
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 8/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และแจ้งให้ที่ประชุมทราบระเบียบวาระ เพื่อเสวนาเรื่องประเด็นการปฏิรูปสําหรับการบริหารจัดการการอุดมศึกษา และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดําเนินการให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงตนก่อนการประชุมเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่าได้เข้าประชุมจริง
มติที่ประชุม กรรมการที่เข้าร่วมประชุมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และรับทราบระเบียบวาระ การประชุม
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 6/2563 และครั้งที่ 7/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ และครั้งที่ ๗/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๓ และครั้งที่ ๗/๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 ประเด็นการปฏิรูปสําหรับการบริหารจัดการการอุดมศึกษา
ผู้อํานวยการสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (นายสันติ เจริญพรพัฒนา) นําเสนอประเด็นการปฏิรูปสําหรับ การบริหารจัดการการอุดมศึกษา ดังนี้
๑) ที่มาและความก้าวหน้าด้านนโยบายและแผนของการอุดมศึกษา สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดทําร่างแผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๐
ที่เชื่อมโยงกับโจทย์สําคัญจากยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง แผนปฏิรูป
ประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ โดยสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแผนดังกล่าว เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามลําดับ และให้ส่งร่างแผนดังกล่าวให้สํานักงานสภา พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาดําเนินการตามนัยมติ ครม.
๒) ประเด็นเชิงปฏิรูปสําหรับการอุดมศึกษา
๒.๑) ระบบงบประมาณการอุดมศึกษา มีประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้
– งบประมาณส่วนใหญ่ที่จัดสรรไปยังสถาบันอุดมศึกษาร้อยละ๗๐-๘๐เป็นงบประมาณที่จัดสรรตามอุปทาน (Supply-side)
– กลไกงบประมาณอาจยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือในการแปลงนโยบายไปสู่การดําเนินการได้อย่างเต็มที่
– ควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดสรรงบประมาณบุคลากรตาม พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๔๕ (๑) และ ๔๕ (๒) เพื่อให้เป็นเครื่องมือ ในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (Policy Deployment) รวมถึงกํากับทิศทางและคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– การกําหนดรูปแบบงบประมาณที่สนองต่ออุปสงค์ (Demand-side Financing) สามารถเป็นกลไก Policy Deployment ของการผลิตบัณฑิตทั้งในด้านปริมาณ ทิศทางและ คุณภาพ ทั้งนี้ ต้องสะท้อนต้นทุนที่เหมาะสม โดยการวางแผนความต้องการกําลังคนระดับอุดมศึกษา การกําหนดต้นทุนมาตรฐานการผลิตบัณฑิต หรือ Re-skill Up-skill (แยกรายสาขาวิชา) รวมถึงการพัฒนา ระบบข้อมูลการอุดมศึกษาที่ถูกต้อง แม่นยํา โดยเฉพาะข้อมูลผู้เรียน และข้อมูลเชิงคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา
๒.๒) มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ มีประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้
– การเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐควรคํานึงถึงวิธีการ(Mean)มากกว่า การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์สุดท้าย (End Goal)
– การเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ เป็นเพียงเงื่อนไขประการหนึ่ง ที่จะทําให้มหาวิทยาลัยทําหน้าที่สถาบันอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ (A Necessary Condition, But not Sufficient) ซง่ึ ยังมีเงื่อนไขอื่นที่สําคัญและต้องได้รับการจัดการที่ดี
– การเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐไม่ได้เกิดจากวัตถุประสงค์ที่จะลดภาระงบประมาณภาครัฐจากระบบอุดมศึกษา แต่เพื่อการเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะทําให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า (Value for Money) และเป็นการตอบ “โจทย์ เรื่องความคุ้มค่า”ทสี่ําคัญมากกว่า“โจทย์เรื่องการลดภาระงบประมาณ”
– การเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐอาจไม่เหมาะสําหรับการพัฒนา มหาวิทยาลัยทุกแห่ง โดยกลไกสําหรับมหาวิทยาลัยที่มีแนวคิดจะเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับฯ ดังนี้
๒.๒.๑) ข้อเสนอสําหรับมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ
• ควรสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยในกํากับพัฒนาระบบ/เครื่องมือการ บริหารจัดการเพื่อใช้ประโยชน์จากความคล่องตัวและการผ่อนคลายกฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่องการเงินงบประมาณ บุคลากร วิชาการ ของกรรมการสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหาร
• ให้ความสําคัญกับกระบวนการได้มา และการสนับสนุนการดําเนินงาน 5
• ควรมีกลไกเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการกํากับการดําเนินงานของ มหาวิทยาลัยให้แก่นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหารระดับคณะ เช่น การเข้ารับการอบรมหลักสูตร “ประกาศนียบัตรกรรมการ”
• ส่งเสริมให้มี Industry Advisory Board หรือ Strategy Advisory Board ในระดับสภามหาวิทยาลัย และระดับคณะ
• เพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการและการดําเนินงาน ของมหาวิทยาลัย ควรจัดการเรื่องการรับเรื่องร้องเรียน และติดตามผลการปรับปรุง อย่างเป็นระบบและเกิดผลจริงในปัจจุบัน
• การเปิดเผยข้อมูลการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยต่อสาธารณะ ๒.๒.๒) ข้อเสนอสําหรับมหาวิทยาลัยที่มีแนวคิดจะเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับ ของรัฐ
• การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐที่ดําเนินการ
• กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้ตรวจสอบความพร้อมของมหาวิทยาลัยที่ ประสงค์จะแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ อย่างน้อย ๓ ด้าน ได้แก่ (Re-profiling)
ก) ความพร้อมในด้านความเข้าใจของประชาคมภายในมหาวิทยาลัย
ข) ความพร้อมในด้านจุดยืนและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย
ค) ความพร้อมของบุคลากรสายสนับสนุน
• การเตรียมความพร้อมของผู้บริหารและทีมงานที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปองค์กรไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ
๒.๓) ระบบการติดตามและประเมินผลด้านการอุดมศึกษา ควรมีการติดตามและประเมินผลครอบคลุมในทุกมิติ ดังนี้
– การติดตามความสําเร็จของการดําเนินงานตามแผนด้านการอุดมศึกษา จะเป็นการติดตามประเมินผลตามเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนด้านการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๐ ว่าสามารถดําเนินการได้สําเร็จมากน้อยเพียงใด
– การติดตามและประเมินผลคุณภาพและพัฒนาการของการอุดมศึกษา จะเป็นการประเมินผลความสําเร็จด้านคุณภาพและการพัฒนาการอุดมศึกษา
– การติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายสําคัญด้านการอุดมศึกษาเป็น การติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของนโยบายสําคัญ ว่ามีความสําเร็จหรือความคืบหน้าตามที่กําหนดไว้หรือไม่
– การติดตามและประเมินผลการดําเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณเป็น การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณและผลการดําเนินงานของหน่วยงานในระบบการอุดมศึกษา(ตามตัวชี้วัดของระบบงบประมาณ)
๒.๔) บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะกลุ่ม มีประเด็นที่ควรพิจารณา ดังนี้
๒.๔.๑) มหาวิทยาลัยราชภัฏ : ควรส่งเสริมให้กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ มี ทิศทางการดําเนินงานตามพระราโชบายอย่างเคร่งครัด ตอบเป้าหมาย “ยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนา ท้องถิ่น” และควรมีการจัดทําข้อตกลงการพัฒนามหาวิทยาลัย ร่วมกับ สป.อว. หรือ สํานักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) แล้วแต่กรณี เพื่อขอรับการสนับสนุนงบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาชุมชน และยกระดับคุณภาพการ ผลิตครูและการพัฒนาครู รวมถึงการสร้างกลไกการเชื่อมโยงกับวิทยาลัยชุมชน หรือการส่งเสริมการวิจัยและ นวัตกรรม
