
รายงานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 10/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุม และขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 9/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการ ประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการประชุม และแจ้ง เวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุมในระเบียบวาระที่ ๓.๑ โดยเพิ่มเติมข้อความในข้อที่ ๕ ดังนี้
“ควรนํางบประมาณด้าน ววน. ที่อยู่ในแผนงานบูรณาการมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ด้วย เพื่อให้เห็นภาพระบบ ววน. ของประเทศได้อย่างถูกต้อง” นอกจากนี้ มีกรรมการให้ความเห็นเพิ่มเติมและขอให้บันทึกในรายงานการประชุมในส่วน ของระเบียบวาระที่ ๓.๑ ดังนี้
๑. เสนอแนวทางในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย ๑) งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ (๑๐๐%) ดังนี้
– จัดทําเส้นทางการพัฒนาเทคโนโลยี(TechnologyRoadmap)ตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศ ไทยแลนด์ ๔.๐ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCGเช่น Industry ๔.๐, Smart Farming, Sustainable Tourism, Telemedicine, Future Mobility และอื่น ๆ
– กําหนดทิศทางการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมในส่วนเทคโนโลยี พื้นฐาน (Fundamental Technology) ของสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐาน เพื่อนําไปสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (Applied Technology) ตาม Technology Roadmap ที่กําหนดไว้
– การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สําหรับการวิจัยและ นวัตกรรม เช่น Innovation Center, Lab, Pilot Plant ที่เปิดให้เอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEsและ Startup สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
– การสร้างและพัฒนานักวิจัย และผู้ประกอบการ Startup Founders ที่จะนํางานวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
๒) งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน ดังนี้
– มุ่งเน้นโครงการการวิจัยประยุกต์(AppliedResearch)ที่ระดับความพร้อมของ เทคโนโลยี (Technology Readiness Level หรือ TRL) สูง เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ตาม TechnologyRoadmap ที่กําหนดไว้
– ควรให้ความสําคัญกับผู้ประกอบการSMEsและStartupที่ไม่เข้มแข็งโดยต้อง ไม่สร้างให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ จากการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ
– ควรพิจารณารูปแบบการสนับสนุนงบประมาณที่หลากหลายรวมถึงการลงทุน ถือหุ้นแบบ Venture Capital Fund ในธุรกิจ Startup โดยรับผลตอบแทนกลับคืนมา เพื่อใช้เป็นงบประมาณสําหรับการวิจัยและนวัตกรรมในอนาคต
– ควรพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมให้ภาคเอกชนในโครงการที่ภาคเอกชนอาจไม่พร้อมลงทุนเองทั้งหมดในลักษณะAngelFundสําหรับโครงการวิจัยและนวัตกรรมระดับสงูที่ มีความซับซ้อน (Deep Technology) และมี TRL ระดับต่ํา รวมถึงใช้เวลา (Lead Time) ในการพัฒนายาวนานทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ปรับแก้ไขตามความเห็นกรรมการ และขอบันทึกความเห็นของกรรมการเพิ่มเติม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ และให้ฝ่ายเลขานุการฯ บันทึกความเห็นของ กรรมการเพิ่มเติม
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 3.1 มติที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอมติที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ ดังนี้
๑) การแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ
ที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เมื่อ การประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะ เรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ ต่อมาได้มีการจัดทํา คําสั่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎ และ ระเบียบ เพื่อทําหน้าที่ในการกําหนดแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง กับการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม รวมถึงกําหนดแนวทาง กลไก มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้สามารถ ดําเนินงานส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สภานโยบายได้มีมติให้ประธาน กรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง เสนอชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสภานโยบาย จํานวน ๒ ท่าน เป็นกรรมการพิเศษ เฉพาะเรื่อง เสนอให้ประธานสภานโยบายแต่งตั้ง และได้ให้ความเห็นชอบบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ เพื่อเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องในฐานะกรรมการ
