ค้นหาข้อมูลและเอกสาร ล้างตัวกรอก

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564

14:00 น.
15 กันยายน 2564
การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
วันที่ : 15 กันยายน 2564
เวลา : 14:00 น.
การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ใบนำวาระสภานโยบาย 3/2564
  • สไลด์สภานโยบาย 3/2564
  • รายงานการประชุมสภานโยบาย 3/2564

วาระการประชุม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
3.1 ความก้าวหน้าวาระแห่งชาติการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG)
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

4.1.1 (ร่าง) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2566-2570

4.1.2 (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ 
พ.ศ. 2566-2570

4.2 (ร่าง) ประกาศสภานโยบาย เรื่อง การจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม

4.3 แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

4.4 ข้อเสนอการจัดระบบการบริหารและจัดการทุนด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และ (ร่าง) ข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช.

4.5 โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561-2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 - 2570)

4.6 (ร่าง) รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564: การฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ

การประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานและฝ่ายเลขานุการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

ประธานสภานโยบายกล่าวเปิดการประชุม และกรรมการและเลขานุการสภานโยบาย (ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) ขอให้กรรมการสภานโยบายที่เข้าร่วมประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนเพื่อตรวจสอบองค์ประชุมก่อนเริ่มการประชุม โดยมีกรรมการสภานโยบายเข้าร่วมประชุมจำนวน 26 ท่าน และที่ปรึกษาสภานโยบายจำนวน 4 ท่าน ประธานสภานโยบายได้มอบนโยบายการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์โรค Covid-19 และขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลายขึ้น โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูล และมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

  1. ในประเทศไทยเกิดวิกฤต โดยตัวเลขผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยจาก Covid-19 มีจำนวนรวมสูง แม้ว่าจำนวนจะไม่สูงเท่าประเทศอินโดนีเซีย แต่มีจำนวนสูงสุดเมื่อคิดเป็นสัดส่วนเทียบกับจำนวนประชากรในสถานการณ์เช่นนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้ เช่น การพัฒนาวัคซีน การปฏิบัติตัวในช่วงสถานการณ์ Covid-19
  2. การขาดแคลนวัคซีน เป็นเรื่องที่อว. สามารถสนับสนุนได้ ขณะนี้ อว. ได้ดำเนินการเรื่องวัคซีน 2 โครงการ คือ mRNA และโปรตีน Subunit Protein ซึ่งอยากให้เร่งรัด และสนับสนุน เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศไทย ดังตัวอย่างของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการสนับสนุนงบประมาณหลายพันล้านเหรียญสหรัฐในการผลิตวัคซีน และสามารถทำได้สำเร็จในระยะเวลาเพียง 1 ปี
  3. โครงการ mRNA vaccine ของประเทศไทยที่ดำเนินการโดยคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ChulaCov19) ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่หลายภาคส่วนในสังคมอาจยังไม่ทราบข้อมูล จึงจำเป็นที่ อว. ต้องพิจารณาให้เป็นวาระสำคัญ (Priority) ของประเทศ ส่วนโครงการโปรตีน Subunit Protein ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายประเทศได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน โดยเชื่อว่าน่าจะเป็นทางออกในเรื่องไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า
  4. แม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะไม่ใช่หน่วยงานหลักในการบริหารจัดการปัญหาแต่ก็ได้พยายามประสานกับหลายๆ ประเทศ เพื่อหาความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น Vaccine Swap, Vaccine Loan, Vaccine ที่มีจำนวนมากกว่าความต้องการใช้ สำหรับ Vaccine Loan คาดว่า มีโอกาสสำเร็จในเดือนกันยายน 2564
  5. ที่ผ่านมา กต. ได้พยายามประสานขอวัคซีนจากประเทศต่างๆ เช่น เกาหลีใต้ออสเตรเลียแคนาดา และสหรัฐอเมริกา แต่การจะนำวัคซีนเข้ามาก็มีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น วัคซีนยังใช้ได้หรือไม่ ซึ่งทางทำเนียบขาว (Whitehouse) หรือประเทศต่างๆ ทราบว่า ประเทศไทยมีความพยายามในการนำวัคซีนเข้ามาแต่เนื่องจากมีแนวปฏิบัติที่ยึดหลัก One Country One Contract ซึ่งต้องดำเนินการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งต่อมา ประเทศไทยได้การสนับสนุนวัคซีน AstraZeneca จากญี่ปุ่น และสหราช
    อาณาจักร ในขณะเดียวกัน ได้มีความพยายามประสานกับประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น ฝรั่งเศส จีน คิวบา (Subunit) และสหรัฐอเมริกา (Novavax ซึ่งเป็น Protein-nanoparticle Vaccine)
  6. เมื่อปลายปี2563 มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะผลิตวัคซีนได้ 2 หมื่นล้านโดส แต่ในความเป็นจริง สามารถผลิตได้เพียง 1.2 หมื่นล้านโดส ทำให้ตลาดวัคซีนยังเป็นตลาดของผู้ขาย ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีปัญหาในการผลิต เช่น ประเทศมาลาวีมีการทำลายวัคซีน AstraZeneca ที่หมดอายุ
  7. ในการประชุมของสถาบันวัคซีนแห่งชาติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการปรับกรอบในการจัดหาวัคซีนในปี 2564 โดยปรับเป็น 100 ล้านโดส และในปี 2565 ปรับจากเป้าหมายเดิมจำนวน 50 ล้านโดส เป็น 120 ล้านโดส ทั้งในส่วนของ mRNA และ Viral Vector สำหรับรายละเอียดในการจัดหาวัคซีนในปี 2565 จะต้องดำเนินการเจรจาตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้ได้เงื่อนไขในการเจรจาที่ดี
  8. แม้ว่าที่ผ่านมาเราจะพยายามดูแลสถานการณ์เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ได้นึกถึงการระบาดในระลอกที่ 3 ซึ่งการติดตามสถานการณ์ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการสภานโยบาย ได้จัดทำรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 และแจ้งเวียนให้กรรมการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว มีกรรมการขอแก้ไขรายงานการประชุม ดังนี้

ประธานสภานโยบายขอแก้ไขรายงานการประชุม ระเบียบวาระที่ 4.5 การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ดังนี้
ข้อคิดเห็นของที่ประชุม ข้อ 12 ขอแก้ไขเป็นความว่า
“12. ปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการสร้างงาน จึงต้องดูภาพใหญ่ของการผลิตและพัฒนากำลังคนด้วยว่าประเทศต้องการคนที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม และคนที่มองปัญหาครบทุกมิติ”

มติที่ประชุม ขอแก้ไขเป็นความว่า
“3. มอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับข้อเสนอแนะของสภานโยบายไปพิจารณาเพื่อดำเนินการเสนอกระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรีต่อไป” จากนั้น กรรมการและเลขานุการสภานโยบาย (ศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) รายงานความก้าวหน้าของการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมที่ได้นำเสนอในการประชุมสภานโยบายฯ ครั้งที่ 1/2564 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) ได้นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมว่าคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้พิจารณาเห็นชอบการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาแล้ว โดยมีข้อคิดเห็นและขอข้อมูลจาก อว. เพิ่มเติม ดังนี้

  1. การจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาต้องสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558
  2. ภารกิจกองทุนมีความซ้ำซ้อนกับกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือไม่และผลการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา
  3. ขอข้อมูลที่มาของแหล่งรายได้ เพื่อพิจารณาการดำเนินการของกองทุนในรูปแบบหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (Special Delivery Unit: SDU) มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1/2564

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง

เรื่องเดิม
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 มีมติเห็นชอบให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป และให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) พิจารณากำหนดและดำเนินแผนงาน/โครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 นั้น

การดำเนินงาน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการบริหารฯ จึงจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานสำหรับหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งชาตินี้ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและยั่งยืนและได้นำเสนอร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ มีการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยหน่วยงานต่าง ๆ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model รายสาขา ได้แก่

  1. การพัฒนาประเทศสู่ Carbon Neutrality ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 สวทช.จัดหารือแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมทั้งนี้มีการมอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหารือร่วมกับกระทรวงพลังงานเพื่อกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากร้อยละ 20 จากกรณีปกติภายในปี 2573 ให้ท้าทายมากยิ่งขึ้นรวมถึงให้องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ปยป.) หารือเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การซื้อขายคาร์บอนในประเทศ และมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยและนักลงทุนต่างประเทศ และ วันที่ 10 สิงหาคม 2564 กรมป่าไม้ออกระเบียบว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูก บำรุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูในพื้นที่ป่าไม้ พ.ศ. 2564 เพื่อแบ่งปันคาร์บอนเครดิตสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมโครงการและไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 สำหรับกรมป่าไม้
  2. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อว. โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ของ สวทช. และ กรมทรัพยากรธรณี(ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนหน่วยงานในยุคดิจิทัลและ BCG Model” ด้วยการใช้ Big DATA จัดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีหนุนเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ และยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs พื้นที่ 10 จังหวัดในภาคเหนือ ในกลุ่มเสื้อผ้าและสิ่งทอ พร้อมจัดแสดงนิทรรศการและส่งเสริมการออกตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ “ไทยช้อป SMEs ไทย 2021” BCG Connext เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตโควิด-19 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG
  3. การสื่อสารให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG อว. และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงต่างประเทศ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแบบ Social Movement สรุปได้ดังนี้
  • การจัดทำช่องทางการสื่อสารกลางจำนวน 2 ช่องทาง ได้แก่ https://www.facebook.com/BCGinThailand และ https://twitter.com/ BCGinThailand เพื่อนำเสนอความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับ BCG ของประเทศไทย
  • การเผยแพร่ผ่านรายการ “โฆษก อว” ออกอากาศในทุกช่องทางสื่อสารของ อว. เพจสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว.
  • การเผยแพร่ในรายการโทรทัศน์ เช่น The next คลื่นอนาคต : BCG โมเดลเศรษฐกิจ ปั้นไทยสู่โลก ออกอากาศวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 17.30-18.00 น. ทางไทยพีบีเอส
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จัดทำวารสารภาษาอังกฤษได้จัดทำวารสารภาษาอังกฤษ Thailand Investment Review (TIR) เรื่อง “Thailand’s Bio-Circular and Green Economy: Living up to Global Challenge”
  • กระทรวงพาณิชย์จัดทำวีดีโอสั้น “ BCG journey” อธิบายความหมายและประโยชน์ของโมเดลเศรษฐกิจ BCG
  • กระทรวงต่างประเทศ เชิญ ดร.วิทย์ เมษินทรีย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในรายการ Spokesman Live ดำเนินรายการโดยนายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ

กรรมการและเลขานุการสภานโยบาย (ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) นำเสนอที่ประชุมดังนี้

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีข้อริเริ่มจัดตั้ง “มูลนิธิกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (Innovation Fund Foundation for Industry)” เพื่อเป็นองค์กรบริหารจัดการกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม โดยกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งในระดับภูมิภาคจนถึงระดับชาติได้ ตลอดจนสร้างโอกาสทางการแข่งขันให้
ภาคอุตสาหกรรมเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน กองทุนฯ จะดำเนินการในลักษณะกองทุนจากเอกชนเพื่อช่วยเอกชน โดยการระดมเงินทุนจากการบริจาคของธุรกิจขนาดใหญ่ จำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

  1. หลักการของการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม (Innovation Fund) เพื่ออุตสาหกรรม สรุปได้ดังนี้
    1) กองทุนนวัตกรรม (Innovation Fund) เพื่ออุตสาหกรรม จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในรูปแบบมูลนิธิกองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (Innovation Fund Foundation for Industry) โดย ส.อ.ท.
    2) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นเงินทุนสนับสนุน SMEs ให้มีศักยภาพในการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย
    3) ให้มีการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) เข้ากองทุนนวัตกรรม ในระยะ 3 ปีแรก ในอัตราส่วน 50 : 50 โดยภาครัฐจะสนับสนุนเมื่อภาคเอกชนได้สนับสนุนงบประมาณเข้ากองทุนนวัตกรรมแล้ว
    4) ได้ประสานกับกรมสรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่บริจาคเงินเข้ากองทุนให้สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 2 เท่า
  2. รูปแบบและหลักเกณฑ์การสนับสนุนโครงการนวัตกรรม
    1) เงินสนับสนุน
    2) การสนับสนุนทางวิชาการ
    3) การสนับสนุนด้านการตลาด

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

เรื่องเดิม

  1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 11 กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และมาตรา 17(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีหน้าที่ และอำนาจเสนอแนะต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการจัดทำแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทและแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล โดยข้อเสนอแนะและความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประกอบกับพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 11(1) สภานโยบายมีหน้าที่และอำนาจ เสนอแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนของประเทศ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
  2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ในการประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 และคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุม ครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ได้มีมติให้ประกาศแผนดังกล่าวต่อประชาคมอุดมศึกษา เพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาแก่สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 – 2570
  3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีข้อเสนอแนะให้จัดทำกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ขึ้นเพื่อบูรณาการแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ให้มีการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน โดยเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบในหลักการของกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การดำเนินงาน

  1. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ทบทวนและปรับปรุงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ให้สอดรับกับบริบทสังคมที่สำคัญในช่วงการพัฒนา พ.ศ. 2566-2570 และกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยจัดทำคู่ขนานไปกับแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
    พ.ศ. 2566-2570 เพื่อให้เกิดการบูรณาการภาพแนวคิดระหว่างอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึง ปรับกลไกงบประมาณทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงและ
    มีความคล่องตัว โดยสามารถถ่ายทอดไปสู่แผนปฏิบัติราชการ และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งนี้ กระบวนการทบทวนแผนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นและจัดทำเป็นแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 พร้อมทั้ง ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 8/2564 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบกรอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570
    ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 ตามข้อเสนอคณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)
  2. แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 ยังคงเน้นย้ำหลักการ องค์ประกอบ และบทบาทที่อุดมศึกษาเป็นฐานการพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้แบบก้าวกระโดดและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รายละเอียดดังนี้
    2.1 โครงสร้างเล่มแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้

2.2 สาระสำคัญของแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570) มีดังนี้

1) วิสัยทัศน์ อุดมศึกษาสร้างคน สร้างปัญญา เพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน

2) พันธกิจ ยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาให้เทียบเคียงกับประเทศพัฒนาแล้ว ถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมอย่างกว้างขวางให้สามารถนำมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาครอบคลุมประชากรวัยเรียน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส วัยแรงงานและผู้สูงอายุให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและสมรรถนะตามความต้องการของตลาดแรงงาน การสร้างงานและการเป็นผู้ประกอบการในท้องถิ่นหรือภูมิลำเนาของตนเอง ตลอดจนยกระดับระบบอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลที่สอดคล้องกับความเป็นอิสระในการบริหารจัดการตนเองของสถาบันอุดมศึกษา สามารถพัฒนาระบบบริหารแบบมืออาชีพตามอัตลักษณ์ที่หลากหลายให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ

3) ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา เป็นการพัฒนาอุดมศึกษาระยะ 5 ปี ใน 3 ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) (ตอบสนอง 4 เป้าหมาย และ 10 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย 3 แนวทาง

แนวทางที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Lifelong Learning) (5 กลยุทธ์)

แนวทางที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษาและสมรรถนะของกำลังคน (Quality & Manpower Competencies Enhancement) (6 กลยุทธ์)

แนวทางที่ 3 การสร้างเสริมบุคลากรคุณภาพสูง (Enhancement of Brainpower & Concentration of Talents) (3 กลยุทธ์)


ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem Building) (ตอบสนอง 3 เป้าหมาย และ 9 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย 2 แนวทาง

แนวทางที่ 1 การวิจัย นวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Research Innovation and Technology Transfer) (7 กลยุทธ์)

แนวทางที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือปัจจัยเอื้อ ภายในสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม
(2 กลยุทธ์)


ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ ( Higher Education Transformation) (ตอบสนอง 3 เป้าหมาย และ (6 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย 4 แนวทาง

แนวทางที่ 1 การบริหารจัดการและธรรมาภิบาล (Management and Good Governances) (3 กลยุทธ์)

แนวทางที่ 2 การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาตามอัตลักษณ์ที่หลากหลาย (Reinventing University) (2 กลยุทธ์)

แนวทางที่ 3 ความมั่นคงทางการเงินในระบบอุดมศึกษา (Financial Security) (1 กลยุทธ์)

แนวทางที่ 4 อุดมศึกษาดิจิทัล (Digital Higher Education) (1 กลยุทธ์)

4) การขับเคลื่อนสำคัญ

จากประเด็นสำคัญของกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดเป็น 7 นโยบายหลัก (Flagship Policies) และ 3 กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ตามความสำคัญเร่งด่วน (Priorities Setting) เพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนที่สำคัญให้บรรลุผลเป็นรูปธรรม ภายในระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) บนพื้นฐานของความตรงประเด็น (Relevance) ประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ดังนี้

7 นโยบายหลัก (Flagship Policies)
FP กำลังคนสมรรถนะและศักยภาพสูงตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดล BCG (ด้านการเกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาพ การท่องเที่ยว และพลังงาน รวมถึงวัสดุและเคมีชีวภาพ) เพื่อยกระดับเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
FP 2 กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น
FP 3 ระบบเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม รวมถึง SMEs and IDEs มีความเข้มแข็ง
FP 4 การรองรับสังคมสูงวัย และการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยสมบูรณ์
FP 5 การสร้างความเป็นเลิศ และองค์ความรู้ใหม่ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์
FP 6 ศูนย์กลางความเชี่ยวชาญระดับนานาชาติ (Hub of Talent & Knowledge)
FP 7 โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาที่เข้มแข็ง

3 กลไกหลัก (Flagship Mechanisms)

FM 1 การปฏิรูประบบการเงินและงบประมาณที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
FM 2 การส่งเสริมธรรมาภิบาล ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
FM 3 การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ มีเสถียรภาพ

5) หมุดหมาย (Milestone) ของการพัฒนาการอุดมศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570 จาก 3 ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และ 10 การขับเคลื่อนสำคัญ จะสามารถทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ ในปี พ.ศ. 2570 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1 การอุดมศึกษาเป็นปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด 19 (Higher Education is Key Enablers for Thailand’s Transformation in the Post Covid – 19) โดยในระยะ 3 ปีแรกของการพัฒนา (พ.ศ. 2566 – 2568) เป็นปีแห่ง 10 การขับเคลื่อนสำคัญที่ประกอบด้วย 7 นโยบายหลัก (Flagship Policies) และ 3 กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ในแต่ละปีปรากฏหมุดหมาย (Milestone) สำคัญ ดังนี้

Milestone I : กำลังคน องค์ความรู้ และกลไกหลักในระบบอุดมศึกษาพัฒนาแบบก้าวกระโดดและยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี พ.ศ. 2566
Milestone II : ความเข้มแข็งทางนิเวศอุดมศึกษาผลักดันภาคเศรษฐกิจและสังคม ภายในปี พ.ศ. 2567
Milestone III : ศูนย์กลางความเชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ ภายในปี พ.ศ. 2568

ช่วงที่ 2 การอุดมศึกษาเพื่อความยั่งยืนของไทย (Higher Education for SustainableThailand) การอุดมศึกษาสร้างสมดุลในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาแก่ทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรมและสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันตามกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยเหตุการณ์ในช่วงที่ 2 มีระยะ 2 ปี (พ.ศ. 2569 – 2570) เป็นผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา 3 ยุทธศาสตร์รวมกับผลลัพธ์จาก 10 การขับเคลื่อน
สำคัญ ส่งผลให้การอุดมศึกษามีทรัพยากรที่มีศักยภาพมากพอและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
ทั้งนี้ในแต่ละปีปรากฏหมุดหมาย (Milestone) สำคัญ ดังนี้

Milestone IV : การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอุดมศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ ภายในปี พ.ศ. 2569
Milestone V : การอุดมศึกษาและสังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2570

เรื่องเดิม

  1. พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 44(3) กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีหน้าที่และอำนาจ จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.)
  2. ที่ผ่านมา แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565 และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564 ตามลำดับ และนำไปใช้ในการกำหนดทิศทางการจัดสรรงบประมาณของกองทุน ววน. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2565
  3. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 มีมติให้ความเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 โดยให้นำความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณา ปรับปรุง” และมอบหมายให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 เพื่อจัดทำแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

