ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2562

14:00 น.
27 พฤศจิกายน 2562
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น ๕ อาคารอุดมศึกษา ๑ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
วันที่ : 27 พฤศจิกายน 2562
เวลา : 14:00 น.
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น ๕ อาคารอุดมศึกษา ๑ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 3/2562
  • สไลด์สภานโยบาย 3/2562
  • รายงานการประชุมสภานโยบาย 3/2562

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
3.1 หลักการการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ (Innovation Sandbox)

3.2 ร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... และ ร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน พ.ศ. ....

3.3 การแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ระเบียบวาระลับ ประชุมเฉพาะกรรมการ)

3.4 การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ระเบียบวาระลับ ประชุมเฉพาะกรรมการ)

3.5 การเสนอชื่อประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และการแต่งตั้งกรรมการผู้แทนหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม และสถาบันอุดมศึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ระเบียบวาระลับ ประชุมเฉพาะกรรมการ)

3.6 การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (ระเบียบวาระลับ ประชุมเฉพาะกรรมการ)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
4.1 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

4.2 รายงานผลการประชุมของคณะกรรมการบริหารกิจการทั่วไปของสำนักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2562

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการประชุมฯ
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำ
รายงานการประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการขอปรับแก้ไขข้อความ
หน้าที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๑๓ – ๑๗ ดังนี้
“ผู้แทนสำนักงบประมาณมีความเห็นว่า กรอบวงเงินงบประมาณดังกล่าว จะถือเป็น
คำของบประมาณซึ่งในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ สำนักงบประมาณต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีการ
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
การพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งต้องคำนึงถึงภาพรวมการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
ของประเทศ ลำดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ ซึ่งต้องจัดสรรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนต่างๆ
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้วย และขอให้มหาวิทยาลัยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการนำเงินนอกงบประมาณมาร่วม
สมทบในการดำเนินการ โดยที่ผ่านมามิได้คำนึงถึงส่วนนี้ ทั้งนี้แต่ละมหาวิทยาลัยควรมีการกำหนดแผนการใช้
จ่ายเงินนอกงบประมาณมาสมทบดังกล่าวด้วย”

เรื่องเดิม
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๔ กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ที่มีความความสำคัญยิ่ง
ต่อการพัฒนาประเทศหรือเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ในการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง
ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ สภานโยบายอาจมอบหมายให้บุคคล คณะบุคคล หน่วยงานของรัฐ หรือ
หน่วยงานภาคเอกชน รับผิดชอบดำเนินการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรมด้านใหม่นั้น หรือดำเนินการผลิตกำลังคน
ระดับสูงเฉพาะทาง ทั้งนี้ โดยให้ได้รับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ หรือการยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติของ
กฎหมายหรือกฎข้อบังคับใดมาใช้บังคับแก่การดำเนินงานของบุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ หรือ
หน่วยงานภาคเอกชน ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยข้อเสนอของสภานโยบาย
พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๕ ระบุให้คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอของสภานโยบาย อาจมีมติให้จัดตั้งหน่วยงานซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ที่มิใช่ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ
งบประมาณ และให้มีหน้าที่และอำนาจในการวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านใหม่หรือมีหน้าที่และอำนาจในการผลิต
กำลังคนระดับสูงเฉพาะทางนั้นก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
การดำเนินงาน
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะฝ่าย
เลขานุการสภานโยบาย ได้จัดทำหลักการการส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ ( Innovation Sandbox) โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการดำเนินการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมด้านใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
หรือเป็นประโยชน์ยิ่งต่อประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ในการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางที่มีความสำคัญยิ่งต่อ
การพัฒนาประเทศ โดยกำหนดให้มีกลไกการจัดตั้งโครงการ Sandbox ขอบเขตและเงื่อนไขการดำเนินโครงการ
การจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล รวมถึงกลไกการกำกับดูแลและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

