
รายงานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 4/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมแจ้งระเบียบวาระการประชุมให้ ที่ประชุมทราบ และขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดําเนินการให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงตนก่อนการประชุมเพื่อเป็นการ ยืนยันตัวตนว่าได้เข้าประชุมจริง
มติที่ประชุม กรรมการที่เข้าร่วมประชุมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และรับทราบระเบียบวาระ การประชุม
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 3/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่
9 มีนาคม พ.ศ. 2563 ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการ ประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 4.2 การปรับบทบาทของกรมวิทยาศาสตร์บริการเพื่อรองรับการ เป็นองค์การมหาชนในอนาคต
1. จาก “สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จัดตั้งขึ้นโดยพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงาน และมีพระราชบัญญัติอีกหนึ่งฉบับที่ให้อํานาจทางกฎหมายเพื่อดําเนินการ” เป็น “สํานักงาน พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จัดตั้งขึ้นโดยแยกกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานออกจากกฎหมายที่ให้อํานาจ หน่วยงานดําเนินการ”
2. จาก“มิได้ให้อํานาจหน่วยงานจัดตั้งเป็น”เป็น“มิได้ให้อํานาจหน่วยงานจึงจัดตั้งเป็น”
3. จาก “แต่ได้เสนอคณะรัฐมนตรี” เป็น “แต่สามารถเสนอคณะรัฐมนตรี”
นอกจากนี้ฝ่ายเลขานุการขอให้กรรมการพิจารณาทบทวนมติระเบียบวาระการ ประชุมที่ 4.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสํานักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยฝ่ายเลขานุการฯ จะพิจารณาเลือกวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 วิธี คือ
1) ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแต่งต้ัง โดยต้องหารือเรื่องเบี้ยประชุมกรรมการกับกรมบัญชีกลางอีกครั้ง
2) นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม แต่งตั้ง ตามอํานาจที่รักษาการตามพระราชบัญญัติ โดยสามารถจ่ายเบี้ยประชุมคณะกรรมการ ได้ตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
มติที่ประชุม
1. รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 3/2563
2. เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแต่งตั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 3.1 แนวทางการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนา และออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งได้มีการ ประชุม 2 ครั้ง (6 มกราคม และ 25 กุมภาพันธ์ 2563) ดังนี้
1. ข้อจํากัดในการดําเนินงาน
1.1 กรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับการพิจารณาจัดสรรไม่สอดคล้องกับกรอบวงเงินงบประมาณที่สภานโยบายและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
1.2 กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษากับกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีความคาบเกี่ยวกัน
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 ให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (รอว.) มีร่างหน้าที่และอํานาจในการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ และระบบการจัดสรรและ บริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มาตรา 45 (3) แห่ง พ.ร.บ. การ อุดมศึกษา พ.ศ. 2562 และมาตรา 17 (2) แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562) เสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้งกําหนดแนวทาง และขั้นตอนในการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้าน อววน. ของประเทศ โดยประสานร่วมดําเนินการกับสํานักงบประมาณ
2.2 แนวทางการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาตามฐานหลักของ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีที่ผ่านมา ร่วมกับกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อรองรับนโยบายด้านการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่สําคัญเร่งด่วน และความจําเป็นของประเทศในการใช้งบประมาณด้านอื่นๆ โดยกรอบวงเงินงบประมาณนี้จะต้องมีรายละเอียดเพียงพอในการชี้แจงว่าผลที่คาดว่าจะได้รับคืออะไร
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
1. การจัดทํากรอบงบประมาณด้าน อววน.