การดำเนินงาน

  1. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้นำกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 มาจัดทำ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570 พร้อมกับจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ อาทิ การประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570 เมื่อวันที่ 7-8 มิถุนายน พ.ศ. 2564 การประชุมพิจารณาภาพรวมแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570 ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และการประชุมหารือกับผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ตลอดจนการจัดประชุมเพื่อพิจารณา Objective and Key Results (OKRs) ของแผนงานร่วมกับ PMU ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การร่วมขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
  2. สาระสำคัญของ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570 สรุปได้ดังนี้

หลักการชี้นำ

• เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ (Take a Giant Step) ของประเทศ ด้วยการสนธิกำลังของการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

• มีธง บอกทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ท้าทายและทำได้จริง เกิดผลจริงในกรอบเวลาที่กำหนดและสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งมุ่งเน้นที่เป็นจุดคานงัด ชายขอบของศาสตร์ และการพลิกโฉมที่ระบบ (System-based Transformations) ที่สำคัญ ซึ่งเป็นพลังสร้างผลลัพธ์ผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยการผนึกกำลังของการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

• เก่งในบางเรื่องที่สำคัญ (ระดับโลก ระดับภูมิภาค) ไม่ทำทุกเรื่อง โดยใช้ความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Advantage) จุดแข็งด้านอัธยาศัย จิตใจ วัฒนธรรม และทักษะของคนไทย ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและพันธมิตรความร่วมมือที่มีอยู่และที่ต้องการทำในเรื่องนั้นๆ

• เน้นการใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตและบริการ อีกทั้งพร้อมในการก้าวสู่อนาคต

• ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มี และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเพื่อบรรลุเป้าหมาย ปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ รวมทั้งต่อยอดจากโอกาสและข้อได้เปรียบที่ประเทศไทยมีอยู่

• เน้นการพัฒนาโดยมีเป้าหมายคู่ขนานคือ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ในระดับประเทศ พร้อมทั้งสังคมและเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งรวมถึง การตอบโจทย์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาศักยภาพและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

• บูรณาการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้ามศาสตร์ ข้ามกระทรวง สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ และกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 โดยมุ่งเน้นการบูรณาการ
สนธิกำลัง ร่วมเป็นเจ้าของ และร่วมรับผิดชอบ (Synergy, CoOwnership, Joint Accountability) สร้างผลลัพธ์ร่วม (Joint Outcome) รวมทั้งการสร้างความร่วมมือและการดึงภาคเอกชนและภาคีภาคส่วนต่างๆมาร่วมยกระดับการพัฒนาลักษณะ Co-Production และ CoInvestment เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในระบบ อววน. และกับหน่วยงาน/ภาคส่วนอื่นๆ เพื่อการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของประเทศ และพันธกิจของหน่วยงาน/ภาคส่วน

วิสัยทัศน์

พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย โดยการสานพลังหน่วยงานในระบบ ววน. รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

เป้าประสงค์

1) คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

2) เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้ ยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต

3) สังคมไทย มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการปลี่ยนแปลงของโลก

ยุทธศาสตร์ และแผนงาน

แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ และ 26 แผนงาน โดยมีแผนงานย่อย ประกอบด้วย 1) 13 แผนงานสำคัญ (Flagship) ตามจุดมุ่งเน้นนโยบาย (เป็นระดับแผนงานย่อย) และ 2) 52 แผนงานย่อย

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

แผนงานภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 1

1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการแพทย์และสุขภาพ ให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ

2) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านเกษตรและอาหารให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ

3) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการท่องเที่ยวให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ

4) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ

5) พัฒนาและประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีดิจิทัล อิเล็กทรอนิคอัจฉริยะ รวมทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต/การบริการและการพึ่งพาตนเอง

6) พัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากล แข่งขันได้และเชื่อมต่อกับเครือข่ายรองรับระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียน

7) พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้สามารถแข่งขันได้ รองรับการขยายตัวด้านการคมนาคมขนส่งของอาเซียนและพึ่งตนเองได้

8) พัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม รวมถึง SMEs และ IDEs เพื่อยกระดับรายได้ความสามารถในการแข่งขัน และการพึ่งพาตนเอง

แผนงานสำคัญ (Flagship) ตามจุดมุ่งเน้นนโยบายภายใต้ ยุทธศาสตร์ที่ 2

1) พัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 และการยกระดับเป็นศูนย์กลางด้านวัคซีนในระดับอาเซียน

2) พัฒนาและผลิต ชีววัตถุ ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) ให้เป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน

3) ยกระดับการผลิตและการส่งออก Functional Ingredients, Functional Food, Novel Food ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกชั้นนำของโลก

4) เร่งพัฒนาการผลิตและการส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูง ให้ไทยเป็นผู้นำของโลกโดยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและประเทศที่สั่งซื้อ

5) พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เน้นคุณค่า สร้างความยั่งยืน และเพิ่มรายได้ของประเทศ สามารถเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงและการมาเยือนซ้ำ

6) เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นแบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำคัญที่ก้าวหน้าและล้ำยุคสู่อนาคต ให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียน

7) พัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDEs) ขนาดใหญ่

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

แผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2

1) พัฒนาความพร้อมและโอกาสของคนทุกช่วงวัย และพัฒนาระบบสำคัญของสังคมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย

2) ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้พร้อมรับโรคระบาดระดับชาติ และโรคอุบัติใหม่

3) มุ่งขจัดความยากจน ลดช่องว่างของการเข้าถึงโอกาสด้านการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ การเข้าถึงเทคโนโลยี/นวัตกรรม และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

4) เพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้และกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น

5) มุ่งพัฒนาสังคมคุณธรรม แก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และเสริมสร้างธรรมาภิบาล

6) พัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ทุกภูมิภาค โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

7) สังคมไทยไร้ความรุนแรง ประชาชนมีความปลอดภัยและสวัสดิภาพสาธารณะในการดำรงชีวิต

8) พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

9) เตรียมพร้อมรับ ตอบโต้ และปรับตัวต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แผนงานสำคัญ (Flagship) ตามจุดมุ่งเน้นนโยบายภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2

1) ผู้สูงอายุมีศักยภาพและโอกาสในการพึ่งตนเอง มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม

2) บรรเทาและฟื้นฟูความยากจนฉับพลัน ในแรงงงานและกลุ่มเปราะบางจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต

แผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3

1) ขับเคลื่อนการวิจัยขั้นแนวหน้าที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า รวมทั้งการนำผลการวิจัยขั้นแนวหน้าประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอด

2) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคตรวมทั้งอุตสาหกรรมอวกาศ

3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ที่รองรับการวิจัยขั้นแนวหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อนาคต

แผนงานสำคัญ (Flagship) ตามจุดมุ่งเน้นนโยบายภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3

1.การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้า ล้ำยุคสู่อนาคต และเทคโนโลยีระบบโลกและอวกาศ (Earth Space Technology) รวมทั้งดาวเทียม เพื่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาประเทศด้านภูมิสารสนเทศ และต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอวกาศในอนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

แผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4

1) พลิกโฉมระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ประเทศไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูงเพียงพอตามเป้าหมายยุทธศาสตร์และการพัฒนาแห่งอนาคต และสอดรับกับปรัชญาการอุดมศึกษาไทยใหม่

2) พลิกโฉมระบบและกลไกในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงนักวิทยาศาสตร์และนวัตกรตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

3) พลิกโฉมมหาวิทยาลัย ให้เป็นเลิศตามบทบาทการสร้างกำลังคน การสร้างองค์ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการพัฒนาพื้นที่และประเทศ

4) พลิกโฉมและยกระดับสถาบัน/หน่วยงานด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์เป้าหมายของประเทศและสามารถเทียบเคียงระดับนานาชาติ

5) พลิกโฉมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทยให้มีความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ โดยเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talent) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียน รวมถึงศาสตร์โลกตะวันออก และมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ

แผนงานสำคัญ (Flagship) ตามจุดมุ่งเน้นนโยบายภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4

1) พัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา นักวิทยาศาสตร์และนวัตกร ทุกคน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จำเป็นควบคู่กับการมีสมรรถนะสูงด้านวิชาชีพและวิชาการ

2) ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรทักษะสูงที่ตรงตามความต้องการของประเทศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

3) พัฒนาการเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talent) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียน รวมถึงด้านศาสตร์โลกตะวันออก ทั้งนี้ ในแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ได้มี แผนงานขับเคลื่อนและบริหารแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด

กลไกขับเคลื่อนและบริหารจัดการ ประกอบด้วย

1) กลไกกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
2) ระบบงบประมาณและการสนับสนุน
3) การพัฒนาระบบนิเวศ ววน. และกลไกการสนับสนุนที่สำคัญ
4) การส่งเสริมและการขยายผลการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
5) ระบบการติดตามและประเมินผล
6) ระบบสารสนเทศและระบบข้อมูล
7) ระบบข้อมูลสถานการณ์และการคาดการณ์อนาคตด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

กรรมการและเลขานุการสภานโยบาย (ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) นำเสนอที่ประชุมดังนี้

1. สป.อว.จัดทำนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคน การอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อกำหนดทิศทางการจัดสรรทุนที่ชัดเจนรองรับความเปลี่ยนแปลง และความต้องการของประเทศได้อย่างทันเวลา สะท้อนภารกิจของอุดมศึกษาที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในฐานะเป็นมันสมองอย่างแท้จริง โดยนำเสนอแนวคิดการพัฒนากำลังคน สรุปภาพรวมการจัดสรรทุนของประเทศ สภาพแวดล้อมการอุดมศึกษาไทย สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และทิศทางของประเทศภายใต้กรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 รวมถึง สภาพปัญหาและโอกาสในการจัดสรรทุน โอกาสในการจัดสรรทุน เพื่อพัฒนาประเทศและหลักการชี้นำ (Guiding Principles) เรื่อง ทุนการศึกษา

2. ในส่วนของนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุน นโยบายและทิศทางการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ 3 ประเด็น ข้างต้น มีแนวทางในการขับเคลื่อน ดังนี้

2.1 ปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการทุนให้มีความเป็นเอกภาพภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารจัดการทุน มีแนวทางการขับเคลื่อน ดังนี้

• บูรณาการหน่วยบริหารจัดการทุนให้มีเอกภาพ

• จัดสรรทุนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ (Competency) และทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

• กำหนดคุณสมบัติของผู้รับทุน ทั้งกลไกการสรรหา (Recruit) และรับเข้า (Admit) ตามสถานการณ์

• ปรับรูปแบบ/เงื่อนไขการรับทุนให้มีความยืดหยุ่น เพื่อดึงดูดผู้รับทุนที่มีศักยภาพสูงทั้งในและต่างประเทศตลอดเวลาทั้งการศึกษารวมทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว

• พัฒนาและสร้างแรงจูงใจผู้รับทุน

• ปฏิรูประบบฐานข้อมูลทุนการศึกษาทั้งระบบด้วยการกำหนด Data Catalog

• กำหนดแนวทางการจัดสรรทุน เช่น ประเภท สาขา ประเทศ โดยมีกลยุทธ์และทิศทางที่สอดคล้องกับความจำเป็นและเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศ

2.2 จัดสรรทุนเพื่อสร้างคนให้ตรงกับตลาดงานและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ มีแนวทางการขับเคลื่อน ดังนี้

• จัดสรรทุนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการและจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาประเทศ

• จัดสรรทุนเพื่อพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ความสามารถขั้นสูงและมีสมรรถนะตามความต้องการของตลาดงานที่เปลี่ยนแปลงไป

• กำหนดสัดส่วนการจัดสรรทุนโดยเน้น Strategic, Function, Area

• กำหนดแนวทางการต่อยอดการพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นเพื่อดึงดูดกำลังคนที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ

• บูรณาการการจัดสรรทุนกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ

2.3 ขับเคลื่อนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นระบบและสม่ำเสมอรวมทั้งวางแผนการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน

• ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมาย

• ติดตามการศึกษาและใช้ประโยชน์จากนักเรียนทุนอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลทุนการศึกษา

• วางระบบในการดูแลผู้รับทุน มีหน่วยงานที่ดูแลติดตามผู้รับทุนอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ

• ใช้ศักยภาพของผู้รับทุนอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศตั้งแต่ระยะที่มีการศึกษา

• สร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ Career Path ของผู้รับทุนให้ชัดเจน

• สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคการผลิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมผลิตหรือแลกเปลี่ยนความรู้/เทคโนโลยี

• มีระบบการรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศในการประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 มีมติให้ความเห็นชอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทุนพัฒนากำลังคนการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ และให้นำข้อเสนอเชิงนโยบายข้างต้นเสนอต่อที่ประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

เรื่องเดิม
พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 7 บัญญัติว่าเพื่อบูรณาการและขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมทางด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนบุคลากร งบประมาณ และกฎหมาย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้จัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมดังต่อไปนี้

1) หน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2) หน่วยงานด้านการให้ทุน

3) หน่วยงานที่ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม

4) หน่วยงานด้านมาตรวิทยา มาตรฐาน การทดสอบและบริการคุณภาพวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

5) หน่วยงานด้านการจัดการความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากงานดังกล่าว

6) หน่วยงานด้านอื่นตามที่สภานโยบายกำหนดหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานใดจะจัดอยู่ในประเภทใดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่สภานโยบายประกาศกำหนด

การดำเนินงาน

ฝ่ายเลขานุการได้จัดทำ (ร่าง) ประกาศการจัดประเภทหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. บทบาทของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม

ประเภท (1) หน่วยงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและงบประมาณเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งการพัฒนากำลังคน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม กำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณ และกรอบงบประมาณ สำหรับงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมตามยุทธศาสตร์ หรือนโยบายของรัฐบาล และกำกับดูแล เร่งรัด ติดตามการดำเนินการตามนโยบายยุทธศาสตร์และแผน ทั้งนี้ต้องไม่ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมเอง

ประเภท (2) หน่วยงานด้านการให้ทุน ทำหน้าที่ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ งานวิจัยและนวัตกรรม และบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ต้องไม่ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมเอง รวมถึงไม่สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อหน่วยงานของตนเอง

ประเภท (3) หน่วยงานที่ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม ทำหน้าที่ดำเนินการวิจัยและนวัตกรรมหรือร่วมดำเนินการวิจัยและนวัตกรรม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงาน

ประเภท (4) หน่วยงานด้านมาตรวิทยา มาตรฐาน การทดสอบและบริการคุณภาพวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำหน้าที่ในการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบและบริการคุณภาพสอบเทียบเครื่องมือ/อุปกรณ์ และรับรองมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงศึกษา วิจัย พัฒนาความสามารถทางด้านมาตรวิทยา และการพัฒนาระบบ กระบวนการ บุคลากร โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ

ประเภท (5) หน่วยงานด้านการจัดการความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์ทำหน้าที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ บริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม

ประเภท (6) หน่วยงานด้านอื่นตามที่สภานโยบายกำหนด

2. รายชื่อหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม

เรื่องเดิม

ความสำคัญของอุทยานวิทยาศาสตร์ “อุทยานวิทยาศาสตร์” คือ เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้เพื่อการดำเนินกิจกรรมวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีบุคลากรวิจัยและกิจกรรมวิจัยพัฒนาของหน่วยงานวิจัยภาคเอกชน ภาครัฐและ
สถาบันการศึกษา ในจำนวนที่มากพอ มีพื้นที่ห้องปฏิบัติการ มีเครื่องมือวิจัยคุณภาพสูง และมีการบริหารจัดการให้เกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมวิจัยพัฒนาของหน่วยงานดังกล่าว เพื่อให้กิจกรรมวิจัยพัฒนาเกิดการขยายผลในเชิงพาณิชย์ หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน รวมทั้งมีบริการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม และส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีผ่านกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (Technology Business Incubation) หรือกระบวนการจัดตั้งหน่วยงานใหม่แยกออกจากหน่วยงานเดิม (Spin-off) หรือกระบวนการอื่นๆ เพื่อให้เกิดธุรกิจฐานนวัตกรรมเพิ่มขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับการดำเนินชีวิตและเพิ่มพูนผลิตภาพของบุคลากรซึ่งทำงานอยู่ในเขต
พื้นที่ดังกล่าว

อุทยานวิทยาศาสตร์หรือ นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์เป็นสถานที่สำหรับภาคเอกชนในการทำวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการของไทยนับจากปัจจุบันต้องขยับออกจากการแข่งขันที่อยู่บนฐานความได้เปรียบทางด้านปัจจัยการผลิตแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และราคาถูก รวมถึงการผลิตสินค้าและบริการคุณภาพปานกลางราคาถูก ไปสู่การแข่งขันฐานความรู้ที่ต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มากขึ้น

อุทยานวิทยาศาสตร์จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนบ่มเพาะผู้ประกอบการและเทคโนโลยีใหม่ๆ สู่ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสร้างธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ และส่งเสริมการนำผลการวิจัยและพัฒนาเข้าสู่ระบบการคุ้มครองและการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้าน วทน. ของประเทศองค์ประกอบสำคัญของอุทยานวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย (1) บุคลากรและกิจกรรมวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน (2) พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เอกชนสามารถเริ่มต้นได้เร็วและลงทุนต่ำ (3) การเชื่อมโยงงานวิจัยพัฒนาระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษาเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ (4) การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งและเติบโตของธุรกิจฐานนวัตกรรม และ(5) การบริหารจัดการโดยมืออาชีพเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจการส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้าง
ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุทยานวิทยาศาสตร์ให้บริการแก่ภาคเอกชนใน 2 รูปแบบ คือ (1) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาของภาคเอกชน และ (2) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคเอกชน โดยผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ
กิจกรรมการส่งเสริมให้ภาคเอกชนทำวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

แนวคิดในการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2532 เห็นชอบและอนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(กระทรวง อว. ในปัจจุบัน) จัดตั้งอุทยานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้รองรับการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมและเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2545

จากนั้น เพื่อกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและระบบนวัตกรรมของประเทศสู่ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 เห็นชอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กระทรวง อว. ในปัจจุบัน) ดำเนินโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2549 และเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 ให้ดำเนินโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 – 2551 และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2549 – 2552 โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการในระยะที่ 1 และได้มีการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อขยายผลการดำเนินงานในระยะที่ 2 พบว่าการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคยังเป็นการดำเนินงานแบบแยกส่วน และควรให้การบริการจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในภาพรวมมีทิศทางและแนวทางที่มีเอกภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้ทำการศึกษาและได้นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคที่เหมาะสม โดยเสนอให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ในภาพรวมของประเทศ เพื่อให้ภาพรวมการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่างๆ เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์หลักเดียวกัน และเพื่อที่จะให้การส่งเสริมทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ เป็นไปโดยสอดคล้องสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ไปได้อย่างรวดเร็วและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 เห็นชอบแนวทางการบริหารกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ ที่ให้มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ในภาพรวมของประเทศ ซึ่งการดำเนินกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค ในระยะต้นควรมีโครงสร้างการดำเนินงานในลักษณะที่มีมหาวิทยาลัยเป็นแกนหลักในการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 8 มิถุนายน 2554 กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (กสอว.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่จัดทำแผน แนวทาง และเกณฑ์การพัฒนาและส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการดำเนินงานกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ขอรับสิทธิประโยชน์จากรัฐ รวมถึง ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนากิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมอบหมายหน่วยงานในสังกัด ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ กำหนด และให้สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ กสอว. และของสำนักงานเลขานุการ กสอว. ดังนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ในปัจจุบัน) จึงเป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการอุทยานวิทยาศาสตร์ในภาพรวมของประเทศโดยได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนากิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ของประเทศ (พ.ศ. 2556 – 2560) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อเป็นกรอบนโยบายสำหรับการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ รวมถึงผลักดันไปสู่การปฏิบัติ โดยมีแนวทางการพัฒนากิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 7 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) มุ่งเน้นส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนทำวิจัยและพัฒนาแบบก้าวกระโดด (2) ส่งเสริมให้ประเทศเป็นฐานการลงทุนวิจัยและพัฒนาของบริษัทข้ามชาติ และบริษัทไทย (3) ส่งเสริมและเปิดกว้างให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดตั้งและพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ (4) นำทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและพัฒนาในภาครัฐมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (5) เชื่อมโยงอุทยานวิทยาศาสตร์ กับการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ (6) การสร้างให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายของอุทยานวิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ (7) นโยบายสนับสนุนจากรัฐที่ชัดเจนและต่อเนื่อง และเพื่อให้แนวทางการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ข้างต้นบรรลุผล รัฐต้องมีมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556 – 2560) อย่างน้อย 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจ (2) การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ดำเนินกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ และ (3) การลงทุนพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ ซึ่งในระยะแรกควรเป็นการลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินงานโดยรัฐ โดยสนับสนุนให้สถาบันวิจัยและ/หรือมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเป็นผู้จัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ และอาศัยทรัพยากรเดิมเป็นฐานและลงทุนเพิ่มเติมในโครงสร้างพื้นฐานที่ยังขาดอยู่ ทั้งนี้ การดำเนินงานจัดตั้งและพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความต่อเนื่องในการลงทุนเป็นระยะเวลาหนึ่ง

