
รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2/2562
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งที่ประชุมทราบว่า การดําเนินงานของคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดําเนินการสอดคล้องและคู่ขนานกับ คณะที่ปรึกษา คณะกรรมการ และคณะทํางานชุดต่างๆ ซึ่งมีสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นฝ่ายเลขานุการเช่นกัน โดยมีการส่งต่อและเชื่อมโยง ข้อมูลในประเด็นสําคัญและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมาย ระเบียบ และการออกแบบระบบ บริหารจัดการด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องระบบงบประมาณ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม และระบบการติดตามประเมินผล
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 2.1 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการ ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อมา ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทํารายงานการ ประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมขอให้มีการปรับข้อความเรื่องการแบ่งกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา เป็น การแบ่งภารกิจการอุดมศึกษา ซึ่งมีภารกิจหลัก ๓ ภารกิจ ประกอบด้วย (๑) Global Research University (๒) กลุ่ม ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม และ (๓) กลุ่มที่ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่และชุมชน
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ 3.1 ความก้าวหน้าการจดัทํางบประมาณตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ฝ่ายเลขานุการได้รายงานที่ประชุมเพื่อทราบความก้าวหน้าและให้ความเห็นเกี่ยวกับกลไก การจัดทํางบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามพระราชบัญญัติ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา ๑๑ (๒) แห่ง พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ กําหนดให้ สภานโยบายมีหน้าที่และอํานาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้าน การอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวง และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของประเทศ ก่อนที่สํานักงบประมาณจะนําเสนอคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหาร งบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และ แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติ
ต่อมา สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติได้ดําเนินการเพื่อขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของ ประเทศ ดังนี้
๑. การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/๒๕๖๒ เมื่อวันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2562 มีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่สอดคล้องกับกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๗๐ รวมทั้งสิ้น ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย โครงการวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (Flagship) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งเป็นคํา ของบประมาณเดิมที่เคยส่งให้สํานักงบประมาณแล้ว ทั้งนี้ ในระยะเปลี่ยนผ่านได้กําหนดสัดส่วนงบประมาณ สําหรับโครงการ Flagship และโครงการที่เป็นคําของบประมาณเดิมไว้ที่ ๓0:๗0 ดังนั้น งบประมาณสําหรับ โครงการ Flagship รวม ๑๑,๑๐๐ ล้านบาท และงบประมาณสําหรับโครงการที่เป็นคําของบประมาณเดิมรวม ๒๕,๙๐๐ ล้านบาท
๒. สอวช. ได้เสนอเรื่อง (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565 กรอบ วงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในการ ประชุมเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวมทั้งสิ้น 37,000 ล้านบาท และระบบการ จัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และให้สภานโยบายเสนอสํานักงบประมาณ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
(๑) การจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดประชุม เรื่อง แนวทางทางการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อ วันที่ 26 กันยายน 2563 โดยเชิญหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมเข้าร่วมประชุม โดยได้สรุปจํานวนงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ว่าได้รับการจัดสรรในเบื้องต้นจากสํานักงบประมาณ จํานวน 24,945 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ๑) งบประมาณ ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จํานวน 4,700 ล้านบาท ๒) งบประมาณ ยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมที่จัดสรรตรงไปยังหน่วยรับงบประมาณโดยตรง จํานวน 7,741 ล้านบาท และ ๓) งบประมาณยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมที่เข้ากองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จํานวน 12,555 ล้านบาท โดยในจํานวนนี้ เป็นโครงการวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่เพื่อขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Flagship) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จํานวน 8,384 ล้านบาท และโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เป็นคําของบประมาณเดิมของหน่วยงาน จํานวน 4,171 ล้านบาท
