
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 7/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และขอให้ฝ่ายเลขานุการนําเสนอ ความก้าวหน้าการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กรรมการ และผู้เข้าร่วมประชุมทราบ โดยมี รายละเอียดดังนี้
๑. การปลดล็อกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่องานวิจัยและนวัตกรรม ได้มีการจัดทําร่าง ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐแล้ว และอยู่ระหว่างการนําเสนอ สภานโยบายและคณะกรรมการนโยบายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ความเห็นชอบและประกาศใช้
๒. การปลดล็อกการจัดตั้ง Holding Company ในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ได้มีการจัดทําประเด็นด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและการดําเนินกิจกรรมของ Holding Company และอยู่ระหว่างเตรียมเสนอมาตรการและการจัดตั้ง Sandbox เพื่อส่งเสริมการร่วมลงทุนใน Innovation ต่อสภานโยบาย
๓. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการยืนยันร่างกฎหมายไปยัง สํานักงานเลขาธิการรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและพิจารณาเข้าสู่กระบวนการออกกฎหมายปฏิรูปประเทศ
๔. การขับเคลื่อนการปลดล็อกกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมในด้านเกษตร อาหาร และ Circular Economy ได้มีการจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายแล้วเสร็จ และเตรียมเสนอต่อสภานโยบายเพื่อพิจารณาเห็นชอบในการจัดตั้งคณะกรรมการ Sandbox และแนวทางการทํางานแบบ Cross- Ministry Task Force
๕. ข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนการอุดมศึกษา คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) มีมติเห็นชอบข้อเสนอฯ แล้ว ขณะนี้สํานักปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) อยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายฯ เพื่อนําเสนอ คณะกรรมการนโยบายทุนหมุนเวียน (ก.ค.) และเสนอคณะรัฐมนตรีตามลําดับ
๖. การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัย แห่งชาติ (วช.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการกํากับการประเมินฯ แล้ว 2 ครั้ง และจะนําเสนอต่อ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งนี้ เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อกรอบการประเมิน และประเด็นการประเมิน
๗. ข้อเสนอการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ ได้มีการออกแบบระบบงบประมาณ ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) และร่วมกันกําหนดขอบเขตกรอบวงเงิน งบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และบูรณาการการทํางาน เพื่อลดความซ้ําซ้อน โดยเป็นการดําเนินการร่วมกันระหว่างสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
๘. การวางระบบเชื่อมโยงข้อมูล อววน. ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทําแนวทาง การออกแบบระบบเชื่อมโยงข้อมูลการอุดมศึกษา และด้าน ววน.
๙. ข้อเสนอมาตรการการให้ทุนสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาด ย่อม (SME) (SBIR/STTR) ได้มีการจัดทําข้อเสนอมาตรการฯ และแนวทางการผลักดันมาตรการผ่านกองทุน ส่งเสริม ววน. และสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) แล้ว โดยจะพัฒนาเป็นโปรแกรมเพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานต่อไป
รมว.อว. ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน การปฏิรูประบบการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมสรุปได้ดังนี้