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้) พร้อมกรอบวงเงินงบประมาณดำเนินการ จำนวน 8,642,000,000.- บาท (แปดพันหกร้อยสี่สิบสองล้านบาทถ้วน) จัดสรรเป็นงบเงินอุดหนุนผ่านสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ในปัจจุบัน) และสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ทยอยได้รับจัดสรรงบประมาณดำเนินการ ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจการอุทยาน
วิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 ให้กระทรวง อว. ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562กำหนดให้มีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยควบรวมภารกิจการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการวิจัย เข้าด้วยกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้ ซึ่งได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ในการดำเนินภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ไว้อย่างชัดเจน

การดำเนินงาน

กระทรวง อว. ได้ดำเนินภารกิจการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 และเริ่มสนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา โดยมีมหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมดำเนินการในระยะแรกจำนวน 13 มหาวิทยาลัย และเพิ่มจำนวนเป็น 44 มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน โดยมีผลการดำเนินงานก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ประกอบกับมีการจัดตั้งกระทรวง อว. โดยควบรวมหน่วยงานและภารกิจด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัย เข้าด้วยกัน และมีการจัดโครงสร้างองค์กรของ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ให้สอดคล้องกับการควบรวมภารกิจดังกล่าว โดยได้มีการกำหนดหน้าที่และอำนาจของสป.อว. ในการดำเนินภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ไว้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกทำให้เกิดการเชื่อมต่อบูรณาการทั้งด้านการอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างสมบูรณ์ปัจจุบัน อว. มีการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคใน 4 พื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีโครงสร้างพื้นฐานอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว จำนวน 3 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 แห่ง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2565 และอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างอีก 2 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น โรงงานต้นแบบ ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือวิจัยเป็นต้น รวมถึง มีการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคเอกชน ผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และกิจกรรมการส่งเสริมให้ภาคเอกชนทำวิจัยและพัฒนา โดย อว. มีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในพื้นที่อื่นเพิ่มเติมต่อไป เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดย มหาวิทยาลัยบูรพา อุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ภาคตะวันตก โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
รวมถึง อุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และอุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนด้วย

แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

จากการรวมภารกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการอุดมศึกษาที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้กระทรวง อว. ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ทั่วประเทศโดยเฉพาะอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศมีความเป็นเอกภาพ และเป็นปัจจัยเอื้อให้เกิดการผลักดันการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคโดยมหาวิทยาลัยพัฒนาสู่การเป็นกลไกของกระทรวง อว. ในระดับภาค ที่พรั่งพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือคุณภาพสูงบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับพื้นที่ เชื่อมโยงสู่ระดับภาค และยกระดับการพัฒนาในระดับประเทศ โดยมีสป.อว. เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลและสนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มุ่งเน้นกำหนดบทบาทของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคให้เป็นกลไกในการเชื่อมโยงธุรกิจ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและธุรกิจในมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าด้วยกัน ใช้แนวทางการสร้างเครือข่ายเพื่อบูรณาการทรัพยากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นช่องทางที่มีคุณค่าอย่างมากในการนำนโยบายและแผนงานนวัตกรรมระดับชาติมาปฏิบัติ และเป็นประโยชน์ในเชิงการกระจายบริการไปทั่วทุกพื้นที่ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังรวมถึงการผลักดันให้อุทยานวิทยาศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเชื่อมโยงการดำเนินงานกับกลไกอื่นๆ ของกระทรวง อว. ที่ดำเนินการในพื้นที่ เช่น อว. ส่วนหน้า และโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือโครงการ U2T ซึ่งมีแนวโน้มในการขยายความร่วมมือและการดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

สป.อว. ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลและสนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ควรกำหนดทิศทางการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงและตอบโจทย์คลัสเตอร์อุตสาหกรรม และประเด็นมุ่งเน้นการพัฒนาระดับพื้นที่ให้มากขึ้น รวมถึง ผลักดันให้อุทยานวิทยาศาสตร์แต่ละแห่งมีจุดเด่นที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมถึง กำหนดนโยบายและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมในส่วนที่มีความจำเป็น พร้อมกับการพัฒนาให้มีมาตรฐานระดับนานาชาติ นอกจากนี้ สป.อว. ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถและความเชี่ยวชาญให้กับบุคลากรอุทยานวิทยาศาสตร์และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ เช่น Market Research, IP Valuation, Commercialization, Innovation & Industry Foresight เพื่อยกระดับการให้บริการและสามารถขยายผลกระทบในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

เรื่องเดิม

  1. การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในปี 2562 โดยมีพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ทำให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) และปรับบทบาทของ สกสว. จากหน่วยให้ทุน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. เดิม) มาเป็นหน่วยด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ ทำให้หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมมีจำนวนจำกัด ขอบเขตการสนับสนุนและบริหารจัดการทุนไม่ครอบคลุมทุกด้าน กล่าวคือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีบทบาทบริหารและจัดการทุนที่เป็นโจทย์ท้าทายของประเทศ ทุนวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีบทบาทบริหารและจัดการทุนวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) มีบทบาทบริหารและจัดการทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมด้านเกษตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) มีบทบาทบริหารและจัดการทุนด้านการสนับสนุนระบบนิเวศนวัตกรรม
  2. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 มีมติเห็นชอบหลักการจัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุน เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการทุนให้ครอบคลุมทุกด้านในระบบ อววน. โดยให้ดำเนินการในลักษณะ Sandbox ภายใต้สภานโยบาย มีคณะกรรมการบริหารที่มีความเป็นอิสระ (Autonomy) และ สอวช. ทำหน้าที่เป็นร่มนิติบุคคล ไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการบริหารและผู้อำนวยการ ต่อมา สภานโยบาย ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน
    ในระบบการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 3 หน่วย ประกอบด้วย
    1. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ทำหน้าที่จัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ การพัฒนาชุมชน หรือท้องถิ่น ที่มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ธุรกิจขนาดจิ๋ว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับพื้นที่
    2. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.) ทำหน้าที่จัดสรรทุนด้านการพัฒนากำลังคนในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนโยบายของรัฐบาล รวมถึงการให้ทุนการศึกษา ทุนสนับสนุนนักวิจัยและบุคลากรอื่นหลังปริญญา ทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    3. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ทำหน้าที่จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงทุนสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาแพลตฟอร์มทางนวัตกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ ทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการเพื่อการให้บริการด้านคุณภาพและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวมุ่งเน้นการสนับสนุนแผนงานที่มีความร่วมมือหรือการร่วมลงทุนกับผู้ใช้ประโยชน์
  1. คณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (กอวช.) ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. 2562 โดยข้อ 26 กำหนดให้กอวช. จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนและจัดทำข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนออกจาก สอวช. ไปเป็นหน่วยงานในรูปแบบที่เหมาะสมภายใต้กรอบแนวทางการประเมินและการจัดทำข้อเสนอที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกำหนด ต่อสภานโยบาย ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาไม่เกินสามปี
  2. คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. โดยมอบฝ่ายเลขานุการรับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการศึกษาและปรับปรุงข้อเสนอต่อไป และเห็นชอบกรอบการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านตามที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กำหนด
  3. คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ได้พิจารณาร่างข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. โดยมีมติเห็นชอบร่างข้อเสนอการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนออกจาก สอวช. และมอบหมายให้ สอวช. นำข้อเสนอดังกล่าว เสนอต่อ กอวช. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอสภานโยบายต่อไป
  4. กอวช. ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน โดยมอบหมายให้ สอวช. นำข้อเสนอดังกล่าวพร้อมผลการติดตามและประเมินผลเสนอต่อสภานโยบายเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป

การดำเนินงาน

อวช. ได้นำข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ มาประกอบการจัดทำหลักการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. โดยสรุปการดำเนินการได้ ดังนี้

1. การจัดประชุมหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

1.1 การประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ครั้ง (วันที่ 17 มิถุนายน 2564 และ 25 สิงหาคม 2564) โดย รมว.อว. เห็นชอบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช. ไปเป็นองค์การมหาชน โดยให้รวมทั้ง 3 หน่วยเข้าด้วยกันเป็นองค์กรเดียว และมอบนโยบาย ดังนี้

1) การออกแบบระบบบริหารและจัดการทุน จะต้องสามารถขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายสำคัญและจุดมุ่งเน้นเฉพาะได้ ทั้งนี้ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบต่อจุดมุ่งเน้นเฉพาะจะต้องรับผิดชอบงานให้บรรลุผลสำเร็จ โดยดูแลงานทุกมิติ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของด้านนั้น ๆ

2) ขอให้ตั้งชื่อองค์การมหาชนนี้ ให้สื่อถึงการทำงานที่รับผิดชอบให้สำเร็จเป็นรูปธรรม

3) ขอให้มีการสร้างกระบวนการทำงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆอาทิ สถาบันวิจัย สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภายในกระทรวง อว. หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงบประมาณ.ภาคเอกชน และฝ่ายการเมือง

4) ให้มีกลไกในการที่จะดึงคนเก่ง ๆ เข้ามาทำงานกับหน่วยงานที่จะจัดตั้งขึ้น ทั้งในรูปแบบพนักงานประจำ และรูปแบบอื่นๆ

5) ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

1.2 การประชุมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผู้บริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจาก สอวช.

1.3 การประชุมหารือระหว่าง สำนักงาน ก.พ.ร. และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ ในเบื้องต้นแล้ว โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1.3.1) ให้จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และให้จัดทำรายละเอียดการจัดตั้งองค์กรตามแบบที่ ก.พ.ร. กำหนด

1.3.2) ในการเสนอขอจัดตั้งหน่วยงาน ต้องอธิบายความแตกต่างของระหว่างบทบาท/ภารกิจของหน่วยงานที่จะจัดตั้งขึ้นกับบทบาท/ภารกิจของหน่วยงานอื่น ๆ

1.3.4) ให้ระบุเหตุผลความจำเป็นในการจัดตั้งหน่วยงาน เช่น

1) เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงในการให้ทุนในปัจจุบัน ซึ่งมีการรวมศูนย์การจัดสรรงบประมาณวิจัยและนวัตกรรม 15,000-20,000 ล้านบาทต่อปีมาไว้ที่กองทุนส่งเสริม ววน. ซึ่งหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถดูแลงบประมาณทั้งหมดได้ จึงต้องมีการจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานที่หลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง

2) เพื่อปิดช่องว่างสำคัญในระบบวิจัยและนวัตกรรมในการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดประสิทธิภาพ ใน 3 ด้าน ได้แก่
ก) การเชื่อมโยงงานวิจัยและนวัตกรรมจากงบประมาณแผ่นดินกับโจทย์ วิจัยและ นวัตกรรมของภาคเอกชน และ Leverage
งบวิจัยและนวัตกรรมของภาครัฐ ให้เกิดการเพิ่มการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมจากภาคเอกชน

ข) การบริหารจัดการการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมโดยยกระดับความสามารถการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยในเชิงพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์พื้นที่

ค) การบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมสาขาอุตสาหกรรมการผลิตและบริการที่ดูแลราย Sub-sector หรือ Cluster ต่างๆ

1.3.4) ในพระราชกฤษฎีกาฯ ให้เขียนรายละเอียดโครงสร้างการบริหารให้ชัดเจนซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นทั่วไปได้ แต่ให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย

2. การจัดทำร่างข้อเสนอรูปแบบการแยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านออกจากสอวช. โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

หลักการในการจัดตั้ง

ให้แยกหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านทั้ง 3 หน่วย ออกจาก สอวช. โดยรวมกันเป็นองค์การมหาชนภายใต้พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 จำนวน 1 แห่ง โดยใช้ชื่อ “สำนักงานสนับสนุนและเร่งรัดผลสัมฤทธิ์การวิจัยและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมและการพัฒนาเชิงพื้นที่” (วอพ.) โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้น จะมีความสำคัญต่อระบบการบริหารและจัดการทุนในภาพรวม ดังนี้

1. วอพ. จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนให้บรรลุผลตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์และแผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยใช้กลไกการบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม

2. วอพ. จะช่วยเพิ่ม Absorptive Capacity ในระบบบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมซึ่งหลังการปฏิรูปและการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) ทำให้หน่วยให้ทุนในระบบวิจัยและนวัตกรรมเดิมเหลือเพียง 3 หน่วย (วช. สวรส. สวก. ซึ่งต่อมาได้เพิ่ม สนช.เพิ่มเข้าอีกหน่วยหนึ่ง) ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งมอบผลลัพธ์ที่สามารถตอบความต้องการของประเทศได้ และช่วยลดความเสี่ยงในระบบที่ต้องดูแลงบประมาณแผ่นดินปีละ 15,000-20,000 ล้านบาท

3. วอพ. จะปิดช่องว่าง 3 มิติ คือ 1) การเป็นคานงัด (Leverage) ของงบวิจัยและนวัตกรรมของภาครัฐให้เกิดการเพิ่มการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมจากภาคเอกชน 2) การพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์พื้นที่โดยมหาวิทยาลัย และ 3) การบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตและบริการที่ดูแลราย Sub-sector หรือ Cluster ตามเป้าหมายที่สำคัญของรัฐบาลและนโยบายของคณะรัฐมนตรี

4. วอพ. จะรับถ่ายทอดศักยภาพหรือความเชี่ยวชาญเดิม (Expertise) ที่มีอยู่ในหน่วยงานก่อนการปฏิรูป (เช่น สกว. สวทช.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Sector-based หรือ Cluster-based และการใช้งานวิจัยเชิงพื้นที่ในการพัฒนาประเทศ

5. วอพ. จะช่วยสร้างความหลากหลายของการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมในระบบ ไม่เป็น Predominant Funding Source ไม่ให้ทุนแบบทั่วไป โดยการให้ทุนเฉพาะด้าน มีความแตกต่างทั้งในเรื่องของเป้าหมายในการดำเนินงาน และวิธีการจัดสรรและบริหารทุน ซึ่งส่งผลต่อความเชี่ยวชาญของบุคลากรวัฒนธรรมการทำงาน

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง

1. เพื่อให้เกิดระบบบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน (Strategic Funding) ที่มีความคล่องตัวและสามารถรับผิดชอบการตอบสนองต่อเป้าหมายตามโจทย์ความต้องการของประเทศในเชิงยุทธศาสตร์ได้

2. เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ชัดเจนใน (1) ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการโดยการทำงานร่วมหรือออกทุนร่วมกับภาคเอกชนหรือผู้ใช้ประโยชน์ (2) ด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และ (3) ด้านการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ผ่านการสร้างความร่วมมือวิจัยและนวัตกรรมกับต่างประเทศ

3. เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์มการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านความร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งสถาบันวิจัย สถาบันอุดมศึกษา กระทรวง อว. หน่วยงานของรัฐที่สำคัญ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และฝ่ายกำกับนโยบาย (คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี) โดยการทำงานในลักษณะ Quadruple-helix เพื่อขับเคลื่อนการนำความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

4. เพื่อให้มีข้อมูลและองค์ความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่าย ซึ่งจะนำไปสู่การสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบาย ส่งต่อให้กับหน่วยงานนโยบายที่เกี่ยวข้อง และร่วมกับ สกสว. ในการกำหนดโจทย์วิจัยและนวัตกรรมรายสาขา

แนวทางการจัดตั้ง

1. รับผิดชอบโดยตรงในการขับเคลื่อนเป้าหมายของการวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์

2. ระบบบริหารและจัดการทุนวิจัยมีความคล่องตัว สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว

3. มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณวิจัยและนวัตกรรม

4. สามารถเอื้อให้เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม

5. การจัดโครงสร้างภายใน ให้สามารถแบ่งให้มีหน่วยงานสนับสนุนทุนเฉพาะด้าน เช่น ด้านนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขั้นแนวหน้า และสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป

6. แต่ละหน่วยงานสนับสนุนทุนที่จัดตั้งขึ้นภายในสำนักงาน สามารถกำหนดระเบียบการสนับสนุนทุนที่แตกต่างไปตามความจำเป็นของหน่วยงานนั้น ทั้งนี้ การส่งผลลัพธ์ในภาพรวมเป็นความรับผิดชอบของสำนักงาน

7. ให้หน่วยงานภายในที่เป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนแต่ละด้าน มีอิสระในการบริหารจัดการงานได้การสนับสนุนทุนได้ด้วยตนเอง

8. สร้างกลไกที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูงจากทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามาทำงานทั้งรูปแบบพนักงานประจำหรือรูปแบบอื่นได้ ทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับบริหารโดยในเบื้องต้น ให้จัดให้มีหน่วยสนับสนุนทุนภายใน 3 หน่วย ประกอบด้วย

1) หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม

2) หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และ

3) หน่วยสนับสนุนทุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขั้นแนวหน้าพันธกิจของสำนักงาน

พันธกิจหลัก

1. รับผิดชอบและขับเคลื่อนเป้าหมายด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาเชิงพื้นที่

2. บริหารจัดการให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน โดยใช้งบประมาณของภาครัฐเพื่อเพิ่มการลงทุนของเอกชน

3. สนับสนุนทุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านใหม่ และการพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีทั้งที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยการบริหารจัดการการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิต บริการ ชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนากำลังคนทักษะสูงและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนโปรแกรมวิจัยและนวัตกรรมที่สำนักงานได้รับมอบหมายจาก สกสว.

4. ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

5. สังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากข้อมูลและองค์ความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่าย ส่งต่อให้กับหน่วยงานนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น สอวช. สศช. เป็นต้น และสนับสนุน สกสว.ในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นที่ได้รับมอบหมาย (Agenda Setting)

พันธกิจรอง (Subsidiary Functions)

1. สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในโครงการพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจนวัตกรรม

2. ระดมทุนจากบุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานอื่นเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม ทั้งจากการบริจาคและการรับเงินสมทบทุนจากภาคส่วนต่าง ๆ

3. จัดทำระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทำงานตามวัตถุประสงค์หลัก (Main Functions) ของสำนักงาน เช่น ข้อมูลเชื่อมโยงระหว่าง 3 หน่วยสนับสนุนทุน ข้อมูล Agenda Setting

4. บริหารจัดการหรือสนับสนุนให้เกิดระบบบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์

5. ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐอื่นทั้งในและนอกกระทรวง อว. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

พันธกิจเฉพาะกาล (Interim function)

1. ให้สำนักงานสนับสนุนให้เกิดธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นวัตกรรม และการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยอาจริเริ่มให้เกิดการประกอบการ การผลิต การเข้าถึงตลาดของธุรกิจนวัตกรรม การเชื่อมโยงไปสู่การลงทุน การขยายสเกล เป็นต้น จนกว่าหน่วยงานภาคเอกชนจะมีศักยภาพในการดำเนินการดังกล่าว

โครงสร้างการบริหาร

1. คณะกรรมการบริหาร: ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่ง ทำหน้าที่
กำกับดูแลการดำเนินการของสำนักงาน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อเสนอของสภานโยบาย เป็นประธาน
กรรมการ ผู้อำนวยการ สกสว. ปลัดกระทรวง อว. และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 7 คน โดยอย่างน้อยต้องมี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ที่เชี่ยวชาญการบริหารงานในสาขาที่เป็นขอบเขตรับผิดชอบของหน่วยสนับสนุน
ทุนภายในแต่ละหน่วย เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้
ผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านแต่ละหน่วยเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

2. โครงสร้างหน่วยงาน: ให้คณะกรรมการบริหารสามารถจัดตั้งหน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและ
นวัตกรรมเฉพาะด้านขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานได้ โดยเริ่มแรกให้มีการจัดตั้งหน่วยสนับสนุนทุนวิจัย
และนวัตกรรมเฉพาะด้าน พร้อมทั้งหน่วยอำนวยการขึ้น โดยให้มีภารกิจ ดังนี้

2.1 หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม:
สนับสนุนทุนเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ และการ
พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ โดยการสนับสนุนทุนและบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
และตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิต บริการ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม
การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาแพลตฟอร์มทางนวัตกรรมใน
ภาคการผลิตและภาคบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการเพื่อการให้บริการด้านคุณภาพ และ
การพัฒนาบุคลากรผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ทั้งนี้
การให้ทุนดังกล่าวมุ่งเน้นการสนับสนุนแผนงานที่มีความร่วมมือหรือการร่วมลงทุนกับผู้ใช้ประโยชน์

2.2 หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่:
สนับสนุนทุนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยการสนับสนุนทุนและบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
และตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงการส่งเสริมการออกแบบและการสร้างสรรค์ การพัฒนา
นวัตกรรมทางสังคม และต้นแบบการพัฒนาสังคม ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการทางสังคม การ
ศึกษาวิจัยเชิงระบบ การทำการทดลองเชิงนโยบาย การพัฒนาเชิงพื้นที่ การการแก้ปัญหาในชุมชนและสังคม
การแก้ปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาท การบริหารจัดการองค์ความรู้ การประสานความร่วมมือระหว่างภาค
ส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนา และการพัฒนาบุคลากรในด้านที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการขยายผลการวิจัยและ
นวัตกรรมดังกล่าวไปสู่การเปลี่ยนแปลง

2.3 หน่วยสนับสนุนทุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมขั้นแนวหน้า: สนับสนุนทุนเพื่อการสร้างรากฐานไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยการสนับสนุนทุนและบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต รวมถึง การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นแนวหน้า เพื่อวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตที่ยังไม่มีในปัจจุบัน เช่น Quantum Computing, Space Industry, AI, OMICS Technology, High-Energy-Physics Technology และการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) และการพัฒนา
กำลังคน วทน. รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต ทั้งนี้ หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม สามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

2.4 หน่วยอำนวยการ : รับผิดชอบงานในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สกสว. และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นที่ได้รับมอบหมาย (Agenda Setting) จัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงาน (Strategic Delivery Plan) ประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในสำหรับโครงการวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยและนวัตกรรมที่หน่วยงานสนับสนุน และองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นต่อสถานการณ์ และจัดทำระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทำงานตาม
วัตถุประสงค์หลัก รวมถึง รับผิดชอบงานธุรการของสำนักงาน บริหารจัดการธรรมาภิบาล (Governance) การบริหารความเสี่ยง (Risk) และ การปฏิบัติตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดี (Compliance) ขององค์กร และสนับสนุนการบริหารจัดการภายในสำนักงาน (Shared Services) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่หน่วยสนับสนุนทุน เช่น งานบุคลากร งานพัสดุ งานงบประมาณและบัญชี งานสารสนเทศ งานกฎหมาย เป็นต้น

3. การแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงาน:

3.1 ผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้าน: : ให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่อำนาจในการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานจากบุคคลภายนอก มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ ไม่มีสถานะเป็นพนักงานของสำนักงาน และให้ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเทียบเท่าผู้อำนวยการองค์การมหาชน (โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ในการสรรหาและค่าตอบแทนของผู้อำนวยการองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง) โดยให้กำหนดคุณสมบัติของผู้อำนวยการให้ชัดเจนเพื่อให้ได้บุคคลที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานให้บรรลุ
ตามวัตถุประสงค์และพันธกิจที่ได้ตั้งไว้

3.1. ผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเฉพาะด้าน (หน่วยงานภายใน): ให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่อำนาจในการสรรหาผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านจากบุคคลภายนอก หน่วยละ 1 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ ไม่มีสถานะเป็นพนักงานของสำนักงาน และให้ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเทียบเท่ารองผู้อำนวยการสำนักงาน

4. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหาร: ให้คณะกรรมการบริหารแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ (Steering Committee) ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานของหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านแต่ละแห่ง ประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการบริหารที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารงานที่เป็นขอบเขตรับผิดชอบเฉพาะของหน่วยสนับสนุนทุนเฉพาะด้านเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 7-9 คน ตัวแทนจากหน่วยของรัฐที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เป็นอนุกรรมการ และให้ผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนเป็น
กรรมการและเลขานุการ โดยให้กำหนดองค์ประกอบลงในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งให้ชัดเจน

5) การแบ่งหน้าที่และอำนาจระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานและผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเฉพาะด้าน: การให้อิสระและความคล่องตัวในการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถส่งมอบผลลัพธ์ได้ โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

5.1) หน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเฉพาะด้านมี Autonomy ในการตัดสินใจอนุมัติทุน ภายใต้ความเห็นชอบของอนุกรรมการหน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเฉพาะด้าน

5.2) ให้ผู้อำนวยการสำนักงานมอบอำนาจในการบริหาร การจัดทำนิติกรรม การฟ้องและดำเนินคดี หรือการอื่นใดในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของหน่วยสนับสนุนทุนให้แก่ผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนเพื่อให้บริหารงานได้โดยคล่องตัวและเป็นอิสระ

5.3) ผู้อำนวยการสำนักงานมีหน้าที่ประสานการถ่ายทอด (Deploy) นโยบายจากสภานโยบาย กสว. และหน่วยงานนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้อง ลงมายังหน่วยสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเฉพาะด้าน และกำกับดูแลให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดในภาพรวมของสำนักงาน

5.4) ผู้อำนวยการสำนักงานรับผิดชอบการบูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์ของสำนักงานให้มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ

5.5) ผู้อำนวยการสำนักงานมีหน้าที่สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในเรื่องธุรการของหน่วยสนับสนุนทุน เช่น การจัดทำบัญชีและงบการเงิน การบริหารงานบุคคล ระบบสารสนเทศ เป็นต้น

5.6) ให้ผู้อำนวยการสำนักงานและผู้อำนวยการหน่วยสนับสนุนทุนตกลงกันเพื่อกันเงินอุดหนุนหมวดบริหารจัดการแผนงานหรือโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนส่งเสริม ววน. หรือแหล่งทุนอื่นเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในเรื่องธุรการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น

5.7) ให้หน่วยสนับสนุนทุนมีระบบการเงินและบัญชีที่แยกต่างหากจากสำนักงาน และไม่สามารถโอนเงินงบประมาณที่ได้รับสนับสนุนระหว่างหน่วยสนับสนุนทุนได้ เว้นแต่ว่าได้รับความเห็นชอบจากแหล่งทุน

ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดตั้งสำนักงาน

1) บรรลุเป้าหมายด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่กำหนดไว้ในกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเกิดผลเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมในเวลาตามที่กำหนด

2) เพิ่มการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมจากภาคเอกชน และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการวิจัย รวมไปถึงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมในภาคเอกชนสูงขึ้น (เป้าหมายร้อยละ 2 ของ GDP ในปี 2570)

3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย พัฒนาให้เกิดผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูง

4) พัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเพิ่มศักยภาพของมหาวิทยาลัย ในการใช้กระบวนการการวิจัยและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น

5) เพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าให้กับประเทศ รองรับอุตสาหกรรมอนาคต เพื่อสร้าง Growth Engine ชุดใหม่ รองรับการเติบโตของประเทศในระยะยาว

6) ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดทั้ง Value-chain ของ Sector สำคัญตามยุทธศาสตร์และความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม สร้างงาน รายได้พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

7) การสร้างผลกระทบจากการบริหารและจัดการทุนผ่านโปรแกรม/แผนงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Funding) โดยการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และขยายผลให้เกิดประโยชน์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ

3. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านตามกรอบการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านตามที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กำหนดในภาพรวม หน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านทั้ง 3 หน่วย มีผลการดำเนินงานดีสามารถบริหารจัดการทุนได้รวมปีละราว 4,500 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มจะสร้างผลกระทบได้สูง โดยแต่ละหน่วยบริหารและจัดการทุนสามารถบริหารและจัดการทุนวิจัยให้เกิดผลผลิตที่สำคัญตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนส่งเสริม ววน. สรุปผลงานสำคัญในปี 2563 ได้ดังนี้

3.1 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

โปรแกรมที่ 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชน การจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมภายใต้แผนงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ก่อให้เกิดการสร้างขีดความสามารถของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศให้สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน ใน 500 ตำบล เกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมพร้อมใช้เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น จำนวน 511 เทคโนโลยี/นวัตกรรม และเกิดนวัตกรชาวบ้าน 1,900 คน ที่เป็น change agent นำนวัตกรรมพร้อมใช้/เทคโนโลยีที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้และขยายผลในชุมชนและพื้นที่อื่นๆ ขณะที่แผนงานมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ได้พัฒนาชุดความรู้และเครื่องมือการยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการให้กับผู้ประกอบการ 793 กลุ่ม ก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ของกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ถึงร้อยละ 10 และสร้างผู้ประกอบการในชุมชน/รุ่นใหม่จำนวน 40 กลุ่ม

โปรแกรมที่ 14 ขจัดความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จ การจัดสรรทุนวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของ บพท. ได้นำมาซึ่งการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนในพื้นที่ 10 จังหวัดนำร่อง พบคนจน 451,590 คน ซึ่งได้จัดทำเป็นระบบข้อมูลเปิดครัวเรือนยากจนและระบบการวิเคราะห์ออกแบบความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนกระทรวง อว. www.pppconnext.com รวมทั้งส่งต่อเข้าสู่ระบบช่วยเหลือสงเคราะห์ในระดับพื้นที่ และระดับส่วนกลางที่ได้ทำความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊ง ภากรณ์ (สศป.) – ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อบูรณาการข้อมูลคนจนและครัวเรือนยากจน ส่งต่อความช่วยเหลือระดับหน่วยงาน และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนอกจากนี้แล้วยังได้พัฒนาและสร้างโมเดลแก้จนระดับพื้นที่จำนวน 16 โมเดล โดยความร่วมมือกับกลไกชุมชนและภาครัฐ ส่งต่อและขยายผลกับแผนจังหวัดและโครงการภาครัฐในจังหวัด เช่น จังหวัดสกลนคร มรภ. สกลนครได้ขับเคลื่อนโครงการนำร่อง “กุดบากโมเดล” อำเภอกุดบาก (รับงบจากจังหวัด จำนวน 60 ล้านบาท) มาขยายผลการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นต้น ปัจจุบันมีคนจนที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14,258 ครัวเรือน และ 153,909 คน จำแนกการส่งต่อข้อมูลความช่วยเหลือเป็น

1) ระดับส่วนกลาง กระทรวง/หน่วยงาน แบบ Package ไปยังโครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จำนวน 10,024 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พ.ค. 2564) และส่งต่อข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ใน-นอกระบบการศึกษาให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 97,745 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2564)

2) ระดับพื้นที่ ส่งต่อไปยัง พมจ. ศจพ. พช. พอช. อบจ. อบต. สภาองค์กรชุมชน รวมจำนวน 14,258 ครัวเรือน และ 46,140 คน สำหรับปี 2564 ได้ขยายพื้นที่ดำเนินการ 20 จังหวัด ซึ่งมีคนจนเป้าหมายกว่า 653,749 คน

โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ การจัดสรรทุนวิจัยในแผนงานเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่ สามารถสนับสนุนให้เกิดกลไกการทำงานที่เชื่อมโยงในระดับเมืองและกลไกการกระตุ้นเศรษฐกิจใน 14 เมืองศูนย์กลางทั่วประเทศ เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี 24 เรื่อง อาทิ เครื่องต้นแบบก๊าซเซ็นเซอร์ และระบบโลจิสติกส์ย่านเมืองเก่า เกิดนวัตกรรมด้านการบริหาร 12 เรื่อง อาทิ ระบบการจัดการขยะของเทศบาล เกิดแผนงาน/แนวทางการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 62 เรื่อง อาทิ แผนการพัฒนาเมืองเก่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี แผนการบริหารและจัดการขยะในชุมชน นอกจากนี้การดำเนินแผนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาก็ได้ช่วยสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาทักษะถึง 15,986 คน

3.2 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

โปรแกรมที่ 1 สร้างระบบผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ ผลผลิตจากการจัดสรรทุนวิจัยในโครงการพัฒนา Postdocs/Postgrads ได้ก่อให้เกิดระบบการบ่มเพาะนักวิจัยระดับสูงที่มีคุณสมบัติตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จำนวน 5 ระบบ และนักวิจัยที่สามารถทำงานตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้ถึง 180 คน

โปรแกรมที่ 4 ส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต การจัดสรรทุนวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ของ บพค. นำมาซึ่งการพัฒนาระบบหรือกลไกที่ช่วยสร้างความตระหนักและทักษะทางด้าน AI จนถึงขั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สำหรับประชากรในหลายระดับ จำนวน 5 ระบบและกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักหรือมีทักษะด้าน AI เพิ่มขึ้นกว่า 132,212 คน

โปรแกรมที่ 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และโปรแกรมที่ 16 การปฏิรูประบบ อววน. การจัดสรรทุนวิจัยของ บพค. สนับสนุนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ การตีพิมพ์บทความด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology: S&T) และด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ (Social Science, Humanities and Arts: SHA) การจัดทำต้นแบบเทคโนโลยีด้านออปติก (Optics) สำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Earth Observation
Telescope) และต้นแบบควอนตัม (Quantum) รวมถึงการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยในสาขาแนวหน้า

โปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ บพค. ได้สนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ COVID-19 Multi-Model Comparison Consortium (CMCC) โดยคณะผู้วิจัยได้นำเสนอผลการคาดการณ์การระบาดรอบใหม่ตามแนวทาง CMCC Guidelines ต่อผู้กำหนดนโยบายสาธารณสุขทั้งในและต่างประเทศ (กระทรวงสาธารณสุขและ องค์การอนามัยโลก) เพื่อเตรียมแผนรับมือควิด-19 หรือโรคระบาดอื่น ๆ ในอนาคต ตามรายงานผลการศึกษาแบบจำลองสำหรับการรับมือโควิด-19 จำนวน 2 ฉบับ
3.3 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

โปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ ผลผลิตหลักในโปรแกรมนี้มาจากแผนงานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียนเศรษฐกิจสีเขียว (BCG in Action) ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือโรงงานต้นแบบด้านพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีศักยภาพถึง 52 นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและสินค้าสร้างสรรค์กว่า 60 ผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อประยุกต์ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมเป้าหมายภายในประเทศ ส่วนผลผลิตอื่น ๆ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการต่อยอดเทคโนโลยีของต่างประเทศ การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางหรือเล็กที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น

โปรแกรมที่ 11 สร้างและยกระดับศักยภาพวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรม การสนับสนุนทุนวิจัยในแผนงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคได้ทำให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์มความร่วมมือในการลงทุน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในภูมิภาคระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการหรือชุมชน และเพิ่มการใช้ประโยชน์อุทยานวิทยาศาสตร์

โปรแกรมที่ 12 โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพและบริการ บพข. ได้สนับสนุนทุนในการจัดตั้งศูนย์บริการต้นแบบด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (NQI) เพื่อให้บริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบโดยไม่ใช้สัตว์ทดลอง การทดสอบการแพ้ต่อผิวหนังของสารสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสารเคมี ด้วยวิธีการตามมาตรฐาน OECD Guideline

โปรแกรมที่ 16 ปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บพข. ดำเนินการพัฒนากลไกบ่มเพาะและเร่งสร้างการเติบโตของผลงานวิจัยที่ติดอยู่ใน TRL 5-7 ออกสู่อุตสาหกรรม จนนำมาสู่การเกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ทั้งสิ้น 5 ต้นแบบ อีกทั้ง บพข. ยังสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือด้าน ววน. ในเทคโนโลยีและสาขาสำคัญของประเทศกว่า 17 เครือข่าย

โปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ การสนับสนุนทุนของ บพข. ในแผนงานการแก้ปัญหาโควิด-19 ช่วยให้เกิดการพัฒนากระบวนการการผลิตชุดตรวจกว่า 1 ล้านชุด ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อได้มากถึง 100,000 ชุด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบการประชุม)

เรื่องเดิม

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้เสนอโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการเฉพาะในระยะที่ 1 พ.ศ. 2561 – 2564) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 โดยจะรับนักศึกษาเข้าเรียนแพทย์ในปีการศึกษา 2564 เป็นปีสุดท้าย โครงการผลิต
แพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ระยะที่ 2 จึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการระยะที่ 1

การดำเนินงาน

โครงการฯ นี้จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตแพทย์ให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศเพิ่มขึ้น จำนวน 13,318 คน โดยจะรับนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 6 รุ่น (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 – 2570) และขอรับการสนับสนุนงบประมาณรวมทั้งสิ้น 50,608.40 ล้านบาท แบ่งเป็นงบดำเนินการในการผลิตบัณฑิต 300,000 บาท/ปี/คน และงบลงทุนในอัตรา 2,000,000 บาท/คน เพื่อผลิตแพทย์ให้มีอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรที่ 1:1,200 และกระจายแพทย์ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม

โดยโครงการฯ มีความก้าวหน้าการดำเนินงานเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2561 – 2564) ดังนี้

1) การทบทวนการเป็นนักศึกษาคู่สัญญาของนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์

2) การแก้ไขปัญหาเรื่อง การกระจายกำลังคนในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการธำรงรักษาแพทย์ไว้ในระบบราชการ

3) การกำหนดแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลิตบุคลากรสาขาแพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นที่ ยังขาดแคลน ให้สอดคล้องกับความต้องการในภาพรวมทั้งระบบ รวมทั้งสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ของประเทศ

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดําเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570)

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม สํานักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

6 กรกฎาคม 2564

บทสรุปผู้บริหาร

ประเทศไทยประสบปัญหาความขาดแคลนแพทย์ แม้จะมีการผลิตแพทย์เพิ่มก็ยังไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีแพทย์ประมาณ 39,156 คน (สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2562) ที่ปฏิบัติงานให์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยคิดเป็นอัตราแพทย์ต่อประชากรไทย 1,674 คน ซึ่งยังต่ํากว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายอัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากรไว้ที่ 1:1,200 คน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในหลักการการดําเนินงานโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปีพ.ศ. 2561- 2570 (ดําเนินการเฉพาะในระยะที่1 พ.ศ. 2561 – 2564) ในการนี้เพื่อให้การดําเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องรองรับการให้บริการในระบบบริการสุขภาพแก่ประชาชนให้เข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม จึงเสนอโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสํานักงานบริหารโครงการ่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงกลาโหม สํานักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อดําเนินการเพิ่มการผลิตแพทย์ของประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 – 2570 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ และเพิ่มจํานวนแพทย์ต่อประชากรเพื่อให้ได้อัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 โดยโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดําเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จะเพิ่มการผลิตแพทย์ให์กับระบบสาธารณสุขของประเทศจํานวน 13,318 คน ประกอบด้วย 2 โครงการย่อยคือ

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข

วัตถุประสงค์

1.เพื่อผลิตแพทย์เพิ่มให้สามารถรองรับการขยายศักยภาพการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ

2.เพื่อดำรงมาตรฐานการผลิตแพทย์ ตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กำหนดโดยแพทยสภา

3.เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถาบันผลิตแพทย์ให้รองรับกับการผลิตแพทย์เพิ่ม ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและศูนย์แพทยศาสตรศึกษาของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

4.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับและจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ที่ตรงกับความจำเป็นและความต้องการของสถาบัน ความต้องการของพื้นที่ที่สถาบันผลิตแพทย์รับผิดชอบ และความต้องการของประเทศ

5.เพื่อลดปัญหาของความขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกันของประเทศ

เป้าหมายโครงการ

ผลิตแพทย์จำนวน 13,318 คน

-โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ (กระทรวงการอุดมศึกษาฯ) จำนวน 6,586 คน

-โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ (กระทรวงสาธารณสุข) จำนวน 6,732 คน

ระยะเวลาดำเนินการ

รับนักศึกษาปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2570 และผูกพันงบประมาณจนนักศึกษาแพทย์รุ่นสุดท้ายจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2576

งบประมาณโครงการ

งบประมาณรวม 50,608.40 ล้านบาท (พ.ศ. 2565 – 2576)

ข้อเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี

ขออนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ซึ่งจะเพิ่มการผลิตแพทย์ให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศจำนวน 13,318 คน งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 50,608.40 ล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่

1.โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผลิตแพทย์จำนวน 6,586 คน งบประมาณรวม 25,026.80 ล้านบาท แบ่งเป็น


งบประมาณปี พ.ศ. 2565 – 2570 จำนวน 15,127.50 ล้านบาท

ผูกพันงบประมาณปี พ.ศ. 2571 – 2576 จำนวน 9,899.30 ล้านบาท

2.โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ผลิตแพทย์จำนวน 6,732 คน งบประมาณรวม 25,581.60 ล้านบาท แบ่งเป็น

งบประมาณปี พ.ศ. 2565 – 2570 จำนวน 15,755.10 ล้านบาท

งบประมาณปี พ.ศ. 2571 – 2576 จำนวน 9,826.50 ล้านบาท

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570)

กระทรวง : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงกลาโหม

หน่วยงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

ชื่อโครงการ

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570)

ผู้รับผิดชอบ

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ แห่งประเทศไทย (กสพท.)

