ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์  พ.ศ. 2563 EN

วันประกาศ : -
วันใช้บังคับ : 9 ตุลาคม 2563
สถานะ : มีผลบังคับใช้
ประเภท : ระเบียบ

ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์  พ.ศ. 2563 EN

โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนสาหรับการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้บุคคล คณะบุคคล ชุมชน หรือหน่วยงานภาคเอกชนนาผลงานที่เกิดจากการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ เชิงสังคม และเชิงสาธารณประโยชน์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้มีการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอาศัยอานาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบกับมติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ 

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้นาผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ๒๕๖๓” 

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

ข้อ ๓ สภานโยบายอาจมีมติให้นาระเบียบนี้ไปใช้บังคับแก่หน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งเป็นผู้ได้รับ 

การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้นาผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ด้วยก็ได้ โดยให้ทาเป็น 

ประกาศสภานโยบายและประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

ข้อ ๔ หน่วยงานของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์หรืออานาจหน้าที่ในการให้ทุนอาจนาระเบียบนี้ไปใช้บังคับแก่การให้ทุนของหน่วยงานแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมได้ โดยต้องแจ้งให้ สอวช. ทราบเพื่อนำเสนอสภานโยบายเพื่อทราบต่อไป 

ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ให้ทุนมีระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์ หรือกฎที่เรียกชื่ออย่างอื่นเกี่ยวกับการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้นาผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ใช้บังคับอยู่แล้ว ให้ใช้บังคับกฎดังกล่าวต่อไปได้ในกรณีที่หน่วยงานตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการนำระเบียบนี้ไปใช้บังคับจะเป็นประโยชน์แก่การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ซึ่งอยู่ในอานาจหน้าที่ของหน่วยงานตนก็ให้กระทาได้โดยทาเป็นประกาศและแจ้งให้ สอวช. ทราบเพื่อนาเสนอสภานโยบายเพื่อทราบต่อไป 

ข้อ ๖ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐในระบบวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชนหรือหน่วยงานภาคประชาสังคมให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมเพื่อให้นาผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ให้หลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนดังกล่าวเป็นไปตามข้อตกลงที่ทาขึ้นเพื่อการนั้นการร่วมให้ทุนตามวรรคหนึ่ง หน่วยงานภาคเอกชนหรือหน่วยงานภาคประชาสังคมต้องร่วมให้ทุนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของมูลค่าของทุนที่ให้ในกรณีที่หน่วยงานภาคเอกชนหรือหน่วยงานภาคประชาสังคมร่วมให้ทุนกับหน่วยงานของรัฐในระบบวิจัยและนวัตกรรมน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของทุนที่ให้ ให้ใช้ระเบียบนี้บังคับแก่การให้ทุนดังกล่าวและให้ถือว่าหน่วยงานภาคเอกชนหรือหน่วยงานภาคประชาสังคมเป็นผู้ให้ทุนตามระเบียบนี้ด้วย 

ข้อ ๗ ในระเบียบนี้ 

“ผู้ให้ทุน” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ทุน หน่วยบริหารและจัดการทุนใน สอวช. และหน่วยบริหารและจัดการทุนที่สภานโยบายกำหนดและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐตามข้อ ๔ ด้วย 

“ผู้รับทุน” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล ชุมชน หน่วยงานภาคเอกชนหรือหน่วยงาน 

ภาคประชาสังคมซึ่งผู้ให้ทุนได้อนุมัติให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม 

“ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์หรือผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อทากิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งช่วยเหลือหรือสนับสนุนการดาเนินการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ร่วมกันของประชาชนในชุมชนนั้น โดยมีการรวมตัวกันอย่างต่อเนื่อง มีระบบบริหารจัดการในรูปของคณะบุคคลและมีการแสดงเจตนาแทนชุมชนได้ โดยอาจเป็นชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนในเรื่องหรือกิจการใดก็ได้ 

“โครงการ” หมายความว่า โครงการวิจัยและนวัตกรรม 

“ทุน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่น 

ข้อ ๘ ให้ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอานาจออกประกาศ แนวทางหรือคู่มือ เพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอานาจในการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้ คำวินิจฉัยให้เป็นที่สุด  

ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 
อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจานวนกรรมการสภานโยบายทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ให้งดใช้ระเบียบนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ 

ข้อ ๙ การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมโดยการให้ทุนตามระเบียบนี้ ต้องดาเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา ๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ 