1.1 ที่ผ่านมาใช้เป้าหมายการลงทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GERD/GDP) ในการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ โดยไม่ได้พิจารณาบริบทและกรอบวงเงินงบประมาณภาพรวมของประเทศ ส่งผลให้กรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ ผ่านมติของสภานโยบายและคณะรัฐมนตรีไม่ใกล้เคียงกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจริง
1.2 การคํานวณกรอบวงเงินงบประมาณใหม่นี้ จะต้องดําเนินการโดยพิจารณา ภาพรวมของกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศ และการลงทุนของภาคเอกชน โดยกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนควบคไู่ ปด้วย
1.3 งบประมาณที่ใช้ดําเนินการด้าน ววน. ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน อาจจะต้องคํานึงถึงงบประมาณที่นักวิจัยได้รับโดยตรงจากหน่วยงานให้ทุนโดยไม่ผ่านมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่ง งบประมาณประเภทนี้ไม่ได้ระบุในบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน โดยอาจจะต้องหาวิธีดําเนินการสํารวจเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด
1.4 กรอบวงเงินงบประมาณ อววน. ที่จะเสนอต่อสํานักงบประมาณควรมีรายละเอียดเพียงพอที่จะชี้แจงได้ว่าผลที่จะได้รับจากการลงทุนคืออะไร เพื่อให้สามารถจัดลําดับความสําคัญ ร่วมกับกรอบวงเงินงบประมาณองประเทศได้
2. คณะกรรมการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมควรพิจารณาหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการฯ ว่าจะพิจารณากรอบวงเงินงบประมาณ ในส่วนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เท่านั้นหรือไม่ เนื่องจากกรอบ วงเงินงบประมาณด้าน ววน. จะครอบคลุมถึงหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกกระทรวง อว. ด้วย รวมทั้งการจัดทํา กรอบวงเงินงบประมาณอาจต้องพิจารณาถึงเงินนอกงบประมาณของหน่วยงาน อาทิเช่น งบประมาณรายได้ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น และควรพิจารณาความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้การกําหนดกรอบ งบประมาณรายจ่ายจากรัฐบาลเป็นไปด้วยความเหมาะสมในภาพรวม อย่างไรก็ตาม ได้มีการชี้แจงว่ากรอบ วงเงินงบประมาณในที่นี้จะหมายถึงกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ซึ่งไม่รวมงบประมาณรายได้
2.1 หากหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการฯ จะต้องพิจารณาภาพรวมของ กรอบวงเงินงบประมาณที่อยู่ภายนอกกระทรวงด้วย อาจจะต้องปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ให้มี กรรมการจากหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องเพิ่มเติม หรืออาจจัดตั้งคณะอนุกรรมการฯ หรือให้คณะกรรมการอื่นๆ ช่วยพิจารณาภาพรวมของกรอบวงเงินงบประมาณภายนอกกระทรวงด้วย
2.2 คณะกรรมการฯ ควรจะทราบข้อมูลภาพรวมการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมทั้งหมด แต่จะพิจารณาเฉพาะกรอบวงเงิน งบประมาณด้านการอุดมศึกษา ตามมาตรา 45(3) แห่ง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 และกรอบวงเงิน งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 17(2) แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมการวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2562 เท่านั้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทํางานในการกําหนดกรอบวงเงินงบประมาณ ทั้ง 2 ด้าน
2.3 ควรพิจารณาว่าหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการฯ ทับซ้อนกับหน้าที่ และอํานาจของหน่วยงานอื่นตามที่ พ.ร.บ. กําหนดไว้หรือไม่ โดยอาจจะต้องปรับหน้าที่และอํานาจให้ เหมาะสมและไม่ขัดกับพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องโดยยังคงวัตถปุระสงค์หลักของกลไกการทํางานที่มุ่งเน้นให้เป็นการ กําหนดกรอบวงเงินงบประมาณที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดําเนินการในภาพรวม และประสานงานกับสํานัก งบประมาณเพื่อให้กรอบวงเงินงบประมาณที่กําหนดมีความเหมาะสม และเป็นส่วนหนึ่งของกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศที่เสนอเข้าคณะรัฐมนตรี
2.4 ควรพิจารณาว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ดังกล่าวจะแต่งตั้งโดยสภานโยบายหรือคณะรัฐมนตรี เพราะการดําเนินงานจะรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ นอกเหนือกระทรวง อว. ด้วย
