ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564

10:00 น.
17 กรกฎาคม 2564
การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
วันที่ : 17 กรกฎาคม 2564
เวลา : 10:00 น.
การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 2/2564
  • สไลด์สภานโยบาย 2/2564
  • รายงานการประชุมสภานโยบาย 2/2564

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
3.1 ความก้าวหน้าวาระแห่งชาติการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG)

3.2 การสนับสนุนทุนนวัตกรรมสําหรับ SMEs
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 กรอบยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

4.1.1 กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2566 - 2570

4.1.2 ตัวอย่าง “โครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย: ดาวเทียมสํารวจพื้นพิภพ โดยคนไทยเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของชาติ (2565 – 2567)”

4.3 นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคน การอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ

4.4 การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox)

4.4 (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564-2570)
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อทราบ
5.1 ความก้าวหน้าการพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง ววน.

5.2 ความก้าวหน้าในการดําเนินงานของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการ ส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมและการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ

5.3 รายงานประจําปี 2563 สอวช.
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่น ๆ

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

ประธานสภานโยบายกล่าวเปิดการประชุม และกรรมการและเลขานุการสภานโยบาย (ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) ขอให้กรรมการสภานโยบายที่เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์แสดงตนเพื่อตรวจสอบองค์ประชุมก่อนเริ่มการประชุม จํานวน 7 ท่าน

รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ประธานที่ประชุม กล่าวต้อนรับกรรมการ สภานโยบาย กรรมการสภานโยบายผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาสภานโยบาย และผู้เข้าร่วมประชุม และแสดงความ ยินดีในกรณีที่คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 มีมติอนุมัติแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2563 รายละเอียดตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563

สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย ได้จัดทํารายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 และแจ้งเวียนให้ กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้

ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ขอแก้ไขรายงานการประชุม ในวาระสืบเนื่อง 3.2 ดังนี้

1. หน้า 11 และ 12 โดยให้นําประเด็นแนวทางการดําเนินการของ TASSHA ที่ปรากฏใน ข้อคิดเห็นของที่ประชุมไปเป็น
คําอธิบายในส่วนของการนําเสนอสาระสําคัญของการจัดตั้ง TASSHA

2. หน้า 13 ปรับแก้ไขมติการประชุมจากเดิม

ความว่า

“1. เห็นชอบแนวคิดการจัดตั้ง บทบาท และโครงสร้างของวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences,Humanities, and Arts; TASSHA) โดยให้มีหน่วยรับผิดชอบ และให้นําความเห็นและข้อเสนอแนะจาก ที่ประชุมไปพิจารณาดําเนินการต่อไป

2. มอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณา การดําเนินการตามนัยมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดยดําเนินการประสานงานกับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินการ ต่อไป”

เป็นความว่า

“เห็นชอบแนวคิดการจัดตั้ง บทบาท ของวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities, and Arts; TASSHA) โดยให้มีหน่วยรับผิดชอบ และให้นําความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมไปพิจารณาดําเนินการ ต่อไป”

มติที่ประชุม

รับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง

เรื่องเดิม

คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 มีมติเห็นชอบให้การขับเคลื่อนการพัฒนา เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป และให้คณะกรรมการ บริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) พิจารณากําหนดและดําเนินแผนงาน/โครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้าน การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570

การดําเนินงาน

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการบริหารฯ จึงจัดทําร่างแผนปฏิบัติ การด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 เพื่อใช้เป็น กรอบการทํางานสําหรับหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งชาตินี้ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและ ยั่งยืน และได้นําเสนอร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 และคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564

นอกจากนี้ มีความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยหน่วยงานต่าง ๆ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model รายสาขา ได้แก่

  1. การลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG
  2. การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างเครือข่าย “Carbon Market Club”เพื่อเป็นตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเพื่อชดเชย สําหรับกิจการที่ปล่อยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
  3. การลงทุนด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG และตัวอย่างผลกระทบที่สําคัญ เช่น การปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการผลิตสินค้าพรีเมียม การยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและ การแพทย์ เช่น ความก้าวหน้าของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 การสังเคราะห์สารตั้งต้นในการผลิตยา “ฟาวิพิราเวียร์” สําหรับเป็นยาต้านโควิด
  4. การปรับแก้กฎหมายเพื่อส่งเสริมการประกอบการธุรกิจ BCG
  5. การสื่อสารให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจในวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ

ความเห็นของฝ่ายเลขานุการฯ

  1. วาระแห่งชาติการพัฒนา Bio-Circular-Green (BCG Economy Model) สอดคล้องกับ นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 ในแพลตฟอร์มที่ 3 โปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งมุ่งเน้นการต่อยอดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์และวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิด BCG โดยกําหนดผลสัมฤทธิ์สําคัญ อาทิเช่น การสร้างมูลค่าเพิ่มจากงานวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมเป้าหมาย บนฐานเศรษฐกิจ BCG ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของ GDP และเกิดการจ้างงานทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย BCG เพิ่มขึ้น 1 ล้านคน เป็นต้น
  2. ควรมีการจัดลําดับความสําคัญของประเด็นที่ต้องเร่งดําเนินการ แต่ยังไม่จําเป็นต้องใช้ งบประมาณขึ้นมาเป็นวาระเพื่อพิจารณาในคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ และคณะกรรมการบริหารฯ เช่น การปลดล็อคข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรค การเร่งมอบหมายและสั่งการหน่วยงานรับผิดชอบให้ดําเนินการ ตามภารกิจ เป็นต้น

เรื่องเดิม

SMEs ถือเป็นฟันเฟืองสําคัญของระบบเศรษฐกิจไทย จํานวน SMEs ทั่วประเทศมีมากกว่า 3 ล้านราย การจ้างงานไม่ต่ํากว่า 12.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม SMEs ส่วนใหญ่มีขีดความสามารถในการ แข่งขันไม่สูงนัก สาเหตุสําคัญอย่างหนึ่งเนื่องมาจากขาดความสามารถด้านวิจัยและนวัตกรรม จากการสํารวจ ของ วช. และ สอวช. ปี 2563 มี SMEs จํานวน 6,269 บริษัทเท่านั้นที่มีกิจกรรมวิจัยและพัฒนา มีเงินลงทุน วิจัยและพัฒนารวมทั้งประเทศเพียง 24,214 ล้านบาท การส่งเสริมวิจัยและนวัตกรรมของ SMEs เป็นสิ่งจําเป็นต่อการสร้างศักยภาพและโอกาสทางการแข่งขัน และขยายการเติบโต (Scale Up) ให้แก่ SMEs เพื่อให้เป็นรากฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมของประเทศต่อไป

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีข้อริเริ่มจัดตั้ง “มูลนิธิกองทุนนวัตกรรมเพื่อ อุตสาหกรรม (Innovation Fund Foundation for Industry)” เพื่อเป็นองค์กรบริหารจัดการกองทุน นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม โดยกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมใน การพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถศักยภาพในการแข่งขันของ ภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งในระดับภูมิภาคจนถึงระดับชาติได้ ตลอดจนสร้างโอกาสทางการแข่งขันให้ ภาคอุตสาหกรรมเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน กองทุนฯ จะดําเนินการในลักษณะกองทุนจากเอกชนเพื่อช่วย เอกชน โดยการระดมเงินทุนจากการบริจาคของธุรกิจขนาดใหญ่ จํานวนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของการช่วยเหลือ SMEs ในการเพิ่มขีดความสามารถด้าน นวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงเห็นควรให้การสนับสนุน การจัดตั้งกองทุนนวัตกรรมของ ส.อ.ท. เพื่อเป็นกลไกในการเพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรมสําหรับ SMEs

การดําเนินงาน

  1. สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ ส.อ.ท. ร่วมกันจัดทําหลักการ ของการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม (Innovation Fund) เพื่ออุตสาหกรรม ดังนี้

1.1 กองทุนนวัตกรรม (Innovation Fund) เพื่ออุตสาหกรรม จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลใน รูปแบบมูลนิธิกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (Innovation Fund Foundation for Industry) โดย ส.อ.ท.

1.2 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นเงินทุนสนับสนุน SMEs ให้มีศักยภาพในการพัฒนาหรือ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของ ภาคอุตสาหกรรมไทย

1.3 ให้มีการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) เข้ากองทุนนวัตกรรม ในระยะ 3 ปีแรก ในอัตราส่วน 50 : 50 โดยภาครัฐจะสนับสนุน เมื่อภาคเอกชนได้สนับสนุนงบประมาณเข้ากองทุนนวัตกรรมแล้ว

1.4 ได้ประสานกับกรมสรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับบริษัทที่บริจาคเงิน เข้ากองทุนให้สามารถนําไปหักค่าใช้จ่ายได้ไม่ต่ํากว่า 2 เท่า ระยะเวลา 3 ปี

  1. คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 มีมติเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและมูลนิธิ กองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดังนี้

2.1 เห็นชอบในหลักการกับรูปแบบการดําเนินงานที่ถือได้ว่าเป็นกลไกรูปแบบใหม่ (New funding modality) โดยผ่านกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม แต่ขอให้จัดทําข้อมูล ซึ่งแสดงถึงความ แตกต่างจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการสร้างนวัตกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ชัดเจน ก่อนนําเสนอ ต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาต่อไป

2.2 ขอให้ศึกษาประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการ เพื่อให้กองทุนส่งเสริม ววน. สามารถจัดสรรงบประมาณเข้าตามระบบดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง

2.3 ควรจัดให้มีระบบความรับผิดรับชอบ (Accountability) ที่ชัดเจน ซึ่งประกอบด้วย การติดตามประเมินผล การเสนอรูปแบบใหม่ในการบริหารจัดการ โดยดําเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ (ภายใต้การนําโดยภาคเอกชน) ทั้งนี้ สกสว. อาจเข้าไปมีส่วนช่วยสนับสนุน การบริหารจัดการกองทุนดงักล่าวในระยะแรกที่รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมววน.

2.4 ควรศึกษาแนวทางให้มีรูปแบบการทํางานที่สามารถยกระดับผู้ประกอบการได้ทั้ง ภาคส่วน มากกว่าการช่วยเหลือในลักษณะโครงการเดี่ยว หรือ เอกชนรายเดียวต่อหนึ่งโครงการ

  1. กสว. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ได้รับทราบความก้าวหนา้ การจัดตั้งกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม ภายใต้ ส.อ.ท. โดย ส.อ.ท. ได้ดําเนินการนําข้อคิดเห็นของที่ประชุม กสว. ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 ไปดําเนินการ ดังนี้

3.1 จัดทําข้อมูลที่แสดงถึงความแตกต่างจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการสร้าง นวัตกรรมจากมูลนิธิกองทุนนวัตกรรมฯ เปรียบเทียบกับหน่วยงานให้ทุนของภาครัฐ

3.2 ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและมูลนิธิ กองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สอวช. ได้หารือร่วมกับสํานักงบประมาณ ได้หลักการเบื้องต้นว่าไม่มีประเด็น ข้อติดขัดทางกฎหมาย โดยมีข้อสังเกตและความเห็นของสํานักงบประมาณ ดังนี้

ข้อสังเกต : เงินงบประมาณสามารถจัดสรรให้กองทุนนวัตกรรมซึ่งไม่ใช่หน่วยรับงบประมาณได้หรือไม่

3.2.1 การโอนเงินงบประมาณมีข้อกําหนดห้ามไว้เฉพาะการโอนงบประมาณ ระหว่างส่วนราชการ เนื่องจากแต่ละส่วนราชการสามารถขอตั้งงบประมาณและเป็นหน่วยรับงบประมาณได้เอง การโอนงบประมาณจะทําได้เฉพาะกรณีที่มีกฎหมายให้อํานาจไว้เท่านั้น

3.2.2 กองทุนนวัตกรรมจัดตั้งขึ้นเป็นมูลนิธิ (องค์กรเอกชน) ไม่ได้มีสถานะเป็น กองทุน โดยไม่มีกฎหมายกําหนดห้ามโอนเงินให้เอกชนเพื่อทําภารกิจแทนหน่วยงานของรัฐ แต่การโอนต้องทํา ภายใต้วัตถุประสงค์ของหน่วยงานรัฐนั้น

3.2.3 ข้อเสนอแนะการบริหารงาน : หากหน่วยงานของรัฐ เห็นว่าควรมอบภารกิจ ให้เอกชนดําเนินการ ก็ควรให้อํานาจไปทั้งหมด และรัฐทําหน้าที่ติดตามผลว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ โดย ไม่จําเป็นต้องทําหน้าที่บริหารหรือใช้งบประมาณที่ให้ไปเอง

ข้อสังเกต : มูลนิธิสามารถเป็น Program Management Unit (PMU) เพื่อรับ งบประมาณไปจัดสรรต่อให้หน่วยงานวิจัยได้หรือไม่

3.2.4 การกําหนดให้หน่วยงานใดเป็น PMU เป็นไปตามหน้าที่และอํานาจ และ หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

3.2.5 การจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริม ววน. ให้หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กสว. กําหนด

3.3 การจัดให้มีระบบความรับผิดรับชอบ (Accountability) ที่ชัดเจน โดยอาจมี การวางแผนการติดตามและประเมินผลโครงการ ดังนี้

3.3.1 ผู้ได้รับการสนับสนุนต้องส่งรายงานความก้าวหน้าของโครงการนวัตกรรมเป็น ระยะ ๆ อย่างเหมาะสม และมูลนิธิฯ ติดตามผลผลิตเมื่อสิ้นสุดโครงการ และผลกระทบหลังสิ้นสุดโครงการ ไประยะหนึ่ง เพื่อประเมินผลกระทบเชิงบวกที่ได้รับจากการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม

3.3.2 หากการนํานวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนไปใช้ประโยชน์ และประสบ อุปสรรค ไม่สามารถสร้างผลกําไรหรือผลกระทบเชิงบวกได้ มูลนิธิฯ สามารถพิจารณาให้การสนับสนุนเพิ่มเติม ได้เป็นกรณีไป

3.4 รูปแบบการทํางานที่สามารถยกระดับผู้ประกอบการได้ทั้งภาคส่วนมากกว่า การช่วยเหลือในลักษณะโครงการเดี่ยว หรือ เอกชนรายเดียวต่อหนึ่งโครงการ โดยได้กําหนดรูปแบบการสนับสนุนทุน ดังนี้

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องเดิม

1. นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563- 2570 ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ตามพระราชบัญญัติสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 11 (1) และมาตรา 22 (2)

2. แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565 ผ่านความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 11 (1) และมาตรา 44 (3)

3. แผนด้านอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ผ่าน ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี 29 ธันวาคม 2563 ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 11 (1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 11 และมาตรา 17 (1)

การดําเนินงาน

ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะกรรมการและเลขานุการ ของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) สํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มีความเห็นว่า เพื่อให้นโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 แผนด้านอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนา กําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565 เกิดความเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นไปใน แนวทางเดียวกัน นําไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ แต่งตั้งคณะทํางานจัดทํากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้น เพื่อกําหนดกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประสานการ จัดทําข้อเสนอนโยบาย แผนด้านอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประแทศ และแผนด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีองค์ประกอบทั้งจากสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการสามคณะทําหน้าที่เลขานุการร่วม

1. คณะทํางานจัดทํากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ได้ประชุมพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ จํานวน 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564, 1 มีนาคม 2564, 5 เมษายน 2564, 19 มิถุนายน 2564

2. สํานักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สํานักงาน สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะทํางานจัดทํากรอบนโยบายและ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทําและรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนว ทางการจัดทํากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563-กรกฎาคม 2564

3. คณะทํางานจัดทํากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม เสนอ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ต่อ

3.1 คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564

3.2 คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564

4. (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 เน้นความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ และกรอบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของโลก และแนวทาง สากลในการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ นวัตกรรมพลิกโฉม (Disruptive innovation) สังคมสูงวัย (Aging society) ความเหลื่อมล้ําและความไม่เสมอภาคทางสังคม (Disparity and social inequality) การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากร (Environmental degradation and scarcity of resource) การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) การเปลี่ยนขั้ว อํานาจเศรษฐกิจของโลก (Global economic power shift) และสถานการณ์ของประเทศจากผลกระทบ การแพร่ระบาดของโควิด-19

๕. (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ใช้หลักการเชิงนโยบาย คือ เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ (Take a Giant Step / Great Leap Forward) ของประเทศ ด้วยการสนธิกําลังของการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีธง บอกทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ท้าทายและทําได้จริง เกิดผลจริงในกรอบเวลาที่กําหนด และสร้างแรง บันดาลใจ รวมทั้งมุ่งเน้นที่เป็นจุดคานงัด ชายขอบของศาสตร์ และการพลิกโฉมที่ระบบ (System-based Transformations) ที่สำคัญ ซึ่งเป็นพลังสร้างผลลัพธ์ ผลกระทบให้เกิดการเปปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วย พลังจากการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์​ วิจัยและนวัตกรรม เก่งในบางเรื่องที่สําคัญ (ระดับโลก ระดับ ภูมิภาค) ไม่ทําทุกเรื่อง โดยใช้ความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Advantage) จุดแข็งด้าน อัธยาศัย จิตใจ วัฒนธรรม และทักษะของคนไทย ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศและพันธมิตรความร่วมมือที่มีอยู่และที่ต้องการทําในเรื่องนั้นๆ เน้นการใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตและบริการ อีกทั้งพร้อมใน การก้าวสู่อนาคต ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเพื่อบรรลุเป้าหมาย ปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ รวมทั้งต่อยอดจากโอกาสและข้อได้เปรียบที่ประเทศไทยมีอยู่ เน้นการพัฒนาโดยมีเป้าหมายคู่ขนาน คือ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ในระดับประเทศ พร้อมทั้งสังคมและเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งรวมถึงการตอบโจทย์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ํา และพัฒนาศักยภาพและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บูรณาการ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้ามศาสตร์ ข้ามกระทรวง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติแผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ และกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยมุ่งเน้น การบูรณาการ สนธิกําลัง ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมรับผิดชอบ (Synergy, Co-Ownership, Joint Accountability) สร้างผลลัพธ์ร่วม (Joint Outcome) รวมทั้งการสร้างความร่วมมือและการดึงภาคเอกชน และภาคีภาคส่วนต่างๆมาร่วมยกระดับการพัฒนาลักษณะ Co-Production และ Co-Investment เพื่อให้เกิด ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในระบบ อววน. และกับหน่วยงาน/ภาคส่วนอื่นๆ เพื่อการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย ของประเทศ และพันธกิจของหน่วยงาน/ภาคส่วน

6. (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 กําหนดจุดมุ่งเน้นของนโยบาย (High-priority Policy) 6 จุดมุ่งเน้น ดังนี้

6.1 ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง โดยใช้การพัฒนา ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

6.2 ประเทศไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งเน้นคุณค่าและความยั่งยืนสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้

6.3 ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนําด้านสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และอาหารที่มี คุณค่าและมูลค่าสูง โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

6.4 ผู้สูงอายุมีศักยภาพและโอกาสอย่างเต็มที่ในการพึ่งตนเอง มีคุณค่าและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม เพื่อรองรับสังคมสูงวัย

6.5 ประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้า ล้ํายุคสู่อนาคต และเทคโนโลยีอวกาศ สําหรับการยกระดับอุตสาหกรรม ธุรกิจ และการบริการที่มีอยู่แล้ว และพัฒนา อุตสาหกรรม/ธุรกิจใหม่

6.6 ประเทศไทยสามารถสร้างกําลังคนสมรรถนะสูงและเป็นศูนย์กลางกําลังคน ระดับสูงของอาเซียน โดยการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และ สอดรับกบัปรัชญาการอุดมศึกษาไทยใหม่

7. (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ประกอบด้วย
4 ยุทธศาสตร์ 19 แผนงาน 13 แผนงานสําคัญ (Flagship) ในการขับเคลื่อน กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน.ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ํายุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากําลังคน สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน

เรื่องเดิม

ภาคีความร่วมมืออวกาศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 จากการหารือร่วมกัน ระหว่างผู้อํานวยการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สํานักงานพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เกิดความเห็นพ้องถึงความเป็นไปได้ในการต่อยอดศักยภาพทางวิศวกรรมของทั้งสามหน่วยงานเพื่อสร้าง ดาวเทียมขึ้นเองในประเทศ ซึ่งได้นําไปสู่การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกันในเดือน มิถุนายน 2561 และการลงนามในหนังสือแสดงเจตจํานงว่าด้วยหลักการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาดาวเทียมสํารวจอวกาศระหว่างสามหน่วยงานเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2562 ภาคีความร่วมมือฯ ได้ส่งข้อเสนอไปยังหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุน ด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 162 ล้านบาท มุ่งเน้นให้พัฒนาเทคโนโลยีนําร่องภายใต้ความร่วมมือกับ Changchun Institute of Optics, Fine Mechanics and Physics (CIOMP) สร้างดาวเทียม TSC-Pathfinder มวล 80 กิโลกรัม สําหรับสํารวจ โลกด้วยการบันทึกภาพและภาพเคลื่อนไหวความละเอียดสูง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา

การดําเนินงาน

ภาคีความร่วมมือได้เติบโตต่อเนื่องมาโดยลําดับ โดยมีวิศวกรไทยจะเข้าร่วมพัฒนา สร้าง และ ประกอบแต่ละระบบย่อยและระบบดาวเทียมสมบูรณ์เพื่อยกระดับความสามารถทางวิศวกรรมให้มีความพร้อม ในการสร้างดาวเทียมเองในประเทศ และนํามาสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจ ( MoU) ระหว่าง 12 หน่วยงานในวันที่ 5 เมษายน 2564 เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างดาวเทียม TSC-1 และ TSC-2 โดยมีระยะเวลาดําเนินงาน 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2569

1. ดาวเทียมดวงแรกที่ภาคีความร่วมมืออวกาศไทยจะสร้างขึ้น (TSC-1) ภายใต้งบประมาณ 891 ล้านบาท จะใช้สํารวจพื้นโลกตลอดช่วงคลื่นที่ตามองเห็นด้วยเทคนิค Hyperspectral imaging ที่บันทึกทั้ง ภาพและสเปกตรัมของผิวโลกไปพร้อม ๆ กัน เพื่อวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ในหลากหลายมิติ ในขณะนี้มีดาวเทียม น้อยกว่า 30 ดวงจากทั่วโลกที่สามารถทําได้ และในเอเชียมีเพียงประเทศญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ที่มีศักยภาพใน การศึกษาพื้นโลกด้วยเทคโนโลยี Hyperspectral imaging เพราะขณะนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่ไม่สามารถซื้อหาได้ต้อง พัฒนาขึ้นเอง การสร้างดาวเทียมเองในประเทศจะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศต้นน้ําจากการพัฒนา ขีดความสามารถทางวิศวกรรม และของอุตสาหกรรมขั้นสูง ที่จะเกิดขึ้นได้หากมีกําลังซื้อที่ผลักดันโดยภาครัฐ (Anchor customer) ซึ่งจะสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ ส่งผลให้มีการจ้างงานด้านวิศวกรรมขั้นสูง ลดการสูญเสีย แรงงานคุณภาพสูงไปสู่ต่างประเทศ

