
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งที่ 2/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน การปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมแจ้งระเบียบวาระการประชุมให้ ที่ประชุมทราบ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2563
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงาน การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 การปฏิรูประบบธรรมาภิบาลในสภาสถาบันอุดมศึกษา
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอการปฎิรูประบบธรรมาภิบาลในสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้
๑) ปัญหาของระบบธรรมาภิบาลของสภาสถาบันอุดมศึกษา มีดังนี้
๑.๑) กระบวนการสรรหานายกและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยผู้ได้รับการสรรหาหรือแต่งตั้งขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม และการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ตอบแทนระหว่าง กรรมการสรรหากับผู้เข้ารับการสรรหา
๑.๒) จริยธรรมของผู้ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการ
๑.๓) การปฏิบัติหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยที่สภาสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถทําหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเอื้อประโยชน์กันระหว่างนายกสภา สถาบันอุดมศึกษา กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดี ปัญหาการทุจริตหรือใช้อํานาจโดยมิชอบหรือการบริหารงานของอธิการบดี หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
๒) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลสภาสถาบันอุดมศึกษา มีการกําหนด รายละเอียดและแนวปฏิบัติที่เป็นหลักการอยู่ใน พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ร.บ. ระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และ พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๖๒
๓) หลักการของธรรมาภิบาล (Good Governance) และความเป็นอิสระของสถาบัน(Institutional Autonomy) สําหรับสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีการกําหนดหลักการไว้ในสถาบันและองค์กรชั้นนํา ของโลก อาทิ UNDP, OECD, Institute of Internal Auditors, Council of Europe
๔) บทบาท ความรับผิดชอบ อํานาจและหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา การสร้าง ความไว้วางใจต่อสังคมโดยส่วนรวม (Fiduciary Mode) หน้าที่ต่อยุทธศาสตร์ในอนาคต (Strategic Mode) หมายถึงการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับฝ่ายบริหาร กําหนดโครงสร้างสภาสถาบันสถาบันอุดมศึกษาให้ ตอบสนองภารกิจ และหน้าที่รังสรรค์และสร้างสรรค์ (Generative Mode) หมายถึง เป็นผู้นําเชิงความคิดในการ แสวงหาความหมาย แนวคิดและกลยุทธ์ใหม่ ๆ และปรับเปล่ียนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้อยู่รอดในสังคมดิจิทัล ที่มีความเป็นพลวัตและมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
๕) องค์ประกอบ คุณสมบัติ และที่มาของสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยปัจจุบันมีปัญหาความขัดแย้งในผลประโยชน์ (Conflict of Interest) จากการมีบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเป็น องค์ประกอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาเกินกึ่งหนึ่ง และกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาไม่มีโอกาสได้แสดง ความคิดเห็นเชิงนโยบาย นอกจากนี้ ยังมีช่องว่างของกฎหมายซึ่งเป็นปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่และปัญหาใน การหาผู้รับผิดชอบหรือชดใช้ความเสียหายให้แก่สถาบันอุดมศึกษา ฝ่ายเลขาฯ ได้เสนอหลักการของการจัด องค์ประกอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
๕.๑ จํานวนกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาไม่ควรมากเกินไป
๕.๒ สภาสถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็กจะมีประสิทธิผลในด้านการพัฒนามากกว่า สภาสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่
๕.๓ องค์ประกอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาอาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด
๕.๔ หากมีบุคลากรภายในควรมีอธิการบดีและประธานสภาคณาจารย์ และ ตัวแทนของผู้ได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
๕.๕ องค์ประกอบและคุณสมบัติของกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและจุดเน้นของสถาบันอุดมศึกษา (เช่น การผลิตบัณฑิตวิจัย บัณฑิตปริญญาตรี หรือเป็นสถาบันเฉพาะทาง)
