
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 4/2562
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งที่ประชุมทราบมติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จํานวน ๓ ชุด ดังนี้
๑. คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
หน้าที่และอํานาจ
๑) ออกแบบกลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การจัดทํางบประมาณเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปหรือข้อตกลงที่สอดคล้องกัน
๒) ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษาและ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบต่อเนื่องข้ามปีงบประมาณ (Multi-year)
๓) เสนอรูปแบบการจัดทําข้อตกลงในการดําเนินโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหรือโครงการวิจัยและนวัตกรรมกับสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และข้อตกลงการพัฒนาการอุดมศึกษากับสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
๒. คณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้าง นวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
หน้าที่และอํานาจ
๑) จัดทําข้อเสนอการยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๒) พัฒนาและออกแบบกลไกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนาการสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๓) จัดทําร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๑) และ ๒)
๓. คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
หน้าที่และอํานาจ
๑) ติดตามตรวจสอบและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน
๒) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงานของ สกสว. และหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุน
มติที่ประชุม
๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อ กสว. เพื่อเสนอสภานโยบาย ต่อไป
๔) เสนอแนะต่อสภานโยบายหรือกสว.เพื่อพิจารณาสั่งให้แก้ไขหรือชะลอหรือยุติการดําเนินการสนับสนุนทุนจากกองทุนฯ ของหน่วยบริหารและจัดการทุนที่ให้แก่ หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ในกรณีที่พบปัญหาการทุจริตในการสนับสนุนทุน
รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการ ๓ ชุด ดังกล่าว
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 3/2562
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการ ประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการ ประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการตั้งข้อสังเกตในรายงานการประชุม ๑ ท่าน ในระเบียบวาระที่ ๓.๑ ดังนี้
ข้อ ๑ สภานโยบาย ได้กําหนดนโยบายการวิจัยเป็น ๔ Platform และ ๑๖ โปรแกรม โดยมอบหมาย ให้หน่วยบริหารจัดการทุน (Program Management Unit (PMU)) ดูแลรับผิดชอบโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง และ สกสว. มีหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้แก่ PMU พร้อมทั้งติดตามและประเมินผล PMU แต่ละหน่วยที่รับทุนวิจัยไป สกสว. ไม่ได้รับผิดชอบในการถอด Platform ออกเป็น Program เนื่องจากเป็นเรื่องที่สภานโยบายกําหนด
ข้อ ๒ การจัดสรรงบประมาณฯ ข้อย่อยที่ ๑) Fundamental Fund และข้อย่อย ๑.๒) Basic Function Fund ทรี่ ะบุว่าให้จัดสรรโดยไม่ต้องผ่าน PMU นั้น จะผิดหลักการของบทบาทและหน้าที่ของสกสว. หรือไม่ ที่ไม่ให้จัดสรรทุนแก่นักวิจัยโดยตรง
ข้อ ๓ ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้ง Cluster Promoting Committee (CPC) ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากเป็นกิจกรรมภายในของ สกสว. และเรื่องแนวทางในการพัฒนาววน. ของโปรแกรม จะเป็นหน้าที่ของ PMU ที่รับผิดขอบแต่ละโปรแกรมเป็นผู้ดําเนินการเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สกสว. สกสว. มี หน้าที่จัดสรรทุนในระดับ Macro เท่านั้น
