
รายงานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 6/2564
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 5/2564
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มี การประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงาน การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการขอแก้ไข ดังนี้
ข้อความในหน้าที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓ ดังนี้
• การดําเนินงานของหน่วยงานบริหารและจัดการทุนมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดการ นํางานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้จริง แต่การออกแบบขอบเขตของหน่วยบริหารและจัดการทุนยัง ขาดกิจกรรมการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการตลาด (Market Feasibility) ในด้าน Technology Feasibility ซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีในการผลิต บริษัทที่จะดําเนินการผลิต ต้นทุนในการผลิต ที่สามารถ แข่งขันได้ การขอ Approved มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมขอแก้ไขข้อความดังกล่าวเป็น การดําเนินงานของหน่วยงานบริหารและ จัดการทุนมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดการนํางานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้จริง แต่การออกแบบ ขอบเขตของหน่วยบริหารและจัดการทุนยังขาดกิจกรรมการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ก่อนการทําวิจัยทั้ง ด้านการตลาด (Market Feasibility) ด้านเทคโนโลยี (Technology Feasibility) และด้านต้นทุนในการผลิต (Financial Feasibility) ที่สามารถนํางานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และแข่งขันได้ รวมถึงการขอ Approved มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) คณะผู้ ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของวช. นําเสนอความก้าวหน้าการประเมินประสิทธิภาพ และผลการปฏิบัติราชการของ วช. ดังนี้
๑) ความเชื่อมโยงกับการปฎิรูปเชิงระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)
– หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งกระทรวง อว. และมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทําให้มีกองทุนส่งเสริม ววน. และมีการปรับบทบาท สกว. (เดิม) จากหน่วยงานให้ทุนเป็น สกสว. เป็นหน่วย จัดสรรงบประมาณ และมอบหน้าที่ให้ วช. สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นหน่วยบริหารและจัดการทุน
– สภานโยบายได้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนขึ้น ๓ หน่วย ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ภายใต้ร่มนิติบุคคลของ สอวช. แต่ดําเนินการอย่างอิสระภายใต้คณะกรรมการบริหารแต่ละหน่วย ทําหน้าที่สนับสนุนทุนวิจัยและ นวัตกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ๓ ด้าน คือ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ การพัฒนากําลังคนในสาขาที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาเชิงพื้นที่การพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น
– กสว. มีมติเห็นชอบในหลักการในการมอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) เป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน
– สภานโยบายเห็นชอบข้อเสนอการจัดระบบบริหารและจัดการทุน และร่าง ข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน (บพข. บพท. และ บพค.) ออกจาก สอวช. และการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยดังกล่าว
๒) การจัดระบบบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ : ได้มีเสนอการจัดระบบบริหารและจัดการทุนต่อสภานโยบาย โดยข้อเสนอได้กําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละ หน่วยบริหารและจัดการทุน และกําหนดให้ วช. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาและใช้ประโยชน์องค์ ความรู้ซึ่งเป็นช่วงต้นน้ําครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม และรับผิดชอบการพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยและ นวัตกรรมในช่วงกลางน้ําและปลายน้ําในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
