
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 6/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และแจ้งให้ที่ประชุมทราบระเบียบวาระเพื่อ พิจารณา ๒ เรื่อง ได้แก่ ๑) โครงสร้างสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และวิธีการทํางานในระยะต่อไป และ ๒) แนวคิดการจัดตั้งกองทุนอุดมศึกษา และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดําเนินการให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงตนก่อนการประชุมเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่าได้เข้าประชุมจริง
มติที่ประชุม กรรมการที่เข้าร่วมประชุมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และรับทราบระเบียบวาระ การประชุม
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 5/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มี การประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการ ประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้
๑. ระเบียบวาระที่ ๒.๑ เรื่องรับรองรายงานการประชุม ขอแก้ไข “ได้มีการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓” และ มติที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมฯ “ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓”
๒. ระเบียบวาระที่ ๓.๑ การจัดทําฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา ขอแก้ไขข้อความใน ข้อเสนอแนะที่ประชุม ๓.๖ โดยเพิ่มข้อความ “โดยควรดําเนินการให้ครบทุกสถาบันในปีแรกเพื่อให้สามารถใช้ ประโยชน์จากฐานข้อมูลอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ตอนท้าย
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 3.1 โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) และวิธีการทำงานในระยะต่อไป
นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (รอง ปอว.) นําเสนอความก้าวหน้าการปรับโครงสร้างส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยได้รับความเห็นชอบร่างโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง อว. เมื่อ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ และได้จัดทํารายละเอียดชี้แจงการแบ่งส่วนราชการต่อสํานักงานคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ (สํานักงาน ก.พ.ร.) และผู้บริหารสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) โดยกระบวนการขอความคิดเห็นจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สป.อว. ได้รับความเห็นชอบจาก สํานักงาน ก.พ.ร. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับรองมติ ก่อนเสนอให้สํานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาพิจารณา และขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศเป็นกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายใน กระทรวง อว. ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกระบวนการกฎหมายต่อไป
กรอบการจัดโครงสร้าง สป.อว. ยังเป็นไปตามโครงสร้างเดิมแต่มีการดําเนินงานภายใน ให้คล่องตัวมากขึ้น โดยภารกิจหลักยังให้ความสําคัญกับงาน ๓ ด้าน คือ ส่งเสริมและพัฒนากําลังคนและทุนทาง ปัญญา (Manpower and Brainpower) ระบบนิเวศ ววน. (RDI Ecosystem) และการยกระดับคุณภาพและ มาตรฐาน อววน. (Transformation) โดยมีการสนับสนุนการดําเนินงานของภารกิจผ่านแผนและยุทธศาสตร์ และ หน่วยสนับสนุนต่าง ๆ ให้เกิดการบูรณาการทั้งด้านการอุดมศึกษากับด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี การแบ่งส่วนงานรับผิดชอบเป็นกลุ่มภารกิจ ดังนี้
๑. กลุ่มภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนากําลังคนและทุนทางปัญญา ประกอบด้วย กองส่งเสริมและพัฒนากําลังคน (Manpower) และกองส่งเสริมและพัฒนาทุนทางปัญญา (Brainpower)
๒. กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และสนับสนุน อววน. ได้แก่ กองส่งเสริมและประสานเพื่อ ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๓. กลุ่มภารกิจขับเคลื่อนและยกระดับ อววน. ประกอบด้วย กองยกระดับคุณภาพการ จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๔. กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และสนับสนุน อววน. ประกอบด้วย กองยุทธศาสตร์และ แผนงานกองการต่างประเทศ กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม กองกลาง และกองกฎหมาย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มตรวจสอบภายใน และศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน การทุจริต
ทั้งนี้ การจัดโครงสร้างแบ่งออกเป็น ๑๐ กอง ๒ กลุ่ม และ ๑ ศูนย์ เป็นไปตาม โครงสร้างเดิมของ สป.อว. โดยที่ สํานักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะให้มีวิธีการทํางานแบบ Agile Team ซึ่งแยก ออกมาโครงสร้างของ สป.อว. ทําหน้าที่รับผิดชอบงานส่งเสริมและพัฒนากําลังคนและทุนปัญญา งานขับเคลื่อน และพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งต้องสร้างทีมงานและสร้างวัฒนธรรมองค์กร พร้อมกับกรอบแนวความคิดที่มีความคล่องตัวไปพร้อมกัน โดยมีตัวชี้วัดการดําเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กําหนด ดังนี้
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงขึ้น
๒. สัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาต่อประชากร ๑๐,๐๐๐ คน
๓. มูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมที่ผู้ประกอบการ/ชุมชนนําผลงานวิจัยและ
๔. อันดับด้านความร่วมมือในกิจกรรมวิจัยและพัฒนาระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับ
๕. การศึกษาระดับอุดมศึกษาตอบสนองความสามารถในการแข่งขัน
๖. ความสําเร็จของการบริหารราชการแนวใหม่ในรูปแบบAgileTeam
๗. ความสําเร็จของการจัดทําฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษาและฐานข้อมูลด้านมาตรฐานการอุดมศึกษาของประเทศ
๘. อันดับความสามารถทางการแข่งขันด้าน Scientific Infrastructure ของประเทศไทยตามการจัดอันดับของ IMD
๙. ความสําเร็จของการปรับทัศนคติ วิธีคิด และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การจัดโครงสร้างสป.อว.
