
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 5/2564
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุม และขอบคุณ ผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 4/2564
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระเบียบวาระที่ ๔.๑ แนวทางการจัดสรรงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยเสนอให้มีการเปรียบเทียบการประเมินผลกระทบของงบประมาณที่จัดสรรผ่าน ๒ ช่องทาง
ได้แก่ ๑) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และ ๒) แผนงานยุทธศาสตร์หรือแผนงาน บูรณาการ
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
ระเบียบวาระที่ 3.1 (ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช.
ฝ่ายเลขานุการ ฯ นําเสนอที่ประชุมทราบความเป็นมาของการจัดทําข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. สืบเนื่องจากแนวคิดการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กําหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมเฉพาะด้านจํานวน ๓ หน่วยงาน
ในการดําเนินงานจัดทําข้อเสนอ สอวช. ได้นําหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ปลัดกระทรวง อว.) สํานักงาน ก.พ.ร. และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะ เพื่อจัดทํา (ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หลักการในการจัดตั้ง
ให้แยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านทั้ง ๓ หน่วย ออกจาก สอวช. โดยรวมกัน เป็นองค์การมหาชนภายใต้พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ จํานวน ๑ แห่ง โดยใช้ชื่อ “สํานักงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการพัฒนา เชิงพื้นที่” (วอพ.) โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจะมีความสําคัญต่อระบบการบริหารและจัดการทุนในภาพรวม ดังนี้
๑. วอพ. จะช่วยเพิ่ม Absorptive Capacity ในระบบบริหารจัดการทุนวิจัยและ นวัตกรรม ซึ่งหลังการปฏิรูปและการจัดตั้งกระทรวง อว. ทําให้หน่วยให้ทุนในระบบวิจัยและนวัตกรรมเดิม เหลือเพียง ๓ หน่วย (วช. สวรส. สวก. ซึ่งต่อมาได้เพิ่ม สนช. เข้ามาอีกหน่วยหนึ่ง) ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทําให้เกิด Effectiveness ในการส่งมอบผลลัพธ์ที่สามารถตอบความต้องการของประเทศได้ และช่วยลดความเสี่ยงใน ระบบที่ต้องดูแลงบประมาณแผ่นดินปีละ ๑๕,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
๒. วอพ. จะปิดช่องว่าง ๓ มิติ คือ ๑) Leverage งบวิจัยของภาครัฐให้เกิดการเพิ่มการ ลงทุนวิจัยจากภาคเอกชน ๒) การยกระดับความสามารถการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเชิงพื้นที่ เพื่อ ตอบโจทย์การพัฒนาในระดับพื้นที่ และ ๓) การบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมสาขาอุตสาหกรรมการ ผลิตและบริการที่ดูแลราย Subsector หรือ Cluster รวมถึงยุทธศาสตร์ที่สําคัญของรัฐบาลและนโยบายของ คณะรัฐมนตรี
๓. วอพ. จะรับถ่ายทอดศักยภาพหรือความเชี่ยวชาญเดิม (Expertise) ที่มีอยู่ใน หน่วยงานก่อนการปฏิรูป (เช่น สกว. และ สวทช.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Sector-based หรือ Cluster-based และการใช้งานวิจัยเชิงพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา
๔. วอพ. จะช่วยสร้างความหลากหลายของการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมในระบบให้ไม่เป็นลักษณะ Predominant Funding Source การดําเนินงานในลักษณะของการให้ทุนแบบทั่วไปและการให้ ทุนเฉพาะด้านมีความแตกต่างทั้งในเรื่องของเป้าหมายในการดําเนินงานและวิธีการจัดสรรและบริหารทุน ซึ่ง ส่งผลต่อความเชี่ยวชาญของบุคลากรและวัฒนธรรมการทํางาน
วัตถุประสงค์การจัดตั้ง
๑. เพื่อให้เกิดระบบบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน (Strategic Funding) ที่มีความคล่องตัว สามารถตอบสนองต่อโจทย์ความต้องการของประเทศในเชิงยุทธศาสตร์ได้
๒. เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ชัดเจนใน (๑) ด้านการสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการโดยการทํางานร่วมหรือออกทุนร่วมกับภาคเอกชน หรือผู้ใช้ประโยชน์ (๒) ด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงใน พื้นที่ และ (๓) ด้านการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ผ่านการสร้างความร่วมมือวิจัยและ นวัตกรรมกับต่างประเทศ
๓. เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์มการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านความร่วมมือ หลายภาคส่วนทั้งสถาบันวิจัย สถาบันอุดมศึกษา กระทรวง อว. หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ภาค ประชาสังคม และฝ่ายกํากับนโยบาย (คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี) โดยทํางานในลักษณะ Quadruple Helix เพื่อ ขับเคลื่อนการนําความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