(๒) การหารือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณด้านอุดมศึกษา และด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้ทํา หนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2562 เรื่องขอหารือข้อกฎหมายตาม มาตรา 11 (2) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กําหนดให้สภานโยบายมีหน้าที่และอํานาจพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจําปี ด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวง และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของ ประเทศ ก่อนที่สํานักงบประมาณจะนําเสนอคณะรัฐมนตรี และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน กําหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินตามมาตรา 11 (2) แล้ว ในการเสนอขอจัดสรร งบประมาณด้านการอุดมศึกษา และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้ดําเนินการตามมาตรา 1๒ (1) และ (2) โดยมีความประสงค์ขอหารือประเด็นข้อกฎหมายเพื่อให้การดําเนินการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 กําหนด ดังนี้
ก. งบประมาณด้านการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 11 (2) หมายความถึง งบประมาณทั้งหมดตาม มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา โดยมาตรา 12 (1) หมายความถึงงบประมาณเฉพาะ ได้แก่
งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนํามาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิต กําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ และเงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสภานโยบาย เพื่อใช้ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตาม มาตรา 45 (3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 โดยไม่รวมงบบุคลากรและงบดําเนินงาน รวมถึงงบรายจ่ายอื่นซึ่งเป็นงบประจํา
ข. งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามพระราชบัญญัติสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 11 (2) และ 12 (2) หมายความถึงงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสภานโยบาย เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
ต่อมา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เชิญผู้แทนเข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงตามข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทํางบประมาณตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 อย่างไรก็ตาม สคก. ยังไม่ได้ส่งผลการพิจารณากลับมายังกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. การจัดสรรงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีการเปลี่ยน กระบวนการโดยให้จัดสรรงบวิจัยและนวัตกรรมผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นไป ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวักตรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และ พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ งบประมาณที่ได้รับการ จัดสรรไม่ได้มีจํานวนลดลง
๒. ข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการจัดสรร ไม่เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบงบประมาณจํานวน ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท และต่อมาสํานักงบประมาณปรับลดกรอบวงเงินงบประมาณลงเหลือ ๒๔,๖๔๕ ล้านบาท ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวักตรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ อาจอธิบายได้ว่า เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านของกระบวนการ จัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ หากยังได้รับจัดสรรงบประมาณในลักษณะนี้ ต่อไป จะทําให้การดําเนินงานด้านงบประมาณไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ตั้งใจให้มีการปฏิรูป ระบบงบประมาณ ดังนั้น จึงเสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ เสนอประเด็นความเห็นไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
๓. การจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม สํานักงบประมาณ สอวช. สกสว. สํานักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สป.อว.) ควรดําเนินการร่วมกันเพื่อตกลงกรอบวงเงินงบประมาณก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี อย่างไร ก็ตาม กระบวนการจัดทํางบประมาณมีขั้นตอนและข้อพิจารณาหลายประการที่กําหนดไว้ในกฎหมาย งบประมาณ รวมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๔๒ กําหนดไว้ว่าการจัดทํางบประมาณต้องมี ผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์
๔. ในการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ ควรพิจารณาข้อมูลการจัดสรรงบประมาณย้อนหลัง ๓ ปี ประกอบกับเป้าหมายการลงทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และผลงานที่จะส่งมอบ นอกจากนี้ สภานโยบาย ควรได้รับข้อมูลภาพรวมงบประมาณของทั้งประเทศ รวมถึง แหล่งเงินอื่นๆ เช่น งบประมาณวิจัยและนวัตกรรมของรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการบริหารงบประมาณและ กําหนดนโยบาย