ส่วนที่ 1 ความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ข้อ 2.2 อุตสาหกรรมและบริการแพทย์ครบวงจร

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ข้อ 1.7 สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษา

นโยบายรัฐบาล ข้อที่ 4. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

ประเด็นนโยบาย ข้อที่ 4.1 นโยบายการศึกษา

นโยบายในด้านสาธารณสุข ข้อที่ 5. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
5.2 นโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
5.7 เรื่องการพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขกรอบวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12

การพัฒนาด้านสุขภาพ

บทนำ

โลกในศตวรรษที่ 21 สภาพทางสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมแบบแผนการดำเนินโรคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไร้พรมแดน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาโรค ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลสูงขึ้น บุคลากรแพทย์กำลังประสบปัญหาผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของประชากรในเรื่องสังคมผู้สูงอายุ ความไม่เสมอภาคอย่างมากในเรื่องการเข้าถึงและคุณภาพการบริการสุขภาพ สิ่งท้าทายใหม่ ๆ ต่อสุขภาพของประชาชนหลายอย่างเช่น โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำการขาดแคลนบุคลากร รวมทั้งการไม่สนองตอบต่อความจำเป็นและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและชุมชน ประการสำคัญ ระบบการศึกษาของบุคลากรด้านสุขภาพของไทยโดยเฉพาะแพทย์ศาสตร์ในปัจจุบัน ยังขาดความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับพลวัตของระบบสุขภาพในสังคมไทย ทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรแพทย์ที่มีความพร้อมทั้งความรู้ เจตคติ ทักษะที่จำเป็น และความสามารถในการให้บริการด้านสุขภาพและสามารถเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางพลวัตของระบบสุขภาพและสังคมไทยดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านสาธารณสุข คือ การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้มีสมรรถนะขีดความสามารถการจัดวางอัตรากำลังคน ร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพและการบำบัดโรค ปรับปรุงระบบบริการสุขภาพ กำหนดระบบบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพสังคมไทย ให้พ้นจากกับดัก 3 ประการ คือ กับดักความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ กับดักผู้สูงอายุ และกับดักความไม่สมดุลในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เกิด “สาธารณสุข 4.0” คือประชาชนเข้าถึงระบบบริการด้านสาธารณสุขที่ดีอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับระบบสาธารณสุขประเทศไทยได้ขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กำลังคนด้านสุขภาพโดยการปรับปรุงและรับรองมาตรฐานการศึกษาของบุคลากรด้านสุขภาพ และสร้างนวัตกรรมการจัดรูปแบบการศึกษา รวมทั้งกระบวนการศึกษาทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนเรื่องปฏิรูประบบการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทยตามมติการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 กำหนดให้มีการวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพซึ่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้เห็นชอบกับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะคณะแพทย์ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กับภาคบริการสุขภาพโดยกระทรวงสาธารณสุข จึงดำเนินการมาโดยตลอดผ่าน สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบในการผลิตแพทย์เพื่อสนองความต้องการการกระจายอัตรากำลังแพทย์ไปสู่ชนบท ซึ่งดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งแม้สถานการณ์อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรจะดีขึ้นโดยลำดับ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรการศึกษาแพทย์ให้สอดคล้องต่อสถานการณ์สุขภาพและสาธารณสุขในโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561-2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2565-2570) จึงถือเป็นห้วงเวลาของระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในการสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพของสังคม สร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ

ส่วนที่ 2 ข้อมูลของโครงการ

1.หลักการและเหตุผล

1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ข้อ 2.2. อุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร อาศัยความเชี่ยวชาญด้านบริการการแพทย์ของไทยเพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในประเทศเพื่อรองรับความต้องการใช้บริการการแพทย์ที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งจากสังคมผู้สูงอายุ และความต้องการการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม และบริการการแพทย์ครอบคลุมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ การผลิตอวัยวะเทียม การผลิตเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์การแพทย์ การผลิตเภสัชภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงชีวเภสัชภัณฑ์และการให้บริการการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในบริการทางการแพทย์ เพื่อลดต้นทุนการรักษาพยาบาล ยกระดับการให้บริการการแพทย์อย่างมีคุณภาพในระดับสากลและสร้างความมั่นคงให้กับระบบสาธารณสุขของไทย พร้อมทั้งการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทางการแพทย์และบริการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและดูแลสุขภาพและรักษาผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจซึ่งรวมถึงการสร้างและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถเรียนรู้การใช้และพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาและจัดหาบุคลากรในด้านต่าง ๆ ที่ต้องการอย่างเพียงพอ

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

ข้อ 1.7 สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส โดยในด้านบริการสาธารณสุข เน้นการกระจายทรัพยากรและเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์การพยาบาล ให้กระจายไปยังพื้นที่อำเภอ ตำบล เพื่อให้สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึงการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมผู้มีรายได้น้อยทั้งหมดให้ได้รับบริการที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำในด้านคุณภาพ รวมทั้งระบบคุ้มครองการรักษาพยาบาลต่อการเจ็บป่วยที่สร้างภาระทางการเงินโดยไม่คาดคิดหรือเกินขีดความสามารถของผู้มีรายได้น้อย สนับสนุนส่งเสริมให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาสถานพยาบาลให้มีคุณภาพและมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรตามมาตรฐานสากลในทุกพื้นที่ และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการสาธารณสุข ในด้านการศึกษาเน้นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเสมอกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารและยากจนและกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การจัดให้มีมาตรการทางการคลังและกองทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาการสนับสนุน กลไกความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับจังหวัด การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรมของคนทุกกลุ่ม รวมถึงระบบการติดตามสนับสนุนและประเมินผลเพื่อสร้างหลักประกันสิทธิการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพของประชาชน

1.2 นโยบายรัฐบาล

จากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่มีนายประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงเกี่ยวกับนโยบายการยกระดับคุณภาพการบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน ได้ระบุว่า

ข้อ 4.1 จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ โดยเน้นเพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ

ข้อ 5.2 พัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงมารักษา สร้างกลไกการจัดการสุขภาพในระดับเขตแทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ปรับระบบการจ้างงาน การกระจายบุคลากรและทรัพยากรสาธารณสุขให้เหมาะสมกับท้องถิ่น และให้ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการจ้างบุคลากร เพื่อจัดบริการสาธารณสุขโดยรัฐเป็นผู้กำกับดูแล สนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนในการพัฒนาระบบบริการ ทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยส่งเสริมการร่วมลงทุนและการใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกันโดยมีข้อตกลงที่รัดกุมและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ข้อ 5.7 เรื่องการพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดให้มีบุคลากรและเครื่องมือที่ทันสมัย และให้มีความร่วมมือทั้งระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและหน่วยงานต่างประเทศ โดยเฉพาะในการป้องกันและรักษาโรคที่มีความสำคัญ

1.3 สถานการณ์ระบบสุขภาพของประเทศ
การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประเมินว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการจัดบริการสุขภาพ การเตรียมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากขึ้น นอกจากนี้ โรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหา และโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น Covid-19 SAR ไข้หวัดนก และภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ความต้องการด้านบริการสุขภาพของประชาชนมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรม และการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นของประชาชน และคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล นอกจากนั้นนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub เพื่อสร้างการแข่งขันและรายได้ให้กับประเทศในขณะที่ความพร้อมของปริมาณบุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้บริการยังไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข

1.4 สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย
จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ซึ่งเป็นรายงานที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ได้จัดทำขึ้นตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 9 (10) เพื่อเสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ซึ่งจากข้อมูลสถิติการพบแพทย์ พบว่า ประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี จะพบแพทย์ประมาณปีละ 1-2 ครั้ง ซึ่งการกำหนดเป้าหมายแพทย์ต่อประชากร 1 : 1,200 สามารถรองรับได้ แต่เมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสถิติพบว่า ผู้สูงอายุจะพบแพทย์ประมาณปีละ 6-8 ครั้ง ต่อปี ซึ่งเป็นบริบทของสังคมไทยต้องเผชิญในอนาคต ทำให้มีความต้องการแพทย์ที่สูงขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับสังคมผู้สูงอายุ จากบริบทดังกล่าว จึงเป็นการยากที่จะคาดการณ์ความต้องการแพทย์ในอนาคตได้อย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้การผลิตแพทย์เกิดความยืดหยุ่นตามความต้องการ จึงต้องมีการผลิตแพทย์เพิ่มอย่างต่อเนื่อง

1.5 การขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุข
จากปัญหาความขาดแคลนและการกระจายแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความเห็นร่วมกันว่าควรมีการผลิตแพทย์เพิ่มจากระบบการผลิตปกติเพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสม จึงได้เสนอโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำ “โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” เพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาสมในชนบท

และภายหลังได้มีการดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย โดยการรับนักศึกษาแพทย์ในโครงการ (ระยะที่ 1
พ.ศ. 2561-2564) มีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ปัญหาการกระจายแพทย์ เสริมสร้างระบบสุขภาพของประเทศให้มีความเข้มแข็ง โดยการคัดเลือกนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมโครงการฯ

กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันผลิตแพทย์จึงต้องร่วมมือกันกำหนดโควตาและพื้นที่การนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาแล้วต้องกลับไปปฏิบัติงานในจังหวัดภูมิลำเนาหรือเขตสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

โดยผลการดำเนินการผลิตแพทย์ได้ทำให้สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรดีขึ้นเป็นลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2537 สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรเท่ากับ 1:4,165 และในปี พ.ศ. 2562 สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรเท่ากับ 1:1,674 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มีการกระจายตัวของแพทย์อย่างทั่วถึงมากขึ้นทำให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน และมีบริการที่ได้มาตรฐาน (ดังแสดงใน รูปที่ 1)

รูปที่ 1 แสดงสัดส่วนประชากรต่อแพทย์ตั้งแต่เปิดโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท 2537 ถึง 2562 (ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

การดำเนินการผลิตแพทย์เพื่อผลิตแพทยท์เพิ่มให้สามารถรองรับการขยายศักยภาพให้บริหารด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศในทุกภาคส่วน และรองรับสังคมผู้สูงอายุและความซับซ้อนของโรคในอนาคต รวมถึงเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาการกระจายแพทย์สู่ชนบท ปัญหาสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการธำรงเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาการกระจายแพทย์สู่ชนบท ปัญหาสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการรับและการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ที่ตรงกับความจำเป็นและความต้องการของสถาบัน ความต้องการของพื้นที่ที่สถาบันผลิตแพทย์รับผิดชอบและความต้องการของประเทศ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันการผลิตแพทย์ได้มีการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลิตแพทย์เพื่อรองรับระบบสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2562 ผลิตแพทย์ได้จำนวนทั้งสิ้น 2,054 คน เป็นแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ในส่วนความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข 972 คน

(ดังแสดงใน รูปที่ 2)

รูปที่ 2 ผลผลิตแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยในส่วนความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

ถึงแม้ในภาพรวมการผลิตแพทย์ของสถาบันการผลิตได้ทำให้มีจำนวนแพทย์เพิ่มมากขึ้น แต่ยังพบว่าสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรในบางจังหวัดยังเกินค่าเฉลี่ยในภาพรวม (1:1,674) โดยพบว่า จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดกระบี่ จังหวัดอำนาจเจริญและสกลนคร ยังมีความขาดแคลนแพทย์อีกจำนวนมาก (ดังแสดงในรูปที่ 3 และรูปที่ 4)

รูปที่ 3 ข้อมูลสัดส่วนประชากรต่อแพทย์ทุกหน่วยงาน รวมถึงเอกชน รายจังหวัดใหม่ในปี 2562 (ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

รูปที่ 4 ข้อมูลแผนที่สัดส่วนประชากรต่อแพทย์ทุกหน่วยงานรวมถึงเอกชน รายจังหวัด 2562
(ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

การกระจายแพทย์ในภาพรวม พบว่า เขตสุขภาพที่ 3 8 9 10 และ 11 ยังมีความต้องการแพทย์เพื่อรองรับการบริการสุขภาพ ในขณะที่เขตสุขภาพที่ 2 5 7 และ 12 มีแนวโน้มของความขาดแคลนแพทย์ลดลง โดยเขตสุขภาพที่ 1 4 และ 6 มีสถานการณ์ของความขาดแคลนแพทย์อยู่ ยังไม่เป็นไปตามแผนการผลิตแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556-2560 ที่กำหนดให้อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรเท่ากับ 1:1,500 (ดังแสดงในรูปที่ 5)

รูปที่ 5 ข้อมูลสัดส่วนประชากรต่อแพทย์ ทุกหน่วยงานรวมถึงเอกชน แยกตามเขตสุขภาพ (ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

1.6 นโยบายการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ในระดับนานาชาติ (Medical Hub) ส่งผลให้มีการขยายตัวของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการให้บริการชาวต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลให้มีความต้องการแพทย์และพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะสูง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และการให้บริการในระดับมาตรฐานสากล ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายกำลังคนจากภาครัฐสู่เอกชน โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล ทำให้เกิดการขาดแคลนและภาระงานที่เพิ่มขึ้นของแพทย์ในภาครัฐ อีกทั้ง การขยายตัวของ Medical Hub อย่างรวดเร็วนี้ จะต้องมีแผนรองรับผลกระทบโดยรวมของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ กลไกกำกับมาตรฐานการดูแลรักษา และกลไกในการรักษาทรัพยากรให้กลับสู่ภาครัฐ เนื่องจากปัญหาสำคัญที่สุดของระบบของประเทศไทย คือ อัตราเฉลี่ยบุคลากรโดยรวม
เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไทยที่ต้องดูแล ยังถือว่ามีจำนวนแพทย์ค่อนข้างต่ำ แต่ยังต้องดูแลผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแพทย์ในภาครัฐอย่างรุนแรงขึ้น ดังนั้น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มนี้จะเป็นส่วนช่วยในการสร้างความพร้อมของระบบ Medical Hub สร้างบุคลากรชดเชย รวมถึงสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งในเชิงกำลังคนด้านสุขภาพ

1.7 แนวโน้มความต้องการแพทย์

การบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอและสามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน พร้อมเผชิญกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพในสังคมไทย ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวโน้มโรคเรื้อรัง โรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหา โรคติดต่ออุบัติใหม่ ภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น การวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ ไม่ใช่แค่การผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณกำลังคนเข้าสู่ระบบเท่านั้น หากแต่ต้องวางแผนทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิต การกระจายและการคงอยู่ของกำลังคน เพราะการวางแผนที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ความขาดแคลนหรือการกระจายที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดปัญหาบุคลากรเกินความต้องการของประเทศ หรือบุคลากรกระจุกตัวอยู่เฉพาะ
ในเขตเมืองมากกว่าอยู่ในพื้นที่

นอกจากจะผลิตแพทย์ให้เพียงพอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกลแล้ว การเตรียมคนเพื่อรองรับการแข่งขัน และการพัฒนาประเทศเข้าสู่ Thailand 4.0 จะต้องมีการพัฒนาทุก ๆ ด้าน การพัฒนาทางการแพทย์และสาธารณสุขก็เป็นอีกด้านหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีแผนพัฒนาให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub การที่ประเทศไทยจะยังคงความเป็นผู้นำทางการแพทย์เพื่อให้บริการทางการแพทย์ (Service Hub) แก่ประชาชนไทยและผู้มารับบริการจากต่างประเทศ ประเทศไทยจะต้องคงความเป็นผู้นำทางวิชาการ (Academic Hub) ซึ่งต้องวางแผนการสร้างบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในระดับแพทยศาสตรบัณฑิต และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ และได้มาตรฐานสากล จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงสามารถสรุปแนวโน้มความต้องการแพทย์ในอนาคตได้ ดังนี้

1) การผลิตแพทย์เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนและแก้ปัญหาการกระจาย ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกลโดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการจัดบริการด้านสาธารณสุขให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ ทั้งในด้านการสาธารณสุข การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงระดับตติยภูมิในปี พ.ศ.2555 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ภายใต้หลักการเครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ (Seamless Heath Network) ที่มีความเชื่อมโยงตั้งแต่ระบบบริการปฐมภูมิ จนถึงศูนย์เชี่ยวชาญระดับสูง การแบ่งเขตสุขภาพเพื่อให้แบ่งการดูแลประชาชนอย่างเหมาะสม(Economy of Scale) โดยให้แต่ละเขตสุขภาพครอบคลุมสถานบริการ 4 – 8 จังหวัด และดูแลประชากรประมาณ 3 – 5 ล้านคน รวมทั้งสิ้น 12 เขตสุขภาพ และกรุงเทพมหานคร มีการดำเนินการพัฒนาศักยภาพสถานบริการแต่ละระดับให้เป็นตามความขีดความสามารถที่กำหนด รวมทั้งมีระบบการส่งต่อภายในเครือข่าย (Referral Hospital Cascade) เพื่อให้สามารถดูแลประชาชนได้เบ็ดเสร็จภายในเครือข่าย (Self–Contain) สร้างการเข้าถึงบริการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ โดยกรอบการดำเนินการที่สำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพของสถานบริการให้เป็นไปตามขีดความสามารถที่ควรเป็น และการพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศซึ่งได้กำหนดไว้เบื้องต้นที่ 13 สาขา ได้แก่ 1) สาขาโรคหัวใจ 2) สาขาโรคมะเร็ง 3) สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 4) สาขาทารกแรกเกิด 5) สาขาสุขภาพจิต 6) 5 สาขาหลัก (สูติ – นารีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม และออร์โธปิดิกส์) 7) สาขาระบบบริการปฐมภูมิและ สุขภาพอำเภอ 8) สาขาสุขภาพช่องปาก 9) สาขาตา 10) สาขาไต 11) สาขาโรคไม่ติดต่อ 12) สาขาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน และ 13) สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ

เป้าหมายในการดำเนินการระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) คือ ลดอัตราการป่วย ลดอัตราการตาย ลดความแออัด และลดระยะเวลารอคอย โดยกระบวนการดำเนินการจะวิเคราะห์ส่วนขาด (Gap Analysis) และวางแผนสนับสนุนเพื่อให้มีศักยภาพในการดำเนินการจัดบริการสุขภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดโดยผลผลิตของการผลิตแพทย์ในอนาคตจะกลับเข้าไปสู่ระบบการบริการแบบ Service Plan

