
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 3/2562
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งที่ประชุมทราบว่า การประชุมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รอว.) มอบหมายให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ออกแบบและพัฒนาระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ระบบการทํางานด้านการอุดมศึกษา ระบบการจัดสรรและบริหารทุนของประเทศ และระบบโครงสร้าง พื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ที่ประชุมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซง่ึ ควรมุ่งเน้นหลักการสําคัญ ดังนี้
มติที่ประชุม
๑. มุ่งเน้นวิธีการทํางานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายมากกว่าการกําหนดกฎระเบียบ
๒. คํานึงถึงการเรียนรู้ในรูปแบบ Learning loop
๓. ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและการร่วมดําเนินการ (Coordination) โดยให้มีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแค่ระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) แต่ควรเชื่อมโยงระบบสําคัญของประเทศด้านอื่นๆ ด้วย
๔. คํานึงถึงกลไกที่ทําให้ อววน. ทําหน้าที่ส่งเสริมให้ตอบสนองนโยบายต่างๆ เช่น กลไกChange management กลไกและวิธีการดําเนินงานของสํานักปลัดกระทรวงฯ (สป.อว.) ด้านการอุดมศึกษา กลไกการจัดสรรทุนของหน่วยงานให้ทุน และกลไกงบประมาณที่ต้องมี ความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ กลไกการปรับปรุง/ลดข้อจํากัดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ภาครัฐด้วย
มติที่ประชุม รับทราบการมอบหมายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2562
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2/2562
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการ ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีกรรมการขอแก้ไข
ที่ประชุมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการ จัดสรรไม่เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ในหน้าที่ ๑๑ โดยขอให้มีการติดตามประเด็น ดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ควรเสนอความเห็น ไปยัง รอว. เพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 3.1 กลไกการดำเนินงานระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ Program Management Unit (PMU)
นายสุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สกสว.) แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ขณะนี้มีการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการ กรรมการ และรักษาการ ผู้อํานวยการ พร้อมทั้งโอนบุคลากรจาก สกสว. และสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมีสถานที่ทํางานเรียบร้อยแล้ว โดยกลไกการดําเนินงานระหว่าง สกสว. และ Program Management Unit (PMU) จะเป็นส่วนสําคัญที่เชื่อมโยงการดําเนินงาน และมอบหมายให้ รศ. ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อํานวยการ สกสว. นําเสนอขั้นตอนการดําเนินงานการออกแบบกลไกระบบการทํางาน การกําหนดบทบาทหน้าที่ และความเช่ือมโยงในการทํางาน (Interface) ของหน่วยงานระดับต่างๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. ภาพรวมของการเชื่อมโยงการทํางาน (Interface) ระหว่าง สกสว. PMU และหน่วยงานระดับ ปฏิบัติมีขั้นตอนเริ่มต้นจากการถอดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เป็น platform และ สกสว. รับผิดชอบดูแลในการถอด Platform ออกเป็นโปรแกรม และการเชื่อมโยงไปสู่การ มอบหมายให้ PMU รับผิดชอบในแต่ละโปรแกรม ดังนั้น PMU จะรับผิดชอบ Sub-Program ที่อยู่ใต้โปรแกรมอีก ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ กฎหมายยังกําหนดให้มีการติดตามประเมินผล ๒ ระดับ ได้แก่ ๑) การติดตามประเมินผล การดําเนินการตามนโยบายยุทธศาสตร์และแผน ดําเนินการโดยคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง (รับผิดชอบโดย สอวช.) และ ๒) การประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมและผลสัมฤทธิ์การดําเนินงานของหน่วยงานในระบบ ววน. โดยคณะกรรมการติดตามประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รับผิดชอบโดย สกสว.)
๒. หลักการในการดําเนินงานร่วมระหว่าง สกสว. และ PMU ได้แก่ การมุ่งประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล การเป้าหมายร่วมกัน มีข้อมูลในการตัดสินใจ มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับกฎระเบียบ และมีการ บริหารความเส่ียง
๓. การจัดสรรงบประมาณจะแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ๑) Fundamental fund ซึ่งแบ่งออกเป็น
๑.๑) Basic research & Institutional capacity building fund จัดสรรงบประมาณให้กับ PMU เพื่อนําไปสนับสนุนทุนแก่โครงการงานวิจัยพื้นฐาน การพัฒนานักวิจัยใหม่ และสร้าง ความเข้มแข็งของงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยของสถาบันความรู้ และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน
๑.๒) Basic function fund จัดสรรงบประมาณตรงไปยังหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะด้าน ; วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และดําเนินการตามพันธกิจของตนเอง ซึ่งอาจรวมโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. ระดับชาติ และโครงการริเริ่มสําคัญของประเทศ โดยไม่ต้อง ผ่าน PMU
๒) Strategic fund คือ Competitive funding จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานบริหาร จัดการโปรแกรม เพื่อนําไปสนับสนุนทุน (Granting) แก่หน่วยงานระดับปฏิบัติโดยต้องเป็นการทําวิจัยที่เน้นตอบยุทธศาสตร์และแผน ววน. ของประเทศ
๔. ได้มีการหารือภายใน สกสว. เกี่ยวกับกลไกภายในที่ทําหน้าที่ติดตามและดูแลให้เป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ การจัดทํา Priority setting ระดับโปรแกรม โดยเรียกว่า Cluster Promoting Committee (CPC) เพื่อทําหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ววน. ของโปรแกรมต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) และช่วยพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณทั้งโปรแกรมที่เป็น Flagship และ Non- Flagship กํากับทิศทางการพัฒนา ววน. สนับสนุนการทํางานของ PMU และหน่วยงานในระบบ ววน. รวมทั้ง เสนอแนะภาพและแนวทางการสนับสนุนในลักษณะที่เป็น Cross-program และ Cross-platform ต่อ กสว.
