเนินภารกิจในสถานะปัจจุบัน (In-depth Process Review) และส่วนที่ ๓ การวิเคราะห์กําหนดและออกแบบทางเลือก (Option) การปรับปรุงโครงสร้างและ กลไกการบริหาร เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อนระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) อย่างมีประสิทธิภาพ (To-be)
๔) การวิเคราะห์ประเด็นสําคัญ (Critical Issue) ที่ส่งผลต่ออนาคตของ วช. ประกอบด้วย
๔.๑) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) เช่น การพิสูจน์ คุณภาพและประสิทธิผล การวางทิศทางของบทบาทและภารกิจองค์กร
๔.๒) การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) เช่น จัดการระบบ บริหารงานบุคลากร การพัฒนาสมรรถนะและทักษะของบุคลากร
๔.๓) การเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning) เช่น การทําให้เกิด กระบวนการบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act) ในการทํางานทุกระดับอย่างเป็นระบบ การสร้าง โอกาสให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างบุคลากร วช. และหน่วยงานอื่น
๔.๔) แพลตฟอร์มข้อมูลและการเชื่อมโยงระบบข้อมูล (Data Platform & Connecting) เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System หรือ NRIIS) และระบบสนับสนุนอื่น ๆ ให้สนับสนุนผู้ใช้ทั้งหน่วยงานวิจัย และหน่วยงานบริหารจัดการงานวิจัย
ทั้งนี้ วช. ได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการหน่วยงานมิให้ตกอยู่ในกับดัก ต่าง ๆ เช่น กับดักความแข็งตัว กับดักจากความไม่เพียงพอของทรัพยากร และกับดักความเฉื่อยเชิงโครงสร้าง เพื่อเปลี่ยนแปลง (Transformation) ทั้งในเชิงโครงสร้างและกลไกการบริหารเพื่อให้สามารถสนับสนุนการดําเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อนระบบ อววน. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. วช. ควรวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ในลักษณะของการมองไปข้างหน้าเพื่อให้เหมาะสมกับกลไกการปฏิรูปที่ดําเนินอยู่ในปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย
๒. วช. ได้มีการผูกพันงบประมาณข้ามปีและยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งอาจสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงานและกองทุน ววน.
๒. วช. มีหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายในการจัดทําฐานข้อมูลและดัชนีด้าน ววน. ซึ่งมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นความเหมาะสมของหน่วยงานที่ควรทําหน้าที่นี้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา วช. ได้หารือ กับ กสว. เพื่อขอคําแนะนําในการจัดทําระบบและได้จัดระดับการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานโดยที่จะต้องอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานทุกระดับ รวมถึงพิจารณาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
มติที่ประชุม รับทราบผลการดําเนินงานของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ใน วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ ถึง ๑๓.๐๐ น.
มติที่ประชุม รับทราบ