
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งที่ 1/2563
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานกรรมการ (นายศักรินทร์ ภูมิรัตน) กล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมแจ้งที่ประชุมทราบประเด็นหลัก ของการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯในครั้งนซี้ึ่งเป็นวาระเสวนาเพื่อขอความคิดเห็นดังนี้
๑) แนวทางการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและนวัตกรรม (Priority Setting) และบทบาทของหน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและงบประมาณ
๒) แนวทางการกําหนดบทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนของประเทศ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 4/2562
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงาน การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๒
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อเสวนา
ระเบียบวาระที่ 3.1 แนวทางการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและนวัตกรรม (Priority Setting) และบทบาทของหน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและงบประมาณ
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอแนวทางการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและ นวัตกรรม (Priority Setting) และบทบาทของหน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและงบประมาณ โดย สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ สถาบัน นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) (STIPI) ครอบคลุมประเด็นสําคัญ ดังนี้
๑) การวิเคราะห์บริบทของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Sector) อาทิภาครัฐภาคเอกชน สภาบันการศึกษา ให้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based)
๒) การกําหนดประเด็นการวิจัยและนวัตกรรมที่ประเทศควรจัดสรรทรัพยากรส่วนใหญ่ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
๓) การกําหนดแผนที่นําทางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนําไปสู่การเกิดนวัตกรรม ของผลิตภัณฑ์และ/หรือนวัตกรรมเชิงกระบวนการผลิต
ทั้งนี้การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของ ประเทศเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย และยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อนําไปสู่การกําหนดนโยบายที่ เกี่ยวข้อง และจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประสิทธิผลและมีความคุ้มค่าตามโปรแกรมสนับสนุนสําหรับประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการจัดลําดับความสําคัญ โดยต้องมีกระบวนการติดตามและประเมินผลเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพนวัตกรรม ได้แก่
ปัจจัยที่สําคัญในการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
๑) ความชัดเจนของแผนระดับประเทศ (National Plan)
๒) ความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม (Unmet Needs of Socio-economicSectors)
๓) สภานภาพทางการเงินของประเทศ (Financial Reality)
๔) ศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ (Science Potential)
๕) ขีดความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบวิจัยและนวัตกรรม (Capability ofResearch and Innovation Actors) การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีกระบวนการอยู่ ๔ ขั้นตอน โดยทีมศึกษาได้เลือกอุตสาหกรรมอาหารเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผล กระทบสูงต่อเศรษฐกิจของประเทศและประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งผลของการศึกษาตามขั้นตอน ประกอบกับการหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน (Stakeholder) ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ สถาบันการศึกษาได้ผลการศึกษามีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การพิจารณาเป้าหมายและนโยบาย ยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องในระบบวิจัยและนวัตกรรมรายสาขา โดยพบว่าเป้าหมายการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สําหรับอุตสาหกรรมอาหารเพื่อให้เกิดผลกระทบหรือประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมีอยู่ ๓ ประการ หลัก ได้แก่
๑) ระบบอาหารที่ปลอดภัย (Reliable Food System)
๒) ระบบอาหารที่ยั่งยืน (Sustainable Food System)
๓) ระบบอาหารที่มีมูลค่าสูง (Innovative Food System) จากนั้นได้มีการจัดทํารายการของสินค้าอาหารทั้งสินค้าอาหารดั้งเดิมและสินค้าอาหารอนาคตในอุตสาหกรรมมาจัดลําดับโดยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruptive Issue) ใน อุตสาหกรรมมาเป็นปัจจัยในการคัดเลือกและกําหนดเป้าหมายประเด็นสําคัญต่อไป