๕. คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ควรมองภาพเชิงระบบของการบริหารจัดการ งบประมาณ อาทิ ขั้นตอนและกลไกการจัดทํางบประมาณ ซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งงบประมาณ และการจัดสรร งบประมาณ
มติที่ประชุม รับทราบ และมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ไปพิจารณาดําเนินการฯ ต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 4.1 ความก้าวหน้าการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ฝ่ายเลขานุการได้รายงานที่ประชุมว่า สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบหลักการ จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ และให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะ ด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จํานวน ๓ หน่วย ในลักษณะ Sandbox ภายใต้ สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และมอบหมายคณะกรรมการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดําเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้แล้วเสร็จ และรายงานความก้าวหน้าต่อสภานโยบาย
สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
๑. จัดทําแนวทางและรายละเอียดของหน่วยบริหารและจัดการทุน จํานวน ๓ หน่วย ซึ่งจะทําหน้าที่เป็น Program Management Unit (PMU) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดําเนินงาน เป้าหมายการดําเนินงาน ผลงานที่จะต้องส่งมอบ และโครงสร้างการบริหารงาน
๒. จัดประชุมระดมความคิดเห็น โดยมีผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมเข้าร่วม จํานวน ๖๑ คน เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
๓. จัดทําร่างข้อบังคับคณะกรรมการอํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. …. โดยผ่านการพิจารณาให้ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิร่างกฎหมายลูกบท ภายใต้กฎหมายจัดตั้งกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน กรรมการ เรียบร้อยแล้ว
ฝ่ายเลขานุการจึงเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดตั้งหน่วยบริหารและ จัดการทุน จํานวน ๓ หน่วย เพื่อให้นําเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทราบในการประชุมครั้งต่อไป
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ระบบการจัดสรรงบประมาณในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ และเกาหลี มี ๒ ลักษณะ คือ จัดสรรตรงไปที่หน่วยปฏิบัติ และจัดสรรผ่านหน่วยให้ทุน โดยกรณีหน่วยงาน A Star ของประเทศสิงคโปร์และ Japan Society for the Promotion of Science (JSPS) ของประเทศญี่ปุ่น รับจัดสรรเงินวิจัยตรงโดย ไม่ผ่านหน่วยจัดสรรทุนวิจัย (Funding Agency) ซึ่งสําหรับประเทศไทยควรให้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ น่วยงานวิจัยรับไปดําเนินภารกิจเสนอรัฐบาลได้โดยตรงเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างหน่วยงานให้ทุนใน สิงคโปร์ เช่น IPI Singapore ได้รับการยอมรับว่าดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่ภายใต้กระทรวง การค้า (Ministry of Trade) ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานราชการ เป็นหน่วยงานเอกชน มีบทบาทในการเชื่อมโยงการ ทํางานแบบ Public Private Partnership ที่ดี ทําให้การให้ทุน Startups ในสิงคโปร์ประสบความสําเร็จ
๒. ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการทํางานของ PMU ดังนี้
- ควรคํานึงถึงหลักธรรมาภิบาล (Good governance) ซึ่งต้องมีการตรวจสอบการ ทํางานของคณะกรรมการบริหาร การประเมินผลการดําเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ตาม เป้าหมาย ซึ่งควรพิจารณาว่าเป็นภารกิจของหน่วยงานใด รวมถึงจะมีการดําเนินการ เชื่อมโยงกับคณะกรรมการบริหารอย่างไร นอกจากนี้ ควรจัดให้มีกลไกการค้าน อํานาจ โดยอย่างน้อยมีผู้แทน สอวช. และมีจํานวนกรรมการไม่มากเกินไป
- การแต่งตั้งประธานกรรมการ และผู้อํานวยการหน่วยให้เป็นบุคคลเดียวกันอาจทําให้ เกิดการขัดกันของผลประโยชน์ (Conflict of Interest) แต่กรณีเช่นนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อ มีความจําเป็นกรณีที่หาบุคลากรมาดํารงตําแหน่งผู้อํานวนการแบบเต็มเวลาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ได้มีการชี้แจงว่า การทํางานของ PMU มีกลไกการติดตามตรวจสอบ 4 ขั้นตอน คือ ๑) กรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ติดตามและประเมินผล ในฐานะที่หน่วย บริหารจัดการทุนอยู่ภายใต้สภานโยบาย ๒) กอวช. ในฐานะกรรมการบริหาร สอวช. ที่เป็นร่มนิติบุคคล ๓) สกสว. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ๔) สอวช. ในฐานะร่มนิติบุคคล และกรรมการบริหารหน่วย นอกจากนี้ ยังมีสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินอีกหนึ่งหน่วยงานซึ่งถือว่าเป็นระบบที่มี ความน่าเชื่อถือ
- ควรจัดให้มีกลไกการ Empower หน่วยงานที่มารับทุน เนื่องจากระบบบริหารจัดการ ของมหาวิทยาลัยยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ
- ควรจัดให้มี Learning Mechanism ที่เป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ (Informal) และ จัดให้มีกลไกการติดตามและประเมินผลในลักษณะ Double Loop Learning เนื่องจากความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ (Accountability) ของหน่วยงานเป็นเรื่อง สําคัญ และจําเป็นต้องมีข้อมูลเชิงลึก
- ควรคํานึงถึงการสร้างทักษะที่เป็น Soft side และ Skill set นอกเหนือจากประเด็น การปรับโครงสร้างของหน่วยบริหารจัดการทุนด้วย
- กําหนดตัวชี้วัด (OKR) ที่ชัดเจน แต่มีความยืดหยุ่น ซึ่งจะทําให้การดําเนินงานมี ประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ควรทําความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่า การทําวิจัยและนวัตกรรมมีความเสี่ยง ซึ่งต้องยอมรับความเสี่ยงในการให้ทุนด้วยว่าอาจจะไม่ประสบความสําเร็จทั้งหมด
๓. ข้อสังเกตเกี่ยวกับระเบียบของหน่วยบริหารจัดการทุนเช่นการรับและการจ่ายเงินการ จัดทําคําของบประมาณ และการติดตามประเมินผล ควรระบุประเด็นดังต่อไปนี้ให้ชัดเจน
- การเปิดบัญชี และการรับงบประมาณ (แบบเหมาจ่ายหรือไม่)
- งบประมาณที่เหลือต้องส่งคืนหรือไม่ และต้องแจกแจงรายละเอียดการใช้จ่ายหรือไม่
- ขั้นตอนและช่วงเวลาการจัดทําคําของบประมาณ
- กระบวนการตรวจสอบการดําเนินงาน จะทําระดับหน่วยรับทุนหรือไม่
- การติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน (Performance) และการบริหารงาน (Governance) จะทําเมื่อใด
- กรณีมีความจําเป็นต้องดําเนินงานหน่วยบริหารและจัดการทุนต่อไปอีกเกินกว่า ๓ ปี จะมีแนวทางอย่างไร
ทั้งนี้ ระเบียบการดําเนินงานของกองทุนบางส่วนอาจใช้ระเบียบเดิมของ สกสว. ไปพลางก่อนได้ ตามที่กฎหมายกําหนดไว้ในบทเฉพาะกาล เช่น เรื่องการรับ-จ่าย ภาระผูกพัน การยืมตัว การจัดซื้อจัดจ้าง (สําหรับเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างอาจพิจารณาตัวอย่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ขอและได้รับการยกเว้นบังคับใช้พระราชบัญญัติ จัดซื้อจัดจ้าง) และติดตามประเมินผล
๔. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการทํางานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานในแต่ละระดับ เช่น สอวช. สกสว. PMU และหน่วยรับทุน ซึ่งควรมีการออกแบบให้ดีและเป็นระบบ จึงได้เสนอให้ สกสว. มานําเสนอต่อ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งต่อไป
๕. ข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อบังคับคณะกรรมการอํานวยการสํานักงานสภานโยบายการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. …. มีดังนี้
ข้อ ๑๓ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการหน่วยบริหารและจัดการทุน จึงกําหนดไว้ใน
ข้อ ๑๕ ของข้อบังคับว่าให้นํากฎระเบียบของ สอวช. มาใช้บังคับกับการดําเนินงานของหน่วยบริหารและ จัดการทุน โดยกําหนดข้อยกเว้นในวรรคสองเพื่อเป็นกลไกแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการได้ในบางเรื่อง รวมทั้งกําหนดไว้ใน
ข้อ ๙ ให้ สอวช. ต้องให้ความช่วยเหลือในเรื่องธุรการ โดยเฉพาะเรื่องงบการเงิน โดย สอวช. สามารถคิดค่าบริหารจัดการได้
ข้อ ๑๔ การให้ผู้อํานวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนเป็นประธานกรรมการบริหารได้อีก ตําแหน่งหนึ่ง มีเหตุผลเพื่อป้องกันการหาคนที่เชี่ยวชาญในระบบวิจัยมาทํางานไม่ได้ และแม้ว่าจะมีความเสี่ยง ในเรื่องConflictofInterestแต่ก็มกีลไกป้องกันไว้ด้วยระบบตรวจสอบภายนอก๔ระดับรวมทั้งมีกลไกการ ติดตามและช่วยเหลือการบริหารโครงการที่กําหนดไว้ในข้อ ๖ ของข้อบังคับ
ข้อ ๑๕ โครงสร้างของการให้ทุนค่อนข้างมีความซับซ้อน ควรทําให้ Simplify เพื่อไม่ให้เสีย ทรัพยากรไปมากกับกระบวนการให้ทุน นอกจากนี้ ยังต้องคํานึงถึงเรื่องการสร้าง Ecosystem ให้เกิดขึ้นพร้อม กันด้วย และเพื่อความชัดเจนควรนําเสนอให้เห็นงานวิจัยตลอดห่วงโซ่ เพื่อให้เห็นว่าเงินทุนจะจัดสรรไปที่ส่วน ใดบ้าง ข้อ ๑๖ สอวช. ต้องเสนอสภานโยบายเพื่อออกประกาศว่า สอวช. เป็นหน่วยงานด้าน นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ทําหน้าที่ด้านการให้ทุน เป็นการชั่วคราว ข้อ ๑๗ การยืมตัวบุคลากรมาปฏิบัติงานในหน่วยบริหารและจัดการทุนรวมถึงการจัดซื้อจัด จ้างเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมมีข้อจํากัดและประเด็นต้องพิจารณาค่อนข้างละเอียด จึงควรหารือกรมบัญชีกลางเพื่อความชัดเจนก่อนการดําเนินการ
มติที่ประชุม
๑) เห็นชอบการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนจํานวน๓หน่วยเพื่อให้นําเสนอต่อสภา นโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อทราบในการประชุมครั้ง ต่อไป
๒) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ เชิญ สกสว. มานําเสนอกลไกการดําเนินงานร่วมกับ Program Management Unit (PMU) ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการ ประชุมครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 4.1 การเตรียมการสำหรับการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
กรรมการและเลขานุการ (นายกิติพงค์ พร้อมวงค์) รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงการ เตรียมการสําหรับการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีความก้าวหน้าในการดําเนินงาน ดังนี้