๓) ประเด็นหลักในการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฎิบัติราชการของ วช. ๖ ด้าน ได้แก่ ๑) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) ของการดําเนินงานตามภารกิจ ๗ ด้านของ วช. ๒) การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) ๓) การเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning) ๔) การประสานและร่วมมือกับหน่วยงานระดับต่าง ๆ (Coordination & Collaboration) ๕) การสื่อสารไปสู่สังคมและสาธารณะ (Social & Public Communication) และ ๖) การพัฒนาระบบข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูล (Data Platform and Connecting)
๔) แนวทางการประเมิน : การประเมินประกอบด้วยขั้นตอน ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) การประเมินประสิทธิภาพและผลการดําเนินงานของ วช. ในสถานการณ์เป็นส่วนราชการ (As-is) ๒) การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนและประเด็นแวดล้อมของ วช. ในการดําเนินภารกิจปัจจุบัน โดยใช้หลักการ ประเมินเพื่อการพัฒนา (DE: Developmental Evaluation) ๓) วิเคราะห์เพื่อกําหนดและออกแบบทางเลือก (Option) การปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหาร เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อน ววน. อย่างมีประสิทธิภาพ (To be)
๕) ขณะนี้การประเมินอยู่ในช่วงการประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนและประเด็นแวดล้อม ของ วช. ในการดําเนินภารกิจปัจจุบัน โดยการประเมินตามหลักการประเมินเพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation หรือ DE) ในภารกิจหลักของ วช. ๒ ภารกิจ ได้แก่ การให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม และ การจัดทําฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีขั้นตอนการวิเคราะห์และระบุผู้มี ส่วนได้เสีย (Stakeholder) การออกแบบการประเมินและกําหนดโจทย์เพื่อการพัฒนา และจากนั้นได้มีการนํา ข้อมูลจากการดําเนินงาน (Performance/Experimental Data มาประมวลร่วมกับความคาดหวังและความ คิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Expectation & Opinion) และมีการสะท้อนโดยบุคลากรภายใน Personnel Reflection & Insight) ซึ่งขณะนี้ได้ผลการประเมินจากขั้นตอนดังกล่าว มานําเสนอต่อที่ประชุม เพื่อนําไปสู่การให้ข้อเสนอแนะต่อ วช. เพื่อนําไปสู่การพัฒนาต่อไป
๖) ผลการประเมินตามประเด็นการประเมินทั้ง ๖ ด้าน สรุปได้ ดังนี้
๖.๑) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) :
– วช. มีการดําเนินงานที่นําส่งผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถ
บริหารจัดการการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมได้ตามแผนที่กําหนด อาจมีปัญหาอุปสรรคและข้อติดขัดในส่วนงาน ที่ได้รับการถ่ายโอนมาจาก สกว. เดิม
– ในเชิงคุณภาพ เนื่องจากภารกิจการให้ทุนที่ วช. รับผิดชอบมีจํานวนมากซึ่ง ส่งผลกระทบต่อความสามารถเชิงคุณภาพและพบว่าคุณภาพของงานมักขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่รับผิดชอบ
– ในด้านประสิทธิผลยังไม่เป็นที่ชัดเจนในระดับผลลัพธ์และผลกระทบ เนื่องจาก เพิ่งเริ่มดําเนินงานในบทบาทใหม่ภายหลังการปฏิรูปเพียง ๒ ปี
– ในด้านต้นทุนมีสัดส่วนต้นทุนการบริหารจัดการการให้ทุนและบริหารจัดการ งานวิจัยฯ เท่ากับร้อยละ ๔.๘๘ – ๖.๖๗ ของงบประมาณที่ให้ทุนไป ทั้งนี้ ควรวิเคราะห์เทียบเคียงกับหน่วยบริหารและจัดการทุนอื่น ๆ โดยต้องมีการพิจารณาถึงเงื่อนไขและลักษณะองค์กรที่อาจแตกต่างกัน
๖.๒) การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) :
– วช. มีการปรับโครงสร้างองค์กร รูปแบบสัญญา และระเบียบการให้ทุนให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ผู้บริหารระดับสูงมีทัศนคติที่เปิดกว้างรับต่อการเปลี่ยนแปลง
– ในส่วนของการพัฒนาทักษะของบุคลากรยังขาดความชัดเจนในเรื่องการปรับ ระบบบริหารและพัฒนาบุคลากร และต้องการการพัฒนาบุคลากรให้มี Academic Leadership สูง โดยเฉพาะสําหรับงานวิจัยที่มี Modality แบบมุ่งเป้า
– วช. มีบุคลากรหลายสถานะทําให้การบริหารจัดการบุคลากรเป็นไปได้ยากและมีช่องว่างระหว่างวัยและทัศนคติซึ่งเป็นปัญหาที่บุคลากรรุ่นใหม่รู้สึกเป็นอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนองค์กร ทั้งนี้ ทิศทางการพัฒนาบุคลากรนี้มีความสัมพันธ์อย่างสูงกับการวางบทบาทขององค์กร ว่าจะมุ่งเน้นไปใน ทิศทางใด ก็จะต้องมีระบบการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับทิศทางด้วย