(๑) สํานักงาน ก.พ.ร. มีความเห็นว่าโครงสร้าง สป.อว. สามารถบูรณาการการทํางานร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงาน สป.อว. เดิม และสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เดิม จึงทําให้มี ๒ กอง คือ กองส่งเสริมและพัฒนากําลังคน (Manpower) และกองส่งเสริมและพัฒนาทุนทางปัญญา (Brainpower) ซึ่งมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน
(๒) ในระดับนโยบาย มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่บูรณาการการอุดมศึกษาเข้ากับ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแล้ว แต่ยังขาดหน่วยงานที่ดูแลและรับผิดชอบด้านงบประมาณ ซึ่งงบประมาณ บางประเภทไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยงานที่สามารถวิเคราะห์การใช้งบประมาณแบบภาพรวมของทั้งกระทรวงได้
(๓) โครงสร้างของกองงานที่รับผิดชอบงานเลขานุการและสนับสนุน การทํางานของคณะกรรมการ ๓ คณะ คือ คณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีทั้งหมด ๓ กอง กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย ๑) กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทําหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการให้กับคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๒) กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทําหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการให้กับคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา และ ๓) กองส่งเสริมและพัฒนาทุนทาง ปัญญาทําหน้าทเี่ป็นฝ่ายเลขานุการให้กับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(๔) การจัดทําโครงสร้างหน่วยงานเกิดจากการระดมความคิดเห็นจากหลาย หน่วยงานและได้ผ่านการพิจารณามาแล้วหลายขั้นตอน ดังนั้นโครงสร้างในระดับกองจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากได้มีการพิจารณาลงมติไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามอํานาจและหน้าที่ยังสามารถปรับปรุงได้เล็กน้อย โดย โครงสร้างภายในและ Agile Team สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการนําความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุม มาร่วมพิจารณา และเมื่อหากทํางานไปแล้วยังพบว่าไม่สามารถตอบวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดความคล่องตัวก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน
(๕) โครงสร้าง สป.อว. ใหม่ควรเปิดช่องทาง/โอกาส ให้คนรุ่นใหม่เข้ามามี ส่วนร่วมในการทํางาน เนื่องจากการดําเนินงานปัจจุบันต้องอาศัยการคิดนอกกรอบสูง หากบุคลากรระดับบริหาร ยังคงเป็นบุคลากรที่อยู่ในระบบเดิม อาจไม่มีแนวความคิดหรือแนวทางแก้ปัญหาในรูปแบบใหม่ได้ ดังนั้น โครงสร้างที่ปรับปรุงในครั้งนี้ควรมีช่องทางให้บุคลากรรุ่นใหม่ทั้งภายในและภายนอกกระทรวง อว. สามารถเข้ามา มีบทบาทในการร่วมคิด บริหารและออกแบบยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาการทํางานของกระทรวงให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้คาดหวังไว้
(๖) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการทํางาน ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์ที่ได้ส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่คาดไว้ เนื่องจากไม่ได้มีการ วางแผนและสร้างกลไกการทํางานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตอนแรก ดังนั้นจึงควรมีการวางแผน
เพื่อสร้างกลไกในการทํางานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและทํางานร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยโครงสร้างที่จัดทําขึ้น ควรยืดหยุ่นสามารถปรับปรุงและแก้ไขได้เพื่อให้เกิดการทํางานที่คล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ควรมีการนําข้อมูล จากตัวชี้วัดที่ได้ มาปรับใช้เพื่อให้เกิดข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) และนําไปสู่การเรียนรู้และทําให้เกิดการพัฒนา โครงสร้างที่เอื้อต่อการทํางานได้มากขึ้น
๒. การมีAgileTeamเพื่อความคล่องตัวในการดําเนินงาน
(๑) การบูรณาการทํางานใน สป.อว.สามารถทําได้ผ่านแผนและยุทธศาสตร์ และผ่าน Agile Team ซึ่งจะเป็นบุคลากรที่อยู่ได้ทั้งในกองหรือนอกกองของโครงสร้างที่ออกแบบไว้ อย่างไร ก็ตาม จะต้องมีการออกแบบให้สามารถบริหารหน่วยงานราชการ และบริหารบุคลากรต่อไป