ข้อ ๑๐ โครงการวิจัยและนวัตกรรมที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนตามระเบียบนี้ ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 

(๑) มีความจาเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง รวมทั้งการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคการบริการของประเทศ 
(๒) สามารถตอบสนองต่อการสร้างความรู้ใหม่ ยกระดับนวัตกรรม ปรับปรุงกระบวนการผลิต และบริการ แก้ปัญหาเชิงเทคนิค ทดแทนการนาเข้าเทคโนโลยี หรือมีความจาเป็นต่อการพัฒนาประเทศ 
(๓) มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม 
(๔) ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมให้ดาเนินการในเชิงพาณิชย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
(๕) ส่งเสริมการนาทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ ทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้ทรงสิทธิหรือ เจ้าของอนุญาตหรือยินยอมให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้น รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาที่สิ้นอายุ การคุ้มครองตามกฎหมายไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนา เพื่อต่อยอดความรู้และเทคโนโลยี 
(๖) ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมและการยกระดับคุณภาพชีวิต 
(๗) ลักษณะอื่นตามที่สภานโยบายกาหนด 

ข้อ ๑๑ ประเภททุนที่จะให้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโครงการตามระเบียบนี้ มีดังต่อไปนี้ 

(๑) ทุนอุดหนุนแบบให้เปล่าทั้งหมด (Grant) 
(๒) ทุนอุดหนุนแบบให้เปล่าบางส่วน (Matching Grant) 
(๓) ทุนอุดหนุนแบบกาหนดเงื่อนไขการใช้คืน (Recoverable Grant) 
(๔) ทุนอุดหนุนเป็นเงินให้กู้ยืมแบบมีกาหนดระยะเวลาชาระคืน (Loans) 
(๕) ทุนอุดหนุนแบบอื่นตามที่ผู้ให้ทุนกาหนด 

ทุนที่จะให้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้ทุนอาจพิจารณาให้ทุนตามข้อเสนอโครงการทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร 

หลักเกณฑ์และวิธีการให้ทุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้ให้ทุนกาหนดโดยจะต้องคานึงถึง 

ความโปร่งใส ความเป็นธรรม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการทุนของโครงการด้วย 

ข้อ ๑๒ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาสนับสนุนทุนให้แก่โครงการของผู้รับทุน ในกรณีที่ผู้ให้ทุนมีคณะกรรมการบริหาร ให้คณะกรรมการบริหารหรือคณะบุคคลที่คณะกรรมการบริหารมอบหมายเป็นผู้พิจารณาการให้ทุน ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการบริหาร ให้ผู้ให้ทุนแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้ทุนประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ในการทาวิจัยและนวัตกรรมและไม่มีส่วนได้เสียในโครงการที่ขอรับทุน 

ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้ 

(๑) จัดทากรอบและแนวทางการสนับสนุนเงินทุน บุคลากร หรือทรัพยากรอื่นให้แก่โครงการของผู้รับทุนที่สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลและพันธกิจของผู้ให้ทุน 
(๒) อนุมัติทุนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดาเนินงานโครงการของผู้รับทุน รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะหรือให้คาปรึกษาแก่ผู้ให้ทุนในการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้ทุนและการปฏิบัติตามคารับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุน 
(๓) เสนอแนะหรือให้คาปรึกษาแก่ผู้ให้ทุนเกี่ยวกับมาตรการหรือแนวทางการจัดหาหรือระดมทุนสาหรับใช้ในการสนับสนุนการดาเนินงานโครงการ 
(๔) จัดให้มีการประเมินผลโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากผู้ให้ทุน 
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ 
(๖) ดาเนินการอื่นตามที่ผู้ให้ทุนมอบหมาย 

ข้อ ๑๓ ในการพิจารณาอนุมัติทุน นอกจากคณะกรรมการตามข้อ ๑๒ จะต้องปฏิบัติตามข้อ ๙ แล้ว คณะกรรมการต้องคานึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ด้วย 