๖.๓) การเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning) :
– การเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่องขององค์กรในลักษณะ PDCA (Plan Do Check Act) ในเชิงระบบยังไม่มีความชัดเจนว่ามีกิจกรรมหรือช่องทางที่เป็นโอกาสให้บุคลากรแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (Feedback) ต่อผู้บังคับบัญชาได้อย่างเป็นระบบ
– การเรียนรู้และปรับตัวตามพลวัตรของระบบ ววน. ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจและสามารถตอบสนองต่อโจทย์และการเปลี่ยนแปลงของระบบ ววน. ได้อย่างดี แต่ในระดับบุคลากรพบว่ายัง ต้องการการเรียนรู้ ความเข้าใจในเรื่องนโยบายและการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ของระบบ ววน. รวมทั้งการมี ช่องทางและโอกาสที่จะมี Interaction กับบุคลากรภายนอกมากขึ้น
– มีบุคลากรจํานวนหนึ่งมีความคาดหวังอย่างชัดเจนว่า “บุคลากร วช. ไม่ใช่เป็น เพียงฝ่ายเลขานุการ แต่ต้องมีบทบาทเป็นนักวิชาการที่ยืนระยะทํางานร่วมกับและสนับสนุนผู้ทรงคุณวุฒิได้”
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี ๔ ระดับ ได้แก่ นโยบายและจัดสรรทุน หน่วยบริหารและจัดการทุน ผู้รับทุน และผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย
– ในระดับผู้บริหาร มีการเชื่อมโยงเชิงนโยบายกับหน่วยงานนโยบายและจัดสรร ทุน และหน่วยบริหารและจัดการทุนอย่างต่อเนื่อง
– ในระดับบุคลากร ควรมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะการประสานความร่วมมือกับผู้ใช้ประโยชน์ที่เป็นหน่วยงานภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ให้มากขึ้น
– ในส่วนของการประสานความร่วมมือกับผู้วิจัยปัจจุบันมี ๒ รูปแบบ ได้แก่ ๑) การประสานเองโดยตรงผ่านกระบวนงานของการบริหารจัดการทุน และ ๒) การมีสํานักงานประสานที่มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญช่วยดําเนินการ
๖.๕) การสื่อสารไปสู่สังคมและสาธารณะ (Social & Public Communication)
– วช. มีจุดเด่นการสื่อสารเกี่ยวกับการวิจัยไปยังสังคมหรือสาธารณะ มีกิจกรรม การจัดการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากร องค์กร และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องผ่าน กิจกรรมต่างๆ ควรพัฒนาต่อยอดงานด้านการสื่อสารสังคมและสาธารณะที่มีอยู่แล้วให้เป็นที่รับรู้ต่อ สาธารณชนโดยทั่วไป และเน้นการสร้างความตระหนักต่อความสําคัญและคุณค่าของการวิจัยที่มีต่ออนาคต
๖.๔) การประสานและร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่าง ๆ (CoordinationConnecting) และได้จัดทําแผนการพัฒนาระบบข้อมูลฯ และดําเนินการเชื่อมโยงระบบข้อมูล
๖.๖) การพัฒนาระบบข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูล (Data Platform and – การเชื่อมโยงระบบข้อมูลมีการวางผังสถาปัตยกรรมระบบข้อมูลด้าน ววน. – ระบบข้อมูลสําหรับผู้วิจัยและหน่วยงานวิจัย วช. รับผิดชอบระบบข้อมูล
National Research and Innovation Information System (NRIIS) ซง่ึ เป็นระบบข้อมูลหลักสําหรับการยื่น ข้อเสนอ รายงานความก้าวหน้า รายงานผลการวิจัย และการใช้ประโยชน์ แต่ยังพบปัญหาเรื่องความเสถียร ของระบบค่อนข้างมากและยังเกิดขึ้นอยู่เป็นประจํา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้ระบบจํานวนมาก
– ระบบข้อมูลสําหรับการบริหารจัดการงานวิจัย เป็นระบบข้อมูลกลางใน ปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์หน่วยงานผู้บริหารจัดการงานวิจัยทั้งในแง่ของการเข้าถึงข้อมูลและในแง่ของการใช้ ระบบข้อมูลกลางในการบริหารจัดการงานวิจัยแบบครบกระบวนการ โดยไม่ต้องทําซ้ําซ้อนด้วยระบบ Manual
จากสรุปผลการประเมินตามประเด็นการประเมินทั้ง ๖ ด้าน วช. ควรต้องจัดการ ประเด็นสําคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานขององค์กร เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในกับดักความแข็งตัว กับดัก ความไม่เพียงพอของทรัพยากร และกับดักความเฉื่อยเชิงโครงสร้างขององค์กร
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การประเมิน วช. ที่ส่งผลต่อภาพรวมเชิงระบบ ววน.