๕. บทบาทและหน้าที่ของ PMU ครอบคลุมทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา ซึ่งได้แก่ การพัฒนา และคัดเลือกโครงการและแผนงาน ววน. ให้สอดคล้องกับ OKR การบริหารโครงการและแผนงาน ววน. ผ่านการ ทํางานร่วมกับ Consortium ในรูปแบบ Quadruple helix (มหาวิทยาลัย ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม) เสนอแผนปฏิบัติการและวงเงินงบประมาณของโปรแกรมเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนฯ ออก สัญญาและสนับสนุนงบประมาณไปยังหน่วยดําเนินงานวิจัยและนวัตกรรม ติดตามการใช้งบประมาณและผลการดําเนินงานให้เป็นไปตามแผนของโครงการ/แผนงาน ติดตามและประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของงานวิจัยและ นวัตกรรม ผลักดันการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ พัฒนาและคัดเลือกโครงการ บริหาร โครงการ ออกสัญญา ติดตามและประเมินผล
๖. โดยสรุปมีระบบงานอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่
- การจัดทําแผนและกรอบงบประมาณ โดยมีกลไกคือ Strategic Consortium มีเครื่องมือ ได้แก่ ข้อมูล และ Canvas
- การจัดทําคําของบประมาณ มีกลไกคือ CPC PC ภายใต้ PMU คณะกรรมการพิจารณา งบประมาณ และ Operational Consortium มีเครื่องมือ ได้แก่ ฟอร์มคําขอต่างๆ ฟอร์มขอ้เสนอ Flagship และระบบสาสนเทศฯ
- การจัดสรรงบประมาณและการติดตามประเมินผลมีกลไกคือCPCระบบติดตามหนุนเสริม และระบบประเมินผล โดยมีเครื่องมือ ได้แก่ แผนปฏิบัติการของ PMU, Performance Agreement และระเบียบการเงิน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. หลักการในการดําเนินงานร่วมระหว่าง สกสว. และ PMU ดังนี้
- จะต้องจัดทําระบบตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วในระดับ Realtime เพื่อสามารถแก้ปัญหาได้
- การดําเนินงานในระดับที่ถูกส่งต่อยุทธศาสตร์และแผนลงไปจะต้องมีจุดโฟกัสที่แคบลงและ สอดคล้องกับภาพใหญ่
- ไม่ควรเรื่องการวัดผลที่เป็นตัวชี้วัด(KeyPerformanceIndicatorหรือKPI)เพียงอย่างเดียว ต้องให้ความสําคัญกับการทํางานร่วมกัน ความเชื่อมโยง และการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
๒. สกสว. ควรมีบทบาทในการหารือร่วมกับ สอวช. และ PMU เรื่องโครงสร้างของหน่วยปฏิบัติงานวิจัยในประเทศให้มีความเหมาะสมต่อการทําวิจัยและนวัตกรรมในยุคใหม่ที่ส่งผลต่อเป้าหมายของการพัฒนา ประเทศได้จริง และเสนอให้แก่คณะกรรมการระดับชาติ
๓. ควรมีการวางกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญาที่ที่เอื้อต่อการ สร้างแรงจูงใจแก่นักวิจัย โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ๑) พระราชบัญญัติส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม มาตรา 29 (4) กําหนดให้ผู้สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนําไปใช้ ประโยชน์ และ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการ พิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีหลักการสําคัญคือการให้ผู้รับทุนเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดย นักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้หากผู้รับทุนที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดไม่ประสงค์จะเป็น เจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมนั้น และยังได้กําหนดให้มีการแบ่งปันรายได้ให้แก่นักวิจัยเมื่อผลงานวิจั ยและ นวัตกรรมนั้นถูกนําไปใช้ประโยชน์ รวมถึง การกําหนดเงื่อนไขความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ บริษัทต่างชาติด้วย นอกจากนี้ ในประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาควรนําแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ของ บริษัทเอกชนและของต่างประเทศ นํามาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อระบบ อววน. อีกทั้ง ควรเร่งการออกกฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้หน่วยงานในระบบนําไปปฏิบัติให้ สอดคล้องกับกฎหมายที่จะออกมาบังคับใช้
๔. กลไกการบริหาร Platform จะต้องทําให้เกิดความชัดเจนอย่างมาก โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของ PMU และสามารถอธิบายส่วนที่เป็น Cut across ได้ เช่น เรื่องกําลังคน เรื่องวิจัยและ นวัตกรรมเชิงพื้นที่ และการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม
๕. สกสว. จะต้องเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทํา OKRs Canvas ที่เห็นภาพรวมของทั้งประเทศ โดยจะต้องทําให้เห็นว่าประเด็นเร่งด่วนของประเทศ เช่น PM2.5 มีการกําหนดเป้าหมายอย่างไร หรือทิศทางที่ อว. มุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหาระดับประเทศ และมีทิศทางอย่างไร เพื่อส่งต่อให้แต่ละ PMU ที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ ไปหาหน่วยงานปฏิบัติการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีลักษณะ Competitive bidding เพื่อรับงบประมาณไป ดําเนินการ ดังนั้น การกําหนดบทบาทหน้าที่ (Division of labor) จึงต้องทําให้ชัดเจนมากขึ้นกว่านี้
๖. จะต้องมีการปรับระเบียบการรับทุน และการจัดทํา Performance agreement ของหน่วยงาน รับทุน เช่น มหาวิทยาลัย ให้สามารถปฏิบัติได้ ยกตัวอย่าง ทุนวิจัยที่เป็น Competitive bidding ที่เป็นเงินก้อน ใหญ่ มหาวิทยาลัยจะต้องมีประกาศรองรับให้สามารถดําเนินการได้ จึงควรต้องมีการให้แนวทางและแจ้ง มหาวิทยาลัยเพื่อรับดําเนินการให้ทันกับการรับงบประมาณดังกล่าว
๗. PMU ควรสร้างกรอบการดําเนินงานของโปรแกรมที่ตัวเองรับผิดชอบ และนําเสนอกับ คณะกรรมการของ PMU เพื่ออนุมัติและนําหารือกับ สกสว. เพื่อการกําหนดทิศทางการทํางานที่ชัดเจน ซึ่งในทาง ปฏิบัติ งานของแต่ละ PMU จะมีความทับซ้อนไม่ได้ตัดขาดจากกัน จึงควรต้องมีการหารือระหว่าง PMU ด้วย เช่นกัน
๘. บทบาทของ สกสว. ในการทํา Performance agreement กับ PMU น่าจะมีความใกล้เคียงกับที่ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ทํากับองค์การมหาชน แต่ไม่ใช่เป็นทําในลักษณะการจัดสรร ตามงวดเงิน แต่เป็นการทํา Budget allocation คือ การระบุวงเงิน และการเบิกจ่ายวงเงินกรอบใหญ่เพื่อการทําสัญญากับหน่วยงานระดับปฏิบัติ
๙. ระเบียบการใช้เงินจะต้องมีความชัดเจน เนื่องจากผู้รับทุนมีความหลากหลาย และบางแห่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ดังนั้น ระเบียบจะต้องมีความชัดเจนและครอบคลุมเพื่อให้ PMU สามารถดําเนินงานได้
๑๐. กลไกการติดตามและประเมินผลของหน่วยงานทั้ง ๓ ระดับ โดยมี สกสว. อยู่ตรงกลางระหว่าง สอวช. และ PMU จะนําไปสู่การมองเห็นอนาคต และร่วมกันกําหนดยุทธศาสตร์หลักที่จะทํางานร่วมกันจะดําเนินการต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ การทํางานร่วมกันควรเป็นไปในลักษณะการหารือร่วมกัน (Dialog process) โดยไม่ควรกําหนดกระบวนการทํางานแบบตายตัว (Rigid) มากเกินไป
มติที่ประชุม รับทราบกลไกการดําเนินงานระหว่าง สกสว. และ PMU โดยขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ในแต่ละระดับประสานการทํางานร่วมกันตามแนวทางข้อเสนอแนะของที่ประชุม รวมถึงการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาในระยะต่อไปด้วย
ระเบียบวาระที่ 3.2 การจัดทำงบประมาณตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
นายสุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อํานวยการ สกสว. มอบหมายให้ รศ. ดร. สมปอง คล้ายหนองสรวง รองผู้อํานวยการ สกสว. นําเสนอที่ประชุมถึงการจัดทํางบประมาณตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดย สกสว. ได้เสนอ “หลักเกณฑ์การจําแนกงบประมาณ เพื่อโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564” ที่ได้รับความเห็นชอบจาก กสว. แล้ว รายละเอียดหลักเกณฑ์ดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้
มาตรา 17 พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
(1) คําของบประมาณรายจ่ายประจําและรายจ่ายตามภารกิจของหน่วยงานที่มิใช่โครงการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและนวัตกรรม ให้เสนอต่อสํานักงบประมาณได้โดยตรง และให้สํานัก งบประมาณจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมแต่ละหน่วย
(2) คําของบประมาณเพื่อโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและนวัตกรรม ให้เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กําหนด และให้ กสว. พิจารณาคําขอและผลการดําเนินการของหน่วยงาน แต่ละหน่วยในปีที่ผ่านมาประกอบการจัดสรรเงินกองทุนให้เป็นงบประมาณของหน่วยงาน
งบประมาณด้าน ววน. กําหนดในมาตรา 17 (2) ซึ่งต้องจัดสรรงบประมาณผ่านกองทุนส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และจะต้องสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565 ซึ่ง คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบโดยหลักการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ครอบคลุมงบประมาณตามแผนงาน ตาม “โครงสร้างงบประมาณตามยุทธศาสตร์” ที่สํานักงบประมาณกําหนดขึ้น ดังต่อไปนี้
- แผนงานยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
- แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
- แผนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและ นวัตกรรม ครอบคลุมถึงกิจกรรม ดังต่อไปนี้