2. การสํารวจผิวโลกด้วยการบันทึกสเปกตรัมของทุกพื้นที่ในประเทศไทยจากดาวเทียม TSC-1 เป็นเทคนิคใหม่ ที่มีศักยภาพสูง สามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกไปกว่าการถ่ายภาพดาวเทียมธรรมดา เช่น ทราบ ได้ถึงชนิดของพืชปกคลุมดิน องค์ประกอบของดิน การขาดน้ําหรือสารอาหารของพืชไร่ โรคพืช ซึ่งเป็นข้อมูลตั้งต้น สําคัญของ การเกษตรแม่นยํา (Precision farming) ศึกษาพืชเศรษฐกิจในสถานการณ์เติบโตต่าง ๆ เพื่อสร้างแบบจําลอง ทํานายและศึกษาวิธีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ สามารถทํานายผลผลิตล่วงหน้าด้วยวิธีทางสถิติและเทคนิค ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นข้อมูลสําหรับภาครัฐในการกําหนดนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร การพัฒนากําลังคน ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสําคัญในการพึ่งพาตนเองในอนาคต อันเป็นมิติใหม่ในการสร้างและ การใช้เทคโนโลยีอวกาศขั้นสูงเป็นข้อมูลตั้งต้นอย่างละเอียดจําเพาะในทุกพื้นที่ผลักดันนโยบายเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตประชาชน

3. การพัฒนาเทคโนโลยีของดาวเทียม TSC-1 ต่อยอดเป็นดาวเทียม TSC-2 ที่จะส่งไปโคจร รอบดวงจันทร์เพื่อสํารวจวิจัยพื้นผิวในปี 2570 ซึ่งจะเป็นตัวเทียบวัด (Benchmarking) ที่ชัดแจ้งถึงศักยภาพ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายในประเทศ ที่มีความพร้อมถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อการใช้งาน เชิงพาณิชย์ อีกทั้งเป็นการสร้างความตระหนักตื่นรู้และแรงบันดาลใจแก่สาธารณชนถึงขีดความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย

การสร้างดาวเทียมเองในประเทศเป็นการยกระดับศักยภาพการแข่งขันของชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีตัวเทียบวัด (benchmarking) กับชาติอื่น ๆ ชัดเจนในรูปของดาวเทียมและอวกาศยานที่มี ความซับซ้อนมากขึ้นโดยลําดับ การลงทุนด้านอวกาศในประเทศของภาครัฐจะเหนี่ยวนําให้เกิดห่วงโซ่อุปทานใหม่ ในประเทศ เป็นการบ่มเพาะระบบนิเวศเทคโนโลยีอวกาศไทย ที่เมื่อเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม พลอยได้ (Spin-off value) ประมาณ 3-5 เท่า ของการลงทุน เป็นผลกระทบกว้างขวางสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมอวกาศ เช่น สนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยเป้าประสงค์ด้าน ผลกระทบสูงสุดของโครงการนี้คือ การยกระดับระบบนิเวศเทคโนโลยีอวกาศไทยให้มีศักยภาพในการต่อเชื่อมเป็น ส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มการผลิตระหว่างประเทศ (Global value chain) ในระยะเวลา 20 ปีของการ ดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะ พ.ศ. 2580 นอกจากนี้ ยังพัฒนาบุคลากรวิจัยและวิศวกรรมศักยภาพสูง ระดับโลกภายในประเทศ เกิดการจ้างงานทักษะสูงในประเทศ จะสามารถลดการสูญเสียแรงงานคุณภาพสูง การลงทุนในระดับของข้อเสนอนี้จะทําให้เกิดการสร้างงานประมาณ 1,400 คน ในระบบนิเวศที่โตเต็มที่

เรื่องเดิม

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 7 กําหนดให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและกํากับการดูแลการอุดมศึกษา ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของ โลก ให้มีการพัฒนากําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และให้ดําเนินการวิจัยและสร้างสรรค์ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ รวมทั้งจัดให้มีระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญเพื่อพัฒนาการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลิตกําลังคนระดับสูง เฉพาะทาง และ ความร่วมมือด้านการทําวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศ

ในการสนับสนุนและส่งเสริมการอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สํานักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้ดําเนินการเพื่อเตรียมการให้ การอุดมศึกษาเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้การจัดสรรทุนการศึกษาเป็นกลไกการดําเนินงาน ทุนการศึกษาส่วนหนึ่งดําเนินการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ที่จะเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และทักษะอาชีพตามความต้องการของประเทศ ณ เวลานั้นๆ และอีกส่วนหนึ่ง คือ การให้ทุนการศึกษาเพื่อ เพิ่มกําลังคนในสาขาที่ขาดแคลน และเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสําหรับผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดความ เหลื่อมล้ําทางการศึกษาของประชาชน

การดําเนินงาน

สป.อว.จึงได้จัดทํานโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคน การอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อกําหนดทิศทางการจัดสรรทุนที่ชัดเจนรองรับความเปลี่ยนแปลง และ ความต้องการของประเทศได้อย่างทันเวลา สะท้อนภารกิจของอุดมศึกษาที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศในฐานะเป็นมันสมองอย่างแท้จริง โดยมีรายละเอียดของนโยบายและแนวทาง ดังนี้

1. ที่มา ความสําคัญ

1.1 แนวคิดการพัฒนากําลังคน

การพัฒนาประเทศต้องให้ความสําคัญกับการสร้างทุนทางสังคมให้เข้มแข็งมากขึ้น เพราะจะเป็น ปัจจัยหลักที่จะทําให้การพัฒนาด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี เป็นไปได้ด้วยดี การพัฒนาทุนทางสังคมจะเป็นการพัฒนาคนให้มีค่านิยมที่ดีมีความเป็นไทยในทางที่ดีมีคุณภาพ ทุนทางสังคมที่ ดีมีมากพอที่จะถักทอให้สังคมไทยเข้มแข็ง เป็นสังคมที่มีความสามัคคี เป็นภูมิคุ้มกันให้กับการพัฒนาท่ามกลาง กระแสโลกาภิวัตน์ ที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง สร้างความไม่แน่นอนที่กําลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทุนทางสังคมต้องใช้เวลา เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ ต้องดําเนินการอย่าง ระมัดระวังและรอบคอบ เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังและสร้างสํานึกให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ การพัฒนา ทุนทางสังคม ต้องดําเนินไป ให้เกิดความสมดุลกับการพัฒนาด้านอื่นอันจะนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม อดีตเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : การวางแผนพัฒนาประเทศ ตุลาคม 2554)

1.2 สรุปภาพรวมการจัดสรรทุนของประเทศ

ประเทศไทยโดยสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สํานักงาน ก.พ.) ได้ดําเนินการ รวบรวมทุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดทําฐานข้อมูลผู้รับทุน การศึกษาของประเทศ โดยพบข้อมูล ทุนการศึกษาในระบบฐานข้อมูลของสํานักงาน ก.พ. ตั้งแต่ปี 2520 – 2562 รายละเอียดตามภาพ ดังนี้


ที่มา:สํานักงานก.พ.ตั้งแต่ปี 2520-2562

จากภาพ พบว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเป็นจํานวนมากที่สุด ซึ่งมีจํานวน 41,690 คน คิดเป็นร้อยละ 60.27 ของประเทศ

สป.อว. ได้ดําเนินการจัดสรรทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เป็นทบวงมหาวิทยาลัยต่อเนื่อง ถึงสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ สป.อว. ในปัจจุบัน โดยจัดสรรทุนประเภทต่างๆ จําแนกออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ทุนพัฒนาอาจารย์ 2) ทุนพัฒนากําลังคน 3) ทุนพัฒนาทักษะและความสามารถพิเศษ
4) ทุนสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ํา ทางการศึกษา และ 5) ทุนแลกเปลี่ยน

1.3 สภาพแวดล้อมการอุดมศึกษาไทย
1.3.1 เชิงปริมาณ ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด สป.อว. มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 156 แห่ง จําแนกเป็น 5 ประเภท คือ
1) สถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ จํานวน 26 แห่ง 2) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จํานวน 11 แห่ง 3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จํานวน 9 แห่ง 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏ จํานวน 38 แห่ง และ 5) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จํานวน 72 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษานอกสังกัดกระทรวง อว. อีกจํานวนหนึ่ง

เมื่อพิจารณาข้อมูลจํานวนนักศึกษาและผู้สําเร็จการศึกษาที่จัดส่งโดย สถาบันอุดมศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2551 – 2561 โดยเปรียบเทียบจํานวนนักศึกษารวมและผู้สําเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2551 ปีการศึกษา 2556 และ ปีการศึกษา 2561
เป็นดังนี้

ที่มา : สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว.

จะเห็นว่าจํานวนนักศึกษารวมในช่วงทศวรรษ 2551 – 2561 มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จาก 1,718,678 คน เป็น 1,792,665 คน ถึงแม้จํานวนนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจและกฎหมายจะมีจํานวนลดลงตามนโยบาย แต่ก็ไม่ได้เพิ่มสัดส่วนสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ต่อสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่มา : สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว

เมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสาขาวิชาจะพบว่า กลุ่มสาขา ทางด้านการบริการมีการขยายตัวประกอบกับมีแนวโน้มที่ดี เมื่อกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์อันเป็นกลุ่มที่จะ ตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศในอนาคตมีการขยายตัวมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มสาขาที่ต้องเร่ง ผลักดันให้ผู้เรียนสนใจและเห็นประโยชน์ที่จะเติบโตในสายอาชีพ (Career Path) เช่น กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์

ที่มา สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว.

จากตารางข้างต้น จํานวนนักศึกษารวมทั้งสิ้นจํานวน 1,688,803 คน เมื่อ เปรียบเทียบสัดส่วนนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : สาขา ด้านสุขภาพและสวัสดิการ จะได้สัดส่วนเท่ากับ 69 : 24 : 7 หากเทียบสัดส่วนนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รวมวิทยาศาสตร์สุขภาพ) จะได้เท่ากับ 71 : 29

1.3.2 เชิงคุณภาพ แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ได้ศึกษาวิเคราะห์คุณภาพระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่าในการวิเคราะห์คุณภาพบัณฑิต

จากรายงานสภาพปัญหาแรงงานของสถานประกอบการที่ต้องการใช้บัณฑิตแต่ไม่สามารถคัดเลือกได้ แต่ ขณะเดียวกันยังคงปรากฏอัตราว่างงานของบัณฑิตอยู่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาช่องว่างระหว่างระดับ ความสามารถของบัณฑิตกับความต้องการของสถานประกอบการ อีกทั้ง นายจ้างยังมีมุมมองต่อคุณสมบัติของ บัณฑิตที่ยังขาดทักษะคนและสังคม (Soft skills) ซึ่งจําเป็นต่อการปฏิบัติงาน ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการ วิจัยพบว่าสถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งการผลิตผลงานวิจัยทางวิชาการ รวมถึงการนํางานวิจัยไปถ่ายทอดเพื่อ ใช้ประโยชน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังกระจุกตัวอยู่เพียงบางสถาบัน ขณะเดียวกันบางสถาบันกลับไม่มีผลงาน ในระดับนานาชาติ

1.3.3 เชิงนโยบาย สป.อว. ได้จัดทําแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคน ของประเทศพ.ศ.2564–2570
โดยกําหนดวิสัยทัศน์ว่า “อุดมศึกษา สร้างคนสร้างปัญญาเพื่อพัฒนา สังคมไทยอย่างยั่งยืน” เพื่อให้การอุดมศึกษามีส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และทิศทาง การพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายโดยอาศัยพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหลัก

1.4 สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการใช้ชีวิตของประชากรโลกอย่างรุนแรง เกิดเป็นต้นทุนจากทั้งความ สูญเสียชีวิตและการเจ็บไข้ได้ป่วยโดยตรงจากการติดเชื้อ และผลกระทบทางอ้อมจากความพยายาม ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อ
การกําหนดนโยบายทางการศึกษาด้วยเช่นกัน เกิดวิวัฒนาการทางกระบวนการเรียนการสอน การสอบประเมินผลการศึกษา ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม รวมไปถึงการบริหารการศึกษาในภาพรวมประเทศ นอกจากนี้ ผลกระทบระยะยาวของ การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ทําให้การเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาในระบบทําได้ ไม่เต็มที่ ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่หายไป (Learning Losses) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา

1.5 ทิศทางของประเทศภายใต้กรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

1.5.1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยในภาพรวมมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการยกระดับ สุขภาวะ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการพัฒนาในเชิงปริมาณ เป็นหลัก เมื่อพิจารณาในมิติคุณภาพพบว่ายังมีช่องว่างที่เป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และการขาดแคลนทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและ ทิศทางการพัฒนาประเทศ แรงงานไทย ส่วนมากยังมีระดับการศึกษาต่ํา โดยพบว่าแรงงานร้อยละ 42.1 ไม่มีการศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา ขณะที่อีกร้อยละ 34.5 สําเร็จการศึกษาเพียงระดับมัธยมศึกษา และมีแรงงานสําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพียงร้อยละ 22.5

1.5.2 แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564–2570

แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564–2570 ได้กําหนดวิสัยทัศน์ว่า“อุดมศึกษา สร้างคนสร้างปัญญาเพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน” โดยวางยุทธศาสตร์หลัก 3 ประการ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคน เพื่อสร้างกําลังคน ที่มีคุณภาพและปริมาณรองรับการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก
2) ยุทธศาสตร์ การส่งเสริมระบบนิเวศวิจัย เพื่อให้งานวิจัยสามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน และ 3) การจัดระบบอุดมศึกษาใหม่ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีสมรรถนะตรงตามอัตลักษณ์/จุดแข็ง เพื่อให้เกิดคุณภาพในระบบอุดมศึกษาที่จะส่งผลให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซี่งกําหนดแนวทางการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) ดังนี้

แนวทางที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสตลอดจนผู้สูงวัยสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูง สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เพียงพอ

แนวทางที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาและสมรรถนะของกําลังคน (Quality & Manpower Competencies Enhancement) ได้แก่ สมรรถนะเชิงวิชาการ สมรรถนะการประกอบอาชีพที่มีทักษะการปฏิบัติงานรองรับงานในปัจจุบันและอนาคต และสมรรถนะการเป็นพลโลก

แนวทางที่ 3 การสร้างเสริมบุคลากรคุณภาพสูง (Enhancement of Brainpower& Concentration of Talents) เพื่อสามารถพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดผู้มีความสามารถสูงเข้ามาปฏิบัติ หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นชุมชนทางวิชาการที่มีศักยภาพสูงและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สู่สากล

2. สภาพปัญหาและโอกาสในการจัดสรรทุน

2.1 สภาพปัญหา
2.1.1 ระบบการจัดสรรทุนที่มีอยู่ไม่ตอบโจทย์การพัฒนากําลังคนระดับสูงเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ
2.1.2 ขาดการวางแผนการพัฒนากําลังคนแต่ละสาขาที่จําเป็นในการพัฒนาประเทศ
2.1.3 ขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ ทุนอยู่ภายใต้หลายหน่วยงาน การจัดสรรทุนมีลักษณะกระจัดกระจาย
2.1.4 เงื่อนไขการให้ทุน/การชดใช้ทุนไม่สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้ารับทุน
2.1.5 ขาดการบริหารข้อมูลแบบองค์รวมที่สําคัญ
2.1.6 ขาดข้อมูลเชิงนโยบายที่สําคัญและขาดการเชื่อมโยงข้อมูลทุนที่มีประสิทธิภาพ 2.1.7 ขาดกลไกการติดตามผู้รับทุนที่มีประสิทธิภาพ และขาดการประเมินผลการดําเนินงานอย่างเป็นระบบ
2.1.8 ไม่มีแผนการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนอย่างชัดเจนและเต็มศักยภาพ เกิดปัญหา การดูแลและการใช้ประโยชน์ผู้รับทุนของหน่วยงานภาครัฐ
2.1.9 ขาดการวางระบบปฏิบัติงานชดใช้ทุนในระบบราชการ อีกทั้งระบบราชการเอง ก็ไม่ดึงดูดคนเก่ง ให้เข้าสู่ระบบและไม่เป็นทางเลือกของคนรุ่นใหม่อีกต่อไป โดยเฉพาะระบบเส้นทาง ความก้าวหน้าในอาชีพ (Career path) ของผู้รับทุนไม่ชัดเจน และค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม
2.1.10 มีแหล่งทุนอื่นๆในต่างประทศ ที่ดึงดูดใจมากกว่า ได้แก่ทุนให้เปล่า หรือทุน Post Doc ที่มีค่าตอบแทนสูง

2.2 โอกาสในการจัดสรรทุน เพื่อพัฒนาประเทศ
2.2.1 พัฒนากําลังคนให้ตรงตามความต้องการในการพัฒนาประเทศ ความสามารถในการแข่งขันของสาขาการผลิตและบริการเป้าหมาย สาขาการผลิตที่ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการ แข่งขันในอนาคต ภายใตก้ รอบยุทธศาสตร์ชาติ
2.2.2 พัฒนาทักษะที่จําเป็นในการพัฒนากําลังคนที่มีสมรรถนะสูง
2.2.3 เร่งรัดการผลิตแรงงานทักษะสูงเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมาย
2.2.4 ลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาและการฝึกอบรม สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มชายขอบ และกลุ่มเขตพัฒนาพิเศษ

3.หลักการชี้นํา (Guiding Principles) เรื่อง ทุนการศึกษา

3.1 ทุนการศึกษาเป็นองค์ประกอบสําคัญในการ “สร้างคน” เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมาย การพัฒนาประเทศ และเร่งรัดการผลิตกําลังคนระดับสูงให้ตอบโจทย์ประเทศ
3.2 ต้องกําหนดจุดเน้น (Focus) การจัดลําดับความสําคัญก่อนหลัง (Priority) หรือทางลัด (By-pass) เพื่อให้ดําเนินการอย่างมีเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์
3.3 สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดสรรทุนในสาขาที่หลากหลายครอบคลุมสหวิทยาการ ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์
3.4 มีระบบบริหารจัดการทุนในภาพรวมของประเทศที่มีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3.5 มีกลไกการดูแลผู้ได้รับทุนทั้งก่อนการศึกษา ระหว่างศึกษา และหลังจบการศึกษา ทําให้ ผู้รับทุนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เข้าศึกษาจนกระทั่งกลับไปปฏิบัติงาน ให้ผู้รับทุน และหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและมีส่วนร่วมในระบบทุนการศึกษา
3.6 ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social movement) ทั้งภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาครัฐและประชาชน ในการบูรณาการการขับเคลื่อนระบบทุนการศึกษาอย่างมีเอกภาพ
3.7 มีการติดตามสถานะของการสร้างคนและการให้ทุนการศึกษา ทั้งในด้านจํานวน สาขา ผลการศึกษาและการปฏิบัติทํางาน
3.8 ใช้ทั้งกลไกการสรรหา และรับเข้าอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

4. นโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับ การขับเคลื่อนทุนการศึกษา

4.1 การจัดสรรทุนที่มุ่งนําพาประเทศไปสู่เป้าหมายและทิศทางที่รัฐบาลและ อว.วางไว้ ในการเตรียมคนเพื่อพาประเทศไปสู่เป้าหมายหรือทิศทางที่กําหนด คือ การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งใน สิบปีข้างหน้าต้องทําให้ทุนการศึกษาไปสร้างคนที่จะมาสร้างประเทศที่พัฒนาแล้ว ให้เป็น Developed country ให้ได้

4.2 การจัดสรรทุนการศึกษาต้องมี Focus, Priority, By-pass และ Giant Step 4.2.1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.2.1.1 เน้นการให้ทุนที่จะเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ในประเทศ ไทยได้อย่างลึกยิ่งขึ้น เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้าน AI Robot
4.2.1.2 เน้น BCG เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ที่มีฐานให้สูงขึ้น ลึกขึ้น เป็นจุดที่ประเทศสามารถแข่งขันได้ โดยให้ทุนไปเรียนเพื่อให้กลับมาเป็นกําลังสําคัญของ BCG เช่น เกษตร พรีเมี่ยม แพทย์และสาธารณสุขในยุคใหม่ รวมถึง BCG เกี่ยวกับธุรกิจด้านสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม การนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปศึกษาเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น
4.2.1.3 สนับสนุนทุนไปเรียนเรื่องอวกาศ ดาราศาสตร์ ดาวเทียม ยานอวกาศ Remote sensing
4.2.1.4 สนับสนุนทุนการศึกษาในเรื่อง High-energy Physics, นิวเคลียร์ฟิวชั่น
4.2.1.5 สนับสนุนด้านเทคโนโลยีสื่อสาร 5G และ 6G
4.2.1.6 สนับสนุนเรื่อง Quantum Physic, Quantum Computing, Quantum Communication

4.2.2 ด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์
4.2.2.1 สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อเอาวิชาที่นําไปสร้างสังคมที่มองไปข้างหน้า รู้ทันอนาคต ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง รักและภูมิใจในอดีต ปัจจุบัน และต่อยอดอนาคต เรียนเพื่อนํามาทําให้ประเทศและสังคมให้ดีขึ้น เก่งขึ้น และงามขึ้น
4.2.2.2 สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อส่งคนไปเรียนวิชาที่ทําให้เกิดการสร้างสังคมที่รักการเรียนรู้ เชื่อมั่นว่าชาติจะก้าวหน้าไปได้ไม่หยุดยั้ง ซึ่งต้องไปเรียน Positive Psychology, Positive Thinking ให้มากขึ้น
4.2.2.3 สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อไปเอาศาสตร์ เอาประสบการณ์เกี่ยวกับ การสร้างสังคมที่ตื่นรู้ ที่สนใจ ที่ซาบซึ้งในด้านศิลปะ ด้านสถาปัตยกรรม ด้านดนตรี ด้านวรรณศิลป์ ด้านสุนทรีศาสตร์ ด้านศาสนา ด้านจิตวิญญาณ และจะต้องเพิ่ม Art and culture appreciation ให้คนไทยให้มาก
4.2.2.4 สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อกลับมาสร้างสังคมพรั่งพร้อมสมบูรณ์ ตั้งแต่ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน เมือง ภาค และประเทศ ให้รักและภูมิใจในตระกูล ชุมชนท้องถิ่น มีทั้งความรู้ มีจิตวิทยาเชิงบวก และมีการบริหารจัดการที่ทําได้สําเร็จ
4.2.2.5 สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อกลับมาสร้างสังคมที่เป็นส่วนผสมที่ดีของชาติพันธุ์ของกลุ่มชนที่หลากหลาย สร้างสังคมที่เป็นสังคมประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ไม่ละเลย อุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ ทุนการศึกษามีทั้งเรื่องเรียนในประเทศและเรียนต่างประเทศ ซึ่งการส่งไปเรียน ในต่างประเทศส่วนใหญ่ส่งไปประเทศที่เจริญก้าวหน้าดีอยู่แล้ว แต่ต้องส่งไปศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, และเวียดนาม) เพื่อไปศึกษาวัฒนธรรม การดํารงชีพ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ สําหรับทุนในประเทศระดับปริญญาเอกต้องส่งเสริมการทําวิจัยกับอาจารย์ในระดับ Leading edge