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. สืบเนื่องจากการชี้แจงงบประมาณของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) และคณะกรรมาธิการได้ตัดลดงบประมาณจํานวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท จากที่เสนอขอ ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการอุทธรณ์ ทําให้ประชาคมส่วนหนึ่งมีความกังวลว่าอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อีกในปีถัดไปได้ จึงตั้งข้อสังเกตว่าเพื่อป้องกันไม่ให้การชี้แจงเสนอของบประมาณมีความคลาดเคลื่อน จึงควรปรับ วิธีการนําเสนอของบประมาณให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ของงบประมาณที่ได้รับมาเพื่อดําเนินโครงการต่างๆ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานรับผิดชอบอยู่ระหว่างการหารือ เพื่อจัดทําเอกสารอุทธรณ์ช้ีแจง โดยจะเพิ่มเติมรายละเอียดที่สําคัญดังกล่าว รวมทั้งการเชื่อมโยงงบประมาณกับ ๔ Platform โดยระบุตัวชี้วัด เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของแต่ละ Platform ให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
๒. การตัดลดงบประมาณดังกล่าวส่งผลกระทบต่องบประมาณด้านสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งได้หารือกันและเห็นว่าหากการของบประมาณของสถาบันอุดมศึกษา สามารถขอไปยังสํานักงบประมาณได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน อว. จะส่งผลกระทบน้อยกว่า อีกทั้งสัดส่วนของงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ ต่อด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
๓. ต้องจัดให้มีการสื่อสารและชี้แจงกับประชาคมการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ให้เข้าใจรูปแบบการจัดสรรงบประมาณแบบก้อนใหญ่และต่อเนื่องหลายปี (Block grant และ Multi-year) ให้เห็นถึงข้อดีของระบบที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับและผลกระทบในเชิงคุณภาพของการบริหาร จัดการงบประมาณเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ควรต้องมีการสื่อสารถึงนิยามของงบประมาณด้าน วิทยาศาสตร์ว่าหมายความถึงวิทยาการโดยไม่แยกศาสตร์ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่นเดียวกับวิธีการจัดสรรงบประมาณของสหรัฐอเมริกาที่มีวิธีการจัดสรรงบประมาณโดยไม่แยกศาสตร์ แต่ใช้ เป้าหมาย (Target) เป็นตัวตั้ง นอกจากนี้ ยังควรต้องทําการสื่อสารในเชิงบวก (Positive Communication) ใน เรื่องดังกล่าวไปยังสื่อที่มักจะสื่อสารในเชิงลบด้วย
๔. การกําหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ (OKR) จะต้องอาศัยหน่วยบริหารและจัดการทุน (Platform Management Unit (PMU)) ถอดเป้าหมายของแต่ละโปรแกรม โดยต้องสามารถระบุต่อไปได้ว่าจะทําให้เห็นผลได้ อย่างไร และมีวิธีการดําเนินการอย่างไร เช่น หากเป้าหมายคือการลดความเหลื่อมล้ํา และมีการระบุวิธีการ ดําเนินการจะทําให้สามารถเห็นได้ว่ามีวิทยาการด้านรัฐศาตร์และสังคมศาสตร์เข้ามามีส่วนอย่างมากใน การบรรลุ เป้าหมายผลสัมฤทธิ์ นอกจากนี้ การวิจัยต้องอาศัยศาสตร์และผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลายไม่เพียงแต่ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ต้องอาศัยศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ การขนส่ง (Logistic) และการเงิน เป็นต้น
๕. ควรเร่งพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของ อว. เนื่องจากการ ปฏิรูประบบ อววน. และการจัดตั้งกระทรวงส่งผลให้หลายหน่วยงานต้องปรับบทบาทภารกิจ และผู้ดําเนินการยัง ไม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในบทบาทภารกิจใหม่ที่ได้รับ เช่น แต่เดิมสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานให้ทุน แต่ปัจจุบันปรับเปลี่ยนเป็น สกสว. ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการจัดสรร งบประมาณในระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Funding) จึงต้องปรับความเข้าใจ (Mindset) และการพัฒนา ความสามารถให้รองรับกับภารกิจใหม่ด้วย เช่นเดียวกับ สวทน. (เดิม) ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม บางส่วนแต่ยังไม่ครอบคลุมเรื่องการอุดมศึกษาและการปฏิบัติงานจริง (Operation) และปัจจุบันต้องมา ทําหน้าที่จัดทํานโยบายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งต้องเร่ง สร้างความรู้และความเข้าใจให้ครอบคลุมบทบาทและภารกิจใหม่ด้วย ทั้งนี้ อาจอาศัยการทํางานร่วมกับเครือข่ายที่ มีความรู้และถ่ายทอดให้เพ่ือให้สามารถปรับบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วมากขึ้น
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 3.1 หลักการและแนวทางการส่งเสริม Innovation Sandbox