ขั้นตอนที่ ๒ การแปลงเป้าหมาย และนโยบาย ยุทธศาสตร์ในขั้นตอนที่ ๑ มาสู่การคัดเลือกและกําหนดเป้าหมายประเด็นที่สําคัญ(PriorityArea):การคัดเลือกและกําหนดเป้าหมายประเด็นที่สําคัญ (Priority Area) ตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่าประเด็นสําคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารมีอยู่ ๓ มิติ ซึ่งจะเป็นกรอบเพื่อนําไปสู่การพิจารณาในรายละเอียดว่าในแต่ละมิติจะ สนับสนุนงบประมาณให้แก่เรื่องใดบ้าง ดังนี้
๑) Product as Priority Area คือ การกําหนดให้ผลิตภัณฑ์ หรือ Sub-system ที่ สําคัญเป็น Priority Area โดยควรคํานึงถึงความสําคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และมีศักยภาพการพัฒนาในระยะยาว (Sun-rise Product/ Sub-system) ตัวอย่างการศึกษาได้กําหนดให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (ไก่) เป็นเป้าหมาย ประเด็นที่สําคัญ
๒) Cross-cutting/Common Priority Area คือ การคัดเลือกและกําหนด เป้าหมายประเด็นที่สําคัญต่ออุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับผลิตภัณฑ์ หรือ Sub-system อันใดอันหนึ่ง และหากได้รับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะทําให้เกิดการยกระดับ ศักยภาพของอุตสาหกรรมโดยรวม ตัวอย่างการศึกษาได้กําหนดให้บรรจุภัณฑ์ฉลาด (Smart Packaging) เป็น เป้าหมายประเด็นที่สําคัญ
๓) Priority Area for Future Issues คือประเด็นที่สําคัญสําหรับอนาคตที่อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ จําเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อให้ประเทศมีความรู้และความพร้อมต่อการ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างเป็นระบบ และเกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างการศึกษาได้กําหนดให้ มาตรฐานสินค้าเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Standard) เป็นเป้าหมายประเด็นที่สําคัญ
ขั้นตอนที่ ๓ การวิเคราะห์ขีดความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบวิจัยและนวัตกรรม (Capability of Research and Innovation Actors) ซึ่งประเทศไทยยังมีข้อจํากัดเกี่ยวกับข้อมูล ของผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านอยู่ โดยตัวอย่างการศึกษาได้ทดลองใช้ฐานข้อมูล SciVAL พบว่าในเรื่องที่กําหนดเป็นประเด็นสําคัญมีชื่อผู้เชี่ยวชาญ สังกัดผู้เชี่ยวชาญ และระดับขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ และสถาบัน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ ๔ การกําหนดโจทย์ (Priority Issue) พร้อมทิศทางการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่กําหนด : เมื่อดําเนินการจากขั้นตอนที่ ๑ ถึง ๓ แล้วจึงได้ข้อมูลเพื่อนํามากําหนดโจทย์ ทิศทางการวิจัยและนวัตกรรม และการสนับสนุนงบประมาณเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นๆ
ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอที่ประชุมเพื่อเสวนาให้ความเห็นในประเด็นดังนี้
– ความสําคัญของการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมต่อการ ปฎิรูประบบ อววน. ของประเทศ
– หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์
– รูปแบบและแนวทางการวิเคราะห์เพื่อกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้เกิด ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และหากเป็นการวิจัยและนวัตกรรมที่ไม่ใช่การวิจัยพื้นฐาน ควรพิจารณาโดยให้น้ําหนักกับทิศทางของตลาด (Market-led) ซึ่งมีภาคเอกชนนํา และพิจารณาความสําคัญได้จากการลงทุน ของภาคเอกชน (Financial Contribution) ว่าภาคเอกชนมีการลงทุนจริงหรือไม่และมากน้อยเพียงใด หากเป็นประเด็นที่มีความสําคัญอาจมีการรวมตัวกันในรูปแบบ Consortium และรูปแบบการลงทุน (Financial Contribution) อาจมีได้ ๓ รูปแบบที่แตกต่างกันตามรูปแบบการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ดังนี้
๑) การลงทุนระดับบริษัท : เป็นการลงเงินของบริษัทที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
๒) การลงทุนระดับอุตสาหกรรม : เป็นการลงเงินโดยบริษัทที่เป็นสมาชิกของกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อได้รับประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม
๓) การลงทุนในระดับประเทศ : เป็นการลงทุนโดยรัฐเพื่อภาพลักษณ์ ความปลอดภัยจากโรค หรือมาตรฐานสินค้า