๒.๔.๒) วิทยาลัยชุมชน : ควรส่งเสริมให้วิทยาลัยชุมชนเป็นกลไก “สร้าง ความเข้มแข็งของชุมชน” ผ่านการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ชุมชน โดยพิจารณาผลักดันสถานะของสถาบันวิทยาลัยชุมชนให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐเพื่อเสริมความคล่องตัว และสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการวิจัยชุมชน (Community-based Research) รวมถึง สร้างกลไกหรือเครือข่ายร่วมดําเนินงานระหว่างวิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล และจัดการเรื่องกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ติดขัด เช่น การบริหารงานบุคคล และเรื่องความ คล่องตัวในการจัดและบริหารหลักสูตร โดยอาจพิจารณาใช้ Sandbox การอุดมศึกษา
๒.๔.๓) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนและอื่นๆ มีประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้ – การกําหนดขนาดที่เหมาะสมของสถาบันอุดมศึกษาในขณะเดียวกัน ควรประกันการเข้าถึงอุดมศึกษาสําหรับผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ
– การกําหนดบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ว่าจะร่วมดําเนินการในระบบการอุดมศึกษาไทยในระยะยาวอย่างไร โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีคุณภาพ
– การบูรณาการการดําเนินงานกับสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่ได้สังกัดกระทรวง อว. รวมทั้งส่วนที่อยู่ในระบบการอาชีวศึกษา
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา
๑.๑ Re-inventing University เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ควรมีการติดตามการออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่เป็นกฎหมายลําดับรองอย่างใกล้ชิด เพื่อนํามาสู่การพิจารณาจัดสรรงบประมาณและการจัดทํามาตรฐานให้สอดคล้องกับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม
๑.๒ ควรศึกษาวิจัยเชิงระบบ (System Research) ให้ครอบคลุมทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน เพื่อนําไปสู่การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา โดยเฉพาะการวิจัยเชิงระบบการบริหารจัดการ (National Higher Education Management System) ให้เกิดประสิทธิผล
๑.๓ การจัดทําแผนด้านการอุดมศึกษา ในส่วนของการผลิตกําลังคน ควรจัดทําให้สอดรับกับความต้องการในแผนด้านอื่น ๆ เช่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม และ
แผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
๑.๔ การจัดทําแผนด้านการอุดมศึกษาต้องมีการกําหนดเป้าหมายและเแผนการ
ดําเนินงานให้ชัดเจน มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และมุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือเพื่อให้เกิดการยอมรับ ในวงกว้างและมีแนวร่วมทางความคิด โดยใช้กลไกงบประมาณ กฎหมาย และการบริหารจัดการเป็นเครื่องมือ ในการขับเคลื่อน
๑.๕ การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Target) โดยสภามหาวิทยาลัยมีบทบาทสําคัญในการบริหารจัดการ ซึ่งจําเป็นต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาท หน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย และการให้ความสําคัญกับการกําหนดระเบียบวาระการประชุมที่ควรมุ่งเน้นการปฏิรูปและการพัฒนาระบบการอุดมศึกษา
๑.๖ กลไกการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา ต้องสร้างทักษะและขีดความสามารถ ของบุคลากร รวมถึงสร้างความเข้าใจ และให้มีการดําเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงฯ (เช่น สอวช. สป.อว. สกสว. และภาคเอกชน) และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ (เช่น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.)) เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
๒. มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ
๒.๑) มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ ต้องคํานึงประสิทธิภาพ และความคล่องตัว โดยเฉพาะการตอบสนองภาคอุตสาหกรรม รวมถึงควรกําหนดมาตรฐาน และแนวทางการกํากับการดําเนินการ โดยศึกษาตัวอย่างการกํากับการดําเนินการของสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ เป็นต้น
๒.๒ ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ กับมหาวิทยาลัยกลุ่มอื่น ๆ เพื่อพิจารณาว่าการเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐส่งผลดีต่อประเทศอย่างไร เช่น การดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประหยัดการใช้จ่ายงบประมาณมากขึ้น เพื่อนําไปสู่การกําหนดหลักเกณฑ์การเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐท่ีชัดเจน
๓. ระบบงบประมาณการอุดมศึกษา
๓.๑) งบประมาณด้านการอุดมศึกษา ควรเห็นงบประมาณในภาพรวมทั้งหมด ทั้งงบประมาณแผ่นดิน และงบประมาณจากแหล่งอื่น ๆ เช่น งบประมาณจากเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษาและงบประมาณจากภาคเอกชน เป็นต้น
๓.๒) การจัดสรรงบประมาณ ต้องให้สอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาโดยจัดสรรตามศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา และต้องสามารถตรวจสอบได้ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อน ในการใช้จ่ายงบประมาณ
๓.๓) งบประมาณของสถาบันอุดมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้อง กับการบริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาล ซึ่งต้องแยกงบประมาณในส่วนนี้ออก เพื่อวิเคราะห์งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างชัดเจน (งบประมาณต่อหัว)
๓.๔) ควรจัดให้มีการจัดสรรงบประมาณ Demand-side Financing โดยคํานึงถึงทักษะที่ต้องการ
๔. ระบบการติดตามและประเมินผลด้านการอุดมศึกษา
๔.๑) ระบบการติดตามและประเมินผล ไม่ควรดําเนินการแบบ One-size-fits- all ควรต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าหมายและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (Result- based) ที่ตอบโจทย์ประเทศ ซึ่งต้องใช้กลไกงบประมาณ Demand-side Financing ในการกําหนดทิศ ทางการพัฒนา และต้องสะท้อนถึงความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณโดยอาจพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของการผลิตบัณฑิต
๔.๒) ระบบการติดตามและประเมินผล ต้องให้เกิดความรับผิดชอบต่องาน (Accountability) และต้องมีข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
๔.๓) ควรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพ ตามภารกิจของมหาวิทยาลัยในแต่ละกลุ่ม
๕. บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะกลุ่ม
๕.๑) ควรกําหนดกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลให้ชัดเจน โดยมุ่งเน้นให้ มีการเชื่อมโยงการดําเนินงานกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลัยชุมชน
๕.๒) กลุ่มมหาวิทยาลัยสงฆ์ ถือเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง มีวัตถุประสงค์ เฉพาะเพื่อผลิตบุคลากรด้านศาสนา ซง่ึ ควรมีมาตรฐานและทิศทางการพัฒนาที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยกลุ่มอื่น
๕.๓) สถาบันอุดมศึกษา ควรมีการกําหนดสถานะ บทบาทและตัวชี้วัดเฉพาะ กลุ่มในมิติต่าง ๆ ที่ชัดเจน เช่น การมีธรรมาภิบาลที่ดี (Governance Responsibility) การมีความรับผิดชอบ (Accountability) และการมีส่วนร่วม (Engagement) โดยอาจศึกษาเปรียบเทียบ (Benchmark) การกําหนด เป้าหมาย บทบาทหน้าที่ ความคุ้มค่าของงบประมาณที่ใช้จ่าย และตัวชี้วัด ระหว่างมหาวิทยาลัยในกํากับของ รัฐกับกลุ่มมหาวิทยาลัยตามนโยบาย Re-inventing University เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มได้อย่างชัดเจน
๕.๔) ควรส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาตามภารกิจให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และ สป.อว. อาจพิจารณาแนวทางในการจัดตั้งและส่งเสริมศูนย์ความเป็น เลิศ (Center of Excellence) ตามสาขายุทธศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้ศักยภาพและทรัพยากรร่วมกัน (Common Area)
มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของท่ีประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ห้องหว้ากอ ๑ และ ๒ และระบบออนไลน์