
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 3/2564
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2/2564
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มี การประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๔ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้
๑. ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ขอแก้ไขข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมในระเบียบวาระที่ ๓.๑ ข้อ ๒) ควรมีการติดตามและ ประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนทั้ง ๗ หน่วยงาน ก่อนการแยกหน่วยบริหารและ จัดการทุนเฉพาะด้าน (PMU ABC) ออกจาก สอวช. โดยให้ความสําคัญกับหลักการความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ (Autonomy) และมีการบริหารจัดการผลประโยชน์ ทับซ้อน (Conflict of Interest) รวมทั้งหลักความคุ้มค่าในการดําเนินงานในหน่วยงานที่เสนอจัดตั้งใหม่ ซึ่ง ต้นทุนในการจัดตั้งองค์กรใหม่ใช้งบประมาณอย่างน้อย ๒๐ ล้านบาท
๒. ระเบียบวาระที่ ๓.๑ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ดังนี้
๕) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ควรดําเนินการให้สอดคล้อง กับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ และตอบโจทย์ประเด็นการพัฒนาประเทศ เช่น อุตสาหกรรม S-Curve, อุตสาหกรรม BCG, Sustainable Development Goals (SDG), และ Digital Society เป็นต้น ทั้งนี้ ควรคํานึงถึงขีดความสามารถในการแข่งขัน ความคุ้มค่าในการลงทุน ความยั่งยืน (Sustainability) และวิธีการ ตรวจสอบความต้องการสินค้าในตลาดบัญชีนวัตกรรมไทย ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงและนําไปสู่การพัฒนารูปแบบ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ (New Growth Model) โดย ประเทศไทยควรผลักดันการกําหนดมาตรฐาน
สินค้าและบริการที่เป็นจุดแข็งให้ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ เช่น สินค้าเกษตร อาหาร สมุนไพร เป็นต้น
๖) ควรปฏิรูประบบ NQI ในเชิงโครงสร้าง กฎหมาย และกลไกการบริหารจัดการ เพื่อ ลดความทับซ้อนหรือการทํางานที่มีลักษณะเป็น Silo โดยกําหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการบูรณาการ การทํางานร่วมกันระหว่างกระทรวงฯ และการสร้างความเชื่อมโยงกับภาคเอกชน รวมถึงต้องกําหนดเป้าหมาย และทิศทางในการพัฒนาระบบ NQI ของประเทศ โดยมีการวางแผนการลงทุนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว ที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาในปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งนี้ หากไม่มีการ Re-design หน่วยงานในระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่มีการตรากฎหมาย NQI หรือเสนอจัดตั้ง หน่วยงานใหม่ จะทําให้เกิดความซ้ําซ้อนของกฎหมายเพิ่มขึ้น และไม่สามารถแก้ปัญหาของหน่วยงานที่มีใน ระบบเดิมได้
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดย นางนันทนา ธรรมสโรช รองเลขาธิการ ก.พ.ร. นําเสนอสรุปประเด็นสําคัญจากการประชุมคณะกรรมการกํากับการประเมิน ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ดังนี้
๑. คณะกรรมการฯ รับทราบความก้าวหน้าในการประเมินประสิทธิภาพและผล การปฏิบัติราชการของ วช. ระยะที่ ๑ (รอบ ๖ เดือน) ในปัจจุบัน (As-is) ซึ่งเป็นการประเมินการดําเนินงานที่ ครอบคลุมหน้าที่และอํานาจของ วช. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
๒. กระบวนการประเมินในระยะที่ ๒ (รอบ ๑๒ เดือน) เป็นการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) ครอบคลุมภารกิจหลักของ วช. ๒ ประการ ได้แก่
๑) การให้และบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการนําไปใช้ประโยชน์ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ํา (Upstream) กลางน้ํา (Midstream) และปลายน้ํา (Downstream) เน้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม โดยจะพิจารณากรณีศึกษาการดําเนินงาน ๒ กรณี ได้แก่ ๑.๑) แผนงานคนไทย ๔.๐ (เป็นแผนงาน spearhead ด้านสังคม ที่บริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมโดย วช.) และ ๑.๒) โครงการ ประเทศไทยในอนาคต หรือ Future Thailand (เป็นโครงการที่บริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมโดย หน่วยงานภายนอก) เพื่อวิเคราะห์วิธีการและศักยภาพการบริหารจัดการโครงการ รวมถึงวิเคราะห์เปรียบเทียบ ระหว่างโครงการที่ดําเนินการโดย วช. และดําเนินการโดยหน่วยงานภายนอก