2.5 กลไกทางกฎหมายและตามที่ พ.ร.บ. กําหนดไว้ จะมีกระบวนการทาง งบประมาณทั้งขาขึ้นและขาลง โดยในส่วนของขาลงภายหลังจากที่กรอบวงเงินงบประมาณผ่านความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรีแล้ว จะมีคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา และคณะกรรมการ พิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพิจารณาในรายละเอียดของงบประมาณในแต่ละ ด้าน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้จะไม่มีหน้าที่และอํานาจตามกฎหมาย แต่มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อช่วยประสานการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณให้เป็นที่ยอมรับของสํานักงบประมาณ และเป็นส่วนหนึ่งของกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศ
3. การจัดสรรงบประมาณควรพิจารณาให้รอบคอบ โดยงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีกองทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรองรับอยู่ แต่งบประมาณด้าน การอุดมศึกษาที่ไม่มีกองทุนรองรับ จะจัดสรรไปยังสํานักงานปลัดกระทรวง อว. ทั้งหมดใช่หรือไม่
4. แนวทางการจัดทํางบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ในช่วงการจัดทํากรอบงบประมาณให้แก้ไขเพิ่มเติมเป็น “PMU และหน่วยงานวิจัยและนวัตกรรม” จัดทําแผนงานในช่วงการจัดทํากรอบงบประมาณ
มติที่ประชุม
มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเสนอ ต่อคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 4.1 แนวทางการพัฒนาระบบ Think Tank ของอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (Think Tank Management Platform : TTMP)
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอแนวทางการพัฒนาระบบ Think Tank ของอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) (Think Tank Management Platform: TTMP) เพื่อสนับสนุนองค์ ความรู้เชิงลึกทางวิชาการให้กับหน่วยงานที่ทําหน้าที่กําหนดและจัดทํานโยบาย อาทิ สํานักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่ง (สอวช.) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ บุคลากรที่มี
ความรู้ความเชี่ยวชาญในหน่วยงานเหล่านี้อาจมีจํานวนไม่เพียงพอครอบคลุมทุกๆ ด้านสําหรับการทํานโยบาย ซึ่งหน่วยงานที่ทําหน้าที่เป็น Think Tank ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและมีความเฉพาะทางที่หลากหลาย อาทิ สถาบันวิจัยต่างๆ สํานักงานราชบัณฑิตยสภา มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (บวท.) เป็นต้น
การดําเนินงานของ Think Tank Management Platform นี้อาจจะอยู่ในรูปแบบ องค์กร หรือมอบหมายให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันดําเนินการ และได้รับการสนับสนุนทรัพยากร สําหรับดําเนินการจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และกองทุนพัฒนาอุดมศึกษา (ในอนาคตหากมีการจัดตั้งขึ้น) โดยรายละเอียด Think Tank Management Platform มีดังนี้
ก. ภารกิจหลักประกอบด้วย
1. ระบบวิจัย (System Research) การทําความเข้าใจเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบการแพทย์ ระบบอาหาร เพื่อใช้เป็นข้อมูลสําหรับการจัดทํานโยบาย
2. การจัดลําดับความสําคัญ (Priority Setting) ของแต่ละภาคส่วน (Sector) ในระบบนั้น ๆ เพื่อให้สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมต่อไป
3. การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational Analytics) ทั้งสถานการณ์ปกติและเร่งด่วนอย่างเป็นระบบเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
4. การติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation) มีการตรวจสอบและประเมินผลอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง
5. ที่ปรึกษาด้านนโยบาย (Policy Advice) ให้คําแนะนําด้านนโยบายแก่ผู้จัดทํานโยบายตามหลักวิชาการอย่างเหมาะสมและเป็นกลาง
ข. ลักษณะของ Think Tank Management Platform ควรประกอบด้วยต่างประเทศ
1. มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการความรู้ และมีความคล่องตัว
2. สามารถระบุโจทย์ประเทศ โดยเฉพาะประเด็นที่ต้องการแก้ปัญหาได้
3. มีความเชี่ยวชาญในการประสานงานระหว่างหน่วยงานทั้งภายในประเทศ
4. สามารถประสานงานข้ามภาคส่วนได้ (Cross-sector relationship)
5. สามารถให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Summarize policy recommendation) และสื่อสารให้เข้าใจในการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ
6. ต้องมีความรวดเร็วในการทํางาน
7. สามารถทํางานแบบออนไลน์ และออฟไลน์ได้ (Online-offline)
ค. บทบาทของ Think Tank Management Platform เป็นการประสานงานและ สนับสนุนการทํางานของหน่วยงานที่เป็น Think Tank ของประเทศหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ข้อเสนอต่อสภา นโยบายและหน่วยงานในระบบ อววน. ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ (Issue) ที่สําคัญ ในระดับภาคส่วนสําคัญ ฉุกเฉิน หรือวิกฤต
1. ความเข้าใจเชิงลึกในระบบ อววน. ระดับภาคส่วน (Sector) หรือประเด็น
2. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่มีความสําคัญและจําเป็นต่อการพัฒนาระบบ อววน.