๑. ควรให้ความสําคัญและเร่งดําเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. เป็นลําดับแรก โดยเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เนื่องจากมีความสําคัญต่อการปลดล็อกการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน
๒. การปลดล็อกการจัดตั้ง Holding Company ในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ควรเชิญมหาวิทยาลัยมาหารือเพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ให้เกิดการขับเคลื่อนการดําเนินงาน ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมต่อไปได้
๓. การปลดล็อกการจัดซื้อจัดจ้างสําหรับงานวิจัยและนวัตกรรม ควรเสนอ สภานโยบายโดยเร็ว และควรดําเนินการควบคู่ไปกับการปลดล็อกระบบงบประมาณไปสู่ Multi-year และ Block Grant โดยควรเสนอให้นายกรัฐมนตรีทราบด้วย
๔. การวางระบบเชื่อมโยงข้อมูล อววน. ควรเร่งดําเนินการภายในปี ๒๕๖๔ และ ครอบคลุมเรื่อง Big Data และโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Information Infrastructure) โดยเฉพาะข้อมูลการ บริหารจัดการกระทรวง อว. ทั้งระบบ
๕. การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ควรปรับบทบาทของ วช. ให้มีความพร้อมในการเป็นหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบการให้ทุน และหน่วยงานผู้รับทุนภายใน ๒-๓ ปีCommon Platform
๖. การปรับการทํางานของ สป.อว. ควรให้ความสําคัญในเรื่องดังต่อไปนี้
– ควรมีการทํางานในเชิงระบบร่วมกันระหว่าง สอวช. และสกสว. โดยผ่าน
– การบริหารจัดการข้อมูลของ อววน. ทั้งระบบจะต้องเร่งทําให้เกิดเป็นรูปธรรม
– ควรมุ่งเน้นเรื่อง Brain-based โดยควรทํางานในรูปแบบ Agenda-based ให้ มากขึ้นโดยเฉพาะด้านArea-basedซง่ึ สป.อว.ควรต้องดําเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม
– Agile Team มีความสําคัญ แต่ต้องกําหนด Definition ให้ชัดเจน เนื่องจาก แต่ละวาระการทํางานมีรูปแบบการทํางานร่วมท่ีแตกต่างกัน และแต่ละกระทรวงไม่จําเป็นต้องมีรูปแบบ AgileTeam เหมือนกัน
– สป.อว. ควรทําหน้าที่เป็นตัวกลางดําเนินงานเรื่อง Reinvent University และ ควรให้แต่ละหน่วยงานทํางานร่วมกันในลักษณะ Agenda-based
๗. หน่วยงานที่มีรูปแบบองค์กรมหาชน (Pubic Organization: PO) ภายใต้กระทรวง อว. ต้องมีทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และมีการทํางานร่วมกันระหว่าง PO (Coordination) เพื่อสร้างพลัง ในการขับเคลื่อนงาน นอกจากนี้ ต้องมีการ Streamline การทํางานไม่ให้เกิดความทับซ้อน หากทับซ้อน จะต้องเป็นการส่งเสริมกัน ทั้งนี้ ต้องมีการปรับบทบาทหน่วยงาน เช่น สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)ควรทําหน้าที่สนับสนุน Enterprise-based ทุกประเภทและทุกขนาดทั้งใหญ่ กลาง เล็ก ไม่ใช่เพียงแต่ Startup และมีการสร้าง Connected Platform
๘. ต้องเร่งดําเนินการทั้ง ๙ เรื่องให้แล้วเสร็จให้เกิดเป็น Result-based รวมถึงการ ปฏิรูปเชิงระบบทั้ง ๓ ด้าน ๑) Administrative Reform ๒) Budget Reform และ ๓) Regulatory Reform โดยระบบ อววน. ต้องขับเคลื่อนในเชิง System-based มีเป้าหมายร่วมกัน (Common Goals) และ ตัวชี้วัด (KPIs) ร่วมกัน
๙. การทํางานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ จะต้องเป็นการออกแบบใหม่ ในเชิงระบบ (Redesign) เพื่อขับเคลื่อน Agenda-based ของประเทศ นอกจากนี้ หลังโควิด-๑๙ จะต้องมองภาพที่มากกว่าเรื่องเศรษฐกิจ และต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
มติที่ประชุม
๑. รับทราบความก้าวหน้าการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป และข้อเสนอแนะของ รมว.อว.
