ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565

13:30 น.
27 ตุลาคม 2565
ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
วันที่ : 27 ตุลาคม 2565
เวลา : 13:30 น.
ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 2/2565
  • สไลด์สภานโยบาย 2/2565
  • รายงานสภานโยบาย 2/2565

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องเพื่อพิจารณา
3.1 ร่างระเบียบสภานโยบาย ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัย และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

3.2 ร่างกฎหมายลำดับรองของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องหารือเชิงนโยบาย
4.1 รายงานดัชนีนวัตกรรมระดับโลกกับพัฒนาการด้านนวัตกรรมของประเทศไทย

กรอบมาตรการการนำ อววน. เพื่อหนุนเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emissions ของประเทศไทย
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
5.1 กรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการแต่งตั้งประธาน กรรมการพิจารณางบประมาณ

5.2 การขยายเวลาดำเนินงานและการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหาร และจัดการทุน

5.3 โครงการผลิตฉุกเฉินการแพทย์บัณฑิต

5.4 ร่างประกาศ และร่างระเบียบสภานโยบาย เกี่ยวกับข้อมูลการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5.5 การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมใน กสว.

5.6 การแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องเพื่อทราบ
6.1 แผนพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของประเทศ พ.ศ. 2566-2570

6.2 รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564

6.3 รายงานประจำปีของหน่วยงานในกำกับของสภานโยบาย

6.4 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริม นวัตกรรมการอุดมศึกษา
ระเบียบวาระที่ 7 เรื่องอื่น ๆ

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2565
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 ต่อมาฝ่ายเลขานุการได้จัดทำรายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการ
พิจารณาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ประธานสภานโยบายขอปรับแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 4.1 ข้อเสนอการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ของประเทศ ข้อคิดเห็นที่ประชุมข้อ 5 ขอแก้ไขเป็นความว่า
“5. เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรเฉพาะทางด้านศิลปะจำนวนมากได้ดำเนินการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในด้านการจัดการศึกษาและการวิจัย จึงควรส่งเสริมการจัดตั้งความร่วมมือ
ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตกำลังคนเฉพาะทางระดับสูงในลักษณะเดียวกัน รวมถึงการต่อยอดโครงการ
ศิลป์แผ่นดินของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วย”
และฝ่ายเลขานุการเสนอขอปรับแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 3.1 การพิจารณาการให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน
การอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) มติที่ประชุมข้อ 1 ขอแก้ไขเป็นความว่า
“มอบหมายให้คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษาตามคำสั่ง
สภานโยบาย ที่ 3/2564 ลงวันที่ 27 กันยายน 2564 มีอำนาจดำเนินการแทนสภานโยบายในการพิจารณา
กลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย และ
รายงานสภานโยบายทราบในการประชุมครั้งต่อไป ทั้งนี้ หากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบสูงให้เสนอสภานโยบาย
พิจารณา”

เรื่องเดิม
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 31
กำหนดว่า
“เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการดำเนินการตามส่วนนี้ หน่วยงานของรัฐอาจร่วมลงทุนใน
โครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน
ระเบียบของสภานโยบาย
มิให้นำกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาใช้บังคับแก่การร่วมลงทุนตาม
วรรคหนึ่ง
ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดระเบียบว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับการนำ
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้”
2. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่
4/2564 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 พิจารณาร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ปร ะโยชน์
พ.ศ. …. และมีมติให้ทบทวนหลักการและปรับแก้ไขร่างระเบียบตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม รวมทั้งนำไป
หารือและรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอสภานโยบายพิจารณาอีกครั้ง
การดำเนินงาน
1. สอวช. ได้ทบทวนหลักการและปรับแก้ไขร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้
ประโยชน์ พ.ศ. …. และนำเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิพิจารณาร่างกฎหมายลูกบทภายใต้
กฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศาสตราจารย์กิตติคุณบวรศักดิ์
อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ) ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 โดยมีผู้แทน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สป.อว. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สำนักงาน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อคิดเห็น ในประเด็นดังต่อไปนี้
1.1 การขัดหรือแย้งต่อกฎหมายหรือระเบียบของหน่วยงานของรัฐ เช่น การให้สิทธิประโยชน์
กับบุคลากรลาไปปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุนและให้กลับมาปฏิบัติงานได้โดยนับเวลาที่ลาออกไปสำหรับ
การคำนวณประโยชน์ตอบแทน อาจไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2551 หรือแนวปฏิบัติของสำนักงาน ก.พ. หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 การขัดหรือแย้งต่อกฎหมายอื่น โดยเฉพาะกฎหมายที่ให้อำนาจในการจัดตั้งบริษัท
เนื่องจากตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
กำหนดการยกเว้นกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเพียงฉบับเดียวเท่านั้น ระเบียบฉบับนี้
จึงขัดกับกฎหมายอื่นไม่ได้
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ….
และให้นำเสนอสภานโยบายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

2. สอวช. ได้จัดทำหนังสือแจ้งยืนยันความเห็นเกี่ยวกับร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้
ประโยชน์ พ.ศ. …. ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ก.พ.ร. ก.พ. สงป. กรมบัญชีกลาง และ สคร. โดย
หน่วยงานดังกล่าวได้ยืนยันความเห็นตามที่ได้ตรวจพิจารณาในที่ประชุม

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมข้างต้นแล้ว
สอวช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ได้เสนอเรื่อง นโยบายส่งเสริม University
Holding Company ในการประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม
และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยที่ประชุม
มีมติเห็นชอบนโยบายส่งเสริม University Holding Company ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ และในการประชุม
ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันพุธที่ 2 มิถุนายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างแนวทางปฏิบัติ (Guideline) เพื่อ
การจัดตั้งและดำเนินการนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) ของสถาบันอุดมศึกษาและ
สถาบันวิจัยของรัฐ โดยกำหนดหลักการและแนวทางให้แก่สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัย ของรัฐนำไป
ปรับใช้ให้เหมาะสม ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีความก้าวหน้าจัดตั้งและดำเนินการนิติบุคคล
เพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) ดังนี้
1) การจัดตั้ง University Holding Company โดยสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่ง ซึ่ง Holding
Company ดังกล่าวได้จัดตั้งและลงทุนในบริษัทลูกต่าง ๆ รวมอย่างน้อย 38 บริษัท เช่น บริษัท CU
Enterprise จำกัด โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งบริษัทลูกเป็น Holding Company ของแต่ละคณะ
เพื่อลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมของแต่ละคณะ
2) บริษัท CU Enterprise จำกัด และศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(CU Innovation Hub) ได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร University Holding Company Directorship
Certification Program (UHCDP) รุ่นที่ 1 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้บริหาร
สำหรับการเป็นกรรมการใน Holding Company ที่เน้นบริหารการลงทุนในธุรกิจฐานนวัตกรรม

