
รายงานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2564
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุม และขอบคุณ ผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ และแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ได้รายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) รับทราบเป็นระยะ โดย รมว.อว. ขอให้ผลักดัน การขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในระยะยาว
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 10/2563
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มี การประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงาน การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 3.1 ร่างข้อเสนอการจัดตั้งสำนักงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอข้อเสนอการจัดตั้งสํานักงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและ นวัตกรรม (สบวน.) ดังนี้
๑) สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบหลักการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุน และ ให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) จํานวน ๓ หน่วย ในลักษณะ Sandbox ภายใต้สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยการดําเนินการของหน่วยบริหารและจัดการทุนเป็นลักษณะชั่วคราว และต้อง ศึกษาแนวทางในการปรับระบบการให้ทุนที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
๒) ตามข้อบังคับคณะกรรมการอํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (กอวช.) ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ.2562 ให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ กําหนดกรอบแนวทางการประเมินผลการดําเนินงานและจัดทําข้อเสนอ การแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนออกจาก สอวช. ไปเป็นหน่วยงานในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้ กอวช. ดําเนินการและเสนอต่อสภานโยบายภายใน ๓ ปี
๓) สอวช. ได้ศึกษารูปแบบของหน่วยบริหารและจัดการทุนที่เหมาะสม และจัดทํา ข้อเสนอการจัดตั้ง สบวน. ดังนี้
๓.๑) หลักการจัดตั้ง สบวน. ประกอบด้วย
• สร้างหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านที่มีขีดความสามารถ (Capability) ในการบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ (Outcome) ที่ชัดเจน
• หน่วยบริหารและจัดการทุนต้องมีอิสระ (Autonomy) และมีความรับผิดชอบ (Accountability) ในการดําเนินการ โดยอยู่ภายใต้ร่มนิติบุคคลของ สบวน.
• มีระบบการทํางานที่เอื้อให้เกิดการบูรณาการการทํางานระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุนที่อยู่ภายในร่มนิติบุคคลของ สบวน.
• มีระบบการทํางานที่คล่องตัวและอิสระและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต
• มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณวิจัยและนวัตกรรม
• มีการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการทํางานอย่างต่อเนื่อง
• มีขีดความสามารถในการจัดหาทุนจากแหล่งทุนที่หลากหลายเพื่อ บริหารจัดการให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมาย
๓.๒) บทบาทหน้าที่ของ สบวน. ประกอบด้วย
• ส่งเสริมสนับสนุนและให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมเฉพาะด้านที่มีเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome) ที่ชัดเจน
• ส่งเสริมสนับสนุนและอํานวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ ประเทศ
• ขับเคลื่อนประสานและสนับสนุนให้เกิดข้อริเริ่มด้านการวิจัยและ นวัตกรรมที่สําคัญตามยุทธศาสตร์ของประเทศและนโยบายรัฐบาล
• ส่งเสริมสนับสนุนแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และนวัตกรรมกับเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งรวบรวมและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
• ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรม
• ส่งเสริมการสร้างการรับรู้และความตระหนักต่อความสําคัญของ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในทุกภาคส่วน ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ
• สร้างและพัฒนากระบวนการการบริหารและจัดการทุนของหน่วยบริหาร และจัดการทุนภายใต้ สบวน. รวมถึงระบบการติดตามและประเมินผล และระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
๓.๓) รายละเอียดในการจัดตั้ง สบวน. ประกอบด้วย
• การกําหนดขอบเขตภารกิจของหน่วยบริหารและจัดการทุนภายใต้สบวน.ที่ชัดเจน
• แนวทางการทํางานที่ต้องเชื่อมโยงกับคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)รวมถึงการทํางานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในลักษณะเครือข่ายพันธมิตร