๒. การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ควรให้ความสําคัญในเชิงพื้นที่ร่วมด้วย โดยแต่ละพื้นที่มีความต้องการหรือมีประเด็นปัญหาแตกต่างกัน เช่น ภาคใต้ (อาหารทะเล ปาล์มน้ํามัน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อาหารสุขภาพ) เป็นต้น
๓. การวิเคราะห์ขีดความสามารถของผู้วิจัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบวิจัยและนวัตกรรมควรพิจารณาถึงผลกระทบเชิงคุณภาพจากการวิจัยที่เกิดขึ้น (Impact) เช่น Field Weight Citation Impact นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาข้อมูลขีดความสามารถของภาคเอกชนที่อาจไม่มีอยู่ในระบบร่วมด้วย เช่น ฐานข้อมูลสิทธิบัตร เนื่องจากเป็นความลับและไม่มีการจดสิทธิบัตร และฐานข้อมูลทางการตลาด ดังนั้น จึงควร ศึกษาจากข้อมูลแวดล้อม เช่น ข้อมูลลูกค้าของบริษัทเอกชนด้วย รวมถึงฐานข้อมูลจากต่างประเทศด้วย โดย ปัจจุบันฐานข้อมูลมินเทล (Mintel) มีผลการวิเคราะห์การตลาดของทั่วโลก และได้จัดทําฐานข้อมูลการตลาด ของประเทศไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเด็นสําคัญด้านวิจัยและนวัตกรรม
๔. กระบวนการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ต้องอาศัย กระบวนการมีส่วนร่วม (Engagement) และกําหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน โดยภาคเอกชนมีกระบวนการ พัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจ เช่น กระบวนการ Design Thinking เพื่อนําไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ที่มีผลกระทบสูงในการแก้ไขปัญหาที่เป็นความต้องการอย่างแท้จริงได้ (Real Pain Point)
๕. ควรพิจารณาภาคส่วน (Sector) อื่น ๆ ที่มีอัตราการเติบโตสูง และภาคเอกชน มีความต้องการในการลงทุนเพื่อให้เกิดเทคโนโลยี เช่น ภาคบริการ (Service Sector) ทั้งในเชิงการท่องเที่ยว และบริการด้านอาหาร (Food Service) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศ (National Quality Infrastructure) ซึ่งมีความสําคัญในระดับประเทศ และด้านความสะอาดของ สิ่งแวดล้อม (Cleanliness Technology) และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (Climate Change)
๖. กระบวนการกําหนดประเด็นสําคัญเชิงยุทธศาสตร์ควรพิจารณาประเด็นสําคัญ ด้านสังคมและมนุษยศาสตร์ร่วมด้วย เช่น ในประเด็นอาหารอาจมีประเด็นเชิงสังคม ได้แก่ คุณค่าทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และการเข้าถึงอาหาร เป็นต้น จึงเสนอแนะให้มองทั้งสองด้านโดยให้ความสําคัญควบคู่กันไป
๗. การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในขั้นตอนที่ ๑ ควรพิจารณาทั้งมิติของสาขา และพื้นที่ โดยหากใช้เกณฑ์จากขนาดของอุตสาหกรรมในการพิจารณาแล้ว ควรพิจารณาขนาดของอุตสาหกรรมนั้นในพื้นที่ต่างๆ ด้วย เช่น ขนาดของอุตสาหกรรมในภาคเหนือ เพื่อให้เห็นปัญหา ขีด ความสามารถ และผลกระทบและนําไปสู่เป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ําได้ นอกจากนี้ ในการพิจารณาตามห่วงโซ่คุณค่า Value Chain ควรดูทั้งประเด็นความท้าทาย (Challenge) และประเด็นปัญหา (Pain Point) ที่ ต้องการแก้ไขด้วย
๘. การกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมต้องกําหนดหน่วยงาน รับผิดชอบให้ชัดเจน ขั้นตอนการกําหนดเป้าหมายและนโยบาย ยุทธศาสตร์ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สอวช. การแปลงเป้าหมายและนโยบายมาสู่การคัดเลือกและกําหนดเป้าหมายประเด็นที่สําคัญ (Priority Area) หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดําเนินการร่วมกับ สอวช. นอกจากนี้ ควรมีการทํางานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในกระทรวงต่างๆ (Line-ministry) รวมถึงการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากการวิจัยและนวัตกรรมบาง สาขามีความเฉพาะทางและแตกต่างจากการทํางานทั่วไป
๙. เสนอให้มีการจัดทําประเด็นยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานห้องทดสอบทดลอง (Lab Standard) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานระดับโลก (Global Standard) เป็นเรื่องเร่งด่วนเนื่องจากส่งผลต่อการส่งออกสินค้าด้านการเกษตรและอาหารของประเทศ และการมีองค์กรที่ทําหน้าที่ให้การ รับรอง (Certificate Analysis) สําหรับสารสกัดที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อนําไปทํายาสมุนไพร เป็นต้น