เรื่องเดิม
ตามที่ สกสว. และ สอวช. ผลักดันพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ
นวัตกรรม พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมที่ได้รับทุนจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือ
สาธารณประโยชน์ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา และ
ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ต้องมีการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามที่กำหนดไว้ในมาตราต่าง ๆ เพื่อให้
การดำเนินการหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้เป็นไปอย่างราบรื่น
การดำเนินงาน
1. สกสว. สอวช. และทีมผู้เชี่ยวชาญ ยกร่างกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 ฉบับ โดย
ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายของ สกสว. ดังนี้
1.1 ร่างประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการรายงานผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ผู้ให้ทุนเป็นเจ้าของผลงานวิจัย
และนวัตกรรม พ.ศ. ….
1.2 ร่างประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง
สิทธิและหน้าที่ของคนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยที่จะได้รับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์
ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….
1.3 ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วย
การขอใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมโดยบุคคลภายนอก พ.ศ. ….
1.4 ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วย
การส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ….
1.5 ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และ
คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตาม
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ….
1.6 ร่างแนวทางของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
เกี่ยวกับการประกาศให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
แก่คนต่างด้าวซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ….
ทั้งนี้ สภานโยบาย ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 มีมติ
เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ทุนของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้
ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. ต่อมาได้มีการปรับแก้ไขเป็นร่างประกาศ โดยคณะอนุกรรมการ
ด้านกฎหมายของ สกสว. ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 และผ่านความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) วาระพิเศษ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่
31 สิงหาคม 2565

เรื่องเดิม
ดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index – GII) เป็นดัชนีระดับโลกในการจัดอันดับ
ความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ดำเนินการโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
(WIPO) และทาง WIPO ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีนวัตกรรมโลก GII ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 15 โดยจุดเด่นของ
ดัชนีนวัตกรรมโลก GII เน้นวัดระดับความสามารถทางนวัตกรรมในเชิงการเปรียบเทียบเพื่อสะท้อน
ความเข้มแข็งของระบบนวัตกรรมและประสิทธิภาพในการพัฒนาของแต่ละประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลของ
ประเทศต่างๆ มากกว่า 130 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ประกอบด้วยตัวชี้วัด 81 ตัวชี้วัด ภายใต้ปัจจัย
เข้าและปัจจัยผลผลิตทางนวัตกรรมใน 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านสถาบัน (Institution) 2) ปัจจัยด้าน
ทุนมนุษย์และการวิจัย (Human Capital and Research) 3) ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
4) ปัจจัยด้านระบบตลาด (Market Sophistication / Business Sophistication) 5) ปัจจัยด้านระบบธุรกิจ
6) ปัจจัยผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี (Knowledge and Technology Outputs) และ 7) ปัจจัย
ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ (Creative Outputs)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการติดตามผลการจัดอันดับดัชนี
นวัตกรรมโลก GII มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 และได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริม
การทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานและข้อมูลของภาคส่วนต่างๆ ตามแนวทางและนโยบาย
ของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือทำให้
ไทยก้าวสู่อันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573
การดำเนินงาน
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลดัชนี
นวัตกรรมโลก (GII) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และได้พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับ
ความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศไทยตามแนวทางของดัชนีนวัตกรรมโลก (GII) โดยได้จัดทำเป็น
รายงานดัชนีนวัตกรรมระดับโลกกับพัฒนาการด้านนวัตกรรมของประเทศไทย
ผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก GII ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อันดับของประเทศไทยขยับอยู่
ระหว่างอันดับที่ 43 – 44 สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังติดอยู่ในกับดักของการพัฒนาด้านระบบ
นวัตกรรม การยกระดับศักยภาพด้านระบบนวัตกรรมของประเทศ และนำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องยนต์หลักใน
การรับมือความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่รายล้อมอยู่ในปัจจุบัน ประเทศไทยต้องมี
การขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ชัดเจน โดยต้องกำหนดให้การนำพา “ประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรม” ถือเป็น
“วาระแห่งชาติ” ที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถหลุดออกจากกับดักการเป็นประเทศรายได้
ปานกลาง และสร้างความพร้อมสำหรับอนาคตเพื่อแข่งในเวทีโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้ง
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการขับเคลื่อนนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อ
1. Home Grown Technology ไทยต้องเป็นชาติเจ้าของเทคโนโลยีในส่วนที่มีศักยภาพอยู่แล้ว
และในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีการสร้างขึ้นใหม่
2. Regionalization of Innovation สร้างโอกาสทางนวัตกรรมให้แก่คนตัวเล็ก เช่น
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระดับภูมิภาค
3. Thailand in Global Value Chain เอกชนรายใหญ่และกลุ่มทุนไทย ต้องอยู่ในวงการ
ลงทุนทางนวัตกรรมโลก4
4. Sustainable Innovation นวัตกรรม BCG เพื่อตอบโจทย์สังคม สิ่งแวดล้อมและเมืองน่าอยู่
5. Data Driven Innovation นวัตกรรมฐานข้อมูลที่สร้างแบรนด์ การยอมรับในระดับนานาชาติ
6. Innovation Thailand Policy ปรับกฎหมายให้เอื้อต่อกระบวนการทางนวัตกรรม และให้
มีนโยบายนวัตกรรมเพื่อผลักดันไทยเป็น ชาตินวัตกรรม ติดอันดับใน 30 ประเทศที่มีความสามารถด้าน
นวัตกรรมของโลก
สำหรับการดำเนินการในระยะสั้นเพื่อตอบโจทย์ “วาระแห่งชาติ” ดังกล่าว ประเทศไทยต้อง
เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมใน 6 แนวทางสำคัญ ได้แก่
1) รัฐคือ Sandbox และ Accelerator ของนวัตกรรม เพื่อให้เกิดพื้นที่นำร่องและสร้าง
ความเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรม รวมถึงยกระดับการบริการภาครัฐและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐจากผู้ควบคุม กำกับ เป็นผู้ส่งเสริมและผลักดันให้
ประเทศมีความสามารถทางด้านนวัตกรรม
2) เร่งการเติบโตในการลงทุนทางนวัตกรรมเชื่อมกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
โดยเฉพาะในภาคเอกชนไทยที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงกว่าหน่วยงานภาครัฐอย่างโดดเด่น ดังนั้น หากเร่งส่งเสริม
ให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมจะช่วยเร่งการเติบโต การใช้ประโยชน์ การลงทุน
และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศ เพื่อสร้างผลผลิตทางนวัตกรรมที่ตอบโจทย์
ความต้องการของตลาดโลก
3) กระตุ้นกิจกรรมและสร้างฐานข้อมูลตลาดการเงินนวัตกรรมและตลาดทุนทาง
เทคโนโลยี โดยสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดธุรกิจเงินร่วมลงทุน ระบบการร่วมลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงใน
การพัฒนานวัตกรรมของภาคเอกชน และลดความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในระยะเริ่มต้น พร้อมทั้งสร้างโอกาส
การเข้าถึงแหล่งเงินทุนแก่ธุรกิจที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมผ่านสถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์
4) เพิ่มจำนวนวิสาหกิจฐานนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างทางธุรกิจ ไปสู่ประเทศที่
แข่งขันด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ รวมถึงเกิดการสร้างธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่
มูลค่า และเป็นการสร้างตลาดแรงงานทักษะสูงที่ใช้ความรู้เข้มข้นเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพมาสร้าง
ความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ อุตสาหกรรม และบริการ
5) กระตุ้นการจดทะเบียนสิทธิบัตรและใช้ประโยชน์สิทธิบัตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและ
บริการ ประเทศไทยมีการยื่นจดผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรืออนุสิทธิบัตรสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก แต่
นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากนัก จึงต้องพัฒนานโยบายเชิงรุก
ด้านการลงทุนและการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในประเทศ
และจะช่วยปรับปรุงการเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและระดับโลก รวมถึงการสร้างระบบนิเวศ
นวัตกรรมที่เอื้อต่อการกระตุ้นการเติบโตของทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในเชิงของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการ
คุ้มครอง การจดทะเบียนความสะดวกรวดเร็ว
6) เพิ่มจำนวนนวัตกรรมฐานความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่
สามารถนำไปสู่นวัตกรรมที่หลากหลาย สามารถสอดแทรกไปในหลายอุตสาหกรรม เช่น ท่องเที่ยว อาหาร
แฟชั่น บันเทิง ฯลฯ ทั้งนี้ การนำพลังอำนาจอ่อน (Soft Power) มาพัฒนาอุตสาหกรรมและทำให้เกิดการสร้าง
แบรด์ระดับโลกมีปรากฏให้เห็นในหลายประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีจุดเด่นด้านทุนทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์
หลากหลายและเป็นที่รับรู้ในเวทีสากล แต่การส่งเสริมและการใช้เครื่องมือทางการสื่อสารและการตลาดมา
สนับสนุนการรับรู้และการเติบโตในเวทีสากลยังมีอยู่จำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์เครื่องมือเหล่านี้เพื่อ
ผลักดันการสร้างอัตลักษณ์และแบรนด์ดิ้งนวัตกรรมไทยไปสู่สากล