(๒) ต้องสามารถโอนย้ายบุคลากรได้ (Mobility) เพื่อให้เกิดการทํางานที่มี ประสิทธิภาพ เนื่องจากประสบการณ์ในการทํางานที่หลากหลายจะส่งผลให้เกิดทักษะ ความรู้ความเข้าใจ จน นําไปสู่การทํางานที่บูรณาการได้ นอกจากนี้การทํางานในระดับหัวหน้างานหรือผู้ที่มีประสบการณ์ควรเปลี่ยนจากการสั่งการแล้วนํางานที่ได้มาแก้ไข เป็นรูปแบบการให้การช่วยเหลือ แนะนํา แก้ปัญหา (Coaching) เพื่อให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการพัฒนาซึ่งจะนําไปสู่การเติบโตขององค์กร
(๓) การออกแบบกระบวนการทํางานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในลักษณะ Agile team สามารถดําเนินการได้ในภายหลังจากการปรับโครงสร้าง เนื่องจากรายละเอียดที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงเป็น อํานาจและหน้าที่ของแต่ละกองเท่านั้น ดังนั้นแม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเห็นชอบก็สามารถทบทวนและปรับปรุง เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้นได้ โดยการทํางานอาจทําเป็น Sandbox นําร่อง เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการทํางานของ Agile team ในเบื้องต้นก่อนก็ได้
๓. สป.อว.ควรมีกลไกในการประสานงานให้หน่วยงานภายใต้การกํากับดูแลสามารถแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้ เช่น มหาวิทยาลัยควรผลิตกําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศหรือ ตลาดแรงงาน
๔. การพัฒนาในระดับท้องถิ่นยังต้องการการสนับสนุนจากกระทรวง อว. อยู่เป็น จํานวนมาก โดยกระทรวง อว. มีหน่วยงานสนับสนุน เช่น หน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) และมหาวิทยาลัย ที่มีความพร้อมในการสนับสนุน แต่ยังขาดกลไกในการขับเคลื่อนพัฒนาและบูรณา การในระดับท้องถิ่น และไม่มีนวัตกรรมทางด้านการจัดการ เนื่องจากโครงสร้างในระดับพื้นที่ไม่มีกระบวนการ เชื่อมโยงกระทรวง อว. เข้าไปพัฒนาโดยตรง ดังนั้นหากมีโครงสร้างที่เอื้อให้เกิดการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นที่ กระทรวง อว. จะสามารถเข้าไปมีบทบาทได้ด้วย จะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ต้องคํานึงถึงแนวทางในการทํางาน ไม่ให้เกิดการทับซ้อนกับบทบาทหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีอยู่เดิม
มติที่ประชุม เห็นชอบให้ สป.อว. ประสานงานกับ สํานักงาน ก.พ.ร. เพื่อดําเนินการตามความเห็น ของกรรมการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3.2 แนวคิดการจัดตั้งกองทุนอุดมศึกษา
นายศุภชัย ปทุมนากุล รอง ปอว. นําเสนอแนวคิดของการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการ อุดมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลและความจําเป็นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผลต่อการพัฒนาคนและ ระบบการอุดมศึกษา โดยลักษณะของการอุดมศึกษารูปแบบใหม่มีมิติและรูปแบบและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิม นอกจากนี้ ระบบการอุดมศึกษายังต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง เช่น ภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากขึ้น (Knowledge Workers) การมีส่วนร่วมในการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และจากทิศทางการ เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันทําให้คนมีความจําเป็นต้องพัฒนาทักษะให้ทันโลกอยู่เสมอเนื่องจากบางทักษะจะมีลักษณะ ที่เป็น Short Life Cycle Skill เช่น Digital Skill เป็นต้น จึงมีเป็นที่มาของความจําเป็นที่ต้องมีการจัดตั้งกองทุน
อุดมศึกษาเพื่อเปลี่ยนผ่านระบบการอุดมศึกษาไปสู่อนาคต เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และ ผลิตและพัฒนากําลังคนระดับสูงตามความต้องการของประเทศ
กองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาจะใช้แหล่งงบประมาณตามมาตรา ๔๕ (๓) งบพัฒนา ความเป็นเลิศและการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และงบประมาณตามมาตรา ๔๕ (๔) งบเข้ากองทุนให้กู้ยืม ดอกเบี้ยต่ําให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนนี้จะจัดสรรตรงไปที่ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของ ประเทศและการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแตกต่างจากงบประมาณที่จัดสรรจากกองทุน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่มุ่งเน้นการพัฒนากําลังคนด้าน ววน. ในสาขาที่ขาดแคลนหรือใน พื้นที่เป้าหมาย
แนวทางการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาสามารถทําได้ ๒ แนวทาง คือ ๑) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ เพิ่มเติมหมวดกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษา และ ๒) จัดทําร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะ โดยเห็นว่าแนวทางที่ ๒ น่าจะเหมาะสําหรับ การบริหารงานของกองทุนเนื่องจากมีความคล่องตัว ไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบของส่วนราชการ แต่จะต้องมีการ กําหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนและสํานักงานกองทุนขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ขั้นตอนการ จัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาจะต้องมีการเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณาในหลักการ และเสนอ คณะกรรมการนโยบายทุนหมุนเวียนเพื่ออนุมัติจัดตั้งกองทุน และยุบรวมกองทุนอุดมศึกษาเอกชน จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกันเสนอข้อเสนอจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาและร่างพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรี หลังจากที่ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมการ กฤษฎีกา และเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ ทั้งนี้ จะมีการ แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนและจัดทําหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่จําเป็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน โดยคาดว่าจะสามารถจัดสรรงบประมาณจากกองทุนได้ในปี ๒๕๖๕
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การเสนอขอจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษายังขาดแนวทางการดําเนินการ ที่จะทําให้สถาบันอุดมศึกษาใช้งบประมาณนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อมูลการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน ในลักษณะ Multi-year จะทําอย่างไร เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจํากัด ในการพิจารณา งบประมาณไม่ต้องการให้มีการกันเงินไว้โดยไม่ได้ใช้ และการมีรายได้หมุนเวียนกลับเข้ากองทุนในลักษณะ Revolving Fund
๒. ควรจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษา
– เนื่องจากระบบงบประมาณของประเทศปัจจุบันเป็นงบประมาณรายปี ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับสูงเฉพาะทางซึ่งต้องผูกพันและทําข้อตกลง หลายปี และไม่สามารถใช้งบประมาณแบบรายการ (Item) ตามการจัดสรรงบประมาณปกติซึ่งในการเสนอขอจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษามีเงินจากกองทุนอุดมศึกษาเอกชนเป็นเงินตั้งต้น จะช่วยให้สามารถชี้แจง กรมบัญชีกลางได้
– แม้ว่าการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาโดยการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ กองทุนจะยังมีสถานะเป็นนิติบุคคลได้ โดยหน่วยบริหารจัดการอาจไม่เป็นนิติบุคคลก็ได้ หรืออีกทางเลือกคือการจัดทําเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะอีก ๑ ฉบับก็สามารถทําได้
๓. ต้องกําหนดนิยาม “งบประมาณเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา” และ “การผลิตและพัฒนากําลังคนระดับสูง” ให้ชัดเจนว่างบประมาณลักษณะใดจะเป็นงบประมาณที่ใช้เงินกองทุน และค่าใช้จ่ายในลักษณะไหนที่อยู่นอกเหนือจากนิยามและมหาวิทยาลัยสามารถตั้งงบประมาณได้เอง
๔. การเสนอจัดตั้งกองทุนกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาควรดําเนินการโดยแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ เนื่องจากใช้เวลาไม่นาน แม้ว่าการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษาโดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ กองทุนจะยังมีสถานะเป็นนิติ บุคคลได้ โดยหน่วยบริหารจัดการอาจไม่เป็นนิติบุคคลก็ได้ หรืออีกทางเลือกคือการจัดทําเป็นพระราชบัญญัติ เฉพาะอีก ๑ ฉบับก็สามารถทําได้
๕. ปัจจุบันกลไกการจัดสรรงบประมาณ ฝ่ายนิติบัญญัติจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ซึ่งหากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในกองทุนยังคงเหลืออยู่จะถูกประเมินว่าใช้งบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ
มติที่ประชุม เห็นชอบในหลักการการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบการอุดมศึกษา และมอบหมายให้ฝ่าย เลขานุการประสาน สป.อว. ให้พิจารณานําเสนอต่อ กกอ. ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไปใน วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ห้องหว้ากอ ๑ และ ๒ และระบบออนไลน์