
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2/2564
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุม พร้อมทั้งกล่าวถึงความสําคัญของระบบโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพของประเทศ ซึ่งเป็นวาระการประชุมเพื่อเสวนาในครั้งนี้ และขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ครั้งที่ 2/2564
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1-2564
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มี การประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงาน การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุมใน ระเบียบวาระที่ 3.1 ในส่วนของข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ดังนี้
1) ควรจัดทําภาพใหญ่ของระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) และทิศทางการจัดสรรทุนของประเทศ เพื่อให้เกิดเอกภาพในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของ หน่วยงานในระดับต่าง ๆ และเห็นภาพการแบ่งบทบาทหน้าที่ของหน่วยบริหารและจัดการทุนที่ไม่ซ้ําซ้อนกัน รวมทั้งเห็นภาพการแบ่งบทบาทระหว่างสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรศึกษาบทบาทของหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบหน่วยงานใหม่ ซึ่งจะนําไปสู่การกําหนดบทบาทภารกิจในอนาคตของแต่ละ หน่วยงานได้เป็นรูปธรรมและชัดเจนด้วย
2) ควรมีการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนทั้ง 7 หน่วยงาน ก่อนการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน (PMU ABC) ออกจาก สอวช. โดยให้ ความสําคัญกับหลักการความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ (Autonomy) และมีมาตรการการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน (Management of Conflict of Interest) รวมทั้งหลักความคุ้มค่าในการดําเนินงานในหน่วยงานที่เสนอจัดตั้งใหม่ ซึ่งต้นทุนในการจัดตั้งองค์กรใหม่ใช้ งบประมาณอย่างน้อย 20 ล้านบาท
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
ขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งมติการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของ สกสว. ให้สกสว. รับทราบด้วย
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2564 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
คณะทํางานสมุดปกขาว “การปฏิรูปการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศ (National Quality Infrastructure หรือ NQI) ” โดย นางสาวสิวินีย์ สวัสดิ์อารีย์ สถาบันมาตรวิทยา แห่งชาติ นําเสนอระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ดังนี้
1) ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศมีความจําเป็นต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการให้ก้าวสู่ตลาดสินค้าคุณภาพ (Premium Market) โดยการกําหนดและควบคุมมาตรฐานสินค้าและบริการให้ได้ตามมาตรฐานระดับสากล ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของตราสัญลักษณ์ “Made in Thailand” ดังนั้นประเทศไทยจําเป็นต้องมีระบบโครงสร้าง พื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure หรือ NQI) ซึ่งองค์กรภาครัฐและเอกชน ต้องทํางานด้วยกันเพื่อควบคุมคุณภาพอย่างเป็นระบบ และมีนโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและวิธี ปฏิบัติใหก้ารดําเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยระบบ NQI ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบและมีองค์กร ที่มีหน้าที่และบทบาท ดังนี้
1.1) มาตรวิทยา (Metrology) ได้แก่ สถาบันมาตรวิทยา (National Methodology Institute) ทําหน้าที่ค้นหาวิธีการวัดปริมาณที่แม่นยํา เที่ยงตรงและเสถียร
1.2) การกําหนดมาตรฐาน (Standardization) ได้แก่ องค์กรกําหนดมาตรฐาน (National Standard Body) ทําหน้าที่กําหนดคุณภาพขั้นต่ําที่ยังยอมรับได้
1.3) การรับรองระบบงาน (Accreditation) ได้แก่ องค์กรรับรองระบบงาน (Accreditation Body) ทําหน้าที่ประเมินความพร้อมของระบบและความสามารถของหน่วยตรวจสอบและรับรอง
1.4) การตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment) ได้แก่
หน่วยตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment Body) ทําหน้าที่ให้บริการ NQI และออกใบรับรอง
1.5) การกํากับดูแลตลาด (Market Surveillance) ได้แก่ ผู้มีอํานาจกํากับดูแล ตลาด (Market Surveillance Agency) ทําหน้าที่ป้องกันไม่ให้สินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัยเข้าสู่ตลาดรวมทั้งนําเอาสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัยออกจากตลาด
2) หัวใจสําคัญของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ คือ ความเป็นอิสระและความไม่ลําเอียง โดยรัฐต้องรับประกันความอิสระของหน่วยงานในระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ และ หน่วยงานในระบบต้องปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานความไม่ลําเอียง โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านมาตรวิทยา (Metrology) ด้านการกําหนดมาตรฐาน (Standardization) และด้านการรับรองระบบงาน (Accreditation) ต้องมหี น้าที่ครอบคลุมทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ (National Level) ระดับภูมิภาค (Regional Level) และ ระดับนานาชาติ (International Level) เพื่อเชื่อมโยงกับการกําหนดมาตรฐานทางคุณภาพในระดับสากลได้
3) ระบบ NQI มีความเชื่อมโยงกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และมีความสําคัญต่อการสร้างนวัตกรรม จึงมีความจําเป็นต้องกําหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบสินค้า นวัตกรรม และผลักดันมาตรฐานดังกล่าวสู่ระดับสากล
4) การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของระบบ NQI มีดังนี้
4.1) ด้านนโยบาย : ปัจจุบันประเทศไทยมี พ.ร.บ.การมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 และ พ.ร.บ. พัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ.2559 แต่ยังไม่มีหน่วยงานระดับชาติที่รับผิดชอบ ในการกําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ NQI
4.2) ด้านความสามารถ : ปัจจุบันประเทศไทยมีความสามารถระดับพื้นฐานซึ่งยังไม่เพียงพอสําหรับเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในอนาคต รวมถึงยังมีความทับซ้อนของการให้บริการ และขาด การลงทุนจากภาคเอกชน นอกจากนี้ การกําหนดคุณภาพของประเทศไทยยังคงมุ่งเน้นในการควบคุมคุณภาพ สินค้าและบริการหลังการผลิต แต่ไม่รวมถึงกระบวนการผลิต และการควบคุมมาตรฐานตลาด
4.3) ด้านความยั่งยืน : ปัจจุบันบทบาท NQI ของประเทศยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และไม่มีโมเดลการใช้ประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรมที่ชัดเจน รวมถึงยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อ ภาคเอกชน
5) คณะทํางานสมุดปกขาว “การปฏิรูปการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศ (National Quality Infrastructure: NQI) ” ซึ่งมี ดร. ดําริ สุโขธนัง เป็นประธานคณะทํางาน และมี เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และผู้อํานวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็น คณะทํางานและเลขานุการร่วม ได้จัดทําสมุดปกขาวเมื่อเดือนมกราคม 2562 โดยวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน ของ NQI อ้างอิงกับแนวทางการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพระดับสากล และมีข้อเสนอ แนวทางบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ สรุปได้ดังนี้
5.1) ตราพระราชบัญญัติโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ให้เป็น กฎหมายแม่ (Basic Law) และแก้ไขพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
5.2) จัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศ (NQI Policy and Strategy) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ หรืออุตสาหกรรมเป้าหมาย
5.3) จัดทําแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ตลอดห่วงโซ่ คุณค่าของสินค้าธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีการจัดลําดับก่อนหลัง ตามความพร้อมของหน่วยงาน เครื่องมือ บุคลากร รายได้ เพิ่มหรือมูลค่าเพิ่ม ผลกระทบเชิงสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
5.4) จัดทําแผนพัฒนาบุคลากรด้าน NQI ระยะกลางและระยะยาว และเร่งจัดทํา หลักสูตรเพื่อปรับหรือเปลี่ยนทักษะของวิศวกรและแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยของ ประชาชน
5.5) จัดให้มีมาตรการกํากับดูแลตลาด การคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาองค์กร ผู้บริโภคและตราคุณภาพ การบริหารภาพลักษณ์ของประเทศด้านคุณภาพ รวมทั้งการออกกฎหมายและ การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
1) ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมีความเกี่ยวพันกับหลายปัจจัย ระบบ NQI เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในกรณีของประเทศเวียดนาม ที่มีตัวเลขการส่งออกสินค้า High-tech สูงกว่าประเทศไทยในช่วงการมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแล
มาตรฐานบังคับใช้ อาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น แต่อาจต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่สําคัญมากกว่าร่วมด้วย เช่น จํานวนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment หรือ FDI) เป็นต้น
2) การพัฒนาระบบ NQI ควรดําเนินการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจาก พิจารณาโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันที่มีการลงทุนอยู่แล้ว และกําหนดเป้าหมายของสินค้าและบริการที่ ประเทศมีศักยภาพและต้องการให้เกิดการลงทุน กลไก/วิธีการที่ทําให้เกิดการลงทุน การวิเคราะห์ความคุ้มค่า ของการลงทุน (Return on Investment หรือ ROI) และการออกแบบกลไกการบริหารจัดการ (Mechanism Design) เช่น ความร่วมมือหรือการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