๖) จรรยาบรรณและการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา (Code of Ethics & Code of Conduct) โดยได้ยกตัวอย่างจรรยาบรรณและการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภา สถาบันอุดมศึกษาประเทศอังกฤษ และออสเตรเลีย และได้เสนอหลักการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาควรยึดถือ
๗) การประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยยกตัวอย่างการ ประเมินผลสภาสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (มมร.) และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) และตัวอย่างในต่างประเทศเช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ เป็นต้น
๘) ข้อเสนอแนะหลักปฏิญญาของสภาสถาบันอุดมศึกษา (University Board of Trustee Charter) สรุปโดยย่อได้ ดังนี้
๘.๑ บทบาทและความรับผิดชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน ได้แก่
๑) การกําหนดนโยบายและระเบียบ: ให้ความเห็นชอบพันธกิจของ สถาบันอุดมศึกษารวมถึงการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา จัดให้มีการจัดทําประมวล จริยธรรมของนายกและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา และผู้เรียน กําหนดแนวทางอนุญาตให้บุคลากรและผู้เรียนไปปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นนอกสถาบันอุดมศึกษาได้
๒) การบริหารและจัดการงบประมาณ: ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจากบุคคลซึ่งเป็นกลางและ ได้รับการยอมรับ ดําเนินการแก้ไขปัญหาการดําเนินกิจการของสถาบันอุดมศึกษา และรับผิดชอบในความเสียหายที่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนหรือการสําเร็จการศึกษาของผู้เรียน
๓) การกํากับดูแลด้านวิชาการ: ควรกํากับดูแลให้สถาบันอุดมศึกษา ดําเนินการตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินภายนอกและภายใน นําผลการประเมินคุณภาพภายในไปกําหนด แนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา กําหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดสรรงบประมาณหรือรายได้ตามสมควรเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของผู้เรียนอย่างทั่วถึง และอนุมัติหลักสูตร การศึกษาที่มีมาตรฐานไม่ต่ํากว่ามาตรฐานการอุดมศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอน
๘.๒ องค์ประกอบและที่มาของสภาสถาบันอุดมศึกษา มีหลักการดังนี้
๑) ให้กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษามีบุคลากรภายนอกในสัดส่วนที่มากกว่าบุคลากรภายใน โดยคํานึงถึงการปกป้องประโยชน์ของผู้เรียน บุคลากร สังคม และประเทศเป็นสําคัญ
๒) กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ควรมีอธิการบดีและประธานสภาคณาจารย์ และตัวแทนของผู้ได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพการศึกษาของสถาบัน (เช่น นายกสมาคมศิษย์เก่า) อยู่ในกรรมการ
๓) ให้กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา มีองค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญที่มีความ หลากหลาย เช่น การศึกษา กฎหมายเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาอุตสาหกรรมการพัฒนาสังคม เป็นต้น โดยคํานึงถึงพันธกิจและเป้าหมายของสถาบันเป็นหลัก
๔) ให้กรรมการสภาสถาบันมีจํานวนที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงประสิทธิภาพในด้านการปฏิบัติงานของสภาฯ ร่วมกับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา
๕) กรรมการสภาสถาบันที่มาจากภายใน ควรมีวุฒิภาวะและประสบการณ์เหมาะกับความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ วาระการดํารงตําแหน่งของนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา และกรรมการสภา สถาบันอุดมศึกษาให้คํานึงถึงความต่อเนื่องในการทํางาน โดยอาจดํารงตําแหน่งได้มากกว่า ๑ วาระ แต่ไม่ควร ยาวนานเกินไป เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาสถาบันจากภายนอกอย่าง ต่อเนื่อง กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอาจให้มีวาระเหลื่อมกันได้ ให้มีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของนายก และกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาโดยนําผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลประกอบของคณะกรรมการสรรหานายก และกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา และให้มีการกําหนดเงื่อนไขการดํารงตําแหน่งของนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา และกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น จํานวนแห่งของสถาบันอุดมศึกษาที่นายก สภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาสามารถดํารงตําแหน่งได้ในคราวเดียวกัน เป็นต้น