๒) การจัดทําฐานข้อมูลและระบบข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ๓. การประเมินควรให้น้ําหนักการประเมินประสิทธิภาพทรัพยากรบุคคล (Human Resource Efficiency) ในสถานะปัจจุบันและความเหมาะสมของทรัพยากรมนุษย์ต่อการดําเนินงานในอนาคต มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ เจริญพรพัฒนา นําเสนอการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ดังนี้
๑. แนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. เป็น การประเมินผลการดําเนินงานขององค์กรเพื่อนําไปสู่การยกระดับการดําเนินงาน (Evaluation for Transformation) แบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑) การประเมินประสิทธิภาพและผลการดําเนินงานใน ปัจจุบัน (Performance) ส่วนที่ ๒) การประเมินเชิงลึก โดยประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นแวดล้อมของ วช. ในการดําเนินภารกิจในสถานะปัจจุบัน (In-depth Process Review) และส่วนที่ ๓) การวิเคราะห์กําหนด และออกแบบทางเลือก (Option) การปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหาร เพื่อสนับสนุนการดําเนินงาน ตามภารกิจและขับเคลื่อนระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) อย่างมีประสิทธิภาพ (To-be)
๒.หลักเกณฑ์หรือประเด็นการประเมินประกอบด้วย๑)ประสิทธิภาพและประสิทธผิล (Efficiency & Effectiveness) ๒) การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) ๓) การเรียนรู้ ขององค์กร (Organization Learning) ๔) การประสานงานและความร่วมมือ (Coordination & Collaboration) ๕) การสื่อสารต่อสังคมและสาธารณะ (Social and Public Communication) และ ๖) แพลตฟอร์มข้อมูล และการเชื่อมโยงระบบข้อมูล (Data Platform & Connecting)
๓. แนวทางการกําหนดตัวชี้วัดเพื่อการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ของ วช. ซึ่งตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับกระบวนการทํางานหลักของ วช. และนําไปสู่การเรียนรู้ รวมถึงมีผล ย้อนกลับเพื่อพัฒนากระบวนการได้นอกจากนกี้ารประเมินตามตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับความพร้อมของข้อมูล ที่เกิดขึ้นจริง และผลการประเมินต้องนําไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการทํางานของ วช. ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยประเภทของตัวชี้วัดและการวัดผล ประกอบด้วย ๑) ตัวชี้วัดเพื่อประเมินผล (Evaluation) จํานวน ๑๓ ตัวชี้วัด (มีข้อมูลครบถ้วน จํานวน ๕ ตัวชี้วัด และอยู่ระหว่างรอข้อมูล จํานวน ๘ ตัวชี้วัด) ๒) ตัวชี้วัดเพื่อการติดตาม (Monitoring) จํานวน ๘ ตัวชี้วัด (มีข้อมูลครบถ้วน จํานวน ๒ ตัวชี้วัด และอยู่ ระหว่างรอข้อมูล จํานวน ๖ ตัวชี้วัด) และ ๓) การวัดเพื่อประเมินเชิงคุณภาพ จํานวน ๑๔ ประเด็น (จะ ดําเนินการในระยะที่ ๒)
๔. การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ครอบคลุมหน้าที่และ อํานาจของ วช. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบด้วย ๗ ภารกิจ ได้แก่ ๑) การให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ๒) การจัดทํา ฐานข้อมูลและดัชนีด้านววน.ของประเทศ๓)การริเริ่มขับเคลื่อนและประสานการดําเนินงานโครงการวจิัย และนวัตกรรมของประเทศ ๔) การจัดทํามาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ๕) การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ ๖) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม และ ๗) การให้ รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยรายละเอียดผล การประเมินการดําเนินงานในปัจจุบันตาม ๗ ภารกิจ ในระยะที่ ๑ (รอบ ๖ เดือน) ปรากฎตามเอกสาร ประกอบระเบียบวาระที่ ๓.๑
