
รายงานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 9/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุม และขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ พร้อมทั้ง แสดงความยินดีและต้อนรับ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ในฐานะกรรมการ กรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ
นอกจากนี้ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ประธานกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ และ ผู้อํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้รายงาน ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อ ศ. (พิเศษ) เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) รับทราบ โดย รมว.อว. ขอให้เร่งดําเนินการขับเคลื่อนประเด็นสําคัญต่าง ๆ โดยเร็ว และให้หารือร่วมกับ รมว.อว. เป็นระยะ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 8/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มี การประชุม ครั้งที่ ๘/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงาน การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม คร้ังที่ ๘/๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 การศึกษาแนวทางการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) (นางสาวเสาวรัจ รัตนคําฟู) นําเสนอผลการศึกษาแนวทางการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีรายละเอียด ดังนี้
๑) ด้านงบประมาณ มีข้อสังเกต ดังนี้
๑.๑) งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และงบประมาณที่จัดสรรให้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔ อยู่ในระดับที่ น้อยเกินไป
๑.๒) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถบูรณาการ งบประมาณด้าน ววน. ของทั้งระบบวิจัยและนวัตกรรมได้ ซึ่งหมายรวมถึงทั้งในระดับภายในกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และระดับประเทศ
๒) ด้านประสิทธิภาพ มีข้อสังเกต ดังนี้
๒.๑) การลงทุนการวิจัยพื้นฐานส่วนมากเป็นโครงการวิจัยขนาดเล็ก และไม่ได้มุ่งตอบโจทย์เป้าหมายเฉพาะ หรือไม่ได้คํานึงถึงการใช้งบประมาณให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Use-inspired) มากนัก จึงทําให้ประเทศไทยไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการลงทุนได้มากเท่าที่ควร
๒.๒) การลงทุนด้านการวิจัยประยุกต์และการพัฒนามีสัดส่วนที่น้อยเกินไป ซึ่งจะส่งผล ต่อความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีในฐานะประเทศที่กําลังไล่ตามเทคโนโลยี
๓) ด้านประสิทธิผล มีข้อสังเกต ดังนี้
๓.๑) เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สําคัญ (Objective and Key Results หรือ OKRs) เป็นเครื่องมือสําคัญในการช่วยให้การจัดสรรและบริหารงบประมาณด้าน ววน. เกิดประสิทธิผลและไม่กระจัดกระจาย ภายใต้แผนด้าน ววน. ของประเทศ
๓.๒) หัวใจสําคัญของ OKRs คือ ต้องกําหนดเป้าหมายชัดเจนและวัดผลได้ ซึ่งต้องมี การสื่อสารและการติดตามผล ระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ําเสมอ เพื่อปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ท้ังนี้ ทีมศึกษาได้ตั้งข้อสังเกต OKRs ในระบบ ววน. ดังนี้
– มีความไม่เฉพาะเจาะจง และไม่สามารถวัดได้
– มีความเป็นไปได้ยาก
– ขาดกระบวนการติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ําเสมอ
– มีข้อจํากัดในการมีส่วนร่วมจากระดับผู้ปฏิบัติ
– ขาดกลไกการสร้างแรงจูงใจของหน่วยบริหารและจัดการทุน (ProgramManagement Unit หรือ PMU) ในการบรรลุ OKRs
๔) ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีดังนี้
๔.๑) ประเทศไทยควรเร่งลงทุนการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (RDI) เพื่อพิสูจน์ให้ ประชาชนและฝ่ายการเมืองเห็นว่า RDI ตอบโจทย์ความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมได้จริง นอกจากนี้ ควรใช้การลงทุนของรัฐ กระตุ้นและจูงใจให้เอกชนลงทุน RDI เพิ่มขึ้น โดยอาจมีการจัดตั้ง PMU ที่เน้นสนับสนุน เงินวิจัยแก่ภาคเอกชนโดยเฉพาะ
๔.๒) การกําหนดกรอบงบประมาณด้าน ววน. ควรพิจารณาจากงบประมาณเพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย GERD/GDP และเป็นเครื่องมือติดตามความเคลื่อนไหวของการลงทุนดังกล่าว
๔.๓) โครงการด้าน ววน. ของหน่วยงานในกระทรวง อว. และโครงการพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเข้าข่ายอยู่ในแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพด้าน ววน. ควรได้รับการจัดสรร ให้เป็นงบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. เพื่อให้เกิดการปฏิรูประบบงบประมาณด้าน ววน. ของประเทศ