2) ความต้องการแพทย์ที่ต้องให้รู้บริบทของชุมชน ทำงานในชุมชนได้อย่างยาวนาน จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับหลักสูตรการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพในอนาคต โดยสถาบันการผลิตต้องปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เน้นเรื่อง Transformative Education โดยเฉพาะการผลิตแพทย์เพื่อกระทรวงสาธารณสุข ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น Transformative Education เน้นการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (Communitybased learning) เพื่อให้เกิดความผูกพันกับชุมชน (Community Engaged Medical Education (CEME) การเรียนรู้ระบบสุขภาพมีทักษะทางคลินิกที่พร้อมปฏิบัติงานได้จริง และได้ออกไปเรียนรู้จากชุมชนเป็นระยะตั้งแต่ชั้นปีต้น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตบัณฑิตแพทย์ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) สามารถอยู่ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบสาธารณสุขได้อย่างยาวนาน

3) การผลิตแพทย์เพื่อรองรับนโยบายการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ในระดับภูมิภาค (Medical Hub) เพื่อรองรับการให้บริการชาวต่างชาติ สร้างรายได้ให้กับประเทศ

4) การผลิตแพทย์เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Excellent Center) โดยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศ ในระยะยาว (5 – 10 ปี) ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

(1) ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ (Competitive advantage) เพื่อเพิ่มการให้บริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ การผลิตแพทย์เฉพาะทาง การวิจัยในระดับสากลและองค์ความรู้ใหม่

(2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพ (Service System Strengthening) เพื่อลดการส่งต่อนอกเขตสุขภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ การผลิตแพทย์เชี่ยวชาญและเฉพาะทาง

(3) ยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำของสถานบริการ (Inclusive Growth) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสถานบริการ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการทุกแห่ง จัดสรรทรัพยากรในระบบให้กับเขตสุขภาพ โดยแต่ละยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านบริการ ด้านผลิตบุคลากร และด้านวิจัย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำรายละเอียด กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับยุทธศาสตร์ การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศ ให้มีความชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยจัดทำเป็นคู่มือแนวทางปฏิบัติซึ่งจะมีเกณฑ์มาตรฐานและค่าเป้าหมายความเป็นเลิศทางการแพทย์ในแต่ละระดับกำหนดไว้นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ ของสถานบริการสุขภาพ

1.8 แผนความต้องการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขจนถึงปี พ.ศ. 2570 ประเทศไทยประสบภาวะการขาดแคลนแพทย์มาโดยตลอดทั้งในภาพรวม และในระดับภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้น การแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์จึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นองค์รวมของประเทศ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และมีการดำเนินการที่เชื่อมโยงกัน ทั้งในด้านการวางแผนการผลิตแพทย์ตามความต้องการของทุกภาคส่วนของประเทศ รูปแบบการผลิต การพัฒนา การดำรงรักษาแพทย์ในระบบสาธารณสุขของประเทศจากข้อมูลจำนวนแพทย์ของแพทยสภาในปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนแพทย์ในทะเบียนแพทยสภารวมทั้งสิ้น 66,139 คน1 โดยคาดว่ายังประกอบวิชาชีพอยู่รวมจำนวน 61,279 คน เมื่อวิเคราะห์ความต้องการแพทย์ของระบบบริการสุขภาพ พบว่าระบบบริการสุขภาพยังมีความต้องการแพทย์เพิ่มเติม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จากนโยบายการจัดตั้ง “คลินิกหมอครอบครัว (PCC: Primary care cluster)” ที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (family doctor) และทีมสหวิชาชีพ ดูแลประชาชน 10,000 คนต่อหนึ่งทีม เพื่อดูแลสุขภาพให้กับคนไทยทุกคนทั่วประเทศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ มีความต้องการแพทย์ในปี 2572 ทั้งสิ้น 6,500 คน จึงส่งผลให้มีความต้องการบุคลากรทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนให้เข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม ในอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,100 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการผลิตแพทย์ครอบคลุมทั้งแผนการรับปกติและโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย เพื่อบรรเทาปัญหาความขาดแคลนและกระจายแพทย์สู่ชนบท

กระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจดูแลประชาชนกว่าร้อยละ 80 ของประเทศ จึงได้มีการคาดการณ์ความต้องการแพทย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อคิดจากค่า FTE ณ ปัจจุบัน ในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า ควรมีแพทย์ทั้งสิ้น 45,261 คน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โรคอุบัติใหม่ ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่ายังมีส่วนต่างถึง 20,878 คน ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.2559 มาตรา 258 ช. (5) “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม”กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เตรียมพร้อมปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขของไทย ด้วยการจัดตั้ง “คลินิกหมอครอบครัว (PCC: Primary care cluster)” ที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (family doctor) และทีมสหวิชาชีพ ดูแลประชาชน 10,000 คนต่อหนึ่งทีม เพื่อดูแลสุขภาพให้กับคนไทยทุกคนทั่วประเทศ คลินิกหมอครอบครัวเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการปฏิรูประบบสาธารณสุขไทย เป็นการส่งแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวลงปฏิบัติงานในระดับตำบลเพื่อดูแลคนไทยทุกคนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ให้ครอบคลุมคนไทยทั่วทั้งประเทศภายใน 10 ปี และหากสามารถทำได้สำเร็จจะเป็นการพลิกโฉมระบบสาธารณสุขของประเทศไทยอีกครั้ง สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ1

(ข้อมูลจากสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา กรกฎาคม 2563)

แห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.2559 กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันจะพบว่าประเทศไทยยังมีจำนวนแพทย์ต่อประชากรในขนาดที่ไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ควรจะเป็นคือ 1 : 1,500 คน และในขณะเดียวกันการกระจายตัวของแพทย์ยังไม่เหมาะสมถึงแม้ว่าแนวโน้มการกระจายตัวจะดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับในอดีต เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการกระจายตัวของแพทย์ได้อย่างยั่งยืนและการมีประสิทธิภาพรวมถึงการพัฒนาในด้านอื่น ๆ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านสาธารณสุขเพื่อปฏิรูประบบบริการสุขภาพแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์ได้แก่

1) Promotion & Prevention Excellence (ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ) ประกอบด้วยแผนงาน 1.1 พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย 1.2 การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 1.3 ความปลอดภัยด้านอาหารและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1.4 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

2) Service Excellence (บริการเป็นเลิศ) ประกอบด้วยแผนงาน 2.1 การพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ
2.2 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 2.3 ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ 2.4 ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ

3) People Excellence (บุคลากรเป็นเลิศ) 3.1 การวางแผนความต้องการอัตรากำลังคน 3.2 การผลิตและพัฒนากำลังคน 3.3 การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ 3.4 การพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมด้านสุขภาพ

4) Governance Excellence (บริหารจัดการเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล) 4.1 ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ 4.2 ระบบหลักประกันสุขภาพ 4.3 ความมั่นคงด้านยาและเวชภัณฑ์และการคุ้มครองผู้บริโภค 4.4 ระบบธรรมาภิบาล

นอกจากแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว เมื่อพิจารณาถึงแผนอัตรากำลังแพทย์ในช่วง 10-20 ปีข้างหน้าของกระทรวงสาธารณสุขในการรองรับการบริการสังคมผู้สูงอายุ โรคที่มีความซับซ้อน รูปแบบการให้บริการตาม Service Plan ที่ครอบคลุมทั้ง Community Care, Advance Care และ Academic Care พบว่ายังมีความต้องการแพทย์รวมทั้งสิ้น 29,315 คน (ตารางที่ 3) โดยมีความต้องการแพทย์ Community Physician จำนวน 15,331 คน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนให้เข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม

ตารางที่ 1 แผนความต้องการกำลังคน 10 – 20 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ/ NCD/ Service Plan model ที่ครอบคลุมทั้ง Community care/ Advance care and Academic care

จากแผนยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงานดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องผลิตแพทย์เพิ่ม เพื่อให้แพทย์เพียงพอต่อการให้บริการรักษาพยาบาลทั่วไปของประเทศ ซึ่งในแต่ละปีจะมีแพทย์ศึกษาต่อเพิ่มเติมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เช่น ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ และเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อยอด เช่น อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดสมอง เป็นต้น ซึ่งจะมีผู้ศึกษาต่ออีกมากกว่า 1,500 คนต่อปี ทำให้สัดส่วนแพทย์ที่ดูแลประชาชนทั่วไปเหลือในระบบน้อยลงและความต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข มีการพัฒนาระบบการบริการเป็น 13 Service Plan ตามกลุ่มโรค และมี 5 Excellence Center ซึ่งต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมถึงความต้องการของแพทย์ในโรงเรียนแพทย์ แพทย์ทหาร 3 เหล่าทัพ แพทย์ตำรวจ โรงพยาบาลของกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเอกชน จึงมีความจำเป็นที่ต้องผลิตแพทย์เพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี 2561-2570 ซึ่งเป็นโครงการขยายต่อเนื่องจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ.2556-2560 ที่สิ้นสุดลง โดยมุ่งหวังที่จะเติมเต็มระบบบริการ แก้ปัญหาการกระจายแพทย์ และสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ (Competitive advantage) เพื่อเสริมสร้างระบบสุขภาพของประเทศให้มีความเข้มแข็ง (Service system strengthening) ต่อไป

ตารางที่ 2 ภาพรวมเป้าหมายการรับนักศึกษาแพทย์ของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท

1.9 ความคืบหน้าการดำเนินงานเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการเฉพาะในระยะที่ 1 พ.ศ. 2561 – 2564)

1) การทบทวนการเป็นนักศึกษาคู่สัญญาของนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์

1.การผลิตแพทย์เพื่อรองรับระบบสุขภาพได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อให้เกิดการกระจายแพทย์ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยอาศัยกระบวนการคู่สัญญา ซึ่งนักศึกษาแพทย์เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนในสถานที่ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการจัดสรรแพทย์เป็นผู้กำหนด การกระจายแพทย์ด้วยมาตรการบังคับชดใช้ทุน ในฐานะคู่สัญญาดำเนินการมากว่า 40 ปี โดยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2516 ลงมติให้แก้ไขสัญญาการเป็นนักศึกษาเพื่อศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ โดยเพิ่มจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจาก 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) เป็น 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) และให้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดในทันทีเมื่อมีการผิดสัญญา ค่าปรับกรณีผิดสัญญาดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน

2.เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบค่าเงิน 400,000 บาท กับค่าเงินในปัจจุบันนับว่าน้อยมาก ประกอบกับเงินที่รัฐบาลอุดหนุนการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ต่อคนในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทตลอดระเวลา 6 ปี เป็นงบดำเนินงาน 1,800,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน)และงบลงทุนอีก 2,000,000 (สองล้านบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,800,000 บาท (สามล้านแปดแสนบาทถ้วน) ต่อการผลิตนักศึกษาแพทย์หนึ่งคน

3.คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอการจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ได้พิจารณาการทบทวนสัญญาการเป็นนักศึกษาเพื่อศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ที่สำนักงานอัยการสูงสุดให้ข้อสังเกต ที่ประชุมได้มีความเห็นว่าการเพิ่มค่าปรับชดใช้ทุนของแพทย์คู่สัญญาซึ่งเดิมค่าปรับ 400,000 บาท ซึ่งมีการใช้มานานแล้ว จึงไม่เหมาะสมกับเศรษฐกิจและค่าเงินปัจจุบัน ควรมีการเพิ่มจำนวนค่าปรับชดใช้ทุน โดยมติที่ประชุมเห็นชอบกับวงเงินค่าปรับชดใช้ทุนจำนวน 1,800,000 บาท ทั้งนี้ต้องมีความคิดเห็นและข้อมูลสนับสนุนจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ด้วย

4.กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย มีหนังสือที่ กสพท 128/2561 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 เรื่อง ข้อคิดเห็นการเพิ่มค่าปรับชดใช้ทุนของนิสิตนักศึกษาแพทยศาสตร์ โดยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย มีความเห็นว่า จำนวนเงินค่าปรับชดใช้ทุนของนักศึกษาแพทยศาสตร์ ปัจจุบันไม่เหมาะสม สมควรมีการเปลี่ยนแปลงวงเงิน ควรปรับเพิ่มโดยคำนวณตามค่าใช้จ่ายจริง เป็นเงิน 4,475,604 บาท ต่อคน สำหรับหลักสูตร 6 ปี

5.คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ ได้มีการจัดประชุมครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ได้พิจารณาการทบทวนค่าปรับชดใช้ทุนนักศึกษาแพทย์ 5 ล้านบาท โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นควรเพิ่มค่าปรับจากจำนวน 400,000 บาท เป็นจำนวน 2,500,000 บาท และเพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขค่าปรับกรณีผิดสัญญานักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ และสัญญาการเป็นนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ตามโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ จาก 400,000 บาทเป็น 2,500,000 ล้านบาท จึงได้เสนอเรื่องให้สถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งเดิมในขณะนั้นเป็นเลขานุการของคณะกรรมการจัดสรรแพทย์ผู้ทำสัญญาฯ ดำเนินการต่อไป ในขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมเนื่องจากสถาบันพระบรมราชชนกได้ปรับเปลี่ยนสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

6.กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ (แก้ไขตำแหน่งแพทย์) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นที่เกี่ยวกับสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ของนักศึกษาแพทย์คู่สัญญา รวมถึงการแก้ไขปัญหาระเบียบคู่สัญญาที่สำคัญ เช่น
การให้ทุนการศึกษา การลาศึกษาต่อของตำแหน่งทางราชการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตำแหน่งข้าราชการ เพื่อรองรับการเข้าปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์ภายหลังสำเร็จการศึกษา หากในอนาคตอาจมีการปรับลดตำแหน่งข้าราชการลง

2) การแก้ไขปัญหาเรื่องการกระจายกำลังคนในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งการธำรงรักษาแพทย์ไว้ในระบบราชการ

ปัจจุบันสถานการณ์กำลังคนด้านสุขภาพของประเทศ ยังเป็นวิกฤตปัญหาที่สำคัญของระบบสุขภาพทั้งในเรื่องความขาดแคลนบุคลากรในสาขาต่าง ๆ การกระจายตัวที่ไม่เหมาะสมระหว่างในเมืองและชนบทสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่ไม่เอื้อต่อประสิทธิภาพของงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นต้น แม้ว่าทางภาครัฐจะมีแนวนโยบายต่าง ๆ ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้ผลดีขึ้นในระดับหนึ่งก็ตาม ในขณะที่ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศมีเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทของความต้องการด้านสุขภาพของปัจเจกบุคคล การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั้ง ด้านสังคม เศรษฐกิจการเมือง และความตื่นตัวของสังคมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความคาดหวังในคุณภาพของการบริการในขณะที่ระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีข้อจำกัดเชิงนโยบายหลายประการที่กำลังคนด้านสุขภาพไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการทบทวนปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของหน่วยงานให้สอดคล้องกับบริบททางด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีแนวทางในการดำเนินงานการจัดสรรแพทย์และการธำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากร ดังนี้

2.1) การวางแผนกำลังคน

กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดและวางแผนกำลังคนให้มีแพทย์เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการกระจายตัวของแพทย์ได้อย่างยั่งยืน มีการจัดสรรโควตาตามพื้นที่ขาดแคลนแพทย์ เช่นการจัดสรรแพทย์ในเขตสุขภาพที่ 8 โดยต้องสอดคล้องกับโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะในแต่ละโรงพยาบาลโดยต้องไม่เกินศักยภาพที่แพทยสภาประเมินของโรงพยาบาลนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและค่าใช้จ่ายของส่วนราชการ รวมถึงการกำหนดกรอบอัตรากำลังเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนกำลังคนโดยหากในอนาคตข้างหน้ามีการปรับลดตำแหน่งข้าราชการลง ได้มีการเตรียมการจ้างงานตำแหน่งทางราชการในรูปแบบต่างๆเพื่อมาทดแทนตำแหน่งข้าราชการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ(แก้ไขตำแหน่งแพทย์) เพื่อพิจารณาวางแผนการจ้างงานในรูปแบบต่างๆรวมถึงการแก้ไขปัญหาระเบียบคู่สัญญาที่สำคัญ เช่น การให้ทุนการศึกษา
การลาศึกษาต่อของตำแหน่งเหล่านี้ มีการกำหนดแนวทางการบริหารบุคคลหลังจากจัดตำแหน่งต่าง ๆให้เหมาะสม รวมถึงมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุขของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการวางแผนกำลังคนแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพของประเทศต่อไป

2.2) การสรรหาและแต่งตั้งบุคลากร
การจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาที่ต้องชดใช้ทุนกับกระทรวงสาธารณสุข มีแนวทางในการจัดสรร คือ

1.จัดสรรในปีแรก แพทย์ที่สำเร็จการศึกษาทุกคนต้องเข้าปฏิบัติงานโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะในแต่ละโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ต้องรับแพทย์เข้าปฏิบัติงานไม่เกินศักยภาพที่แพทยสภาประเมินของโรงพยาบาลนั้น

2.จัดสรรแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เต็มศักยภาพที่แพทยสภาประเมิน

3.จัดสรรแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาให้ตามความขาดแคลนแพทย์รายจังหวัดในรูปแบบการบริหารของเขตสุขภาพ

4.ในส่วนของแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (CPIRD) และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน (ODOD) ให้จัดสรรแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาตามภูมิลำเนาในสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ ในกรณีแพทย์ CPIRD เกินโควตาจังหวัดในปีนั้น ๆ คณะกรรมการจัดสรรแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขจะพิจารณาจัดสรรให้ปฏิบัติงานภายในเขตสุขภาพเดียวกันกับจังหวัดภูมิลำเนา

2.3) การพัฒนาบุคลากร

ภายหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้จัดสรรแพทย์เพื่อปฏิบัติงานในหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาศักยภาพบุคลากร เช่น มีโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ เช่น โครงการฝึกอบรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการการอบรมสัมมนาร่วมกัน ในหลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี และโครงการพัฒนาศักยภาพอื่น ๆ ซึ่งในทุก ๆ ปีหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะมีการสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ตรงตามความต้องการของบุคลากร

กรณีแพทย์ที่ยังสอบไม่ผ่านใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม กระทรวงสาธารณสุขจะบรรจุแพทย์ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และได้จัดสรรให้ปฏิบัติงานที่ศูนย์แพทยศาสตรชั้นคลินิก ที่มีอยู่ทุกเขตสุขภาพ รวม 37 แห่ง เพื่อให้แพทย์ที่ยังสอบไม่ผ่านใบประกอบใบวิชาชีพเวชกรรมพัฒนาศักยภาพทางด้านวิชาการ เพื่อเตรียมการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมต่อไป ส่วนแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับการบรรจุราชการทุกคนจะได้รับการพัฒนาด้านวิชาการ และหัตถการตามหลักสูตรแพทย์เพิ่มพูนทักษะของแพทยสภา เป็นเวลา 1 ปี ในโรงพยาบาลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและผ่านการตรวจประเมินของแพทยสภาแล้ว ในแต่ละปีกระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านในทุกสาขา และอนุสาขา ตามที่แพทยสภากำหนด ปีละกว่า 1,500 ตำแหน่ง เพื่อให้แพทย์ที่ปฏิบัติงานทั้งในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงโรงพยาบาลชุมชน สามารถเข้าศึกษาฝึกอบรมเพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตอบสนองการจัดบริการตาม service plan และระบบสุขภาพปฐมภูมิ ของเขตสุขภาพ