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอหลักการและแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ (Innovation Sandbox) ซึ่งกําหนดในพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ที่มีความสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศหรือเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ในการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางที่ มีความสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ สภานโยบายอาจมอบหมายให้บุคคล คณะบุคคล หน่วยงานของรัฐ หรือ หน่วยงานภาคเอกชน รับผิดชอบดําเนินการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรมด้านใหม่นั้น หรือดําเนินการผลิตกําลังคน ระดับสูงเฉพาะทาง ทั้งนี้ โดยให้ได้รับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ หรือการยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติของ กฎหมายหรือกฎข้อบังคับใดมาใช้บังคับแก่การดําเนินงานของบุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดโดยข้อเสนอของสภานโยบาย จากนั้นได้นําหลักการที่ระบุ ในกฎหมายมาออกแบบประเด็นและหลักการสําคัญ ตลอดจนกระบวนการขั้นตอนเพื่อดําเนินการ Innovation Sandbox รวมทั้งเสนอตัวอย่างประเด็นความต้องการปลดล็อคด้วยการจัดตั้ง Innovation Sandbox ทั้งนี้ สภานโยบายในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบในหลักการและแนวทางการส่งเสริม Innovation Sandbox และได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการจัดทําระเบียบที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะกรรมการ Sandbox พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการดําเนินการ ดังนี้
๑. ควรคํานึงถึงประเด็นความรับผิดทางกฎหมายของผู้เข้าร่วม Innovation Sandbox (กรณีที่ ผู้เข้าร่วมไม่ใช่นิติบุคคล หรือเป็นกลุ่มบุคคล)
๒. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบางอย่าง ไม่จําเป็นต้องต้ง Sandbox เนื่องจากอยู่ในขอบเขต อํานาจและหน้าที่ของ อว. ควรดําเนินการและขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นได้ทันที เช่น เทคโนโลยี โดรน หากนํามาใช้ก็จะช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรได้ แต่ทั้งนี้ โดรนมีราคาแพงและการ นําเข้าต้องเสียภาษีสูง อว. จึงควรไปผลักดันเรื่องการลดภาษีนําเข้าโดรนให้ได้
๓. การตั้งคณะกรรมการ Sandbox ควรพิจารณาแต่งตั้งกรรมการที่มีความรู้และความเข้าใจอย่างแท้จริง
๔. ควรศึกษาต้นแบบจากต่างประเทศในการดําเนินการ Sandbox เช่น ประเทศจีน (สิทธิประโยชน์ ในพื้นที่ทดลอง) และ สิงคโปร์ (หลักสูตรการเรียนการสอนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย)
สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย ได้วางแผนการดําเนินการขั้นต่อไป ดังนี้
๑. รวบรวมประเด็นการวิจัยและนวัตกรรมที่ติดข้อจํากัด และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือ ข้อจํากัดทั้งเชิงกฎหมายและขั้นตอน และนํามาจัดลําดับความสําคัญที่ต้องเร่งดําเนินการ
๒. จัดทําโครงการนําร่อง โดยระบบการวิจัยและนวัตกรรมที่มีความจําเป็นต้องทํา Sandbox ระบุ ขอบเขต ผู้ประกอบการ, หน่วยงานเจ้าภาพ, หน่วยงานร่วมดําเนินการ, และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๓. จัดทําระเบียบคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง (Sandbox) เสนอต่อสภานโยบายฯ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ประเด็นสําคัญของการดําเนินการ Innovation Sandbox ที่ควรพิจารณา คือการนําผลงานวิจัย ที่เป็นงานวิชาการที่มีอยู่ไปใช้ได้จริงโดยสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้ โดยการปลดล็อคกฎหมาย กฎ ระเบียบ และ การให้การส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ ดังนั้น การประเมินผลสัมฤทธิ์ของ Innovation Sandbox จึงควรพิจารณา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนําไปใช้ประโยชน์ว่าก่อให้เกิดการเรียนรู้ มีการสร้างรายได้ มีตลาดรองรับ มากกว่า การมุ่งเน้นกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการซึ่งเป็นเรื่องการบริหารจัดการ
๒. ควรพิจารณาบทบาทของการกํากับดูแล (Regulator) หรือติดตามประเมินผลให้มีความ เหมาะสม ไม่สร้างขั้นตอนที่เป็นภาระ ข้อจํากัด หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานของผู้ประกอบการหรือ ผู้เข้าร่วมโครงการเกินความจําเป็น โดยผู้กํากับควรทําหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานเป็นหลัก
๓. ควรมีการวางกลไกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผลของการดําเนินงานแบบ Feedback Loop และ ควรตระหนักว่ากิจกรรม Innovation Sandbox มีลักษณะเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง โดยต้องมีการพิจารณา ผลกระทบของโครงการได้จากข้อมูลที่ได้เรียนรู้ และหากโครงการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นการต่อยอดจากเดิม (Further Innovation) ควรมีการเผยแพร่องค์ความรู้เท่าที่สามารถจะเปิดเผยได้โดยไม่กระทบในเชิงธุรกิจ เพื่อให้ ผู้อื่นสามารถนําองค์ความรู้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อไป
๔. การดําเนินการ Innovation Sandbox มีลักษณะเป็นโครงการที่อาจเป็นสาขาหรือเทคโนโลยี และนวัตกรรมได้หลากหลาย ดังนั้น การบริหารจัดการควรต้องพิจารณาความสามารถและความเชี่ยวชาญของ คณะกรรมการ ซึ่งควรต้องเป็นผู้มีความรู้ทั้งในประเด็นที่จําเพาะต่อกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) และประเด็น เชิงกฎหมาย
๕. ในกรณีที่การดําเนินงานโครงการ Innovation Sandbox ไม่ประสบความสําเร็จ และต้องยุติ โครงการ ควรมีการถอดบทเรียนและวัดผลการดําเนินงานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่อาจช่วยเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขัน ก่อให้เกิดรายได้และความมั่งคั่งของประเทศ
๖. การดําเนินงานในส่วนของการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ หรือการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยงข้อง สภานโยบายจะต้องนําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาด้วย
มติที่ประชุม รับทราบหลักการและแนวทางการดําเนินงาน Innovation Sandbox
ระเบียบวาระที่ 3.2 แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบ Block grant และ Multi-year
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอความก้าวหน้าในการดําเนินงานเพื่อรองรับกับการแต่งตั้งคณะกรรมการ พัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้การปฏิรูประบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมได้ กําหนดบทบาทอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการโดยมีรายละเอียดดังนี้
• ออกแบบกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทํางบประมาณ
• ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบMulti-year
• เสนอรูปแบบการจัดทําข้อตกลงในการดําเนินโครงการพัฒนาวิยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และข้อตกลงการพัฒนาการอุดมศึกษากับสํานักงานปลัดกระทรวง (สป.อว.)
ในการออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบ Multi-year สอวช. ได้ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลแนวปฏิบัติในกระบวนการจัดทํางบประมาณร่ายจ่ายประจําปีในประเทศไทย แนว ทางการบริหารและจัดการงบประมาณแบบ Block grant และ Multi-year ของต่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์แนว ทางการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อนําไปสู่การกําหนดแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณด้าน การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบ Block grant และ Multi-year ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมีประเด็นศึกษาดังต่อไปนี้
๑. ศึกษาระบบงบประมาณของประเทศไทยในแต่ละช่วงเวลา
๒. ศึกษาระบบการบริหารจัดการงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน) ที่แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น ๓ ขั้นตอนหลัก ได้แก่
- ขั้นตอนที่ ๑ กระบวนการจัดทําคําของบประมาณและการจัดสรรงบประมาณ จากสํานักงบประมาณมายังกองทุน ในส่วนของเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ เป็นรายปี
- ขั้นตอนที่ ๒ การบริหารจัดการงบประมาณกองทุนมายัง PMU
- ขั้นตอนที่ ๓ การบริหารจัดการงบประมาณกองทุนมายัง หน่วยทําวิจัยและ นวัตกรรม
๓. ศึกษาและการทบทวนพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องการกับการบริหารงบประมาณด้าน การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
- พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. ๒๕๖๑
- พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยแล ะนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
- พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
๔. การทบทวนแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณแบบBlockgrantและMulti-yearของ ต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย ออสเตรีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