๑๐. เสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฎิรูปฯ เสนอต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนว ทางการกําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและ ต้องดําเนินการร่วมกัน ได้แก่ สกสว. ซึ่งทําหน้าที่กําหนดเรื่องการจัดสรรงบประมาณ สอวช. ซึ่งทําหน้าที่ให้ ความเห็นต่อนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งดูแล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนปฎิรูปประทศ และสํานักงบประมาณ ซึ่งทําหน้าที่จัดงบประมาณลง กองทุนสําหรับรูปแบบการจัดงบประมาณทั้งขาขึ้นและขาลงควรจะต้องพิจารณาประเด็นสําคัญให้ครบทุกมติิ เช่น ด้านพื้นที่ ด้านสังคม ปัญหาปัจจุบัน และความท้าทายในอนาคต รวมถึง การมีส่วนร่วมในกระบวนการ และสัดส่วนการลงทุนและแบ่งผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
มติที่ประชุม รับทราบ และมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของ คณะกรรมการไปพิจารณาดําเนินการฯ ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3.2 แนวทางการกำหนดบทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนของประเทศ
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอแนวทางการกําหนดบทบาทของหน่วยบริหารและจัดการ ทุนของประเทศ ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนําไปสู่การกําหนดทิศทางของระบบการให้ทุนวิจัยและ นวัตกรรมในภาพรวมของประเทศ ปัจจุบันมีหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit หรือ PMU) ในระบบวิจัยและนวัตกรรมจํานวน ๗ แห่ง โดยเป็น PMU ที่สภานโยบายมีมติให้จัดตั้งขึ้นใหม่จํานวน ๓ หน่วยงาน ได้แก่ ๑) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ๒) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ๓) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ เรียกโดยย่อว่า (บพท.) และ PMU เดิมทั้งในและนอกกระทรวงอีก ๔ แห่ง โดย PMU มีบทบาท หน้าที่และ อํานาจครอบคลุมการกําหนดนโยบายและเกณฑ์ในการจัดสรรทุน จัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัยให้แก่หน่วยงาน ในระบบ ววน. ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน ววน. ของประเทศ บริหารจัดการงานวิจัย ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแผนด้าน ววน. ส่งเสริมและประสานการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมดําเนินการวิจัย และ ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรทุน ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินงานตาม บทบาท หน้าที่ของ PMU ส่งผลต่อระบบการวิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ศึกษาและนําเสนอระบบการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมของ ประเทศอังกฤษ ซึ่งรวมถึงการจัดตั้ง โครงสร้าง และการดําเนินงานของ UK Research and Innovation (UKRI) ที่ทําหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคลให้แก่สภาการวิจัย (Research Council) ๗ สาขา และอีก ๒ หน่วยงานให้ ทุน ได้แก่ Research England และ Innovate UK ซึ่งอาจเป็นกรณีศึกษาทิศทางการพัฒนาบทบาทของหน่วย บริหารและจัดการทุนของประเทศ โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้
หลักการสําคัญของการดําเนินงานในระบบการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม มีดังนี้
๑. ขอบเขตการวิจัยที่ UKRI ดูแล ได้แก่ Entire Academic Landscape ซึ่งรวมถึง Natural Sciences, Technologies, Medicine, the Social Sciences, the Arts and Humanities
๒. หน่วยงานวิจัยและนวัตกรรมของรัฐจะต้องจัดให้เกิดความร่วมมือกันระหว่าง นักวิจัย รัฐบาล และประชาชน เพื่อให้นโยบายและยุทธศาสตร์สามารถส่งกระทบเชิงเศรษฐกิจและผลประโยชน์ต่อสังคมได้
๓. นโยบายจะต้องสามารถก่อให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง คุ้มค่า และองค์ความรู้ที่ ได้จะต้องส่งผลประโยชน์ต่อสังคม
๔. ระบบวิจัยจะต้องมีความคล่องตัว สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ และ บุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถไปสู่ภาคส่วนต่างๆ
๕. การวิจัยควรที่จะดําเนินไปด้วยนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ และต้องมี อิสระในการหาคําตอบด้วยกระบวนการทางวิชาการ
๖. การสนับสนุนทุนวิจัยจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของนักวิจัย โปรแกรมวิจัยหน่วยงานวิจัยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการลงทุนในระยะยาวงานวิจัย
๗. ระบบ Peer Review เป็นหัวใจสําคัญในการตัดสินใจให้ทุนวิจัย
๘. ผู้ให้ทุนวิจัยต้องคํานึงเสมอว่าผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงนั้นทําได้ยาก ต้องอาศัย
๙. กระบวนการ Peer Review ต้องมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทของ
โครงสร้างระบบการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศอังกฤษ
มีโครงสร้างการดําเนินงานแบ่งเป็น ๓ ระดับ ระดับนโยบายได้แก่ กระทรวง Department for Business, Energy and Industrial Strategy (BEIS) UKRI Board และ UKRI Executive Committee โดย UKRI มีลักษณะเป็นองค์การมหาชน (Non-Departmental Public Body (NDPB) รับผิดชอบงานที่เป็นลักษณะ Cross-cutting รวมถึงงานวิจัยที่รองรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใน อนาคต และทําหน้าที่เป็นจุดเชื่อมหลักในการสื่อสารกับฝ่ายการเมืองและรัฐบาล สร้างความเชื่อมโยงระหว่าง การวิจัยพื้นฐานและการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และเป็นกลไกในการนําเอาแนวปฏิบัติที่ดีที่มีอยู่ในการ ทํางานของแต่ละหน่วยไปประยุกต์ใช้ในระบบวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้ง มีระบบบริหารและจัดการงานกลาง เช่น การตรวจสอบภายใน การสอบบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล ระบบสารสนเทศ และการสื่อสารองค์กร ตลอดจนให้มีระบบการรับข้อเสนอกลางและการบริหารจัดการทุนกลางที่อํานวยความสะดวก ให้ Research Councils แต่ละแห่งสามารถดําเนินการทางวิชาการในด้านที่ตนรับผิดชอบได้ การเชื่อมโยง ระบบข้อมูลทั้งระบบเพื่อการวางนโยบายบนฐานของข้อเท็จจริง (Evidence-based)
การสนับสนุนทุนของ UKRI (Dual Support) มี ๒ รูปแบบ ได้แก่
๑) ทุนแบบ Block Grant เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย (Quality-related Research funding: QR) จัดสรรโดยการประเมินผลการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย และ
๒) ทุน Competitively Allocated Grant จัดสรรโดยการประเมินคุณภาพของ ข้อเสนอ เป็นทุนในลักษณะ Forward-looking โดยสามารถจัดสรรให้ได้กับทุกหน่วยงานผ่าน Research Councils
ข้อเสนอแนะหลักกการและรูปแบบการจัดตั้งสํานักงานบริหารและจัดการทุนที่ เหมาะสมสําหรับประเทศไทย ดังนี้
• จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่เช่นเดียวกับ UKRI ในรูปแบบองค์การมหาชน ขึ้น ในระบบวิจัยและนวัตกรรม โดยทําหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคลให้แก่ PMU ที่อยู่ภายใต้กระทรวง อว. ได้แก่ บพท. บพค. บพข. และ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
•สนช.ยังคงสถานะเป็นนิติบุคคลแต่ทํางานร่วมกันการผ่านคณะกรรมการบรหิาร (Executive Committee)
• หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ทําหน้าที่อํานวยความสะดวกและสนับสนุนการ ดําเนินการของ PMU และรับผิดชอบระบบบริหารจัดการกลาง เช่น ระบบยื่นข้อเสนอรับทุนกลาง นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบจัดสรรงบประมาณและการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีลักษณะเป็น Cross-cutting
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. แนวทางการจัดโครงสร้างระบบการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ได้ดําเนินมาระยะหนึ่งแล้ว โดยมีมติสภานโยบายให้จัดตั้ง PMU ขึ้น ๓ หน่วย และสําหรับ วช. จะต้องมีการ ประเมินเพื่อปรับรูปแบบของหน่วยงานเมื่อครบ๓ปีตามทกี่ฎหมายกําหนดทั้งนี้ข้อเสนอของฝ่ายเลขานุการ คือการเสนอรูปแบบโครงสร้างระบบโดยให้มีหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคลคล้ายโครงสร้างของ UKRI มาทําหน้าที่ ดูแล PMU และยังไม่รวม สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เข้ามาร่วมเนื่องจากการทํางานของ NIA กว้าง มากกว่าการให้ทุน ซึ่งข้อเสนอนี้เป็นเพียงหนึ่งรูปแบบเท่านั้น หากมีข้อเสนอรูปแบบอื่นๆ จากที่ประชุม ฝ่ายเลขานุการจะได้นําไปศึกษาในรายละเอียดเพื่อพัฒนาเป็นอีกทางเลือกและนําเสนอต่อไป
๒. การจัดทําโครงสร้างระบบการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศเพื่อ คาดหวังว่าจะสามารถบริหารจัดการการสนับสนุนทุนและการส่งมอบผลการวิจัยและนวัตกรรมได้ อย่างมี ประสิทธิผลตามเป้าหมาย สิ่งสําคัญที่ควรพิจารณาได้แก่ ทักษะความเชี่ยวชาญของหน่วยงาน (Skill) และ แนวคิด (Mindset) ของ PMU ทั้ง ๗ แห่ง จึงควรจัดให้มีการรับฟังความเห็นจาก PMU ทั้งหมดด้วย
๓. ปัจจุบัน PMU ๓ แห่ง ได้แก่ บพท. บพค. และบพข. ได้รับการสนับสนุนการ ระบบบริหารกลางจาก สอวช. ซึ่งทําหน้าที่รับงบประมาณจากกองทุนและส่งให้ PMU แต่หากงบประมาณไม่ ได้มาจากกองทุนและหากอนาคต PMU ทั้ง ๓ แห่งจะต้องออกจาก สอวช. และไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล อาจ มีปัญหาเรื่องการรับงบประมาณ ซึ่งเห็นว่าหากมีนิติบุคคลขึ้นมารองรับและดูแล PMU ก็มีความเหมาะสม อย่างไรก็ตามประเด็นที่กังวลเกี่ยวกับงบประมาณด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่นอกกระทรวงอย่างน้อย ๑๐ กระทรวงจะมีการบริหารจัดการงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมอย่างไรให้มีความเชื่อมโยงและเป็นไปใน ทิศทางตามนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน.