เรื่องเดิม
มาตรา ๔๑(๖) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) มีหน้าที่และอำนาจในการ
บริหารกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามระเบียบที่สภานโยบายกำหนด
มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้ การรับเงิน การจ่ายเงินของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นไปตาม
ระเบียบที่ กสว. กำหนด โดยความเห็นชอบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
การดำเนินงาน
๑. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เสนอร่างระเบียบสภานโยบาย
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติว่าด้วยการบริหารกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม พ.ศ. …. ซึ่ง กสว. ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบและให้
นำเสนอต่อสภานโยบายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้ กสว. ใช้เป็นแนวทางในการบริหารกองทุนส่งเสริม
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป
๒. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เสนอร่างระเบียบคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน พ.ศ. ….
ซึ่ง กสว. ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบและให้นำเสนอต่อ
สภานโยบายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้ กสว. และ สกสว. นำไปใช้เป็นในการรับเงินการจ่ายเงิน และ
การเก็บรักษาเงินกองทุน
๑. คณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิร่างกฎหมายลูกบท ภายใต้กฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ
ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติว่าด้วย
การบริหารกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. และร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริม
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน พ.ศ. …. เรียบร้อย
แล้ว

เรื่องเดิม
๑. มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ของประเทศ กำหนดให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๓๕/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งดำรงตำแหน่ง
อยู่ในวันก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รวมถึงที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติม เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อมา ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๐๘/๒๕๖๒ และ ๒๐๙/๒๕๖๒
ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน และมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงาน
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม
๒. การขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศตามกฎหมาย
การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มุ่งเน้นขับเคลื่อนการปฏิรูปใน ๔ ด้าน ดังนี้
๑) ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ได้มีการจัดตั้งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม ทำให้ประเทศมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน มีความเป็นเอกภาพ โดยมีกลไกคณะกรรมการ
ประกอบด้วย ๑) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) ดูแล
งานด้านการอุดมศึกษา และ ๒) มีคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ดูแลงาน
ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๒) ด้านงบประมาณ มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จะมีการสนับสนุน
งบประมาณแบบ Block grant และ Multi-year โดยงบประมาณดังกล่าว จะถูกจัดสรรให้สอดคล้องกับนโยบาย
รัฐบาล ตอบโจทย์ประเทศ โดยมีการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างไม่ทับซ้อน และมุ่งเน้นให้มี
การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
๓) ด้านการบริหารจัดการ มีกำหนดกลไกหลายด้านช่วยการบริหารจัดการ เช่น (๑) การกำหนดให้มี
การจัดประเภทหน่วยงานในระบบการอุดมศึกษา และระบบวิจัยและนวัตกรรม ทำให้หน่วยงานมีทิศทางใน
การดำเนินงาน (๒) การปรับโครงสร้างส่วนราชการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการทำงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (๓) การเชื่อมโยง
ข้อมูลด้านอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำให้การจัดทำนโยบายอยู่บนพื้นฐานของความจริง
(Evidence based) (๔) การติดตามและประเมินผลในระดับนโยบาย ระดับกองทุน และระดับปฏิบัติ ทำให้
สามารถตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลที่จะเกิดขึ้นได้
๔) ด้านกฎหมาย มีประเด็นที่ให้ดำเนินการจัดทำกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ และหลักเกณฑ์ที่
สนับสนุนให้เกิดความคล่องตัว อำนวยความสะดวก ลดปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินงาน รวมถึงส่งเสริมและ
กระตุ้นให้เกิดการพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ และลงทุนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมมากขึ้น

การดำเนินงาน
การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒
สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
๑. เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ในการ
ประชุมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
มอบหมายให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ออกแบบและพัฒนาระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และ
ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการ
พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ระบบการทำงานด้านการอุดมศึกษา ระบบการให้ทุนของประเทศ และระบบ
โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๒) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ได้มีมติเห็นชอบให้มีการเสนอ รมว.อว. ให้แต่งตั้ง
คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
๒.๑) ระบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
• ออกแบบกลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ
งบประมาณ
• ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบ Multi-year
• เสนอรูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการดำเนินโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
หรือ โครงการวิจัยและนวัตกรรมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรม (สกสว.) และข้อตกลงการพัฒนาการอุดมศึกษากับสำนักงาน
ปลัดกระทรวง (สป.อว.)
๒.๒) ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
• จัดทำข้อเสนอการยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการ
บริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม
และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
• พัฒนาและออกแบบกลไกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และ
การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
๒.๓) การจัดโครงสร้างระบบหน่วยงาน
• ออกแบบระบบการทำงานด้านการอุดมศึกษา
• ออกแบบระบบการจัดสรรและบริหารทุนของประเทศ
• ออกแบบระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ
๒. การจัดโครงสร้างส่วนราชการในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ มีข้อสังเกต สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
๑) ข้อสังเกตการจัดโครงสร้างของ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม (สป.อว.) เช่น