4.3 มีแผนการใช้นักเรียนทุน ตั้งแต่ในระหว่างที่เรียนโดยให้มีบทบาทตั้งแต่ที่เรียนอยู่ ต้องให้ เก็บข้อมูลจากต่างประเทศ ให้เก็บ Process สําคัญที่กําลังวิจัย และรายงานมายังกระทรวงฯ ทุกภาคการศึกษา เหมือนเป็น Intelligence unit ของกระทรวงฯ แต่อยู่ในต่างประเทศ โดยต้องให้นักเรียนทุนทราบว่าทําไม ต้องให้ทุน ต้องการให้ไปทําอะไร และเขาเป็นคนของประเทศตั้งแต่วันแรกของการรับทุน

4.4 สนับสนุนทุนในลักษณะ Post – doc หรือ Non degree ให้มากขึ้น เพื่อทําให้บรรลุ สถานะการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว Developed country ในสิบปี

5. นโยบายและทิศทางการบริหารจัดการทุนสป.อว. ได้จัดทํานโยบายและทิศทางการบริหารจัดการทุน ใน 3 ประเด็น ดังนี้

5.1 ปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการทุนให้มีความเป็นเอกภาพภายใต้การกํากับดูแล ของคณะกรรมการบริหารจัดการทุน
5.2 จัดสรรทุนเพื่อสร้างคนให้ตรงกับตลาดงานและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
5.3 ขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานให้เป็นระบบและสม่ําเสมอ รวมทั้ง วางแผนการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน

6. แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุน นโยบายและทิศทางการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ 3 ประเด็น ข้างต้น มีแนวทางในการขับเคลื่อน ดังนี้

6.1 ปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการทุนให้มีความเป็นเอกภาพภายใต้การกํากับดูแลของ คณะกรรมการบริหารจัดการทุน มีแนวทางการขับเคลื่อน ดังนี้
6.1.1 การบูรณาการหน่วยบริหารจัดการทุนให้มีเอกภาพ เนื่องจากหน่วยบริหารจัดการทุน ของประเทศมีหลายแหล่งทุนหลายกระทรวง อีกทั้งภายในกระทรวง อว. ก็มีหลายหน่วยงานที่ทําหน้าที่เป็น หน่วยจัดสรรและบริหารทุนการศึกษาประเภทต่างๆ ตั้งแต่ทุนระดับมัธยมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ซึ่งการให้ทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการ อาจทําให้เกิดความซ้ําซ้อน จึงจําเป็นต้องมีการบูรณาการหน่วยบริหารจัดการทุนให้มีเอกภาพ
6.1.2 การจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ (Competency) และทักษะที่จําเป็นใน การพัฒนาประเทศ (Non-degree) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) และทันต่อความ ต้องการกําลังคนในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมสําคัญในระยะสั้น โดยลักษณะความร่วมมือกันระหว่าง สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
6.1.3 กําหนดคุณสมบัติของผู้รับทุนให้ชัดเจน และกําหนดวิธีการสรรหาและการคัดเลือก ที่มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับบริบทโลก ทั้งกลไกการสรรหา (Recruit) และรับเข้า (Admit) อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
6.1.4 ปรับรูปแบบ/เงื่อนไขการรับทุนให้มีความยืดหยุ่น เพื่อดึงดูดผู้รับทุนที่มีศักยภาพ สูงทั้งในและต่างประเทศตลอดเวลาทั้งการศึกษารวมทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว
6.1.5 พัฒนาและสร้างแรงจูงใจกับผู้รับทุนเข้าร่วมโครงการ โดยปรับรูปแบบและเงื่อนไข การรับทุน รวมทั้งการชดใช้ทุนให้มีความยืดหยุ่น เพื่อดึงดูดและสร้างแรงจูงใจผู้รับทุนที่มีศักยภาพสูงทั้งในและ ต่างประเทศ ตลอดเวลาทั้งการศึกษารวมทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว
6.1.6 พัฒนาระบบฐานข้อมูลทุนการศึกษาให้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน และสามารถใช้ประโยชน์ เชิงนโยบายได้ โดยปฏิรูประบบฐานข้อมูลทุนการศึกษาทั้งระบบ ด้วยการกําหนด Data catalog จัดทําและ บูรณาการการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกลางร่วมกัน สร้างสารสนเทศด้านทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาประเทศ
6.1.7 กําหนดแนวทางการจัดสรรทุน เช่น ประเภทการรับทุน สาขาวิชา ประเทศที่ไปศึกษา โดยมีกลยุทธ์และทิศทางที่สอดคล้องกับความจําเป็นและเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศ

6.2 จัดสรรทุนเพื่อสร้างคนให้ตรงกับตลาดงานและสอดคล้องกับความต้องการ ของประเทศ มีแนวทางการขับเคลื่อน ดังนี้
6.2.1 จัดสรรทุนเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการ ของประเทศ (Demand side) โดยการกําหนดเป้าหมายและจัดลําดับความสําคัญของกลุ่มสาขาวิชาตามความเร่งด่วนเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณในการจัดสรรทุนเกิดความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศ
6.2.2 จัดสรรทุนเพื่อพัฒนากําลังคนที่มีความรู้ความสามารถขั้นสูงและมีสมรรถนะ ตามความต้องการของตลาดงานที่เปลี่ยนแปลงไป จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ทําให้ความต้องการ ความรู้ในการพัฒนาประเทศเปลี่ยนไป ทั้งภาคการศึกษา การสาธารณสุข อุตสาหกรรม และการสื่อสารต่างๆ เช่น คนที่มีความรู้ในการผลิตวัคซีน การผลิต แพลตฟอร์มเทคโนโลยีทางอาหาร ความสามารถทางอากาศยาน เป็นต้น
6.2.3 กําหนดสัดส่วนการจัดสรรทุน โดยเน้น Strategic, Function, Area เช่น AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG model) มาช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
6.2.4 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในการกําหนดประเทศที่ไปศึกษาสาขาวิชาตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนด้านอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ
6.2.5 กําหนดแนวทางการต่อยอดการพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จําเป็นเพื่อดึงดูด กําลังคนที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ
6.2.6 บูรณาการการจัดสรรทุนกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ และมีเป้าหมายการผลิตกําลังคนที่ชัดเจน

6.3 ขับเคลื่อนการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานให้เป็นระบบและสม่ําเสมอ รวมทั้ง วางแผนการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน มีแนวทางการขับเคลื่อน ดังนี้
6.3.1 ขับเคลื่อนการดําเนินงานให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมาย
6.3.2 ติดตามการศึกษาและใช้ประโยชน์จากนักเรียนทุนอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลทุนการศึกษา
6.3.3 วางระบบในการดูแลผู้รับทุน มีหน่วยงานที่ดูแลและติดตามผู้รับทุนอย่างสม่ําเสมอ และมีประสิทธิภาพ
6.3.4 ใช้ศักยภาพของผู้รับทุนอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากําลังคนเพื่อพัฒนา ประเทศตั้งแต่ระยะที่มีการศึกษา
6.3.5 สร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ (Career path) ของผู้รับทุนให้ชัดเจน
6.3.6 สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคการผลิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ร่วมผลิตหรือแลกเปลี่ยนความรู้/เทคโนโลยี โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานชดใช้ทุนให้มี รูปแบบที่ดึงดูดผู้รับทุนไปทํางานให้เต็มศักยภาพ
6.3.7 มีระบบการรายงานผลการดําเนินการในภาพรวมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ

7. เป้าหมายการดําเนินงาน(Output/Outcome)

7.1 หน่วยบริหารทุนมีความเป็นเอกภาพ ในการนํานโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน การบริหารจัดการทุนไปสู่การปฏิบัติ
7.2 มีแผนการดําเนินงานและแผนงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เกิดการบริหารจัดการที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานที่ตอบโจทย์ประเทศ ได้ สามารถทําให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
7.3 ผลการประเมินการใช้ประโยชน์ และการใช้ศักยภาพจากผู้รับทุนเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่โครงการได้กําหนดไว้ มีการใช้งบประมาณของประเทศที่คุ้มค่า และเกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิตด้านต่างๆ ด้วยผลิตจากผู้รับทุนที่กลับมาสร้างนวัตกรรมที่เหมาะกับ ประเทศไทยและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยได้จริง

8.มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 มีมติให้ความเห็นชอบนโยบายและแนวทางการ ขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ และให้นําข้อเสนอเชิงนโยบายข้างต้นเสนอต่อที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน การบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

บทนํา

การพัฒนาประเทศต้องให้ความสําคัญกับการสร้างทุนทางสังคมให้เข้มแข็งมากขึ้น เพราะจะเป็น ปัจจัยหลักที่จะทําให้การพัฒนาด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี เป็นไปได้ด้วยดี การพัฒนาทุนทางสังคมจะเป็นการพัฒนาคนให้มีค่านิยมที่ดีมีความเป็นไทยในทางที่ดีมีคุณภาพ ทุนทางสังคมที่ดี มีมากพอที่จะถักทอให้สังคมไทยเข้มแข็ง เป็นสังคมที่มีความสามัคคี เป็นภูมิคุ้มกันให้กับการพัฒนาท่ามกลาง กระแสโลกาภิวัตน์ที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง สับสน วุ่นวาย สร้างความไม่แน่นอนที่กําลังเกิดขึ้นอยู่ ขณะนี้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทุนทางสังคมต้องใช้เวลา เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ ต้องดําเนินการ อย่างระมัดระวังและรอบคอบ เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝัง และสร้างสํานึก ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติการพัฒนาทุน ทางสังคมต้องดําเนินไปให้เกิดความสมดุลกับการพัฒนาด้านอื่นอันจะนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม อดีตเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : การวางแผน พัฒนาประเทศ ตุลาคม 2554)

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาตรา 7 กําหนดให้
กระทรวงฯ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและกํากับการดูแลการอุดมศึกษา ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้มีการพัฒนากําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและ ให้ดําเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ รวมทั้งจัดให้มีระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ เพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลิตกําลังคนระดับสูง เฉพาะทาง และความร่วมมือด้านการทําวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศ

ในการสนับสนุนและส่งเสริมการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กลไกหนึ่งสํานักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้ดําเนินการเพื่อกํากับดูแลการอุดมศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก คือ การจัดสรรทุนการศึกษา ส่วนหนึ่งเพื่อการพัฒนาอาจารย์ ที่จะเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง ทางวิชาการ การวิจัย และทักษะอาชีพ ตามความต้องการของประเทศ ณ เวลานั้น ๆ รวมถึงการให้ทุนการศึกษาเพื่อเพิ่มกําลังคน ในสาขาที่ขาดแคลน และเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสําหรับผู้ด้อยโอกาส เพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ของประชาชน การดําเนินการที่ผ่านมามีผลลัพธ์ที่ดีระดับหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา สามารถ ยกระดับคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาให้เทียบเคียงกับสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศ มีส่วนช่วยในการปรับฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจที่มีการเกษตรเป็นฐาน เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ก่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในภาพรวม ทั้งการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และการส่งออก อย่างไรก็ตาม มีผู้กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2509) ถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2554) นั้น คือ “เศรษฐกิจดี สังคมยังมีปัญหา การพัฒนายังไม่สมดุล” ซึ่งเป็นความท้าทายในการสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่จะช่วยผลักดันความสําเร็จและสร้างคุณค่าให้แก่การอุดมศึกษาและประเทศชาติ ในภาพรวม

ในการจัดสรรทุนการศึกษานอกจากกระทรวงการอุดมศึกษาฯ แล้วยังมีหน่วยงานหลักในการ ให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรเพื่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ สํานักงาน ก.พ. กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ หรือแม้แต่ ในกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เองยังมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานที่เป็นหน่วยบริหารทุนการศึกษา ทําให้ ภาพการจัดสรรทุนของประเทศมีความซ้ําซ้อน ไม่มีเอกภาพ ส่งผลให้การใช้งบประมาณที่มีอยู่จํากัด ขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงเห็นควรให้มีการจัดทํานโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนา กําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศให้มีเอกภาพ มีทิศทางการจัดสรรทุนที่ชัดเจนรองรับความเปลี่ยนแปลง และความต้องการของประเทศได้อย่างทันเวลา สะท้อนภารกิจของอุดมศึกษาที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศในฐานะเป็นมันสมองอย่างแท้จริง

ส่วนที่ 1 ภาพรวมการจัดสรรทุนของประเทศ

ประเทศไทย ได้มีการจัดสรรทุนตามความต้องการของส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ มาอย่างยาวนาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์แตกต่างเป็นไปตามความต้องการของหน่วยงานและโครงการ โดย สํานักงาน ก.พ. ได้ดําเนินการรวบรวมข้อมูลทุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดทําฐานข้อมูล ผู้รับทุนการศึกษาของประเทศ จากข้อมูลทุนการศึกษาในระบบฐานข้อมูลของสํานักงาน ก.พ. ตั้งแต่ปี 2520 – 2562 รายละเอียดตามภาพ ดังนี้

ที่มา: สํานักงานก.พ. ตั้งแต่ปี 2520-2562

จากภาพที่ 1 พบว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเป็นจํานวนมากที่สุด ซึ่งมีจํานวน 41,690 คน คิดเป็นร้อยละ 60.27 ของประเทศ

ที่มา: สํานักงานก.พ. ตั้งแต่ปี 2520-2562

จากภาพที่ 2 พบว่า จํานวนผู้รับทุนส่วนใหญ่จะรับทุนศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ระดับ ปริญญาตรี จนถึงระดับปริญญาเอก โดยลําดับสูงสุด คือ ระดับปริญญาเอก จํานวน 31,736 คน ลําดับที่สอง คือ ระดับปริญญาตรี จํานวน 16,887 คน และลําดับที่สาม คือ ระดับปริญญาโท จํานวน 6,116 คน

ที่มา: สํานักงานก.พ. ตั้งแต่ปี 2520-2562

จากภาพที่ 3 พบว่าการจัดสรรทุนส่วนใหญ่จะจัดสรรทุนให้ศึกษาต่อในประเทศมากกว่าต่างประเทศ และการจัดสรรทุนจะเน้นการพัฒนาด้านการศึกษา และการสาธารณสุข

จากภาพรวมของประเทศดังกล่าว การสนับสนุนทุนการศึกษาจะทําให้เกิดการพัฒนากําลังคนใน ด้านต่างๆ การให้ความสําคัญกับการสร้างและพัฒนาคนจะทําให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ตามมา เช่น ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ก็จะมีความเข็มแข็งขึ้น ดังนั้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตระหนักถึงความสําคัญนี้ โดยได้ดําเนินโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการและบุคลากร ได้ไปศึกษาต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อผลิตและพัฒนา กําลังคนที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความสามารถ กําลังคนให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มี ความรู้ คุณธรรม และมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ซึ่งจําแนกได้ดังนี้

1. ทุนพัฒนาอาจารย์ ได้แก่ โครงการทุนพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสําหรับสถาบันอุดมศึกษาใน เขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุนพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน (16 สาขา) โครงการผลิตและพัฒนา อาจารย์ โครงการพัฒนาอาจารย์ตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เป็นต้น

2. ทุนพัฒนากําลังคน ได้แก่ โครงการพัฒนากําลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุน เรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) โครงการพัฒนากําลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดี วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกําลังคนเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบาย ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม และโครงการสนับสนุนนักเรียน ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. ทุนพัฒนาทักษะและความสามารถพิเศษ ได้แก่ โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียน วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกํากับดูแลของมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 2) และโครงการสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกํากับดูแลของมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 3)

4. ทุนสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ได้แก่ โครงการกองทุนการศึกษา ระดับอุดมศึกษา โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ โครงการ 1 อําเภอ 1 ทุน สําหรับผู้รับทุนที่ ศึกษาต่อในประเทศ เงินอุดหนุนทางการศึกษาสําหรับนิสิต นักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญา ตรี และทุนการศึกษาจากหน่วยงานและบริษัทเอกชน

5. ทุนแลกเปลี่ยน ได้แก่ โครงการ ASEM Work Placement โครงการ Asian International Mobility for Students (AIMS) Programme (ทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี) โครงการ DUO – Thailand Fellowship Programme (ทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) และ โครงการ Thailand Scholarships (ทุนการศึกษาสําหรับประเทศเพื่อนบ้าน)

ที่มา: อว. ข้อมูลตั้งแต่ปี 2520-2563

จากการดําเนินการทุนการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ข้างต้น พบว่า ระบบทุนที่มีอยู่ ยังไม่ตอบโจทย์การพัฒนากําลังคนระดับสูงเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ ขาดการวางแผนและพัฒนากําลังคน ที่ชัดเจนขาดข้อมูลท่ีสําคัญและการเชื่อมโยงข้อมูลขาดกลไกการติดตามผู้รับทุนท่ีมีประสิทธิภาพ ขาดการส่งเสริม และใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนอย่างเป็นระบบทําให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่เต็มศักยภาพรวมทั้ง ขาดข้อมูล ความต้องการกําลังคนในอนาคต กระทรวงการอุดมศึกษาฯ จึงเห็นควรดําเนินการด้านทุนการศึกษา ให้เป็นไป ในทิศทางเดียวกันเพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณและการบริหารทุนพัฒนากําลังคน และ ทุนการศึกษาที่ดําเนินการอยู่มีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ สามารถดําเนินการสนับสนุน การพัฒนากําลังคนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรงุ ) และตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ จึงได้จัดกลุ่มทุนการศึกษาดังกล่าวจากลักษณะโครงการที่มี ความสําคัญ เป็นโครงการที่กระทรวงฯ เป็นผู้ริเริ่มดําเนินการ และยังดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งนําเสนอ ภาพรวมงบประมาณในการดําเนินโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน เพื่อประกอบการพิจารณาในการกําหนดนโยบาย และแนวทางการดําเนินการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อ พัฒนาประเทศ โดยจําแนกได้ 2 กลุ่ม ดังนี้

1. ทุนพัฒนากําลังคน เป็นการให้ทุนประเภทที่มีสัญญาผูกพันชดใช้ทุน และให้ทุนในสาขาวิชา ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือเป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนและเป็นความต้องการของหน่วยงาน จํานวน 2 โครงการ ได้แก่

1.1 โครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทุน ที่จัดสรรตามความต้องการในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส่งนักเรียนทุนไปศึกษาวิชา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี โท เอก ในสาขาวิชาต่างๆ ที่เป็นความต้องการของประเทศ เพื่อ รองรับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมภาคการผลิตและบริการ อุตสาหกรรม 4.0 และประเทศไทย 4.0 เพื่อนําประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2533 – 2575 แบ่งเป็น 5 ระยะ และมีเป้าหมายในการจัดสรรทุน จํานวน 6,188 ทุน ภายในวงเงินทั้งสิ้น 44,500,260,000 บาท (สี่หมื่นสี่พันห้าร้อย ล้านสองแสนหกหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งได้ดําเนินการจัดสรรทุนไปแล้ว จํานวน 5,193 ทุน ปัจจุบันอยู่ระหว่าง ดําเนินการจัดสรรทุนโครงการฯ ระยะที่ 4

1.2. โครงการพัฒนากําลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) โดยจัดสรรทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก และปริญญาโท-เอก ทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2564 จํานวน 1,160 ทุน ภายในวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 6,412,250.- บาท (หกล้านสี่แสนหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ ขยายระยะเวลาดําเนินการโครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2570 ตามจํานวนทุนคงเหลือ 637 ทุน ภายใน วงเงินงบประมาณคงเหลือของโครงการฯ 3,544,133,403.- บาท (สามพันห้าร้อยสี่สิบสี่ล้านหนึ่งแสนสามหมื่น สามพันสี่ร้อยสามบาทถ้วน)

2. ทุนการศึกษา เป็นการให้ทุนประเภทที่ไม่มีสัญญาผูกพันชดใช้ทุน ได้แก่ โครงการ ทุน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ใน ประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลําเนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไม่สามารถสอบเข้า ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และเยาวชนที่สามารถสอบเข้าศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาได้และศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนในพื้นที่ โดยสนับสนุนเงินทุนการศึกษาให้แก่ผู้รับทุน คนละ 40,000 บาท ต่อปีการศึกษา ซึ่งได้ดําเนินการมาแล้ว 3 ระยะ (ปีการศึกษา 2550–2563) ภายในวงเงินทั้งสิ้น 753,634,400.- บาท (เจ็ดร้อยห้าสิบสามล้านหกแสนสามหมื่นสี่พันสี่ร้อยบาทถ้วน) โดยมีรูปแบบการสนับสนุน ทุนการศึกษาปัจจุบันอยู่ระหว่างดําเนินการจัดทําโครงการฯ ในระยะที่ 4 ปีการศึกษา 2565 – 2569 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จํานวน 500 ทุน ต่อปี ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้น 419,500,000.-บาท (สี่ร้อยสิบเก้าล้านห้าแสนบาทถ้วน)

ที่มา: อว.ข้อมูลตั้งแต่ปี 2550-2564

จากภาพที่ 5 พบว่าโครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับงบประมาณสนับสนุนอย่าง
ต่อเนื่องและเป็นจํานวนมากที่สุดจากทั้งสิ้น 3 โครงการ โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับงบประมาณน้อยที่สุดและเป็นโครงการที่ไม่มีสัญญาผูกพันการชดใช้ทุน

ส่วนที่ 2 สภาพแวดล้อมการอุดมศึกษาไทย
2.1 ในเชิงปริมาณ
ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ

มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 156 แห่ง จําแนกเป็น 5 ประเภท คือ สถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ จํานวน 26 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จํานวน 11 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จํานวน 9 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏ จํานวน 38 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จํานวน 72 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษานอกสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษาฯ อีกมากกว่า 10 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลของกองทัพ และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ศูนย์ฝึก พาณิชย์นาวี สถาบันการบินพลเรือน สถาบันการพลศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการชลประทาน ฯลฯ ที่จะต้องจัดส่งข้อมูลจํานวนนักศึกษา และผู้สําเร็จการศึกษาให้กับ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ซึ่งในปี 2562 สถาบันอุดมศึกษา จํานวน 164 แห่ง จําแนกเป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา จํานวน 153 แห่ง (สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 84 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 69 แห่ง) สถานศึกษา นอกสังกัด จํานวน 11 แห่ง ได้จัดส่งข้อมูลนักศึกษาใหม่ ซึ่งมีจํานวนรวมทั้งสิ้น 428,511 คน จําแนกรายสาขา และระดับการศึกษาได้ ดังนี้

ที่มา : สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว.
ที่มา : สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว.