๔. หากมีการปรับโครงสร้างระบบการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจะต้อง คํานึงถึงการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อนในการให้ทุน ลดภาระงประมาณ และ การประสานงานระหว่าง PMU จะต้องมีแนวทางการบริหารจัดการแบบใหม่ที่แต่ละ PMU ต้องมีความพร้อม ในการเปลี่ยนแปลงด้วย
๕. การวัดผลการดําเนินงานของ PMU อาจมองได้ ๒ แบบ ได้แก่ ๑) ผลของการ บริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่วางเป้าหมายไว้ เช่น ภาคเกษตรมีการปรับตัวนําเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นจากการสนับสนุนงบประมาณ และ ๒) ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสาธารณะ โดยเน้นการสร้างให้เกิดมูลค่า (Value creation) หรือการสร้างประสิทธิภาพให้แก่ภาคสาธารณะ เป็นต้น
๖. การตั้งหน่วยงานนิติบุคคลขึ้นเพื่อดูแล PMU ๓ แห่งที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ และรวม วช. ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ เห็นว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทํางาน แต่การไม่ รวม สนช. โดยมองว่ามีภารกิจที่มากกว่าการให้ทุนนั้น หากมองในแง่ของการบูรณาการการนํา สนช. มา รวมอยู่ด้วยกันก็เห็นว่าน่าจะทําให้เกิดประสิทธิภาพการทํางานมากขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามอาจมีรูปแบบอื่นๆ และขอให้วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียนํามาเสนอด้วย
๗. ข้อเสนอการปรับโครงสร้างระบบการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเป็นความ จําเป็นต่อเนื่องจากการตั้ง PMU ๓ แห่งใหม่ขึ้นอยู่ภายใต้ สอวช. เป็นการชั่วคราว และหลังจาก ๓ ปี จะต้องมี การปรับสถานะออกจาก สอวช. ซึ่งจากข้อเสนอให้มีนิติบุคคลใหม่ขึ้นมาโดยให้ทําหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคลนั้น เห็นด้วยว่ามีความจําเป็นและต้องดําเนินการเร่งด่วน แต่อย่างไรก็ตาม การกําหนดบทบาทและหน้าที่ของ หน่วยนิติบุคคลใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีระบบฐานข้อมูลกลางนั้น ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นบทบาทหน้าที่ของ วช. ดังนั้น จึงเสนอให้พิจารณาบทบาทหน้าที่ ดังกล่าวอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ เสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ เร่งดําเนินการตั้ง คณะกรรมการประเมิน วช. และหารือตัวชี้วัดร่วมกับ วช. ด้วยพร้อมกัน
๘. เสนอให้มีการโอนย้ายบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการทุนจาก หน่วยงานที่ทําหน้าที่เดิม เช่น สกสว. หรืออาจมีแนวทางการมอบหรือจ้างบุคคลภายนอกเข้ามาทําหน้าที่ ดังกล่าวได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการการจัดตั้งกระทรวง อว. ที่ให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลากรระหว่างหน่วยงาน ได้อย่างคล่องตัว
๙. การร่วมมือและการทํางานแบบบูรณาการเป็นหัวใจการทํางานของ PMU เพื่อให้ สามารถส่งมอบผลลัพธ์ได้ ดังนั้น จีงควรมีการหาแนวทางเพื่อกําหนดกลไกการรับผิดชอบภาพรวมของระบบ ร่วมกันด้วย
๑๐. ขณะนี้บทบาทหน้าที่ของ PMU แต่ละแห่งยังไม่ชัดเจนและยังเป็นช่วงปรับตัว เพื่อการพัฒนา (Learning-Curve) จึงควรกําหนดบทบาทของหน่วยงานให้ทุนแต่ละแห่งให้ชัดเจนก่อน เมื่อ ทดลองแล้วมีความเหมาะสมจึงจะจัดทําข้อเสนอจัดตั้งหน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป
มติที่ประชุม มอบหมายฝ่ายเลขานุการนําข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาแนวทาง การกําหนดบทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนของประเทศที่เหมาะสมต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 4.1 มติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563
ฝ่ายเลขานุการรายงานมติที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมีมติเห็นชอบในวาระเพื่อ พิจารณาและมีข้อเสนอแนะในเรื่องสําคัญ ดังนี้
๑. (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๐ และกรอบวงเงินงบประมาณประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบ ของกระทรวง และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยที่ประชุมมี มติดังนี้
๑) เห็นชอบหลักการของ (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนา กําลังคนของประเทศ และมอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดําเนินการเพื่อให้มีการจัดทําแผนดังกล่าวต่อไป
๒) เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจําปีด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวง ในส่วนของกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ และระบบการจัดสรรและบริหาร งบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐ และหลักการของ (ร่าง) แผนด้านการ อุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ และให้เสนอต่อ คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
๓) เห็นชอบแต่งตั้งรองศาสตราจารย์ ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธานกรรมการ พิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะของที่ประชุม ดังนี้
๑) ควรมีแนวทางการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Management of Change) โดยมีมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการและออกแบบระบบการทํางานร่วมกัน
๒) มีกลไกในการดึงดูดต่างชาติให้เข้ามามีส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ มหาวิทยาลัย รวมทั้งการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมากขึ้น
๓) การพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University) จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยจากการดําเนินงานในลักษณะควบคุม (Regulate) ไปสู่การสนับสนุน (Support)
๒. (ร่าง) ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ว่าด้วยคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง พ.ศ. …
สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย ได้จัดทําร่างระเบียบสภานโยบายการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง พ.ศ. … โดยมี หลักการสําคัญ ดังนี้