๔. เพื่อให้มีข้อมูลและองค์ความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่าย ซึ่งจะนําไปสู่การสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบาย ส่งต่อให้กับหน่วยงานนโยบายที่เกี่ยวข้อง และร่วมกับ สกสว. ในการ กําหนดโจทย์วิจัยและนวัตกรรมรายสาขา
แนวทางการจัดตั้ง
๑. ระบบบริหารและจัดการทุนวิจัยมีความคล่องตัว สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว
๒. มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณวิจัยและนวัตกรรม
๓. สามารถเอื้อให้เกิดการบูรณาการการทํางานระหว่างหน่วยงานในระบบวิจัยและ นวัตกรรมทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
๔. การจัดโครงสร้างภายในให้สามารถแบ่งให้มีหน่วยงานสนับสนุนทุนเฉพาะด้าน เช่น ด้านนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขั้นแนวหน้า และสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป
๕. แต่ละหน่วยงานสนับสนุนทุนที่จัดตั้งขึ้นภายในสํานักงาน สามารถกําหนดระเบียบ การสนับสนุนทุนที่แตกต่างไปตามความจําเป็นของหน่วยงานนั้น ทั้งนี้ การส่งผลลัพธ์ในภาพรวมเป็นความ รับผิดชอบของสํานักงาน
๖. ให้หน่วยงานภายในที่เป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนแต่ละด้าน มีอิสระในการ บริหารจัดการงานได้การสนับสนุนทุนได้ด้วยตนเอง รวมถึงสร้างกลไกที่จะสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ให้เข้ามาทํางานทั้งรูปแบบพนักงานประจําหรือรูปแบบอื่นได้ รวมทั้งเป็นระบบเปิดที่ให้ภาคเอกชนเข้า มาร่วมบริหารได้
โดยในเบื้องต้น ให้จัดให้มีหน่วยสนับสนุนทุนภายใน ๓ หน่วย ประกอบด้วย ๑) หน่วย สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ๒) หน่วยสนับสนุนทุนวิจัย และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และ ๓) หน่วยสนับสนุนทุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขั้นแนวหน้า
พันธกิจของสํานักงาน
พันธกิจหลัก (Main Function)
๑. สนับสนุนทุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านใหม่ และการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีทั้งที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และบริการ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยการบริหารจัดการการ สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิต บริการ ชุมชน และท้องถิ่น
๒. ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนําไปสู่การใช้ประโยชน์และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต
๓. สังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากข้อมูลและองค์ความรู้อันเกิดจากการ ปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่าย ส่งต่อให้กับหน่วยงานนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น สอวช. และ สศช. เป็นต้น และ สนับสนุน สกสว. ในการจัดทําแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกําหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน การวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นที่ได้รับมอบหมาย (Agenda Setting)
พันธกิจรอง (Subsidiary Function)
๑. สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในโครงการพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจนวัตกรรม
๒. ระดมทุนจากบุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานอื่นเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม ทั้งจากการ บริจาค และการรับเงินสมทบทุนจากภาคส่วนต่าง ๆ
๓. จัดทําระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทํางานตามวัตถุประสงค์หลัก (Main Functions) ของสํานักงาน เช่น ข้อมูลเชื่อมโยงระหว่าง ๓ หน่วยสนับสนุนทุน ข้อมูล Agenda Setting
๔. บริหารจัดการหรือสนับสนุนให้เกิดระบบบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ การนําไปใช้ประโยชน์
พันธกิจเฉพาะกาล (Interim Function)
ให้สํานักงานสนับสนุนให้เกิดธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นวัตกรรม และการนํา ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยอาจริเริ่มให้เกิดการประกอบการ การผลิต การเข้าถึงตลาดของ ธุรกิจนวัตกรรม การเชื่อมโยงไปสู่การลงทุนและการขยาย Scale เป็นต้น จนกว่าหน่วยงานภาคเอกชนจะมีศักยภาพในการดําเนินการดังกล่าว
โครงสร้างการบริหาร
๑. คณะกรรมการบริหาร: ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่ง ทํา หน้าที่กํากับดูแลการดําเนินการของสํานักงาน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อเสนอของสภานโยบาย เป็น ประธานกรรมการ ผู้อํานวยการ สกสว. ปลัดกระทรวง อว. และผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกิน ๗ คน โดยอย่าง น้อยต้องมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ คน ที่เชี่ยวชาญการบริหารงานในสาขาที่เป็นขอบเขตรับผิดชอบของหน่วย สนับสนุนทุนภายในแต่ละหน่วย เป็นกรรมการ และให้ผู้อํานวยการสํานักงานเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านแต่ละหน่วยเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