– คณะกรรมการกํากับการประเมินฯ วช. ได้นําหลักการประเมินเพื่อการพัฒนา (DE) ซึ่งเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) โดยให้น้ําหนักในสัดส่วน ๒ ใน ๓ ของการประเมิน เพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และการปรับปรุงองค์กร ซึ่งผลการประเมิน วช. ได้ สะท้อนภาพเชิงระบบ ววน. ในบางประเด็นที่สามารถนําไปสู่การปรับระบบ ววน. คณะกรรมการขับเคลื่อน การปฎิรูปฯ ซึ่งเน้นการมองภาพเชิงระบบอาจนําบางประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อภาพระบบ ววน. โดยรวมมา
พิจารณา เช่น ภารกิจ ๗ ด้านของ วช. มีความเหมาะสมหรือไม่ ควรปรับเปลี่ยนอย่างไร หรือหากไม่มี การปรับเปลี่ยนจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบ ววน. ตัวอย่างเช่น ภารกิจด้านการพัฒนาระบบข้อมูลยังควร เป็นภารกิจของ วช. หรือไม่ เนื่องจากระบบ ววน. ต้องการระบบข้อมูลที่ครอบคลุมและตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Dynamic) ซึ่ง วช. มีข้อจํากัดในการดําเนินงานในส่วนนี้
– ในการออกแบบระบบการบริหารและจัดการทุน สามารถทําได้ ๒ รูปแบบ คือ ๑) การดําเนินงานในเชิง Sectoral ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางโดยหน่วยงานเดียว และ ๒) การ ดําเนินงานเป็นส่วน ๆ จากต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ซึ่งปัจจัยสําเร็จที่สําคัญคือการเชื่อมโยงและส่งต่อ งานวิจัยเพื่อไปถึงปลายทาง ปัจจุบันมีการดําเนินงานอยู่ทั้ง ๒ รูปแบบ จึงควรต้องระบุปัจจัยการวัดความสําเร็จให้ชัดเจน
– การออกแบบรูปแบบการดําเนินงานของหน่วยงานบริหารและจัดการทุนใน ระบบอาจเป็นรูปแบบผสมระหว่าง Sectoral-based และ Stage-based ได้ โดย Sectoral-based ควร มุ่งเน้นด้าน BCG ได้แก่ ด้านเกษตรอาหาร ท่องเที่ยว และการแพทย์ เป็นต้น และ National Agenda เช่น EV เป็นต้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีเป้าหมายชัดเจน ในส่วนอื่น ๆ อาจทําในรูปแบบ Stage-based ได้ โดยมขี ั้นตอนการกรองจากต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา เพื่อไปสู่การใช้ประโยชน์ได้
๒. ภารกิจด้านการให้ทุน
– วช. รับผิดชอบการบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมในส่วนของ กิจกรรมต้นน้ํา ได้แก่ การสร้างความสามารถและกิจกรรมด้านวิจัยและพัฒนา (Capacity Building and R&D Activity) ครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม ซึ่ง วช. ได้ดําเนินการในส่วนนี้มาก่อนการปฎิรูปและความคาดหวังของ ระบบอยู่ที่การส่งต่องานวิจัยไปยังกิจกรรมกลางน้ําและปลายน้ํา การประเมิน วช. ในส่วนนี้จึงควรระบุผลผลิตและผลลัพธ์ให้ชัดเจน และให้น้ําหนักการประเมินที่ผลผลิตและผลลัพธ์เพื่อนําไปสู่การวิเคราะห์ความสามารถ ในภารกิจนี้ของ วช. โดยควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปลายน้ํา เพื่อให้เกิดการใช้งานจริงในอนาคต
– การกําหนดโจทย์วิจัยในช่วงต้นน้ําของ วช. ควรผ่านกระบวนการพัฒนาโจทย์ วิจัย โดยผู้ประเมินควรเจาะลึกการประเมินถึงกระบวนการพัฒนาโจทย์ที่ส่งผลถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของการให้ทุน เช่น การวิเคราะห์ผู้ใช้ประโยชน์ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ประโยชน์ (User Engagement) ในการ พัฒนาโจทย์วิจัย และการประกาศทุนหรือการเชิญชวนผู้รับทุน เป็นต้น ทั้งนี้ การพัฒนาโจทย์วิจัยในช่วงต้นน้ํา
มีความสําคัญอย่างมาก ซึ่งต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญสูง วช. ควรมีกระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจํานวนมาก (Pool of Expertise) เพื่อให้ได้โจทย์วิจัยที่ตอบความต้องการและนําไปสู่การใช้ ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง และควรมีการติดตามผลงานวิจัยที่ได้ให้ทุนไปในช่วงต้นน้ําว่าสามารถนําไปต่อยอดถึง การใช้ประโยชน์หรือไม่ ในสัดส่วนเท่าไร เพื่อให้มีข้อมูลที่สามารถประเมินได้ถึงความคุ้มค่าของการใช้ งบประมาณ
– ในภาพรวมของระบบหน่วยบริหารและจัดการทุนของประเทศ ควรเพิ่มเติม ข้อมูลทรัพยากรและงบประมาณ (Input) ของแต่ละหน่วยงาน และข้อมูลผลผลิตและผลลัพธ์ (Output) เพื่อ ทราบถึงจํานวนงบประมาณในแต่ละช่วงของการพัฒนาของประเทศ รวมถึงผลการดําเนินงาน และจํานวน
นักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ของแต่ละหน่วยบริหารและจัดการทุน นอกจากนี้ งบประมาณที่ใช้ในภาพนี้ เป็นงบประมาณของภาครัฐซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๑๕ – ๒๐ ของงบประมาณด้านการวิจัยและนวัตกรรมของ ประเทศ หากนํามาจัดทําเป็นข้อมูลให้เห็นเป็นจํานวนร้อยละของงบประมาณของแต่ละหน่วยบริหารและ จัดการทุนจะทําให้เห็นข้อมูลและภาพรวมของระบบนิเวศหน่วยบริหารและจัดการทุนได้ดียิ่งขึ้น
– ควรจัดทําตัวเลขสัดส่วนจํานวนบุคลากรต่อจํานวนโครงการของภารกิจการให้ ทุนให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น เพื่อนําไปสู่การตั้งคําถามถึงสัดส่วนที่เหมาะสมและสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ วช.