๑. คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องมีหน้าที่และอํานาจในลักษณะงานตามพันธกิจ โดยไม่ซ้ําซ้อนกับภารกิจปกติที่มีคณะกรรมการอื่นดําเนินการอยู่แล้ว
๒. คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องมี ๒ ประเภท ได้แก่
(๑) คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่และอํานาจดําเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
(๒) คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องเพื่อติดตามและประเมินผลการดําเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
๓. สภานโยบายอาจมีมติให้เชิญผู้แทนหน่วยงานของรัฐซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการจะพิจารณา ให้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนั้นเป็นครั้ง คราวก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการสําหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น
๔. คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง มีหน้าที่รายงานผลการดําเนินการต่อสภา นโยบายอย่างน้อยปีละสองครั้ง โดยคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเพื่อการติดตามประเมินผลต้องรายงาน สาระสําคัญ ผลการประเมินและระดับความสําเร็จในการดําเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนด้านการ อุดมศึกษาและแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและแนวปฏบิตัิ ตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนดังกล่าว
๕. วาระการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง และการดําเนินงานของ คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง
ที่ประชุมสภานโยบายมีมติ ดังนี้
เห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ว่าด้วยคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง พ.ศ. … โดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาปรับแก้ไขตาม ข้อสังเกตของที่ประชุม
๓. ความก้าวหน้าในการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ประชุมสภานโยบายมีมติรับทราบการดําเนินงานที่สําคัญของ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ดังนี้
๑. คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้มีมติเห็นชอบให้มีการเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้แต่งตั้งคณะกรรมการ/ คณะอนุกรรมการ/ คณะทํางาน เพื่อออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดโครงสร้างระบบหน่วยงาน ซึ่งต่อมารองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา และออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการ พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๒. การหารือแนวทางการใช้กลไก Innovation Sandbox เพื่อช่วยในการพัฒนา นวัตกรรมด้านใหม่โดยปลดล๊อคข้อจํากัดทางกฎหมายต่าง ๆ
๓. กลไกการพิจารณาแนวทางการใช้งบประมาณในรูปแบบ Block Grant และ Multi-year ซึ่งต้องหาความชัดเจนเรื่องความหมายและความสอดคล้องกับกลไกการทํางานของสํานัก งบประมาณ
๔. บทบาทของกระทรวงในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศสําหรับนวัตกรรม (National Quality Infrastructure for Innovation)
มติที่ประชุม รับทราบมติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 4.2 แผนการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ฝ่ายเลขานุการฯ กล่าวถึงแผนการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการ ปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้ การดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการ ปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นับเป็นภารกิจสําคัญของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นการเตรียมคน ไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ และการนําองค์ความรู้และนวัตกรรมไปพัฒนาประเทศได้ ที่ผ่านมาในระยะเวลา ๓ เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๖๒) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้ดําเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูป ระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) แล้วในเรื่องที่มีความสําคัญ ดังนี้
๑) การปฏิรูประบบงบประมาณ (Budgeting Reform)
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา และออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อสภานโยบาย และต่อรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณ ด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะมีบทบาทสําคัญ ดังนี้
๑. ออกแบบกลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ จัดทํางบประมาณเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปหรือข้อตกลงที่สอดคล้องกัน
๒. ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการ อุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบต่อเนื่องข้ามปีงบประมาณ (Multi-year)
๓. เสนอรูปแบบการจัดทําข้อตกลงในการดําเนินโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือโครงการวิจัยและนวัตกรรมกับสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สกสว.) และข้อตกลงการพัฒนาการอุดมศึกษากับสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
๒) การปฏิรูปการบริหารภาครัฐ (Administrative Reform)
เนื่องด้วยสภานโยบายได้มีมติเห็นชอบหลักการและให้จัดตั้งหน่วยบริหารและ จัดการทุนเฉพาะด้าน จํานวน ๓ หน่วย ในลักษณะ Sandbox โดยมี สอวช. เป็นร่มนิติบุคคลและมอบหมาย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. ดําเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้แล้วเสร็จ และ รายงานความก้าวหน้าต่อสภานโยบาย ต่อมาคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้พิจารณาแนวทางในการ ดําเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนดังกล่าว ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุน จํานวน ๓ หน่วย ได้แก่
๑) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ประเทศ (บพข.)