๒. โครงสร้างหน่วยงาน: ให้คณะกรรมการบริหารสามารถจัดตั้งหน่วยสนับสนุนทุนวิจัย และนวัตกรรมเฉพาะด้านขึ้นภายในสํานักงานได้ โดยเริ่มแรกให้มีการจัดตั้งหน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและ นวัตกรรมเฉพาะด้าน พร้อมทั้งหน่วยอํานวยการขึ้น โดยให้มีภารกิจ ดังนี้
๒.๑ หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของ อุตสาหกรรม: สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและ บริการ โดยการสนับสนุนทุนและบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความ ต้องการของภาคการผลิต บริการ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาแพลตฟอร์มทางนวัตกรรมในภาคการผลิตและ ภาคบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการเพื่อการให้บริการด้านคุณภาพ และการพัฒนาบุคลากร ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การให้ทุนดังกล่าว มุ่งเน้นการสนับสนุนแผนงานที่มีความร่วมมือหรือการร่วมลงทุนกับผู้ใช้ประโยชน์
๒.๒ หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่: สนับสนุนทุน วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยการสนับสนุนทุนและบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมที่มี ประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงการส่งเสริมการออกแบบและการ สร้างสรรค์ การพัฒนานวัตกรรมทางสังคม ต้นแบบการพัฒนาสังคม ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจั ดการทางสังคม การศึกษาวิจัยเชิงระบบ การทําการทดลองเชิงนโยบาย การพัฒนาเชิงพื้นที่ การแก้ปัญหาในชุมชน และสังคม การแก้ปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาท การบริหารจัดการองค์ความรู้ การประสานความร่วมมือ ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนา และการพัฒนาบุคลากรในด้านที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการขยายผลการวิจัย และนวัตกรรมดังกล่าวไปสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่
๒.๓ หน่วยสนับสนุนทุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขั้นแนวหน้า: สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยการสนับสนุนทุน และบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต รวมถึง การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นแนวหน้า เพื่อวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตที่ยังไม่มีใน ปัจจุบัน เช่น Quantum Computing, Space Industry, AI, OMICS Technology, High-Energy-Physics และการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) และ การพัฒนากําลังคน วทน. รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต
๒.๔ หน่วยอํานวยการ: รับผิดชอบงานสนับสนุน สกสว. ในการจัดทําแผนด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกําหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นที่ ได้รับมอบหมาย (Agenda Setting) จัดทํายุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมของสํานักงาน (Strategic Delivery Plan) ประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในสําหรับโครงการวิจัย และนวัตกรรมขนาดใหญ่ การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยและนวัตกรรมที่หน่วยงานให้การสนับสนุน และองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจําเป็นต่อสถานการณ์ และจัดทําระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทํางาน ตามวัตถุประสงค์หลัก รวมถึงรับผิดชอบงานธุรการของสํานักงาน บริหารจัดการธรรมาภิบาล (Governance) การบริหารความเสี่ยง (Risk) การปฏิบัติตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดี (Compliance) ขององค์กร และ สนับสนุนการบริหารจัดการภายในสํานักงาน (Shared Services) เพื่ออํานวยความสะดวกแก่หน่วยสนับสนุน ทุน เช่น งานบุคลากร งานพัสดุ งานงบประมาณและบัญชี งานสารสนเทศ งานกฎหมาย เป็นต้น
๓. การแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงาน:
๓.๑ ผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้าน: ให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่
อํานาจในการสรรหาผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านจากบุคคลภายนอก หน่วยละ ๑ คน (โดย อ้างอิงจากหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้อํานวยการองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง) มีวาระการดํารงตําแหน่ง ๔ ปี ติดต่อกันได้ไม่เกิน ๒ วาระ ไม่มี สถานะเป็นพนักงานของสํานักงาน และให้ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเทียบเท่ารองผู้อํานวยการสํานักงาน