3) ปัญหาสําคัญของระบบ NQI ที่ส่งผลต่อผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และวิสาหกิจเริ่มต้นใหม่ (Startup) คือ การเข้าถึง การบริการของระบบ NQI จึงควรมีระบบที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการได้ โดยสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอํานาจทางการตลาดได้ต่อไป
4) เนื่องจากการจัดทํามาตรฐานสินค้าขึ้นมาเองเป็นเรื่องยากและต้องใช้ระยะเวลาใน การทดสอบมาตรฐานนาน เช่น การจัดทํามาตรฐาน ISO มีกระบวนการทบทวน (Review) โดยใช้ระยะเวลา หลายปีก่อนประกาศใช้ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังไม่ใช่ประเทศผู้นําหรือผู้กําหนดแนวโน้มสินค้า (Trendsetter) ดังนั้น การพัฒนาระบบ NQI ของประเทศไทยเพื่อตอบความต้องการของผู้ประกอบการ จึงควรมีข้อมูลสินค้าที่ต้องการทดสอบที่ชัดเจนก่อน โดยควรหารือกับผู้ประกอบการเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามี ความต้องการที่มากพอ แล้วจึงลงทุนระบบ NQI สําหรับสินค้าเป้าหมายนั้น
5) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ควรดําเนินการให้สอดคล้อง กับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ และตอบโจทย์ประเด็นการพัฒนาประเทศ เช่น อุตสาหกรรม S-Curve, อุตสาหกรรม BCG, Sustainable Development Goals (SDG), และ Digital Society เป็นต้น ทั้งนี้ ควรคํานึงถึงขีดความสามารถในการแข่งขัน ความคุ้มค่าในการลงทุน ความยั่งยืน (Sustainability) และวิธีการ ตรวจสอบความต้องการสินค้าในตลาดบัญชีนวัตกรรมไทย ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงและนําไปสู่การพัฒนารูปแบบ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ (New Growth Model) โดย ประเทศไทยควรผลักดันการกําหนดมาตรฐาน สินค้าและบริการที่เป็นจุดแข็งให้ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ เช่น สินค้าเกษตร อาหาร สมุนไพร เป็นต้น
6) ควรปฏิรูประบบ NQI ในเชิงโครงสร้าง กฎหมาย และกลไกการบริหารจัดการ เพื่อลดความทับซ้อนหรือการทํางานที่มีลักษณะเป็น Silo โดยกําหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างกระทรวงฯ และการสร้างความเชื่อมโยงกับภาคเอกชน รวมถึงต้องกําหนดเป้าหมายและทิศทางในการพัฒนาระบบ NQI ของประเทศ โดยมีการวางแผนการลงทุนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาในปัจจุบันและรองรับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งนี้ หากไม่มีการ Re-design หน่วยงานในระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่มีการตรากฎหมาย NQI หรือเสนอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ จะทําให้เกิดความซ้ําซ้อนของกฎหมายเพิ่มขึ้น และไม่สามารถ แก้ปัญหาของหน่วยงานที่มีในระบบเดิมได้
7) ระบบ NQI เป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการพัฒนาสินค้าและบริการ ควรมีการวิเคราะห์กลุ่มสินค้าเฉพาะ (NICHE) ที่ประเทศไทยมีความสามารถในการให้บริการทดสอบมาตรฐาน และ สถาบันการศึกษาควรให้ความสําคัญกับการพัฒนากําลังคนด้าน NQI มากขึ้น เพื่อให้มีบุคลากรรองรับ การดําเนินงานในระบบ NQI
8) ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพเพื่อรองรับการวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะในระดับการพัฒนาเพื่อออกสู่เชิงพาณิชย์ (Translational Research) ในช่วง TRL (Technology Readiness Level) ระดับ 4-6 เช่น กรณีของประเทศอังกฤษที่มีการจัดตั้งศูนย์การผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อเซลล์ และยีนบําบัด (Cell and Gene Therapy Catapult หรือ CGT Catapult) ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่มี มาตรฐานสามารถสนับสนุนและเร่งผลักดันผลงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้เร็วขึ้น
9) การพัฒนาระบบ NQI ควรพิจารณาจากสาขาทเี่ ป็นเป้าหมายของประเทศ เช่น BCG โดยควรมีการวางแผนงาน (Roadmap) อย่างเป็นระบบก่อน จึงออกแบบระบบ NQI ที่สามารถให้บริการ สอดคล้องกับ Roadmap จากนั้นจึงไปสู่การพัฒนาประเด็นกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
10) ควรให้ความสําคัญในการพัฒนาระบบข้อมูลดิจิทัล (Digital Based) ควบคู่ไปกับ การพัฒนาระบบ NQI และพัฒนาความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ NQI โดยให้มีการผลิต บุคลากรเพื่อรองรับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศในอนาคต
มติที่ประชุม รับทราบ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานกับคณะทํางานสมุดปกขาวฯ เพื่อนําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 11.00-13.00 น.