เรื่องเดิม
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ
ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 สาระสำคัญคือ ประเทศไทยมีเจตนารมณ์ที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหา
ภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน
ปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065 และด้วยการสนับสนุน
ทางด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ประเทศไทยก็จะสามารถยกระดับเป้าหมายการลด
ก๊าซเรือนกระจกของประเทศหรือ NDC ขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งจะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของ
ไทยเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2050
เป้าหมายตามเจตนารมณ์ของประเทศไทยนี้มีความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยได้กำหนด
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน 4 สาขา ได้แก่ พลังงานและขนส่ง กระบวนการทาง
อุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ การจัดการของเสีย และการเกษตร รวมทั้งการปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสม
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (carbon sink) ทำให้ทุก ๆ ภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกันลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม การทำงานร่วมกับสาขา
เป้าหมายโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงกับกลไกนานาชาติ โดยเฉพาะกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ
และการบูรณาการกันทำงานของกระทรวงต่าง ๆ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยทุกภาคส่วนในการบรรลุ
เป้าหมายของประเทศ
การดำเนินงาน
1. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้
ดำเนินการจัดทำนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ (policy in action) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมโดยการจัดตั้ง
Innovation Consortium for Decarbonization การจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุน
(PMU) และการเชื่อมโยงกลไกด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและด้านการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ หรือ
UNFCCC
2. สอวช. ได้จัดทำข้อเสนอกลไกเชิงยุทธศาสตร์ด้าน อววน. ที่ประกอบไปด้วย กลไกด้าน
ความร่วมมือ กลไกการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี และกลไกสนับสนุนด้านการเงิน และได้ทำงานร่วมกับ
ภาคอุตสาหกรรมในการเสนอข้อริเริ่มในการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในลักษณะ Sandbox
เช่น สระบุรี Sandbox ระยอง Sandbox แม่เมาะโมเดล เป็นต้น

เรื่องเดิม
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
กำหนดไว้ดังนี้
1. มาตรา 11 (2) กำหนดให้สภานโยบายพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณ
ประจำปีด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ก่อนที่สำนักงบประมาณจะนำเสนอ
คณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตาม
กรอบวงเงินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒ นา
กำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
อนุมัติ
2. มาตรา 12 กำหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี
ด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแล้ว ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณ ให้
ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
2.1 มาตรา 12 (1) ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ให้นายกรัฐมนตรี
โดยข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา (กกอ.) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษาขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีบุคคล
ซึ่งสภานโยบายมีมติแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ มีผู้แทน กกอ. จำนวนไม่เกินสองคน ผู้แทนสำนักงบประมาณ
จำนวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ และปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น
กรรมการและเลขานุการ และจะแต่งตั้งผู้แทนสำนักงบประมาณตามจำนวนที่เห็นสมควรเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประเภทงบลงทุนและงบเงินอุดหนุนในการพัฒนาความเป็นเลิศ
ของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศของ
สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในความรับผิดชอบของกระทรวงก่อนเสนอไปยังสำนักงบประมาณเพื่อเสนอ
คณะรัฐมนตรี
2.2 มาตรา 12 (2) ในการเสนอขอจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ให้นายกรัฐมนตรีโดย
ข้อเสนอของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา
งบประมาณด้าน ววน. ขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีบุคคลซึ่งสภานโยบายมีมติแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ มีผู้แทน
กสว. จำนวนไม่เกินสองคน ผู้แทนสำนักงบประมาณจำนวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ และจะแต่งตั้ง
ผู้แทนสำนักงบประมาณตามจำนวนที่เห็นสมควรเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคำขอ
งบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ก่อนเสนอไปยังสำนักงบประมาณเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. 2562 มาตรา 17 (2) กำหนดว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม มีหน้าที่และอำนาจเสนอแนะกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาต่อสภานโยบาย
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณ
แบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน
การอุดมศึกษา โดยข้อเสนอแนะและความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

การดำเนินงาน
กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา
คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565
ให้ความเห็นชอบเป้าหมายผลผลิตและกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งเสนอ รองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ เป็นประธานกรรมการ และ
มอบหมาย นายสุเมธ แย้มนุ่น และศาสตราจารย์พีระพงศ์ ทีฆสกุล เป็นผู้แทนคณะกรรมการการอุดมศึกษาใน
คณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีเป้าหมาย
ผลผลิต และกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
เป้าหมายผลผลิตหลักที่จะส่งมอบของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย
1) นักศึกษารวม หลักสูตรระดับปริญญา (Degree) ประจำปีการศึกษา 2566 มีนักศึกษารวม
ทุกระดับการศึกษาจำนวน 1,385,086 คน จำแนกออกเป็น 16 กลุ่มสาขาวิชาตามต้นทุนงบประมาณต่อหน่วย
การผลิตบัณฑิต

2) การผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (10 S – Curve) ตาม
หมุดหมายที่ 1 – 6 ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และ
กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 จำนวน
415,525 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ของนักศึกษารวม

3) การพัฒนากำลังคนหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบ Non – Degree (Re Skills, Up Skills, New Skills)
ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 คน คิดเป็นประมาณร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรไทย
อายุ 15 ปีขึ้นไป วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ
4) การพัฒนากำลังคนตลอดช่วงชีวิต เปิดโอกาสให้ผู้เรียนกลุ่มอายุ 25 ปีขึ้นไป (Non – Age group)
ในระบบอุดมศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 275,000 คน คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของจำนวนประชากรไทยอายุ 25 ปี
ขึ้นไป
5) บุคลากรสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2566 จำนวนรวม 197,246 คน จำแนกเป็น
บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 68,113 คน คิดเป็นร้อยละ 34.53 และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน
129,134 คน คิดเป็นร้อยละ 65.47 หรือคิดเป็นสัดส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อสายสนับสนุน เป็น 1 : 2

6) โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของ
สถาบันอุดมศึกษา กำหนดผลผลิตโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ที่จะส่งมอบ
ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
การดำเนินการตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ที่มีมติอนุมัติข้อเสนอแนวทาง
การพัฒนา (Roadmap) ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดย
กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อยู่ในระยะที่ 2 ตามรูปแบบ
การจัดสรรงบประมาณในลักษณะ Result – based Budgeting ที่มีการกำหนดต้นทุนงบประมาณต่อหน่วย
การผลิตบัณฑิต (Budget Cost Per Unit) รายสาขาวิชา 16 กลุ่ม เชื่อมโยงกับประมาณการจำนวน
นักศึกษารวมที่เป็นเป้าหมายการจัดการศึกษารูปแบบปริญญา (Degree) ในช่วงปีงบประมาณดังกล่าว เพื่อ
กำหนดกรอบวงเงินงบประมาณตามมาตรา 45 (2)
งบประมาณตามมาตรา 45 (3) กำหนดแนวทางบริหารงบประมาณเพื่อให้เกิดความชัดเจน
โดยผลักดันการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา
และส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง
การพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สกสว. เสนอกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เมื่อวันที่
19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยมีแนวทางการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย
การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทที่ 23 ประเด็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และเพื่อให้หลุดพ้น
จากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง รวมถึงการมีงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานตามแผนด้าน
ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 ทั้งในส่วนของแผนงานต่อเนื่อง และแผนงานใหม่ ตลอดจน
การดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 อย่างมีประสิทธิภาพ
และคุ้มค่า โดยมีแนวทางการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณ ดังนี้
1. ประมาณการงบประมาณลงทุนด้าน ววน. ที่จำเป็นสำหรับการบรรลุตามเป้าหมาย โดย
พิจารณาจากผลกระทบที่ ววน. จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2. ประมาณการค่าใช้จ่ายด้าน R&D ทั้งหมดที่จำเป็น และงบประมาณ R&D ของภาครัฐ
3. คำนวณงบประมาณด้าน ววน. ที่จัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยหักงบประมาณจากเงินรายได้ภาครัฐและจากกองทุนอื่นๆ เงินค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และงบประมาณจาก
แผนงานอื่นๆ ออกจากงบประมาณ R&D ของภาครัฐ

ระมาณมากกว่า 1 ปี (Multi-Year Promised Grant) การจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยบริหาร
และจัดการทุนและหน่วยงานในระบบ ววน. มีลักษณะเงินอุดหนุนแบบเป็นก้อน โดยให้ความสำคัญต่อเป้าหมาย
การดำเนินงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามแผนด้าน ววน. ของประเทศ และยึดหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ งบประมาณ
ส่วนหนึ่งสามารถจัดสรรแบบผูกพันงบประมาณมากกว่า 1 ปี สำหรับโครงการ/แผนงานสำคัญที่เป็นประเด็นที่
สำคัญ จำเป็นเร่งด่วน และมีผลกระทบสูง มีความเป็นไปได้สูงในการบรรลุความสำเร็จที่มีความเบ็ดเสร็จ
สมบูรณ์อย่างชัดเจนในเวลาที่กำหนด โดยต้องผ่านความเห็นชอบจาก กสว.
1.5 การจัดสรรงบประมาณบนพื้นฐานของศักยภาพของนักวิจัยหรือกลุ่มวิจัย และ
โครงการวิจัย และมีระบบการจัดสรรที่โปร่งใสและมีธรรมาภิบาล ใช้กลไกของคณะกรรมการในการกำหนด
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ เน้นการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-based) ในการพิจารณา
จัดสรรงบประมาณ เช่น ข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมาที่สะท้อนศักยภาพในการวิจัย การบริหารจัดการและ
การส่งมอบผลงานของหน่วยรับงบประมาณ มีการประกาศหลักเกณฑ์และระเบียบ รวมถึงขั้นตอนการเปิดรับ
และพิจารณาคำของบประมาณให้หน่วยงานในระบบ ววน. รับทราบโดยทั่วกัน มีกลไกกลั่นกรองคำขอ
งบประมาณของหน่วยงานในระบบ ววน. โดยพิจารณาไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และจัดทำเป็นคำของบประมาณ
ของกองทุนส่งเสริม ววน. ซึ่งผ่านความเห็นชอบจาก กสว. และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. ที่
แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล
2. ระบบบริหารงบประมาณ
2.1 กลไกของระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ใช้กลไกของหน่วยบริหารและ
จัดการทุน (PMU) โดยมอบหมายให้ PMU ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสนับสนุนทุนแก่นักวิจัยและหน่วยงาน
ในระบบ ววน. เพื่อส่งมอบผลสัมฤทธิ์สำคัญตามเป้าหมายของแผนงานที่สอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมที่ PMU รับผิดชอบ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม คำนึงถึงประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้น
เป็นสำคัญ และใช้กลไกคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ที่กำกับ ดูแล ให้ข้อเสนอแนะต่อระเบียบ
หลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารงบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ให้ครอบคลุมในมิติต่างๆ
2.2 ระบบการติดตามและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรม และการติดตามและ
ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนและหน่วยงานในระบบ ววน. ใช้หลักการประเมิน
เพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation) อย่างมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน
และการบรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKRs) รวมถึงผลผลิตและผลลัพธ์
2.3 ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศกลางของประเทศ เพื่อให้
เกิดการบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนในระบบ ววน. อาทิ หน่วยงานกำหนดนโยบาย หน่วยงานจัดทำแผน
และจัดสรรงบประมาณ หน่วยบริหารและจัดการทุน และหน่วยรับงบประมาณ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสำหรับการติดตาม
ประเมินผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของหน่วยงานในระบบ ววน.
2.4 ระบบผลักดันการนำผลงานจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้
เกิดการขับเคลื่อนและบูรณาการความต้องการในการนำงานวิจัยไปแก้ปัญหาตามภารกิจของภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาสังคม รวมถึงภาคนโยบาย ร่วมกับหน่วยงานผลิตผลงานวิจัย และหน่วยงานส่งเสริมการใช้ประโยชน์
งานวิจัย เพื่อเร่งขยายการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม นโยบาย และวิชาการ
และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 เพื่อเพิ่มการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาและการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม
2.5 กลไกและมาตรการเพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของระบบ ววน. สามารถ
ขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างก้าวกระโดด อาทิ พัฒนา
กฎระเบียบ เครื่องมือ แนวทาง ที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีธรรมาภิบาล
การสร้างและสนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระบบ ววน. ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง
ระบบหนุนเสริมและสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมให้กับหน่วยงานในระบบ
ววน. ที่จะช่วยเอื้อให้นักวิจัย นวัตกร ภาคเอกชน และผู้ปฏิบัติอื่นๆ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล
2.6 กลไกในการระดมทุนและร่วมลงทุนกับกองทุนและหน่วยงานอื่น เพื่อเพิ่มงบประมาณ
และกำกับทิศทางงบประมาณด้าน ววน. ของประเทศ โดยงบประมาณที่ร่วมลงทุนอาจมาจากกองทุน
หมุนเวียนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ภาคเอกชนขนาดใหญ่ที่มีนโยบาย
ส่งเสริมด้านวิจัยและนวัตกรรม หรือจากมวลชนที่ต้องการบริจาคเพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานด้าน ววน.
การแต่งตั้งประธานคณะกรรมการพิจารณางบประมาณ
1. กกอ. ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ได้มีมติให้เสนอชื่อบุคคล
ที่สมควรดำรงตำแหน่งประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษาต่อสภานโยบายเพื่อแต่งตั้ง
เป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คือ
รองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ วรรณรัตน์
2. กสว. ในการประชุม ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 ได้มีมติให้เสนอชื่อ
บุคคลที่สมควรเสนอต่อสภานโยบายให้แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2567 คือ รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ

เรื่องเดิม
1. สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 ได้มีมติ
1.1 เห็นชอบหลักการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ และให้
จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน
3 หน่วย ในลักษณะ Sandbox ภายใต้ สอวช.
1.2 มอบหมายคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม ดำเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้แล้วเสร็จ และรายงานความก้าวหน้าต่อสภานโยบาย
2. สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบ
2.1 ร่างข้อบังคับคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. ….
2.2 ร่างประกาศคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรง
ตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร
หน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. ….
2.3 ให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม 3 หน่วย และแต่งตั้งประธานและกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุน
มีรายละเอียด ดังนี้
(1) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา
สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม
(2) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(3) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่
3. ประธานสภานโยบายได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุน
3 ฉบับ มีรายละเอียด ดังนี้
3.1 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา
สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย
(1) ศาสตราจารย์ ปริญญา จินดาประเสริฐ ประธานกรรมการ
(2) นายบัณฑิต ทิพากร กรรมการ
(3) นางจุรี วิจิตรวาทการ กรรมการ
3.2 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(1) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานกรรมการ
(2) นายรุจเวทย์ ทหารแกล้ว กรรมการ
(3) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ กรรมการ
3.3 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่
(1) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการ
(2) นางสีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการ
(3) นางสาวรมิดา พัชราวนิช กรรมการ

คณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี นับตั้งแต่
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 31 ตุลาคม 2565
การดำเนินงาน
1. สภานโยบายในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบ
การแยกหน่วยบริหารและจัดการทุน ซึ่งประกอบด้วย 1) หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ
ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม 2) หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
และ 3) หน่วยสนับสนุนทุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขั้นแนวหน้า ออกจากสำนักงาน
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยให้จัดตั้งเป็นองค์การ
มหาชน โดยใช้ชื่อว่า สำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนา
พื้นที่ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทองค์การมหาชน ภายใต้กระทรวง อว. เพื่อเป็นกลไก
บริหารและจัดการทุนที่สำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่
การใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ลงนามในหนังสือ
ถึง สำนักงาน ก.พ.ร. ขออนุมัติจัดตั้งสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน
และการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน) (รวพ.) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจาก
คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (อกพม.) และจะเข้าวาระพิจารณาของคณะกรรมการ
พัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ในวันที่ 27 กันยายน 2565 เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
3. ประกาศคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้น
จากตำแหน่งของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและ
จัดการทุน พ.ศ. 2562 กำหนดให้ สอวช. โดยความเห็นชอบของประธานกรรมการ กอวช. เสนอรายชื่อผู้ที่มี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม และมีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนต่อสภานโยบายเพื่อพิจารณา
แต่งตั้ง และให้จัดทำเป็นคำสั่งสภานโยบาย
4. เพื่อให้การกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนทั้ง 3 หน่วย ดำเนินการ
ต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างการเสนอจัดตั้ง รวพ. จึงขอเสนอ ดังนี้
4.1 ขอขยายเวลาดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุน 3 หน่วย จนกว่าจะมีการจัดตั้ง
สำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (องค์การมหาชน)
แล้วเสร็จ
4.2 แต่งตั้งคณะกรรมการหน่วยบริหารและจัดการทุนแทนคณะกรรมการชุดเดิมที่ครบวาระ
การดำรงตำแหน่ง ดังนี้
(1) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา
สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
1) รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการ
2) ศาสตราจารย์วัลลภ สุระกำพลธร กรรมการ
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ กรรมการ

(2) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
1) ศาสตราจารย์เกียรติคุณสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการ
2) นางวิไลพร เจตนจันทร์ กรรมการ
3) ศาสตราจารย์วันประชา เชาวลิตวงศ์ กรรมการ

(3) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
1) นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการ
2) นายสมพร ใช้บางยาง กรรมการ
3) นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการ

เรื่องเดิม
ตามที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และหน่วยงานร่วม
ดำเนินการ 9 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สถาบันพระบรมราชชนก และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษา
ฉบับสมบูรณ์การผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ และได้ผ่านการเห็นชอบจากสภาราชวิทยาลัย
จุฬาภรณ์ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จากนั้นได้นำส่งให้คณะทำงาน
เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาพิจารณากลั่นกรอง ในการประชุม
คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่
1 กันยายน พ.ศ. 2565 ซึ่งคณะทำงานฯ เห็นสมควรให้นำเสนอข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์
ดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดการศึกษา
ที่แตกต่างจากมาตรฐานในลำดับต่อไป โดยในการประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริม
นวัตกรรมการอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 คณะกรรมการพิเศษเฉพาะ
เรื่องฯ ได้มีมติเห็นชอบหลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ได้
นำเสนอ และให้ประสาน กระทรวง อว. และสำนักงบประมาณ เพื่อจัดทำรายละเอียดเสนอขอรับงบประมาณ
ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
การดำเนินงาน
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เสนอโครงการผลิต
ฉุกเฉินการแพทย์บัณฑิตและกรอบงบประมาณดำเนินงาน ดังนี้
1. สภาพปัญหาและเหตุผลความจำเป็นของโครงการ
การบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพของ
ประเทศ โดยการศึกษาของประเทศสวีเดนพบว่า การที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาในห้องฉุกเฉินเร็วขึ้นทุก ๆ
1 นาที จะสามารถลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี
(1) ปี 2561 สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอปฏิรูปการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อช่วยชีวิตและลดความ
พิการ โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล และให้เป็น
อำนาจของ อปท. รวมถึงกำหนดให้ สธ. และสถาบันผลิตบุคลากรทางการแพทย์ผลิต
และรักษาบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้เพียงพอในระยะ 10 ปี
(2) สถานการณ์ความต้องการกำลังคน
• จากกรอบอัตรากำลังของ สป.สธ. และ อปท. พบว่าประเทศไทยมีความต้องการนัก
ฉุกเฉินการแพทย์ไม่น้อยกว่า 40,000 คน ภายในปี 2570
• ปี 2564 พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพ โดยต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี
• ในปัจจุบันมีผู้ปฏิบัติงาน 5,000 – 6,000 คน (ร้อยละ 95 ผ่านการฝึกอบรม
ระยะสั้น) และที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตบัณฑิต ป.ตรี ที่มีทักษะสูง เพียง 674 คน
• ประเทศไทยยังขาดอัตรากำลังอย่างน้อยถึง 35,000 คนใน 5 ปี

(3) สถานการณ์การผลิตกำลังคน ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์
ระดับ ป.ตรี มีเพียง 5 สถาบัน จำนวนบัณฑิตที่ผลิตได้เพียง 180 คน/ปี
2. งบประมาณและแหล่งงบประมาณ:
▪ งบประมาณ ระยะ 5 ปีแรก จำนวนเงินรวม 1,918.5 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
งบประมาณดำเนินการ (ค่าใช้จ่ายในการศึกษาสำหรับผู้เรียน) 1,798.5 ล้านบาท
และงบประมาณลงทุน (การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการลงทะเบียน
และการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาศูนย์สถานการณ์จำลองในแต่ละ
ภูมิภาค 4 แห่ง) 120 ล้านบาท
▪ แหล่งงบประมาณ ประกอบด้วย 1) งบประมาณการเตรียมการช่วงแรก ส่วนหนึ่งจาก
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 2) งบประมาณที่จัดสรรจากรัฐบาลผ่านทางกระทรวง อว.
3) งบประมาณแผ่นดินจากสถาบันอุดมศึกษา และจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน
แห่งชาติ 4) งบประมาณจากค่าลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา โดยขอมติ
คณะรัฐมนตรีให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สามารถใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อส่ง
อาสาสมัคร หรือพนักงานฉุกเฉิน หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ๆ มาเรียนได้
ทั้งนี้ ข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์ฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
หลักสูตร: หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์ ระดับปริญญาตรี
ผู้รับผิดชอบ:
1) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
2) มหาวิทยาลัยมหิดล
3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4) มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
5) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
6) มหาวิทยาลัยพะเยา
7) มหาวิทยาลัยบูรพา
8) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
9) สถาบันพระบรมราชชนก
10) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ประเภทกำลังคน: กำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ในระดับผู้ประกอบโรคศิลปะ
จุดเด่นของหลักสูตร:
1) เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาซึ่งครอบคลุมทั้งสถาบันที่มีการผลิตบัณฑิตฉุกเฉิน
การแพทย์อยู่แล้วในปัจจุบัน และสถาบันที่ยังไม่เคยผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์มาก่อน องค์กรรับรองทาง
วิชาชีพ และสถาบันที่เกี่ยวข้องจัดทำหลักสูตรร่วมกัน เพื่อแบ่งปันทรัพยากรในการจัดการศึกษา และเพื่อขยาย
กำลังการผลิต

2) จัดการเรียนการสอนในระบบหน่วยกิจกรรม (Modular system) โดยกำหนดให้
หน่วยกิจกรรม (Module) เป็นการประเมินผลความสามารถในกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อถือไว้ใจได้ (Entrustable
Professional Activity; EPA) มุ่งเน้นการประเมินความสามารถในวิชาชีพแบบการกำหนดมาตรฐานชัดเจน
โดยยืดหยุ่นระยะเวลา (Fixed standard and flexible time) และให้มีการเทียบประเมินความสามารถเพื่อ
ลดหรือยกเว้นการศึกษาในบางหน่วยกิจกรรมได้ โดยในแต่ละหน่วยกิจกรรมครอบคลุมทั้งความรู้ด้านทฤษฎี
และปฏิบัติ ไม่แยกเป็นรายวิชาเฉพาะทฤษฎีหรือรายวิชาปฏิบัติ รวมถึงมีการผสานวิชาศึกษาทั่วไปเข้าไปใน
หน่วยกิจกรรมต่าง ๆ
3) สถานที่ฝึกปฏิบัติทั่วประเทศ และมีการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ เพื่อ
เพิ่มกำลังการผลิตและลดข้อจำกัดด้านการเข้าถึง
ระยะเวลาดำเนินการ:
1) ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 10 ปี (ระยะแรก ปี 2566 – 2570 และระยะ
ที่ 2 ปี 2571 – 2575)
2) ระยะเวลาของการประเมินผลหลังสำเร็จการศึกษา 6 เดือน – 1 ปี
จำนวนกำลังคนที่จะผลิต: 15,000 คน โดยในระยะ 5 ปีแรกผลิต 7,500 คน
ดังนี้
1) ผู้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาที่จบ ม.6 หรือเทียบเท่า จำนวน 5 รุ่น รวม 4,500 คน
2) ผู้เข้าศึกษาเป็นพนักงานฉุกเฉินการแพทย์พิเศษ จำนวน 5 รุ่น รวม 2,000 คน
3) ผู้เข้าศึกษาเป็นเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 5 รุ่น รวม 1,000 คน