(๑) พิจารณาสนับสนุนโครงการที่สามารถนาไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์เศรษฐกิจและสังคมได้ หรือโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศหรือแนวทางการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือสาธารณะได้ 
(๒) พิจารณาสนับสนุนโครงการที่ผู้รับทุนมีศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการโครงการให้สำเร็จลุล่วงได้ตามวัตถุประสงค์
(๓) พิจารณาสนับสนุนโครงการที่ไม่เคยได้รับทุนในโครงการลักษณะเดียวกันจากแหล่งทุนอื่นอยู่ก่อนวันที่ยื่นขอรับทุน เว้นแต่เป็นโครงการต่อยอดหรือขยายจากโครงการที่ได้รับสนับสนุนจากแหล่งทุนอื่น 
(๔) ในกรณีที่ผู้รับทุนซึ่งเป็นบุคคลหรือหน่วยงานภาคเอกชนยื่นข้อเสนอโครงการลักษณะเดียวกันเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนจากผู้ให้ทุน ให้พิจารณาสนับสนุนผู้รับทุนซึ่งมีลักษณะเป็นผู้เริ่มประกอบการ (Startup) วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือนิติบุคคลเอกชนที่ไม่แสวงหากาไรที่จัดตั้งและดาเนินงานในประเทศที่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนาไปสร้างธุรกิจและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนก่อน 

ข้อ ๑๔ ผู้ขอรับทุนซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนหน่วยหนึ่งหน่วยใดหรือหน่วยงานภาคเอกชนร่วมกันหลายหน่วย (consortium) อาจยื่นขอรับทุนสนับสนุนตามระเบียบนี้ได้ 

ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับทุนซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนที่ประสงค์จะยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนจากผู้ให้ทุนจะต้องเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของทุนจดทะเบียนและมีสถานประกอบการที่เป็นสานักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เว้นแต่ในกรณีที่มีความจาเป็นเพื่อสร้างขีดความสามารถของประเทศ หรือเพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือเพื่อประโยชน์สำคัญอื่น ผู้ให้ทุนอาจประกาศให้ผู้ขอรับทุนมีคุณสมบัติแตกต่างจากที่กาหนดไว้ตามข้อนี้ก็ได้ แต่ต้องมีฐานการผลิต การสร้างนวัตกรรม หรือสร้างความรู้ หรือการจ้างงานหลักในประเทศไทยคุณสมบัติของผู้ขอรับทุนซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมกันขอรับทุนหลายหน่วยให้เป็นไปตามที่ผู้ให้ทุนกาหนด 

ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับทุนภาคประชาสังคมต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 

(๑) เป็นนิติบุคคลไม่แสวงหากาไร เช่น มูลนิธิ สหกรณ์ 
(๒) เป็นกลุ่มกิจการเพื่อสังคม หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม 
(๓) เป็นวิสาหกิจชุมชน 
(๔) เป็นองค์กรชุมชน 
(๕) เป็นชุมชน กลุ่มหรือคณะบุคคลอื่นตามที่ผู้ให้ทุนประกาศกาหนด 

ให้นำความในข้อ ๑๔ มาใช้บังคับแก่ผู้ขอรับทุนภาคประชาสังคมด้วยนอกจากคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ให้ทุนอาจประกาศกาหนดระยะเวลาที่มีการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 

ข้อ ๑๗ ในการเสนอโครงการขอรับทุน ผู้ขอรับทุนต้องเสนอการวิเคราะห์ศักยภาพของตนเองและประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประเทศจะได้รับจากโครงการ เพื่อประกอบการพิจารณาในการให้ทุนด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้รับทุนและประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประเทศจะได้รับจากโครงการตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องประกอบด้วย 

(๑) ศักยภาพของผู้รับทุนที่สามารถดาเนินโครงการนั้นได้และสามารถนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณะได้อย่างชัดเจน 
(๒) ผลลัพธ์และผลกระทบในเชิงคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม 

ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับทุนได้รับอนุมัติการจัดสรรทุนตามข้อ ๑๑ (๑) (๒) หรือ (๓) ผู้รับทุนต้องไม่นาข้อเสนอโครงการที่ได้รับทุนจากผู้ให้ทุนไปขอทุนจากแหล่งทุนอื่นอีก เว้นแต่จะเป็นการขอทุนเพื่อต่อยอดหรือขยายโครงการเพิ่มเติมและจาเป็นต้องหาทุนสนับสนุนจากแหล่งอื่น และจะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้ทุนก่อน 

ข้อ ๑๙ ในการดาเนินโครงการที่ได้รับทุนจากผู้ให้ทุน ผู้รับทุนต้องปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคารับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้ทุน และต้องดาเนินโครงการอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดที่วางไว้ 

ข้อ ๒๐ คารับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้ทุนอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสาระสาคัญ ดังต่อไปนี้ 