๕. เสนอแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณด้านการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบ Block grant และ Multi-year ที่เหมาะสมกับประเทศไทย บนฐานข้อมูลการศึกษาแนว ทางการจัดทํางบประมาณแบบ Block grant และ Multi-year ของต่างประเทศ
ข้อคิดเห็นของที่ประชุม
๑. ในการออกแบบระบบการบริหารงบประมาณแบบ Block grant และ Multi-year ที่มี จุดประสงค์หลักเพื่อให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นนั้น ควรต้องมีการนําเสนอกลไกการตรวจสอบการใช้งบประมาณ ที่รัดกุมควบคู่กันไปด้วย
๒. ในระบบงบประมาณของประเทศไทยมีทั้งรูปแบบการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีและการจัดทํางบประมาณแบบผูกพันข้ามปีแล้ว ในกรณีแผนงาน/โครงการที่คาดว่าจะใช้งบประมาณรายจ่ายให้เสร็จทัน ภายในปีงบประมาณไม่ได้ ให้จัดทํางบประมาณรายจ่ายข้ามปีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีสํานักงบประมาณ กําหนดไว้ ดังน้ัน เมื่อมีกระบวนการท่ีเอ้ือต่อการจัดทํางบประมาณแบบ Multi-year ในขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณ จากสํานักงบประมาณมายังกองทุนแล้ว ควรมาพิจารณาเพิ่มเติมในการกําหนดแนวทางและรูปแบบการบริหาร งบประมาณแบบ Multi-year ในขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนมายัง PMU หรือหน่วยงานวิจัย
๓. กองทุนควรมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณผูกพันและศึกษาสภาพคล่องของกองทุนให้ชัดเจน เพื่อให้รู้ถึงรายจ่ายที่จะต้องดําเนินการในแต่ละปีล่วงหน้า และงบประมาณข้ันต่ําเพื่อรักษาสภาพคล่องของกองทุนใน แต่ละปี แต่ไม่ใช่การของบประมาณต่อเนื่องทั้งหมดมารวมไว้ในกองทุนเพราะสํานักงบประมาณจะพิจารณา งบประมาณรายปีโดยคํานึงถึงประสิทธิภาพการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
๔. ตัวอย่างการดําเนินงานของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ผ่านมา ได้รับ งบประมาณประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป และการให้ทุนจะเป็นการทําสัญญาที่มีการระบุงบประมาณที่ชัดเจนในแต่ละปี และตลอดระยะเวลาโครงการผูกพันงบประมาณไว้แล้ว โดยจะมีการทํา Performance Agreement (PA) กับหน่วย รับทุน ต้องส่งรายงานความก้าวหน้าทุก ๖ เดือน จึงสามารถติตตามและประเมินผลงบประมาณได้ต่อเนื่อง มีการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
๕. ถ้าในหลักการและเหตุผลที่ต้องการจัดทํางบประมาณแบบ Blockgrant และ Multi-year มี จุดประสงค์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการบริหารจัดการงบประมาณ มีความต่อเนื่องว่าปีต่อไปยังได้รับ งบประมาณมาดําเนินงานน้ัน ส่ิงที่ต้องทําคือการสร้างความมั่นใจต่อท้ังนักวิจัยด้วยการทําสัญญาระยะยาว และสร้าง ความมั่นใจต่อสํานักงบประมาณว่าสามารถบริหารจัดการงบประมาณกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖. สิ่งที่สําคัญคือระบบการติดตามการใช้งบประมาณที่ดีและมีความต่อเนื่อง โดยต้องพิจารณาถึงผลลัพธ์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งบประมาณเป็นสําคัญ
๗. หากมีความชัดเจนในแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณแบบ Multi-year ระหว่าง กองทุนและนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพแล้ว สามารถนําไปใช้เป็นหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ในการจัดสรรงบประมาณ ตามท่ีระบุในมาตรา ๑๗ (๒) ของ พระราชบัญญัติการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้
๘. จากผลการศึกษาที่ดําเนินการมา ยังไม่เห็นควรว่าจะต้องไปแก้ที่ระบบการจัดสรร งบประมาณ แต่สามารถหารือร่วมกันระหว่างกองทุน สํานักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ในการพิจารณาเพดาน งบประมาณท่ีเหมาะสมในแต่ละปีเพื่อดําเนินการแผนงานผูกพันข้ามปี
มติที่ประชุม รับทราบและให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ ไปดําเนินการร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษาและด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ระเบียบวาระที่ 3.3 ข้อเสนอแผนการ Migrate โปรแกรมทุนของ สกว. (เดิม) ไปยังหน่วย PMU
ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นําเสนอที่ประชุม เรื่องข้อเสนอแผนการ Migrate โปรแกรมทุนจาก สกว. ไปยังหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) ตามภารกิจที่เปลี่ยนไปตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ จากหน่วยงานให้ทุนเป็นหน่วยงานจัดสรรทุนจึงต้องมีการโอนถ่าย (Migrate) งานผูกพันที่เคยดําเนินการ ไปยังหน่วย PMU ท้ังนี้ สกสว. ได้มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อ Migrate โปรแกรมทุน ดังนี้
๑. ความเหมาะสมของเป้าหมายและกรอบงานวิจัยในโปรแกรมทุนเดิมกับขอบเขตงานของ PMU
๒. ความใกล้เคียงกับโปรแกรมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่ PMU รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ข้อเสนอจะใช้เฉพาะปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ โดยการดําเนินงานในระยะต่อไป จะมีการออกแบบระบบการให้ทุนของประเทศไทย และจัดทําข้อเสนอการแบ่งบทบาทหน้าที่ (Division of Labor) ของ หน่วยบริหารและจัดการทุน รวมทั้งประสานความร่วมมือของหน่วยบริหารและจัดการทุนของประเทศ
ข้อคิดเห็นของที่ประชุม
๑. ในการ Migrate งานในภาพรวมนั้น ควรรวมไปถึงการ Migrate รูปแบบการบริหารจัดการ รวมทั้งทัศนคติ (Attitude) และกระบวนการทางความคิด (Mindset) ไปยังหน่วยบริหารและจัดการทุนที่ได้รับมอบโปรแกรมทุนไปด้วย
๒. ในการ Migrate โปรแกรมนั้นจะต้องมีการ Migrate ทักษะการบริหารจัดการ (Management Skill) ไปด้วย ซึ่งอาจจะหมายถึงการโอนย้ายกําลังคนด้วยหรือไม่ จะต้องมีการหารือร่วมกับ PMU เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน
๓. ในส่วนของการ Migrate การบริหารจัดการแผนงานให้เตรียมการในส่วนของรายละเอียด ของการเบิกจ่ายเงินจากหน่วยงานเดิมไปยังหน่วยงานใหม่ที่มีระบบการเบิกจ่ายงบประมาณที่แตกต่างกัน
๔. มีข้อสังเกตในโปรแกรมที่ทับซ้อนกับ PMU อื่น ได้แก่ โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การ ท่องเที่ยว และการเกษตร ที่ชื่อเป็นงานที่มีความซ้ําซ้อนกับหลาย PMU จึงอาจจะต้องไปดูในรายละเอียดและจุดประสงค์ของงานด้วย
๕. ในการ Migrate งานปีแรกจะต้องมีความยืดหยุ่นระหว่างหน่วยงาน และลดหย่อนเกณฑ์ เพื่อให้แผนงานสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น บางแผนงานอาจจะไม่เข้าเกณฑ์ของ PMU ใหม่ แต่ก็ควรรับดําเนินการไปเพื่อปรับในภายหลัง เนื่องจากหน่วยงานวิจัยอาจได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนว่ามีการปรับเกณฑ์ใหม่ ซึ่งจะต้องไม่ทําให้หน่วยงานวิจัยพลาดโอกาสในการรับงบประมาณในช่วงปรับตัว
๖. เมื่อมีความชัดเจนเรื่องแผน Migrate แล้วต้องเร่งทําความเข้าใจกับประชาคมวิจัยในและ นอกกระทรวง อว. อย่างทั่วถึงเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง
มติที่ประชุม รับทราบและให้ สกสว. พิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ ไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1 การพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ฝ่ายเลขานุการฯ นําเสนอที่มาของการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัย พัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ดังนี้
พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๑๙ กําหนด ว่า การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ให้ดําเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และหลักเกณฑ์ท่ีคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐประกาศกําหนด โดยสภานโยบายอาจขอให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐดําเนินการ หรือขอให้ ตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
การประชุมผู้บริหารกระทรวง อว. เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมอบหมายให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ออกแบบและพัฒนาระบบงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ระบบการทํางานด้านการอุดมศึกษา ระบบการ จัดสรรและบริหารทุนของประเทศ และระบบโครงสร้างพ้ืนฐานทางคุณภาพของประเทศ
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการ ประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบให้มีการเสนอรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการ จัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบ การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อทําหน้าที่
(๑) จัดทําข้อเสนอการยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการ บริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(๒) พัฒนาและออกแบบกลไกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการ พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