2.4) การพัฒนาคุณภาพชีวิต

มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนความสุขของกระทรวงจากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนไว้ 4 ประเด็น ประกอบด้วย การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Prevention Promotion & Protection Excellence) การบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และการบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) ซึ่งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ข้างต้นให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น ปัจจัยหลักสำคัญคือบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร จึงควรต้องได้รับการดูแลและพัฒนา ตลอดจนเตรียมความพร้อม เพื่อการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร ทั้งนี้การสรรหา คัดเลือก และการธำรงรักษาคนดี คนเก่งนั้น ถือได้ว่า เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้องค์กรมีการพัฒนาเติบโตและก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืนประเด็นยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) มีเป้าหมายที่จะให้กำลังคนด้านสุขภาพ เป็นคนดีมีคุณค่า และมีความผาสุกในการทำงาน เพื่อให้ปฏิบัติงานอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข และยั่งยืน

2.5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อเป็นการเลื่อนระดับและความก้าวหน้าในวิชาชีพด้านการแพทย์ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คงอยู่ในระบบราชการอย่างยั่งยืน โดยในสายงานแพทย์สามารถเลื่อนลำดับในประเภทวิชาการได้ถึงระดับเชี่ยวชาญทุกตำแหน่ง

2.6) การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในองค์กร

กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม เช่น การดำเนินโครงการอบรมคุณธรรมเชิงสัมพันธ์ตามศาสตร์พระราชาจิตอาสาปลูกความดีด้วยหัวใจ การดำเนินกิจกรรมสร้างตระหนักและปลุกจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และกิจกรรมยกย่องเชิดชูบุคลากรที่มีคุณธรรมดีเด่น ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของแพทย์เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์

3) การกำหนดแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลิตบุคลากรสาขาแพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นที่ยังขาดแคลน ให้สอดคล้องกับความต้องการในภาพรวมทั้งระบบ รวมทั้งสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ของประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขได้ตอบสนองต่อการกำหนดแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลิตบุคลากรสาขาแพทย์ โดยการดำเนินงานการพัฒนาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก นอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทเพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการการดำเนินงานเกี่ยวกับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลในการจัดการเรียนการสอนของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ให้มีแนวทาง มาตรการการดำเนินงานที่มีความชัดเจน สอดคล้องกับภารกิจและศักยภาพของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการป้องกันผลกระทบต่าง ๆ ทั้งต่อภาระงานบริการแก่ผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการ รวมถึงความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดบริการและการจัดการเรียนการสอน ระบบการบริหารจัดการด้านการเงิน ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลอาจารย์แพทย์ บุคลากรสายสนับสนุน และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทขึ้นเพื่อ

1.กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ การพิจารณาโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลในการจัดการเรียนการสอนของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

2.พิจารณาเรื่องการให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลในการจัดการเรียนการสอนของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

3.เสนอความเห็น ผลการพิจารณาเรื่องการให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลในการจัดการเรียนการสอนของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา

4.กำกับ ติดตาม ประเมินผล รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรค ในการให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลในการจัดการเรียนการสอนของนิสิต/นักศึกษาแพทย์นอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท เพื่อให้ผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานการพัฒนาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก นอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท โดยให้แต่ละคณะแพทยศาสตร์ หรือโรงพยาบาลที่มีความประสงค์จะดำเนินการขอทำความร่วมมือให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์ ดำเนินการส่งโครงการการขอความร่วมมือเข้ามายังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณาโดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.ส่งหนังสือแจ้งให้คณะแพทยศาสตร์ดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนความร่วมมือ

2.คณะแพทยศาสตร์จัดส่งโครงการมายัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณา

3.คณะกรรมการพัฒนาศูนย์แพทย์ฯ พิจารณาโครงการฯ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ฯแบ่งออกเป็น 4 หมวด ประกอบด้วย

3.1 แผนงบลงทุน อาคารสถานที่ และสิ่งก่อสร้าง
3.2 แผนการพัฒนาอาจารย์แพทย์
3.3 แผนบริหารเงินบำรุงการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
3.4 แผนการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

4.จัดส่งผลการพิจารณาโครงการไปยังโรงพยาบาลเพื่อทำการประชาพิจารณ์ในการขอความร่วมมือ

5.จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและคณะแพทยศาสตร์/โรงพยาบาล

ทั้งนี้ในการกำหนดแนวทางความร่วมมือกับรัฐและภาคเอกชนในการผลิตบุคลากรสาขาแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแบบฟอร์มบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการลงนามข้อตกลงร่วมกัน โดยหากคณะกรรรมการฯ ได้ดำเนินการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวแล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการแจ้งไปยังคณะแพทยศาสตร์ หรือโรงพยาบาลที่มีความประสงค์ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการผลิตแพทย์ เพื่อทราบ และจัดพิธีการลงนามกันต่อไป ผลการดำเนินงานการพัฒนาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกนอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ที่ผ่านมา มีดังนี้

ตารางที่ 3 ผลการดำเนินงานการพัฒนาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก นอกโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

2.สถานการณ์การผลิตแพทย์ในปัจุบัน

2.1 ศักยภาพการรับนักศึกษาของแต่ละสถาบัน (ข้อมูลจากคณะกรรมการแพทยสภาอนุมัติในปี 2563)

ระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตแพทย์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต่อปีสูงขึ้น โดยจากข้อมูลพบว่าในปี 2539 สถาบันการศึกษาผลิตแพทย์ได้ประมาณ 900 คนต่อปี แต่จากข้อมูลศักยภาพการรับนักศึกษาแพทย์ที่แพทยสภาอนุมัติในปี 2563 พบว่า ประเทศไทยสามารถผลิตแพทย์ได้ทั้งหมด 3,195 คน/ปี จากสถาบันผลิตแพทย์ 23 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น สถาบันฝ่ายผลิตของรัฐ จำนวน 21 แห่ง และสถาบันฝ่ายผลิตของเอกชน จำนวน 2 แห่ง จำแนกได้ ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 จำนวนศักยภาพการรับนักศึกษาของแต่ละสถาบัน ตามที่คณะกรรมการแพทยสภาอนุมัติ ในปี 2563

2.2 การทำงานของแพทย์ตามหน่วยงานต่าง ๆ

การเพิ่มขึ้นของสถาบันการศึกษาที่ผลิตแพทย์ ทำให้จำนวนแพทย์เพิ่มขึ้น โดยจากรายงานทรัพยากรสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนแพทย์ที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 มีแพทย์ปฏิบัติงานในภาคส่วนต่าง ๆ จำนวน 39,156 คน

ตารางที่ 5 จำนวนแพทย์ และสัดส่วนประชากรต่อแพทย์ จำแนกตามสังกัด รายเขตพื้นที่เครือข่ายบริการ
จังหวัด ปี 2562

3.ผลการดำเนินงานผลิตแพทย์ที่ผ่านมาของสถาบันการศึกษา

3.1 ผลการรับนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมโครงการฯ

ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 กระทรวงศึกษาธิการ โดยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) และกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันวางแผนและผลิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งการผลิตปกติ และการจัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศ ดังนี้

  • ปี 2536 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้สาขาแพทย์เป็นสาขาขาดแคลน มีการผลิตเพิ่ม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นงบดำเนินการในการผลิตแพทย์ 300,000 บาท/ปี/คน และมีเงื่อนไขข้อผูกพันเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องบรรจุเป็นข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข
  • ปี 2547 กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข (2547-2556) ต่อเนื่องจากโครงการสาขาขาดแคลน โดยมีเป้าหมายการผลิตแพทย์เพิ่ม จำนวน 10 รุ่น รวมจำนวน 10,568 คน แบ่งเป็น โครงการเร่งรัดการผลิตแพทย์เพิ่มของสถาบันผลิตแพทย์ จำนวน 6,871 คน และโครงการเร่งรัดการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (2547-2556) เป็นการผลิตร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จำนวนรวม 3,841 คน มีผลการดำเนินโครงการ โดยสามารถรับนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมโครงการได้ จำนวนทั้งสิ้น 10,097 คน คิดเป็นร้อยละ 95.54 ของเป้าหมายภาพรวมโครงการ
  • ปี 2549 กระทรวงสาธารณสุขจัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม (ระยะที่ 3) (2549-2552) ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Project) และขยายโครงการต่อเนื่องในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) (2553-2555) จำนวนรวมทั้งสิ้น 4,622 คน (แบ่งเป็น Mega Project จำนวน 2,777 คน และ SP2 จำนวน 1,384 คน) มีรูปแบบการผลิตเช่นเดียวกับแพทย์ชนบท โดยผลการดำเนินการสามารถรับนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมโครงการได้จำนวนทั้งสิ้น 3,096 คน คิดเป็นร้อยละ 66.98 ของเป้าหมายโครงการรวม
  • ปี 2556 กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ.2556-2560 มีเป้าหมายการผลิตแพทย์เพิ่มตลอดโครงการ จำนวน 9,039 คน แบ่งเป็น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย (กระทรวงศึกษาธิการ) 4,038 คน และโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข 5,001 คน มีผลการดำเนินโครงการ โดยสามารถรับนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 – 2560 จำนวนทั้งสิ้น 8,235 คน คิดเป็นร้อยละ 91 ของเป้าหมายภาพรวมโครงการ
  • ปี 2561 กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ดำเนินงานโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการเฉพาะในระยะที่ 1 พ.ศ. 2561 – 2564) มีเป้าหมายรับนักศึกษาแพทย์ จำนวน 9,168 คน แบ่งเป็น ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4,384 คน ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข 4,784 คน มีผลการดำเนินโครงการ โดยสามารถรับนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวนทั้งสิ้น 5,938 คน

ตารางที่ 6 แสดงผลการผลิตบัณฑิตแพทย์ จำแนกตามโครงการปี พ.ศ. 2547 – 2563

รูปที่ 6 แผนและผลการผลิตแพทย์ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2547-2570 เทียบกับศักยภาพการผลิตตามที่แพทยสภาอนุมัติ

จากแผนภาพ เป็นผลการดำเนินงานผลิตแพทย์ในภาพรวมของสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ของภาครัฐตั้งแต่ปี 2547-2563 เทียบกับแผน ซึ่งจากแผนภาพจะเห็นได้ว่า สามารถรับนักศึกษาแพทย์ได้ ร้อยละ 89 จากเป้าหมายทั้งหมด

3.2 จำนวนแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษา

ในแต่ละปีจะมีแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษา โดยสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ของรัฐจะส่งจำนวนและรายชื่อแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาจัดสรรอัตราให้กับกระทรวง ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สภากาชาดไทย โรงเรียนแพทย์ และหน่วยงานอื่นตามที่ได้ขออัตรามายังคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญา มีข้อมูลแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษา ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 7 ผลการจัดสรรโควตานักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาฯ ย้อนหลัง ปีการศึกษา 2560 – 2562

3.3 ผลสำเร็จการดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (กระทรวงสาธารณสุข)

3.3.1 การจัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มที่ผ่านมา จะมีโครงการเร่งรัดการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม ซึ่งการดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนและการกระจายแพทย์ที่ไม่เป็นธรรมและเพิ่มอัตราการคงอยู่ในชนบทให้นานขึ้นกว่าการผลิตแพทย์ในระบบปกติ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะกำหนดรูปแบบ คัดเลือก การจัดการเรียนการสอน และการจัดสรรแพทย์ ดังนี้

1) คัดเลือกนักเรียนจากพื้นที่ชนบทเข้าศึกษา (Rural Recruitment) เนื่องจากนักเรียนที่มีภูมิลำเนาจากพื้นที่ชนบท เมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในภูมิลำเนาเดิม

2) การจัดการเรียนการสอนในชุมชน (Rural Learning) เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนของการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข มีความประสงค์ที่จะเปลี่ยน (Transformation) นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาจากพื้นที่ชนบทให้เป็นแพทย์ที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการทำงานในชุมชน ดังนั้นการจัดการเรียนในชั้นปี 4-6 ซึ่งเป็นชั้นคลินิก จะเป็นการจัดการเรียนการสอนในศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศจำนวน 37 แห่ง ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจบริบทของระบบสาธารณสุขของประเทศและเข้าใจบทบาทในอนาคตของตนเอง ที่มีต่อชุมชน ท้องถิ่น มากยิ่งขึ้น

3) การจัดสรรกลับภูมิลำเนาภายหลังสำเร็จการศึกษา (Hometown workplace) จากรูปแบบการคัดเลือกนักเรียน และมีการจัดการเรียนชั้นคลินิกในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภายหลังสำเร็จการศึกษา กระทรวงสาธารณสุขจะจัดสรรแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทให้กลับไปปฏิบัติงานในจังหวัดภูมิลำเนา หรือจังหวัดในเขตจังหวัดสุขภาพภูมิลำเนา เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความขาดแคลนแพทย์ต่อไป

3.3.2 การดำเนินการโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท เป็นการผลิตเพื่อเพิ่มอัตราคงอยู่ของแพทย์ในชนบท ซึ่งจากข้อมูลอัตราการคงอยู่ปฏิบัติงานของแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปี 2544-2559 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 6,955 คน ยังปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 5,668 คน คิดเป็นร้อยละ 81 พื้นที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ยังอยู่ในภูมิลำเนาของตนเอง ดังนั้น ในภาพรวมของการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ด้วยวิธีการคัดเลือกผู้เข้าเรียนแพทย์ การจัดการเรียนการสอน และการจัดสรรให้กลับไปทำงานในภูมิลำเนา ได้ช่วยให้อัตราการคงอยู่ปฏิบัติงานในชนบท

3.3.3 การกระจายตัวของแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จากผลการดำเนินการผลิตที่ผ่านมาทำให้อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเป็นแพทย์ของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทจำนวน 6,955 คน นอกจากนี้การผลิตแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขยังช่วยทำให้อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรเพิ่มขึ้นจาก 0.2 คน/1,000 ประชากร เป็น 0.5 คน/1,000 ประชากร และกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนการรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 โดยคำนึงถึงความขาดแคลนและการกระจายแพทย์โดยเฉพาะอย่างในเขตสุขภาพที่ 7 8 9 และ 10 ที่ต้องรับนักเรียนเข้าศึกษาและจัดสรรไปปฏิบัติงานในพื้นที่ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นต่อไป

3.4 ปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินงานที่ผ่านมา

จากการผลิตแพทย์เพิ่มของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมา จากโครงการต่าง ๆ (พ.ศ. 2547 – 2560) ทำให้จำนวนแพทย์ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรดีขึ้นตามลำดับแต่อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าผลลัพธ์การดำเนินงานในรายภูมิภาค ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่โครงการกำหนดไว้เนื่องด้วยมีอุปสรรคหลายประการ ดังนี้

1) โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มีข้อจำกัดในกระบวนการรับนักศึกษาแพทย์ คือ จะรับนักศึกษาเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาตามที่กำหนดไว้เท่านั้น ทำให้จำนวนผู้สมัครและโอกาสในการคัดเลือกนักศึกษามีน้อย ส่งผลให้ไม่สามารถคัดเลือกนักศึกษาที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการศึกษาวิชาชีพแพทย์ได้ตามโควตา และ/หรือนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกค่อนข้างมีปัญหาในขณะศึกษา อันจะส่งผลถึงคุณภาพของบัณฑิตแพทย์เมื่อสำเร็จการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคณะแพทยศาสตร์ใหม่

2) การบริหารและการจัดสรรงบประมาณ มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาดำเนินการ อีกทั้งสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์บางแห่งไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณตามกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยพ.ศ.2556 – 2560 (ได้รับงบประมาณสนับสนุนน้อยกว่าจำนวนนิสิตนักศึกษาที่มีอยู่จริง) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคณะแพทยศาสตร์ใหม่

3) การดำเนินงานโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย และโครงการพิเศษต่าง ๆ ที่ผ่านมา ยังขาดระบบการรายงานผลการดำ เนินงานในภาพรวม และรายโครงการย่อย (โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม(กระทรวงศึกษาธิการ) และโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข) ทั้งด้านเป้าหมายการรับนักศึกษา จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา งบประมาณ การบรรจุเข้ารับราชการในหน่วยงานสังกัดต่าง ๆ และการติดตามบัณฑิตแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับการจัดสรรให้ไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี เพื่อสะท้อนจำนวนการผลิตแพทย์ของโครงการว่าสามารถแก้ปัญหา
ความขาดแคลนแพทย์ การกระจายตัว และการธำรงอยู่ของแพทย์ได้ตามวัตถุประสงค์โครงการ ตลอดจนสามารถนำมาวางแผนการผลิตและพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของประเทศไทย

4) การดำเนินโครงการที่ผ่านมาเป็นการวางแผนการผลิตและเป้าหมายในระยะยาว แต่ในขณะเดียวกัน พบว่าคณะแพทยศาสตร์เดิมและคณะแพทยศาสตร์ใหม่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและขยายกำลังการผลิตภายใต้การกำกับของแพทยสภาอยู่เสมอตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงควรมีการทบทวนเป้าหมายระยะสั้นเพื่อยืนยันหรือปรับเป้าหมายการผลิตให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของประเทศ

5) ปัญหาของวิชาชีพแพทย์ที่สำคัญ คือ การรักษาแพทย์ให้อยู่ในระบบราชการ และมีการกระจายแพทย์อย่างเหมาะสมทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแพทย์ได้อย่างเท่าเทียมกัน และได้คุณภาพการรักษาไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ และหน่วยงานผู้ใช้แพทย์จากส่วนราชการอื่น ต้องบูรณาการทั้งข้อมูลและกระบวนการเพื่อให้การผลิตและการใช้แพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากที่สุด

จากปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวนี้ จะสามารถเติมเต็มส่วนขาด (Gap) ที่ควรได้รับการพัฒนา เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตแพทย์ให้ได้แพทย์เพียงพอต่อความต้องการ มีคุณภาพมาตรฐานการรักษา ตลอดจนได้แพทย์ที่มีจิตสำนึกในการบริการสุขภาพแก่ประชาชน และเกิดการพัฒนากลไกการธำรงรักษาแพทย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ส่วนที่ 3 โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561-2570

1.กรอบแนวคิดในการดำเนินการโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561-2570

1.1 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมและกระทรวงสาธารณสุข เสนอโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 เพื่อดำเนินการต่อเนื่องในการวางแผนการผลิตแพทย์ตามความต้องการของทุกภาคส่วนของประเทศระบบการผลิต การพัฒนา การดำรงรักษาแพทย์ในระบบสาธารณสุขและรองรับการแข่งขัน โดยกำหนดหลักการ ดังนี้

ในภาพรวมจากผลการผลิตแพทย์ของประเทศพบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 – 2559 กระทรวงสาธารณสุขมีการบรรจุแพทย์เพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงสาธารณสุขบรรจุแพทย์จำนวน 991 คน ในขณะที่ปีพ.ศ. 2562 กระทรวงสาธารณสุขบรรจุแพทย์จำนวน ทั้งสิ้น 2,054 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการผลิตแพทย์ ทั้งจากการผลิตแพทย์ปกติของประเทศ จากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของกระทรวงสาธารณสุขได้ทำให้มีแพทย์ในระบบสุขภาพของประเทศเพิ่มขึ้น ประชาชนในชนบทและเขตเมืองสามารถเข้าถึงสถานบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานในการให้บริการที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไป

นอกจากนี้การผลิตแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบททำให้มีแพทย์ในระบบสุขภาพเพิ่มขึ้นและปฏิบัติงานในจังหวัดภูมิลำเนาในเขตสุขภาพของตนเองได้นานกว่าการผลิตแพทย์ระบบปกติของประเทศ ดังนั้นเพื่อให้มีจำนวนเเพทย์ ออกไปทำงานในชนบทอย่างยั่งยืน กระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการการบรรจุเเพทย์จากบัณฑิตเเพทย์โครงการผลิตเเพทย์เพิ่มปี พ.ศ. 2561-2570 ไว้ที่ประมาณปีละ 2,100 – 2,300 คนแต่เนื่องจาก มีข้อมูลว่า มีข้อตกลงในการที่กระทรวงสาธารณสุขจะต้องรับบรรจุแพทย์เป็นข้าราชการในอัตราส่วนร้อยละ 70 – 80 ของบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาแต่ละปี ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์ภาระงานและภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการบรรจุข้าราชการดังกล่าว เพื่อให้ได้
จำนวนตัวเลขที่แน่นอน ทั้งนี้เมื่อทราบตัวเลขความต้องการแล้วจะได้แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเป็นทางการต่อไป