– การให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมของ วช. ในช่วงต้นน้ํามีส่วนที่ทับซ้อนกับหน่วย บริหารและจัดการทุนอื่น ๆ ได้แก่ ด้านวัคซีน การแพทย์ และสาธารณสุข ในการประเมินภารกิจให้ทุนของ วช. จึงควรประเมินครอบคลุมถึงการประสานงานกับหน่วยงานบริหารและจัดการทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวัคซีน แห่งชาติหรือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสนับสนุนทุนรวมถึงหารือกับผ้ใูช้ประโยชน์ เพื่อให้ทราบว่าการดําเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสามารถตอบความคาดหวังได้หรือไม่
๓. ภารกิจด้านการพัฒนาระบบข้อมูล
– กฎหมายกําหนดให้ วช. มีภารกิจในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อใช้ ประโยชน์ร่วมกัน แต่ไม่ได้บังคับให้ระบบข้อมูลกลางมีลักษณะเป็น Single Window ซึ่งควรชี้ชัดให้เห็นความ แตกต่างเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและประโยชน์ในการบริหารจัดการในภาพรวม และภารกิจนี้ วช. ได้ ดําเนินการมาตั้งแต่ก่อนการปฎิรูปจากระบบ National Research Management System (NRMS) มาเป็น ระบบ NRIIS ในปัจจุบัน แต่ระบบข้อมูลยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประเมินจึงสามารถระบุผลการประเมินในส่วนนี้ของ วช. ได้อย่างชัดเจน
๔. ภารกิจการริเริ่ม ขับเคลื่อน และประสานการดําเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรม
– ความคาดหวังของหน่วยบริหารและจัดการทุนในระบบต่อการประสานการ ดําเนินงานโครงการของ วช. ที่รับผิดชอบการให้ทุนในช่วงต้นน้ํา คือ ความสามารถในการเชื่อมโยงงานวิจัยมา สู่หน่วยงานบริหารและจัดการทุนที่รับผิดชอบในช่วงกลางน้ําและปลายน้ําได้ โดยการส่งผ่านประสบการณ์และ โครงการในช่วงต้นน้ําที่มีศักยภาพที่จะต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ได้ เพื่อเป็นข้อมูลป้อนเข้า (Input) ให้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบส่วนกลางและปลายน้ําซึ่งจะทําให้การบริหารงานวิจัยของประเทศเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง เกิดการพฒั นานักวิจัยให้มีความพร้อมเพื่อต่อยอดและผลักดันงานวิจัยให้ไปถึงการใช้ประโยชน์จริงได้
๕. ภารกิจส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม
– แผนการพัฒนานักวิจัยของ วช. ควรระบุถึงความสามารถของนักวิจัยในการ เชื่อมโยงงานวิจัยในช่วงต้นน้ํา (TRL 1-3) ไปยังช่วงกลางน้ําและปลายน้ํา (TRL 4-9) เพื่อผลักดันให้งานวิจัยไปถึงการใช้ประโยชน์ปลายทางได้
๖. การปรับปรุงกฎหมายของ วช.
– คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฎิรูปฯ ควรเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายของ วช. เพื่อให้ภารกิจของ วช. มีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจาก วช. ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาวิจัย แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ มีการแก้ไขโดยคณะปฎิวัติ พ.ศ. ๒๕๑๕ และมีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ ๖๒/๒๕๕๙ ให้ยุบสภาวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการ สาขาวิชาการ ตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่งชาติ และให้สภานโยบายการวิจัยและนวัตกรรมตั้งคณะ กรรมการบริหารสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากนั้นได้มีการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยให้โอน วช. ไปสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) และเปลี่ยนชื่อเป็นสํานักงาน การวิจัยแห่งชาติ โดยกําหนดอํานาจหน้าที่ของ วช. ไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ในปัจจุบันมีเพียงกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายใน วช. เท่านั้น ดังนั้น คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฎิรูปจึงควรเสนอให้ทบทวนว่าควรยกเลิกพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ หรือไม่ หรือต้องมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไรให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติที่ออกมาภายหลังทั้ง ๕ ฉบับหรือไม่ เพื่อให้ภารกิจของ วช. มีความชัดเจนมากขึ้น
ผู้อํานวยการ วช. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานของ วช. ดังนี้
– ผลการประเมินประสิทธิภาพตามภารกิจตามกฎหมาย: วช. สามารถ ตอบสนองภารกิจทั้ง ๗ ได้ตามวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน นอกจากนี้ วช. มีข้อเสนอกลไกใหม่ใน การปรับปรุงการดําเนินงานให้เข้ากับการปฎิรูประบบโดยมีการทํางานร่วมกับ สอวช. และ สกสว.หน่วยบริหารและจัดการทุน และหน่วยงานใช้ประโยชน์ ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาการดําเนินงานให้อยู่ในเกณฑ์
– สําหรับการประเมินการปฎิบัติงานเชิงประสิทธิภาพการทํางานของ วช. ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ วช. สามารถดําเนินการได้ร้อยละ ๙๗ จากจํานวนโครงการทั้งที่ วช. ดําเนินการ เองและที่ได้รับโอนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. (เดิม) รวมทั้งสิ้นประมาณ ๔,๐๐๐- ๕,๐๐๐ โครงการ โดยใช้งบประมาณด้านบุคลากร ๑๑๐ ล้านบาท ต่อปี ซึ่งหากพิจารณา Input ในเชิงต้นทุนอาจต้องมีการเทียบจํานวนบุคลากรต่อปี เพื่อตอบประเด็นเรื่องปัจจัยนําเข้าด้านบุคลากรของ วช. ต่อไป
– ในส่วนของการพัฒนาระบบข้อมูล วช. ได้ตั้งต้นการพัฒนาระบบข้อมูล ต่อเนื่องทั้งในเชิงเครื่องมือและการบูรณาการ อย่างไรก็ตาม วช. เป็นเพียงหนึ่งในผู้ดูแลระบบและพัฒนาระบบ ตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ โดยหน่วยงานในระบบเป็นผู้กําหนดโจทย์ความต้องการทั้งในเชิงกฎหมายมาตรการต่าง ๆ และการมีส่วนร่วม เป็นต้น
– ประเภทโครงการที่ วช. รับผดิ ชอบมีทั้งรูปแบบเปิดรับข้อเสนอ (Open Call)ในสัดส่วนร้อยละ ๕๐ และรูปแบบ Commissioning โดยดําเนินการกับผู้เชี่ยวชาญที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ สูง และรูปแบบการให้ทุนร่วม (Co-Funding) ทั้งนี้ โครงการที่ วช. ให้การสนับสนุนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงต้นน้ํา โดยได้มีความพยายามดําเนินการส่งต่อโครงการไปยังกระบวนการกลางน้ําและปลายน้ํา
– วช. ได้รับข้อเสนอแนะจากทีมประเมิน และได้ดําเนินการพัฒนากลไกใหม่ ๆ เพื่อปรับใช้ให้ทันในปี ๒๕๖๕ ทั้งในเชิงกลไกและการบริหารจัดการ โดยนําข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการดําเนินงานในอนาคต (To be) เช่น การมีหน่วยการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization Unit) และการส่งต่อโครงการไปยังหน่วยงานบริหารและจัดการทุนที่เชี่ยวชาญในช่วงกลางน้ําและปลายน้ํา เป็นต้น
มติที่ประชุม รับทราบความก้าวหน้าการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการประสานนํา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 4.1 มติสภานโยบายเรื่องข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ
ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงมติสภานโยบายเรื่องข้อเสนอรูปแบบ การแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ดังนี้
๑. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔ ได้พิจารณาข้อเสนอการจัดระบบบริหารและ จัดการทุน และร่างข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนออกจาก สอวช. และการติดตามและ ประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน โดยมีมติ ดังต่อไปนี้
• เห็นชอบข้อเสนอการจัดระบบบริหารและจัดการทุนและร่างข้อเสนอ การแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนออกจาก สอวช. และการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน
• มอบหมายให้สอวช.จัดทําพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสํานักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) และข้อเสนอตามแบบ การขอจัดตั้งองค์การมหาชน เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) และ คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
• รายงานผลการดําเนินงานตามมติให้สภานโยบายทราบในการประชุมครั้งต่อไป ๒. การออกแบบขอบเขตงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมจะมี การแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบหลักของแต่ละหน่วยในแต่ละช่วงของห่วงโซ่และสาขา โดยที่สํานักงานเร่งรัด การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (รวพ.) มีขอบเขตรับผิดชอบที่ แตกต่างจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมอื่น ๆ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ในด้านของ เป้าประสงค์ บทบาทหน้าที่ จุดเน้นเชิงกลยุทธ์ในการตอบโจทย์ประเทศ และรูปแบบการดําเนินการของหน่วยบริหารและจัดการทุนแต่ละแห่งยังมีความแตกต่างกัน