1. งบประมาณด้านการอุดมศึกษา ตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กําหนดกรอบแนวคิดจัดสรรงบประมาณตามมาตรา ๔๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติ การอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ และข้อเสนอหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามมาตรา ๔๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังนี้
1.1 กรอบแนวคิดจัดสรรงบประมาณตามมาตรา ๔๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการ อุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒
• กรอบแนวคิดในการจัดสรรงบประมาณการอุดมศึกษาตามมาตรา ๔๕ (๓) แห่ง พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นงบประมาณลงทุนและเงินอุดหนุนเพื่อนํามาใช้ในการ พัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
• การจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถ พัฒนาความเป็นเลิศและพัฒนากําลังคนระดับสูงเฉพาะทางในแผนงาน/โครงการด้านต่าง ๆ ดังนี้
แผนงานพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา
o การพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาให้ทัดเทียมระดับ นานาชาติ และมีความสามารถพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของประเทศ
o การพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาและมุ่งสร้างเครือข่าย ระดับโลก (Global Network) เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายผู้มีความสามารถสูงจากทั่วโลก (ผู้เรียน อาจารย์ นักวิชาการ)
o การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการจัดการศึกษา การวิจัย การสร้าง นวัตกรรม และการบริการวิชาการแก่สังคมที่เป็นเลิศ และเพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่รองรับการพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศ
o การพัฒนาระบบบริหารจัดการ/สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อสนับสนุน ความเป็นเลิศ เช่น ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม การอํานวยความสะดวกการทํางานร่วมกับภาคการผลิตและบริการ
o การพัฒนาเครือข่ายการทํางานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา การ ทํางานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และการร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศร่วม (Synergy) รวมถึงการเชื่อมโยงสู่การยกระดับและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ SME และผู้ประกอบการใหม่(IDE Acceleration) ในประเทศ การสร้างชุมชนนวัตกรรม แผนงานผลิตและพัฒนากําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของ
o การผลิตบัณฑิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทาง (Degree Program)
o การพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรระดับสูงเฉพาะทาง (Non-degree Program)
1.2 ข้อเสนอหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามมาตรา ๔๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒
• สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีและแผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
• สอดคล้องกับประเภทและกลุ่มของสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการ อุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งได้มีการจัดทํากรอบ แนวทางการจัดกลุ่มและประเภทสถาบันอุดมศึกษาตามภารกิจระดับผลลัพธ์ (Outcome) ไว้ ๓ รูปแบบ ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ใหม่และการวิจัยแนวหน้า (Frontier Knowledge Creation), การพัฒนาความสามารถ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคเอกชน (Industry’s Technological and Innovation Capacity) และ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับชุมชน (Area-based Development) โดยเน้นให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพ ภารกิจ และบริบทของตน
• สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการของประเทศทั้งในปัจจุบันและการคาดการณ์ในอนาคต
๒. งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามที่ระบุในมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และมาตรา ๑๗ (๑) และ ๑๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กําหนดแนว ทางการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ หลักเกณฑ์การจัดทํางบประมาณด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และระบบการจัดสรรงบประมาณและบริหาร งบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ดังนี้
๒.๑ กรอบวงเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
• ในการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ ตามที่ระบุในมาตรา ๑๑(๒) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ พิจารณาจากข้อมูล ดังต่อไปนี้
o เป้าหมายการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศพ.ศ. ๒๕๖๔
o กําหนดสัดส่วนกรอบงบประมาณในแต่ละแพลตฟอร์ม โดยพิจารณาจาก
- ประเด็นสําคัญของยุทธศาสตร์ชาติ
- นโยบายรัฐบาล
- ประเด็นสําคัญของนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน.