๘.๓ แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ (Code of Conduct) และจรรยาบรรณ (Code of Ethics) ของสภาสถาบันอุดมศึกษา
๑) แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย ๔ ประเด็นสําคัญ ได้แก่ การปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความระมัดระวัง (Duty of Care) การปฏิบัติหน้าท่ีด้วยความซื่อสัตย์ต่อสถาบัน (Duty of Loyalty) การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎระเบียบ มติสภาสถาบันอุดมศึกษา (Duty of Obedience) และการเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณชนอย่างโปร่งใส (Duty of Disclosure)
๒) จรรยาบรรณของสภาสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย ๔ ประเด็นสําคัญ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเองและผู้อื่น การปฏิบัติหน้าที่ต่อกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษากันเอง การปฏิบัติหน้าที่ต่อสถาบันอุดมศึกษา และการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติ
๘.๔ การประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา ควรมีหลักการดังนี้ ให้มีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยยึดหลักการดังนี้
๑) พฤติกรรม: ให้นําประเด็นการประเมินมาจากจรรยาบรรณและบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษาสถาบันอุดมศึกษาโดยหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ โดยมีรูปแบบการประเมินที่หลากหลาย
๒) ผลสัมฤทธิ์การดําเนินงาน: ให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การดําเนินงานของสภา
เช่น การใช้ตัวอย่างของการประเมินกรรมการบริษัทของภาคเอกชน การเชิญภาคเอกชนหรือหน่วยงานภายนอก เข้ามาทําหน้าที่ในการประเมินโดยตรง เป็นต้น
ทั้งนี้ ให้มีเปิดเผยผลการประเมินการปฏิบัติงานของสภาสถาบันอุดมศึกษาต่อ สาธารณะ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแข่งขันและการเทียบเคียง และใช้การประเมินเป็นเครื่องมือ ในการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาอย่างจริงจัง
๘.๕ สํานักงานเลขานุการของสภาสถาบันอุดมศึกษา ควรมีหลักการ ดังนี้ สถาบันอุดมศึกษาควรพิจารณาให้มีสํานักงานสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบงานวิชาการและ งานธุรการ สามารถเสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การดําเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงสนับสนุนและอํานวยความสะดวกให้การปฏิบัติหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงานควรดําเนินการโดยสภาสถาบันอุดมศึกษา หรืออาจเป็นการ ประเมินร่วมกันระหว่างสภาสถาบันอุดมศึกษากับอธิการบดี และให้สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการพัฒนา ศักยภาพของสํานักงานสภาสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถทําหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ควรพิจารณาว่าหน่วยงานใดทําหน้าที่กํากับดูแลในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษามี ปัญหา ควรเป็นคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) หรือรัฐมนตรี และควรมีบทบาทอย่างไร โดยอาจ เทียบเคียงกับบทบาทของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
๒. กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา
๒.๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ควรพิจารณาให้รอบคอบในมิติของจํานวนของคนภายในสถาบันอุดมศึกษาที่มาเป็นกรรมการสรรหาฯ และผลต่อ ความเป็นอิสระต่อการบริหารงานของกรรมการสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากคนภายในสถาบันอุดมศึกษาจะ เป็นผู้ที่รู้เรื่องการบริการงานภายในของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาดี แต่ขณะเดียวกันหากคนภายใน สถาบันอุดมศึกษาเป็นกรรมการสรรหาก็จะมีผลต่อความเป็นอิสระและทัศนคติในการบริหารงานของกรรมการ สภาสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา นอกจากนี้ ควรมีการพิจารณาและ กําหนดกระบวนการสรรหาคณะกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาและนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงวิธี ประเมินผลการดําเนินงานให้มีความชัดเจน โปร่งใส และมีระบบการตรวจสอบจากทั้งภายในและภายนอก สถาบันอุดมศึกษานั้นด้วย
๒.๒ ควรสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทําหน้าที่เป็นกรรมการ สภาสถาบันอุดมศึกษาที่นอกเหนือจากเร่ืองค่าตอบแทน เช่น การปฏิบัติงานชัดเจนตอบเป้าหมายของประเทศซึ่งจะสะท้อนให้เห็นคุณค่าของการเข้ามาทําหน้าที่ของกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา
๒.๓ องค์ประกอบของคณะกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ควรมีตัวแทนของนักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้ประโยชน์ เนื่องจากเป็นผู้ได้รับผลกระทบและได้รับประโยชน์โดยตรงจากการ ดําเนินงานของสภาสถาบันอุดมศึกษาจึงควรมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและออกความเห็นในฐานะกรรมการ สภาสถาบันอุดมศึกษาด้วย
๓. ประเด็นธรรมาภิบาลที่สําคัญที่สุดไม่น่าจะอยู่ที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาทํางานแบบไม่เต็มเวลา แต่อยู่ที่ฝ่ายบริหารสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมี ปัญหาการบริหารเงินและบริหารคนมาก และอยู่ที่ Interaction ระหว่างฝ่ายบริหารและสภาสถาบันอุดมศึกษา ดังน้ันควรพิจารณาประเดน็ธรรมาภิบาลในภาพรวม
๔. บทบาทของสภาสถาบันอุดมศึกษาควรจํากัดเท่าที่จําเป็น ไม่ควรมีหลายบทบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรลดบทบาทการบริหาร โดยศึกษากรณีตัวอย่างของต่างประเทศที่สภาสถาบันอุดมศึกษา จะไม่ทําหน้าที่บริหารองค์กร ในขณะที่สภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีการทํางานหลายบทบาท
๕. ควรวิเคราะห์ว่าบทบาทในการนํา (Lead) สถาบันอุดมศึกษาควรเป็นฝ่ายบริหาร หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะทําให้ออกแบบได้ว่าสภาสถาบันอุดมศึกษาควรจะดําเนินการแบบ คณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory board) หรือคณะกรรมการกําหนดทิศทางที่ชัดเจน (Strong directing)
๖. การพิจารณาธรรมาภิบาลของสภาสถาบันอุดมศึกษาควรพิจารณาองค์ประกอบ ๒ ส่วน ได้แก่ (๑) โครงสร้าง กระบวนการ และตัวบุคคล (Structure, Process & People) เนื่องจากแม้ว่า โครงสร้างการและกระบวนการทํางานจะดีเพียงใด แต่คุณภาพของผู้นํา (Leadership) และบุคลากรที่ ดําเนินงาน (People) ไม่มีคุณภาพ ก็ไม่อาจทําให้ผลงานออกมามีคุณภาพได้ (๒) ความสมดุล (Balance) ของ กฎระเบียบ กฎหมาย แรงจูงใจ รวมถึงคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบันขาดกลไกเรื่อง แรงจูงใจในการทํางานและเส้นทางอาชีพ ซึ่งไม่สามารถเทน้ําหนักไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ ต้องมีการพิจารณา ทุกปัจจัยไปพร้อมกัน
๗. การบริหารจัดการการทํางานของสภาสถาบันอุดมศึกษา
๗.๑ การกําหนดวาระการประชุม (Agenda) ของสภาสถาบันอุดมศึกษาควรมีการดําเนินการอย่างเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร โดยกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายบริหารต้องเสนอ วาระให้นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและประธาน Standing Committee ตัดสินใจ
๗.๒ มี Standing Committee ที่จําเป็นเช่น กรรมการการเงิน กรรมการ ตรวจสอบ และกรรมการกลั่นกรองกฎ ระเบียบ
๗.๓ มีการปฐมนิเทศให้กรรมการสภาเข้าใจบทบาทภารกิจของสภา สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา
๘. การ Mismatch ระหว่างภารกิจและความคาดหวังจากสภาสถาบันอุดมศึกษา เช่น ให้กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอนุมัติเรื่องสําคัญ เช่น การลงทุนในขณะที่กรรมการสภา สถาบันอุดมศึกษามาประชุมเพียงเดือนละ ๑ ครั้ง และอาจไม่เข้าใจบริบทของสถาบันอุดมศึกษาอย่างดี
มติที่ประชุม มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3.2 กรอบแนวคิด Reinventing University System
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอกรอบแนวคิด Reinventing University System เพื่อประโยชน์ใน การพัฒนาระบบ กลไก การบูรณาการการทํางาน และการจัดสรรและบริหารงบประมาณของ สถาบันอุดมศึกษา โดยได้จัดทํากรอบแนวคิดตามลักษณะการดําเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
๑. มหาวิทยาลัยพื้นที่ มีบทบาทสําคัญได้แก่ พัฒนากําลังคนที่เข้าใจบริบทและเป็นผู้นําการ พัฒนาระดับพื้นที่และนวัตกรชุมชน และสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้ชุมชนเติบโตอย่างมีคุณภาพและอยู่ บนฐานของการใช้ความรู้และนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฎโดยอาจดําเนินการร่วมกับ สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ หรือสถาบันวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย (partners) ได้แก่
• ชุมชนในพื้นที่ (Community)
• วิสาหกิจชุมชน (Social Enterprise)
• หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่
เป้าหมาย
• การยกระดับเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
• เกิดผู้ประกอบการบนฐานความรู้ชุมชน