o กิจกรรมการวิจัยและพัฒนา
o กิจกรรมนวัตกรรมอย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ กิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมจะไม่โดยไม่รวม มาตรา 17 (1) ซึ่งต้องจัดสรรงบประมาณตรงจากสํานักงบประมาณ ประกอบด้วยประเภทงบประมาณ ดังต่อไปนี้ - งบประมาณบุคลากรภาครัฐ
- งบประมาณดําเนินงาน
- งบประมาณลงทุนโดยเฉพาะที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
และไม่รวม มาตรา 17 (2) ซึ่งอนุโลมให้ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกอบด้วยประเภทโครงการ ดังต่อไปนี้ - โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โครงการวิจัยและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ของประเทศ (ยกเว้นที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือ dual use ตามที่กระทรวงกลาโหมกําหนด)
และไม่รวมมาตรา 45 (1) (2) (4) ของ พ.ร.บ. การอุดมศึกษาฯ พ.ศ. 2562 และไม่รวมงบลงทุน และงบเงินอุดหนุนเพื่อนํามาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกําลังคนระดับสูง เฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
โดยขั้นตอนการดําเนินการต่อไปจะทําการสื่อสารกับหน่วยงานในระบบ ววน. และสํานัก งบประมาณเพื่อจัดแยกงบประมาณให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น จึงเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นและ ข้อเสนอแนะต่อการจัดทํางบประมาณตามมาตรา ๑๗ พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. สกสว. จะต้องมีข้อมูลการจัดสรรงบประมาณที่ผ่านมาว่าได้ลงทุนงบประมาณด้านการวิจัยและ นวัตกรรมไปในด้านใดแล้วบ้าง และเกิดผลลัพธ์ (Deliverable) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายประเทศหรือไม่ อย่างไร เพื่อนําไปสู่การจัดทําเป้าหมาย หลักเกณฑ์การขอรับงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป
๒. การกําหนดหลักเกณฑ์งบประมาณด้าน ววน. จะต้องมีการกําหนดเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเป้าหมายโดยลําดับความสําคัญของประเทศ และเกณฑ์นี้จะเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกกิจกรรมให้ ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานทําคําของบประมาณได้ตรงตามเป้าหมายของประเทศ และการจัดสรรงบประมาณวิจัย และนวัตกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๓. งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมถึงงบประมาณด้านการถ่ายทอด เทคโนโลยี และการจัดหาเทคโนโลยีเพื่อนํามาใช้สําหรับการวิจัยและสร้างนวัตกรรม (Technology Acquisition) โดยจะมีหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจในด้านนี้เพื่อให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยไปยังผู้ใช้ประโยชน์สูงสุด
๔. ควรมีการจัดทํา OKRs Landscape ของการดําเนินการผ่านมา เป้าหมายของประเทศ ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. ที่ระบุเป้าหมายของหลักเกณฑ์ฯ และ ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง และเสนอให้นํา OKRs Landscape มาพิจารณาในที่ประชุม เพื่อส่งข้อมูลต่อให้แก่หน่วยงาน บริหารจัดการทุน และหน่วยงานทําวิจัยและนวัตกรรมไดเ้ ห็นถึง OKRs Landscape ดังกล่าวเพื่อส่งข้อเสนอขอรับงบประมาณในปีน้ันๆ ต่อไป
๕. PMU จะเป็นหน่วยงานที่ตัดสินใจในการให้ทุนตาม OKRs Landscape ที่ทาง สกสว. ได้จัดทํา ทั้งในส่วนของงบประมาณแบบ Top down และ Bottom up โดยในส่วนของ Bottom up PMU จะเป็นผู้ ประกาศรับข้อเสนอโครงการ (Call for proposal) ภายใต้ OKRs ที่ได้ตลกลงกันไว้ และมีงบประมาณอีกส่วนหนึ่ง ที่กันไว้สําหรับข้อเสนอโครงการที่ยังไม่ตรงตามเป้าที่วางไว้ชัดเจน ซึ่งส่วนนี้นักวิจัยอาจสามารถรับงบประมาณโดยตรงได้
๖. PMU ต้องมีความสามารถในการคัดเลือกผู้มารับทุนว่ามีศักยภาพและความสามารถจะทําตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในการดําเนินงานจะต้องมีความยืดหยุ่น
มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้ สกสว. พิจารณานําข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3.3 การแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานพัฒนาและออกแบบระบบการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งที่ประชุมสืบเนื่องจากวาระ ๑.๑ เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ การมอบหมายให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ดําเนินการออกแบบและพัฒนาระบบงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ระบบการทํางาน ด้านการอุดมศึกษา ระบบการจัดสรรและบริหารทุนของประเทศ และระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของ ประเทศ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอที่ประชุมพิจารณาเสนอแนะต่อ รอว. จัดตั้งคณะกรรมการ/ คณะอนุกรรมการ/คณะทํางาน ๓ คณะ รวมถึงพิจารณาองค์ประกอบ บทบาทอํานาจหน้าที่ โดยมีรายละเอียด ดังน้ี