๒) ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
ที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เมื่อ การประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เร่ือง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพ่ือการวิจัยและ พัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา และมอบหมาย สอวช. ส่งร่างประกาศดังกล่าวให้ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณา และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
๓) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ ฉบับปรับปรุง สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เมื่อ คราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ได้พิจารณาแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ฉบับปรับปรุง และกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และมีมติ ดังนี้
– เห็นชอบแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ ฉบับปรับปรุง สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
– เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รวมทั้งสิ้น ๒๔,๔๐๐ ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณ แบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) การเสนอเพื่อแก้ไขข้อจํากัดการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการ ให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาควรพิจารณาในมิติของการนําไปปฏิบัติได้จริงครอบคลุมกระบวนการ ทั้งหมด ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับกฎและระเบียบภายในของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกัน ด้วย ตัวอย่างพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลบังคับใช้มานานแล้ว แต่หลายหน่วยงานยังไม่ สามารถดําเนินการได้เนื่องจากติดกฎและระเบียบภายในของหน่วยงานที่ยังไม่สอดคล้อง จึงควรประสานหน่วยงาน ต่าง ๆ เพื่อยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบภายในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัย และพัฒนาให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
๒) กรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ในปี ๒๕๖๕ มีสัดส่วนของทุนสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) สูงขึ้นกว่าปี ๒๕๖๓ ซึ่งมีสัดส่วนทุนสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ต่อทุนสนับสนุนเชิง พื้นฐาน(FundamentalFund)ร้อยละ๕๗ต่อร้อยละ ๔๓ ในขณะที่ปี ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕ มีสัดส่วนทุนสนับสนุน เชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ต่อทุนสนับสนุนเชิงพื้นฐาน (Fundamental Fund) ร้อยละ ๖๐ ต่อ ร้อยละ ๔๐
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 3.2 ข้อคำสั่งการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและปลูกจิตสํานึกของเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอการดําเนินงานตามข้อคำสั่งการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและปลูกจิตสํานึกของเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ ดังนี้
๑) สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เมื่อการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ มีมติมอบให้ สอวช. พิจารณาสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาแนวทางที่ จะพัฒนาและปลูกจิตสํานึกของคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสํานึกต่อตนเองและสังคม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกติ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี รวมถึงให้รวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทําแนวคิดและแนวทางดําเนินการ และนํามาเสนอให้สภานโยบายพิจารณาจัดกลไกส่งเสริม และขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์
๒) ต่อมา สอวช. ได้ดําเนินการศึกษาจากเอกสารและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยสัมภาษณ์ครู นักเรียน รวมถึงจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
– แนวคิดในการพัฒนานักเรียนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล คือ ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคนตั้งแต่วัยเรียนไว้ ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) ความรู้และทักษะพื้นฐาน (Foundational literacies) เช่น วิทยาศาสตร์ การคํานวณ ดิจิทัล การเงิน ๒) สมรรถนะ (Competencies) ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความคิด สร้างสรรค์ การร่วมมือในการทํางาน และ ๓) คุณลักษณะ (Character qualities) เช่น ความกระตือรือร้น ความสามารถในการปรับตัว อย่างไรก็ตาม ในบริบทของประเทศไทย ควรให้ความสําคัญกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์บางประการมากยิ่งขึ้น เช่น คุณธรรมจริยธรรม ความรับผิดชอบ การมีจิตสาธารณะ การมีระเบียบวินัย ความมีสมาธิ การมีภูมิคุ้มกันทางใจ โดยตัวอย่างของคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์สําหรับคนไทย เช่น ความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา
– การพัฒนาคนตามทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาจะเป็นไปตามช่วงอายุ เช่น ในช่วงอายุ ๐-๖ ปี ครอบครัวมีบทบาทสําคัญ ช่วงอายุ ๖-๒๐ ปี ระบบการศึกษาจะมีความสําคัญต่อการพัฒนา
– ความท้าทายที่สําคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชนใน โรงเรียนมีหลายประการ โดยการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็กจะไม่สามารถทําได้ด้วยการอบรมหรือ การจัดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ต้องทําให้ซึมซับเป็นวิถีชีวิต ในปัจจุบันมีโรงเรียนหลายแห่งที่สามารถเป็น ต้นแบบด้านการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก ซึ่งรวมถึงโรงเรียนทางเลือก
– ข้อเสนอแนะเบื้องต้นจากการศึกษาและการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็น ในการสนับสนุนโจทย์การวิจัย การพัฒนาต้นแบบ และการทดลองขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชน มี ๗ ด้าน ได้แก่ ๑) การพัฒนาระบบนิเวศให้เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมเป็นวิถีแห่งชีวิต ๒) การพัฒนากระบวนการหรือโมเดลการปลูกฝังคุณลักษณะดังกล่าวทั้งในและ นอกระบบการศึกษา โดยต้องให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมคิดเอง เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ๓) การสร้างความเข้มแข็งให้ ผู้เล่นหลักในระบบและส่งเสริมการทํางานเชื่อมโยงกันของภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ เด็ก ครู ชุมชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เอกชน ๔) การส่งเสริมการขยายผลแนวปฏิบัติที่ดี ๕) การปรับระบบบริหารจัดการของระบบ การศึกษาให้คล่องตัว และกระจายอํานาจระบบการศึกษามากขึ้น ๖) การพัฒนาและใช้ประโยชน์แพลตฟอร์ม เทคโนโลยีและสื่อเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และ ๗) การพัฒนานโยบายระดับมหภาคที่มุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ํา
๓) สอวช. ได้จัดทําข้อเสนอแนวทางดําเนินการดังกล่าว เสนอสภานโยบายพิจารณาเมื่อ การประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยที่ประชุมมีมติรับทราบความก้าวหน้าการดําเนินงาน เรื่อง การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กและ เยาวชนควบคู่กับการจัดการศึกษาปกติ และมอบหมาย สอวช. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับเคลื่อนการวิจัย การ พัฒนาต้นแบบ และการทดลองขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชน ให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ รวมถึงมอบหมาย สป.อว. ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๔) การดําเนินการต่อไป มีดังนี้
– สอวช. ร่วมกับ สกสว. จัดทําข้อเสนอแนะโจทย์การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กและเยาวชน เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุน การวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นดังกล่าว
– ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สป.อว. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับเคลื่อนการวิจัย การพัฒนาต้นแบบ และการทดลองขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีของ การพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชน ให้เกิดผลสัมฤทธื์
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) การปลูกจิตสํานึกของเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษา ปกติ ควรให้ความสําคัญกับข้อคิดเห็นของสภานโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอให้มีการศึกษาประเด็นด้านสื่อในมิติ ต่างๆ เช่น อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พฤติกรรมการใช้และการป้อนข้อมูลเข้าสู่ Social Media การใช้ประโยชน์จากสื่อเพื่อปลูกฝังพฤติกรรม และการสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาต่างๆของสังคม