1.2 แก้ปัญหาความขาดแคลนและการกระจายแพทย์สู่ชนบท

1) พัฒนาหลักสูตรการผลิตแพทย์

1.1) พัฒนาหลักสูตรการผลิตแพทย์ที่เน้นใช้ชุมชนเป็นฐานการผลิต (Community based) ตาม Lancet Commission of 21th Century of medical professional education เนื่องจากในปัจจุบันทรัพยากรที่ทำให้เกิดการเรียนการสอนมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซับซ้อนของการเจ็บป่วยและรูปแบบของการดูแลรักษาในมิติต่าง ๆ ที่มีอยู่ของแต่ละบริบทของระดับสถานบริการที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น การจัดการเรียนโดยใช้โรงพยาบาลชุมชนเป็นฐานจึงเป็นทางออกให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่นักศึกษาแพทย์ต้องออกไปปฏิบัติงานภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วยังช่วยการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การพัฒนาคุณภาพบริการในโรงพยาบาลชุมชนต่อไปอีกด้วย

1.2) การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมิติการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งการสร้างให้อาจารย์แพทย์ ในพื้นที่ (Local resource person) เรียนรู้แบบสหสาขาวิชาและนอกเหนือจากด้านสุขภาพ (Interprofessional) หลักสูตรมีความเกี่ยวข้องกับชุมชน (Community engagement) เข้าใจระบบสาธารณสุข (Health system learning) และ Transformative Learning ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง สร้างมิติภาวะผู้นำ โดยกระบวนการทั้งหมดนี้จัดขึ้นผ่านการเรียนรู้ในระบบจริงโดยใช้โรงพยาบาลชุมชนในการสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างผสมผสานผ่านสภาพความเป็นจริง รวมทั้งให้มีการเตรียมความพร้อมของสถานบริการในเรื่องทัศนะและเป้าหมายการฝึกอบรมแพทย์ การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน การออกแบบหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ไปจนถึงการเตรียมอาจารย์แพทย์และเตรียมนักศึกษาแพทย์ และการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงาน

1.3) การธำรงอยู่ของแพทย์ในชนบท โดยจัดทำโครงการคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาแพทย์ที่ทำงานเพื่อชุมชนอย่างมีทิศทางและเป็นรูปธรรมที่ต้องการผสมผสานความรู้ในหลากหลายสาขาวิชาการทั้งทักษะการแพทย์ จิตวิทยา และสังคมศาสตร์มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวให้มีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นผลการรักษาเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อีกทั้งต้องมีการเปิดโอกาสให้แพทย์สามารถร่วมอบรมเวชศาสตร์ครอบครัวระหว่างการใช้ทุนหรือระหว่างการทำงาน (In-service training) พร้อมทั้งให้มีระบบความก้าวหน้าในการทำ งานไปถึงการสร้างภาพลักษณ์ให้
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาอื่น และสร้างความก้าวหน้าในสายงานที่อาจมีความเชี่ยวชาญในระบบบริการปฐมภูมิ การดูแลผู้ป่วยระยะยาว (Long term care) รวมทั้งสื่อสารให้ชุมชนรับทราบและเข้าใจบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

2) ผลิตแพทย์แบบ Transformative Education
เป็นการผลิตแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขโดยมีการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น TransformativeEducation เน้นการเรียนรู้ที่ผูกพันกับชุมชน (Community Engaged Medical Education (CEME)) การเรียนรู้ระบบสุขภาพมีทักษะทางคลินิกที่พร้อมปฏิบัติงานได้จริง และได้ออกไปเรียนรู้จากชุมชนเป็นระยะตั้งแต่ชั้นปีต้น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตบัณฑิตแพทย์ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) สามารถอยู่ปฏิบัติงานและพัฒนาระบบสาธารณสุขได้อย่างยาวนาน

2.วัตถุประสงค์ของโครงการ

1) ผลิตแพทย์เพิ่มให้สามารถรองรับการขยายศักยภาพการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศในทุกภาคส่วน และรองรับสังคมผู้สูงอายุ และความซับซ้อนของโรคในอนาคต

2) เพื่อแก้และบรรเทาปัญหาการกระจายแพทย์สู่ชนบท ปัญหาสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการธำรงแพทย์ให้สามารถอยู่ในระบบ

3) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถาบันผลิตแพทย์ที่ตรงกับความจำเป็นในแต่ละพื้นที่

4) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับและจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ที่ตรงกับความจำเป็นและความต้องการของสถาบัน ความต้องการของพื้นที่ที่สถาบันผลิตแพทย์รับผิดชอบ และความต้องการของประเทศ

5) เพื่อลดปัญหาของความขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกันของประเทศ

3.เป้าหมายโครงการ

1) ผลิตแพทย์เพิ่ม เพื่อมุ่งหวังที่จะเติมเต็มระบบบริการ แก้ปัญหาการกระจายแพทย์ และสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ (Competitive advantage) เพื่อเสริมสร้างระบบสุขภาพของประเทศให้มีความเข้มแข็ง (Service system strengthening)

2) อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรในภาพรวม เท่ากับ 1:1,200 ในปี 2576 (เมื่อนักศึกษาแพทย์ที่ผลิตเพิ่มรุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษา)

3) จำนวนผลิตแพทย์ในช่วงปี 2565-2570 ซึ่งมีเป้าหมายในการรับนักศึกษาแพทย์ทั้งหมดจำนวน 13,318 คน ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ดังนี้

3.1) โครงการที่ 1 โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ (กระทรวงการอุดมศึกษาฯ) จำนวน 6,586 คน
3.2) โครงการที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ (กระทรวงสาธารณสุข) จำนวน 6,732 คน

ตารางที่ 8 แผนการผลิตแพทย์ภาพรวมรวม ปี 2561-2570 จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด (รวมเอกชน)

ตารางที่ 9 แผนการผลิตตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561-2570 จำแนกตามสถาบันผลิตแพทย์ปี 2561–2570 (รวม 19 สถาบัน)

4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ รวมทั้งสถาบันร่วมผลิตแพทย์ เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนของแพทย์ เป็นแหล่งวิจัยและสร้างองค์ความรู้ด้านการแพทย์ รวมทั้งธำรงรักษาอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาตา่ ง ๆ ให้คงอยู่ในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย

4.ขอบเขตและวิธีดำเนินงาน

1) ประสานงานสำนักงบประมาณในการพิจารณาโครงการและการสนับสนุนด้านงบประมาณ
2) สถาบันผลิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการผลิตแพทย์ตามแผนที่กำหนดไว้
3) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันผลิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ

5.งบประมาณ

แผนการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 ปี พ.ศ.2565 – 2570) ขอสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 3,800,000 บาท/คน โดยแบ่งเป็นงบดำเนินงาน จำนวน 300,000 บาท/คน/ปี และงบลงทุน (เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์) รายหัวนักศึกษาจำนวน 2,000,000 บาท/คน เพื่อสนับสนุนการผลิตแพทย์ และการพัฒนาศักยภาพของผู้สอนการสนับสนุนการทำวิจัยและบริการวิชาการ รวมทั้งสิ้น 50,608.40 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ดังนี้

1) ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผลิตแพทย์จำนวน 6,586 คน งบประมาณรวม 25,026.80 ล้านบาท แบ่งเป็น งบดำเนินงาน 11,854.80 ล้านบาท งบลงทุน (เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์) 13,172.00 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณจนนักศึกษาแพทย์รุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2576

2) ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ผลิตแพทย์จำนวน 6,732 คน งบประมาณรวม 25,581.60 ล้านบาท แบ่งเป็น งบดำเนินงาน 12,117.60 ล้านบาท งบลงทุน (เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์) 13,464.00 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณจนนักศึกษาแพทย์รุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2576

6.ระยะเวลาดำเนินการ

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 – 2570) จะดำเนินการรับนักศึกษาแพทย์เพิ่ม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 – 2570 และดำเนินการจัดการเรียนการสอนต่อเนื่องจนนักศึกษารุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2576

7.แนวทางการบริหารโครงการ

1) การขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
1.1) การเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการ เสนอขอตั้งงบประมาณตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่มหาวิทยาลัย ในอัตรางบดำเนินงาน 300,000 บาท/คน/ปี และงบลงทุน (เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์) ในอัตรา 2,000,000 บาท/คน/หลักสูตร

1.2) การเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เสนอขอตั้งงบประมาณตามเป้าหมายที่กำหนดตามภาระงานที่เกิดขึ้นจริงของสถาบันฝ่ายผลิตแต่ละแห่ง ในอัตรางบดำเนินงาน 300,000 บาท/คน/ปี และงบลงทุน (เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์)ในอัตรา 2,000,000 บาท/คน/หลักสูตร

2) การรับนักศึกษาแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 – 2570) รับนักศึกษาแพทย์เพิ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 – 2570 และดำเนินการจัดการเรียนการสอนต่อเนื่องจนนักศึกษารุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2576 การผลิตแพทย์เพิ่มในโครงการนี้ มีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ปัญหาการกระจายแพทย์ เสริมสร้างระบบสุขภาพของประเทศให้มีความเข้มแข็ง (Service system strengthening) การคัดเลือกนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมโครงการ กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันผลิตแพทย์ จึงต้องร่วมมือกันกำหนดโควตาและพื้นที่การรับนักเรียน
เพื่อเข้าศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องกลับไปปฏิบัติงานในจังหวัดภูมิลำเนา หรือเขตสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด สำหรับการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของกระทรวงสาธารณสุข ได้วางแผนการรับนักเรียนเข้าศึกษาเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มที่ 1 กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พื้นที่ชายขอบพื้นที่ขาดแคลน หรือนักเรียนที่มีภูมิลำเนาไม่อยู่ในเขตอำเภอเมือง ทั้งนี้การรับนักเรียนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์
เพื่อทดแทนการรับนักเรียนตามโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนซึ่งสิ้นสุดการดำเนินงานในปี พ.ศ.2560

กลุ่มที่ 2 กลุ่มสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เน้นการรับข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อเข้าศึกษา เนื่องจากพบว่าแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข และมาศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภายหลังสำเร็จการศึกษาจะมีอัตราการคงอยู่ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุขสูงกว่าการรับนักเรียนชั้นมัธยมเข้ามาศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

กลุ่มที่ 3 กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน เป็นการรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักเกณฑ์การรับเดิมของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ที่กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือได้มีการกำหนดร่วมกันและมีการรับเข้าตามภูมิลำเนาและคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยประกาศ ทั้งนี้การรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาใน 3 กลุ่ม กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือได้มีการกำหนดโควตาและพื้นที่การรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องกลับไปปฏิบัติงานในจังหวัดภูมิลำเนา หรือเขตสุขภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีคำสั่งต่อไป

8.หน่วยงานรับผิดชอบ

สถาบันผลิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) กระทรวงกลาโหม และสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร

9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) จำนวนแพทย์เพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาความขาดแคลนแพทย์ของประเทศ
2) ดำรงมาตรฐานการผลิตแพทย์ ตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กำหนดโดยแพทยสภา
3) เพิ่มศักยภาพของประเทศ และสถาบันผลิตแพทย์ในการผลิตแพทย์ที่ตรงกับความจำเป็นและศักยภาพของสถาบัน ความต้องการแพทย์ในพื้นที่ที่สถาบันผลิตแพทย์รับผิดชอบ และตอบสนองความต้องการของประเทศ
4) เพิ่มขีดความสามารถในการรับและจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ที่ตรงกับความจำเป็นและความต้องการของสถาบัน ความต้องการของพื้นที่ที่สถาบันผลิตแพทย์รับผิดชอบ และความต้องการของประเทศ
5) ลดปัญหาของความขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกันของประเทศ

10.ตัวชี้วัดโครงการ

1) ผลผลิต
1.1) ผลิตแพทย์ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และสามารถจัดสรรแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาไปปฏิบัติงานตามพื้นที่ที่ขาดแคลน ให้คงอยู่ในพื้นที่ได้อย่างยาวนาน เพื่อลดปัญหาของความขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เท่าเทียมกันของประเทศ

1.2) โครงสร้างพื้นฐานของสถาบันผลิตแพทย์ ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถผลิตแพทย์ได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน

2) ผลลัพธ์

2.1) สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรมีสัดส่วนลดลง ทั้งรายเขตสุขภาพและภาพรวมของประเทศ

2.2) อัตราการบรรจุเข้ารับราชการและปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ลดการขาดแคลนแพทย์ในภูมิภาค ลดการโยกย้าย และเกิดการกระจายแพทย์สู่ชนบทอย่างเป็นธรรม
2.3) เกิดแนวทางการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศักยภาพแพทย์ ศักยภาพโรงเรียนแพทย์/โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยให้ได้รับการพัฒนาต่อยอด และมีสมรรถนะในการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติได้มากขึ้น

11.การติดตามและประเมินผล

1) หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ จะร่วมกันดำเนินการติดตามผลการรับนักศึกษาแพทย์ในแต่ละปีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา เปรียบเทียบกับเป้าหมาย รวมทั้งติดตามผลการการจัดสรรแพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาไปปฏิบัติงานตามพื้นที่ที่ขาดแคลน
2) การประเมินผลโครงการฯ โดยจะติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยเฉพาะแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในภูมิภาค ลดการโยกย้าย และเกิดการกระจายแพทย์สู่ชนบทอย่างมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรดีขึ้น ทั้งรายเขตสุขภาพและภาพรวมของประเทศ
3) นำผลการติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อใช้ในการปรับโครงการให้เกิดความเหมาะสม คุ้มค่าตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ภาคผนวก 1 แผนและผลการผลิตแพทย์ทั้งประเทศ ปี 2547-2563

ภาคผนวก 1.1 แผนและผลการผลิตโครงการผลิตแพทย์ทั้งประเทศ จำแนกตามแผนการผลิตแพทย์ ปี 2547-2563

ภาคผนวก 1.2 ผลการผลิตโครงการผลิตแพทย์ทั้งประเทศ จำแนกตามแผนการผลิตแพทย์ ปี 2547-2563

ภาคผนวก 1.1 แผนและผลการผลิตแพทย์ทั้งประเทศ จำแนกตามแผนการผลิตแพทย์ ปี 2547-2563

ภาคผนวก 1.2 ผลการผลิตโครงการผลิตแพทย์ทั้งประเทศ จำแนกตามแผนการผลิตแพทย์ ปี 2547-2563

ภาคผนวก 2 แผนการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570
(ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570)

ภาคผนวก 2.1 แผนการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด

ภาคผนวก 2.2 แผนการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามสถาบันการศึกษา

ภาคผนวก 2.3 แผนการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขจำแนกตามศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก

ภาคผนวก 2.4 แผนการผลิตแพทย์ภาพรวม พ.ศ. 2565 – 2570

ภาคผนวก 2.1 แผนการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด

ภาคผนวก 2.2 แผนการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามสถาบันการศึกษา

ภาคผนวก 2.3 แผนการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขจำแนกตามศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก

ภาคผนวก 2.4 แผนการผลิตแพทย์ภาพรวม พ.ศ. 2565 – 2570

ภาคผนวก 3 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570
(ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570)

ภาคผนวก 3.1 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ภาพรวม

ภาคผนวก 3.2 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามสถาบันการศึกษา

ภาคผนวก 3.3 แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามสถาบันการศึกษา

ภาคผนวก 3.1 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) ภาพรวม

ภาคผนวก 3.2 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามสถาบันการศึกษา

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามปีงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ภาคผนวก 4 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570
(ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570)

ภาคผนวก 4.1 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด

ภาคผนวก 4.2 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด 159

ภาคผนวก 4.1 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด

ภาคผนวก 4.2 งบประมาณการผลิตโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 (ดำเนินการต่อเนื่องในระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 – 2570) จำแนกตามสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

แผนการรับนักศึกษาแพทย์และงบประมาณจำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

เรื่องเดิม

พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติพ.ศ. 2562 มาตรา 11 (10) กำหนดให้สภานโยบายเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และมาตรา 22(8) กำหนดให้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดทำรายงานประจำปีของสภานโยบายตามมาตรา 11(10)

การดำเนินงาน

สอวช. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบงานวิชาการและธุรการของสภานโยบาย ได้จัดทำ (ร่าง) รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564: การฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย

บทที่ 1 อววน. กับการพัฒนาประเทศ

มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการสรุปภาพรวมการนำศักยภาพด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) มาใช้เพื่อเตรียมความพร้อมเผชิญกันความท้าทายที่เกิดขึ้น แก้ไขปัญหาสังคม และสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมให้ประเทศ ตัวอย่างเช่น 1) ในด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้มีการดำเนินการที่สำคัญ เช่น การแก้ปัญหารองรับสถานการณ์โควิด-19 การแก้ปัญหาด้านการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ การส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสี
เขียน (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) การพัฒนากำลังคนโดยอาศัยกลกากรพัฒนาความรู้ทักษะเดิม (Re-skill) การยกระดับทักษะเดิม (Up-skill) และการเพิ่มพูนทักษะใหม่ (New-skill) การพัฒนางานวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier research) และ 2) ในด้านการอุดมศึกษา ได้มีการดำเนินการที่สำคัญ เช่นการสร้างบัณฑิต การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น (Non-degree Program) การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต (New Growth Engine) การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลภายใต้โมเดล BCG การจัดตั้ง “หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวง อว. ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วย” การส่งเสริมมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรายงาน
ความก้าวหน้าการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในเวทีนานาชาติ และสรุปตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 และสรุปมาตรการ อววน. ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ

บทที่ 2 สร้างความสามารถ ววน. สู่การเก็บเกี่ยวผลในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ

มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการสะท้อนขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของไทย ในการสร้างศักยภาพให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่ออนาคต ในด้านการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) อุตสาหกรรมอาหาร(Food) เครื่องมือแพทย์ (Medical device) จีโนมิกส์ (Genomics) วัคซีน (Vaccines) ยาชีววัตถุ (Biologics)อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) ระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) อุตสาหกรรมวัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) การวิจัยขั้นแนวหน้าด้านเทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology) การวิจัยขั้นแนวหน้าด้านระบบโลกและอวกาศ (Earth Space System) สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ (Social Sciences, Humanities and Arts)

บทที่ 3 ปรับกระบวนทัศน์การอุดมศึกษาสำหรับโลกยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉม

มีสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาอุดมศึกษา (Disruption) ซึ่งนำไปสู่การดำเนินการต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา เช่น การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย การปรับทิศทางของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ ทั้งในการจัดการเรียนการสอนแบบ New Normal ในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การจัดหลักสูตรการเรียนแบบไม่ได้ปริญญา (Nondegree) การผลิตบัณฑิตฐานสมรรถนะ การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา รวมไปถึงการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาในการตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial University) มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยขั้นแนวหน้า
และนวัตกรรม เป็นต้น

บทที่ 4 การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน. ใน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การปรับโครงสร้างหน่วยงาน 2) การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนเพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ 3) การพัฒนาระบบงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน 4) การจัดระบบติดตามและประเมินผลเพื่อติดตามและประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 5) การเชื่อมโยงข้อมูลการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมทั้งระบบ และ 6) การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ

บทที่ 5 ภาพรวมการดำเนินการที่ผ่านมาและแนวทางการพัฒนา อววน. ในอนาคต

มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินงานของ อววน. ในช่วงที่ผ่านมาและแนวทางการพัฒนาในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นการทำงานตามยุทธศาสตร์ 6 ด้าน คือ 1) เปลี่ยนความยากจนสู่ความมั่งมีอย่างทั่วถึง 2) สร้างเสริมคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์และพลังทางสังคมเพื่อการพัฒนาสมดุล 3) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน 4) ยกระดับอุตสาหกรรมและวางรากฐานเพื่ออนาคต 5) พลิกโฉมการอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ประเทศและ 6) ปฏิรูประบบ อววน. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อทราบ

กรรมการรับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาระบบสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

มติที่ประชุม รับทราบ

กรรมการรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมและการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบ

มติที่ประชุม รับทราบ

กรรมการรับทราบการจัดทำรายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่น ๆ