3. การประเมินสถานการณ์ในระดับภาคส่วน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
4. การมีความเป็นกลางในการทําหน้าที่ติดตามและประเมินผลในด้านต่าง ๆ
5. การให้ข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ บนพื้นฐานทางหลักวิชาการที่ถูกต้องและเป็นกลาง 6. มีงบประมาณสนับสนุนการทํางานของ Think Tank ต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์ ได้นําเสนอตัวอย่างด้านการแพทย์ ซึ่งจําเป็นต้องมี Think Tank สรุปประเด็นได้ ดังนี้
1. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา วัคซีนและเครื่องมือแพทย์ ใช้ระยะเวลาและ ทรัพยากรมาก (ทุน อาสาสมัคร นักวิจัย ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์) เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ หลาย ขั้นตอนประกอบด้วย การทําวิจัยขั้นพื้นฐาน การค้นพบยา การวิจัยพรีคลินิก การวิจัยคลินิกและการรับรองขององค์การอาหารและยา
2. ในปัจจุบันการดําเนินการวิจัยผลิตภัณฑ์ยา วัคซีนและเครื่องมือแพทย์ ประสบความสําเร็จได้โดยภาคเอกชนที่เรียกว่าบริษัทรับจ้างทําวิจัยทําสัญญา (Contract Research Organization: CRO) ซึ่งมีบริษัท CRO TOP Ten เข้ามาดําเนินการในไทยประมาณ 7 บริษัท อย่างไรก็ตาม กระบวนการ แต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความร่วมมือ การลงทุน และมาตรการจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่หลายด้าน
3. มีการจัดตั้งเครือข่ายและพันธมิตรด้านงานวิจัยคลินิก เพื่อให้เกิดการรวมตัวระหว่างนักวิจัยและเครือข่าย เพื่อร่วมกันผลักดันและจัดทําแผนแม่บทการดําเนินการวิจัยคลินิกใน พ.ศ. 2560 และใน พ.ศ. 2562 มีความพยายามจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนระหว่างสถาบันแพทยศาสตร์กับ ภาคเอกชนในเรื่องงานวิจัยคลินิก อย่างไรก็ตามกระบวนการดําเนินการยังคงเป็นอุปสรรคเนื่องจากแต่ละ สถาบันแพทยศาสตร์มีระเบียบและกลไกที่แตกต่างกัน ซึ่งประโยชน์จากการวิจัยคลินิกวิเคราะห์โดยภาคเอกชน พบว่าหากผลิตผลิตภัณฑ์ได้ 1 ชนิด จะสามารถลดรายจ่ายทางสุขภาพประมาณหมื่นล้านบาท เกิดการจ้างงาน มากกว่า 5 พันล้านบาท ต่อ ปี
4. ช่องว่าง (Gap) ของงานวิจัยคลินิกปัจจุบันได้แก่ ขาดหน่วยงานประสานกลาง และนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน ขาดความต่อเนื่องในการดําเนินงาน ระเบียบ/กลไกการดําเนินงานให้สามารถดําเนินการได้เร็วขึ้น การพัฒนาคน/นักวิจัย โครงสร้างพื้นฐานการสนับสนุน
5. Think Tank Management Platform สามารถเป็นกลไกทําการวิเคราะห์ระบุประเด็น กระบวนการ/ขั้นตอนและหน่วยงานที่กําลังดําเนินการวิจัยเกี่ยวข้องกับงานวิจัยคลินิก สํารวจ/ ระบุขั้นตอนกระบวนการการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในแต่ละชิ้นงาน การวิเคราะห์ตลาด สํารวจความพร้อม ของประเทศ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและนอกประเทศ รวมถึงกิจกรรม ต่างๆอย่างเป็นระบบที่สนับสนุนการวิจัยของ CRO ได้ต้้ังแต่ระดับนโยบายจนนําไปสู่การดําเนินงานวิจัยและ ยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อให้วิทยาการทางการแพทย์ของประเทศได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
1. Think Tank Management Platform ควรมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากร ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดําเนินงาน เนื่องจากหน่วยงานวิจัยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมี Think Tank ภายในหน่วยงาน ส่งผลให้การดําเนินงานเป็นไปตามที่หน่วยงานกําหนดที่ไม่เหมือนกัน และขาดความต่อเนื่อง