๔.๔) การจัดสรรสัดส่วนงบประมาณ ควรให้ความสําคัญกับการวิจัยประยุกต์และ การพัฒนาเชิงทดลองให้มากขึ้น โดยเน้นงานที่มีผู้ใช้และการให้เงินสมทบ (Matching Fund) แก่ภาคเอกชน
๔.๕) การวิจัยพื้นฐานควรมุ่งตอบโจทย์เป้าหมายเฉพาะเป็นหลัก หรือสร้างความเป็นเลิศ ในสาขาที่ให้ความสําคัญมากเป็นพิเศษ
๔.๖) การให้ความสําคัญกับการติดตามและประเมินผลระบบวิจัยและโครงการวิจัย เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการออกแบบตัวชี้วัดที่มี ความหมาย และประเมินผลโครงการวิจัยที่เริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกโครงการ จนกระทั่งการสร้างผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือสังคม
๔.๗) การเพิ่มประสิทธิผลของการจัดสรรและบริหารจัดการงบประมาณด้าน ววน. ผ่าน กลไกการรับผิดชอบ (Accountability) โดยควรกําหนด OKRs ที่มีเป้าหมายชัดเจน วัดผลได้ และจัดสรรทรัพยากร แก่ PMU ที่เพียงพอในการดําเนินงานตาม OKRs รวมถึงเก็บรวบรวม ติดตาม เผยแพร่ข้อมูลผลการดําเนินงานต่อ สาธารณะ และสร้างแรงจูงใจให้แก่ PMU โดยผูกกับผลการดําเนินงาน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) กองทุนส่งเสริม ววน. ควรมุ่งเน้นการสนับสนุนการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Research) ที่สามารถนําไปสู่การขยายผลเชิงพาณิชย์ (Commercialization) และควรสร้างแรงจูงใจให้เอกชน ลงทุนการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์เชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ
๒) การจัดสรรงบประมาณ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ให้กับสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัย ควรต้องกําหนดเป้าหมายและกลไกการดําเนินการให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น เป้าหมายที่สําคัญ คือ การสร้างศักยภาพ ความรู้ และความสามารถให้แก่อาจารย์และนักวิจัย (Talent Capacity Building) และกลไก การดําเนินการ คือ การนํานักวิจัยจากต่างประเทศมาร่วมวิจัย การสร้างระบบนิเวศของนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิด การสร้างเครือข่ายการวิจัยที่เข้มแข็ง
๓) ควรให้ความสําคัญในการกําหนดโจทย์วิจัย (Agenda Setting) ที่ตอบเป้าหมาย การพัฒนาประเทศ โดยให้มีการเชื่อมโยงการดําเนินงาน (Collaboration) ร่วมกับภาคเอกชน และกระทรวงต่าง ๆ รวมถึงอาจกําหนดตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
๔) สกสว. PMU และหน่วยงานในระบบ ควรร่วมกันทบทวน OKRs โดยพิจารณากําหนด OKRs เฉพาะเรื่องที่สําคัญและมีความจําเป็น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่ตอบโจทย์ของประเทศ
๕) งบประมาณด้าน ววน. ของประเทศไทยอยู่ในระดับที่น้อยเกินไป ประกอบกับ การตั้งเป้าหมายที่ไม่เป็นรูปธรรม จึงควรนํางบประมาณด้าน ววน. ที่อยู่ในแผนงานบูรณาการมาเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อให้เห็นภาพระบบ ววน. ของประเทศได้อย่างถูกต้อง และควรมีการศึกษา วิวัฒนาการในการพัฒนาระบบงบประมาณที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศ และวิเคราะห์ถึงการลงทุนด้าน ววน. ขั้นต่ําของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
๖) การส่งเสริมการลงทุนวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ควรพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งระบบ อาทิ การจัดสรรและบริหารงบประมาณของภาครัฐ การสร้างความแข้มแข็งให้กับสถาบันวิจัย การพัฒนาบุคลากร วิจัย และมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุนของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (BOI) มาตรการหักลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา และกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ เป็นต้น
๗) การบริหารกองทุนส่งเสริม ววน. อาจพิจารณาแนวทางในการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน เช่น Startup และ SMEs เพื่อมุ่งให้เกิดผลตอบแทนทางการเงินที่สามารถมีเงินหมุนกลับเข้ามาในกองทุน
๘) หลักการของร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้ นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ควรต้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติที่มีเป้าหมายในการพัฒนา ประเทศและต้องไมแ่สวงหากําไรหรือผลประโยชน์จากระเบียบการให้ทุนดังกล่าวทั้งนี้มีข้อสังเกตและข้อพึงระวัง สําหรับการให้ทุนภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ดังนี้