๑. ระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ออกแบบกลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทํางบประมาณ
- ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบMulti-year
- เสนอรูปแบบการจัดทําข้อตกลงในการดําเนินโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือ โครงการวิจัยและนวัตกรรมกับสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สกสว.) และข้อตกลงการพัฒนาการอุดมศึกษากับสํานักงานปลัดกระทรวง (สป.อว.)
๒. ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนาการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
- จัดทําข้อเสนอการยกเว้นมิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการ บริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
- พัฒนาและออกแบบกลไกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการ พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๓. การจัดโครงสร้างระบบหน่วยงาน
- ออกแบบระบบการทํางานด้านการอุดมศึกษา
- ออกแบบระบบการจัดสรรและบริหารทุนของประเทศ
- ออกแบบระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. บทบาทของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานระบบงบประมาณด้านการ อุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความเกี่ยวพันหรือความทับซ้อนกับคณะกรรมการพิจารณา งบประมาณด้านการอุดมศึกษา และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. ที่จัดตั้งขึ้นมาตรา ๑๒ พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือไม่ ซึ่งได้มีการชี้แจงเพิ่มเติมว่า บทบาท อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานชุดที่จะตั้งขึ้นนี้จะไม่ซ้ําซ้อน โดยจะ ทําภาพรวมของงบประมาณทั้ง ๒ ด้านให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ บทบาทหน้าที่ควรรวมถึงประเด็นการ เบิกจ่ายเงินจากกองทุนและการทําบัญชี และควรคํานึงถึงกรณีที่งบประมาณถูกจ่ายลงไปยัง PMU แล้วใช้ไม่หมด งบประมาณจะถูกจัดเก็บหรือส่งคืนไปที่ใด
๒. คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ควรมีผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนา และส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ซ่ึ่เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่วางหลักเกณฑ์กลางในการบริหารงานขององค์การมหาชน และผู้แทนสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่อยู่ระหว่างผลักดันเร่ืองน้ี เป็น องค์ปประกอบด้วยเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรงและสามารถผลักดันให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
๓. ควรขยายขอบเขตบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานระบบการ จัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ให้กว้างมากขึ้น โดยครอบคลุมเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี การบริหารจัดการและการแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ บัญชีนวัตกรรม และระบบนิเวศน์นวัตกรรม (Ecosystem) โดยอาจขยายขอบเขตภายหลังจากที่ทําเรื่องระบบการจัดซ้ือจัดจ้างสําเร็จแล้วได้
๔. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตั้งคณะทํางาน/คณะกรรมการการจัดโครงสร้างระบบหน่วยงานบทบาท จะเกี่ยวข้องกับการทํางาน (Function) ของหน่วยงานในกระทรวง อว. ซึ่ง ขณะน้ีกระทรวงมีพระราชบัญญัติบริหาร ราชการกระทรวง อว. แล้ว ดังนั้น การดําเนินงาน บทบาท หน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ/ คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานชุดนี้จะต้องสอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม การดําเนินงานควรดําเนินงานโดยคนที่ทํางานเกี่ยวกับ Function แต่อาจทําได้โดยการจัดทําข้อเสนอมายังคณะกรรมการปฏิรูปฯ เพื่อให้การเสนอแนะการทํางานที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานเช่นนี้ จะต้องมี องคาพยพในการสนับสนุนการทํางานที่เข้มแข็งมากโดยใช้อํานาจของกระทรวงด้วยเพื่อให้สามารถทํางานได้จริง
๕. ควรมีแนวทางในการเชื่อมโยงระบบ อววน. กับการทํางานของกระทรวงอ่ืนที่เกี่ยวข้อง โดย อว. ต้องจัดทําแผนขับเคลื่อน อววน. ภายในของกระทรวง และให้คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานท่ี แต่งต้ังขึ้นทําหน้าท่ีวางทิศทางในการทํางาน