๒) ข้อเสนอการสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและปลูกจิตสํานึกของเด็ กและเยาวชนให้มี คุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาปกตินี้จะนําไปสู่การจัดทําข้อเสนอแนะโจทย์การวิจัยและนวัตกรรม และผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นดังกล่าว โดยควรมีโจทย์วิจัยและนวัตกรรมในการ พัฒนาและปลูกจิตสํานึกของเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้ (Activity Based) โดยยึดโยงกับกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว เช่น
– การถอดบทเรียนโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของเด็กและเยาวชน และศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนดังกล่าวกับโรงเรียนทั่วไป
– การศึกษา เรื่อง สัจจะซึ่งเป็นคุณธรรมพื้นฐาน
– การศึกษาวิธีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม นอกห้องเรียน อาทิ การฝึกสติ สมาธิ
๓) ยุทธศาสตร์ชาติให้ความสําคัญในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ โดย วางรากฐานการพัฒนาคนให้สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ได้ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว และให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ จัดทําโครงการเชิงยุทธศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สอวช. อาจประสานกับ สศช. เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาและปรับเปลี่ยนค่านิยมด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสังคม
มติที่ประชุม รับทราบความก้าวหน้าการดําเนินงาน และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 4.1 ข้อเสนอกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอข้อเสนอกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ดังนี้
๑) ความจําเป็นในการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เนื่องจาก บริบทสถานการณ์ของโลกและของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง การมีชีวิตหลายช่วง (Multistage Life) โดยคนมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น มีการเปลี่ยน อาชีพมากขึ้น และการเรียนไม่แยกออกจากการทํางาน รวมถึงการเกิดภาวะวิกฤตที่ไม่คาดคิด ทําให้โครงสร้าง เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง จึงจําเป็นต้องปรับรูปแบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนให้ ตอบโจทย์ความต้องการของโลกและของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป
๒) พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๙ ได้กําหนดไว้ว่า เพื่อประโยชน์ ในการสร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษา รัฐมนตรีอาจเสนอสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้มีมติให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภานโยบายกําหนด และในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานภายใต้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษา มิให้นํามาตรฐานการ อุดมศึกษามาใช้บังคับแก่การจัดการศึกษาดังกล่าว และให้ถือว่าการจัดการศึกษานั้น เป็นไปตามมาตรฐานการ อุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องแล้ว และในกรณีที่สภานโยบายเห็นว่าการจัดการศึกษาประสบความสําเร็จ ให้แจ้งให้ คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการอุดมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ การ ผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาศึกษาได้นั้น จําเป็นที่ จะต้องมีระบบบริหารจัดการรองรับ มีแนวทางหรือกระบวนการดําเนินงานที่ชัดเจนสําหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ ประสงค์จะจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าว รวมถึงมีกลไกการกํากับดูแลและติดตามการดําเนินงานที่มุ่งตอบโจทย์ การพัฒนาคนตามความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง
๓) สอวช. ได้จัดทํา (ร่าง) ข้อเสนอกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ โดยมีแนวทางในการผลักดัน นวัตกรรมการอุดมศึกษาในประเทศไทย ดังนี้
๓.๑) จัดเตรียมกลไกการบริหารจัดการ ประกอบด้วย
– คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตกําลังคนของระบบอุดมศึกษา เพื่อกําหนดแนวทาง กลไก มาตรการส่งเสริมและสนับสนุน และสิทธิประโยชน์ รวมถึง การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ คณะรัฐมนตรี
– คณะทํางานด้าน Sandbox อุดมศึกษา เพื่อบริหารจัดการ Sandbox ใน ภาพรวม และกํากับดูแลการดําเนินงานตามที่สถาบันอุดมศึกษาเสนอ และรายงานผลต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตกําลังคนของระบบอุดมศึกษา
– คณะผู้ประเมินผลอิสระ เพื่อติดตามและประเมินผล Sandbox ตามระยะเวลาโครงการ และเสนอแนะต่อคณะทํางานฯ ให้ขยายผลหรือยุติการดําเนินงาน
๓.๒) สถาบันอุดมศึกษาขออนุมัติและเริ่มใช้ Sandbox หลักสูตรอุดมศึกษา โดยมีกระบวนการและแนวทางจัดทําข้อมูลสําหรับขออนุมัติหลักสูตรสําหรับสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงมีกลไกการ ติดตามและประเมินผล
๓.๓) การสรุปผลเพื่อขยายผลหรือยุติการดําเนินงาน ๔) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วย
๔.๑ เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม และ ทันเวลากบัการใช้งานของภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
๔.๒ เกิดนวัตกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตอบโจทย์รูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้ประชาชนทุกช่วงวัยและทุกกลุ่มฐานะเศรษฐกิจสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพได้มากขึ้น
๔.๓ เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น สามารถจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้ แม้ใน สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออํานวย หรือเกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) การปรับแนวคิดการนํากลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษามาปรับใช้ โดยให้เป็นกลไกเชิง เปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง (Disruptive Mechanism) มากกว่ากลไกคู่ขนาน (Parallel Mechanism) และควรตั้งให้เป็น เป้าหมายของการพัฒนาระบบการอุดมศึกษา โดยข้อมูลจากการดําเนินกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) นี้ ควรจะย้อนกลับมาเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษา
๒) ตัวอย่างกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษาในต่างประเทศและในประเทศ มีดังน้ี
– โครงการทดลอง (Initiative Project) Improving How Universities Teach Science โดย Carl Wieman นักการศึกษาชาวอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบล หลักการของโครงการ คือการจัดให้มีงบประมาณ จํานวนหนึ่ง และประกาศให้ภาควิชาในมหาวิทยาลัยที่ต้องการจัดการเรียนการสอนใหม่เสนอของบประมาณเพ่ือ จัดการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง ๓ ปี และมีการประเมินเมื่อครบ ๑ ปี และหากผล การดําเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ให้มีการยกเลิกโครงการได้ ผลที่ได้รับคือ เมื่ออาจารย์ผู้สอนเห็นประโยชน์จากโครงการทดลองแล้วจะไม่กลับไปสอนในรูปแบบเดิมอีก
– สําหรับประเทศไทยมีกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา เช่น หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาผู้ประกอบการสังคม โดยรับนักเรียนในชั้นมัธยาศึกษาปีที่ ๕ และ ๖ เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรโดยใช้ ระยะเวลา ๔ ปี ผ่านการเรียนการสอนทั้งแบบเข้าเรียนในสถานที่ (Onsite) และระบบออนไลน์ (Online) เมื่อจบ หลักสูตรแล้วนักศึกษาได้รับเข้าทํางานในวิสาหกิจเพ่ือสังคม (Social Enterprise)
๓) การพัฒนากลไกความร่วมมือกับภาคเอกชน (Engagement) มีความสําคัญเป็นอย่างมาก อาจศึกษาวิเคราะห์จากโครงการที่ได้ดําเนินการแล้วว่าอะไรคือปัจจัยความสําเร็จ หรือการดําเนินงานมีปัญหา อุปสรรคอะไรหรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดําเนินงาน เช่น โครงการบูรณาการการเรียนรู้กับ การทํางาน (Work-integrated Learning: WiL) โครงการ Re-skill/Up-skill โครงการ Total Innovation Management Enterprise (TIME) หรือรูปแบบผลิตบัณฑิตแบบโรงเรียนทักษะวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering Practice School) ท่ี ให้นักศึกษาระดับปริญญาโทไปฝึกงานในภาคอุตสาหกรรม และโครงการ Thai KOSEN ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาวิศวกร โดยสถาบันการศึกษาของไทยร่วมกับบริษัทเอกชนของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ควรกําหนดความแตกต่างท่ีชัดเจนของการ จัดการศึกษาผ่านระบบ Higher Education Sandbox กับการจัดการศึกษาที่ร่วมมือกับเอกชนที่มหาวิทยาลัยได้ ดําเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน
๔) ควรเน้นการขยายผลโครงการหรือหลักสูตรที่ประสบความสําเร็จให้มีการดําเนินการอย่าง แพร่หลาย โดยจะต้องสร้างแรงกระตุ้นและจูงใจให้สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เห็นความสําคัญและเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเน้นกลไกให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นหลักโดยกําหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เนื่องจาก เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากผู้ท่ีสําเร็จการศึกษา และสร้างให้เกิดแนวคิดให้ภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ การศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยอาจมีการรวมกลุ่มผู้ประกอบการเอกชนที่มีความสนใจและออกแบบบทบาทของ ภาคเอกชนที่สามารถตอบโจทย์การอุดมศึกษาได้ในหลากหลายมิติ
๕) การประเมินผลที่สอดคล้องกับกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ทําได้หลายรูปแบบ เช่น การวัดความพึงพอใจของนายจ้างในฐานะผู้ใช้ประโยชน์ เป็นต้น แต่ควรเพิ่มเติม การวัดผลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Transformative) ซึ่งควรวัดที่ผลลัพธ์ (Outcome) มากกว่ากระบวนการ (Process) เช่น บัณฑิตจบใหม่ที่ผ่านกระบวนการ Sandbox ต้องมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีรายได้ที่แตกต่าง จากบัณฑิตท่ีไม่ได้อยู่ในกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา เป็นต้น การวัดเช่นน้ีจะสามารถบอกได้ว่าคุณภาพของบัณฑิตท่ี ผ่านกระบวนการ Sandbox ดีขึ้นจริง
๖) แนวทางการดําเนินงานของการจัดตั้ง Higher Education Sandbox ในรูปแบบของ คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเร่ือง
๖.๑ องค์ประกอบของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการผลิต กําลังคนของระบบอุดมศึกษา ควรประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีวิสัยทัศน์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีผู้แทน จากภาคเอกชนร่วมด้วย และเห็นควรเสนอศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพ่ือให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางท่ีดีข้ึน
๖.๒ พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กําหนดเรื่องการจัดการศึกษาร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคเอกชนไว้ ซึ่งหมายความว่า ภาคเอกชนจะเป็น ผู้จัดการศึกษาร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ไม่ใช่เพียงการจัดสถานที่จัดการศึกษา โดยผู้รับผิดชอบหลักของเร่ืองนี้ ได้แก่ สป.อว. และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) แต่เน่ืองจากทั้ง สป.อว. และ กกอ. มีภาระงานประจํามาก จึงเห็นว่า สอวช. ควรจัดทําร่างระเบียบเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาร่วมกับภาคเอกชน (Model Regulation) เพื่อให้เป็น รูปแบบของการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคเอกชน โดยไม่ใช่รูปแบบสหกิจศึกษาแบบเดิม และให้เป็นส่วนเสริมสําหรับกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ซ่ึงเม่ือระเบียบนี้ใช้บังคับ แล้วการดําเนินการ Sandbox อาจมีความจําเป็นน้อยลง
๗) เสนอให้ปรับแนวคิดการจัดให้มี Sandbox โดยพิจารณาเกณฑ์ท่ีนอกเหนือจากการจัดทํา หลักสูตร (Curriculum-based) ที่ยึดโยงกับมาตรฐาน โดยเปลี่ยนมาพิจารณาที่ผลลัพธ์ที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้ ซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติของเงื่อนไขความสําเร็จ การบริหารจัดการ และระยะเวลาในการทํางาน นอกจากนี้ ควรคํานึงถึงความเฉื่อยในระบบ (Inertia) ซึ่งต้องจัดให้มีแรงกระตุ้นโดยมีการนําทางให้อาจารย์ออกจาก การทําแต่สิ่งที่ถนัด (Comfort Zone) โดยอาจสร้างแพลตฟอร์มให้อาจารย์แลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรคใน เชิงนโยบาย กฎ หรือระเบียบที่จะนําไปสู่การแก้ปัญหาและเกิดความคล่องตัวมากข้ึนในการจัดการนวัตกรรมการอุดมศึกษา
๘) สําหรับสายสังคมศาสตร์ควรมุ่งเน้นนวัตกรรมการศึกษาที่มีการลงมือทําร่วมกันเพื่อแก้ไข ปัญหาสังคม มากกว่าการวิพากษ์เพียงอย่างเดียว เพ่ือให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม
มติที่ประชุม รับทราบและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไป ดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคล่ือนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไปในวันท่ี ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐-๑๓.๐๐ น.