• ควรมีกลไกการทำงานร่วมกับกระทรวงต่างๆ ชุมชนพื้นที่ และหน่วยงานกำกับภายใต้
กระทรวง เพื่อให้เกิดการประสานการทำงานเชื่อมโยงและไม่ซ้ำซ้อน
• ควรมีทีมงาน (Agile team) ที่มาจากมหาวิทยาลัยเข้ามาทำงานร่วมกับข้าราชการ เพื่อให้
เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น
๒) ข้อสังเกตการจัดโครงสร้างของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เช่น
• งานที่เป็นภารกิจสำคัญของ วช. นอกเหนือจากการให้ทุน คือ เรื่องมาตรฐานการวิจัย
• การจัดโครงสร้างของ วช. ซึ่งเป็นหนึ่งใน (Program Management Unit หรือ PMU) การ
บริหารจัดการของ วช. ควรคล้ายคลึงกับ PMU อื่นๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่น ทั้งนี้ ในอนาคต
อาจจะปรับเปลี่ยนไปไม่เป็นหน่วยงานราชการ ซึ่งขอให้ วช. จัดทำแผนการดำเนินงานด้วย
• ควรมีกลไกในการหารือกับ PMU อื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความทับซ้อนกัน
โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ มีมติรับทราบ และขอให้นำข้อเสนอแนะของที่ประชุมไป
ดำเนินการจัดเตรียมรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะกรรมการการจัดโครงสร้างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.)

เรื่องเดิม
ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ ได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งให้ทำหน้าที่คณะกรรมการ
อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ แทนสภานโยบาย
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินกิจการของสำนักงานสภานโยบาย
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มีความคล่องตัว ต่อเนื่อง เป็นไปด้วยความ
เรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ และได้มีคำสั่งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ที่ ๒/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการทั่วไปของสำนักงาน
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่และ
อำนาจเช่นเดียวกับคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ
และให้รายงานผลการดำเนินการของคณะกรรมการในการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมแห่งชาติ
การดำเนินงาน
ในระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ คณะกรรมการบริหารกิจการทั่วไปฯ ได้มีการประชุม
จำนวน ๓ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๒
และครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ตามลำดับ โดยได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ
ในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. แผนการดำเนินงานและงบประมาณของ สอวช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
๒. การปรับแผนการดำเนินงานของ สอวช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ และรับทราบผล
การดำเนินงานของ สอวช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
๓. โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของ สอวช. จำนวน ๑๖๐ อัตรา
๔. การให้สัตยาบันหลักเกณฑ์การคัดเลือก ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ผู้แสดงเจตนาสมัครใจจะไปเป็นพนักงานของ สอวช.
๕. ร่างข้อบังคับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วย
การบริหารจัดการการเงิน การบัญชี ทรัพย์สิน และงบประมาณ พ.ศ. ….
๖. ร่างข้อบังคับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วย
การบริหารงานบุคคล พ.ศ. ….
๗. ร่างข้อบังคับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วย
การตรวจสอบภายใน พ.ศ. ….
๘. ร่างระเบียบสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วย
ผู้ขับเคลื่อนพันธกิจเฉพาะเรื่อง พ.ศ. ….
๙. เครื่องหมาย (ตราสัญลักษณ์) ของ สอวช.
๑๐. การพิจารณากรอบการขึ้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ และการพิจารณา จ่ายเงินเพิ่ม
พิเศษตามผลการปฏิบัติงานของ สอวช. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒
๑๑. การพิจารณาค่าตอบแทนผันแปรของผู้อำนวยการ ตามผลการปฏิบัติงานของ สอวช.ประจำปี
งบประมาณ ๒๕๖๒
๑๒. รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๓. การกำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการและสัญญาจ้างผู้อำนวยการหน่วยบริหาร
และจัดการทุน
๑๔. การกำหนดเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการบริหารหน่วย
บริหารและจัดการทุน