เรื่องเดิม
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
กำหนดไว้ดังนี้
1. มาตรา 11 (7) สภานโยบายมีหน้าที่และอำนาจในการกำกับ เร่งรัด และติดตามให้มีการจัดทำ
ฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตลอดจนการบูรณาการและการเชื่อมโยงกันระหว่างฐานข้อมูลดังกล่าว และประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชน
2. มาตรา 22 (6) สอวช. มีหน้าที่และอำนาจในการประสานงานให้มีการจัดทำ บูรณาการ และ
เชื่อมโยงฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรม รวมทั้งสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย ทิศทาง และการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาการอุดมศึกษา และ
การวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลและผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ต่อสาธารณชนตามประกาศ
ตามมาตรา 11 (7)
พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ดังนี้
1. มาตรา 22 วรรคสาม การนำส่งหรือการเชื่อมโยงข้อมูล และการรายงานผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภานโยบายกำหนด
2. มาตรา 23
2.1 วรรคหนึ่ง ให้สถาบันอุดมศึกษาแจ้งหรือเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรม และ
หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะดำเนินการในระดับบัณฑิตศึกษาของนิสิตหรือนักศึกษาของตนต่อสำนักงานการวิจัย
แห่งชาติ รวมถึงรายงานผลการวิจัยและนวัตกรรมและวิทยานิพนธ์เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่สภานโยบายกำหนด
2.2 วรรคสาม ให้สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานของรัฐที่ให้ทุนในระดับบัณฑิตศึกษาแก่
นักศึกษาที่ศึกษาในต่างประเทศ แจ้งหรือเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะดำเนินการใน
ระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาที่รับทุนต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รวมถึงรายงานผลการวิจัยและ
นวัตกรรมและวิทยานิพนธ์เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภานโยบายกำหนด
3. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ภายใต้บังคับมาตรา 22 วรรคสี่และวรรคห้า สำนักงานการวิจัย
แห่งชาติ สอวช. และ สกสว. อาจเปิดเผยข้อมูลในฐานข้อมูล ตลอดจนรายงานผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชนได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภานโยบายกำหนด ทั้งนี้ ต้องเป็นข้อมูล
ที่ไม่กระทบต่อความลับทางการค้า ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือประโยชน์
สาธารณะอื่น
4. มาตรา 35 วรรคสอง หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเตือนตาม
วรรคหนึ่งภายในเวลาที่กำหนด ให้ได้รับสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายตามที่สภานโยบายประกาศกำหนดโดย
ข้อเสนอของ กสว.

การดำเนินงาน
1. สอวช. ดำเนินการยกร่างประกาศสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการแจ้ง การนำส่ง การเชื่อมโยงข้อมูล การรายงานผลงานวิจัยและนวัตกรรม และการเปิดเผย
ข้อมูลต่อสาธารณชน พ.ศ. …. เพื่อให้เกิดการจัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การบูรณาการ การควบคุมกำกับ การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ให้สามารถเชื่อมโยง
และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้ง การนำส่ง การเชื่อมโยง
ข้อมูล การรายงานผลงานวิจัยและนวัตกรรม และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน โดยมีคณะกรรมการกำกับ
นโยบายข้อมูลการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำกับดูแล
2. คณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิพิจารณาร่างกฎหมายลูกบทภายใต้กฎหมายจัดตั้ง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้พิจารณาร่างประกาศแล้วเสร็จ ในการประชุมครั้งที่
8/2565 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 และมีมติให้นำเสนอสภานโยบายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ต่อไป
3. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ยกร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการแจ้ง การนำส่ง การเชื่อมโยงข้อมูล การรายงานผลงานวิจัยและ
นวัตกรรม และการเปิดเผยข้อมูลการวิจัยในระบบข้อมูลสารสนเทศกลาง พ.ศ. …. เสนอต่อคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์
2564 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างระเบียบ และให้ วช. พิจารณาปรับแก้ไขร่างระเบียบตาม
ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
4. คณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิพิจารณาร่างกฎหมายลูกบทภายใต้กฎหมายจัดตั้ง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้พิจารณาร่างระเบียบแล้วเสร็จ ในการประชุมครั้งที่
9/2565 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 และมีมติให้ฝ่ายเลขานุการปรับแก้ไขร่างระเบียบตามข้อคิดเห็น
ที่ประชุมต่อไป
5. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ได้ตรวจพิจารณาร่าง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผยและการส่งข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. ….
โดยนำความคิดเห็นจากการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงมาใช้ประกอบการพิจารณา และได้ปรับแก้ไข
ร่างกฎกระทรวงให้เหมาะสมและครบถ้วน ฝ่ายเลขานุการจึงได้ปรับแก้ไขร่างประกาศและร่างระเบียบให้
สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว

เรื่องเดิม
1. พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
พ.ศ. 2562 มาตรา 40 กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) โดยมี
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิได้สังกัดกระทรวงตามมาตรา 40 (3) และ
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวง ซึ่งมิใช่สถาบันอุดมศึกษาตาม
มาตรา 40 (4)
2. ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิได้
สังกัดกระทรวง อว. ใน กสว. ตามมาตรา 40 (3) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ประกอบกับ ดร.ณรงค์
ศิริเลิศวรกุล กรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวง อว. ซึ่งมิใช่
สถาบันอุดมศึกษา ใน กสว. ตามมาตรา 40 (4) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 จึงทำให้ต้องมีการสรรหา
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิได้สังกัดกระทรวง อว. และกรรมการซึ่งเป็น
ผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวง อว. ซึ่งมิใช่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อทดแทน
ตำแหน่งที่ว่างลง
3. ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ข้อ 17 ระบุ
ว่า “กรณีกรรมการผู้แทนหน่วยงานและกรรมการผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้
สกสว. เสนอรัฐมนตรีพิจารณาเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนหน่วยงานและกรรมการผู้แทน
สถาบันอุดมศึกษาจากบัญชีรายชื่อสำรอง เพื่อเสนอสภานโยบายพิจารณาแต่งตั้ง โดยให้มีวาระการดำรง
ตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้แทนหน่วยงานและกรรมการผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาซึ่งตนแทน”
4. สภานโยบาย ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 ได้มีมติเรื่อง
การแก้ไขระเบียบสภานโยบายฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และ
การพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการส่งเสริม
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ดังนี้
4.1 เพิ่มเติมลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการโดยตำแหน่งในระเบียบดังกล่าวให้ชัดเจน
โดยเพิ่มข้อ 8 (6) ความว่า “กรรมการผู้แทนหน่วยงาน และกรรมการผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา เข้ามารับ
ตำแหน่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งตามมาตรา 40 (2)
4.2 ยกเลิกบัญชีสำรองของประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนหน่วยงาน หน่วยงานในระบบ
วิจัยและนวัตกรรม สังกัดกระทรวง อว. กรรมการผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. ระเบียบสภานโยบายฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง
และการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ข้อ 10 ระบุว่า “ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
สรรหาคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่สรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนหน่วยงาน กรรมการ
ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคณะอนุกรรมการสรรหาต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มี
ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือด้านสังคมศาสตร์ หรือ
ด้านมนุษยศาสตร์ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย
(1) ประธานอนุกรรมการสรรหา จำนวน 1 คน
(2) อนุกรรมการสรรหา จำนวน 4 คน โดยอนุกรรมการสรรหาอย่างน้อย 2 คน ต้องมาจาก
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กสว. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ กสว. และต้องไม่เป็น
ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการโดยตำแหน่งใน กสว.
(3) เจ้าหน้าที่ของ สกสว. จำนวน 1 คน เป็นเลขานุการ
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการอาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของ สกสว. จำนวน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้”
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ออกคำสั่ง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ 78/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหา
กรรมการผู้แทนหน่วยงานเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 เพื่อสรรหากรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่
มิได้สังกัดกระทรวง อว. และคำสั่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ 119/2565
เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหากรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัดกระทรวง
อว. ซึ่งมิใช่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 เพื่อสรรหากรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่
สังกัดกระทรวง อว. ซึ่งมิใช่สถาบันอุดมศึกษา
การดำเนินงาน
คณะอนุกรรมการสรรหาฯ ได้ดำเนินการสรรหาผู้แทนตามมาตรา 40 (3) และ (4) แห่ง
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ
ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ และ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ตามหลักเกณฑ์
ขั้นตอน วิธีการสรรหาที่คณะอนุกรรมการสรรหาฯ กำหนดเสร็จสิ้นแล้ว โดยได้ผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็น
กรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงใน กสว. ดังนี้
1. ผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิได้
สังกัดกระทรวง อว. คือ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สังกัดกรมวิชาการเกษตร
2. ผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่สังกัด
กระทรวง อว. ซึ่งมิใช่สถาบันอุดมศึกษา คือ นางสาววิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
สังกัดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ทั้งนี้ ขอให้กรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มิได้สังกัดกระทรวง อว. และ
กรรมการผู้แทนหน่วยงานที่สังกัดกระทรวง อว. ซึ่งมิใช่สถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับการแต่งตั้งมีวาระการดำรง
ตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