- งบประมาณที่ใช้ดําเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Flagship) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ๒.๒ หลักเกณฑ์การจัดทํางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม งบประมาณ
- ข้อเสนอหลักเกณฑ์การจัดทํางบประมาณเพื่อโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา ๑๗ (๑) และ ๑๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อใช้ในการจําแนกงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม เข้ากองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๒.๓ ระบบการจัดสรรงบประมาณและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
• กําหนดให้มีการบริหารจัดการในลักษณะ Platform Management ซึ่งอาจจัด ให้มีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดการบูรณาการ การทํางานและเกิดผลสัมฤทธิ์ตอบเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแต่ละแพลตฟอร์มและโปรแกรม โดยจะมีการ มอบหมายให้มีหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม (Program Management Unit: PMU) ซึ่งอาจเป็นหน่วยบริหารและจัดการทุน หรือหน่วยงานด้านการให้ทุน หรือหน่วยงานที่ทําวิจัยและสร้างนวัตกรรม หรือ หน่วยงานที่พัฒนากําลังคน หรือหน่วยงานที่ กสว. เห็นสมควร ทําหน้าที่บริหารจัดการและประสานงาน ร่วมกับภาคเอกชน กระทรวง มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม
๑. ในขั้นตอนของการจัดทํางบประมาณด้านอุดมศึกษา (มาตรา ๔๕(๓)) และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มาตรา ๑๗(๒)) ควรให้คณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีผู้แทนสํานักงบประมาณอยู่ในคณะกรรมการฯ อยู่แล้ว มีส่วนร่วมในการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ ก่อนเสนอสภานโยบาย และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่เสนอขอ โดยให้สภานโยบายมอบหมายคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทําหน้าที่จัดทํากรอบวงเงินงบประมาณ และพิจารณาคําของบประมาณของปีงบประมาณถัดไปด้วย
๒. แนวทางการจัดทํากรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้เพิ่มเติมข้อมูลความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และความจําเป็นของ ประเทศที่ต้องใช้งบประมาณในหลายด้าน ได้แก่ แนวโน้มกรอบวงเงินงบประมาณในภาพรวมเพื่อให้ งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เสนอขอเป็นกรอบวงเงินที่สามารถจัดสรรได้จริงและ เหมาะสมของประเทศในปีงบประมาณนั้น
มติที่ประชุม
๑) เห็นชอบ โดยให้ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณานําข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
๒) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ เชิญ สกสว. มานําเสนอเรื่องการจัดทํางบประมาณตาม มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมในครั้งต่อไป
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
๑) ประธานฯ ได้กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ เดือนละ ๑ ครั้ง โดยกําหนดเป็นวันจันทร์สัปดาห์ที่สองของเดือน โดยจะจัดประชุมที่ สอวช. ชั้น ๑๔ อาคารจัตุรัสจามจุรี
๒) ได้มีการจัดตั้ง Transformation Office ขึ้นภายใต้ สป.อว. เพื่อสนับสนุนการปรับบทบาทของมหาวิทยาลัย
มติที่ประชุม รับทราบ