(หมายเหตุ : ข้อมูลปีการศึกษา 2563 ยังไม่สมบูรณ์ และยังไม่เริ่มปีการศึกษา 2564)

เมื่อเทียบสัดส่วนนักศึกษา สาขาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : สาขาด้านสุขภาพและสวัสดิการ พบว่ามีจํานวนร้อยละ 69:24:7 หรือ คิดเป็น ร้อยละ 69 : 31 เมื่อเทียบสัดส่วนระหว่าง นักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : สาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รวมวิทยาศาสตร์สุขภาพ) สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากนักศึกษารวมปี 2551 (ร้อยละ 71 : 29) และนักศึกษารวมปี 2556 (ร้อยละ 70 : 30)

เนื่องจากกลุ่มประชากรช่วงอายุ 18 – 22 ปี ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก (Age Group) ของการศึกษา ในระดับอุดมศึกษามี
แนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการรับนักศึกษาเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งภาพนักศึกษารวม
และผู้สําเร็จการศึกษาในช่วงปีการศึกษา 2551 ปีการศึกษา 2556 และ ปีการศึกษา 2561 สะท้อนภาพการหดตัวของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ซึ่งมีจํานวนสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งข้อมูล และจํานวนนักศึกษารวมและผู้สําเร็จการศึกษา ดังนี้

ที่มา : สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว

หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจํานวนที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน

ที่มา : สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว.

จะเห็นว่าจํานวนนักศึกษารวมในช่วงทศวรรษ 2551 – 2561 มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จาก 1,718,678 คน เป็น 1,792,665 คน ถึงแม้จํานวนนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจและกฎหมายจะมีจํานวนลดลงตาม นโยบาย แต่ก็ไม่ได้เพิ่มสัดส่วนสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ต่อสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่มา : สารสนเทศอุดมศึกษา สป.อว

เมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสาขาวิชาจะพบว่า กลุ่มสาขาทางด้านการบริการ มีการขยายตัวประกอบกับมีแนวโน้มที่ดีเมื่อกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์อันเป็นกลุ่มที่จะตอบสนองต่อทิศทาง การพัฒนาของประเทศในอนาคตมีการขยายตัวมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มสาขาที่ต้องเร่งผลักดันให้ผู้เรียน สนใจและเห็นประโยชน์ที่จะเติบโตในสายอาชีพ (Career Path) คือ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ สุขภาพและสวัสดิการที่พบว่ามีการหดตัวและชะลอการขยายตัว ด้วยเหตุที่ต้องเร่งผลักดันเนื่องมาจาก กลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่คาดการณ์ว่าจะตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น อุดมศึกษาในบทบาทการ ผลิตกําลังคนจะมีส่วนผลักดันสัดส่วนสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้เกิดดุลยภาพ โดยนําโจทย์ปัญหา ดังกล่าวไปกําหนดการวางแผนเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนให้ชัดเจนเพื่อให้ทรัพยากรบุคคลที่มีจํานวนจํากัด สามารถได้รับการพัฒนาในสาขาที่ตรงกับความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมและบริการได้อย่างตรงทิศทาง อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราการว่างงานและผลักดันศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้อย่างแท้จริง

2.2 ในเชิงคุณภาพ แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ได้ศึกษาวิเคราะห์คุณภาพระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่า ในการวิเคราะห์คุณภาพบัณฑิตจากรายงานสภาพ ปัญหาแรงงานของสถานประกอบการที่ต้องการใช้บัณฑิตแต่ไม่สามารถคัดเลือกได้ แต่ขณะเดียวกันยังคงปรากฏ อัตราว่างงานของบัณฑิตอยู่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาช่องว่างระหว่างระดับความสามารถของบัณฑิตกับ ความต้องการของสถานประกอบการ อีกทั้ง นายจ้างยังมีมุมมองต่อคุณสมบัติของบัณฑิตที่ยังขาดทักษะคนและ สังคม (Soft Skills) โดยเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมและสามารถตรวจสอบได้
ซึ่งจําเป็นต่อการปฏิบัติงาน ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการวิจัย พบว่า สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งการผลิตผลงานวิจัยทางวิชาการ รวมถึงการนํางานวิจัยไปถ่ายทอดเพื่อใช้ประโยชน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังกระจุกตัวอยู่เพียงบางสถาบัน และในขณะเดียวกันบางสถาบันไม่มีผลงานในระดับนานาชาติ ประกอบกับมีปัญหาความสมดุลระหว่างภาระงานวิจัย กับภาระงานสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา อีกทั้ง ศักยภาพด้านการวิจัยยังคงเป็นอุปสรรค ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งต่อการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เกิดการแข่งขันในระดับสากลหรือนานาชาติมากยิ่งขึ้น จึงทําให้ผลการจัดอันดับ (University Ranking) ของสถาบันอุดมศึกษาไทยในเวทีโลกเป็นส่วนสะท้อนคุณภาพได้เช่นกัน ซึ่งผลการวิเคราะห์อันดับมหาวิทยาลัยในโลก พบว่าอันดับมหาวิทยาลัยไทยมีแนวโน้มลดลง จากการจัดอันดับของ QS และ THE แต่ในบางสาขาวิชามีแนวโน้มอันดับที่ดี

2.3 ในเชิงนโยบาย

สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทําแผนด้าน การอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 โดยกําหนดวิสัยทัศน์ว่า “อุดมศึกษา สร้างคน สร้างปัญญา เพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน” เพื่อให้การอุดมศึกษา มีส่วนสําคัญในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และทิศทางการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายโดยอาศัยพันธกิจของ สถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหลัก โดยแผนด้านการอุดมศึกษาฯ ได้วางยุทธศาสตร์หลักไว้ 3 ประการ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคน เพื่อสร้างกําลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณรองรับ การพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก 2) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมระบบนิเวศวิจัย เพื่อให้ งานวิจัยสามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และ 3) การจัดระบบ อุดมศึกษาใหม่ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีสมรรถนะตรงตามอัตลักษณ์/จุดแข็ง เพื่อให้เกิดคุณภาพในระบบ อุดมศึกษา ที่จะส่งผลให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) เป็นประเทศ พัฒนาแล้ว โดยได้กําหนดแนวทางการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 1 :
การพัฒนา ศักยภาพคน (Capacity Building) ดังนี้

แนวทางที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้ ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสตลอดจนผู้สูงวัยสามารถเข้าถึงบริการทาง การศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูง สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เพียงพอ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ

1) กําหนดแผนการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Provide Lifelong Learning Plan) 2) สร้างโอกาสเข้าถึงอุดมศึกษาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Access & Equity in Higher Education) 3) การจัดการศึกษาสําหรับผู้สูงอายุ (Education for the Elderly) 4) การเชื่อมโยง และสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษาระดับอื่น และ 5) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้เรียนทุกกลุ่มในสถาบันอุดมศึกษา (Campus Life & Universal Design)

แนวทางที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาและสมรรถนะของกําลังคน (Quality & Manpower Competencies Enhancement) ได้แก่ สมรรถนะเชิงวิชาการ สมรรถนะการประกอบอาชีพที่มีทักษะการ ปฏิบัติงานรองรับงานในปัจจุบันและอนาคต และสมรรถนะการเป็นพลโลก ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ 1) ปรับปรุงระบบการกํากับคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร
2) วางแผนการผลิตบัณฑิตกําลังคน ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพให้สอดคล้องตามศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา และตอบสนองความต้องการเพื่อการพัฒนา ประเทศ 3) การจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน ( Cooperation and Work Integrated Education: CWIE) 4) การปรับระบบการศึกษาเพื่อรองรับผู้เรียนนอกวัยเรียน (Reskills & Upskills)
5) เสริมสร้างการเป็นพลเมืองของผู้เรียน

แนวทางที่ 3 การสร้างเสริมบุคลากรคุณภาพสูง (Enhancement of Brainpower & Concentration of Talents) เพื่อสามารถพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดผู้มีความสามารถสูงเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นชุมชนทางวิชาการที่มีศักยภาพสูงและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสู่สากล ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ 1) ยกระดับคุณวุฒิ และตําแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ 2) สนับสนุนกรอบ การบริหารงานบุคคลสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา 3) สังคมวิชาการระดับโลกยอมรับบทบาทนักวิชาการไทย ทั้งนี้ได้กําหนดผลที่คาดว่าจะได้รับต่อสังคมและประเทศชาติ ดังนี้

ประการที่ 1 สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต
ประการที่ 2 คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพพร้อมสําหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
ประการที่ 3 สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ําในทุกมิติ
ประการที่ 4 ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นทําให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
ประการที่ 5 ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลง พร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความโปร่งใสปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ส่วนที่ 3 บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมระดับโลก
3.1 บริบทการเปลี่ยนแปลงระดับโลก
ที่จะส่งผลหรืออิทธิพลทําให้สถานะของประเทศที่เป็นอยู่เกิดการเปลี่ยนไป และประเทศไทยควรมุ่งเน้นให้ความสําคัญ ในส่วนที่เกี่ยวกับอุดมศึกษา มีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้

3.2 ผลกระทบและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID19)

3.2.1 ผลกระทบระดับโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการใช้ชีวิตของประชากรโลกอย่างรุนแรง เกิดเป็นต้นทุนจากทั้งความสูญเสียชีวิตและการเจ็บไข้ได้ป่วยโดยตรงจากการติดเชื้อ และผลกระทบทางอ้อมจาก ความพยายามในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด กลุ่มประเทศหรือประเทศที่ได้รับความเสียหายในด้าน การค้าโลก มากที่สุดตามดัชนี Purchasing Managers’ Index (PMI) คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ตามลําดับ กลุ่มประเทศในทวีปเอเชียได้รับความเสียหายจากปริมาณการเดินทางทางอากาศที่หดตัวอย่างรุนแรง มากที่สุด อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศได้ทยอยปรับตัวดีขึ้นตามลําดับ โดย OECD คาดการณ์ว่า ในปี 2564 โลกจะมีอัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องด้วยความสําเร็จของ มาตรการควบคุมการระบาด มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะยาว และการจัดสรรวัคซีนที่คาดว่าจะสามารถ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) มากที่สุด ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การดูแลรักษาสุขภาพและการรักษาพยาบาล การขยายตัวของความเป็นเมือง แนวโน้มเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ และอนาคตของงาน รวมถึงพฤติกรรมการดํารงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

3.2.2 ผลกระทบต่อประเทศไทย ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศแรกของโลกที่พบการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ภายในประเทศ มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 แต่ด้วยขีดความสามารถในการให้ความสําคัญต่อการดําเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างจริงจังของรัฐบาล และการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีของภาคเอกชนและประชาชน ประกอบกับระบบสาธารณสุขของประเทศที่มีประสิทธิภาพทําให้ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจํานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ต่ําเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีสัดส่วนผู้ติดเชื้อต่อประชากรต่ําที่สุดเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อย่างไรก็ตามได้มี การระบาดเพิ่มขึ้นเป็นรอบที่
2 – 3 ตั้งแต่เมษายน 2564 เป็นต้นมา ทําให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับค่อนข้าง รุนแรง เนื่องจากการพึ่งพาภาคบริการในสัดส่วนสูง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โครงสร้างการส่งออกสินค้าของไทยก็ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มสินค้ามูลค่าสูงที่มีการฟื้นตัวช้าเป็นส่วนมาก อาทิ ยานยนต์ ชิ้นส่วนประกอบ และเครื่องจักร จึงส่งผลให้ความต้องการสินค้าแปรผันตามกําลังซื้อที่ลดลงอย่างมากของตลาดโลก นอกจากนี้
ผลกระทบระยะยาวของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทําให้การเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาในระบบทําได้ไม่เต็มที่ ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่หายไป (Learning Losses) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา

3.3 สถานะของประเทศไทยและผลจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก กว่าสี่ทศวรรษของการพัฒนาประเทศ
ที่แม้จะนํามาซึ่งความก้าวหน้าด้านสังคม เศรษฐกิจและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนไทยอย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา แต่ข้อจํากัดและความท้าทายที่สําคัญหลายประการซึ่งประเทศไทยยังคงต้องเผชิญและรอที่จะได้รับการแก้ไข กอปรกับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในระดับโลกที่ได้สังเคราะห์ ไว้ข้างต้น จะยังเป็นปัจจัยสําคัญที่ต้องคํานึงถึงในการกําหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขัน ที่ได้กําหนดเป้าหมายสําคัญในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่าง มีเสถียรภาพและยั่งยืน รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูง ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ทําให้เศรษฐกิจไทยเติบโตติดลบในปี 2563 และคาดว่ายังต้องใช้เวลาถึงปี 2565 จึงจะทําให้เศรษฐกิจ กลับมาเติบโตอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการระบาดได้ นอกจากนี้ ผลจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ยังส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะต่อไป (Scaring effects) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งต่อตลาดแรงงานความสามารถในการชําระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจให้มีความเปราะบางมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบ ต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

3.4 หมุดหมายภายใต้กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13(พ.ศ.2566–พ.ศ.2570) ที่ อววน. มีศักยภาพทําให้บรรลุได้ ประกอบด้วย
3.4.1 สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออก Functional Ingredients และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเศรษฐกิจจุลินทรีย์
3.4.2 การท่องเที่ยวเน้นคุณค่าและความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของ Sustainable Tourism
3.4.3 ผู้นําการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน มุ่งให้ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับ 1 ใน 10 ของโลกด้าน Battery และชิ้นส่วนของยานยนต์ไฟฟ้า
3.4.4 ศูนย์กลางทางการแพทย์ และสุขภาพมูลค่าสูง โดยหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและผลิตวัคซีนในระดับอาเซียน
3.4.5 ประตูการค้า การลงทุนและจุดยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์
3.4.6 ศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน
3.4.7 SMEs ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ โดยมีเป้าหมายให้ไทยมี ผู้ประกอบการท่ีขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (IDE) ที่มีรายได้ 1,000 ล้านบาท จํานวน 1,000 ราย
3.4.8 พื้นที่และเมืองอัจฉริยะท่ีน่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน
3.4.9 ความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอและ เหมาะสม โดยให้คนจน 10 จังหวัดเป้าหมายพ้นเส้นความยากจน
3.4.10 เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ํา เพื่อส่งเสริมให้ไทยเปลี่ยนผ่านเป็นประเทศ สร้างมูลค่าจากฐานสังคมคาร์บอนต่ําและการผลิตที่สะอาด
3.4.11 การลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งหวังให้ไทยเปล่ียนผ่านเป็นประเทศสร้างมูลค่าจากฐานสังคมคาร์บอนต่ําและการผลิตที่สะอาด
3.4.12 ไทยมีกําลังคนสมรรถนะ มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต กําหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น Hub of Talent ในโลกตะวันออก สามารถพัฒนาและผลิตยานสํารวจ อวกาศ ที่วิจัยโดยคนไทยโคจรรอบดวงจันทร์
3.4.13 ภาครัฐท่ีทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน

3.5 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในภาพรวมมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเป็นผลมาจากการยกระดับสุขภาวะ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการสะท้อนการพัฒนาในเชิงปริมาณเป็นหลัก
เมื่อพิจารณาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติคุณภาพของไทยนั้น ยังมีช่องว่างที่ยังคงเป็น ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาผลสัมฤทธิ์การศึกษา และการขาดแคลนทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดและทิศทางการพัฒนาประเทศ แรงงานไทยส่วนมากยังมีระดับการศึกษาต่ํา โดยพบว่า แรงงานร้อยละ 42.1 ไม่มีการศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา ขณะที่อีกร้อยละ 34.5 สําเร็จ การศึกษาเพียงระดับมัธยมศึกษา และมีแรงงานสําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพียงร้อยละ 22.5

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายแรงงานที่สําคัญของภูมิภาคอาเซียน ในฐานะประเทศต้นทาง
ทางผ่าน และปลายทางของผู้ย้ายถิ่น โดยในปี 2563 มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทํางาน ทั่วราชอาณาจักร จํานวนทั้งสิ้นถึง 2,512,328 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ (เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) จํานวน 2,063,561 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 82.14 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แรงงาน ต่างด้าวจึงเป็นหนึ่งในกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคาดว่ามีส่วน ช่วยในการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากถึงร้อยละ 6.6 โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่มีการพึ่งพา แรงงาน ต่างด้าวสูง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง ภาคเกษตร และประมง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแรงงานต่างด้าว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่ใช้ทักษะฝีมือต่ํา โดยในปี 2563 มีจํานวนแรงงานประเภทฝีมือเพียง 142,996 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 5.69 จากจํานวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด

3.6 แนวคิดของกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570) ประกอบด้วย
3.6.1 พลิกโฉมประเทศไทย สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน (Transformation to Hi-Value and Sustainable Thailand) ภายใต้แนวคิด “Resilience” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการลดความเปราะบาง สร้างความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาวะวิกฤติ โดยสร้างภูมิคุ้มกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้ประเทศสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการยกระดับศักยภาพและพัฒนา ประเทศในทุกมิติ

3.6.2 องค์ประกอบหลักของการขับเคลื่อนประเทศสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่าง ยั่งยืน” (Hi-Value and Sustainable Thailand) โดยมีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจมูลค่าสูง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Value-Added Economy) 2) สังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค (High Opportunity Society) 3) วิถีชีวิตที่ยั่งยืน (Eco-Friendly Living) และ 4) ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ (Key Enablers for Thailand’s Transformation)

ส่วนที่ 4 ข้อจํากัดและโอกาสการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา ประเทศ

4.1 สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดําเนินการจัดสรร ทุนการศึกษาตั้งแต่เป็นทบวงมหาวิทยาลัย ต่อเนื่องถึงสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และหลอมรวมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนในปัจจุบัน คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้จัดสรรทุนประเภทต่างๆ
จําแนกออกเป็น 5 ประเภท ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในส่วนที่ 1 ภาพรวมของการจัดสรรทุนของประเทศ สําหรับการดําเนินการบริหารจัดการทุนของสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ที่ผ่านมา ยังคงต้องปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุผลตามวัถุประสงค์ ซึ่งพบว่ามี ข้อจํากัดหลายๆ ประการ ดังนี้

4.1.1 ด้านนโยบาย ได้แก่ ระบบทุนที่มีอยู่ยังไม่ตอบโจทย์การพัฒนากําลังคนระดับสูงเพื่อรองรับ ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างจริงจัง ยังไม่มีการวางแผนการพัฒนากําลังคนแต่ละสาขาที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อย่างเป็นรูปธรรม ทําให้ไม่มีข้อมูลเชิงนโยบายที่สําคัญ และยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลทุนอย่างมีประสิทธิภาพที่จะ สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับการบริหารจัดการทุนอยู่ในหลายหน่วยงานของสํานักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ทําให้ขาดความเป็นเอกภาพและมีผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ

4.1.2 ด้านการบริหารจัดการ จากการที่การบริหารจัดการทุนอยู่ในความรับผิดชอบของหลาย หน่วยงานจึงมีความกระจัดกระจายและขาดประสิทธิภาพ เงื่อนไขการให้ทุนที่ผ่านมาไม่สร้างแรงจูงใจในการรับทุน เช่นเดียวกับทุนรัฐบาลอื่นๆ ถึงแม้ปัจจุบันแต่ละโครงการมีการจัดทําฐานข้อมูลผู้รับทุนแต่ยังไม่มีการนําข้อมูลมาใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่

4.1.3 ด้านการติดตามและใช้ประโยชน์พบว่ากลไกในการติดตามผู้รับทุนยังไม่เกิดประสิทธผิลที่ ทําให้ติดตามกรณีการยุติ หรือการสิ้นสุดสถานภาพการการรับทุน สละสิทธิ์การรับทุน ผู้รับทุนไม่สามารถสําเร็จ การศึกษาภายในเวลาที่กําหนด เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันที่รับผู้รับทุนบางแห่งไม่มีแผนในการใช้ประโยชน์จาก ผู้รับทุนอย่างชัดเจนเต็มตามศักยภาพของผู้รับทุน บางแห่งระบบเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของผู้รับทุนไม่ชัดเจน ทําให้มีการขอย้ายสถานที่รับทุน หรือผู้รับทุนไม่มีความก้าวหน้าทางอาชีพ รวมทั้ง ระบบราชการไม่ดึงดูด คนเก่งให้เข้าสู่ระบบ เนื่องจากมีแหล่งทุนอื่น ๆ ที่ดึงดูดใจมากกว่า

4.2 โอกาสในการจัดสรรทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ

4.2.1 จากสภาพข้อจํากัดในการบริหารจัดการทุนที่ผ่านมา สามารถปรับเปลี่ยนเป็นโอกาสในการพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ ให้ตรงกับความต้องการของภาคการผลิต ความสามารถในการ แข่งขันของสาขาการผลิตและบริการ
เป้าหมายสาขาการผลิตที่ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ใน อนาคตภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ และสอดคล้องกับหมุดหมายที่กําหนดในข้อ 3.4 เช่น ใน 7 สาขา ดังนี้

• การเกษตรประกอบด้วย 1) เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 2) เกษตรปลอดภัย 3) เกษตรชีวภาพ 4) เกษตรแปรรูป 5) เกษตรอัจฉริยะ

• การท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมท่องเที่ยวเชิงธุรกิจท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ ความงามและแพทย์แผนไทย ท่องเที่ยวสําราญทางน้ํา และท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค

• อุตสาหกรรมชีวภาพ กลุ่มเคมีชีวภาพ (อาทิ วัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตอาหาร อาหารสัตว์ ยา) กลุ่มชีวเภสัชภัณฑ์
(อาทิ ยาชีววัตถุ และวัคซีน) และกลุ่มพลาสติกชีวภาพ

• อุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร ประกอบด้วย การให้บริการทางการแพทย์ การผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการผลิตยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้ง กลุ่มอุตสาหกรรมย่อยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการขยายผลจากธุรกิจพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาล และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

• อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัลข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์เป็นการนําเทคโนโลยีดิจทัล มาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพให้อุตสาหกรรมและบริการ แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware & Smart Device) กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software) กลุ่มอุตสาหกรรม ด้านการสื่อสาร (Communications) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Service) และกลุ่มอุตสาหกรรม ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมและ บริการอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลฯ ในระยะยาว ประเทศไทยจําเป็นต้องเร่งสร้างความสามารถ ในการพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อปรับเปลี่ยนจากการเป็นการเป็น ผู้รับจ้างผลิตแบบ OEM (Original Equipment Manufacturer) ไปสู่ OBM (Owned Brands Manufacturer) และ ODM (Owned Design Manufacturer)

• อุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ชาติได้กําหนดทิศทางของการ พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ระดับภูมิภาค การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ และการ พัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

• อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้ผลักดันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษอันดับที่ 11 ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน การผลิต การใช้และการส่งออกเพื่อหารายได้ในเชิงพาณิชย์ โดยการส่งเสริม อุตสาหกรรมป้องกันประเทศในพื้นที่ EEC ประกอบด้วย
(1) กิจการผลิตและซ่อมยานพาหนะและระบบอาวุธ อาทิ รถถัง รถเกราะ และยานพาหนะรบ (2) กิจการผลิตและซ่อมอากาศยานไร้คนขับ (3) กิจการผลิตและซ่อมอาวุธ และเครื่องช่วยฝึก และ (4) กิจการผลิตและซ่อมอุปกรณ์ช่วยรบ อาทิ
เสื้อเกราะ กันกระสุนเกราะ และโล่ป้องกัน กระสุน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วเพื่อใช้ทางการทหาร เช่น โดรน รถหุ้มเกราะ ที่ใช้ใน ราชการ ฯลฯ อย่างไรก็ดี แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีความสามารถในการผลิตยุทโธปกรณ์ได้เองบางส่วน แต่ยังไม่สามารถผลิตยุทโธปกรณ์เพื่อการส่งออกหรือจําหน่ายในเชิงพาณิชย์ในระดับที่สามารถแข่งขันกับประเทศที่มี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศครบวงจรได้

4.2.2 พัฒนาทักษะที่จําเป็นในการพัฒนากําลังคนที่มีสมรรถนะสูง โดยดําเนินการจัดสรร ทุนการศึกษา ทั้งเพื่อการพัฒนากําลังคน (การพัฒนากําลังคนโดยตรง และการพัฒนาผ่านการสร้างและพัฒนา อาจารย์มหาวิทยาลัย ในสาขาที่ขาดแคลน และจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ) ทุนพัฒนาทักษะและความสามารถพิเศษ

4.2.3 เร่งรัดการผลิตแรงงานทักษะสูงเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมาย

4.2.4 ลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาและการฝึกอบรม สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ํา ทางการศึกษาในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มชายขอบ และกลุ่มเขตพัฒนาพิเศษ โดยเน้นสาขาเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติ และในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสําหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21

ส่วนที่ 5 หลักการชี้นํา (Guiding Principles) เรื่อง ทุนการศึกษา

การบริหารจัดการทุนการศึกษา ควรดําเนินการตามหลักชี้นํา ดังนี้

• ทุนการศึกษาเป็นองค์ประกอบสําคัญในการ“สร้างคน”เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา ประเทศ และเร่งรัดการผลิตกําลังคนระดับสูงให้ตอบโจทย์ประเทศ

• ต้องกําหนดจุดเน้น(Focus)การจัดลําดับความสําคัญก่อนหลัง(Priority)หรือทางลัด(By-pass)เพื่อให้ ดําเนินการอย่างมีเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์

• สนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดสรรทุนในสาขาที่หลากหลายครอบคลุมสหวิทยาการทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์

• มีระบบบริหารจัดการทุนในภาพรวมของประเทศที่มีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

• มีกลไกการดูแลผู้ได้รับทุนทั้งก่อนการศึกษาระหว่างศึกษาและหลังจบการศึกษาทําให้ผู้รับทุน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เข้าศึกษาจนกระทั่งกลับไปปฏิบัติงาน ให้ผู้รับทุนและหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและมีส่วนร่วมในระบบทุนการศึกษา

• ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม(Socialmovement)ทั้งภาคการศึกษาภาคเอกชนภาครัฐ และประชาชน ในการบูรณาการการขับเคลื่อนระบบทุนการศึกษาอย่างมีเอกภาพ

• มีการติดตามสถานะของการสร้างคนและการให้ทุนการศึกษา ทั้งในด้านจํานวน สาขา ผลการศึกษา และการปฏิบัติงาน

• ใช้ทั้งกลไกการสรรหา และรับเข้าอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

ส่วนที่ 6 นโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับการขับเคลื่อนทุนการศึกษา

1. การจัดสรรทุนที่มุ่งนําพาประเทศไปสู่เป้าหมายและทิศทางที่รัฐบาลและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมวางไว้ ในการเตรียมคนเพื่อพาประเทศไปสู่เป้าหมายหรือทิศทางที่กําหนด คือ การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในสิบปีข้างหน้าต้องทําให้ทุนการศึกษาไปสร้างคนที่จะมาสร้างประเทศที่พัฒนาแล้วให้เป็น Developed Country ให้ได้

2. การจัดสรรทุนการศึกษาต้องมี Focus, Priority, By-pass และ Giant Step
2.1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1) เน้นการให้ทุนที่จะเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ในประเทศไทยได้อย่างลึกยิ่งขึ้น เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้าน AI ถ้า AI ดี Robot ก็จะทําได้ดี และหัวใจของ AI หนึ่งคือ Big Data สองคือ ความเร็วคอมพิวเตอร์
2) เน้น BCG ปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ที่มีฐานให้สูงขึ้น ลึกขึ้น นํามาทํา BCG ให้ดียิ่งขึ้น ทําให้ลึกขึ้น เป็นจุดที่ประเทศสามารถแข่งขันได้ ซึ่งจะต้องคิดว่าเราจะทําอะไร ให้ทุนคนไปเรียนอะไร เพื่อให้ กลับมาเป็นกําลังสําคัญของ BCG เช่น เกษตรพรีเมี่ยม แพทย์และสาธารณสุขในยุคใหม่ ในยุคที่ใช้ AI มากขึ้น ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีมาทําให้การแพทย์เปลี่ยนสภาพไป หรือที่เรียกว่า Deep Medicine เป็นแพทย์เชิงลึกที่ทุกอย่างเป็น Individualized มากขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นต้องทําเรื่องที่ Take a Giant Step โดยก้าวเข้าสู่การแข่งขันรอบใหม่ ซึ่งจําเป็นต้องส่งคนไปเรียนศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น รวมถึง BCG เรื่องความสุข ธุรกิจเกี่ยวกับความสุขความงาม สันถวไมตรี การท่องเที่ยวราคาสูง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม การนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปศึกษาเรื่องโบราณ โบราณคดี เรื่องประวัติศาสตร์ เป็นต้น
3) ต้องให้ทุนไปเรียนเรื่องอวกาศ ดาราศาสตร์ ดาวเทียม ยานอวกาศ Remote sensingให้มากขึ้น เป็นความสามารถที่เราไม่ได้คาดคิดว่าคนไทยจะทําเรื่องดาวเทียม ยานอวกาศ Remote sensing การเก็บข้อมูล ระยะไกลโดยใช้ดาวเทียมได้ดี ต้องสรุปว่าเราแข่งขันได้ ต้องสนับสนุนและหาคนรุ่นใหม่มาแทนคนรุ่นเก่ามากขึ้น
4) สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับคนที่ทําเรื่อง High-energy Physics, นิวเคลียร์ฟิวชั่น ศูนย์ปฏิบัติการที่เซิร์น การสํารวจแอนตาร์กติกา ที่กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทํา ให้ จึงต้องเข้าไปสนับสนุน และให้ทุนกับคนที่ทําเรื่องเหล่านี้
5) ต้องทําเรื่อง 5G และ 6G
6) ต้องทําเรื่อง Quantum Physic, Quantum Computing, Quantum Communication

ซึ่งการเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นโอกาสของประเทศ ต้องเปลี่ยน Mindset จากเดิมที่เป็นการเปลี่ยน เทคโนโลยีเป็น Threat ให้เป็น Opportunity

2.2 ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์
1) ต้องให้ทุนการศึกษาเพื่อเอาวิชาที่นําไปสร้างสังคมที่มองไปข้างหน้า รู้ทันอนาคต ดักรออนาคต ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่รักและภูมิใจในอดีต และปัจจุบัน และต่อยอดให้ได้ เรียนวิชาอะไรก็ต้องคิดว่า เรียนไปเพื่อเอามาทําให้ประเทศและสังคมให้ดีขึ้น เก่งขึ้น งามขึ้น
2) ต้องให้ทุนการศึกษาเพื่อส่งคนไปเรียนวิชาที่ทําให้เกิดการสร้างสังคมที่รักการเรียนรู้ เชื่อมั่น ว่าชาติจะก้าวหน้าไปได้ไม่หยุดยั้ง ไม่มีอะไรขวางกั้นให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งต้องไปเรียน Positive Psychology, Positive Thinking ให้มากขึ้น
3) ต้องส่งคนไปเรียนเพื่อไปเอาศาสตร์ เอาประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างสังคมที่ตื่นรู้ ที่สนใจ ที่ ซาบซึ้งในด้านศิลปะ ด้านสถาปัตย์ ด้านดนตรี ด้านวรรณศิลป์ ด้านสุนทรีศาสตร์ ด้านศาสนา ด้านจิตวิญญานไม่ น้อยกว่าด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะจะเจริญต้องมีผู้เสพศิลป์ ต้องมีลูกค้า ซึ่งจะต้องเพิ่ม Art and Culture Appreciation ให้คนไทยให้มาก
4) ต้องส่งคนไปเรียนเพื่อกลับมาสร้างสังคมพรั่งพร้อมสมบูรณ์ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน เมือง ภาค และประเทศ พัฒนาทุกระดับ ให้คนรักภูมิใจในตระกูล ชุมชน ท้องถิ่น มี ทั้งความรู้ มีจิตวิทยาเชิงบวก และมีการบริหารจัดการที่ทําอะไรได้สําเร็จ
5) ต้องส่งคนไปเรียนเพื่อกลับมาสร้างสังคมที่เป็นส่วนผสมที่ดีของชาติพันธุ์ของกลุ่มชน ที่หลากหลาย ที่เป็นลักษณะพิเศษของคนไทย และกลับมาสร้างสังคมที่เป็นสังคมประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ไม่ละเลยอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ ทุนการศึกษามีทั้งเรื่องเรียนในประเทศและเรียนต่างประเทศ ซึ่งการส่งไปเรียนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ส่งไปประเทศที่เจริญก้าวหน้าดีอยู่แล้ว แต่ต้องส่งไปประเทศสําคัญแต่ยังไม่เจริญก้าวหน้าแต่สําคัญสําหรับ เรา เช่น CLMV ต้องส่งคนไปเรียนเพื่อเอาพวก เอาเพื่อน เอาสังคม แต่ต้องใช้การโน้มน้าวคนที่จะชวนมาเรียน และต้อง สร้างความมั่นใจให้เขาเห็นว่ามีงานทําแน่นอน และต้องทํางานให้เราตั้งแต่ต้น สําหรับทุนในประเทศ มีจํานวน มากกว่าต่างประเทศ และส่วนใหญ่เป็นระดับปริญญาตรี แต่ทุนในประเทศระดับปริญญาเอกที่ทํากับอาจารย์ ที่ ทําวิจัย ในระดับ Leading Edge และต้องทําในระดับเป็นลูกมืออาจารย์ และเป็นคนที่จะมาแทนอาจารย์ คนนั้น ต้องหมายตาให้ดีว่าวิจัยเรื่องไหนที่เราก้าวหน้า เราต้องให้เรียนในประเทศแต่สามารถส่งไปเสริม ความรู้ได้ ในต่างประเทศ แต่ต้องมาเป็นส่วนหนึ่งของวิจัยที่เป็น Leading Edge กับอาจารย์ไทยเองตั้งแต่ต้น ประเทศที่เจริญก้าวหน้าจะต้องเริ่มมีคนจบปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศที่เก่งเป็นเลิศมากขึ้น

3. การมีแผนการใช้ผู้รับทุน ตั้งแต่ในระหว่างที่เรียนโดยให้มีบทบาทตั้งแต่ที่เรียนอยู่ ต้องให้เก็บข้อมูลจาก ต่างประเทศ ให้เก็บ Process สําคัญที่กําลังวิจัย และรายงานมายังกระทรวงฯ ทุกภาคการศึกษา เหมือนเป็น Intelligence Unit ของกระทรวงฯ แต่อยู่ในต่างประเทศ โดยต้องให้ผู้รับทุนทราบว่าทําไม ต้องให้ทุน ต้องการ ให้ไปทําอะไร และเขาเป็นคนของประเทศตั้งแต่วันแรกของการรับทุน รวมทั้งควรโน้มน้าว นําพา โดยไม่ปล่อยให้ ผู้รับทุนไปตามตลาดแรงงาน ตลาดความคิด และตลาดความเชื่อ จึงต้องชักจูง ให้ผู้รับทุนสนใจในเรื่องที่อยากให้ทุน และการให้ทุนต่างๆ ควรหารือมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น ให้ครบ ทุกประเภท ไม่เฉพาะ มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลกเท่านั้น มหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยเชิงเทคโนโลยี รวมทั้งมหาวิทยาลัยศาสนา และหารือองค์กรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนอกและในกระทรวง หารือรัฐบุรุษ ทางการศึกษา ทางวิจัย ทาง วิทยาศาสตร์ ทางสติปัญญา และหารือกับวงวิจัยต่างๆ ด้วย

4. การทําให้บรรลุสถานะที่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว Developed Country ในสิบปี ควรต้องให้ทุนเรียน Post – doc หรือ Non Degree มากขึ้น และต้องทําให้ได้ภายในสิบปี

ส่วนที่ 7 นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาประเทศ

เพื่อให้การบริหารจัดการทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประมวลจากที่มาและความสําคัญจา แนวคิดการพัฒนากําลังคน สภาพแวดล้อมและบริบทของการอุดมศึกษาไทย สถานการณ์โลกที่เปลี่ยน แปลงไป ทิศทางของประเทศ ทั้งยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570) และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 และนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับการ ขับเคลื่อนทุนการศึกษา นอกจากนี้ จากการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เป็นประธาน ได้มอบนโยบายสําคัญ 3 เรื่องให้กับที่ประชุม โดยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากําลังคน คือ การพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการอุดมศึกษา ที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและเป็นประโยชน์สูงสุดกับประชาชน สิ่งสําคัญที่สุดคือ การลงทุนในด้านเหล่านี้จะต้องช่วยตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและเป็นประโยชน์กับประชาชน โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศเผชิญกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการมองไปข้างหน้าหลัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรมนุษย์ล้วนเป็นปัจจัยสําคัญที่จะช่วยฟื้นฟูและทําให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่าง มั่นคงและยั่งยืน จึงขอให้ยังเน้นในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรด้วยว่า ควรจะต้องสร้าง “คน” ที่มีคุณภาพทั้ง ความรู้ รองรับการเปลี่ยนแปลง ควบคู่ไปกับจิตสํานึก คุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้ง ที่ประชุมสภานโยบายฯ ได้ ให้ความเห็นชอบหลักการการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนา การอุดมศึกษา ที่มีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตและกําลังคนที่ มีสมรรถนะและศักยภาพสูงเพียงพอต่อความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนาประเทศและขับเคลื่อนการ เติบโตทางเศรษฐกิจสาขาใหม่ ๆ และพัฒนาสังคมและชุมชนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เกิดการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการของประเทศ พัฒนาและยกระดับมาตรฐานของการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา โดยเชื่อมโยงการเรียน การสอน การวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการและองค์กรชั้นนําทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนมุ่งเป้าให้เกิดระบบนวัตกรรมการพัฒนา
กําลังคนและบุคลากรทุกช่วงวัยเพื่อตอบโจทย์การ เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างมีคุณภาพ จึงเห็นควรกําหนดนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ ให้สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการ ให้มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ดังนี้

1. ปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการทุนให้มีความเป็นเอกภาพภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการบริหาร จัดการทุน

2. จัดสรรทุนเพื่อสร้างคนให้ตรงกับตลาดแรงงานและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

3. ขับเคลื่อนการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานและวางแผนการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน อย่างเป็นระบบ

แนวทางในการขับเคลื่อน

การขับเคลื่อนตามนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย แนวคิด กระบวนทัศน์ และทัศนคติในเรื่องการ จัดสรรทุน ว่าเป็นการสร้างคน สร้างอนาคตให้ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทุนด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือด้านศิลปะ แต่เป็นการสร้างให้คนมีทักษะทางสังคมด้วย เมื่อสําเร็จการศึกษา กลับมาสร้างสังคมในอนาคตที่ดีงาม มีความรักและภาคภูมิใจในอดีต สร้างสังคมที่รักการเรียนรู้ เข้าใจซาบซึ้ง สุนทรียศาสตร์และศาสนา สามารถสร้างสังคมให้มีความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน สังคมและประเทศ รวมทั้งกลับมาสร้างสังคมที่เป็นส่วนผสมที่ดีของ
ชาติพันธ์ุของกลุ่มชนที่หลากหลายที่เป็นลักษณะพิเศษของคนไทย และสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตย รักชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ซึ่งนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ 3 ประเด็น ข้างต้น มีแนวทางในการขับเคลื่อน ดังนี้

1. ปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการทุนให้มีความเป็นเอกภาพภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการ บริหารจัดการทุน โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนประกอบด้วย

1.1 การบูรณาการหน่วยบริหารจัดการทุนให้มีเอกภาพ เนื่องจากหน่วยบริหารจัดการทุนของ ประเทศมีหลายแหล่งทุน หลายกระทรวง อีกทั้งภายในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก็มีหลายหน่วยงานที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยจัดสรรและบริหารทุนการศึกษา ประเภทต่างๆ ตั้งแต่ทุนระดับมัธยมศึกษา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ซึ่งการให้ทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการ จึงทําให้อาจเกิดความซ้ําซ้อน เพื่อให้มีการใช้งบประมาณในการลงทุนเพื่อพัฒนากําลังคนอย่างคุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงจําเป็นต้องมีการบูรณาการหน่วยบริหารจัดการทุนให้มีเอกภาพในโครงการ และกลไกเดียวกันของสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ

1.2 การจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ (Competency) และทักษะที่จําเป็นในการพัฒนา ประเทศ (Non-degree) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ในลักษณะที่เป็น Multi skill/Multi talent เพื่อสร้างองค์ความรู้และทักษะการทํางานควบคู่กับมุมมอง ทัศนคติ การใช้ชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญใน การรับมือกับความท้าทายต่างๆ เพื่อให้ทันต่อความต้องการกําลังคนในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมที่สําคัญใน ระยะสั้น โดยลักษณะความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

1.3 การกําหนดคุณสมบัติของผู้รับทุนให้ชัดเจน และกําหนดวิธีการสรรหา คัดเลือกที่มีรูปแบบ หลากหลายสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งกลไกการสรรหา และรับเข้าอย่างเหมาะสมตาม สถานการณ์ เช่น การสรรหาเชิงรุกจากผู้ที่กําลังศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเพื่อให้ทันต่อการได้ผู้รับทุนมาใช้ ประโยชน์ได้รวดเร็วขึ้น การสรรหาอาจเป็นรูปแบบการช้อนซื้อ จากผู้ที่ใกล้จบการศึกษามารับทุน หรือผู้ที่สําเร็จการศึกษาแล้วและมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการที่จะใช้ประโยขน์ได้ทันที โดยการให้ทุนเป็นการจ่ายเงินค่าเล่า เรียนคืนกลับให้ เป็นต้น ทั้งนี้ ควรเพิ่มกระบวนการคัดเลือกผู้รับทุน ให้ได้ผู้รับทุนที่มีจิตสํานึกและทัศนคติที่ดีต่อ การรับราชการ เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการทํางาน และการใช้ชีวิต ให้ตั้งใจศึกษา เล่าเรียนและกลับมาปฎิบัติงานชดใช้ทุนเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

1.4 การพัฒนาและสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับทุนเข้าร่วมโครงการ โดยปรับรูปแบบและเงื่อนไข การรับทุน รวมทั้งการชดใช้ทุน ให้มีความยืดหยุ่น เพื่อดึงดูดและสร้างแรงจูงใจผู้รับทุนที่มีศักยภาพสูงทั้งในและ ต่างประเทศ ตลอดเวลาทั้งการศึกษารวมทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว

1.5 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทุนการศึกษาให้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน และสามารถใช้ประโยชน์เชิงนโยบายได้ โดยปฎิรูประบบฐานข้อมูลทุนการศึกษาทั้งระบบ ด้วยการกําหนด Data Catalog จัดทําและบูรณาการการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลกลางร่วมกัน สร้างสารสนเทศ (information) ด้านทุนพัฒนากําลังคน การอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ

1.6 กําหนดแนวทางการจัดสรรทุน เช่น ประเภทการรับทุน สาขาวิชา ประเทศที่ไปศึกษา โดยมี กลยุทธ์และทิศทางที่สอดคล้องกับความจําเป็นและเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศ

2. จัดสรรทุนเพื่อสร้างคนให้ตรงกับตลาดแรงงานและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยมี แนวทางการขับเคลื่อน ดังนี้

2.1 การจัดสรรทุนเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ โดยกําหนดเป้าหมายและจัดความสําคัญของกลุ่มสาขาวิชาที่เป็นความจําเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ การใช้จ่ายงบประมาณในการจัดสรรทุนเกิดความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ศ.พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์) ที่ให้การจัดสรรทุนมุ่งนําพาประเทศไปสู่ เป้าหมายที่รัฐบาล และ อว.วางไว้ โดยตั้งเป้าหมายว่าให้ทุนไปเรียน เพื่อให้ผู้รับทุนกลับมาทําให้ประเทศไทย เป็น ประเทศทพี่ ัฒนาแล้วในสิบปีข้างหน้า ดังนั้น ในการจัดสรรทุนจึงต้องกําหนดจุดเน้น (Focus) จัดลําดับความสําคัญ (Priority) มีทางเลี่ยง ทางลัด (By-pass) และมีก้าวยาวๆ (Giant Step) เพื่อสร้างคนให้ตรงกับตลาดแรงงาน และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ สามารถกลับมาพัฒนาประเทศตามเป้าหมายและทิศทาง ภายใน ระยะเวลาที่กําหนด

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของโลก ยังมีบางสาขาที่คาดไม่ถึง จึงจําเป็นต้อง ส่งผู้รับทุนไปเรียนในศาสตร์หรือสาขาที่ยังคาดไม่ถึง เพื่อรองรับวิทยาการใหม่ๆ หรือสาขาที่อุบัติขึ้นใหม่ๆ

2.2 การจัดสรรทุนเพื่อพัฒนากําลังคนที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ขั้นสูง รวมทั้งมี สมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทําให้องค์ความรู้ในการพัฒนาประเทศเปลี่ยนแปลงไปทั้งภาคการศึกษา การสาธารณสุข อุตสาหกรรม และการสื่อสารต่างๆ เช่น ความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ใน การผลิตและพัฒนาวัคซีนภายในประเทศอย่างเร่งด่วน ด้านการแพทย์และสาธารณสุขยุคใหม่ แพทย์เชิงลึก (Deep Medicine) การผลิต platform เทคโนโลยีทางอาหาร เกษตรพรีเมี่ยม ความสามารถในการพัฒนา องค์ความรู้ในการผลิตนวัตกรรมด้านอวกาศ ดาราศาสตร์ ดาวเทียม ยานอวกาศ Remote sensing เป็นต้น หรือการเน้นการจัดสรรทุนที่จะเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เช่น AI, Quantum

2.3 การกําหนดสัดส่วนการจัดสรรทุนโดยเน้นสาขาวิชาที่มีความจําเป็นต่อการกําหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Strategic, Function, and Area) เพื่อการผลิตกําลังคนระดับสูงรองรับ EEC และ ระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ให้ได้ผู้รับทุนที่ไปศึกษาในสาขาวิชาที่ตรงตามความต้องการในการพัฒนาและ กลับมาปฏิบัติงานได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดด้วยความรู้ที่ทันสมัยและตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของ ประเทศ เช่น การนํา AI หรือปัญญาประดิษฐ์ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) มาช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ รวมทั้ง BCG ในธุรกิจด้านสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
การท่องท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม

นอกจากนี้ ลักษณะการจัดสรรทุนต้องเป็นกลุ่มและมีพลังเพียงพอ โดยคํานึงถึง Mission Specific ของประเทศ

2.4 บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในการกําหนดประเทศที่ไปศึกษา สาขาวิชา ตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนด้านอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ ซึ่งกลยุทธ์ในการกําหนดประเทศและสาขาวิชาที่ ไปศึกษานั้น ไม่เพียงแต่จะจัดสรรทุนไปศึกษาในประเทศที่มีวิวัฒนาการเจริญก้าวหน้า แต่ก็ควรกําหนดให้ไปศึกษา ในประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยเฉพาะ CLMV กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม เพื่อได้ศึกษาภาษา วัฒนธรรม มีความเข้าใจในวิถีชีวิตประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ฉันท์มิตรให้แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ อาจกําหนดกลยุทธ์ในการให้ทุนกับผู้ที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ รวมถึงให้ผู้รับ ทุนจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน เป็นการดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกให้มีปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพ ที่ จะเป็นกําลังคนที่สําคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

2.5 การกําหนดแนวทางการต่อยอดการพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จําเป็นต่อการพัฒนา กําลังคนที่มีสมรรถนะสูงในภาคการผลิตและบริการ โดยการ Reskill, Upskill, Future skill หรือการจัดสรรทุน เพื่อให้ผู้รับทุนไปทํางานวิจัยกับอาจารย์ ในระดับ Leading Edge รวมทั้งการให้ทุนในลักษณะ Non-Degree หรือ Post-Doc เพื่อดึงดูดกําลังคนที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศให้สอดรับกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วและฉับพลัน

2.6 การบูรณาการการจัดสรรทุนเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) กับ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันอุดมศึกษา ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้ ทรัพยากรร่วมกันทั้งในด้านการลงทุนและการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน โดยให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนด้าน การอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ และมีเป้าหมายการผลิตกําลังคนที่ชัดเจน

3. ขับเคลื่อนการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานและวางแผนการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน อย่างเป็นระบบ โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนประกอบด้วย

3.1 การขับเคลื่อนการดําเนินงานให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมาย โดยเฉพาะในมิติ เชิงความเร็ว (Speed) และการเป็นหุ้นส่วน (Partners) ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันสําหรับการลงทุนและ การใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน เพื่อผลักดันประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

3.2 การติดตามการศึกษาและใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูล ทุนการศึกษา ดังนั้น ฐานข้อมูลจึงมีความสําคัญในการติดตามการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน ตั้งแต่เริ่มรับทุน และ ระหว่างการรับทุน จนกระทั่งสําเร็จการศึกษาและเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุน ทั้งนี้ สามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ระหว่างการศึกษาและศักยภาพของผู้รับทุนระหว่างศึกษา ในสถานการณ์ที่มีความต้องการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน โดยไม่จําเป็นต้องรอให้สําเร็จการศึกษา และเมื่อสําเร็จการศึกษาแล้วก็สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลได้ อย่างเต็มที่

3.3 การวางระบบในการดูแลผู้รับทุน มีหน่วยงานที่ดูแลและติดตามผู้รับทุนอย่างสม่ําเสมอและมี ประสิทธิภาพ ตั้งแต่เริ่มรับทุน ดูแล ให้คําปรึกษา แนะนํา ด้านการเรียน การใช้ชีวิต และให้มีช่องทาง การติดต่อสื่อสารได้ตลอดอย่างสม่ําเสมอ หลายช่องทาง มีการติดตามผู้รับทุนในระหว่างการศึกษาเป็นระยะๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา สุขภาพ การปรับตัวและการใช้ชีวิตของผู้รับทุนได้อย่างทันท่วงที รวมถึง การติดตามผู้รับทุนหลังสําเร็จการศึกษาและไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนได้ตามเต็มศักยภาพ

3.4 การใช้ศักยภาพของผู้รับทุนและใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนอย่างเต็มที่ในการขับเคลื่อน การพัฒนากําลังคนเพื่อพัฒนาประเทศตั้งแต่ระยะที่มีการศึกษา ซึ่งมีความจําเป็นต้องพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน เป็นระยะๆ โดยการ Reskill, Upskill, Future skill หรือให้ทุนศึกษาต่อหลังปริญญาเอก เพื่อให้มีความรู้ใหม่ๆ ที่ทันสมัยตรงกับความต้องการและความจําเป็นเร่งด่วนของประเทศ และทันเวลา

3.5 การสร้างเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) ของผู้รับทุนให้ชัดเจน ตั้งแต่การ มีหน่วยงานปฏิบัติงานชดใช้ทุนหลังสําเร็จการศึกษาอย่างชัดเจน เมื่อเข้าปฏิบัติงานแล้วมีเส้นทางความก้าวหน้า ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และด้านบริหารที่ชัดเจน เพื่อจูงใจให้ผู้รับทุนอยู่ในระบบ

3.6 การสร้างและใช้กลไกของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน และสร้าง ความร่วมมือระหว่างทุนประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนอย่างเต็มศักยภาพ

3.7 มีระบบการรายงานผลการดําเนินการในภาพรวมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ

ส่วนที่ 8 เป้าหมายการดําเนินงาน (OUTPUT/OUTCOME)

1) หน่วยบริหารทุนมีความเป็นเอกภาพ ในการนํานโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน การบริหาร จัดการทุนไปสู่การปฏิบัติ

2) มีแผนการดําเนินงานและแผนงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เกิดการ บริหารจัดการที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงานที่ตอบโจทย์ประเทศได้ สามารถทําให้ประเทศไทยก้าวสู่พ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

3) ผลการประเมินการใช้ประโยชน์ และการใช้ศักยภาพจากผู้รับทุน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่โครงการ ได้กําหนดไว้ มีการใช้งบประมาณของประเทศที่คุ้มค่า และเกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ตอบโจทย์ความต้องการของ ภาคการผลิตด้านต่างๆ ด้วยผลิตจากผู้รับทุนที่กลับมาสร้างนวัตกรรมที่เหมาะกับประเทศไทยและสามารถ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยได้จริง

ภาคผนวก

รายชื่อคณะกรรมการบริหารจัดการทุนพัฒนากําลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ปรึกษา
  2. ศาสตราจารย์นิธิ มหานนท์ ที่ปรึกษา
  3. รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ที่ปรึกษา
  4. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ที่ปรึกษา
  5. ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ
  6. ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
  7. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
  8. ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
  9. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
  10. เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
  11. ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ กรรมการ
  12. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
  13. รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรรมการ
  14. ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
  15. ประธานกรรมการการอุดมศึกษา กรรมการ
  16. ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรรมการ
  17. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
  18. ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
  19. นายถาวร ชลัษเฐียร กรรมการ
  20. นายยงยุทธ แฉลัมวงษ์ กรรมการ
  21. นางวิไลพร เจตนจันทร์ กรรมการ
  22. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ กรรมการ
  23. นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ กรรมการ
  24. ผู้อํานวยการกองส่งเสริมและพัฒนากําลังคน สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรรมการและเลขานุการ
  25. เจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยเลขานุการ
  26. เจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยเลขานุการ

เรื่องเดิม

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 69 ได้กําหนดไว้ว่าเพื่อประโยชน์ ในการสร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษา รัฐมนตรีอาจเสนอสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้มีมติให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษา จัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภานโยบาย กําหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะเวลาดําเนินการ 2) ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน 3) การสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 4) กลไกและมาตรการในการกํากับและการประกัน คุณภาพการศึกษา 5) การตรวจสอบและติดตามประเมินผลโดยคณะผู้ประเมินผลอิสระ และ 6) การดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเมื่อครบระยะเวลาตาม 1 แล้ว

ในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานภายใต้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษา ที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
มิให้นํามาตรฐานการอุดมศึกษามาใช้บังคับแก่การจัดการศึกษาดังกล่าว และ ให้ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องแล้ว และในกรณีที่ สภานโยบาย เห็นว่าการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาประสบผลสําเร็จ ให้แจ้งให้คณะกรรมการ มาตรฐานการอุดมศึกษาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการอุดมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

การดําเนินงาน

1. สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นําเสนอกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ (Higher Education Sandbox) ในที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563

2. สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับ สอวช. จัดประชุมระดมความคิดเห็นกับสถาบันอุดมศึกษาเรื่องกลไกนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ (Higher Education Sandbox) ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการศึกษา ที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา โดยมีผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 150 คน เข้าร่วมประชุม

3. สอวช. หารือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพและมีความสนใจ เพื่อให้ข้อมูลแนวทางการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา และร่วมพัฒนาแนวคิดเบื้องต้นในการจัดการศึกษา รูปแบบดังกล่าว ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2564 และนําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงานต่อ ที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Top Executive) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 และวันที่ 9 เมษายน 2564

4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมลงนามคําสั่ง แต่งตั้งคณะทํางานส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 โดยมีรองปลัดกระทรวง อว. (ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล) เป็นประธานคณะทํางาน และมีผู้แทน จาก สป.อว. และ สอวช. เป็นคณะทํางานและเลขานุการร่วม และได้มีการประชุมคณะทํางาน 2 ครั้ง ดังนี้

4.1 การประชุมคณะทํางานฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 คณะทํางานฯ มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน การอุดมศึกษา เพื่อเตรียมนําเสนอสภานโยบาย

4.2 การประชุมคณะทํางานฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 คณะทํางานฯ ได้ให้ความเห็นชอบรูปแบบข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา และเสนอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทํากลไกกํากับการประกันคุณภาพการตรวจสอบติดตามประเมินผลและปัจจัยส่งเสริม เพื่อรองรับการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการศึกษา

5. สป.อว. และ สอวช. ได้จัดทําข้อเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา การส่งเสริมเชิงนโยบาย กลไกการเสนอขอจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
(ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา และคณะทํางานฯ) เพื่อเสนอต่อสภานโยบายและคณะรัฐมนตรี (รายละเอียด ตามเอกสารประกอบวาระที่ 4.4)

ข้อเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox)

1. ความจำเป็นในการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

กระแสการเปลี่ยนแปลงและประเด็นอุบัติใหม่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวิถีชีวิต ต่างมีนัยต่อบทบาทและแนวทางการพัฒนากำลังคนของสถาบันอุดมศึกษาที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับกระแสดังกล่าว เพื่อให้ประเทศไทยมีกำลังคนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอและสามารถตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในมิติต่างๆได้อย่างทันท่วงที โดยในบริบทการพัฒนาของประเทศไทย มีประเด็นที่สำคัญและมีผลกระทบต่อแนวทางจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ รูปแบบวิถีชีวิตแบบหลายช่วง (Multistage life) และการเตรียมรองรับวิกฤติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ประการแรก การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ถือเป็นกลจักรสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถหลุดพ้นออกจากกับดักรายได้ปานกลางได้ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้กำลังคนที่มีองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่ รวมถึงต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในลักษณะข้ามศาสตร์ (Cross-disciplinary) และองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary) เช่น การพัฒนาบุคลากรนักชีวสถิติศาสตร์ (Biostatistician) ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยในอุตสาหกรรมยาและการแพทย์ จำเป็นต้องมีความรู้ทั้งด้านชีววิทยา สถิติ และมีทักษะพื้นฐานด้านการใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น การผลิตบุคลากรให้มีคุณลักษณะดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาหรือระหว่างส่วนงานภายใต้สถาบันอุดมศึกษา รวมถึงร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยี ให้นำความเชี่ยวชาญที่หลากหลายและมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน มาร่วมจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมดังกล่าวได้

ประการต่อมา รูปแบบของวิถีชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบชีวิตสามช่วง (Three-stage life) ซึ่งประกอบด้วยวัยเรียน วัยทำงาน และวัยเกษียณ มาสู่รูปแบบวิถีชีวิตแบบหลายช่วง (Multistage life) อันเกิดจากวิทยาการทางการแพทย์ที่ทำให้มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น และทำให้เส้นแบ่งของแต่ละช่วงของวิถีชีวิตทั้งด้านการเรียน การทำงาน และการเกษียณไม่ชัดเจนเหมือนเดิม ช่วงชีวิตของคนแต่ละช่วงอาจจะมีทั้งการเรียน การทำงาน และการพักผ่อนผสมผสานกัน และทำให้รูปแบบของการศึกษาและการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาเปลี่ยนไป จากผลการสำรวจนักศึกษาในประเทศออสเตรเลียของบริษัท Deloitte พบว่ามีแนวโน้มที่ผู้เรียนจะต้องการการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถศึกษาได้จากช่องทางออนไลน์หรือศึกษาได้จากนอกรั้วมหาวิทยาลัย มีปริมาณของหลักสูตรที่พอเหมาะ (Bite-sized learning) ตอบโจทย์ภาระด้านการงานและชีวิตส่วนตัว โดยร้อยละ 46 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ต้องการหลักสูตรที่ใช้เวลาเรียน 3-10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ [1] สถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับแนวทางการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับรูปแบบวิถีชีวิตดังกล่าว รวมถึงจำเป็นต้องปรับมาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการจัดการศึกษารูปแบบดังกล่าวด้วย 

ประการสุดท้าย การจัดการศึกษาในภาวะวิกฤต เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก ทำให้ในอนาคต สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษาสูงขึ้น และมีช่องทางหรือรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ที่ผู้เรียนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ทุกสถานที่และทุกเวลา เช่น การใช้ระบบออนไลน์เข้ามาแทนที่การเรียนในห้องเรียนบางส่วน เป็นต้น นอกจากนี้ มาตรฐานการจัดการศึกษารูปแบบเดิมที่ยังต้องนับจำนวนชั่วโมงเรียนตามหลักสูตร อาจไม่ยืดหยุ่นพอสำหรับการจัดการศึกษาในภาวะวิกฤต สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมาตรฐานการจัดการศึกษาโดยคำนึงถึงผลลัพธ์ของผู้เรียน มากกว่าจำนวนชั่วโมงเรียน ประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่านี้ก็คือ โครงสร้างของอุตสาหกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค จะส่งผลให้แนวทางการจัดการศึกษาต้องเปลี่ยนไป โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะและความรู้ที่หลากหลาย พร้อมที่จะรองรับความต้องการของตลาดงานที่อาจเปลี่ยนไปในอนาคต หลักสูตรการเรียนในสถาบันอุดมศึกษา จำเป็นต้องปรับให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะตอบโจทย์ตลาดงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ด้วย

ด้วยเหตุนี้ การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับบริบทที่เปลี่ยนไป และควรมีการทดลองใช้นวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ ที่อาจยังไม่มีมาตรฐานการอุดมศึกษาในปัจจุบันมารองรับ เพื่อทำให้เกิดการสร้างมาตรฐานอุดมศึกษาในกระบวนทัศน์แบบใหม่ และนำไปสู่การพัฒนากำลังคนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ได้มากขึ้น

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการอุดมศึกษา   

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 69 ได้ระบุว่า เพื่อประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษา รัฐมนตรีอาจเสนอสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้มีมติให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษา จัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภานโยบายฯ กำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดเรื่อง ดังต่อไปนี้

1) ระยะเวลาดำเนินการ

2) ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน

3) การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

4) กลไกและมาตรการในการกำกับ และการประกันคุณภาพการศึกษา

5) การตรวจสอบและติดตามประเมินผลโดยคณะผู้ประเมินผลอิสระ

6) การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเมื่อครบระยะเวลาตาม 1) แล้ว

ในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาตามวรรคหนึ่ง มิให้นำมาตรฐานการอุดมศึกษามาใช้บังคับแก่การจัดการศึกษาดังกล่าว และให้ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องแล้ว

ในกรณีที่สภานโยบาย เห็นว่าการจัดการศึกษาตามวรรคหนึ่งประสบความสำเร็จ ให้แจ้งให้คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการอุดมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

[1] Deloitte (2018) Higher education for a changing world Ensuring the 100-year life is a better life

3. ตัวอย่างมาตรฐานการอุดมศึกษาที่เป็นข้อจำกัดในการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษา

มาตรฐานการอุดมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันมีกฎระเบียบบางประการที่เป็นข้อจำกัดต่อการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การจำกัดจำนวนหน่วยกิตในการเทียบโอนเข้าสู่การศึกษาในระบบซึ่งขัดต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและระบบคลังหน่วยกิต การกำหนดคุณสมบัติของผู้สอนและผู้รับผิดชอบหลักสูตร และการจำกัดจำนวนชั่วโมงสอนของอาจารย์พิเศษ ซึ่งจะไม่เอื้อต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้การผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ตัวอย่างมาตรฐานอุดมศึกษาที่เป็นข้อจำกัดสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้นดังแสดงใน ตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ตัวอย่างมาตรฐานอุดมศึกษาที่เป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษา

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานการอุดมศึกษาเพื่อให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมการผลิตบัณฑิตมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกับสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งต่อไป โดยเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ กฎกระทรวงว่าด้วยด้านมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
กฏกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กฎกระทรวงว่าด้วยด้านมาตรฐานเกณฑ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ และกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ในระหว่างที่กำลังจัดทำกฎกระทรวงใหม่นี้ หากสถาบันอุดมศึกษาต้องการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษาโดยจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา สามารถดำเนินการภายใต้มาตรา 69 ของพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการยกเว้นมาตรฐานการอุดมศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอนุมัติจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าวเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการอุดมศึกษาใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบัณฑิตตามความต้องการของผู้ใช้งาน สร้างบัณฑิตรองรับการพัฒนาอนาคต และสร้างการพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษา

4. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

4.1 หลักเกณฑ์การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

1) กลุ่มเป้าหมายที่จะจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน ซึ่งรวมถึงสถาบันที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวง อว. และนอกกระทรวง อว. ที่จัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาที่ต้องดำเนินการภายใต้มาตรฐานการอุดมศึกษา

2) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่การให้ปริญญา ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมถึงการจัดการศึกษาแบบปริญญาที่มาจากการเทียบโอนการศึกษาและการเรียนรู้ที่ไม่มุ่งปริญญา

3) ผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์นโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

4) การดำเนินการอาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ กระทรวง อว. โดยความเห็นชอบของสภานโยบาย มีนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งดำเนินการ หรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีความประสงค์ เสนอเรื่องเข้ามาเพื่อขอดำเนินการ

4.2 เงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

เป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1) เป็นการผลิตบัณฑิตที่ไม่สามารถทำได้ด้วยข้อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ หรือมีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างยิ่งที่สมควรยกเว้นมาตรฐานการอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้น

2) ต้องให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์เชิงสมรรถนะที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง

3) สถาบันอุดมศึกษาต้องมีความพร้อมด้านการเงินและทรัพยากรในการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การผลิตบัณฑิตตามที่คาดหวัง

4) ต้องมีการติดตามประเมินผลระหว่างการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การถอดบทเรียนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน

5) ต้องประกาศให้สาธารณชนและผู้เรียนรับทราบว่าเป็นหลักสูตรการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

4.3 วิธีการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา และเสนอเรื่องเข้ามาเพื่อขอดำเนินการ โดยระบุรายละเอียดในข้อเสนอ ดังนี้

1) สภาพปัญหาและเหตุผลความจำเป็น

2) วัตถุประสงค์

3) สถาบันอุดมศึกษา และคณะผู้รับผิดชอบ

4) รายละเอียดหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ได้แก่ ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญา ระบุจำนวนบัณฑิตที่จะผลิต วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา โครงสร้างหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปี ผลลัพธ์ที่คาดหวังในแต่ละช่วงของการเรียนการสอน และผู้รับผิดชอบหลักสูตร 

5) หน่วยงานร่วมดำเนินการ และบทบาทความรับผิดชอบ (ถ้ามี)

6) หน่วยงานหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเป็นผู้ใช้บัณฑิต

7) ระยะเวลาดำเนินการ โดยให้ระบุระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการดำเนินการที่แน่นอน ระบุจำนวนรุ่นของบัณฑิตที่จะผลิต และระยะเวลาที่จะใช้ดำเนินการในแต่ละรุ่น ทั้งนี้ การดำเนินการจริงอาจสิ้นสุดก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ได้ และให้ระบุระยะเวลาของการประเมินผลหลังสำเร็จการศึกษา

8) งบประมาณและแหล่งงบประมาณ

9) ความพร้อมด้านทรัพยากรในการจัดการศึกษา

 10) ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน การจัดการศึกษาต้องมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูงกว่าหลักสูตรที่ใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาปัจจุบัน หรือผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะไม่น้อยกว่าการจัดการศึกษาด้วยมาตรฐานอุดมศึกษาปัจจุบัน แต่มีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาที่สูงขึ้น ทั้งนี้ให้ระบุผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา รวมถึงผลสัมฤทธิ์ที่ครอบคลุมสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ดังนี้

– ความรู้และทักษะเชิงเทคนิค (Technical knowledge and skills) หมายถึง ความรู้และทักษะพื้นฐาน เช่น ทักษะการคำนวณ ทักษะการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ทักษะการเรียนรู้ เป็นต้น รวมถึงความรู้และทักษะเฉพาะด้าน ที่เกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจงกับสาขาที่จะจัดการศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นๆ

– ความสามารถทางด้านสังคม (Soft skills) หมายถึง สมรรถนะที่จำเป็นต่อการทำงานในทุกสาขาอาชีพ เช่น ทักษะด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการบริหารจัดการ ทักษะการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น

– ลักษณะบุคคล (Character) หมายถึง ลักษณะของบุคคลซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวทางการกระทํา พฤติกรรม หรือการคิด เช่น ความมีวินัย ทัศนคติ ค่านิยม บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล เป็นต้น

 11) การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยสถาบันอุดมศึกษาต้องจัดให้มีระบบหรือกลไกสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาของหลักสูตร ทั้งนี้ การสำรวจความพึงพอใจ สามารถครอบคลุมถึงกรณีที่บัณฑิตทำงานในองค์กร ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ประกอบการด้วยก็ได้

 12) กลไกและมาตรการในการกำกับ และการประกันคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนตามที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ให้คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (คณะทำงานฯ) และสถาบันอุดมศึกษาที่ขอจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานร่วมกันพัฒนากลไกและมาตรการในการกำกับและการประกันคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมในระหว่างที่จัดการศึกษาลักษณะดังกล่าว

 13) การตรวจสอบและติดตามประเมินผลโดยคณะผู้ประเมินผลอิสระ โดยกำหนดให้มีคณะผู้ประเมินผลอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในแต่ละโครงการ ซึ่งเป็นคณะผู้ประเมินที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาดังกล่าว โดยอาจเป็นคณะผู้ประเมินผลหรือองค์กรของประเทศไทยหรือต่างประเทศ