เรื่องเดิม
1. พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
มาตรา 64 กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุน วิทยาศาสตร์ การวิจัยและ
นวัตกรรม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่ง
สภานโยบายแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนัก
งบประมาณ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารแห่งประเทศ
ไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรม ด้าน
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ด้านสังคมศาสตร์ และด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งสภานโยบายแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า
สี่คนแต่ไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรมแต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการได้
2. สภานโยบาย ในการประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 มีมติแต่งตั้ง
ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุน
วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม และมีคำสั่งสภานโยบายที่ 8/2562 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2562 เรื่อง
แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุน
วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
3. สภานโยบาย ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 มีมติกำหนด
วาระการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและ
ประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม คราวละสามปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน
สองวาระติดต่อกัน ทั้งนี้ คำสั่งสภานโยบายที่ 1/2565 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง กำหนดวาระ
การดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผล
การสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ให้ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ตามคำสั่งสภานโยบาย
ที่ 8/2562 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ปฏิบัติหน้าที่ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2565
การดำเนินงาน
ฝ่ายเลขานุการขอเสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ (รายละเอียด
ปรากฏตามเอกสารประกอบการประชุม)

การดำเนินงาน
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 22
วรรคหนึ่ง กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการ บริหารจัดการ และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
และนวัตกรรมในภาพรวมของประเทศ ให้หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมแจ้งหรือเชื่อมโยงข้อมูล
การวิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงานต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
2. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศกลางด้าน
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570
3. คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2565
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 มีมติรับทราบแผนดังกล่าว

เรื่องเดิม
1. พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
มาตรา 11 (10) กำหนดให้สภานโยบายเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และมาตรา 22 (8) กำหนดให้ สอวช. จัดทำรายงานประจำปีของ
สภานโยบายตามมาตรา 11 (10)
2. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่
3/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564 : การฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
และสังคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาต่อไป
การดำเนินงาน
ฝ่ายเลขานุการได้เสนอ (ร่าง) รายงานฯ ต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ดังนี้
1. การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติ
รับทราบรายงานฯ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
2. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 4 ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง)
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติรับทราบรายงานฯ
3. การประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม
2565 ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติรับทราบรายงานฯ

เรื่องเดิม
1. พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562
กำหนดไว้ดังนี้
1.1 มาตรา 52 กำหนดให้ สกสว. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
และสภานโยบายภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และเผยแพร่รายงานนี้ต่อสาธารณชน
โดยรายงานประจำปี ให้แสดงรายละเอียดของงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้ว พร้อมทั้งผลงานและ
รายงานการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีของ สกสว. ในปีที่ล่วงมา
1.2 มาตรา 25 (7) คณะกรรมการอำนวยการ สอวช. มีหน้าที่และอำนาจในการให้ความเห็นชอบ
รายงานประจำปีของ สอวช. ตามมาตรา 52 เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสภานโยบาย
2. สภานโยบายได้อนุมัติการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
แห่งชาติ (สอวช.) ภายใต้การกำกับดูแลของสภานโยบาย จำนวน 3 หน่วย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562
ประกอบด้วย
2.1 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
2.2 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา
สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
2.3 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
3. ข้อบังคับคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. 2562 ข้อ 22 กำหนดให้หน่วยบริหาร
จัดการทุนจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลงานเสนอ กอวช. เพื่อนำเสนอสภานโยบายต่อไป ทั้งนี้ ภายใน
หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
การดำเนินงาน
1. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สกสว. ได้จัดทำ (ร่าง) รายงานประจำปีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 และคณะกรรมการฯ
มีมติเห็นชอบ โดยมีข้อแก้ไข ต่อมา สกสว. ได้นำ (ร่าง) รายงานประจำปีฉบับแก้ไขเสนอต่อคณะกรรมการฯ
อีกครั้ง ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 โดยที่ประชุมมีมติรับทราบรายงาน
ประจำปีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 และให้นำเสนอนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสภานโยบายตามกระบวนการต่อไป
2. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
2.1 สอวช. ได้จัดทำรายงานประจำปีสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมการ
อำนวยการ สอวช. (กอวช.) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น
ประธานกรรมการ) ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 มีมติรับทราบรายงาน
ดังกล่าว
2.2 สอวช. ได้เผยแพร่รายงานฉบับดังกล่าวต่อสาธารณชนเรียบร้อยแล้ว ผ่านเว็บไซต์ของ
สอวช. ที่ https://www.nxpo.or.th/th/annual-report/
3. หน่วยบริหารและจัดการทุน
กอวช. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 มีมติรับทราบรายงาน
ประจำปีงบประมาณ 2564 ของหน่วยบริหารและจัดการทุน 3 หน่วย

เรื่องเดิม
ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่
2/2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง
ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนสภานโยบาย โดยเมื่อคณะกรรมการพิเศษ
เฉพาะเรื่องได้มีมติในเรื่องใดแล้ว ให้ถือว่าเป็นมติของสภานโยบาย
การดำเนินงาน
1. กระทรวง อว. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน
การอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน
การอุดมศึกษาตามขั้นตอน และเปิดรับข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา โดย
การดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษายื่นข้อเสนอการจัดการศึกษาเชิงหลักการมายังกระทรวง
จำนวน 169 ข้อเสนอ และคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
มีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับสมบูรณ์และเห็นควรให้เสนอต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง
ด้านนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อขออนุมัติจัดการศึกษา จำนวน 4 ข้อเสนอ
2. ในการประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา
ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 มีมติเห็นชอบอนุมัติข้อเสนอการจัดการศึกษาฉบับ
สมบูรณ์ จำนวน 4 ข้อเสนอ ซึ่งมีเป้าหมายผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตอบโจทย์สำคัญของประเทศ จำนวนรวม
ทั้งสิ้น 17,455 คน