• มีดัชนีชี้วัดระดับความสําเร็จของมนุษย์ (Human Achievement Index) ระดับจังหวัดดีขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๑๕
• มีรายได้ครัวเรือนของประชาชนในชุมชนนอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐
Outcome: การมีนวัตกรรมพื้นที่/ชุมชนที่ยั่งยืน
• การมีนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่
• มีการสร้างองค์ความรู้ กําลังคน นักวิจัยท้องถิ่น และผู้นําชุมชนในระดับพื้นที่
Key features
• การจัดทําหลักสูตรบนพื้นฐานบริบท (เชิงพื้นที่) (Contextual based Curriculum)
• การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง
๒. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี มีบทบาทสําคัญได้แก่ พัฒนากําลังคนที่มีทักษะ ความเชี่ยวชาญ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาทางเทคโนโลยี ร่วมทําวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคการผลิต อุตสาหกรรม วิจัย แก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และพัฒนาความสามารถของ SMEs ให้พัฒนาเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDEs) รวมถึงการส่งเสริมการสร้าง IDEs และผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-up) ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยอาจดําเนินการร่วมกับสถาบันวิจัย เช่น สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กลุ่มเป้าหมาย (partners) ได้แก่
• วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการฐาน นวัตกรรม (Innovation Driven Enterprises : IDEs)
• สถาบันวิจัยของรัฐ
• มีผู้ประกอบบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ (Deep Tech Startup)
เป้าหมาย
• มี IDEs จํานวน ๑๐,๐๐๐ ราย
• เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-up) ๑,๐๐๐ ราย
• เพิ่มระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมในบริษัทไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs
• เกิดโอกาสทางการค้าและอุตสาหกรรมจากนวัตกรรมในระบบอุดมศึกษา
Outcome: การสร้างความย่ังยืนให้แก่ประเทศด้วยนวัตกรรม
• มีจํานวนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprises : IDEs) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพ่ิมมากข้ึน
• มีผู้ประกอบบการรายใหม่ (Spin-off และ Start-up) ที่มีความสามารถด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรม ความสามารถการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการแก้ไขปัญหาเทคโนโลยี
• กําลังคนที่มีความเช่ียวชาญทางเทคโนโลยี
Key features
• การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ (Innovative Mode of Education & Pedagogy) เช่น หลักสูตร Work Integrated Learning
• หลักสูตรการเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาเทคโนโลยีสําหรับการปรับตัวของ ภาคอุตสาหกรรม และการรองรับอุตสาหกรรมใหม่การ
• ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง
๓. มหาวิทยาลัยวิจัย มีบทบาทสําคัญ ได้แก่ พัฒนากําลังคนและนักวิจัยระดับสูง การวิจัยเพื่อ สร้างความรู้ใหม่ การวิจัยข้ันแนวหน้าแบบมุ่งเป้า (Strategic Focus) การวิจัยร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันวิจัยของรัฐ การส่งเสริมการใช้ความรู้เพื่อสร้าง Spin-off และ Start-ups ตัวอย่างเช่น การมีสถาบันวิจัยขนาดใหญ่ที่ ประกอบด้วยสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยท่ีมีความเป็นเลิศ เช่นเดียวกับ Max Planck ประเทศเยอรมันนี
กลุ่มเป้าหมาย (partners) ได้แก่
• ผู้ประกอบการรายใหญ่
• สถาบันวิจัยของรัฐ
• มีผู้ประกอบบการรายใหม่ (Spin-off และ Start-ups)
เป้าหมาย
• เกิดความรู้ใหม่และการค้นพบใหม่ชั้นแนวหน้า
• บริษัทขนาดใหญก่้าวไปสู่บริษัทระดับช้ันนําโลกด้วยนวัตกรรม ๕ บริษัท
• การมีห้องปฏิบัติการวิจัยระดับโลกและระดับภูมิภาค ๑๐ แห่ง
• มหาวิทยาลัยชั้นนําติด ๑ ใน ๑๐๐ ของการจัดอันดับโลกอย่างน้อย ๒ แห่ง
Outcome: การสร้างองค์ความรู้ใหม่ขั้นแนวหน้า (Frontier Research)
• มีการค้นพบองค์ความรู้ข้ันแนวหน้าใหม่
• มีสิทธิบัตรและผลงานตีพิมพ์เพ่ิมมากข้ึน
• มีกําลังคนและนักวิจัยระดับสูง
• มีนักวิจัยที่มีองค์ความรู้ระดับโลก • เกิดบริษัทจัดต้ังใหม่ท้ังรูปแบบ Spin-off และ Start-up
Key features
• การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่สําหรับ เศรษฐกิจและสังคม