มติที่ประชุม เห็นชอบให้มีการเสนอ รอว. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทํางาน ๓ คณะ ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ พร้อมทั้งพิจารณานําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ระเบียบวาระที่ 3.4 ข้อเสนอการจัดตั้ง Program Management Unit (PMU) ด้านความมั่นคงของประเทศ
พลตรี สมเกียรติ สัมพันธ์ รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม นําเสนอแนวคิดการจัดต้ัง PMU ด้านความมั่นคงของประเทศ โดยการบริหารงานวิจัยและพัฒนาการทหารของกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน ยึดหลักรวมการด้านนโยบายและงบประมาณไว้ที่กระทรวงกลาโหม และแยกการปฏิบัติการวิจัยไปตามหน่วยท่ีข้ึน ตรงของกระทรวงกลาโหม ใช้การบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากผู้มีส่วนเก่ียวข้องทุก ภาคส่วน ในนาม “คณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม” ประกอบด้วยคณะกรรมการ ๔ คณะ คือ
๑. คณะกรรมการนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม
๒. คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการทหาร กระทรวงกลาโหม (กวท.กห.) โดยภายใต้คณะกรรมการคณะนี้ ได้จัดตั้งอนุกรรมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการทหาร กระทรวงกลาโหม (อกวท.กห.) ประกอบด้วย
๑) อกวท.กห.บริหาร ทําหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ จัดทํานโยบายการวิจัย กลั่นกรองคําขอโครงการ และกล่ันกรองการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
๒) อกวท.กห.วัดผลและประเมินผล ทําหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์การวัดผล ติดตามประเมินผลโครงการ และให้ความเห็นชอบการดําเนินโครงการวิจัย
๓) อกวท.กห.ส่งเสริม ทําหน้าที่ ให้ข้อเสนอแนะการส่งเสริมการวิจัย พิจารณาหลักเกณฑ์ให้รางวัลนักวิจัย และคัดเลือกผลงานวิจัยดีเด่น
๓. คณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม(กมย.กห.)
๔. คณะกรรมการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม (กอป.กห.)
คณะกรรมการดังกล่าว เป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนการดําเนินการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ต้ังแต่ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการวิจัยและการมาตรฐาน ให้สามารถเชื่อมโยงสู่งานอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศได้อย่างมีเอกภาพ
ท้ังนี้งานวิจัยและพัฒนาด้านความมั่นคงมีลักษณะเฉพาะ ดังนี้
๑. ยุทโธปกรณ์/งานวิจัยมีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากสิ่งอุปกรณ์ทั่วไป (หายาก/มีราคาแพง/มีกฎหมายคุ้มครอง)
๒. ข้อจํากัดบางประการในการดําเนินการวิจัยและพัฒนา (บุคลากร/สถานที่/ห้วงเวลา/…)
๓. ข้อมูลหรือองค์ความรู้บางประการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาอาจส่งผลกระทบด้าน ความมั่นคง หรือเป็นข้อมูลที่มีชั้นความลับของทางราชการ
๔. เหตุผลและความจําเป็น/วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง อาทิ เพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการต่อรอง หรือ เพื่อเป็น Smart Buyer Smart User
๕. งานวิจัยและนวัตกรรมทางทหารอาจจะเกี่ยวข้องกับยุทโธปกรณ์หลักของกองทัพ
๖. งานวิจัยและนวัตกรรมทางทหารจะเกี่ยวพันกับระบบงานอื่นๆของกระทรวงกลาโหมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จึงเสนอให้มีการจัดตั้ง PMU ด้านความมั่นคงของประเทศ ในรูปแบบ Funding Agency เพื่อเป็น
กลไกในการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาเพื่อความม่ันคงแบบบูรณาการในภาพรวมของประเทศ ให้มีความเป็น เอกภาพ ลดความซ้ําซ้อน (ต่างคน ต่างทํา) อันจะส่งผลให้มีผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน เป็น ที่ยอมรับ สามารถขยายผลสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้กลไกการบริหารจัดการในรูปแบบบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยคณะกรรมการย่อย ๔ คณะ ดังกล่าวข้างต้น
ข้อคิดเห็นของที่ประชุม
๑. การจัดตั้ง PMU ให้ครอบคุลมภารกิจในหลายลักษณะที่ตอบโจทย์ของประเทศไม่ควรให้กระจาย (Fragmented) และเป็น Sectoral มากเกินไป
๒. กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมเป็นกองทุนระดับประเทศดังนั้นเทคโนโลยี ด้านการป้องกันประเทศสามารถเสนอของบประมาณผ่านกองทุนดังกล่าวน้ีได้
