ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562

11:00 น.
28 ตุลาคม 2562
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
วันที่ : 28 ตุลาคม 2562
เวลา : 11:00 น.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 2/2562
  • สไลด์สภานโยบาย 2/2562
  • รายงานการประชุมสภานโยบาย 2/2562

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ะเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
3.1 ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน ในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วาระลับ)

4.2 การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (วาระลับ)

4.3 การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (วาระลับ)

4.4 การแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (วาระลับ)

4.5 ร่างแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์

4.6 กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์

4.7 ร่างข้อบังคับคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหน่วยบริหาร และจัดการทุน พ.ศ. .... (ประชุมในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทน กอวช.)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
กำหนดการประชุมครั้งต่อไป

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มี
การประชุมฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่๑๙ สิงหาคม พ.ศ ๒๕๖๒ ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำรายงาน
การประชุม และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยมีกรรมการ ๑ ท่านขอเพิ่มเติมข้อความดังต่อไปนี้ ในส่วนของข้อคิดเห็นของที่ประชุมในระเบียบวาระที่ ๓.๑ หน้าที่ ๙

                               “การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับภาคเอกชน ในการหักค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นจำนวน ๓ เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปจริง ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และลดลงเหลือ ๒ เท่า ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๕๙๘) พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับเงินได้ ฉบับที่ ๓๙๑ ซึ่งหากประสงค์จะให้มีการขยายอายุของการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว ควรต้องประสานกับกระทรวงการคลังโดยเร็วต่อไป”

เรื่องเดิม

            สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันอังคารที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีมติเห็นชอบ ๑) ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐ และร่างกรอบแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ และ ๒) เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมทั้งสิ้น ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว

การดำเนินงาน

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย ได้ดำเนินงานและติดตามการดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีความก้าวหน้า สรุปได้ดังนี้

  • .ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕
    กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาใน
    การประชุมเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ ๒๕๖๒ ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมทั้งสิ้น ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท และ
    ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และให้สภานโยบายเสนอ
    สำนักงบประมาณพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • .) แจ้งให้หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมทราบว่า งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ
    พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ได้รับการจัดสรรในเบื้องต้นจากสำนักงบประมาณ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒
    มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๔,๖๔๕ ล้านบาท ประกอบด้วยงบประมาณยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน ๔,๓๕๐ ล้านบาท งบประมาณยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมที่ตรงไปยังหน่วยรับงบประมาณโดยตรง จำนวน ๗,๗๔๐ ล้านบาท และงบประมาณยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมที่เข้ากองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน ๑๒,๕๕๕ ล้านบาท
  • พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐ ได้มีการกำหนดตัวอย่างโครงการริเริ่มสำคัญ เช่น                  

แพลตฟอร์มที่ ๑ การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้

  • Frontier Research
  • Brainpower และ Manpower

แพลตฟอร์มที่ ๒ การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม

  • Grand Challenge

แพลตฟอร์มที่ ๓ การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

  • Bio-Circular-Green (BCG) Economy

แพลตฟอร์มที่ ๔ การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ

  • Sustainable Community

เรื่องเดิม

         มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ  กำหนดให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๓๕/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒  ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ใน
วันก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รวมถึงที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติม เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

          ต่อมา ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๐๘/๒๕๖๒ และ ๒๐๙/๒๕๖๒ ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน และมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม

การดำเนินงาน

          คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๖๒ มีข้อสังเกต ความเห็น และข้อเสนอต่อสภานโยบาย ดังนี้

  • ความก้าวหน้าการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำงานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานในแต่ละระดับ เช่น สอวช. สกสว. Program Management Unit (PMU) และหน่วยรับทุน ซึ่งควรมีการออกแบบอย่างเป็นระบบ จึงได้เสนอให้ สกสว. มานำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในการประชุมครั้งต่อไป
  • ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ Program Management Unit (PMU)
  • ควรคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
  • ควรจัดให้มีกลไกการ Empower หน่วยงานที่มารับทุน เนื่องจากระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ
  • ควรจัดให้มี Learning Mechanism ที่เป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ (Informal) และจัดให้มีกลไกการติดตามและประเมินผลในลักษณะ Double Loop Learning เนื่องจากความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ (Accountability) ของหน่วยงานเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงลึก
  • ควรกำหนดตัวชี้วัด (Objective and Key Result: OKR) ที่ชัดเจน แต่มีความยืดหยุ่น ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ควรทำความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่า การทำวิจัยและนวัตกรรมมีความเสี่ยง ซึ่งต้องยอมรับความเสี่ยงในการให้ทุนด้วยว่า อาจจะไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมด
  • การเตรียมการสำหรับการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

(๑) ข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับ
การจัดสรรไม่เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
กรอบงบประมาณจำนวน ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท และต่อมาสำนักงบประมาณปรับลดกรอบวงเงินงบประมาณลงเหลือ ๒๔,๖๔๕ ล้านบาท ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ อาจอธิบายได้ว่า เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านของกระบวนการจัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔  หากยังได้รับจัดสรรงบประมาณในลักษณะนี้ต่อไป จะทำให้การดำเนินงานด้านงบประมาณไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ตั้งใจให้มีการปฏิรูประบบงบประมาณ ดังนั้น จึงเสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ เสนอประเด็นความเห็นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ

(๒) ในขั้นตอนของการจัดทำงบประมาณด้านการอุดมศึกษา (มาตรา ๔๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒) และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มาตรา ๑๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ
การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒) ควรให้คณะกรรมการพิจารณางบประมาณ
ด้านการอุดมศึกษา และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีผู้แทนสำนักงบประมาณอยู่ในคณะกรรมการฯ อยู่แล้ว  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกันจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณ ก่อนเสนอ
สภานโยบาย และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่เสนอขอ  และขอให้สภานโยบายมอบหมายคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านการอุดมศึกษา และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณ และพิจารณาคำของบประมาณของปีงบประมาณถัดไปด้วย

เรื่องเดิม

          สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ มีมติเห็นชอบหลักการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนตามที่
ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ และให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน ๓ หน่วย ในลักษณะ Sandbox ภายใต้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และมอบหมายคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้แล้วเสร็จ และรายงานความก้าวหน้าต่อสภานโยบาย

การดำเนินงาน

          สอวช. จัดทำร่างข้อบังคับคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. …. โดยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิร่างกฎหมายลูกบท ภายใต้กฎหมายจัดตั้งกระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็น
ประธานกรรมการ และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดตามเอกสารแนบประกอบระเบียบวาระที่ ๔.๕-๑ และ ๔.๕-๒  โดยมีหลักการ ดังนี้

          ๑. การจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนให้ดำเนินการในลักษณะ Sandbox ภายใต้สภานโยบาย

          ๒. หน่วยบริหารและจัดการทุนไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล

          ๓. มีคณะกรรมการบริหารที่มีอิสระ (Autonomy)

          ๔. มีผู้อำนวยการ แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหาร

          ๕. สอวช. ทำหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคล ไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการบริหารและผู้อำนวยการ

          ๖. บุคลากรได้มาจากการโอนย้ายบุคลากรที่มีประสบการณ์เคยทำหน้าที่บริหารจัดการทุน หรือ
การยืมตัวจากหน่วยงานในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาปฏิบัติงาน

          ๗. มีระบบการติดตามและประเมินผล ๔ ระดับ ทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก

          ๘. ควร Spin-off ออกจาก ร่มนิติบุคคลของ สอวช. โดยเร็วที่สุด (ช้าสุดไม่ควรเกิน ๓ ปี)