– ภาคเอกชนมุ่งเน้นการสร้างกําไรสูงสุด(ProfitMaximization)และการลดต้นทุน การผลิต รวมถึงเน้นการเอาชนะคู่แข่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทําให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง บริษัท และหากภาคเอกชนไม่เข้มแข็งจะเกิดอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรม
– ภาคประชาสังคมขาดแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) และระบบการบริหารจัดการที่ดี จึงต้องมีการศึกษาและวิจัยตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ําถึง ปลายน้ํา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตอบเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
๙) การบริหารและจัดการทุนของ PMU เพื่อมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ ควรมี การวิเคราะห์ถึงศักยภาพของหน่วยรับทุน (Good Customer) และวิเคราะห์ตลาดเพื่อส่งเสริมให้การวิจัยสามารถ ขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้
๑๐) การมี PMU ที่เน้นสนับสนุนเงินวิจัยแก่ภาคเอกชนโดยเฉพาะ อาจไม่จําเป็นต้องจัดตั้ง PMU ใหม่ โดยอาจกําหนดให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ซึ่งมีภารกิจในการจัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาค
การผลิตและภาคบริการ สามารถดําเนินการสนับสนุนเงินวิจัยแก่ภาคเอกชนได้ ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาความรู้และ ความสามารถ (Skill-set) ของบุคลากรใน PMU ให้มีความสามารถในการทํางานร่วมกับภาคเอกชน เช่น ความรู้ ด้านการตลาด ความรู้ในการบริหารจัดการงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
๑๑) เสนอแนวทางในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วย ๑๑.๑) งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ (๑๐๐%) ดังนี้
– จัดทําเส้นทางการพัฒนาเทคโนโลยี(TechnologyRoadmap)ตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ไทยแลนด์ 4.0 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และโมเดลเศรษฐกิจใหม่BCG เช่น Industry 4.0, Smart Farming, Sustainable Tourism, TeleMedicine, Future Mobility และอื่น ๆ – กําหนดทิศทางการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมในส่วนเทคโนโลยี พื้นฐาน (Fundamental Technology) ของสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐาน เพื่อนําไปสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (Applied Technology) ตาม Technology Roadmap ที่กําหนดไว้
– การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สําหรับการวิจัยและนวัตกรรม เช่น Innovation Center, Lab, Pilot Plant ที่เปิดให้เอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และ Startup สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
– การสร้างและพัฒนานักวิจัยและผู้ประกอบการStartupFoundersที่จะนํางานวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
๑๑.๒) งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน ดังนี้
– มุ่งเน้นโครงการการวิจัยประยุกต์(AppliedResearch)ทรี่ะดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level หรือ TRL) สูง เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ตาม Technology Roadmap ที่กําหนดไว้
– ควรให้ความสําคัญกับผู้ประกอบการSMEsและStartupที่ไม่เข้มแข็ง โดยต้องไม่สร้างให้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ จากการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ
– ควรพิจารณารูปแบบการสนับสนุนงบประมาณที่หลากหลายรวมถึง การลงทุนถือหุ้นแบบ Venture Capital Fund ในธุรกิจ Startup โดยรับผลตอบแทนกลับคืนมา เพื่อใช้เป็นงบประมาณสําหรับการวิจัยและนวัตกรรมในอนาคต
– ควรพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมให้ภาคเอกชนในโครงการที่ภาคเอกชนอาจไม่พร้อมลงทุนเองทั้งหมด ในลักษณะ Angel Fund สําหรับโครงการวิจัยและนวัตกรรมระดับสูงที่มี ความซับซ้อน (Deep Technology) และมี TRL ระดับต่ํา รวมถึงใช้เวลา (Lead Time) ในการพัฒนายาวนาน
มติที่ประชุม รับทราบและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 4.1 ความก้าวหน้าในการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ
รองเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (นางนันทนา ธรรมสโรช) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกํากับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัย แห่งชาติ (วช.) นําเสนอความก้าวหน้าในการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. สรุปได้ ดังนี้
๑) วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอํานาจ ของ วช. วิเคราะห์เทียบเคียง (Benchmarking) กับหน่วยงานที่มีภารกิจลักษณะเดียวกัน และเสนอแนะแนว ทางการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหารของ วช. เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒) การกําหนดประเด็นการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ตาม มติคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วย
๒.๑) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) การดําเนินงาน ตามภารกิจหลักเพื่อให้ได้ผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) และผลกระทบ (Impact)
๒.๒) การปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อให้สอดรับกับบทบาทภารกิจใหม่ของ วช. (Organization Transformation)
๒.๓)กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากการปฏิบัติจริงระหวา่ง วช. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Organization Learning)
๒.๔) การประสานงานและความร่วมมือระหว่าง วช. กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน ๔ ระดับ (Coordination and Collaboration) ได้แก่ ๑) หน่วยงานระดับนโยบายและจัดสรรทุน ๒) หน่วยบริหารและ จัดการทุน ๓) หน่วยงานผู้รับทุนจาก วช. และ ๔) นักวิจัย ผู้รับทุนจาก วช. และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
๒.๕)การสื่อสารการวิจัยไปยังสังคมหรือสาธารณะการยกย่องบุคลากรและผลงานวจิัย ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และการสร้างความตระหนักต่อคุณค่าของการวิจัย (Social and Public Communication) (Performance)
๒.๖) การเชื่อมระบบฐานข้อมูล ววน. กับระบบ อววน. (Data Platform and Connecting) ๓) ขั้นตอนการประเมิน ประกอบด้วย
๓.๑) ประเมินประสิทธิภาพและผลการดําเนินงานของ วช. ในสถานะส่วนราชการ
๓.๒) ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนและประเด็นแวดล้อมของ วช. ในการดําเนินภารกิจใน สถานะปัจจุบัน (In-depth Process Review)
๓.๓) วิเคราะห์เพื่อกําหนดและออกแบบทางเลือก (Option) การปรับปรุงโครงสร้างและ กลไกการบริหารเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างมี ประสิทธิภาพ (To-be)
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑) ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการประเมิน จากปาฐกถาของ ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ในงานประชุมประจําปีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เรื่อง “รัฐและระบบราชการไทยกับความท้าทาย ข้างหน้าของประเทศ”
๒) การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) เป็นส่วน สําคัญของการประเมิน โดยต้องให้ความสําคัญกับภารกิจของ วช. ในการบริหารจัดการงานวิจัย และการกําหนดโจทย์วิจัยท่ีสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ควรมีการประเมินผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม
๓) การประเมินเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กร (Organization Transformation) ของ วช. ในอนาคต ควรมีการวิเคราะห์ประเด็นสําคัญ ดังน้ี
– ควรวิเคราะห์ผลกระทบ(ImpactAnalysis)ที่เกิดขึ้นต่อประเทศภายใต้บทบาท ของกระทรวง อว. และวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร (Resource Utilization) โดยเฉพาะ ทรัพยากรบุคคล
– ควรวิเคราะห์เชิงองค์ประกอบได้แก่๑)ขอบเขตของงานวิจัยที่วช.ได้รับมอบหมาย โดยต้องวิเคราะห์ขีดความสามารถของ วช. ๒) การตอบสนองของ วช. จากข้อคิดเห็น (Feedback) ของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่ร่วมงานกับ วช. เนื่องจากแนวทางการประเมินเพื่อพัฒนา (Developmental Evaluation) ต้องมี การวิเคราะห์ปัจจัยที่เก่ียวข้องกับการดําเนินงาน เพ่ือนําไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาการดําเนินงานอย่างเป็นระบบ
มติที่ประชุม รับทราบและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไป ดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไปในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓
มติที่ประชุม รับทราบ