๓. มีข้อสังเกตว่า การวิจัยและพัฒนาด้านความมั่นคง จะเกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ (สทป.) ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนการวิจัยเฉพาะด้าน ภายใต้กระทรวงกลาโหม โดยสามารถ ปรับมาเป็น PMU ได้เหมาะสมกว่าสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สป.กห.) เนื่องจาก สป.กห. เป็นหน่วยงานด้านนโยบาย หากดําเนินการสนับสนุนทุนด้วยอาจเกิดปัญหาเรื่องการขัด ผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
๔. ควรมีการหารือในรายละเอียดร่วมกันระหว่าง สอวช. สกสว. สป.กห. และ สทป. เพื่อเสนอ โครงสร้างและกลไกการดําเนินการที่เหมาะสมต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบและขอให้นําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาเพื่อหาแนวทางการ ทํางานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ระเบียบวาระที่ 3.5 การจัดโครงสร้างส่วนราชการในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
นายสรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รายงานที่ประชุม ให้ทราบเรื่อง การจัดโครงสร้างส่วนราชการในกระทรวง อว. เป็นการนําเสนอในหลักการก่อน และภายหลังจากที่ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. เห็นชอบแล้ว จะนํากลับไปทํารายละเอียดการดําเนินงานต่อไป
นางอรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นําเสนอการแบ่งกลุ่มภารกิจ โครงสร้าง สป.อว. ๓ กลุ่มภารกิจหลัก และ ๑ กลุ่มภารกิจท่ัวไป ดังนี้
๑.ส่งเสริมและพัฒนากําลังคนและทุนทางปัญญา (Manpower& Brainpower)มีภารกิจ เกี่ยวกับ การสร้างและพัฒนากําลังคน Manpower ที่ตอบโจทย์ประเทศ การพัฒนา Brainpower การสร้าง เครือข่ายความร่วมมือ (Network/Partnership) และ การพัฒนานักศึกษา
๒. ส่งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศน์ ววน. (RDI ecosystem) มีภารกิจเก่ียวกับการจัดให้มีโครงสร้าง พื้นฐาน (Infrastructure) ข้อมูล (Information) บริการ (Service) และทุน (Seed fund) รวมถึง การสร้างความ ร่วมมือ (Partnership) เพื่อการพัฒนา อววน.
๓. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน อววน. (Transformation) มีภารกิจเกี่ยวกับการ Reinventing universities/ Research institutions การแบ่งกลุ่มยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย Reinventing Universities and Research Institutions การสร้างธรรมาภิบาล คุณภาพและมาตรฐาน
๔. ยุทธศาสตร์และสนับสนุน อววน. มีภารกิจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน อววน. ได้แก่ การจัดทํายุทธศาสตร์และแผน การเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างประเทศ การจัดทําฐานข้อมูล อววน. (Data lake) งาน เลขานุการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) คณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษา (กมอ.) และคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ.) และการสนับสนุน อววน. ได้แก่ งานบริหารงานกลาง งานพัฒนา ระบบบริหาร การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ การตรวจสอบภายใน การตรวจราชการ และงานด้าน กฎหมาย
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ที่ผ่านมา การเชื่อมโยงพื้นที่ของ อว. ดําเนินการผ่านมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ สําหรับโครงสร้างของ สป.อว. ใหม่นี้ ควรเชื่อมโยงพื้นที่ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย ๙ เครือข่าย ศูนย์ภาคของ กระทรวงวิทยาศาสตร์เดิม สํานักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ และโครงสร้างใหม่ ซึ่งรวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังชุมชนด้วย และควรดําเนินการร่วมกับกระทรวงต่างๆ เพื่อสร้างผลกระทบกับชุมชนและพื้นที่มากยิ่งขึ้น
๒. กระทรวง อว. มีหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานภายใต้กํากับที่มีองค์กรของรัฐรูปแบบใหม่ และองค์กร มหาชนจํานวนมาก ดังนั้น ควรมีกลไกให้เกิดการประสานการทํางานที่เชื่อมโยงและไม่ซ้ําซ้อน และดําเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งควรจะอยู่ภายใต้กิจกรรมที่ ๒ (กลุ่มภารกิจด้านการส่งเสริม พัฒนา และการใช้ประโยชน์ระบบ นิเวศน์ ววน.)
๓. การออกแบบโครงสร้างใหม่ของกระทรวงจะต้องคํานึงถึงงานที่จําเป็นมากกว่าการจัดคนลงโครงสร้าง โดย สป.อว. จะเป็นหน่วยงานที่อยู่ตรงกลางและมีงานที่จําเป็น ได้แก่ งานข้อมูล งานมาตรฐาน งานธรรมาภิบาล งาน Integration ของหลายๆ ส่วน ซึ่งจําเป็นต้องออกแบบให้ดีเพื่อให้เป็นโครงสร้างของการพัฒนา ความรู้ และงานเลขานุการของการประชุมคณะกรรมการชุดต่างๆ เช่น กกอ. กมอ.