๓.๒. ผู้อํานวยการสํานักงาน: ให้ผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านผลัดกัน ขึ้นไปดํารงตําแหน่งเป็นผู้อํานวยการสํานักงานคราวละ ๒ ปี โดยให้ได้รับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น สําหรับผู้อํานวยการองค์การมหาชนตามหลักเกณฑ์ที่ ครม. กําหนด ทั้งนี้ ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้อํานวยการ หน่วยสนับสนุนทุนทั้ง ๓ หน่วย ตกลงร่วมกันเพื่อเลือกผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานในวาระแรก
เมื่อผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเวียนขึ้นไปเป็นผู้อํานวยการ ให้คณะกรรมการ บริหารแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารทําหน้าที่รักษาการแทนในตําแหน่งผู้อํานวยการหน่วย สนับสนุนทุนที่ว่างอยู่
ทั้งนี้ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานสามารถแต่งตั้งรองผู้อํานวยการด้านการบริหาร ๑ คน จากผู้ปฏิบัติงานในสํานักงาน ให้ได้ค่าตอบแทนในตําแหน่งรองผู้อํานวยการ และพ้นจากตําแหน่งพร้อมกับ ผู้อํานวยการสํานักงาน แต่สามารถได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่อได้ ทั้งนี้ สูงสุดไม่เกิน ๘ ปี
๔.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหาร:ให้คณะกรรมการบรหิาร แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ (Steering Committee) ทําหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดําเนินงานของหน่วย สนับสนุนทุนเฉพาะด้านแต่ละแห่ง ประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการบริหารที่มี ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานที่เป็นขอบเขตรับผิดชอบเฉพาะของหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านเป็น ประธานอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจํานวน ๗-๙ คน ตัวแทนจากหน่วยของรัฐที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เป็นอนุกรรมการ และให้ผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุน เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้กําหนดองค์ประกอบลงในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งให้ชัดเจน
ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดตั้งสํานักงาน
๑) เพิ่มการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมจากภาคเอกชน และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม รวมไปถึงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมในภาคเอกชนสูงขึ้น (เป้าหมายร้อยละ ๒ GDP ในปี ๒๕๗๐)
๒) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย พัฒนาให้เกิดผลงานวิจัยและ นวัตกรรมที่มีการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง
๓) พัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ํา โดยเพิ่มศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการใช้กระบวนการการวิจัยและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสร้างการ เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น
๔) เพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าให้กับประเทศ รองรับอุตสาหกรรม อนาคต เพื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนชุดใหม่ (New Growth Engine) รองรับการเติบโตของประเทศในระยะยาว
๕) ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดทั้ง Value chain ของ Sector สําคัญตามยุทธศาสตร์และความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม สร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
๖) การสร้างผลกระทบจากการบริหารและจัดการทุนผ่านโปรแกรม/แผนงานวิจัยเชิง ยุทธศาสตร์ (Strategic Funding) โดยการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และ ขยายผลให้เกิดประโยชน์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การออกแบบระบบบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม
• การออกแบบระบบการบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม เป็น การออกแบบตามนโยบายและยุทธศาสตร์ ในส่วนที่สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รับผิดชอบหลักในช่วง การพัฒนาองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์ (Knowledge Development and Utilization) ได้มีการปรับให้ สอดคล้องกับโจทย์ความต้องการของประเทศมากขึ้นแล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) อยู่ระหว่างวางกลไกเพื่อการบูรณาการกระบวนการทํางาน การสร้างความเชื่อมโยงและ ส่งต่องานวิจัยระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อให้บรรลุปลายทางของการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ นวัตกรรม ทั้งนี้ ควรปรับเปลี่ยนแนวทางและวิธีการประเมินผลหน่วยบริหารและจัดการทุนในการบรรลุผลการ นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งไม่จําเป็นต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทํางานของหน่วยงาน เดียวเท่านั้น แต่เป็นการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุน และให้ถือว่าเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน
• การดําเนินงานของหน่วยงานบริหารและจัดการทุนมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิด การนํางานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้จริง แต่การออกแบบขอบเขตของหน่วยบริหารและจัดการทุน ยังขาดกิจกรรมการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในด้าน Technology Feasibility ซึ่งครอบคลุม Technology ในการผลิต บริษัทที่จะดําเนินการผลิต ต้นทุนในการผลิต ที่สามารถแข่งขันได้ การขอ Approved มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งมีความจําเป็นอย่างมากในกระบวนการก่อนการให้ทุนเพื่อให้ งานวิจัยที่เกิดขึ้นไปถึงขั้นตอนการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการวิจัย ให้สําเร็จด้วย (Research Feasibility) ดังนั้น จึงควรกําหนดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทาง การตลาด (Market Feasibility) ตั้งแต่ก่อนเริ่มดําเนินงาน ใน ๒ ระดับ คือ ๑) ระดับการจัดสรรงบประมาณ และ ๒) ระดับการสนับสนุนทุนให้กับแผนงาน/โครงการ
• บทบาทของสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.)มีมากกว่าการดูแลในส่วน Production to Market/Business Development เนื่องจากมีการสนับสนุนและอํานวยความสะดวกตั้งแต่ การเริ่มวิจัยไปจนถึงการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทํา Research Development and Market Feasibilityและบทบาทหน้าที่สนับสนุนการวิจัยไปจนถึงการตลาดในด้านการแพทย์ควรกําหนดให้เป็นหนา้ที่ ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
• ในการออกแบบระบบบริหารและจัดการทุนได้กําหนดให้สนช.รับผิดชอบส่วน ของการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เป็นหลัก โดยมีกระบวนการทํางานร่วมกับหน่วย บริหารและจัดการทุนหน่วยอื่น ๆ เพื่อชื่อมโยงและส่งต่องานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งต่องานวิจัยจาก การสนับสนุนทุนในช่วง Translational Research มายัง สนช. เพื่อให้นําไปสู่การใช้ประโยชน์
• การให้สนับสนุนทุนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวจะทําให้ เกิดปัญหาเรื่องการเข้าถึงตลาด ซึ่งหน่วยบริหารและจัดการทุนได้พยายามพัฒนากลไกต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนด้านการตลาดควบคู่ไปด้วย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่มีลักษณะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ยัง ต้องผ่านการพัฒนาต่อยอด (Technology Development) และการพัฒนาธุรกิจ (Business Development) อีกหลายขั้นตอน
• ช่องว่างในระบบปัจจุบันที่สําคัญอีกประการหนึ่ง คือ ยังไม่มีหน่วยงาน รับผิดชอบหลักในการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมที่ชัดเจน
๒. โครงสร้างการบริหารของ วอพ. และหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการบริหาร หน่วยงาน ผู้อํานวยการสํานักงาน และผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้าน
• ควรกําหนดหน้าที่และอํานาจรวมถึงความรับผิดชอบ(Accountability)ของ คณะกรรมการบริหารหน่วยงาน ผู้อํานวยการสํานักงาน และผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านไว้ให้ ชัดเจนในข้อเสนอฯ ซึ่งจะสะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อการส่งมอบผลลัพธ์ของหน่วยบริหารและจัดการทุน
• หน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านควรมีอํานาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหาร และการจัดสรรทุน โดยหลักการจึงควรกําหนดให้มีการมอบอํานาจและความรับผิดชอบ (Accountability) ให้แก่ผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านให้สามารถดําเนินการได้อย่างเป็นอิสระ (Autonomy) และ คล่องตัว
• กรณีที่ผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านขึ้นไปดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงาน และการกําหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารฯ ท่านหนึ่งมาดํารงตําแหน่ง รักษาการผู้อํานวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านแทนเป็นระยะเวลา ๒ ปี อาจมีประเด็นความขัดแย้งใน บทบาทการทําหน้าที่ทั้งสองตําแหน่ง (Conflict of Role) จึงเสนอให้ตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานมาจาก สรรหาและแต่งตั้งใหม่เมื่อครบวาระ และควรคงหลักการมอบอํานาจการจัดทําสัญญาให้ทุนให้แก่ผู้อํานวยการ สนับสนุนทุนเฉพาะด้านเพื่อความเป็นอิสระและความคล่องตัวไว้ตามเดิม
๓. พันธกิจของ วอพ.