๓.๔) กรอบแนวทางการประเมินผลการดําเนินงาน ของ สบวน. เสนอให้ใช้กรอบการประเมินของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม จากนั้น รองศาสตราจารย์พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รักษาการรองผู้อํานวยการด้าน การพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และเครือข่าย สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรรม (สกสว.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการติดตามและประเมินผล การสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม นําเสนอแนวทางการประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุน สรุปได้ดังนี้
๑) ด้านความสามารถในการดําเนินการตามแผน
• การติดตามการใช้เงินงบประมาณ
๒) ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล
• การติดตามผลผลิต (Outputs) เมื่อสิ้นสุดโครงการ
• การติดตามการใช้ประโยชน์และผลลัพธ์(Outcomes)ของงานวิจัยและ นวัตกรรม
• การประเมินผลกระทบ(Impacts)
• ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนตาม Objectives and Key Results
๓) ด้านกระบวนการทํางาน (Process Evaluation)
• การประเมินกระบวนการทํางาน(ProcessEvaluation)ใช้หลักการประเมิน แบบ Developmental Evaluation โดยประเมินกระบวนการทํางานของ หน่วยบริหารจัดการทุน ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา รวมทั้งเรื่อง ธรรมาภิบาลและความโปร่งใส เพื่อช่วยพัฒนากระบวนการทํางานของหน่วย บริหารและจัดการทุนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) ควรจัดทําภาพใหญ่ของระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) และทิศทางการจัดสรรทุนของประเทศ เพื่อให้เกิดเอกภาพในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของ หน่วยงานในระดับต่าง ๆ และเห็นภาพการแบ่งบทบาทหน้าที่ของหน่วยบริหารและจัดการทุนที่ไม่ซ้ําซ้อนกัน รวมทั้งเห็นภาพการแบ่งบทบาทระหว่างสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรศึกษาบทบาทของหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบหน่วยงานใหม่ ซึ่งจะนําไปสู่การกําหนดบทบาทภารกิจในอนาคตของแต่ละ หน่วยงานได้เป็นรูปธรรมและชัดเจนด้วย
๒) ควรมีการติดตามและประเมินผลการการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุน ทั้ง ๗ หน่วยงาน ก่อนการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน (PMU ABC) ออกจาก สอวช. โดยให้ ความสําคัญกับหลักการความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ (Autonomy) และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) รวมทั้งหลักความคุ้มค่าในการดําเนินงาน ในหน่วยงานที่เสนอจัดตั้งใหม่ ซึ่งต้นทุนในการจัดตั้งองค์กรใหม่ใช้งบประมาณอย่างน้อย ๒๐ ล้านบาท
๓) ควรพิจารณาความจําเป็นในการจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มองค์กร และสายบังคับบัญชา ทําให้การทํางานมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งนี้ อาจพิจารณาแนวทางการรวมหน่วยบริหาร และจัดการทุนเฉพาะด้านกับสกสว.หรือสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) อย่างไรก็ตามการให้อยู่ภายใต้ สกสว. อาจต้องคํานึงถึงปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)
๔) ควรพิจารณาแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านใน ๓ แนวทาง ได้แก่ ๑) จัดตั้งหน่วยงานอิสระใหม่ เพื่อให้ตอบโจทย์ใหม่ของประเทศ ๒) ให้หน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน มาอยู่ภายใต้ วช. ๓) จัดตั้งหน่วยงานอิสระ โดยรวมหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน และรวม วช. ใน หน่วยงานนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของ วช. ควรปรับบทบาทให้รับผิดชอบการให้ทุนด้านสังคมศาสตร์ โดยไม่ให้ซ้ําซ้อนกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านทั้ง ๓ แห่ง
๕) การแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. เพื่อให้มีหน่วยงาน ดูแลงานธุรการแทน สอวช. แต่คล่องตัว ไม่ยึดติดกับกฎระเบียบมากเกินไป รวมทั้ง สกสว. และหน่วยบริหาร และจัดการทุนเฉพาะด้านต้องตกลง OKRs ร่วมกันให้ชัดเจน และมีกลไกการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน
๖) ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน (๓-๔ ปีข้างหน้า) ควรแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะ ด้านเป็นหน่วยงานอิสระ โดยยังไม่ต้องรวมกับ วช. เพื่อไม่ให้ยึดติดกับวัฒนธรรมการทํางานแบบเดิม ทั้งนี้ การติดตามและประเมินผลในระบบ ควรใช้หลักการ Learning loop
๗) หลักการปฏิรูประบบ อววน. มีแนวทางให้การจัดกลไกการทํางานในการกําหนด นโยบายไปสู่การปฏิบัติได้โดยไม่มีความซับซ้อนมากเกินไป จึงมีการกําหนดให้แยกหน้าที่และอํานาจของ หน่วยงานด้านนโยบาย ด้านการจัดสรรงบประมาณ หน่วยงานให้ทุน และหน่วยปฏิบัติการให้มีความชัดเจน ดังนั้น ควรยึดหลักการให้หน่วยบริหารและจัดการทุนแยกออกจากหน่วยนโยบายและหน่วยจัดสรรงบประมาณ
๘) บทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนยังมีความซ้ําซ้อน เช่น การให้ทุนที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (PMU C) และสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และการให้ทุนด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงควรคํานึงถึงการวางกลไกการให้ ทุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนแต่ละแห่ง รวมทั้งการปรับรูปแบบหน่วยบริหารและจัดการทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เหมาะสม
๙) กลไกการบริหารจัดการของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านทั้งเรื่องเงินและ เรื่องบุคลากร รวมทั้งโครงสร้างที่นําเสนอ ยังมีข้อต้องปรับพอสมควร เนื่องจากกลไก Sandbox และการ รายงานผลปฏิบัติงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านยังต้องปรับและแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
๑๐)ในการออกแบบโครงสร้างการบริหาร มีข้อสังเกต ดังนี้
๑๐.๑) หากจัดตั้งเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ควรมี PMU Board แต่ละแห่ง ซึ่งอาจเป็นการสร้างสายบังคับบัญชาที่ยาวขึ้น หลักการควรจะมีความรับผิดชอบ(Accountability) ขึ้นกับคน ๆ เดียว
๑๐.๒) หากต้องการกําหนดให้ผู้อํานวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านมีอํานาจมากกว่าผู้อํานวยการหน่วยงาน (สบวน.) ควรจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนในรูปแบบของพระราชบัญญัติ
๑๐.๓) หากหน้าที่ของผู้อํานวยการหน่วยงาน(สบวน.)รับผิดชอบการสนับสนุนงานธุรการให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน อาจทําให้ต้อง ทํางานขึ้นตรงกับผู้อํานวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน ทั้ง ๓ แห่งหรือไม่
๑๐.๔) ควรให้คณะกรรมการบริหารสํานักงาน(กบวน.)ทําหน้าที่กําหนดนโยบาย และให้มีกรรมการตรวจสอบ ๓ ด้าน เพื่อลดการควบคุม ไม่ต้องมี คณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านแต่ละแห่ง แต่ ให้แต่งตั้งที่ปรึกษาได้
๑๐.๕) ควรเพิ่มหน้าที่ของสํานักงาน(สบวน.)โดยจัดให้มีระบบข้อมูลการวิจัยและ นวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
ประธานกรรมการสรุปต่อที่ประชุมว่า เราเห็นความจําเป็นที่จะต้องจัดตั้งหน่วยบริหาร และจัดการทุนเฉพาะด้านเป็นนิติบุคคลขึ้นมา โดยรวมอยู่ด้วยกันเป็นนิติบุคคลเดียวกัน และจัดระบบให้ หลีกเลี่ยง ลดความซ้ําซ้อนระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุน ซึ่งหมายถึงต้องไปปรับปรุงการออกแบบ โครงสร้างการบริหาร
ในส่วนของ วช. ให้รอคณะกรรมการกํากับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติ ราชการของ วช. ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ดําเนินการให้แล้วเสร็จ จึง นํามาพิจารณาต่อไป และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําความเห็นของที่ประชุมรายงานให้คณะกรรมการกํากับ การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ทราบด้วย
มติที่ประชุม
๑. เห็นชอบในหลักการการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน ออกจาก สอวช. โดยยึดหลักการความรับผิดชอบ (Accountability) และความเป็นอิสระในการบริหาร จัดการ(Autonomy) ทั้งนี้ มอบฝ่ายเลขานุการรับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของที่ ประชุมไปดําเนินการศึกษาและปรับปรุงข้อเสนอฯ ต่อไป
๒. เห็นชอบกรอบการประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะ ด้านตามที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรมกําหนด
ระเบียบวาระที่ 3.2 กรอบสถาปัตยกรรมข้อมูลการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ นําเสนอกรอบสถาปัตยกรรม ข้อมูล อววน. ดังนี้
๑) พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๑๑ กําหนดให้สภานโยบายมีหน้าที่และอํานาจในการกํากับ เร่งรัด และติดตาม ให้มีการจัดทําฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนการบูรณาการและการเชื่อมโยงกันระหว่างฐานข้อมูลดังกล่าว และประกาศ กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชน
๒) การบูรณาการและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา และฐานข้อมูล ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เป็นระบบสารสนเทศกลางด้าน อววน. และใช้ประโยชน์ในการ จัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์ การจัดสรรงบประมาณ การบริหารและจัดการทุน และการติดตามและประเมินผล ต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูล อววน. เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานดังกล่าว ให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดภาระในการจัดทําระบบสารสนเทศของหน่วยงาน
๓) สอวช. สกสว. สป.อว. และ วช. ได้ร่วมจัดทํากรอบสถาปัตยกรรมข้อมูล อววน. (รายละเอียดดังภาพที่ ๑) ประกอบด้วย
แผนภาพที่ 1 ผังโครงสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูล
๓.๑) การออกแบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
• ข้อมูลด้านการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System หรือ NRIIS) ซึ่งมีการจัดทําโครงสร้างผังข้อมูลโดย กสว. สกสว. วช. และ สอวช.
• ข้อมูลด้านการอุดมศึกษา ได้แก่ ระบบข้อมูล Higher Education UNICON หรือ HE UNICON ดําเนินการโดย สป.อว.
• ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบข้อมูล National Science Technology Information System หรือ NSTIS ดําเนินการโดย สป.อว. และจะดําเนินการร่วมกับกสว. พัฒนาระบบข้อมูลส่วนนี้ต่อไป
๓.๒) ผังโครงสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูล อววน. (รายละเอียดดังภาพที่ ๒) แบ่งเป็น ๔ ระดับ ได้แก่
ระดับที่ ๑ Business Architecture ประกอบด้วย
• ส่วนกลยุทธ์ (Strategy) คือ นโยบายเพื่อมองให้เห็นภาพเชิงธุรกิจ เช่น การส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม การผลิตบัณฑิต/กําลังคน และการบริการด้านวิชาการ เป็นต้น
• ส่วนองค์กร (Organization) คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ต่างๆ เช่น หน่วยบริหารและจัดการทุน กกอ. กมอ. สกสว. สอวช. และ วช. เป็นต้น
• ส่วนกระบวนการ (Process) เช่น แพลตฟอร์ม (Platform) ที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายและการบริหารจัดการต่าง ๆ อาทิ Funding Platform, Evaluation Platform และ KnowledgePlatform เป็นต้น
ระดับที่ ๒ Application ประกอบด้วย เครื่องมือในการดําเนินงานต่าง ๆ เช่น ระบบเครดิตสะสม การสร้างความร่วมมือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) เป็นต้น
ระดับที่ ๓ Data & Database ประกอบด้วย ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ฐานข้อมูลด้านกําลังคนและความเชี่ยวชาญ ฐานข้อมูลองค์ความรู้เชิงวิชาการ ฐานข้อมูลบริการและความร่วมมือ และฐานข้อมูลสินทรัพย์และทรัพยากร เป็นต้น
ระดับที่ ๔ Technology ประกอบด้วย เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น Cloud-based Infrastructure, Big Data Blockchain เป็นต้น

แผนภาพที่ 2 ความเชื่อมโยงของระบบภายในซึ่งจะเป็นทั้งระบบบริหารจัดการ ระบบฐานข้อมูล ต่อเนื่องไปจนถึงการปฏิบัติการภายในของหน่วยงาน Routine Operation / Work Flow
๔) แนวทางการดําเนินงาน ประกอบด้วย
๔.๑) การจัดทําระบบสารสนเทศกลางด้าน อววน. ต้องตอบโจทย์ผู้ใช้ (User) ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และต้องให้มีข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ป้อนเข้าสู่ระบบสารสนเทศกลางได้แบบ Real Time
๔.๒) การจัดทําระบบเก็บข้อมูล (Cloud-Based) อาจใช้ระบบของสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หรือของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
๔.๓) หากหน่วยงานใดมีความประสงค์ใช้ข้อมูล อววน. ให้ประสานกับ กสว. เพื่ออํานวยความสะดวกให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวต่อไป
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) การพัฒนาระบบข้อมูลอววน.ควรจัดทําให้เป็นระบบอัตโนมัติและให้มีการไหลของข้อมูลเข้าสู่ระบบแบบ Real Time รวมถึงให้มีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบในรูปแบบ Single-entry Data เพื่อลด ความผิดพลาดของข้อมูล
๒) การพัฒนาระบบข้อมูล อววน. ควรคํานึงถึงความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ (User) เป็นสําคัญ และต้องออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย (User-Friendly) และสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบสนอง ต่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างทันการณ์
๓) การใช้ประโยชน์ระบบข้อมูลกลางด้านอววน.เพื่อวางนโยบายยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณ การบริหารและจัดการทุน และการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานในระบบ อววน. ซึ่งหน่วยงานที่ต้องการใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลดังกล่าว หากพิจารณาแล้วเห็นว่าระบบข้อมูลมีข้อจํากัดต่อการใช้งานอย่างไร ขอให้ประสานมาที่ส่วนกลาง (กสว.) เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลกลางด้าน อววน. ให้สมบูรณ์ต่อไป
มติที่ประชุม
เห็นชอบกรอบสถาปัตยกรรมข้อมูลการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมอบหมายให้ สอวช. ประสาน สป.อว. ในการจัดทําระบบข้อมูลการอุดมศึกษา และ กสว. ในการจัดทําระบบข้อมูล ววน. ตามกรอบสถาปัตยกรรมดังกล่าว โดยนําข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดําเนินการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิด การบูรณาการและการเชื่อมโยงระหว่างระบบข้อมูลดังกล่าว และให้รายงาน ความก้าวหน้าในการดําเนินงานต่อสภานโยบาย
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไปใน วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐-๑๓.๐๐ น.
มติที่ประชุม รับทราบ