(๑) วัตถุประสงค์ของโครงการ 
(๒) ขอบเขตของโครงการ 
(๓) ระยะเวลาของโครงการ 
(๔) กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการดาเนินงานโครงการและการส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าว 
(๕) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับทุนในการดาเนินโครงการ 
(๖) ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม 
(๗) การใช้ประโยชน์และการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม 
(๘) เงื่อนไขอื่นตามที่ผู้ให้ทุนกาหนดการเบิกเงินทุน การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน หรือการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้รับทุนจะกระทาได้ก็ต่อเมื่อผู้รับทุนได้ลงนามในคารับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้ทุนแล้ว 

ข้อ ๒๑ ผู้ให้ทุนต้องจัดให้มีระบบการติดตามการดาเนินโครงการของผู้รับทุนอย่างสม่ำเสมอและผู้รับทุนมีหน้าที่รายงานความก้าวหน้าและผลการดาเนินโครงการที่ได้รับทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ให้ทุนกาหนด 

ข้อ ๒๒ ผู้ให้ทุนต้องจัดให้มีระบบการประเมินโครงการที่รับทุน ดังต่อไปนี้ 

(๑) การประเมินระหว่างดาเนินโครงการหรือเมื่อปิดโครงการโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ 

(๒) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการซึ่งดาเนินการเสร็จสิ้นแล้วว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการให้ทุนหรือไม่ เพียงใด 

ข้อ ๒๓ ภายใต้บังคับข้อ ๒๔ ให้ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้โครงการที่ได้รับทุนจากผู้ให้ทุนเป็นของผู้ให้ทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับทุนได้จัดสรรเงินทุนสนับสนุนให้แก่โครงการด้วย ให้ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้โครงการดังกล่าวเป็นไปตามที่ผู้ให้ทุนและผู้รับทุนตกลงกัน 

ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้รับทุนประสงค์จะเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ผู้รับทุนจะต้องยื่นคาขอเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งข้อเสนอแผนการใช้ประโยชน์และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาต่อผู้ให้ทุนภายในเวลาที่ผู้ให้ทุนกาหนดเมื่อผู้ให้ทุนได้รับคาขอตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้ทุนจะออกหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและโอนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ผู้รับทุนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นโดยเร็วในการดาเนินการตามวรรคสอง ผู้ให้ทุนอาจกาหนดเงื่อนไขให้ผู้รับทุนปฏิบัติด้วยก็ได้ 

ข้อ ๒๕ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสาคัญของโครงการหรือการยุติโครงการก่อนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ในคารับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้ทุนจะต้องได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้ทุน 

ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้รับทุนไม่ผ่านการประเมินของผู้ให้ทุนตามข้อ ๒๒ (๑) หรือไม่ปฏิบัติตามคารับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้ทุนในสาระสาคัญหรือผู้รับทุนกระทาการทุจริต ผู้ให้ทุนอาจยุติโครงการโดยแจ้งให้ผู้รับทุนทราบ 

ในกรณีที่เหตุแห่งการยุติโครงการตามวรรคหนึ่งเกิดจากความผิดอย่างร้ายแรงหรือการกระทาโดยทุจริตของผู้รับทุน ผู้รับทุนต้องคืนทุนที่ได้รับไปทั้งหมดให้แก่ผู้ให้ทุน ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ผู้ให้ทุนกาหนด และผู้ให้ทุนอาจพิจารณาประกาศชื่อผู้รับทุนดังกล่าวในบัญชีผู้ถูกยุติโครงการเพราะกระทาความผิดอย่างร้ายแรงหรือการกระทาโดยทุจริตด้วยก็ได้ 

ข้อ ๒๗ เมื่อการดาเนินการตามโครงการสิ้นสุดลง ผู้รับทุนต้องรายงานสรุปผลการดาเนินงานและบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ ปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินโครงการให้ผู้ให้ทุนทราบรวมทั้งส่งคืนเงินหรือทรัพย์สินคงเหลือ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ผู้ให้ทุนกาหนดให้นาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่การยุติโครงการตามข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖ ด้วย 

ข้อ ๒๘ โครงการที่ได้รับทุนและดาเนินการอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดาเนินการต่อไปตามข้อผูกพันเดิมจนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ 

ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. ๒๕63 
ดอน ปรมัตถ์วินัย 
รองนายกรัฐมนตรี 
ประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