• บทบาทและหน้าที่ของวอพ.ไม่รวมการสนับสนุนทุนเพื่อการพัฒนาบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (เดิมเป็นบทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม หรือ บพค.) เนื่องจากในระยะ เริ่มต้น ต้องการมุ่งเน้นไปที่การออกแบบระบบการบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมเป็นหลัก โดยการ สนับสนุนทุนด้านการพัฒนากําลังคนและการอุดมศึกษามีหน่วยงานรับผิดชอบอยู่ขณะนี้ได้แก่ สํานักงาน ปลัดกระทรวง อว. และ วช.
• ควรกําหนดให้ วอพ. มีกรอบการทํางานที่มีความคล่องตัวและสามารถปิด ช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดย กสว. อาจมอบหมายภารกิจในอนาคตที่ยังไม่มีหน่วยบริหารและจัดการทุน
๔. ประเด็นอื่น ๆ
• การมีหน่วยบริหารและจัดการทุนหลายแห่งในระบบอาจทําให้เกิดกรณี การจัดสรรทุนซ้ําซ้อนให้แก่นักวิจัย ควรมีแนวทางในการพิจารณาและป้องกันปัญหาการขอทุนจากหลายแหล่ง ทุน รวมถึงแนวทางในการตรวจสอบการขอทุนไม่ให้ซ้ําซ้อนกันด้วย ซึ่งกรณีนี้ปัจจุบัน มีแนวทางในการ ตรวจสอบการรับทุนของนักวิจัย โดยกําหนดหลักการว่านักวิจัยหนึ่งคนไม่ควรได้รับทุนเกิน ๒ โครงการ และ หน่วยบริหารและจัดการทุนจะมีการวางแนวทางการพิจารณาร่วมกัน
• ประเด็นการปฏิรูปที่ควรศึกษาและพิจารณาในระยะต่อไปคือกลไกเชิงนโยบาย ในการสร้างความสามารถทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการเชื่อมโยงการดําเนินงานร่วมกันระหว่าง สภานโยบายฯ กสว. และหน่วยบริหารและจัดการทุน
ประธานฯ กล่าวสรุปการประชุมในครั้งนี้ว่าที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการของ (ร่าง) ข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุน โดยมีข้อเสนอแนะหลักเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการซึ่งฝ่าย เลขานุการฯ จะนําข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพัฒนา และยกร่างพระราชกฤษฎีกา รวมถึงการกําหนดแนวทาง ในการบริหารและจัดการทุนในอนาคต
มติที่ประชุม
๑. เห็นชอบกรอบการประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุน และ (ร่าง) ข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช.
๒. มอบหมายให้ สอวช. แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ต่อ กอวช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑
๓. มอบหมายให้ สอวช. นําข้อเสนอดังกล่าวพร้อมรายละเอียดการจัดตั้ง เสนอต่อ กอวช. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนําเสนอต่อสภานโยบายต่อไป
ใดรับผิดชอบเป็นการเฉพาะให้ วอพ. ดําเนินการได้ อย่างไรก็ตาม ชื่อของสํานักงาน วอพ. ยังไม่สื่อถึง การทํางานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในระดับพื้นที่
• ควรระบุเรื่องการระดมทุน ซึ่งเป็นพันธกิจรองให้ชัดเจนว่า สามารถทําได้เฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้องพันธกิจของ วอพ. เท่านั้น
• ควรระบุให้ชัดเจนว่า พันธกิจหลักของ วอพ. คือ ต้องบริหารจัดการให้เกิด การลงทุนในการวิจัยและนวัตกรรม (RDI Investment Management) จากภาคเอกชน โดยการใช้ งบประมาณภาครัฐลงทุนในระยะแรก (Seed Money) เพื่อ Leverage งบประมาณก้อนใหญ่จากภาคเอกชน เข้ามาในระบบเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม ดังนั้น หน่วยบริหารและจัดการทุนจึงควรมีหน้าที่และขีด ความสามารถในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการวิจัยและการตลาด (Research and Market Feasibility) รวมถึงต้องมีการวางระบบการติดตามและประเมินผลตั้งแต่เริ่มดําเนินการวิจัย
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ใน วันจันทร์ที่ ๔ ตุลาคม และ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ตามลําดับ
มติที่ประชุม รับทราบ