 14) การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเมื่อครบระยะเวลาแล้ว โดยให้สถาบันอุดมศึกษาเสนอแนวทางดำเนินการเมื่อสิ้นสุดการทดลองจัดการศึกษาดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

– กรณีที่บรรลุผลลัพธ์การพัฒนาบัณฑิตตามที่คาดหวัง ให้ระบุมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ต้องการเสนอขอปรับปรุงแก้ไข เสนอมาตรฐานการอุดมศึกษาใหม่ที่มีความเหมาะสมกว่าเดิม (หากมี) ทั้งนี้อาจเสนอแผนการผลิตบัณฑิตในระยะถัดไปตามรูปแบบที่ได้ทดลองดำเนินการ และแนวทางการขยายผลในสถาบันอุดมศึกษาอื่นพอสังเขป

– กรณีที่ไม่บรรลุผลลัพธ์การพัฒนาบัณฑิตตามที่คาดหวัง ให้ยุติการดำเนินงาน และจัดทำการถอดบทเรียนเพื่อเป็นข้อเสนอแนะแก่สถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มีแผนการดำเนินงานลักษณะเดียวกันในอนาคต

 15) ผลที่คาดว่าจะเกิดกับสถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ หรือองค์กรที่ร่วมจัดการศึกษา

รายละเอียดที่ระบุในหัวข้อ 12, 13 และ 14 คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา จะเป็นผู้จัดทำรายละเอียด หรือร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อจัดทำรายละเอียด และคณะทำงานฯ จะร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนากลไกและการดำเนินการตามข้อ 12, 13 และ 14 ในระหว่างการจัดการศึกษาดังกล่าวต่อไป

5. การส่งเสริมเชิงนโยบาย

กระทรวง อว. มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนเป็นพิเศษในการจัดการศึกษาในหลักสูตรที่มีลักษณะต่อไปนี้

1) เป็นการจัดการศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันจัดการศึกษา

2) เป็นการจัดการศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษารวมกลุ่มกันจัดการศึกษา 

3) เป็นการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับชุมชนหรือท้องถิ่น

โดยคณะทำงานฯ จะร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าว และกระทรวง อว. จะส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการส่วนกลาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เช่น ระบบเทียบโอนสมรรถนะการเรียนรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ระบบธนาคารหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม เป็นต้น

6. กลไกการเสนอขอจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

6.1 ขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

การพิจารณาข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

ขั้นตอนที่ 1 : สถาบันอุดมศึกษา (โดยความเห็นชอบของอธิการบดี) ยื่นข้อเสนอแนวคิด (Concept paper) เข้ามาที่คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

ขั้นตอนที่ 2 : คณะทำงานฯ พิจารณา Concept paper โดยกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาภายใน 21 วัน หลังจากได้รับข้อเสนอ

ขั้นตอนที่ 3 : คณะทำงานฯ แจ้งผลการพิจารณา Concept paper และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full proposal) ต่อไป โดยกำหนดระยะเวลาในการแจ้งผลภายใน 7 วัน หลังจากการประชุมคณะทำงานฯ ทั้งนี้หาก Concept paper ไม่ได้รับการอนุมัติ สถาบันอุดมศึกษาสามารถปรับตามข้อเสนอแนะจากคณะทำงานและยื่นเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 4 : สถาบันอุดมศึกษาจัดทำ Full proposal ส่งกลับมาที่คณะทำงาน

ขั้นตอนที่ 5 : คณะทำงานฯ เสนอ Full proposal ต่อคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา

ขั้นตอนที่ 6 : คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ พิจารณาข้อเสนอ Full proposal โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการภายใน 28 วัน หลังจากคณะทำงานฯได้รับข้อเสนอจากสถาบันอุดมศึกษา ในขณะเดียวกันสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการเพื่อขอความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา โดย Full proposal ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาก่อนนำเสนอคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ

ขั้นตอนที่ 7 : คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ เห็นชอบการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาตามที่สถาบันอุดมศึกษาเสนอ และออกประกาศผลการพิจารณา โดยกำหนดระยะเวลาในการแจ้งผลภายใน 14 วัน หลังจากการประชุมคณะกรรมการ

ขั้นตอนที่ 8 : สถาบันอุดมศึกษาประกาศให้สาธารณชนและผู้เรียนรับทราบว่าหลักสูตรที่จะจัดการศึกษาเป็นหลักสูตรการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

6.2 คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562  ซึ่งได้ระบุว่า ในการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจของสภานโยบายตามมาตรา 11 ในเรื่องใดที่สภานโยบาย เห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ หรือมีเหตุอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจของสภานโยบาย ให้สภานโยบายมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องเพื่อดำเนินการแทนสภานโยบายได้ ประกอบกับระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง พ.ศ. 2563

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษามีความคล่องตัวและบรรลุวัตถุประสงค์ จึงได้มีการเสนอสภานโยบายเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนสภานโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังนี้

องค์ประกอบ

1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   ประธานกรรมการ

2) ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรรมการ

3) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรรมการ

4) ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ กรรมการ                            

5) นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการ

6) นายพณชิต กิตติปัญญางาม กรรมการ

7) ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ เลขานุการ

8) ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1) กำหนดแนวทาง กลไก มาตรการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษา

2) เสนอต่อรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือให้มีการกำหนดมาตรการและแรงจูงใจทางการเงิน การคลัง และสิทธิประโยชน์อื่น เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา

3) เสนอต่อรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือคณะรัฐมนตรีให้มีมติให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

4) ให้ข้อเสนอแนะต่อสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันนวัตกรรมการอุดมศึกษา

5) ประสานงานหรือมอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน หรือบุคคล ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อผลักดันนวัตกรรมการอุดมศึกษา

6) เชิญผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน หรือบุคคลใดมาให้ข้อมูล ความเห็น หรือคำแนะนำ ตลอดจนส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ

7) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในหน้าที่และอำนาจ

8) รายงานผลการดำเนินงานต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มอบหมาย

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 18 ได้บัญญัติให้สภานโยบายอาจมีมติให้เชิญบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณา ให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะกรรมการด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะเป็นกรรมการสำหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น ดังนั้น จึงได้มีการเสนอสภานโยบาย เพื่อแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่มเติม เพื่อเชิญเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ในฐานะกรรมการเป็นรายครั้งเมื่อมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้บัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญดังแสดงใน ภาคผนวก 1

6.3 คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาถือเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษา ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมเพื่อการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ และการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา  ตามคำสั่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ 59/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังนี้

องค์ประกอบ

1) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ปรึกษา

2) ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ปรึกษา

3) ศาสตราจารย์ศุภชัย ปทุมนากุล ประธานคณะทำงาน

4) รองศาสตราจารย์ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณะทำงาน

5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ คณะทำงาน              

6) นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ คณะทำงาน

7) นางวรรณา ดุลยาสิทธิพร คณะทำงาน

8) ผู้แทนคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะทำงาน

9) ผู้แทนคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา คณะทำงาน

10) ผู้อำนวยการกองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะทำงาน

11) นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี คณะทำงานและเลขานุการ

12) นายกิตติศักดิ์ กวีกิจมณี คณะทำงานและเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจ

1) จัดทำข้อกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา เพื่อเสนอแนะต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

2) พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานภายใต้สถาบันอุดมศึกษา

3) ให้ข้อเสนอแนะต่อสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาแนวทางจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

4) เสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เพื่อเสนอแนะต่อสภานโยบายฯ ให้มีมติให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานภายใต้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

5) กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ให้บรรลุเป้าหมายตามที่เสนอไว้ต่อสภานโยบายฯ

6) รายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.

7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. มอบหมาย

6.4 คณะผู้ประเมินผลอิสระ

คณะผู้ประเมินผลอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในแต่ละโครงการ ซึ่งเป็นคณะผู้ประเมินที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาดังกล่าว โดยอาจเป็นคณะผู้ประเมินผลหรือองค์กรของประเทศไทยหรือต่างประเทศ

7. งบประมาณดำเนินงาน

สถาบันอุดมศึกษาต้องมีความพร้อมด้านการเงินในการทดลองจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การผลิตบัณฑิตตามที่คาดหวัง โดยแหล่งที่มาของงบประมาณอาจมาจากงบประมาณประจำของสถาบันอุดมศึกษา หรือจากการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ แหล่งบริหารจัดการทุน หรือกองทุนหมุนเวียนต่าง ๆ เช่น โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) กระทรวง อว. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กองทุนหมุนเวียนภาครัฐที่มีพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนระดับสูง รวมถึงงบประมาณสนับสนุนจากสถานประกอบการที่ร่วมจัดการศึกษา

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม และทันเวลากับการใช้งานของภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

2) เกิดนวัตกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตอบโจทย์รูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนทุกช่วงวัยและทุกกลุ่มฐานะเศรษฐกิจสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพได้มากขึ้น

3) เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น สามารถจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้ แม้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย หรือเกิดวิกฤติการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ

4) เกิดการพลิกโฉมการผลิตกำลังคนของระบบอุดมศึกษาของประเทศ

9. ประเด็นเสนอสภานโยบาย และคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา

ประเด็นเสนอสภานโยบาย

1) ให้ความเห็นชอบต่อหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และกลไกการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา เพื่อนำไปจัดทำประกาศสภานโยบาย

2) ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนสภานโยบาย

3) ให้ความเห็นชอบให้นำเรื่องตามข้อ 1 เสนอต่อคณะรัฐมนตรี

ประเด็นเสนอคณะรัฐมนตรี

1) ให้ความเห็นชอบต่อหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และกลไกการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา

2) ในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ หรือรายละเอียดในการจัดการศึกษาดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วตาม 1. ให้สภานโยบายเป็นผู้ดำเนินการไปได้และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ

10. ภาคผนวก 1 : บัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เพื่อเชิญเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ในฐานะกรรมการ

1. ศ.กิตติคุณ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิ

2. ศ.ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ประธานคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา

3. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว.

4. รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5. ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

6. ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

7. ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

8. รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

9. ดร.พรชัย มงคลวานิช นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

10. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ

11. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ผู้ทรงคุณวุฒิ

12. ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ผู้ทรงคุณวุฒิ

13. รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ

14. ศ.เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ

15. รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

16. รศ.กฤษดา วิศธีรานนท์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

17. รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

18. ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

19. ศ.ดร.สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

20. รศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

21. ผศ.ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

11. ภาคผนวก 2 : ตัวอย่างนวัตกรรมการอุดมศึกษาของต่างประเทศ

11.1 The job-first, degree included model

The job-first, degree included model คือรูปแบบการจัดการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยและทำงานไปด้วย มีการดำเนินการในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เรียนสามารถทำงานเป็นพนักงานเต็มเวลาควบคู่กับการเรียนในรูปแบบที่ยืดหยุ่น เช่น การเรียนออนไลน์ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน มีจุดเด่นคือ ผู้เรียนจะได้รับทั้งเงินเดือนและปริญญาหรือประกาศนียบัตรซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งได้ ทำให้มีความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ (career path) โดยมีบริษัทซึ่งเป็นนายจ้างออกค่าเล่าเรียนให้ ในขณะที่บริษัทสามารถดึงดูดคนเก่งและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพในระยะยาว พัฒนาพนักงานให้มีทักษะตรงกับการทำงานจริง ด้วยวิธีการนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการเรียนจบ และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้เรียน

รูปแบบการจัดการศึกษานี้ถูกนำเสนอภายใต้ชื่อ Go Pro Early Program ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมจะต้องมีสถานะเป็นพนักงานเต็มเวลาของบริษัท สมัครเข้าร่วมโปรแกรมเพื่อศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรหรือปริญญาในรูปแบบการเรียนออนไลน์ซึ่งมีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถเรียนควบคู่การทำงาน พนักงานจะได้รับทั้งเงินเดือนและค่าเล่าเรียนจากบริษัท ตัวอย่างที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ บริษัทวอลมาร์ท (Walmart) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida) มหาวิทยาลัยแบรนแมน (Brandman University) และ มหาวิทยาลัยเบลเลอวู (Bellevue University) เสนอการเรียนในระดับประกาศนียบัตรและปริญญาตรีสาขาธุรกิจและการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้กับพนักงานที่ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 90 วัน และมีบริษัทที่มี
ชื่อเสียงอื่นๆ เสนอโปรแกรมในลักษณะเดียวกันนี้ให้กับพนักงานเช่นกัน เช่น ดิสคัฟเวอร์ (Discover) สตาร์บัค (Starbucks) ดิสนีย์ (Disney) และ ปาป้า โจนส์ (Papa John’s) เป็นต้น

หากจะนำการศึกษารูปแบบดังกล่าวมาดำเนินการในประเทศไทย จะมีมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ควรขอยกเว้น เช่น
1) การกำหนดจำนวนหน่วยกิตของวิชาศึกษาทั่วไปในระดับปริญญาตรีที่กำหนดอย่างน้อย 30 หน่วยกิต จากจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด 120 หน่วยกิต ซึ่งมากเกินความจำเป็นสำหรับนักศึกษาที่ต้องเรียนและทำงานควบคู่กัน และ 2) การกำหนดเงื่อนไขเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือบริษัทที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่สามารถผลิตบัณฑิตร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ข้อกำหนดที่ต้องเสนอขอคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี อาจส่งผลให้การขออนุมัติหลักสูตรที่ต้องการผลิตบัณฑิตร่วมกับบริษัทนอกกลุ่ม SET จะทำได้ช้า

11.2 Self-paced, competency-based degree program

Self-paced, competency-based degree program เป็นรูปแบบการเรียนที่ผู้เรียนสามารถออกแบบแผนการเรียนได้เอง เพื่อให้การเรียนไม่กระทบภาระส่วนตัวหรือการทำงาน และเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่ปรับเปลี่ยนสู่โลกดิจิทัลด้วย Online Learning Platform สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เหมาะกับผู้ที่ต้องการประกาศนียบัตรหรือปริญญาเพื่อการประกอบอาชีพในขณะที่ต้องทำงาน มีภาระผูกพัน หรือต้องดูแลครอบครัว ตัวอย่างการดำเนินงานเช่น University of Wisconsin Flexible Option Platform เป็นแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์ 100% ที่มีการพัฒนาหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ มีจุดเด่นคือ ผู้เรียนสามารถเทียบโอนประสบการณ์ทำงานและหน่วยกิตจากสถาบันอื่น และเรียนสะสมหน่วยกิตจนได้รับวุฒิการศึกษา ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมงเรียนและเวลาเรียนตามภาคการศึกษา เน้นการประเมินจากสมรรถนะ (Competency-based) มากกว่าเวลาเรียน ดังนั้นแผนการเรียนและระยะเวลาเรียนของผู้เรียนแต่ละคนจะมีความยืดหยุ่นและแตกต่างกันขึ้นกับหน่วยกิตที่เทียบโอน ความพร้อมในการเรียน และเป้าประสงค์ของผู้เรียน นอกจากนี้หลักสูตรดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่ไม่สูงเกินไป ทำให้สถาบันการศึกษาสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น ผู้ที่มีภาระผูกพันสามารถเข้าถึงการศึกษาได้สะดวกมากยิ่งขึ้นและได้รับวุฒิการศึกษาสำหรับการประกอบอาชีพ

หากจะนำการศึกษารูปแบบดังกล่าวมาดำเนินการในประเทศไทย จะมีมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ควรขอยกเว้นคือ
1) การกำหนดระยะเวลาเรียนขั้นต่ำในระดับปริญญาตรี โดยต้องเรียนอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษา สำหรับหลักสูตรเต็มเวลา หรืออย่างน้อย 14 ภาคการศึกษา สำหรับหลักสูตรไม่เต็มเวลา รวมถึงข้อกำหนดการคิดหน่วยกิต ที่คำนวณจากเวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตซึ่งไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนฐานสมรรถนะ ทำให้ระยะเวลาในการเรียนอาจนานเกินความจำเป็น 2) การเทียบโอนหน่วยกิตจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ซึ่งกำหนดไว้ให้ไม่เกิน 3 ใน 4 ของจํานวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ขอเทียบ ทำให้ผู้เรียนที่ผ่านการเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาก่อนไม่สามารถนำหน่วยกิตมาขอเทียบโอนได้อย่างเต็มที่ และต้องใช้เวลาเรียนนานเกินกว่าความจำเป็น และ 3) การกำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำที่ต้องเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งไม่เอื้อต่อการจัดการศึกษาแบบออนไลน์ 100%

11.3 Universal Learner Courses (ULC)

Universal Learner Courses (ULC) เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต (Arizona State University, ASU) ประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นการศึกษาที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา สร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าศึกษาต่อ (Admission) ที่ ASU โดยเป็นการศึกษาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนจากทั่วโลกสามารถเข้าเรียนในรายวิชาของชั้นปีที่ 1 ที่เปิดสอนที่ ASU โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยจะชำระค่าหน่วยกิตเมื่อสอบผ่านในรายวิชาและต้องการได้รับหน่วยกิตสำหรับการเข้าศึกษาต่อที่ ASU หรือถ่ายโอนหน่วยกิตไปใช้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่รองรับ ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าเรียน สอบผ่าน และได้รับหน่วยกิตในรายวิชาของชั้นปีที่ 1 ก่อนการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้หากสอบผ่านโดยได้คะแนนเฉลี่ยระดับ 2.75 ขึ้นไปในรายวิชาที่กำหนดจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อที่ ASU จึงนับเป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำ ขยายโอกาสให้กับผู้เรียนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น นักเรียนระดับมัธยมศึกษาหรือผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อที่ ASU แต่มี GPA ในระดับมัธยมศึกษาไม่สูงเพียงพอสำหรับการเข้าศึกษาต่อผ่านระบบปกติ หรือพนักงานบริษัทที่สามารถริเริ่มการเรียนในระดับอุดมศึกษาไปพร้อมๆ กับการทำงาน

หากจะการศึกษารูปแบบดังกล่าวมาดำเนินการในประเทศไทยจะมีมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ควรยกเว้นคือ การกำหนดระยะเวลาเรียนขั้นต่ำในการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งต้องเรียนอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษา สำหรับหลักสูตรเต็มเวลา หรืออย่างน้อย 14 ภาคการศึกษา สำหรับหลักสูตรไม่เต็มเวลา

11.4 Babson College: Global Leader in Entrepreneurship Education

Babson College เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก ที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาด้านความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship education) โดยมี Signature entrepreneurship course ถูกกำหนดเป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคน ซึ่งเป็นการเรียนพื้นฐานด้านการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ โดยนักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะด้านธุรกิจ (Business skills) ผ่านการทดลองดำเนินธุรกิจจริงที่ได้รับเงินสนับสนุนตั้งต้นจากวิทยาลัย รูปแบบการจัดการศึกษาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนและผู้ประกอบการเข้ามาร่วมเป็นอาจารย์ผู้สอนและ coach ดังนั้นหลักสูตรดังกล่าวจะมีจุดเด่นคือ ประกอบด้วยศาสตราจารย์พิเศษ (Adjunct Professor) ในสัดส่วนสูง และจากหลากหลายสาขาวิชา เช่น ด้านการเงิน การตลาด นักกฎหมาย วิศวกร และผู้ประกอบ เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญโดยตรง

หากจะนำการศึกษารูปแบบดังกล่าวมาดำเนินการในประเทศไทยจะมีมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ควรขอยกเว้นคือ
1) การกำหนดคุณสมบัติทางวิชาการสำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ที่ไม่มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ตำแหน่งทางวิชาการจะไม่สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ และ 2) การกำหนดจำนวนชั่วโมงสอนของอาจารย์พิเศษ ซึ่งต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อทราบ

เรื่องเดิม

1. ในปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เป็นเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า ที่มีการกล่าวถึงและใช้งานอย่างแพร่หลายและจะมีบทบาทสําคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต ด้วยความที่เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี จึงทําให้ปัญญาประดิษฐ์จะมีบทบาทสําคัญ ทั้งในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้คนเป็นอย่างมาก

2. การมียุทธศาสตร์ นโยบายและแผนในการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านกําลังคน โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล การวิจัยและ นวัตกรรมได้อย่างมีเป้าหมายและประสิทธิภาพ ในหลายประเทศชั้นนําจึงได้มีการจัดทํายุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ครอบคลุมถึงเป้าหมาย บทบาท กฎหมาย กฎระเบียบ จริยธรรม และแนวทาง การพัฒนาระบบนิเวศเพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในด้านที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและประชาชนของประเทศอย่างแท้จริง

3. รายงานผลดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลทั่วโลก ใน พ.ศ. 2563 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลําดับที่ 60 ส่วนสําคัญหนึ่งเนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีนโยบายและแผนแม่บท แห่งชาติทางด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าจะมีการอ้างอิงความจําเป็นในการพัฒนาและ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายรัฐบาลปี พ.ศ. 2562 ทั้งนโยบาย หลักและนโยบายเร่งด่วน

การดําเนินงาน

1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) หน่วยบริหารและ จัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และเครือข่าย University AI Consortium ได้ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการศึกษาและดําเนินการจัดทํา “(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564 – 2570)”

2. อว. และ ดศ. ได้ร่วมกันจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ จากตัวแทนหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งองค์กรจากภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้ง สมาคมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้สามารถสอดรับกับบริบท ความพร้อมและโจทย์สําคัญของประเทศไทย รวมถึงเป้าหมายในการพัฒนาประเทศของแผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี จํานวน 4 ครั้ง ดังนี้

2.1 วันที่ 12 ตุลาคม 2563 ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากสํานักงานพัฒนารัฐบาล ดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) และ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.)