๕. แนวทางการประเมินในระยะที่ ๒ เป็นการประเมินแบบ Developmental Evaluation มุ่งเน้นการพัฒนาเป็นเป้าหมายสําคัญ ซึ่งเหมาะกับการประเมิน วช. ที่อยู่ในระยะของการปฏิรูปและพัฒนา วิธีการทํางานให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของระบบ อววน. โดยการออกแบบวิธีการทํางานร่วม ระหว่าง วช. กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ควรเลือกภารกิจที่สําคัญที่สุดเพื่อทําการประเมินแบบ Developmental Evaluation เช่น การให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ ประโยชน์ การจัดทําระบบข้อมูล ววน. เป็นต้น และจัดทําข้อเสนอในการพัฒนารูปแบบและวิธีการทํางานที่ ได้รับการคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
๖. ประเด็นการวิเคราะห์กรณีศึกษากระบวนการดําเนินงานภารกิจการให้ทุนวิจัยและ นวัตกรรม และการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ จะพิจารณาเชิงลึกถึงรูปแบบ (Modality) ของการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมที่ วช. ได้รับการคาดหวังจากระบบ ววน. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้ดําเนินการ โครงสร้างการดําเนินงานที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินการตาม Modality ดังกล่าว และกลไก การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลย้อนกลับเพื่อการปรับปรุงการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง (PDCA) รวมถึง สถานะขององค์กรที่มีผลต่อการดําเนินการในภารกิจดังกล่าว
๗. กรอบการประเมินในระยะที่ ๒ Developmental Evaluation แบ่งเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ ๑ การเตรียมการ (เมษายน – พฤษภาคม ๒๕๖๔) ทีมประเมินจะสื่อสารกับวช. ทั้งระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประเมินแบบ Developmental Evaluation และวิธีการทํางานให้เกิดความร่วมมือและความไว้วางใจต่อกัน รวมถึงสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้รับทราบประเด็นที่เป็นความคาดหวังและประเด็นที่เป็นข้อกังวล และนําไปสู่การพัฒนา Modality ของ การบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของ วช.
ช่วงที่ ๒ การดําเนินการ (พฤษภาคม – ตุลาคม ๒๕๖๔) ทีมประเมินจะกระทบ ความคิดและความคาดหวัง (Reconcile) กับผู้บริหารและบุคลากร วช. วิเคราะห์ช่องว่างของการพัฒนา (Gap) และตกลงร่วมกันถึงแนวทางในการปรับตัว ทดลองให้ วช. ปรับตัวตามที่ตกลงร่วมกัน รวมถึงติดตาม การดําเนินงานตาม Modality ใหม่ วิเคราะห์ความสามารถในการปรับตัวของ วช. และสรุปผล จัดทํา ข้อเสนอแนะสําหรับการเปลี่ยนแปลงระบบ ทิศทางการทํางานขององค์กรในระบบใหม่หลังการปฏิรูป
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) การประเมินระบบ ววน.
• การปฏิรูประบบ ววน. จําเป็นต้องมีการประเมินเชิงระบบซึ่งเป็นภาพใหญ่ของการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมในระบบ ววน. โดยต้องกําหนดเป้าหมาย และวิเคราะห์ศักยภาพและขอบเขต การให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม (Scope of Work) ของหน่วยบริหารและจัดการทุนในระบบ ววน. ที่ชัดเจน เช่น การให้ทุนครอบคลุมในทุกมิติ (Comprehensive) หรือการให้ทุนเฉพาะด้านที่เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ (Specialization) เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงการดําเนินงานระหว่างหน่วยงาน (Synchronization) กระบวนการบริหารจัดการทุนที่ไม่ซ้ําซ้อน (Administration Process) และนํามาซึ่งการปรับปรุงกลไก ขั้นตอนการดําเนินงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ (Optimization) สูงสุดต่อระบบ ววน. ของประเทศ ทั้งนี้ สอวช. สกสว. หน่วยบริหารและจัดการทุน ควรมีการออกแบบภาพใหญ่ของระบบการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกัน
• ควรประเมินหน่วยบริหารและจัดการทุนอีก ๖ แห่งด้วย เพื่อให้เห็นประเด็นร่วม และประเด็นเฉพาะของหน่วยบริหารและจัดการทุน เพื่อสะท้อนการตอบโจทย์ระบบ ววน.
๒) การประเมิน วช.