๓. การจัดตั้งสํานักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน
และการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) หรือ รวพ. เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทองค์การมหาชน ภายใต้กระทรวง อว. จะเป็นกลไกบริหารและจัดการทุนที่สําคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนําไปสู่การใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถใน การแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ การสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมและกิจการแห่งอนาคต การพัฒนาพื้นที่ และการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับภาคเอกชน รวมถึงการระดมทุนจากบุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานอื่นเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม และการนํา ผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม โดยการดําเนินงานของ รวพ. จะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้ เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัยภายในและนวัตกรรม ดังนี้
และนอกกระทรวง อว. ภาคเอกชน และฝ่ายกํากับนโยบาย และมุ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมจาก ภาคเอกชน ซึ่งการดําเนินงานในลักษณะนี้จําเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการงานในรูปแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมในอนาคต และปิดช่องว่างการดําเนินงาน ในระบบ เพื่อสร้างศักยภาพด้าน ววน. ให้กับภาคเอกชนและชุมชน จึงสมควรเสนอจัดตั้ง รวพ. ในรูปแบบองค์การ มหาชน
๔. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง รวพ. ประกอบด้วย
๔.๑ เพื่อบริหารจัดการและให้ทุนสําหรับการวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงการพัฒนากําลังคนทักษะสูง ผู้ประกอบการใหม่ และการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นสําหรับระบบวิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ ภาคการผลิตและบริการ และยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก
๔.๒ ขับเคลื่อนและเร่งรัดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนําไปสู่การใช้ ประโยชน์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมตามเป้าหมาย
๔.๓ บริหารจัดการเพื่อให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน รวมถึงการระดมทุนจากบุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานอื่นเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม และการนําผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม เช่น การลงทุนใน Holding Company
๔.๔ สร้างเครือข่ายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ตามข้อ ๔.๑ ถึง ๔.๓
๕. ข้อเสนอการเสนอจัดตั้ง รวพ. ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่ปรึกษา กฏหมายและการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง จะเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) พิจารณาเห็นชอบในเดือนพฤศจิกายน และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบร่างพระราช กฤษฎีกา เพื่อนําส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างพระราชกฤษฎีกาในเดือนธันวาคม หลังจากนั้น เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างพระราชกฤษฎีกาแล้วจะเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบ (หากมี การแก้ไขหลักการ) และนําร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบความก้าวหน้ามติสภานโยบายเรื่องข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหาร และจัดการทุนเฉพาะด้านออกจากสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ระเบียบวาระที่ 4.2 ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย และนวัตกรรม ดังนี้
๑. กระทรวง อว. โดย สอวช. ได้เสนอเรื่องร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นหนึ่ง ในกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านกฎหมายและระเบียบ เพื่ออํานวยความสะดวก ลดปัญหาและอุปสรรค ให้ สามารถขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการนําไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนได้อย่าง คล่องตัว ด้วยการกําหนดให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากเงิน สนับสนุนของภาครัฐได้ มีกลไกการบริหารจัดการและติดตามการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งกําหนดมาตรการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้เกิดความสมดุล
ระหว่างประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและประโยชน์ส่วนรวม โดย ครม. ได้มีมติ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ และให้เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา ต่อมาที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 7 (สมัยสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง) วันที่ 17 กันยายน 2564 มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ ในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 และให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. เป็นกฎหมาย