• การสนับสนุนให้เข้าถึงองค์ความรู้ระดับโลกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ควรคํานึงถึงเป้าหมายของการพัฒนามหาวิทยาลัยมากกว่าการจัดหมวดหมู่ และ ควรเปิดโอกาสให้แต่ละมหาวิทยาลัยมีการประเมินสถานภาพ (Positioning) ของตัวเอง รวมถึงการพิจารณา เพื่อปรับบทบาทของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเพื่อปิดช่องว่างและให้มีความสามารถในการดําเนินการให้บรรลุ เป้าหมายได้ เช่น การพัฒนาคณาจารย์ และการปรับหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอน เป็นต้น
๒. ควรให้ความสําคัญกับกลไกการบริหารจัดการ เช่น การมีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ เชื่อมโยงการดําเนินงานของภาคเอกชน สังคม ชุมชน เข้ากับการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้อาจปรับ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอยู่เดิมในมหาวิทยาลัยหรือการตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อดําเนินการได้
๓. การบริหารจัดการทรัพยากร (Resource) โดยเฉพาะด้านการเงินและงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยควรอยู่บนหลักของความเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมตามที่ได้วางเป้าหมายไว้ และต้องพิจารณาถึงความล่าช้าในการดําเนินการตามนโยบาย (Policy Lag) โดยเฉพาะกลุ่มวิจัยขั้นสูงที่ต้องอาศัยระยะเวลาจึงจะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Impact) ได้อย่างแท้จริง
๔. ควรพิจารณาบทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนในมิติของการสร้างกลไกสนับสนุนงบประมาณเพื่อยกระดับศักยภาพของมหาวิทยาลัยในแต่ละหมวดหมู่ด้วย เช่น ด้านการพัฒนากําลังคนและการเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม
๕. มหาวิทยาลัยควรปรับรูปแบบการดําเนินงานร่วมกับหลายภาคส่วนแบบ Strategic Partner ท้ังชุมชน ท้องถิ่น อุตสาหกรรม และต่างประเทศ
๖. Reinventing University จะต้องมีกลไกการบริหารจัดการเพื่อสามารถตอบความ ต้องการ (Demand) ที่เป็นโจทย์สําคัญเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งการจัดกลุ่มตามแนวคิดนี้อาจพบว่ามีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่มีศักยภาพอยู่มากกว่าหนึ่งกลุ่ม ดังนั้นจึงควรพิจารณาว่าเป้าหมายที่แท้จริงในการจัด กลุ่มเพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบใด
๗. ควรมีกรอบการพัฒนาสถาบันวิจัยเพิ่มเติมจากการ Reinventing University โดย เริ่มต้นจากการปรับแนวคิด (Mindset) เพื่อให้ดําเนินการไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนามหาวิทยาลัย
มติที่ประชุม มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมนําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไป พิจารณาดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 4.1 ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง พ.ศ. 2563
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอที่ประชุมถึงหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการขับเคลื่อนการ
ปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓๗ ให้ต้องมี การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อครบกําหนด ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่เห็นว่าผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจําเป็นต้องได้รับการ ปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีอํานาจ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้ง วช. เป็นองค์การมหาชน โดยเสนอพร้อมร่างพระราชกฤษฎีกาด้วย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ กําหนด
ฝ่ายเลขานุการจึงได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพและ ผลการปฏิบัติราชการของ วช. โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
๑. ประธาน
๒. กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ จํานวน๒คน
๓. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกจํานวน ๒ คน
๔. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ทําหน้าที่เป็นเลขานุการ โดยมีหน้าที่และอํานาจ ดังนี้
๑) ให้ข้อเสนอแนะต่อการกําหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.
๒) ให้ข้อเสนอแนะต่อการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.
๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ
มติที่ประชุม เห็นชอบการกําหนดองค์ประกอบและหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการประเมิน ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการร่วม เสนอ รายชื่อประธานและกรรมการต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไปในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ห้องหว้ากอ ๑ และ ๒