• กระบวนการประเมินในระยะที่ ๒ การประเมินเชิงพัฒนา (DevelopmentalEvaluation) ได้พิจารณาคัดเลือกกรณีศึกษาการดําเนินงาน ๒ กรณี ได้แก่ ๑) แผนงานคนไทย ๔.๐ และ ๒) โครงการประเทศไทยในอนาคต (Future Thailand) อย่างไรก็ตามอาจคัดเลือกแผนงานหรือโครงการ ขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลเพิ่มเติมนอกเหนือจาก ๒ กรณีศึกษาดังกล่าว ให้เห็นภาพ และวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบวิธีการและศักยภาพการบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมระหว่าง การดําเนินงานร่วม วช. กับหน่วยงานภายนอก (Outsource) และส่วนที่ วช. ดําเนินการเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
• การประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) ควรให้ความสําคัญใน การตกลงร่วมกัน (Agreement) ระหว่าง วช. กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถึงผลสําเร็จ (Achievement) และ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมาย (เช่น ภาคชุมชน ภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคประชาสังคม) ซึ่งต้อง ร่วมกันกําหนดเป้าหมายความสําเร็จที่คาดหวังภายใต้กรอบระยะเวลา และนํามาซึ่งการกําหนดแผน การดําเนินงาน สมรรถนะหลักของหน่วยงาน (Core Competency) และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อปิด ช่องว่าง (Gap) ระหว่างสมรรถนะปัจจุบันกับสมรรถนะที่ต้องการในอนาคต เพื่อให้บรรลุผลสําเร็จตามที่คาดหวัง
• แนวทางการประเมินเพื่อพัฒนาองค์กร โดยใช้การประเมินแบบ Developmental Evaluation อาจเริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่หน่วยงานจะส่งมอบ (Deliver) และพิจารณาว่า หน่วยงานจะดําเนินการอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งต้องอาศัยการปฎิสัมพันธ์และโน้มน้าวผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (Cultivate Stakeholders) และบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งนี้อาจศึกษารูปแบบและกลไก การ Cultivate Stakeholders เพิ่มเติม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร (Communication) และการบริหาร จัดการ (Management) เป็นส่วนสําคัญ ตัวอย่างเช่น การประเมินเชิงพัฒนาของโครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program – HITAP) จะ เริ่มจากการกําหนดเป้าหมายที่หน่วยงานจะส่งมอบ และ Cultivate Stakeholders และบุคลากรภายใน หน่วยงาน ผ่านกระบวนการจัดกลุ่ม (Clustering) การบริหารจัดการ และการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบที่ส่งผลต่อการปรับชุดความคิด (Mindset) ของผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้
• การศึกษารูปแบบ (Modality) การบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมที่หลากหลาย จะช่วยวิเคราะห์จํานวนบุคลากรให้เหมาะสมกับรูปแบบ (Modality) ของการบริหารและจัดการ ทุนวิจัยและนวัตกรรมที่ วช. ได้รับการคาดหวังจากระบบ ววน. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งการประเมินอาจใช้ รูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนค่าตอบแทนตามมาตรฐานของหน่วยงานระดับกรม หรือวิเคราะห์เปรียบเทียบกับ ลักษณะหรือมูลค่าโครงการ และนํามาเปรียบเทียบกับหน่วยบริหารและจัดการทุนอื่น เพื่อนําไปสู่การออกแบบ โครงสร้างบุคลากรที่เหมาะสมต่อการดําเนินการตาม Modality ดังกล่าว
• การประเมินภารกิจการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม และการส่งเสริมและถ่ายทอด ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ ควรคํานึงถึงความสามารถในการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (User) ในแต่ละขั้นตอน ของกระบวนการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม เช่น คุณภาพของระบบคัดกรองโครงการ ระยะเวลา การพิจารณาข้อเสนอโครงการ อัตราการปฏิเสธข้อเสนอโครงการ (Proposal Rejection Rate) การเบิกจ่าย งบประมาณ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน (Return Value from Money) เป็นต้น
• การประเมินภารกิจการจัดทําระบบข้อมูล ววน. จําเป็นต้องพิจารณาระบบ ข้อมูลทั้ง ๒ ประเภท ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่ ๑) ระบบข้อมูลที่ตอบสนอง (Interface) ต่อประชาคม วิจัย และ ๒) ระบบข้อมูลที่ใช้สําหรับการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน วช. (Operating System) เพื่อนําไปสู่การปรับปรุงหรือพัฒนาระบบข้อมูล ววน. ที่มีประสิทธิภาพ
• ทีมประเมินควรจัดทํา Template สําหรับชุดข้อมูลที่สนับสนุนตามกรอบการประเมินฯ เพื่อให้ วช. จัดเตรียมข้อมูลประกอบการประเมินได้ครบถ้วนและสมบูรณ์
มติที่ประชุม
เห็นชอบหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฎิบัติราชการของ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.