๒. สอวช. ร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) อยู่ระหว่างการจัดทําร่างกฎหมายลําดับรองภายใต้ร่างพระราชบัญญัติทั้งหมด ๑๔ ฉบับ และจัดทํา มาตรการและกลไกการส่งเสริมที่ต้องดําเนินการต่อเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของกฎหมาย รวมถึงกลไก การสร้างการรับรู้และแรงจูงใจเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม มี จุดมุ่งหมายหลักเพื่อต้องการสร้างผลกระทบจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่รัฐสนับสนุนทุน ไปสู่การใช้ ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคมได้อย่างแท้จริง โดยกําหนดให้ผู้รับทุน ได้แก่ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และ ภาคเอกชน สามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และต้องนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ ประโยชน์ภายในระยะเวลาที่กําหนด
๔. ประเด็นสําคัญของกฎหมาย ประกอบด้วย
๔.๑ หน่วยงานรัฐที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมไปยังผู้รับทุน ต้องมอบความเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับทุน
๔.๒ กรณีข้อยกเว้น ได้แก่ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสถาบัน การวิจัยทางการทหาร การวิจัยที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ และกรณีผู้รับทุนที่เป็นคนต่างด้าวไม่มี ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
๔.๓ เมื่อได้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมแล้ว ต้องใช้ประโชน์ผลงานวิจัย และนวัตกรรมภายใน ๒ ปี หรือระยะเวลาอื่นที่กฎหมายกําหนด ซึ่งการใช้ประโยชน์ เช่น การต่อยอดและพัฒนาผลงานวิจัย การอนุญาต (License) ไปยังภาคการผลิต การลงทุนร่วมกับบริษัทเอกชน เป็นต้น
๔.๔ กําหนดให้ กสว. จัดสรรเงินจากกองทุน ววน. เพื่อนําผลงานวิจัยและ นวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง โดยสภานโยบายกําหนดหน่วยงานเฉพาะที่ มีหน้าที่และอํานาจในการดําเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง
๔.๕ มีการกําหนดความสมดุลระหว่างประโยชน์ของภาครัฐและผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยรัฐสามารถบังคับใช้สิทธิกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินหรือจําเป็นอย่างยิ่งด้าน การสาธารณสุข ความมั่นคง ปลอดภัยของประชาชน
๕. กฎหมาย มีผลต่อการพัฒนาด้านการวิจัยและนวัตกรรมในทุกภาคส่วน ดังนี้
๕.๑ ผู้ให้ทุน ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ใช้เงินงบประมาณของรัฐให้ทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม
๕.๒ ผู้รับทุน ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ มหาวิทยาลัยสถาบันวิจัย (เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมลําดับแรก) นักวิจัย (ลําดับสอง) เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมในกรณีที่มหาวิทยาลัยไม่ต้องการเป็นเจ้าของ และภาคเอกชนสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและ นวัตกรรมได้ในกรณีที่ผู้ให้ทุนทําการให้ทุนตรงไปยังภาคเอกชน
๕.๓ รูปแบบการนําไปใช้ประโยชน์ ทั้งในเชิงวิชาการ เชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะและเชิงชุมชน พื้นที่
๖. มาตรการส่งเสริมที่ต้องดําเนินการต่อเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของกฎหมายอาทิ กฎหมาย ระเบียบ ที่เอื้อต่อการดําเนินงาน เครือข่ายความร่วมมือของหน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer Office หรือ TTO) เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จําเป็น และการบ่มเพาะ ธุรกิจเทคโนโลยี
๗. กลไกส่งเสริมผู้ให้ทุน (PMU) ให้สามารถดําเนินภารกิจตามกฎหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ๑) การพัฒนาและคัดเลือกโครงการให้สามารถส่งมอบผลงานที่นําไปใช้ประโยชน์ และตรงกับโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง และจัดทําสัญญาให้ทุนที่สอดคล้องกับข้อกําหนดใน พระราชบัญญัติ ๒) การติดตามและหนุนเสริมโครงการ โดยติดตามการใช้ประโยชย์ของผู้เป็นเจ้าของ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีการรายงานผลการใช้ประโยชน์ การพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้ประโยชน์ และ ๓) การผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ ผลกระทบ โดยหน่วยงานให้ทุนต้องมีการส่งต่อและเชื่อมโยงโครงการวิจัย และนวัตกรรมกับหน่วยให้ทุนอื่น เพื่อไปสู่ปลายทางการใช้ประโยชน์ และอาจจัดให้มีรางวัล Prime Minister’s Award สําหรับโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบสูงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม หรือ รางวัลสําหรับนักวิจัยที่สามารถนําเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ในวงกว้างและเกิดผลกระทบสูงต่อสังคม
๘. การสร้างการรับรู้บังคับใช้กฎหมาย และการสร้างแรงจูงใจ ควรมีการจัดงานใหญ่ เช่น “อว. มอบงานวิจัยและนวัตกรรมให้คุณเป็นเจ้าของ” หรือ “มหกรรมงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การผลิต และบริการ” และจัดให้มีรางวัล Prime Minister’s Researcher and Innovation for Society Award โดย สื่อสารสารสําคัญของกฎหมาย และกลไกที่จะสร้างผลลัพธ์สําหรับประเทศในระยะยาว
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
ควรมีมาตรการส่งเสริมในประเด็นที่จําเป็นต้องดําเนินการต่อ และควรให้ ความสําคัญกับการเตรียมความพร้อมและสร้างความสามารถให้แก่บุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น การถ่ายทอด เทคโนโลยี การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Technology Licensing) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา (IP Valuation) ซง่ึ ต้องดําเนินการโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูง (Expertise) เพื่อให้การดําเนินงานบรรลุจุดมุ่งหมาย ของกฎหมายได้
มติที่ประชุม รับทราบความก้าวหน้าร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. ….
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ ถึง ๑๓.๐๐ น.