2. ควรออกแบบกลไกให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Share data) และมีแนวทางการ ดําเนินการร่วมกันระหว่าง Think Tank เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร (โดยเฉพาะเวลาและงบประมาณ) อย่างมี ประสิทธิภาพ และสามารถมองภาพรวมในแต่ละส่วนของระบบ เพื่อสามารถตัดสินใจได้ว่าแต่ละส่วนจะ ดําเนินการด้วยทิศทางอย่างไร
3. ควรมีแนวคิดเชิงระบบและการจัดลําดับความสําคัญ (Priority Setting) ใน ระดับประเทศ เพื่อให้มีทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างแท้จริง ซึ่งต้องมีงานวิจัย เป็นฐาน จนนําไปสู่การพัฒนาเชิงระบบ นโยบายที่เชื่อมโยงกับการตลาด และเกิดการจัดสรรงบประมาณที่ เหมาะสม ดังนั้นคณะกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณควรได้รับข้อมูลในลักษณะนี้ ซึ่งรวมไปถึง กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องในการตัดสินใจเรื่องการจัดสรรงบประมาณ
4. Think Tank ควรมีบทบาทในการวิเคราะห์ความคุ้มทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ ภายในประเทศ และระบุความพร้อมในท่อการผลิต (Pipeline) ของประเทศร่วมด้วย เพื่อนําไปสู่การจัดสรร ทรัพยากรที่เก่ียวข้องท้ังกระบวนการผลิต พร้อมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์และบทบาทในต่างประเทศในประเด็น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางนโยบายทิศทางการดําเนินการในภาพรวม และสร้างเครือข่ายทรัพยากรบุคคลทั้งในและ ต่างประเทศ
5. ควรปรับแก้ไขภาพ TTMP ให้มีความชัดเจนมากย่ิงข้ึน โดยอาจจะลดจํานวนภาค ส่วนลงเพื่อให้เห็นภาพการทํางานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ กลไกการดําเนินงานในระดับประเทศ และนําเสนอ ต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป
6. บทบาทของ Think Tank อาจจะต้องดําเนินการในลักษณะเป็นที่ปรึกษาเชิง กลยุทธ์ (Strategic Advisor) และดําเนินการท้ังกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน
7. ควรคํานึงถึงการดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนบนและส่วนล่าง ดังน้ัน ในการออกแบบ TTMP ไม่ควรมีแต่ระดับ Top-down policy จากข้างบนเพียงอย่างเดียว โดยรูปแบบ Think Tank อาจจะหมายถึงเครือข่าย หรือคณะทํางาน (Ad Hoc) ซึ่งรูปแบบ TTMP ที่ออกแบบนี้ยังเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างแข็งตัว
8. ภาพใหญ่ของ Think Tank ควรใช้นวัตกรรมเป็นตัวนํา มากกว่าการใช้งานวิจัยนํา ซึ่งต้องการวิธีการคิดแบบนักธุรกิจ และรูปแบบการทํางานควรเป็นการหาโอกาส (Forward Thinking) มากกว่าการแก้ไขปัญหา (Backward Thinking)
9. คุณลักษณะ Think Tank ที่ออกแบบต้องเป็นลักษณะที่มีความช่างสงสัย เพื่อให้ เกิดความคิดใหม่ ๆ ได้ ซึ่งต้องเกิดจากกลุ่มคนที่มีลักษณะที่หลากหลาย
มติที่ประชุม มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไป พิจารณาศึกษาและดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (หากมี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (หากมี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00 – 13.00 น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ห้องหว้ากอ 1 และ 2 และระบบออนไลน์