2.2 วันที่ 14 ตุลาคม 2563 ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานหลักที่มีส่วน เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนปัญญาประดิษฐ์ของภาครัฐและองค์กรภาคเอกชน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สมาคม โทรคมนาคมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) เป็นต้น

2.3 วันที่ 26 ตุลาคม 2563 ประชุมรับฟังความคิดเห็นจาก 9 สมาคมดิจิทัลไทย ประกอบด้วย สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ไทย สมาคมอีเลิร์นนิ่งแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย สมาคมส่งเสริม นวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ สมาคมดิจิทัลไทย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และสมาคม ส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม

2.4 วันที่ 29 ตุลาคม 2563 ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย และกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงกลาโหม เป็นต้น

2.5 วันที่ 21 ตุลาคม 2563 นําเสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ต่อที่ประชุมคณะ อนุกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศ ในคณะกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 26

3. กระทรวง อว. ได้มีคําสั่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ 26/2564 แต่งตั้งคณะทํางานจัดทําร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ขึ้นมา เพื่อปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น พร้อมทั้งจัดทําชุดโครงการระยะเร่งด่วน (ระยะที่ 1: พ.ศ 2564 – 2565) ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว

4. มติที่ประชุมคณะทํางานจัดทําร่างแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย ได้เห็นชอบ (ร่าง) “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564 – 2570)” และชุดโครงการระยะเร่งด่วน (ระยะที่ 1: พ.ศ 2564 – 2565) ภายใต้ แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และให้นําเสนอผ่านช่องทางของ ทั้ง 2 กระทรวง โดยผ่านทั้งทาง อว. ซึ่งจะนําเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ และทาง ดศ. จะนําเสนอต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

5. คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบ แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนา ประเทศไทยระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564 – 2570) และชุดโครงการระยะเร่งด่วน (ระยะที่ 1: พ.ศ 2564 – 2565) ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

สาระสําคัญของ (ร่าง) “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564 – 2570)”

“แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564 – 2570)” มีวิสัยทัศน์ คือ “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนําในการพัฒนาและ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในปี พ.ศ. 2570” โดยประกอบไปด้วย 3 เป้าประสงค์ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเตรียมความพร้อมของ ประเทศไทยในด้านสังคม จริยธรรม กฎหมาย และกฎระเบียบสําหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและ ภาคเอกชน นอกจากนี้ยังได้เสนอแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 18 แผนงาน เพื่อขับเคลื่อนกลุ่มเป้าหมาย จํานวน 10 กลุ่ม และภาพรวมเป้าหมายการขับเคลื่อนแต่ละยุทธศาสตร์ดังแสดงได้ตามรายละเอียดใน แผนภาพดังนี้

การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย นั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (เริ่มดําเนินการ พ.ศ 2564 – 2565) มุ่งเน้นโครงการนําร่องด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศ เช่น การสร้างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลเพื่อการประยุกต์ใช้ ในด้านปัญญาประดิษฐ์ การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลและคํานวณสําหรับปัญญาประดิษฐ์การเตรียมพร้อมกําลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ และส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ การพัฒนาเทคโนโลยีและ ประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์นําร่องใน 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ด้านการแพทย์และสุขภาวะ การเกษตรและ อาหาร และการใช้งานและบริการภาครัฐ ส่วนในระยะที่ 2 (พ.ศ 2566 – 2570) มุ่งเน้นการผลักดัน ขยาย ผลการประยุกต์ใช้งานกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย โดยเป็นการขยาย ผลไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เหลือทั้งหมดเพื่อสร้างระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย โดยในการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการฯ นั้น ได้มีการวางกลไกการขับเคลื่อนเพื่อให้การดําเนินยุทธศาสตร์ ประสบความสําเร็จ โดยประกอบไปด้วย (1) การจัดตั้งคณะกรรมการปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ (National AI Committee) (2) การจัดตั้งคณะอนุกรรมการปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ (National AI Subcommittee) (3) เลขานุการคณะกรรมการปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ (Secretary) (4) การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะ ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Center of excellence; AI CoEs) (5) การสร้างเครือข่ายปัญญาประดิษฐ์ (AI Consortium)
(6) การพัฒนาธุรกิจดิจิทัล (Digital business) และ (7) การมีหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับ ดูแล (Regulator)

ทั้งนี้ เพื่อการผลักดันสนับสนุนการดําเนินงานของแผนปฏิบัติการฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ภายในปี พ.ศ. 2570 จึงได้มีการจัดทํา “ชุดโครงการระยะเร่งด่วน (ระยะที่ 1 : พ.ศ 2564-2565) ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” เพื่อประกอบมากับการนําเสนอ แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ ซึ่งชุดโครงการเร่งด่วน ประกอบไปด้วยกลุ่มโครงการจํานวน 3 กลุ่ม โดยมีโครงการ นําร่องทั้งหมด 7 โครงการ ดังนี้ คือ กลุ่มที่ 1 : กลุ่มโครงการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน ปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ (AI Enabler) ประกอบด้วย (1) โครงการสร้างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ข้อมูลและจริยธรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI ELSI) และ (2) โครงการสร้างเครือข่ายบริการ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Service) กลุ่มที่ 2 : กลุ่มโครงการสร้างความเข้มแข็งด้านกําลังคนของ ประเทศไทย (AI Workforce) ประกอบด้วย
(3) โครงการเตรียมพร้อมกําลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งอนาคต (AI Training) และ (4) โครงการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่และกลไกสนับสนุนธุรกิจด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (AI Startup) และกลุ่มที่ 3 : กลุ่มโครงการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ (AI Grand Challenge) ประกอบด้วย (5) โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ภาพด้านการแพทย์และวินิจฉัยโรคทางไกล (Medical AI) (6) โครงการพัฒนา เทคโนโลยีและประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์สําหรับการเกษตรแม่นยําพร้อมแปลงสาธิต (Digital Farming) และ (7) โครงการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ประชากรไทย (Government Services)

ภาพรวมผลกระทบต่อประเทศที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการดําเนินงานในปี พ.ศ. 2570

ได้แก่ (1) มูลค่าที่เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ํากว่า 3,000 ล้านบาท เนื่องจาก ทรัพยากรมนุษย์สามารถปรับทักษะและพัฒนาทักษะใหม่ (Reskill/ Upskill) ทางด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (2) มูลค่าหรือรายได้ของผลิตภัณฑ์/บริการ ที่มีการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพิ่มขึ้นไม่ต่ํากว่า ร้อยละ 10 ในธุรกิจเกี่ยวเนื่องและผู้ประกอบการใหม่ อันจะส่งผลให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้น (3) หน่วยงานรัฐสามารถ จัดให้เกิดบริการภาครัฐที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงจากการประยุกต์ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ในหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 30 ของหน่วยงานในประเทศ และ (4) การเข้าถึงบริการภาครัฐ ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ประชาชนเข้าใจและสามารถใช้ศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ได้ในวงกว้าง ส่งผลให้ สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยใหม่ได้เพื่อสร้างประโยชน์และอํานวยความสะดวกใน ชีวิตประจําวัน รวมถึงช่วยในการบริหาร จัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า สามารถสร้างผลกระทบทางสังคมและ สิ่งแวดล้อมมูลค่าไม่ต่ํากว่า 15,000 ล้านบาท

เรื่องเดิม

การปฏิรูปด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) มีเป้าหมายให้เกิด การบูรณาการ ทางการผลิตและพัฒนากําลังคนในระดับสูง การพัฒนาหรือสร้างความรู้จากการศึกษาวิจัย ซึ่ง สามารถใช้อ้างอิงในเชิงวิชาการ และสามารถนําไปใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนางานแต่ละด้านกับการ พัฒนานวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ รวมไปถึงการจัดระบบการพัฒนาพื้นฐานของงาน ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาระบบสําหรับกระบวนการการทดสอบ สอบเทียบวัด คุณสมบัติต่าง ๆ อันจะนําไปสู่การรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และกระบวนการบูรณาการที่มุ่งหวัง
มีทั้งด้าน นโยบาย ได้แก่ การมีสภานโยบาย อววน. ด้านโครงสร้างองค์กร ได้แก่ การควบรวมเกิดกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) ด้านงบประมาณ ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ การจัดสรรงบประมาณประจําปี ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ไว้ในกองทุนส่งเสริม ววน.

การปฏิรูปยังคํานึงถึงการบูรณาการด้านข้อมูล ได้แก่ การจัดทําระบบข้อมูลสารสนเทศกลาง ด้าน ววน. ที่มอบหมายให้คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) กํากับดูแลกับระบบ ข้อมูลสารสนเทศกลางด้านการอุดมศึกษา และมอบหมายให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กํากับดูแล ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและนําไปสู่ฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ กับการเชื่อมโยงระบบข้อมูล อื่นๆ นอกจากทําให้เกิดระบบข้อมูลสารสนเทศกลางที่จะทําให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกําหนดนโยบายการขับเคลื่อน การกํากับทิศทาง การติดตาม ประเมินผล ตลอดจนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการโดยกําหนดโครงสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูลและ การเชื่อม ข้อมูล ตามที่ กสว. เห็นชอบ และสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ (สอวช.) ได้เคยนําเสนอให้สภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ รับทราบแล้วดังแสดงในแผนภาพที่ 1

ผังโครงสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูล ประกอบด้วยระบบข้อมูลจํานวน 3 ระบบ ได้แก่

1. ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System หรือ NRIIS) ซึ่งมีการพัฒนาต่อยอดจากระบบข้อมูลของ NRMS ที่ดําเนินการมาก่อนแล้วโดย วช. และแนวคิดเพิ่มเติมในการบริหารจัดการระบบ ปัจจุบันได้ใช้ในการ ดําเนินการ และยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไป กํากับดูแลโดย กสว. โดยสํานักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทําหน้าที่เป็น System Administrator ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย

2. ระบบข้อมูล Higher Education UNICON หรือ HE UNICON ดําเนินการโดย สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว. หรือ สกอ. เดิม) เป็นระบบที่ ใช้บริหารจัดการข้อมูลด้านการอุดมศึกษา

3. ระบบข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบข้อมูล National Science Technology Information System หรือ NSTIS ในขณะที่ได้เสนอให้สภานโยบาย ยังอยู่ระหว่าง การพัฒนาระบบ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดจากระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology infrastructure Databank : STDB) ที่ได้ ดําเนินการมาก่อนโดยสํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดิม

แผนภาพที่ 1 ผังโครงสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูลและการเชื่อมข้อมูล อววน.

การดําเนินงาน

จากการประสานการดําเนินการเบื้องต้นกับ สป.อว. ที่ทําหน้าที่ดูแลระบบข้อมูล STDB ต่อจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดิม และการดําเนินการของคณะทํางานด้านผังโครงสร้างข้อมูล อววน. เพื่อการบูรณาการ ของ สอวช. กับคณะอนุกรรมการด้านข้อมูล ววน. ทําให้ได้ข้อสรุปซึ่งที่ประชุม กสว. ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2464 ได้รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง ววน. ในส่วนของการพัฒนาระบบ National Science and Technology Information System : NSTIS และการเชื่อมโยงกับระบบ NRIIS และได้ให้ความเห็นชอบในการพัฒนา “ระบบข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี” ดังนี้

1. เพื่อความเป็นเอกภาพในการดําเนินการระบบข้อมูลสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และตามความรับผิดชอบที่กําหนดไว้ กสว. จะทําหน้าที่เชิงนโยบายและขับเคลื่อน กํากับ งานใน ด้านระบบข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดําเนินงานเกิดความสมบูรณ์ของระบบข้อมูล เห็นชอบให้ ขยายและปรับเปลี่ยน ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology infrastructure Databank : STDB) ที่ได้ดําเนินการมาแล้วให้เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Information System : NSTIS) และตั้งเป้าหมายให้เป็นระบบสารสนเทศหลักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการ ต่อเนื่องเชื่อมโยงถึงการให้บริการ และเป็นฐานข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะดําเนินการโดย สป.อว. ทํา หน้าที่เป็น System Administrator โดยประสานการดําเนินการร่วมกับ วช. ที่ดูแลข้อมูลวิจัยและนวัตกรรม

3. ระบบข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ NSTIS ประกอบด้วยข้อมูล ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

3.1 ข้อมูลเครื่องมืออุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ขณะนี้มีข้อมูลอยู่ประมาณ 15,000 รายการ) ระบบข้อมูลนี้จะมีรายละเอียดของการให้บริการเครื่องมืออุปกรณ์ดังกล่าว ตามเงื่อนไขของ หน่วยงานที่รับผิดชอบ

3.2 ข้อมูลนักวิทยาศาสตร์ (ขณะนี้มีประมาณ 10,000 รายชื่อ) ซึ่งกําหนดให้มีการปรับ ข้อมูลภายในร่วมกับฐานข้อมูลนักวิจัยในระบบ NRIIS ที่มีอยู่มากกว่า 100,000 รายชื่อ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะทําให้เกิดการเชื่อมโยงให้เกิดระบบข้อมูลบุคลากร ววน. ที่สามารถจําแนกแยกแยะบุคลากร เฉพาะด้านต่าง ๆ หรือ บุคลากรที่มีหลายสถานะเชื่อมโยงกัน

3.3 ข้อมูลห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะมีการเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัย ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand : ESPReL) และอาจเชื่อมโยงกับข้อมูลเครื่องมืออุปกรณ์ ภายในห้องปฏิบัติการ รวมถึงการจําแนก แยกแยะ ห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัย หรือเพื่อการเรียนการสอน เท่านั้น

3.4 ข้อมูลโรงงานต้นแบบหรือโรงงานนําร่อง Pilot plant

3.5 ข้อมูลห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ เทียบวัด 3.6 ข้อมูลหน่วยรับรองมาตรฐานด้านต่างๆ

ข้อมูล 3.5 และ 3.6 จะเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure หรือ NQI) ซึ่งก็จะมีรายละเอียดของการให้บริการ และเชื่อมต่อไปกับระบบ การให้บริการของหน่วยงานนั้นๆ เช่น สถานที่ตั้ง การจองใช้ ค่าใช้จ่าย เป็นต้น

3.7 ระบบงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. กลไก กลยุทธ์ในการสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูล หรือเชื่อมโยงข้อมูลที่ขอให้สภานโยบายให้ความเห็นเพิ่มเติมเข้าสู่ระบบเพื่อความสมบูรณ์ของการพัฒนาระบบ NSTIS

5. งบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาระบบ NSTIS เป็นงบประมาณประจําปีที่จะตั้งขึ้น ใน งบประมาณแผ่นดินหมวดพัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ในเบื้องต้นอาจพิจารณาจัดสรร ให้จากงบประมาณหมวดการวิจัยและนวัตกรรม โปรแกรม 16 การปฏิรูป ววน. จากกองทุนส่งเสริม ววน.ไปพลางก่อน

เรื่องเดิม

สภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการประชุมเมื่อวนัที่ 17 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศ นวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ เพื่อทําหน้าที่กําหนดแนวทาง กลไก มาตรการ ส่งเสริมและสนับสนุน รวมถึงปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมระบบ นิเวศนวัตกรรมเพื่อให้สามารถดําเนินงานส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

การดําเนินงาน

คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 โดยมีความก้าวหน้าในการดําเนินงาน ดังนี้

1. กรอบการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ของประเทศ ปี 2570

สาระสําคัญ

การขับเคลื่อนประเทศด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ด้านเศรษฐกิจนวัตกรรม ได้แก่ การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการทําวิจัยและพัฒนา (Gross expenditures on R&D: GERD) เป็น 2% ต่อ GDP มีบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น จํานวน 1,000 ราย (ที่มียอดขาย 1,000 ล้านบาท) และมีบริษัทสัญชาติไทยอย่างน้อย 5 บริษัท ติดอันดับใน Fortune Global 500 Biggest Company จําเป็นต้องมีการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ให้ เข้มแข็ง สอวช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ได้จัดทําและเสนอกรอบการพัฒนาระบบ นิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ของประเทศปี 2570 โดยวางแผนการดําเนินงานที่สําคัญ ดังนี้

1. IDE Accelerators โดยการส่งเสริม University Holding Companies และอุทยาน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อให้เป็นกลไกสําคัญในการเพิ่มจํานวนผู้ประกอบการนวัตกรรม

2. Regional Innovation Economic Corridors เป็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ นวัตกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและส่งเสริมสินค้าและบริการนวัตกรรมตามแนวระเบียบเศรษฐกิจของ ประเทศ ได้แก่ EEC (EECi, EECA, EECd, EECmd, EEC genomic) และ Route No. 1 Innovation Economic Corridor รวมถึงเขตเศรษฐกิจนวัตกรรมสุขภาพ

3. ผลักดัน Strategic Sectors อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นต้น

4. Enabling Environment อาทิ การสร้างตลาดสินค้านวัตกรรม การสนับสนุนทาง การเงิน เช่น มาตรการสนับสนุนทุนสําหรับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความ ต้องการของภาครัฐหรือความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดขนาดใหญ่ (Thailand Business Innovation Research, TBIR /Thailand Tech-Transfer Research, TTTR) กฎหมาย เช่น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ และโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant)

2. นโยบายส่งเสริม University Holding Company

สาระสําคัญ

คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เห็นชอบนโยบายการส่งเสริม University Holding Company ตามที่ สอวช. เสนอ โดยมีประเด็นสําคัญ ดังนี้

1. การสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งและดําเนินการ Holding Company ได้ตาม กฎหมาย โดยจัดทํา Guideline เป็นแนวทางการดําเนินงานสําหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐ

2. การส่งเสริมด้านเงินทุนในการร่วมลงทุนของ University Holding Company

3. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนการปรับปรุง ระเบียบภายในมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม

4. สภานโยบายส่งเสริมมหาวิทยาลัยสร้างธุรกิจนวัตกรรมเพื่อการนําผลงานวิจัยไปใช้ ประโยชน์ในรูปแบบ Spin-off/Startup

5. การส่งเสริมให้ University Holding Company ลงทุนร่วมกับภาคเอกชนในรูปแบบ ทุนร่วมทุน (Fund of fund)

ต่อมา คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 2 มิถุนายน 2564 ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอร่างแนวทางปฏิบัติ (Guideline) เพื่อการจัดตั้งและดําเนินการนิติบุคคลเพื่อร่วม ลงทุน (Holding Company) ของสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐ โดยแนวปฏิบัติกําหนดหลักการ และแนวทางให้แก่สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐนําไปปรับใช้ให้เหมาะสม โดยไม่มีสภาพบังคับทาง กฎหมาย สาระสําคัญของแนวทางปฏิบัติฯ สรุปดังนี้

1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : คําอธิบายและบทวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Holding Company ประกอบด้วย กฎหมายที่ให้อํานาจในการจัดตั้ง Holding Company หลักการพิจารณาสถานะ ความเป็นรัฐวิสาหกิจของ Holding Company หลักการพิจารณาการถือหุ้นของ Holding Company

2. การจัดตั้ง Holding Company : ประเด็นสําคัญที่ควรพิจารณาในการจัดตั้ง Holding Company เช่น การจัดทํารายงานการศึกษาแผนลงทุนก่อนการจัดตั้ง Holding Company ซึ่งควร คํานึงถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนการนํางานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการจัดทําข้อบังคับเมื่อมีการดําเนินการจัดตั้งแล้ว ซึ่งมีองค์ประกอบของคณะกรรมการกํากับดูแล Holding Company และ การรายงานผลการดําเนินงาน เป็นต้น

3. การกํากับดูแล : ประเด็นที่คณะกรรมการ Holding Company ควรพิจารณาในการ ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมของ Holding Company และการถอนการลงทุนก่อนการตัดสินใจร่วมลงทุน เป็นต้น

4. การส่งเสริมและสนับสนุนการนําความรู้ ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรมของ สถาบันอุดมศึกษาและของหน่วยงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ : แนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของ รัฐดําเนินการ เช่น สถาบันอุดมศึกษาควรจัดให้มีกฎและระเบียบภายในที่อํานวยความสะดวกและขจัดปัญหา อุปสรรคของการจัดตั้ง Holding Company รวมถึงจัดให้มีมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ในการพัฒนาบุคลากร สถาบันวิจัยของรัฐสามารถสนับสนุนทางการเงินและบุคลากรในการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนได้เมื่อมี การบัญญัติไว้ในกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

5. บุคลากร : แนวทางในการสรรหาบุคลากรมาบริหารจัดการ Holding Company โดย ควรสรรหาบุคลากรมืออาชีพ (Professional) แต่หากยังไม่สามารถสรรหาได้ อาจเลือกบุคลากรในหน่วยงาน ของรัฐมาปฏิบัติงานใน Holding Company ได้ แต่ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานของรัฐ และมี การจํากัดระยะเวลาการดํารงตําแหน่ง รวมถึงควรสนับสนุนการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารธุรกิจ นวัตกรรม เป็นต้น

3. การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่

สาระสําคัญ

สอวช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทําสมุดปกขาวการส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive : Promotion and Development) ต่อมาคณะอนุกรรมาธิการ ยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบในหลักการของสมุด ปกขาว และให้นําข้อมูลผนวกเป็นเนื้อหาสําคัญในรายงานผลการศึกษานโยบายยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ไทย โดยเนื้อหาหลายส่วนมีความสอดคล้องกับรายงานการศึกษาเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจัดทําโดย คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสอดคล้องกับทิศทางนโยบายของ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติในการก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่ สําคัญของโลก โดยมีกําลังการผลิตยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle : ZEV) อย่าง น้อยร้อยละ 30 ของการผลิตในปี 2573 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนําพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคม คาร์บอนต่ํา (Low-carbon Society) ในอนาคต

สอวช. ได้ศึกษาวิจัยและขับเคลื่อนเชิงนโยบายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนว ทางการส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ ดังนี้

1. สมุดปกขาวการส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ เสนอให้มีการกําหนดเป้าหมาย ระยะสั้น กลาง และยาว รวมถึงข้อเสนอแนะนโยบายและกลไกการดําเนินงานในด้านต่างๆ ซึ่ง สอวช. ดําเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ข้อเสนอมาตรการส่งเสริมและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (Autonomous, Connected, Electric and Shared Vehicles : ACES) ด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)

2.1 การสร้างตลาดในช่วงแรกเริ่มด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ

  • สนับสนุนผู้ประกอบการไทยเพิ่มสัดส่วน Local Content เริ่มจาก ร้อยละ40 ในปัจจุบันไปสู่ร้อยละ 80 ในปี 2573
  • การแก้ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น กําหนดราคากลางยานยนต์ฟ้า การซื้อขายไฟฟ้า การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ร่วมกับ Solar Rooftop ในพื้นที่หน่วยราชการ
    2.2 การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยและนวัตกรรมของยานยนต์สมัยใหม่

2.2.1 EV Conversion and EV New Design

  • ส่งเสริมการใช้งาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการกําหนดจํานวนหรือ เป้าหมายสัดส่วนการใช้งาน EV เทคโนโลยีและนวัตกรรม Talent Mobility
  • การสนับสนุนทางด้านการเงิน
  • การสนับสนุนที่ไม่ใช่การเงิน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญให้คําปรึกษาด้านการพัฒนา
  • ถ่ายทอดความรู้ด้าน System Integrationปรับปรุงหลักสูตร และสนับสนุน

2.2.2 Battery, Part/Components

  • การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนําเข้าชิ้นส่วน (1-3 ปี Grace Period) และ แยกการสนับสนุน อุตสาหกรรมแบตเตอรี่แพ็ค/เซลล์
  • การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยและนวัตกรรม

2.2.3 สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน

  • สร้างสนามทดสอบ CAV Proving Ground (PPP) เพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆ รองรับการใช้งานในอนาคต
  • Connected and Autonomous, Shared Vehicles (ACES)

เรื่องเดิม

มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ พ.ศ. 2562
กําหนดให้สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ (สอวช.) จัดทํารายงานประจําปีเสนอต่อนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสภานโยบาย และเผยแพร่ รายงานนี้ต่อสาธารณชน ทั้งนี้ มาตรา 25 ระบุให้คณะกรรมการอํานวยการสํานักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (กอวช.) ให้ความเห็นชอบรายงานประจําปีของ สอวช. เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสภานโยบาย

การดําเนินงาน

สอวช. ได้จัดทํารายงานประจําปีงบประมาณ 2563 ของ สอวช. เรียบร้อยแล้ว โดย กอวช. ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบและมอบหมายให้ สอวช. ดําเนินการเสนอต่อ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสภานโยบายตามกระบวนการต่อไป (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบ วาระ 5.3)