๔. การจัดโครงสร้างต้องเห็นภาพรวมทั้งหมด และสิ่งที่ต้องทําให้ชัดคือการหาวิธี Interface กับ หน่วยงานอื่น ไม่ให้เกิดการซ้อนทับและสามารถทํางานร่วมกันได้ เช่น การ Interface กับหน่วยบริหารจัดการทุนด้าน กําลังคน (Manpower/Brainpower) สป.อว. จะต้องทําหน้าที่ตัวกลางบริหารจัดการ เป็นต้น นอกจากนี้ สป.อว. มี บทบาทชัดเจนในเรื่องการเป็นหลักในงานสนับสนุน (Core function) ได้แก่ Central shared service เช่น เรื่อง คลัง เรื่องต่างประเทศ ทํายังไงให้มีกลยุทธ์ (Strategy) และไปสนับสนุน (Support) หน่วยงานอื่น ๆ การเชื่อมโยง กับหน่วยงานต่างประเทศ และสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ให้มียุทธศาสตร์กับต่างประเทศ และ นโยบายจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และ คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) และการบริหารราชการท่ี เช่ือมโยงกับ สงป. ก.พ.ร.
๕. เพื่อให้เกิดความคล่องตัวทีมงานที่เป็น Agile team โดยอาจมาจากมหาวิทยาลัย เข้ามาร่วมทํางาน เสริมกับข้าราชการ และจะต้องเป็นทีมงานประจําที่สามารถดําเนินการต่อเนื่องด้วย ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรให้มีการ บรรจุข้าราชการเพ่ิม
๖. สป.อว. ควรกําหนดกิจกรรม Value chain ของแต่ละภารกิจให้ชัดเจน เช่น ด้านนโยบาย ด้าน งบประมาณ การใช้ประโยชน์ (Ecosystem) และการบริหารงานเชิงพื้นที่ เพื่อให้เห็นความชัดเจน และเห็นผลลัพธ์ ผลกระทบ และวางแผนปฏิบัติงาน (Action plan) ซึ่งต้องนําส่งรายละเอียดไปที่คณะกรรมการโครงสร้างกระทรวงฯ และส่งไปยัง กพร. ซ่ึงใช้เวลาประมาณ ๒ เดือนในการดําเนินการ
นางสาววิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นําเสนอภารกิจ หน้าที่ และอํานาจของ วช. ที่ภารกิจสอดคล้องกับกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และตอบเป้าหมาย OKR โดยโครงสร้างของ วช. จํานวน ๔ กอง ได้แก่
มติที่ประชุม
๑) กองสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรม ๑ มีภารกิจในการขับเคลื่อนโคงการ Grand Challenge และ การวิจัยและนวัตกรรมที่สําคัญด้านการพัฒนาเกษตรกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อม
๒) กองสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรม ๒ มีภารกิจในการขับเคลื่อนโคงการ Grand Challenge และ การวิจัยและนวัตกรรมที่สําคัญด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา และสาธารณสุช
๓) กองสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรม ๓ มีภารกิจในการขับเคลื่อนโคงการ Grand Challenge และ การวิจัยและนวัตกรรมที่สําคัญด้านการวิจัยพ้ืนฐาน และการส่งเสริมเส้นทางอาชีพ
๔) กองสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรม ๔ มีภารกิจขับเคลื่อนโครงการ Grand Challenges และ การวิจัยและนวัตกรรมที่สําคัญในด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการยุคใหม่
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การขับเคลื่อนโครงการ Grandchallenge เป็นเรื่องที่สําคัญและเป็นภารกิจที่ใหญ่และมีหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เกษตร โดยจะต้องเป็นการให้ทุนแบบ Competitive funding โดยมีความเฉพาะ (Specific) ที่แตกต่างจากหน่วยบริหารจัดการทุนอื่นๆ ดังนั้น จึงควรมีกลไกใน การหารือกับ PMU อื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความทับซ้อนกัน
๒. งานที่เป็นภารกิจสําคัญอีกประการหนึ่งของวช.นอกเหนือจากการให้ทุนคืองานมาตรฐานการวิจัย โดยขอให้มีการจัดเตรียมข้อมูลไว้เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการโครงสร้างกระทรวง และ กพร. ด้วย
๓. การจัดโครงสร้างของ วช. ซึ่งเป็นหนึ่งใน PMU ควรมีการบริหารจัดการที่คล้ายคลึงกับ PMU อ่ืนๆ โดยมีความยืดหยุ่น และในอนาคต อาจวางแผนปรับเปลี่ยนหน่วยงานไม่ให้เป็นราชการ
มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นําข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการจัดเตรียมรายละเอียดเพื่อ นําเสนอคณะกรรมการการจัดโครงสร้างกระทรวงฯ และ กพร. ตามลําดับ
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งต่อไปในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๐ – ๑๓.๓๐ น.