๒) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ๓) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ทั้งนี้ ได้มีการจัดทํารายละเอียดการดําเนินงานพร้อมข้อบังคับคณะกรรมการ อํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วย หน่วย บริหารและจัดการทุน พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยข้อบังคับดังกล่าว มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งถือว่าหน่วยบริหารและจัดการทุนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อบังคับดังกล่าว ทั้งนี้ การดําเนินการของหน่วยบริหาร และจัดการทุนเป็นลักษณะชั่วคราวโดยได้วางแผนศึกษาแนวทางในการปรับระบบการให้ทุนให้เหมาะสมต่อไป ในอนาคต
๓) การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบ (Regulatory Reform)
๓.๑ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ พัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีต่อสภานโยบาย และต่อมา รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา และออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีบทบาทสําคัญ ดังนี้
๑) จัดทําข้อเสนอการยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๒) พัฒนาและออกแบบกลไกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๓) จัดทําร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๑) และ ๒)
๓.๒ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้พิจารณาหลักการและแนวทางการ ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ (Innovation Sandbox) ตามที่สภานโยบายในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ มีมติ เห็นชอบในหลักการและแนวทางการส่งเสริม Innovation Sandbox โดยได้ให้ข้อเสนอแนะในการดําเนินการ ที่เป็นประโยชน์ในประเด็นสําคัญ อาทิ การรวบรวมประเด็นการวิจัยและนวัตกรรมที่ติดข้อจํากัด และประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือข้อจํากัดทั้งเชิงกฎหมายและขั้นตอน และนํามาจัดลําดับความสําคัญที่ต้องเร่ง ดําเนินการ จัดทําโครงการนําร่อง และการจัดทําระเบียบคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง (Sandbox) เพื่อเสนอต่อ สภานโยบายต่อไป
การปฏิรูปทั้ง ๓ ด้าน ดังนี้
การดําเนินงานในระยะต่อไป (ปี ๒๕๖๓)
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้วางแผนการดําเนินงานในปี ๒๕๖๓ สําหรับ
๑) การปฏิรูประบบงบประมาณ (Budgeting Reform) เช่น
๑.๑ การออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการ อุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๑.๒ การออกแบบและพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในการจัดทํางบประมาณด้าน การอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๒) การปฏิรูปการบริหารภาครัฐ (Administrative Reform) เช่น
๒.๑ ข้อเสนอโครงสร้างการแบ่งบทบาทของหน่วยงานในระบบวิจัยและ นวัตกรรม
๒.๒ ข้อเสนอการปรับโครงสร้างระบบให้ทุนด้านการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๒.๓ ประกาศกําหนดให้หน่วยงานในกํากับของตนต้องบูรณาการแผนการ ดําเนินงานและงบประมาณเพื่อให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เกิด ประโยชน์และประสิทธิผลสูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ
๒.๔ การจัดทําโครงสร้างส่วนราชการของสํานักงานปลัดกระทรวงการ อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) สํานักงานการวิจัย แห่งชาติ (วช.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
๓) การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบ (Regulatory Reform) เช่น
๓.๑ ข้อเสนอการยกเว้นกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐสําหรับการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๓.๒ การผลักดันให้เกิดโครงการนําร่องการส่งเสริม Innovation Sandbox
๓.๓ มาตรการการร่วมลงทุนของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐ เพื่อส่งเสริมการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
๓.๔ การส่งเสริมและการให้สิทธิประโยชน์เพื่อการนําผลงานวิจัย และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ให้เพิ่มเติมเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน วช. พร้อมอํานาจหน้าที่ ลงในแผนการดําเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ปี ๒๕๖๓
๒. ควรเพิ่มอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ให้มีหน้าที่ในการ พิจารณางบประมาณทั้งด้านอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาพใหญ่ที่สร้าง ผลกระทบ (Impact) ให้เกิดแก่ประเทศ ไม่ควรพิจารณาในลักษณะเป็นภาพย่อย (Item)
มติที่ประชุม รับทราบผลการดําเนินงานในระยะ ๓ เดือนที่ผ่านมาของคณะกรรมการขับเคลื่อน การปฏิรูปฯ และแผนการดําเนินงานในปี ๒๕๖๓
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไป ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. ณ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) โดยฝ่ายเลขานุการฯ จะแจ้งห้องประชุมให้กรรมการทราบต่อไป