๒. กรรมการที่เข้าร่วมประชุมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 6/2563
มติที่ประชุม ขอให้มีการรับรองรายงานการประชุมในครั้งถัดไป
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 3.1 ความก้าวหน้าการดําเนินงานของคณะกรรมการกํากับการประเมินประสิทธิภาพ และผลการปฏิบัติราชการของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ (นางพรทิพย์ แก้วมูลคํา) สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกํากับการประเมินประสิทธิภาพ และผลการปฏิบัติราชการของ วช. นําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงานของคณะกรรมการกํากับการประเมิน ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ซึ่งได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการกํากับการประเมินฯ ครั้ง ที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ และ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เพื่อ กําหนดหลักการและแนวทางการประเมิน วช. โดยสรุป ดังนี้
๑. หลักการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ได้แก่
๑.๑ การประเมินเพื่อการพัฒนาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับเปลี่ยนการทํางาน (Positive Mental Attitude)
๑.๒ การประเมินแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Assessment) โดยสื่อสารให้ วช.รับรู้เกณฑ์ วิธีการประเมิน และร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็น
๑.๓ การประเมินโดยเทียบเคียงผลการปฏิบัติงาน (Benchmarking) กับ หน่วยงานบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) อื่นๆ
๑.๔ การมองภาพรวมของประเทศ โดยคํานึงถึงพลวัตของระบบการวิจัย วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (Dynamic Ecosystem)
๑.๕ การประเมินเพื่อเกิดการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากร (Learning Process and Developmental Evaluation)
๒. แนวทางการประเมินฯ ประกอบด้วย ๓ ประเด็นหลัก ได้แก่ การประเมิน กลไก และขั้นตอน และวิธีการประเมิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๒.๑ การประเมิน ได้แก่
๑) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) เพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ รวมถึงประเมินความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของ วช. ด้านการให้ทุนและ ประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ
๒) การปฏิรูปองค์กร (Organization Transformation) เพื่อกําหนดบทบาท หน้าที่และอํานาจที่เหมาะสมของ วช.
๓) การประสานงานและการบูรณาการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Coordination and Collaboration) ในระดับนโยบาย ระดับหน่วยให้ทุนในลักษณะเดียวกัน (PMU) ระดับหน่วยงานผู้รับทุน และระดับนักวิจัยที่ขอรับทุนวิจัย
๔) การสื่อสารต่อสังคมและสาธารณชน (Social and Public Communication)เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ แรงจูงใจเกี่ยวกับการบริหารและจัดการทุนการวิจัยและนวัตกรรม
๕) การเชื่อมระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูล (Data Platformand Connecting) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒.๒ กลไกและขั้นตอน ได้แก่
๑) การกําหนดประเด็นการประเมินและรายละเอียดการประเมิน
๒) การรายงานและประเมินผล ๒.๓ วิธีการประเมิน ได้แก่
๑) การประเมินโดยผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือรับทุนจาก วช. (Third party)
๒) การประเมินด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (Hard evidence)
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การประเมินเพื่อพัฒนา (Developmental Evaluation)
• พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓๗ กําหนดให้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ประเมินประสิทธิภาพและ ผลการปฏิบัติราชการของ วช. ให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี นับแต่พระราชบัญญัติบังคับใช้ โดยให้คณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ กําหนดหลักเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ดังนั้น
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปจะต้องออกแบบรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมโดยมีเป้าหมายคือการ ปฏิรูปและการพัฒนา ทั้งนี้ การประเมินเพื่อพัฒนามีองค์ประกอบของหลักการ คือ ให้มีบุคคลภายนอก (Third Party) ในกระบวนการประเมิน และให้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) รับรู้และเข้าใจต่อการประเมิน (Perception และ Mindset) ร่วมกันซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่เหมาะสมสําหรับการประเมินประสิทธิภาพและ ผลการปฏิบัติราชการของ วช.
• วช. เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อววน.) ซึ่งเป็นระบบใหญ่ที่มีความซับซ้อน (Complex System) นอกจากนี้ ระบบย่อยต่างๆ ภายใต้ระบบ อววน. มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา วช. จึงต้องมีความสามารถในการปรับเปลี่ยน บทบาทและการดําเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น การประเมินเพื่อการ พัฒนาจึงมีความเหมาะสมกว่าการประเมินแบบเดิม (Conventional Evaluation) ที่ใช้วิธีตั้งเป้าหมายและ วัดผลความสําเร็จ (Objectives and Key Results: OKRs) อย่างไรก็ตาม จําเป็นต้องให้ความหมายของการประเมินเพื่อพัฒนา (Developmental Evaluation) ให้ชัดเจน
๒. การปรับรูปแบบและบทบาทของ วช. จะเป็นกลไกสําคัญในการมองภาพใหญ่ของหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU)
• การประเมินเพื่อพัฒนาจะต้องมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning) ร่วมด้วย ซึ่งอาจนํามาปรับใช้กับการดําเนินงานและการประเมินหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) สกสว. สอวช. และหน่วยงานทําวิจัยอื่น ๆ
• ในการประเมินการปฏิรูปองค์กร (Organization Transformation) ควร คํานึงถึงการประเมินความสามารถในการปรับองค์กรให้สอดคล้องกับโครงสร้างกระทรวง อว. ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานหลายระดับ พิจารณาเพิ่มเติม ๒ ประเด็น ได้แก่
๓. ประเด็นการประเมินการปฏิรูปองค์กร (Organization Transformation)
• การพิจารณาโครงสร้างระยะยาว ควรต้องคํานึงถึงการทํางานร่วมกับ หน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อโครงสร้างภายในของ วช. เช่น การกระจายงาน ของส่วนงานภายใน เพื่อรองรับงานในมิติความรวดเร็ว (Speed) ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง (Relevant) และเกิดประสิทธิผล (Effectiveness)
• คํานึงถึงพลวัตของระบบวิจัย (Research Dynamic) ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา เช่น การพิจารณาจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมที่อาจมีความทับซ้อน ซึ่งการทับซ้อนจะต้องเป็นการ เสริมกันในระบบ ไม่ทําให้เกิดหลายมาตรฐาน (Multiple Standard) ดังนั้นการประเมินจึงต้องคํานึงถึง มาตรฐาน (Standard) การทํางานร่วมกัน และควรพิจารณาในมิติของกระบวนการด้วย เช่น กระบวนการตัดสินใจสําหรับการจัดสรรทุนเพื่อนําไปสู่การปรับปรุงการทํางานของ วช. ที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์
๔. ควรเพิ่มเติมประเด็นการประเมินสมรรถนะ (Competency) ขององค์กรร่วมด้วย เนื่องจากเป็นส่วนสําคัญต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือบทบาทขององค์กรในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง เพ่ือให้ การดําเนินงานบรรลุเป้าหมายตามภารกิจด้วยสมรรถนะเดิมของบุคลากรในองค์กร
มติที่ประชุม มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกํากับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. นําข้อเสนอแนะที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 4.1 การบูรณาการการอุดมศึกษา และวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอแนวทางการบูรณาการการอุดมศึกษา และวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้
๑) การปฏิรูปด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ได้มีการ จัดโครงสร้างและกําหนดประเภทหน่วยงานในระบบ อววน. ดังนี้
๑.๑) ระดับนโยบายและยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย หน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและงบประมาณ
๑.๒) ระดับการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย หน่วยงานให้ทุน
๑.๓) ระดับการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย หน่วยงานทําวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานมาตรวิทยา มาตรฐาน การทดสอบและบริการคุณภาพ และหน่วยงานด้านการจัดการความรู้และใช้ประโยชน์
๒) การดําเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน. ที่ผ่านมาพบว่า การบูรณาการ การทํางานร่วมกันระหว่างการอุดมศึกษา และ ววน. มีความสําคัญอย่างมากทั้งในระดับนโยบายและ ยุทธศาสตร์ ระดับการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ และระดับการปฏิบัติงาน ที่จะต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบาย อววน. ซึ่งจะส่งผลต่อการดําเนินงานของระบบย่อยภายใต้ระบบ อววน. ในหลายมิติ เช่น การจัดทําแผนด้านและกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาและด้าน ววน. การ ออกแบบระบบการจัดสรรและบริหารจัดการงบประมาณ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระบบการอุดมศึกษา และ ระบบ ววน. รวมถึงการขับเคลื่อนการดําเนินงานในประเด็นสําคัญต่าง ๆ