(๓) จัดทําร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ (๑) และ (๒)
ฝ่ายเลขานุการ นําเสนอที่ประชุมถึงประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามกฎหมายว่า ด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐที่ได้จากการหารือกับหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม รายละเอียดตามเอกสารประกอบการประชุม
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
ผู้แทนจากกรมบัญชีกลางเสนอที่ประชุมว่าขอให้ฝ่ายเลขานุการ ฯ ประสานในเรื่องนี้กับ กรมบัญชีกลาง เพื่อจัดทําประเด็นเสนอคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัย พัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทั้งนี้ ผู้แทนจากกรมบัญชีกลางจะประสาน เพื่อให้มีการหารือร่วมกันระหว่าง สอวช. และผู้รับผิดชอบในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของ กรมบัญชีกลาง
มติที่ประชุม รับทราบ และมอบหมายฝ่ายเลขานุการ ฯ หารือร่วมกับกรมบัญชีกลางและเสนอคณะกรรมการ พัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.2 กลไกการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพของประเทศสำหรับนวัตกรรม (NQI for Innovation)
นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นําเสนอต่อที่ประชุมเรื่องกลไกการ ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสําหรับนวัตกรรม หรือ National Quality Infrastructure (NQI) NQI for Innovation เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของ อว. ที่กําหนดให้ต้องตราพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์บริการตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนให้แล้วเสร็จภายในสามปี ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓๘
โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ประกอบด้วย ๓ เรื่องหลัก ดังนี้
๑. การกําหนดมาตรฐาน (Standard) มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรฐานสากล เช่น องค์การ ภูมิภาคแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน (Pacific Accreditation Cooperation: PAC) และองค์การระหว่าง ประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO)/ คณะกรรมาธิการระหว่าง ประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electro-technical Commission: IEC)/ คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius International Food Standard: CODEX)/ สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (International Telecommunication Union: ITU) และมาตรฐานใน ประเทศ เช่น พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร (ฉบับท่ี ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยจัดให้มีหน่วยงานด้านมาตรฐานของประเทศ (National Standard Body: NSB)
๒. การรับรองระบบงาน (Accreditation) มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรฐานสากล เช่น องค์การภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน (Asia Pacific Accreditation Cooperation: APAC) และ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (International Accreditation Forum Inc: (IAF)/ องค์การ ระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองห้องปฏิบัติการ (International Laboratory Accreditation Cooperation: ILAC) และมาตรฐานในประเทศ เช่น พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยจัดให้มีหน่วยงาน ดังน้ี
๒.๑ หน่วยรับรอง (Accreditation Body: AB) ISO/IEC ๑๗๐๑๑
๒.๒ หน่วยตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment Body: CAB) มีจํานวนหน่วยงานใน ประเทศ จํานวน ๒๐,๖๙๖ หน่วยงาน โดยเป็นหน่วยงาน CABs ที่ได้รับการรับรอง จํานวน ๑,๐๓๖ หน่วยงาน ประกอบด้วย
๑) หน่วยรับรอง (Certification Body: CB) มีจํานวน ๓๓ หน่วยงาน (สังกัด อว. จํานวน ๓ หน่วยงาน)
๒) หน่วยตรวจ (Inspection Body: IB) มีจํานวน ๒๙ หน่วยงาน (ไม่มีหน่วยงานท่ีสังกัด อว.)
๓) ห้องปฏิบัติการ (Laboratory: Lab) มีจํานวน ๙๗๔ หน่วยงาน (สังกัด อว. จํานวน ๓๐ หน่วยงาน) โดยมีหน่วยงานที่สามารถให้การรับรองห้องปฏิบัติการ จํานวน ๓ หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.)