๓) การขับเคลื่อนการดําเนินงานในประเด็นสําคัญให้เกิดผลสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบสนับสนุนที่มีกลไกการดําเนินงานแบบบูรณาการ โดยประเด็นที่เป็นโจทย์ สําหรับการขับเคลื่อนระบบ อววน. ที่สําคัญ เช่น การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อขจัดความยากจน (Poverty Eradication) และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและปรับตัวของภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยใช้กลไกการพัฒนากําลังคน เช่น การ Reskill/ Upskill/ New-Skill/ Work-integrated Learning
๔) ระบบสนับสนุนการบูรณาการการอุดมศึกษา และ ววน. เพื่อให้การดําเนินงานมี ความยั่งยืนและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การมี Platform การทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ด้านการอุดมศึกษาและด้าน ววน. การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และการมีทีมดําเนินงานในลักษณะ Agile Team ท้ังนี้ ตัวอย่างโจทย์การทํางานในระยะแรก เช่น การขจัดความยากจน โดยมีกลไกการดําเนินงาน ที่ใช้แพลตฟอร์มมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเชิงพื้นที่ และมี Agile Team เป็นทีมงานสําคัญในการขับเคลื่อน งานให้บรรลุผลสําเร็จ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การบูรณาการการอุดมศึกษาและววน.เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการบริหาร ภาครัฐ (Administrative Reform) เพื่อให้เกิดการดําเนินงานแบบบูรณาการ และเกิดประสิทธิผลที่สอดคล้อง กับนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ
๒. การบูรณาการการดําเนินงานด้านการอุดมศึกษา และด้าน ววน. อาจมีทั้ง รูปแบบที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) โดยให้มีทีมดําเนินงานในลักษณะ Agile Team ดําเนินงานให้สอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายที่สําคัญด้าน อววน. เช่น การพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อขจัดความยากจนแบบตรงจุด การพัฒนากําลังคนและทุนทางปัญญา การขับเคลื่อน การจัดระบบการอุดมศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ การสนับสนุนการดําเนินงานของ Agile Team ต้องพิจารณาถึง หน้าที่และอํานาจ (Authority) รวมถึงโครงสร้างการดําเนินงานที่เหมาะสม
๓. การออกแบบการดําเนินงานและกําหนดทีมงานของ Agile Team ควรให้ สอดคล้องกับโจทย์และนโยบายที่สําคัญ โดยพิจารณาใน ๒ มิติ ได้แก่ ๑) ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Engagement Stakeholder) ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงฯ และ ๒) การขับเคลื่อนประเด็นปัญหาของ ประเทศ
๔. กลไกการบูรณาการการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องสร้างให้เกิด ความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอก (Stakeholder-Centric) โดยควรมุ่งเน้นการดําเนินงานแบบ Area-based จะทําให้เกิดพลังและเห็นผลได้มากกว่า รวมทั้งสร้างให้เกิดการเรียนรู้ และนําไปสู่การขับเคลื่อน นโยบายเชิงรุก เช่น โครงการ ๑ ตําบล ๑ มหาวิทยาลัย ที่มีการบูรณาการการดําเนินงานระหว่างหน่วยงาน เพ่ือแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยมีแพลตฟอร์มกลางระดับตําบล และก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น
๕. การขับเคลื่อนการปฏิรูปด้าน อววน. ต้องคํานึงถึงประเด็นความเสี่ยงในทาง การเมืองด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการดําเนินงานในประเด็นสําคัญต่าง ๆ เช่น นโยบาย อววน. และระบบการจัดสรรและบริหารจัดการงบประมาณ เป็นต้น
๖. สป.อว.ควรพิจารณาจัดทําตัวช้ีวัดการจัดอันดับความสามารถของมหาวิทยาลัย (University Ranking) รูปแบบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิรูปมหาวิทยาลัย เช่น ใช้หลักเกณฑ์ University Multi-ranking ที่คํานึงถึงความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยในหลายด้าน โดยเฉพาะการให้ความสําคัญในด้าน การสร้างผลกระทบต่อสังคม
๗. การขับเคลื่อนการบูรณาการการอุดมศึกษา และ ววน. เป็นหน้าที่และอํานาจ ของ รอว.อว. คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ตามพระราชบัญญัติบริหารราชการกระทรวง อว. มาตรา ๑๘ (๒) และมาตรา ๔๑ ซึ่งควรพิจารณาถึงความจําเป็นในการจัดตั้งบุคคลหรือคณะทํางานขึ้นเพื่อดูแลเรื่องนี้ โดยเฉพาะหรือไม่
๘. การขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน. ควรมีการรายงานความก้าวหน้า เพื่อ ติดตามและผลักดันการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง
มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของที่ประชุม ไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ คร้ังต่อไปใน วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ห้องหว้ากอ ๑ และ ๒ และระบบออนไลน์