๓. มาตรวิทยา (Metrology) มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรฐานสากลของ องค์กรมาตรวิทยา ระดับภูมิภาค (Asia Pacific Metrology Programme: APMP) และสํานักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measures: BIPM) และมาตรฐานในประเทศ เช่น พระราชบัญญัติพัฒนา ระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พ.ศ. ๒๕๕๙ พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๙ และ พ.ศ.๒๕๕๗ โดยจัดให้มีสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (National Institute of Metrology: NIM) ประกอบด้วย
๑) ห้องปฏิบัติการสอบเทียบระดับทุติยภูมิ (Secondary Calibration Laboratory) มีจํานวน ๕ หน่วยงาน (สังกัด อว. จํานวน ๑หน่วยงาน)
๒) ห้องปฏิบัติการสอบเทียบระดับปฏิบัติงาน (Working Calibration Laboratory) มีจํานวน ๑๙๖ หน่วยงาน (สังกัด อว. จํานวน ๖ หน่วยงาน)
ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ๓ เรื่องหลักดังกล่าวข้างต้น จําเป็นต้องมีการกํากับดูแล ตลาด (Market Surveillance) โดยมีหน่วยงานกํากับ (Regulatory Body: RB) จํานวน ๑๘ หน่วยงาน เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมการค้าต่างประเทศ สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นหน่วยงานสนับสนุนในการตรวจสอบและรับรอง
จากการดําเนินงานขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสําหรับนวัตกรรม พบข้อจํากัด บางประการ เช่น ขาดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพ้ืนฐานทางคุณภาพของประเทศ ขาดการบูรณาการด้าน ข้อมูลที่แสดงศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม กฎระเบียบ และมาตรฐานของ ประเทศไม่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม ขาดการบูรณาการของหน่วยงานเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศ หน่วยตรวจสอบและรับรองที่มีศักยภาพมีจํานวนไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุมต่อการพัฒนาขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันของประเทศ รวมถึงการไม่ให้ความสําคัญกับคุณภาพ
ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางคุณภาพของประเทศ โดยปรับภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์บริการ และจัดตั้งเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์บริการ (องค์การมหาชน) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่เป็นกลไกสําคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการ พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานทางคุณภาพของประเทศ ดังนี้
๑) ขับเคลื่อนมาตรฐาน(Standard)โดยการส่งเสริมพัฒนามาตรฐานแบบเป็นทางการและไมเ่ป็น ทางการ (Standard/Informal Standard) และส่งเสริมการใช้ประโยชน์เคร่ืองหมายคุณภาพสินค้าและบริการ
๒) ขับเคลื่อนระบบการวัด (Measurement) โดยพัฒนาระบบการวัดและเทคนิคทาง ห้องปฏิบัติการ และบูรณาการให้ความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการ
๓) ขับเคลื่อนการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการสําหรับงานวิจัย โดยการส่งเสริม พัฒนา CABs จัดทําคลังข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ และจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ทางคุณภาพของประเทศ
๔) ขับเคลื่อนพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง โดยการรับรองระบบงาน CABs และพัฒนาระบบ และหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพงานนวัตกรรม และการวิจัย
๕) ขับเคลื่อนกําลังคนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) โดยการพัฒนา ศักยภาพบุคลากรในระบบ NQI
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การกําหนดมาตรฐาน (Standard) ที่รวดเร็วสําหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เป็นสิ่งสําคัญในการ ขับเคลื่อนนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งประเทศเยอรมนีเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบ ความสําเร็จ (Success case)
๒. การดําเนินงานขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ จําเป็นต้องมีบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความเช่ียวชาญเฉพาะด้าน
๓. โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสําหรับนวัตกรรม มีข้อจํากัดค่อนข้างมาก ดังน้ัน การปรับภารกิจของกรมวิทยาศาสตร์บริการเพ่ือลดข้อจํากัดที่เกิดขึ้น ควรมีวิธีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและ มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบ (Impact) ที่ดีต่อของประเทศ และตอบสนองต่อกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์
๔. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสําหรับนวัตกรรม จําเป็นต้องมีหน่วยงาน บูรณาการระบบ (System Integrator: SI) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานด้านต่าง ๆ หากกรมวิทยาศาสตร์บริการจะเป็นหน่วย System Integrator จะต้องมีการออกแบบกลไกการทํางานที่มีประสิทธิภาพตาม ความเชี่ยวชาญ บทบาท หน้าที่และอํานาจ
๕. ปัจจุบันสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีการจัดทําฐานข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (www.nqi.go.th) แต่ต้องมีการเช่ือมโยงกับสถาบันการอุดมศึกษาเพิ่มเติม
มติที่ประชุม รับทราบกลไกการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสําหรับนวัตกรรม (NQI for Innovation) และขอให้นําข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการเพื่อปรับโครงสร้างและบทบาท ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไปในวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถนนโยธี โดยฝ่ายเลขานุการฯ จะแจ้งห้องประชุมให้กรรมการทราบต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบ